-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 350 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 4/6



การผสมพันธุ์ในดอกกล้วยไม้


ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้สมบูรณ์เพศ
 มีอวัยวะเพศตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน และอยู่บนชิ้นส่วนที่เป็นหลักชิ้น เดียวกันด้วย   ตรงศูนย์กลางด้านหน้าของดอกจะมีชิ้นส่วนนี้ยื่นออกมา ซึ่งเราเรียกว่า "เส้าเกสร" (column) ตรงปลายเส้าเกสรนี้มีลักษณะเป็นโพรงและมีฝาครอบ  หากเปิดฝาครอบออกก็จะได้พบเกสรตัวผู้ (pollinia) อยู่ภายใน  เม็ดเกสรตัวผู้มีจำนวนเป็นคู่ แล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้ แต่ละเม็ดประกอบขึ้นจากเกสรตัวผู้จำนวนมากมายประสานเป็นเนื้อเดียวกัน    เม็ดเกสรตัวผู้ของกล้วยไม้บางชนิด     มีก้านซึ่งมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่นได้ บริเวณด้านใต้ของปลายเส้าเกสรนั้น มีลักษณะเป็นแอ่งและมีน้ำซึ่งข้นคล้ายแป้งเปียกอยู่ในแอ่งนี้  เราเรียกว่า "ปลายเกสรตัวเมีย"(stigma) ระหว่างโพรงที่อยู่ของเกสรตัวผู้กับปลายเกสรตัวเมียที่มีเยื่อบางๆ กั้นไว้โคนของเส้าเกสรซึ่งเป็นศูนย์รวมของกลีบทุกกลีบของดอกกล้วยไม้นั้น   เชื่อมโยงเป็นชิ้นเดียวกันกับก้านดอก   (pedicel)ซึ่งอยู่ด้านหลัง และส่วนของก้านดอกที่อยู่ถัดจากกลีบดอกออกไปทางด้านหลังนี้เองคือ รังไข่ของตัวเมีย (ovary)  ภายในเป็น โพรงและมีไข่อยู่เป็นจำนวนมาก   ถ้าหากปลายเกสรตัวเมียได้ รับการผสมโดยเม็ดเกสรตัวผู้ และถ้าการผสมเริ่มบังเกิดผล กลีบดอกจะเริ่มเหี่ยว และก้านดอกส่วนที่อยู่ใกล้กลีบดอก และมีลักษณะเป็นร่องยาวของก้านดอก ซึ่งก็คือส่วนที่เป็นรังไข่ของ ตัวเมีย ก็จะขยายตัวเจริญขึ้นเป็นฝักของกล้วยไม้ ถ้าการผสมระหว่างเชื้อตัวผู้และไข่ของตัวเมียภายในรังไข่สมบูรณ์เป็นปกติภายในฝักก็จะมีเมล็ดกล้วยไม้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมายหลาย แสนเมล็ด เมื่อเมล็ดแก่จัดจะหลุดจากผนังของฝักรวมๆ กันอยู่มีลักษณะเป็นผงละเอียดมาก  หากผนังฝักมีรอยร้าวหรือแตกเมื่อใด   เมล็ดเหล่านี้ก็จะปลิวไปตามกระแสลมได้ฝักกล้วยไม้นับตั้งแต่ผสมเกสรจนถึงฝักสุก ใช้ระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ ๑ เดือนไปจนถึงประมาณ ๒ ปี  สุดแล้วแต่ ชนิดของกล้วยไม้  อาทิเช่น   กล้วยไม้ในสกุลสแพโทกลอตทิส ซึ่งพบขึ้นอยู่ตามโขดหินในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย  และในเขตดินแดนมาเลเซียนั้น มีอายุฝักประมาณ ๓๐ วัน กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda   coerulaea)   ซึ่งพบ อยู่ตามธรรมชาติในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง มีอายุฝักตั้งแต่เริ่มผสมเกสรจนถึงฝักสุก ประมาณ  ๑๕-๑๘ เดือน   กล้วยไม้สกุลหวายเดนโดรเบียมและสกุลคัทลียา รวมทั้งแวนดาลูกผสมต่างๆ ที่นิยมผสมและเลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทยนั้น มีอายุฝักตั้งแต่ผสมจนถึงฝักสุกผิดเพี้ยนกันไประหว่าง ๓-๘  เดือน โดยทั่วๆ ไปแล้วในกล้วยไม้สกุลเดียวกัน ฝักของกล้วยไม้ลูกผสมจะมีอายุสั้นกว่ากล้วยไม้ป่าหรือกล้วยไม้พันธุ์แท้ ความผิดเพี้ยนของสภาพแวดล้อมที่กล้วยไม้ขึ้นอยู่    ก็มีส่วนทำให้อายุของฝักกล้วยไม้แปรเปลี่ยนไปได้พอสมควรเช่นกัน


