-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 527 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 3/6



การเพาะเมล็ด

เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากเป็นผงละเอียดคล้ายวุ้นอยู่ภายในฝัก โดยฝักอ่อนจะมีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อฝักแก่เต็มทีจะแตกตามความยาว 3 แนว ทำให้เมล็ดร่วงจากฝัก เมล็ดกล้วยไม้แต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันทั้งรูปร่าง ขนาด และสี โดยในแต่ละฝักจะมีจำนวนเมล็ดประมาณตั้งแต่ 1,300 ถึง 4,000,000 เมล็ด เมล็ดที่สมบูรณ์จะมีลักษณะป่องกลาง และมีสีเข้ม และที่เห็นเป็นก้อนกลมอยู่ที่ส่วนกลางของเมล็ดคือคัพภะ (embryo) มีสีขาวหรือเหลืองอ่อน เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะมีลักษณะเรียวยาวตลอด ไม่มีคัพภะหรือมีแต่ขนาดเล็กกว่าปกติ ภายในเมล็ดไม่มีอาหารสะสม สีของเมล็ดมีสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลืองอ่อน ได้แก่ไม้สกุล Cymbidium, Cattleya, Oncidium และ Phalaenopsis สีเหลืองได้แก่กล้วยไม้สกุล Dendrobium, Epidendrum เป็นต้น เมล็ดกล้วยไม้สามารถเก็บไว้ได้นานถ้าเก็บในอุณหภูมิต่ำ (อุณหภูมิไม่เกิน 12 องศาเซลเซียส) โดยเมล็ดสามารถลอยอยู่ในอากาศหรือจมอยู่ในน้ำได้นานโดยไม่สูญเสียความงอก
การงอกของเมล็ดกล้วยไม้ต่างจากการงอกของเมล็ดพืชชนิดอื่น โดยการงอกของเมล็ดกล้วยไม้คล้ายกับการพัฒนาของตา (bud) ที่ฟักตัวอยู่ เมื่อเมล็ดได้รับสภาพที่เหมาะสมจะมีการสะสมอาหาร คัพภะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวน มีขนาดใหญ่ขึ้น การงอกและการเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนของกล้วยไม้จัดแบ่งเป็น 6 ระดับ ซึ่งใช้เป็นค่า Growth Index สำหรับวัดการงอกและการพัฒนาของต้นอ่อน ดังนี้ (Arditti, 1967)

ระยะเวลาหลังจากเพาะ(วัน)---Growth Index---ลักษณะเมล็ดหรือต้นอ่อน
10-15 วัน --- 1 --- ungerminated seed เมล็ดที่สมบูรณ์ แต่ยังไม่งอก
10-15 วัน --- 2 --- swollen seed เมล็ดขยายขนาดจากเดิม 5-10 เท่า โดยคัพภะ(embryo)เพิ่มขยายขึ้น อาจมีหรือไม่มีสีเขียวของคลอโรฟิลและจะดันเปลือกเมล็ดแตกออก
15-20 วัน --- 3 --- Protocorm คัพภะเจริญเป็นลูกกลม ปลายแหลม มีรากขนอ่อนโดยรอบ
40-50 วัน --- 4 --- Seedling with one leaf ต้นอ่อนมีใบยอดเห็นชัดเจน 1 ใบ งอกขึ้นมาทางด้านบนของก้อนโปรโตคอร์ม
30-90 วัน --- 5 --- Seedling with two leaf ต้นอ่อนมีใบยอด 2ใบ
80-100 วัน --- 6 --- Plantlet with at least one root ต้นอ่อนมี 3-4 ใบ และมีรากอย่างน้อย 1 ราก


การงอกของเมล็ด
เมล็ดกล้วยไม้ส่วนมาก 1 เมล็ดงอกได้ 1 ต้น แต่พบว่ากล้วยไม้บางชนิดที่บางเมล็ดงอกได้ 2-3 ต้น

การเสียความงอกของเมล็ด
เมล็ดกล้วยไม้บางชนิดเพาะขึ้นยากเมื่อเมล็ดแก่จัดจนเปลือกฝักแห้งและฝักแตก ต้องเก็บมาเพาะตั้งแต่ระยะที่ผิวฝักมีสีเขียวอมเหลือง ฝักแคทลียาที่กำลังจะแก่ถ้าได้รับอุณหภูมิต่ำมากๆ ประมาณ 4-5 องศาเซลเซียสนานๆ เมล็ดจะสูญเสียความงอกได้ เมล็ดช้าง เมื่อเพาะในสภาพอุณหภูมิต่ำจะเสียความงอกได้เช่นกัน
เมล็ดกล้วยไม้ไม่สามารถงอกได้เองเนื่องจากไม่มีอาหารสะสมและขาดคลอโรฟิลในคัพภะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารจากภายนอกมาช่วยในการพัฒนา การงอกของเมล็ดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในสภาพธรรมชาติและในอาหารสังเคราะห์ ดังนี้

