-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 391 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 5/6



การดูแลกล้วยไม้ 


เทคนิคพิเศษการดูแลกล้วยไม้
กล้วยไม้ส่วนใหญ่ต้องการแสงประมาณ 30 % (ใช้สแลนบังแสงชนิด 70%) ต้องการความชื้นสูงแต่ไม่แฉะ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ แต่เราสามารถที่จะควบคุมปริมาณการให้น้ำได้ในรูปแบบของการรดน้ำ และการรักษาความชื้น กล้วยไม้ทุกชนิดต้องการความชื้นในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน บางชนิดชอบความชื้นมาก ก็ต้องใช้เครื่องปลูกที่เก็บความชื้นได้ รดน้ำให้ชุ่มเช่นพวก หวาย ฟาแลนนอปซีส แต่บางชนิดต้องการความชื้นน้อย เครื่องปลูกอาจใช้ถ่านหรือ ไม่ต้องใส่เครื่องปลูกเลยเช่นพวกแวนด้า ช้าง หรืออาจจะปลูกเลี้ยงโดยใช้ติดกับต้นไม้ ขอนไม้ ซึ่งพวกนี้ได้แก่พวกเอื้องสาย เอื้องผึ้ง เอื้องคำ เป็นต้น
 
หลักการให้ น้ำส่วนใหญ่จะรดทั้งต้น ในตอนเช้า(ก่อน 10 โมง) เพราะแสงแดงยังไม่แรง ถ้ารดสายไป น้ำอาจจะระเหยไม่หมด บางส่วนขังอยู่ตามยอด ซอกใบ เมื่อแดดส่องจะทำให้น้ำร้อน เป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ แต่ถ้าต้นไหนกำลังให้ดอกก็จะรดเฉพาะต้นและราก เพราะน้ำจะไปทำให้ดอกกล้วยไม้ช้ำและโรยเร็วขึ้น
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือน้ำจะเป็นตัวทำละลายปุ๋ย และธาตุอาหารให้กลับกล้วยไม้ โดยทั่วไปเวลาให้ปุ๋ยกล้วยไม้จะให้ในช่วงเช้า โดยรดน้ำกล้วยไม้ให้ต้น-ราก พอเปียก แล้วจึงค่อยรดปุ๋ย เพื่อให้กล้วยไม้ดูดซึมปุ๋ยได้เต็มที่

ในกล้วยไม้สกุลช้างเช่น ช้างกระ ช้างแดง ช้างเผือก
ถ้า ให้น้ำมากในช่วงที่แทงดอก ช้างอาจจะไม่ยืดช่อดอก หรือจะทำให้ช่อดอกสั้น จำนวนดอกน้อยลง พวกเอื้องสาย จะเปลี่ยนตาดอกเป็นต้นเล็ก ๆ ที่บริเวณที่ควรจะเป็นดอก ส่วนเอื้องผึ้ง เอื้องคำ จะไม่แทงตาดอก เหตุผลก็คือกล้วยไม้พื้นเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยในธรรมชาติจะต้องผ่านฤดูกาล ต่าง ๆ กัน เมื่อเข้าฤดูฝนก็จะสะสมอาหารไว้ออกดอกในฤดูหนาวหรือร้อน เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวความชื้นในอากาศลดลงมาก ทำให้กล้วยไม้บางชนิดต้องทิ้งใบเพื่อลดการคายน้ำ และออกดอกต่อไป แต่ถ้านำกล้วยไม้พื้นเมืองมาเลี้ยงในบ้าน ในสวน หรือในโรงเรือน ถ้ารดน้ำตลอดจะทำให้กล้วยไม้คิดว่ายังไม่ถึงฤดูกาลที่จะพักตัว ออกดอก