แม้ว่ากล้วยไม้จะเป็นพันธุ์ไม้ประเภทเดียวกันกับพืชจำพวกข้าวและหญ้าก็ตาม  แต่เมล็ดกล้วยไม้ก็มีองค์ประกอบหลักที่ไม่เหมือนกับพืชเหล่านั้น    เมล็ดพืชทั่วๆไปจะมีองค์-ประกอบหลักอยู่ ๓ ส่วนด้วยกันคือ เปลือกเมล็ด เชื้อที่จะงอกและเจริญขึ้นมาเป็นต้นอ่อน และอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อ ในขณะที่กำลังงอกและยังเลี้ยงตัวเองไม่ได้  แต่เมล็ดกล้วยไม้มีเพียง  ๒  ส่วนเท่านั้นคือ เปลือกเมล็ดกับเชื้อที่จะงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อน ดังนั้น เมล็ดกล้วยไม้จึงไม่สามารถจะงอกได้ด้วยตัวเอง  แม้ว่าจะมีสภาพแวดล้อมต่างๆเหมาะสมก็ตาม

จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อราจำพวกหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกรวมๆว่า "ไมคอไรซา" (Mycorhiza) ช่วยให้อาหารแก่เชื้อ   และเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญเลี้ยงตัวเองได้แล้ว   เชื้อราประเภทนี้จะอาศัยดำรงชีวิตอยู่ภายในผิวของรากกล้วยไม้ต่อไป  ดังนั้นเราจึงพบว่า  เมล็ดกล้วยไม้ที่งอกในป่าตามธรรมชาติจะกระ-จายอยู่ไม่ไกลจากต้นเดิมมากนัก   บางครั้งก็พบงอกอยู่ใกล้ๆผิวของรากกล้วยไม้ใหญ่  เชื้อราประเภทนี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกันบางชนิดก็มีความเหมาะสมกับกล้วยไม้บางกลุ่มบางพวกเท่านั้นดังนั้น  ในการเล่นกล้วยไม้สมัยก่อนๆ ขณะที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ เจริญมากนัก  ผู้สนใจกล้วยไม้ในสมัยนั้นได้ใช้วิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้โดยเลียนแบบธรรมชาติ  คือ นำเมล็ดกล้วยไม้ที่แก่แล้วซึ่งมีลักษณะเป็นผงละเอียดไปหว่านลงบริเวณใกล้โคนต้นแม่พันธุ์  และเนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้ที่ได้จากฝักหนึ่งๆ มีเป็น จำนวนแสนเมล็ด  แม้จะได้รับอันตรายไปมากพอสมควร ก็ยังมีบางส่วนที่งอกเป็นต้นขึ้นมาได้      ชีวิตที่พึ่งพาอาศัย ธรรมชาติซึ่งกันและกันในธรรมชาติ เช่น กล้วยไม้กับเชื้อรานี้ ภาษาวิชาการเรียกว่า "ซิมไบโอซิส" (symbiosis)เมื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ได้เจริญขึ้น    มนุษย์จึงได้เรียนรู้วิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้โดยมิต้องอาศัยเชื้อราอีกต่อไปได้มีนักพฤษศาสตร์ชาวยุโรปและอเมริกันประกาศความสำเร็จในการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในขวดแก้ว   โดยใช้วุ้นเป็นพื้นและผสมธาตุอาหารต่างๆ ที่เมล็ดกล้วยไม้ต้องการ เพื่อการงอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง พร้อมทั้งปรับสภาวะความเป็นกรดของวุ้นอาหารให้เหมาะสมกับการที่เมล็ดและต้นอ่อนของกล้วยไม้นั้นจสามารถใช้อาหารให้เกิดประโยชน์มากที่สุดการเตรียมวุ้นอาหารจำเป็นต้องอยู่ในสภาวะปลอดจากเชื้ออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าซึ่งปะปนอยู่ในบรรยากาศ  และสิ่งต่างๆทั่วๆไป  มิฉะนั้นแล้วเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะเจริญงอกงามอย่างรวดเร็วในวุ้นอาหารของกล้วยไม้ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการงอกของเมล็ดอย่างร้ายแรง

 

          

จัดทำโดย
นางสาวฐาปนี ธนดำรงเลิศ
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
copyright(c) 2006 MissThapanee Tanadamronglert. All rights reserved.


bookdeedee.tarad.com/articlearticle-th-43028-มารู้จักวิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้กัน.html -





เทคนิคทำให้กล้วยไม้ออกดอกนอกฤดูปกติ

ไม่แน่ใจว่าเป็นได้ผลเพราะอะไรเป็นหลักแต่น่าจะฟลุ๊คมากที่สุดนะครับ ยังไงดูรูปกันก่อนว่าที่ทดลอง 2 ต้น คือ เหลืองจันทบูร และสายหลวง ให้ดอกทั้งคู่แต่สายหลวงออกมาแค่ 1 ดอกและก็บานก่อน ส่วน เหลืองจันทบูร นั้น ได้ผลดีกว่า แทงมา 4 ช่อ ( โดนลมพัดหักไป 2 ช่อ ) และใน 1 ช่อมีประมาณ 3 ดอกครับ ปกติจะออกดอกช่วง มีนาคม - เมษายน แต่ทำให้ออกดอกได้ช่วงสิงหาคมครับ