1 Symbiosis Germination เป็นการงอกของเมล็ดตามธรรมชาติ ซึ่งต้องอาศัยเชื้อราบางชนิดที่อยู่บริเวณรากกล้วยไม้ (mycorrhiza หรือ root fungus) ซึ่งช่วยนำธาตุอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าไปในเซลล์ของรากพืช โดยเชื้อราเหล่านี้จะงอกเส้นใยเข้าไปในเมล็ดกล้วยไม้ ในเส้นใยจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการงอกของเมล็ด เมล็ดจะย่อยสลายเส้นใยนำธาตุอาหารไปใช้ทำให้งอกได้
2 Asymbiosis Germination เป็นการงอกของเมล็ดที่ไม่ต้องการอาศัยเชื้อราประเภท mycorrhiza เมล็ดสามารถงอกได้ดีเมื่อเพาะในอาหารสังเคราะห์ที่มีสภาพเหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด


การงอกของเมล็ดกล้วยไม้วิธีที่ดีที่สุดคือการเพาะเมล็ดในอาหารสังเคราะห์หรืออาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะการเพาะเมล็ดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ของกล้วยไม้สายพันธุ์ที่ผสมติดยาก การเพาะเมล็ดที่จะให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่ดีก็ควรใช้ฝักที่มีอายุเหมาะสม อายุฝักของกล้วยไม้ขึ้นอยู่กับ
1 ชนิดของพันธุ์กล้วยไม้
2 กล้วยไม้ป่ามีอายุฝักมากกว่ากล้วยไม้ลูกผสม

อายุฝักอ่อนของกล้วยไม้ที่นำมาเพาะเลี้ยงได้

ชนิดกล้วยไม้ อายุฝักอ่อน(วัน)
Aerides odoratum เอื้องกุหลาบ --- 150-180 วัน
Ascocenda --- 150-180 วัน
Ascocentrum เข็มแดง เข็มแสด --- 110-180 วัน
Brassavola nodosa --- 70-75 วัน
Brassocattleya --- 130-180 วัน
Brassolaliocattleya --- 130-180 วัน
Cattleya (bifoliate) ชนิดใบคู่ --- 110-150 วัน
Cattleya ชนิดใบเดี่ยว --- 120-150 วัน
Cymbidium --- 280-360 วัน
Dendrobium lituiflorum --- 150-180 วัน
Dendrobium nobile และลูกผสม --- 150-180 วัน
Dendrobium phalaenopsis และลูกผสม --- 120-140 วัน
Dendrobium Jaquelyn Thomas และลูกผสม --- 55-60 วัน
Dendrobium stratiotes และลูกผสม --- 150-200 วัน
Doritaenopsis --- 90-110 วัน
Dorites pulcherrima ม้าวิ่ง --- 65-70 วัน
Epidendrum --- 100-120 วัน
Epidendrum ต้นดอกสีส้ม --- 40-50 วัน
Oncidium --- 110-140 วัน
Phalaenopsis พันธุ์ป่า --- 110-120 วัน
Phalaenopsis ลูกผสม --- 75-80 วัน
Renanthera --- 150-180 วัน
Rhynchostylis ช้าง, เขาแกะ --- 150-250 วัน
Vanda พันธุ์ป่า --- 150-195 วัน
Vanda ลูกผสม --- 70-75 วัน

ขั้นตอนวิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้

ขั้นแรกก็ต้องมีฝักกล้วยไม้ก่อน หลังจากผสมกล้วยไม้ แล้วก็ประคบประหงมมาอย่างดี
จนได้ฝักที่สมบูรณ์แล้วก็นำมาเพาะฝักได้




นำฝักที่ได้มาทำความสะอาดด้วยสารฟอกฆ่าเชื้อ



หลังจากฟอกด้วยสารฆ่าเชื้อแล้วก็ต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ
ตั้งแต่ขั้นตอนนี้เป็นต้นไปต้องทำในตู้ปลอดเชื้อ



จากนั้นนำฝักกล้วยไม้จุ่มในแอลกอฮอล์ 95%



เผาไฟ ฆ่าเชื้อโรคอีกรอบ



จากนั้นก็ผ่าตัดกันเลย ตัดหัวท้าย และผ่ากลางฝัก



หลังจากนั้น จะเห็นเมล็ดฟูฟ่องอยู่ข้างใน เราก็ขูดเอาเมล็ดออกให้หมด



ได้เมล็ดที่สมบูรณ์ คีบเมล็ดใส่ขวดอาหาร



ได้เมล็ดอยู่ในขวดอาหารนำไปเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อต่อไป รอเวลาเมล็ดงอก



เมล็ดเริ่มงอกแล้ว จะเห็นเป็นสีเขียวๆ กลมๆ เรียก โปรโตคอร์ม (protocorm) แล้วก็รอให้โต



พอถึงระยะนี้ต้นกล้วยไม้จะเต็มแน่นขวดไปหมด ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ให้กระจายตัวกัน เรียกว่าถ่ายกระจาย



พอต้นเริ่มโตก็นำมาเรียงเป็นแถว เรียกว่าเรียงเดี่ยว การเรียงขึ้นอยู่กับพันธุ์ จำนวนจะอยู่ที่ 30-40 ต้น/ขวด



เมื่อ ไม้โตชนขวดเตรียมออกปลูกได้




orchid.igetweb.com/index.php?mo=3&art=311078 -





หน้าก่อน หน้าก่อน (2/6) - หน้าถัดไป (4/6) หน้าถัดไป


Content ©