ของแถม
ดอกไม้ ที่มีรูปทรงของกลีบสวยงาม และมีมากมายหลายพันธ์อย่างเช่นกล้วยไม้จัดเป็นไม้มงคล ที่จะช่วยเสริมในเรื่องของความมีคุณธรรม อันล้ำลึกได้อย่างมหัศจรรย์ คนโบราณเชื่อกันว่าถ้าบ้านใดปลูกกล้วยไม้คนในบ้านก็จะมีจิตใจสงบอ่อนโยน มีความสุขุมลุ่มลึก ที่ใจร้อนวู่วามก็จะเยือกเย็นลงได้ และมีความละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และยังจะเสริมให้ดวงชะตาดี คนในบ้านจะเป็นที่ยกย่องยอมรับแก่คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "คัทลียา" จะเป็นกล้วยไม้ที่เสริมด้านเกียรติยศ และความสูงส่งได้เป็นอย่างดี นอกจาก คัทลียา แล้วยังมีกล้วยไม้พันธุ์ที่ช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลได้เช่นกัน คือ รองเท้านารี ฟ้ามุ่ย หวาย เอื้องกุหลาบ ช้างกระ พญาฉัททันต์ เข็มแดง แดงอุบล และพันธุ์เสือโคร่ง


ที่มา http://www.bullvariety.com/board/question.asp?QID=513

http://www.akitia.com/%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-rhynchostylis-gigantea/19/01/2009/

gotoknow.org/blog/tree-care/304894 -


เทคนิคการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้าง

ในบรรดาเกษตรกรที่ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเชิงพาณิชย์ในบ้านเรานั้น คุณวิชัย รัตนจินดา เกษตรกร จ.กำแพงเพชร ถือได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออาจจะกล่าวได้ว่ามี ชื่อเสียงมากที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย
   
ในบรรดากล้วยไม้สกุลช้างด้วยกันนั้นคุณวิชัยบอกว่า “ช้างแดง” ปลูกเลี้ยงยากที่สุด เจริญเติบโตช้าและตายง่าย ปัจจุบันยังมีเกษตรกรและผู้สนใจนิยมเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้างกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะด้วยความท้าทายในการปลูกเลี้ยงนั่นเอง เหตุผลหนึ่งที่กล้วยไม้ในสกุลช้างปลูกเลี้ยงยากเพราะมีลักษณะของการ “ห่างป่า” มีผลทำให้อ่อนแอ  ต่อสภาพแวดล้อม,แมลงและโรค
   
กล้วยไม้ จะเน้นการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้าง ได้แก่ ช้างแดง, ช้างกระ, ช้างเผือก, ช้างส้ม, ช้างประหลาด และช้างการ์ตูน เป็นต้น หรือแม้แต่กล้วยไม้ในกลุ่มไอยเรศ เลี้ยงได้งามมากเพียงกอเดียวมีจำนวนช่อดอกถึง 52 ช่อ และชนะเลิศการประกวด เป็นที่สังเกตว่าในการพัฒนากล้วยไม้สกุลช้างของคุณวิชัยนั้นจะเน้นวิธีการเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ใช้วิธีการปั่นตา เมื่อได้ต้นจากการเพาะเมล็ดจะเลี้ยงเป็นไม้รุ่นขายต่อไป เหตุผลที่ไม่นิยมวิธีการปั่นตา เนื่องจากที่ผ่านมากล้วยไม้สกุลช้างที่นำมาปั่นตาพบเปอร์เซ็นต์การตายสูง แต่ที่สำคัญในความคิดเห็นของคุณวิชัยถ้าหากทุกคนที่เลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้างและนำมาขยายพันธุ์ ด้วยการปั่นตา จะทำให้การพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้สกุลช้างหยุดอยู่กับที่ แต่การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดนั้นเจ้าของหรือนักผสมพันธุ์ผสมจนติดฝัก  เฝ้ารอคอยเวลาได้ลุ้นและความหลากหลายของสายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
   
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงกล้วยไม้ในสกุลช้างจะต้องทราบข้อมูลว่า ไม่ชอบสภาพอากาศร้อนและแสงแดดแรงจัด ดังนั้นสภาพโรงเรือนจะต้องมุงด้วยตาข่ายพรางแสงชนิด 70% คือให้แสงแดดผ่านได้เพียง 30% เท่านั้น และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ควรจะเพิ่มตาข่ายพรางแสงปูทับอีกชั้นหนึ่ง จะต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เย็นเพื่อลดอุณหภูมิของความร้อนลง
   
ปัจจุบันสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดกำแพงเพชร จะใช้น้ำจากแม่น้ำปิงที่ไหลมาจากเขื่อนภูมิพลเพื่อใช้รดกล้วยไม้ ในช่วงฤดูแล้งน้ำจากแม่น้ำปิงจะใสสะอาดมากสามารถนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องพักน้ำ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนน้ำจะขุ่นมาก จะต้องนำน้ำมาพักก่อนใช้ด้วยการใช้สารส้มหรือคลอรีนมาช่วยปรับให้คุณภาพของน้ำดีขึ้นก่อนนำใช้รดให้กับต้นกล้วยไม้สกุลช้าง การให้น้ำกล้วยไม้จะเริ่มให้ในช่วงเช้ามืดประมาณตี 4
   
ในเรื่องของการให้ปุ๋ยในกล้วยไม้สกุลช้างให้บ้างแต่น้อยกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น เนื่องจากถ้างามมากและมีใบที่อวบอ้วนเกินไปจะทำให้เกิดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคยอดเน่า.

ทวีศักดิ์  ชัยเรืองยศ

ที่มา  :  เดลินิวส์



สูตรปุ๋ยกล้วยไม้ ตามฤดูกาล 


2) ปุ๋ย ปุ๋ยเป็นคำเรียกแทนอาหารของพืช  ซึ่งมีแร่ธาตุหลายชนิด  ที่มีคุณค่าแก่การเติบโตของพืช  แบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆคือ

2.1) ปุ๋ยธรรมชาติ หรือ ปุ๋นอินทรีย์  เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีอยู่ในโลกตามธรรมชาติ เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี้ควาย  ใบไม้และหญ้าหมัก  ตลอดจนพืชและสัตว์ที่ตายทับถมเน่าเปื่อยผุพังไปแล้วนานๆ  ปุ๋ยแบบนี้มักนำไปใช้กับกล้วยไม้ประเภทที่มีระบบรากอยู่ในดิน  หรือแบบกึ่งดินกึ่งอากาศ เช่น สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum )  ,  สกุลไฟอัส (Phaius)หรือเอื้องพร้าว ,  สกุลยูโลเฟีย (Eulophia) หรือ หมูกลิ้ง ,  สกุลสะแปโตกลอทติส (Spathoglottis)   และสกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria)  เป็นต้น

2.2) ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ปุ๋ยอนินทรีย์  ปุ๋ยแบบนี้ ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหาร 3 ชนิด ที่พืชต้องการมากที่สุกคือ ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K) ซึ่งแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือ เป็นอาหารหลักที่ต้องใช้เป็นประจำ และใช้เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอาหารอื่นที่เป็นธาตุอาหารรอง ซึ่งกล้วยไม้และพืชต่างๆต้องการใช้เพียงจำนวนเล็กน้อย เพื่อเป็นการเสริมอาหารหลักให้มีประสิทธิภาพ   ซึ่งแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นที่พืชขาดเสียมิได้เหล่านี้มี 12 ชนิดคือ  ออกซิเจน , ไนโตรเจน , คาร์บอน , เหล็ก , กำมะถัน , แคลเซี่ยม , แมงกานีส ,ทองแดง ,  สังกะสี , แมกนีเซียม , โมลิดินั่ม , และ โบรอน   ใน 12 ชนิดนี้ มีอยู่ 3 ชนิด คือ ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน  เป็นแร่ธาตุที่พืชได้ตามธรรมชาติ  จากบรรยากาศอยู่แล้ว

สำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในบ้าน

ปุ๋ยกล้วยไม้  ที่ใช้กันโดยมากจะเป็นปุ๋ยเคมี  แบบเกล็ดละลายน้ำ  และปุ๋ยน้ำ  ที่สำคัญต้องดูที่สูตร

สูตรปุ๋ยที่ควรมีประจำติดบ้านคือ  สูตรเสมอ เช่น 21-21-21 และ สูตรขั้นบันได เช่น 16-21-27 หรือ 10-20-30