2 รูปนี้เป็นรูปที่แทงดอกมาเมื่อวันที่ 12 สค. ครับ




ส่วนสายหลวงต้นนี้แทงออดมาเพียง 1 ดอกโทนๆ เท่านั้นเองครับ ขนาดดอกก็เล็กกว่าที่ออกในฤดูปกติประมาณ 10% แต่กลิ่นก็ยังหอมดีครับ

ส่วนเทคนิคในการทำขอเรียกว่าเทคนิคแบบ “สายัณฑ์ สัญญา” ครับ

หลักการง่ายๆ ที่สอดคล้องกับชื่อเทคนิคคือ ให้ปุ๋ยน้อยๆ แต่ให่ปุ๋ยบ่อยๆ และนานๆ ครับ ผมใช้ปุ๋ยสูตรกลางสูงที่ใช้เร่งดอกทั่วไปครับ ซึ่งปกติเราจะให้ปุ๋ย 1 ครั้งต่อ 7 วัน โดยพ่นช่วงเช้าก่อนแดดออกครับ แต่หลังจากที่ผมลองอยู่หลายวิธีจนทำให้ได้ดอกนอกฤดูก็คือ

1. ผสมอัตาราปุ๋ยแบบเจือจาง เช่น พ่น 7 วัน 1 ครั้งใช้ปุ๋ยผสมอัตราส่วน 1 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร.

ก็จะเปลี่ยนเป็นพ่นทุกวันหรือ 2 วันเว้น 1 วัน ใช้ปุ๋ยผสมอัตราส่วน 0.10 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร. และพ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้แรกประมาณ 7 โมงเช้า ครั้งที่ 2 ประมาณ บ่าย 2 ครับ ซึ่งการพ่นแบบนี้ต้องสอดคล้องกับการจัดการเรื่องแสงที่จะกล่าวต่อไปด้วยครับ

2. การให้แสง แกติก็จะได้แสงช่วงยาวตั้งแต่เช้าจนเย็นผ่านสแลนกรองแสง

ก็จะเปลี่ยนเป็นแบ่งการให้แสง 2 ช่วงคือ ช่วงแรก เช้า – 10 โมง หลังจากนั้นเก็บไม่ให้โดนแสง และนำออกมารับแสงอีกทีประมาณ 11โมงครึ่ง และก่อนจะให้แสงปกติจะต้องค่อยๆ พรางแสงจากมากไปจนถึงระดับปกติ เลียนธรรมชาติเหมือนแดดค่อยๆ ออกครับ ถ้าเอาจากที่ร่มมารับแสงเต็มๆ เดี๋ยวกล้วยไม้จะตกใจครับ

3. พ่นอาหารเสริม และยากันราแบบปกติครับ

ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ครับ ส่วนปัจจัยอื่นเช่น ฝน (ซึ่งทำให้กล้วยไม้รับไนโตรเจนมาก จะไม่ให้ดอกแต่ไปสร้างลำใหม่หรือการเติบโตแทน) แสง อากาศ (ใกล้ทะเล) ลมที่ค่อนข้างแรงแต่สม่ำเสมอ ความชื้น ฯลฯ ซึ้งล้วยมีผลต่อการให้ดอกทั้งนั้นครับ

สรุปว่าถ้าเพื่อนๆ อยากลองทำดูแบบสนุกๆ ก็ให้เอาไม้ที่มีจำนวนมากหรือที่มีปัญหาแล้วเสียดายน้อยมาทดลองนะครับ และถ้าเป็นไม้ไทยตระกูลหวายน่าจะให้ผมกว่าอย่างอื่นครับ ถ้าลองดูแล้วมีปัญหาเช่น ใบเหลือง (เกิดจากแก่ปุ๋ย เพราะได้รับมาเกินไป) ใบร่วง ก็ให้รีบหยุดนะครับ แล้วกลับไปรดน้ำธรรมดาเพียงอย่างเดียว

ก็ขอให้เพื่อนๆ สนุกกับการทดลองนี้นะครับ ได้ผลหรือไม่อย่างไรก็เล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ ผมทำได้...เพื่อนๆ ก็ทำได้ครับ ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ








บานสวยเต็มที่แล้วครับ เมื่อวันที่ 25 สค. ที่ผ่านมานี้ครับ


www.bloggang.com/mainblog.php?id...month...9... -
   
 




หน้าก่อน หน้าก่อน (3/6) - หน้าถัดไป (5/6) หน้าถัดไป


Content ©