ปกติแล้ว ที่แนะนำคือ ใส่สลับกัน ทุก 7-10 วัน

เช่น วันที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ,พอวันที่ 8 ให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยสูตร 16-21-27 ,และพอถึงวันที่ 15 ก็กลับมาใช้สูตร

21-21-21 สลับกันไปแบบนี้ เรื่อยๆ 

สิ่งสำคัญคือ  ต้องใส่ปุ๋ยให้สม่ำเสมอ  ใช้ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ตามฉลาก  และใส่ปุ๋ยในช่วงเช้า  วันที่อากาศสดใส เพื่อการดูดซึมที่ดี 

ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรพิสดารมากมาย  เพียง 2 สูตรนี้  ก็ทำให้ต้นงามและเห็นดอกได้แล้ว   

อยากรู้ว่าควรใช้เมื่อใดก็ทิ้งคำถามได้ที่ คลีนิกกล้วยไม้  ได้เลยค่ะ 


เพิ่มเติม 

แนะนำสูตรปุ๋ยตามฤดูกาล / ตามสภาพอากาศ

มีปุ๋ยที่แนะนำด้วยกัน ประมาณ 4  สูตรคือ  1.สูตรเสมอ N-P-K เท่ากัน เช่น 20-20-20 ,21-21-21 เป็นต้น

 2.สูตรเร่งดอก เช่น 15-30-15 สำหรับฉีดกระตุ้นตาดอก ในไม้ที่หน่อสุดแล้ว

 3.สูตรขั้นบันได ได้แก่ 10-20-30 และ 16-21-27 ช่วยด้านความแข็งแรงของลำต้น และ การออกดอก  ในกรณีที่แสงน้อย

 4. สูตรตัวหน้าสูง เพิ่มความอวบของต้นไม้ เช่น 30-20-10

สำหรับกล้วยไม้กระถางนิ้ว อายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ - 6 เดือน 

  • โดยปกติ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ  20 ลิตร พ่นทุกๆ 7  วัน
  • ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกมาก ให้ใช้สูตรเสมอ สลับกับ สูตร 16-21-27  จะทำให้ไม้นิ้วแข็งแรงขึ้น
  • ในช่วงอากาศแห้ง ความชื้นในอากาศน้อย และฤดูหนาว ให้ใช้สูตรเสมอ สลับกับ สูตร 30-20-10 จะทำให้ไม้นิ้วอ้วนขึ้น ใบเขียว

สำหรับกล้วยไม้ ที่เจริญเติบโตเต็มที่ เป็นไม้สาว พร้อมออกดอก แนะนำการให้ปุ๋ยดังนี้

  • โดยปกติ สำหรับทั่วไป  แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 สลับกับ สูตร 16-21-27 ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ  20 ลิตร พ่นทุกๆ 7  วัน  
  • ในจำพวกแคทลียา และหวาย สามารถให้สูตร 16-21-27  ทุกๆ 7 วัน ได้เลย จะช่วยให้ออกดอกบ่อย  แต่ต้นจะไม่เขียว ออกสีเขียวเหลืองๆหน่อย
  • ฤดูร้อนจัด เดือนเมษายน / ฤดูแล้ง ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 สลับกับสูตรตัวหน้าสูง เช่น 30-20-10 
  • ในช่วงฤดูฝน จะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21  สลับกับ 16-21-27  เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของลำต้น   ถ้าต้นอ่อนแอมาก ก็สามารถใช่สูตร 6-20-30 ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง 
  • ส่วนช่วงหมดฝน-ฤดูหนาวใช้สูตรเสมอ 21-21-21 เป็นตัวยืน  สลับด้วย 16-21-27 หรือ 10-20-30  ถ้ากรณีที่มีลมหนาวมาแรงๆทำให้ใบเหลืองได้  ก็อาจใช้ปุ๋ยปลาช่วยได้บ้างครั้งคราว
www.readyorchid.com/.../fertilizer-ar7.html -



การรดน้ำใส่ปุ๋ยกล้วยไม้

น้ำที่รดกล้วยไม้
น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้จะต้องเป็นน้ำที่ใสสะอาดไม่มีตะกอนขุ่น ไม่มีกลิ่น มีความเป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลาง คือมีค่า pH ประมาณ 5-7 น้ำฝนเป็นน้ำรดกล้วยไม้ที่ดีที่สุด รองลงไปคือน้ำประปา ส่วนน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง ควรทำให้ตกตะกอนเสียก่อน และต้องใช้น้ำจืดเท่านั้น

การรดน้ำ
ใช้บัวรดน้ำ หรือสายยางพ่นให้เป็นฝอยๆ ก็ได้ แต่ระวังอย่าฉีดแรง เพราะจะเป็นอันตรายกับกล้วยไม้ได้ โดยการรดน้ำให้รดให้เปียกชุ่มทั้งใบ ต้น ราก และเครื่องปลูก รดน้ำได้ 2 เวลา คือเวลาเช้าก่อนแสงแดดจะร้อนจัดกับตอนเย็นเมื่อความร้อนของแสงแดดอ่อนลงแล้ว ตอนเช้าจะเป็นเวลาที่เหมาะ เพราะกล้วยไม้จะได้อาศัย ความชุ่มชื้นในการปรุงอาหารได้เลย ถ้าจะรดช่วงเย็นควรรดก่อน 6 โมงเย็น เพื่อเครื่องปลูกจะได้แห้งก่อนช่วงกลางคืน โรคราจะได้ไม่ถามหา สำหรับในฤดูฝน หากเครื่องปลูกยังเปียกชื้นอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ถ้าเป็นฤดูแล้ง อาจจะรดน้ำทั้งเช้าและเย็น เนื่องจากกล้วยไม้ต้องการความชื้นมาก แต่ไม่ต้องการให้เครื่องปลูกแฉะ

การให้ปุ๋ยกล้วยไม้
การให้ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกล้วยไม้ ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไม้ต้องการ ก็เหมือนกับพืชทั่วไป คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โปตัสเซียม (K) โดยปุ๋ยที่เหมาะกับกล้วยไม้ คือ ปุ๋ยสูตรสูง (มีธาตุอาหารรวมกันมากกว่า 50% ของน้ำหนักปุ๋ย) ชนิดที่ละลายน้ำได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 21-21-21 เป็นต้น โดยกล้วยไม้แต่ละประเภท และแต่ละช่วงอายุ ต้องการปริมาณปุ๋ยแตกต่างกันไป ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ

ปุ๋ยสูตรสมดุล เช่น 21-21-21 เหมาะกับกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตตามปกติ ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ N สูง เช่น 30-10-10 เหมาะกับกล้วยไม้ขนาดเล็ก ที่ต้องการเร่งการ เจริญเติบโตทางใบ

ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ P สูง เช่น 10-30-10 เหมาะกับกล้วยไม้ที่โตเต็มที่แล้ว ต้องการเร่งให้ ออกดอก หรือเร่งราก

ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ K สูง เช่น 10-10-30 เหมาะกับกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโต เพราะ ธาตุโปตัสเซียมจะช่วยให้ต้นแข็งแรง

วิธีการให้ปุ๋ย
ละลายปุ๋ยในน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในฉลากปุ๋ย แล้วใช้ไม้คนให้ปุ๋ยละลายให้ หมด อย่าให้ปุ๋ยตกตะกอน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อใบ

รดน้ำกล้วยไม้ให้ชุ่มก่อนฉีดปุ๋ย เพื่อให้ปุ๋ยซึมลงในเครื่องปลูกได้ดียิ่งขึ้น จากนั้น ใช้หัวฉีดที่ฝอยที่สุด ฉีดปุ๋ยให้เปียกทั่วทั้งราก และใบ จะรดปุ๋ยมากน้อยแค่ไหน
ก็ขึ้นกับว่ากล้วยไม้ต้นใหญ่แค่ไหน ถ้าต้นใหญ่ก็ต้องการปุ๋ยมาก ต้นเล็กก็ต้องการปุ๋ยน้อย ถ้าไม่แน่ใจให้รดน้อยๆ แต่บ่อยๆ ไว้จะดีกว่า 

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ยพืช คือ ช่วงเช้าก่อนแดดจัด เพราะรากและใบจะได้ดูดปุ๋ย ไปใช้ได้เลย ควรรดปุ๋ยทุก 7 วัน

สำหรับลูกกล้วยไม้ควรผสมปุ๋ยให้เจือจางลง แล้วรดปุ๋ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การให้ปุ๋ยควรพิจารณาถึงวัฏจักรการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แต่ละชนิดด้วย
กล้วยไม้ที่ออกดอกตามฤดูกาล ปีละครั้ง เช่น กล้วยไม้ป่า หรือกล้วยไม้ลูกผสมบางชนิด เกือบทั้งปีจะมีการเจริญเติบโตทางต้นและใบ ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอในช่วงนี้ ต่อเมื่อใกล้ถึงฤดูที่กล้วยไม้จะผลิช่อดอก จึงเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรเร่งดอกแทน

เอื้องกุหลาบ และเข็มจะเติบโตในช่วงฤดูฝน พักตัว และพัฒนาตาดอกในฤดูหนาว ผลิช่อดอก และบานในฤดูร้อน

กล้วยไม้ช้างเติบโตทางใบในฤดูร้อน และฝน สร้างตาดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดอกบานในช่วงเดือน ธ.ค.- ก.พ. กล้วยไม้ที่ออกดอกตลอดปี เช่น กล้วยไม้ลูกผสมที่ปลูกเพื่อตัดดอก อาทิ หวาย แวนด้า ออนซิเดี้ยม กล้วยไม้เหล่านี้ต้องการปุ๋ยมาก ถ้าได้รับปุ๋ยไม่พอ ต้นจะไม่สมบูรณ์ ทำให้ออกดอกน้อยลง

หมายเหตุ สรรหามาฝาก เพื่อแบ่งบันความรู้กันครับ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ton-aoun&month=04-11-2005&group=2&gblog=2

www.kingorchid.com/highlight/display.php?id=381 -



การให้ปุ๋ยกล้วยไม้


ธาตุอาหาร

ธาตุอาหาร ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช  มี 13 ชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตาม
ปริมาณที่พืชต้องการคือ


 
ธาตุอาหารหลัก พืชต้องการในปริมาณมาก มี 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส
(P) และโปแตสเซียม(K)

 
ธาตุอาหารรอง 
พืชต้องการในปริมาณมากแต่น้อยกว่ากลุ่มแรก มี 3 ชนิดคือ แคลเซียม
(Ca) แมกนีเซียม(Mg) และกำมะถัน(S)

 
จุลธาตุอาหาร พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยแต่หากขาดก็จะแสดงอาการผิดปกติมี 7 ชนิด
คือ เหล็ก(Fe) แมงกานิส(Mn) สังกะสี(Zn) ทองแดง(Cu) โบรอน(B) โมลิบดีนัม
(Mo) และคลอรีน(Cl)
 


ปุ๋ย

ปุ๋ย หมายถึง สารประกอบทางเคมีที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ส่วน
ใหญ่ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ซึ่งพืชต้องการในปริมาณมากและมีน้อยในธรรมชาติ 3 ชนิด
คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม


สูตรปุ๋ย

สูตรปุ๋ย หมายถึง เลข 3 จำนวนที่เรียงกันเพื่อบอกปริมาณหรือเปอร์เซนต์ของธาตุอาหาร
ทั้ง 3 ชนิดที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้นๆ คือ ไนโตรเจนในรูป N ฟอสฟอรัสในรูป P2O5 และโปแตส
เซียมในรูป K2O เช่นปุ๋ยสูตร 30-20-10 แสดงว่าในปุ๋ยนี้มีธาตุไนโตรเจน 30 เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส(P2O2) 20 เปอร์เซ็น และโปแตสเซียม (K2O) 10 เปอร์เซ็น


ปุ๋
ยเคมีที่ใช้กับกล้วยไม้ควรเลือกปุ๋ยสูตรสูง นั่นคือ เมื่อรวมเปอร์เซนต์ของธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิด
แล้วจะมากกว่า 50 ยิ่งใช้ปุ๋ยสูตรสูงเท่าใดก็ยิ่งดี เนื่องจากหากใช้ปุ๋ยที่มีเปอร์เซนต์ของธาตุ
อาหารต่ำจะต้องผสมปุ๋ยในอัตราสูงกว่าปุ๋ยสูตรสูงเพื่อให้มีปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ น้ำปุ๋ย
ที่รดกล้วยไม้จะมีความเค็มสูงซึ่งจะทำให้เป้นพิษต่อกล้วยไม้ได้ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยสูตรสูงทำให้
สามารถลดอัตราปุ๋ยที่จะนำไปละลายในน้ำให้น้อยลง โดยที่น้ำปุ๋ยยังคงมีปริมาณธาตุอาหารตาม
ต้องการอยู่


 เรโชปุ๋ย
เรโชปุ๋ย หมายถึง สัดส่วนของปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ที่มีอยู่ในปุ๋ย
นั้นๆเช่น ปุ๋ยเรโช 3:2:1 หมายความว่า ปุ๋ยนี้มีไนโตรเจน 3 ส่วน ฟอสฟอรัส 2 ส่วนและโป
แตสเซียม 1 ส่วน 
กล้วยไม้ที่ต่างสกุลหรือต่างพันธุ์หรือพันธุ์เดียวกันแต่ระยะการเจริญเติบโต
ต่างกัน หรือกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จะมีความต้องการปุ๋ยที่มีปริมาณและเร
โชของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมแตกต่างกัน โดยใช้หลักการพิจารณา ดังนี้
 
ปุ๋ยที่มีเรโชของธาตุไนโตรเจนสูง
เช่น 3:1:1 ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นมากกว่าราก
เหมาะกับลูกกล้วยไม้เล็กๆ ที่ต้องการให้ตั้งตัวเร็ว ไม้ที่หั่นแยกลำใหม่ๆ หรือไม้ใหญ่ที่ทรุดโทรม
แต่หากให้ปุ๋ยเรโชนี้เป็นระยะเวลานานเกินไป กล้วยไม้จะมีสีเขียวจัด เฝือใบ ใบใหญ่ อวบหนา
ลักษณะของต้นอวบอ้วน ออกดอกช้าหรือไม่ออกดอก กล้วยไม้สกุลหวายจะมีการต่อยอด
 
ปุ๋ยที่มีเรโชของธาตุฟอสฟอรัสสูง
เช่น 1:3:1 ใช้สำหรับเร่งราก เร่งการออกดอก ทำให้ต้น
กล้วยไม้ลดความเขียวจัด ไม่อวบน้ำมากเกินไป ทำให้แข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้น
เหมาะกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงอยู่ในที่ร่มเกินไป จนมีอาการเฝือใบ ใบอวบ ควรใช้กับกล้วยไม้ที่ได้รับ
ปุ๋ยเรโชอื่นมาแล้วเป็นปกติแต่อาจจะงามเกินไป ระบบรากไม่แข็งแรง หรือใช้เร่งกล้วยไม้ที่ออก
ดอกยากให้ออกดอก
 
ปุ๋ยที่มีเรโชของโปแตสเซียมสูง
เช่น 1:1:3 ใช้กับกล้วยไม้ที่ต้องการให้ทนทานต่อสภาพแห้ง
แล้งได้ดีขึ้น ไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโตในฤดูแล้ง โดยควรใช้ก่อนถึงฤดูแล้ง 2-3 เดือน ปุ๋ย
นี้ยังช่วยในการเจริญเติบโตของราก ทำให้ดอกมีสีสดและบานทน
 
ปุ๋ยที่มีเรโชสมดุล เช่น 1:1:1 ใช้กับกล้วยไม้ที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องและเหมาะสม
เหมาะกับกล้วยไม้ที่โตแล้วหรือกำลังจะออกดอก



วิธีการให้ปุ๋ย
 เน้นการให้ปุ๋ยทางราก เพราะปุ๋ยส่วนใหญ่เข้าสู่ต้นกล้วยไม้ทางราก ส่วนใบ และยอดอ่อน
กล้วยไม้สามารถดูดปุ๋ยเข้าสู่ลำต้นได้บ้างโดยเฉพาะขณะต้นยังมีขนาดเล็ก แต่เมื่อโตขึ้น
หากให้ปุ๋ยเฉพาะที่ใบต้นกล้วยไม้จะได้รับธาตุอาหารไม้เพียงพอ
 
ก่อนฉีดพ่นปุ๋ยควรรดน้ำต้นกล้วยไม้ให้ชื้น แล้วจึงฉีดปุ๋ยตามเพราะปุ๋ยจะแพร่กระจายดีขึ้น
และถูกดูดซึมได้ดีขึ้น วิธีนี้ไม่ทำให้น้ำเข้าไปแย่งที่ปุ๋ย หรือรากกล้วยไม้ดูดปุ๋ยน้อยลง
เพราะการดูดน้ำและปุ๋ยของต้นกล้วยไม้แยกกันอยู่คนละช่องทาง
 
หากไม่สามารถให้น้ำก่อนฉีดปุ๋ย ก็ควรฉีดปุ๋ยเป็นละอองทั้งด้านบน และล่างของใบ และ
ฉีดจนกระทั่งเริ่มมีหยดน้ำไหลลงมาจากใบ
 
ฉีดพ่นปุ๋ยในช่วงเช้าที่มีอุณหภูมิต่ำแดดไม่จัดและความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้ปุ๋ยคง

สภาพเป็นสารละลายให้ต้นดูดซึมได้นานที่สุด
 ในวันที่ไม่มีแสงแดดไม่ควรให้ปุ๋ย หากจำเป็นต้องให้ก็ลดความเข้มข้นของปุ๋ยลง
 น้ำที่ใช้ละลายปุ๋ยควรเป็นน้ำสะอาด มีตะกอนน้อย
มีสภาพเป็นกรดอ่อนหรือเป็นกลาง


ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของเกษตรกร

 สกุลหวายช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงควรให้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 อัตรา 80-100 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2  ครั้งเพื่อป้องกันดอกร่วง

 สกุลหวายช่วงปลายฤดูผนเข้าฤดูหนาว (เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน) หากให้ปุ๋ยละลายช้า (สูตร 13-18-10 อัตรา 1/2 ช้อนชาต่อต้น) แล้วให้ปุ๋ยทางใบทุก 2 สัปดาห์จะช่วยให้
กล้วยไม้ออกดอกในฤดูแล้งดีขึ้น

 กล้วยไม้พันธุ์ที่ทิ้งช่วงออกดอกนานในบางฤดู ควรบำรุงต้นโดยใช้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูงมาก 1-2 ครั้ง

 ลักษณะของกล้วยไม้สกุลหวายที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเรโชเดียวติดต่อกันนานเกินไป

 เรโช 1:1:1 : ต้นอ้วนป้อม มีการต่อยอด
 เรโช 1:2:1 : ดอกดก รากดี ช่อสั้น อาจมีการแตกแขนง
 เรโช 2:1:3 : ดอกไม่ดก แต่ช่อยาว ดอกใหญ่
 เรโช 3:2:1 : ต้นสูงเร็ว ยาวเรียวผอม รากไม่ค่อยดี 
 
 สกุลออนซิเดียม ไม่ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงติดต่อกันนาน เพราะจะทำให้ต้นอ่อนแอ
เป็นโรคเน่าได้ง่าย


การผสมปุ๋ยเกล็ดเอง

การผสมปุ๋ยใช้เอง มีข้อดี คือ เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม และสามารถปรับการ
ใช้ปุ๋ยได้ตามต้องการ


http://orchidnet.doae.go.th/home/print_view_word.php?id=6&c=1&d=3




หน้าก่อน หน้าก่อน (4/6) - หน้าถัดไป (6/6) หน้าถัดไป


Content ©