-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 312 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 2/3


สภาพที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงหน้าวัว
         
พื้นที่ปลูก :
ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการ น้ำไม่ท่วมขัง และหากมีต้นไม้ใหญ่อยู่รอบ ๆ ควรห่างจากที่ตั้งโรงเรือน ประมาณอย่างน้อย 10 เมตร เพื่อไม่ให้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่บังแสง
 
อุณหภูมิ:     
เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ในการปลูกดอกหน้าวัวให้มีคุณภาพตามที่เราต้องการ ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป ก็จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี สีของดอกจะซีดเร็ว ดอกจะบิดเบี้ยว ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไป ก็ทำให้ออกดอกน้อย ต้นจะชงักการเจริญเติบโต เพราะฉะนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมของดอกหน้าวัว อยู่ที่กลางวัน 26-32 องศา และกลางคืน 21-24 องศา จะทำให้การผลิตดอกหน้าวัวมีคุณภาพดีมาก 
      
แสง : 
สภาพแสงนับว่าเป็นปัจจัยหลักอีกอย่างหนึ่งในการอยู่รอดของต้นหน้าวัว แต่สภาพที่เหมาะกับการปลูกดอกหน้าวัว จะเจริญเติบโตได้ดีอยู่ที่ ระดับความเข้มของแสง 16,000-27,000 ลักซ์ หากระดับความเข้มของแสงน้อยกว่านี้ ต้นจะผอม ก้านจะอ่อน ให้ดอกน้อย หากระดับความเข้มของแสงเกินที่กำหนดจะทำให้ต้นแตกกิ่งข้างได้ดี แต่สีของจานรองดอกซีดเหลือง ปลีไหม้ โดยทั่วไปหน้าวัวต้องการแสงที่ประมาณ 30% ดังนั้นเราต้องมีการพรางแสง 70-80%

ความชื้น:  
ต้นหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบอากาศแบบร้อนชื้น ต้องการแสงรำไร ระบบรากจะมีรากอากาศออกจากลำต้น เพื่อดูดซับความชื้นจากอากาศ ดังนั้นความชื้นควรสูงกว่า 50-60% แต่ไม่ควรเกิน 90% ความชื้นสูงต่อเนื่องกันนาน ๆ จะทำให้ต้นหน้าวัวอ่อนแอ เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย แต่หากอยู่ในสภาพที่ความชื้นต่ำนาน ๆ จะทำให้ต้นแกรน ดอกและใบมีขนาดเล็กเกินไป ความชื้นที่เหมาะสมควรอยู่ที่ กลางวัน 70% และกลางคืนน้อยกว่า 90% 

น้ำ:   
น้ำเป็นปัจจัยหลักอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ แต่น้ำที่จะใช้กับหน้าวัวนั้น ต้องเป็นน้ำที่สะอาด มีปริมาณเกลือแร่ไม่มาก ความเป็นกรดเป็นด่าง ของน้ำควรอยู่ที่ระหว่าง 5.5-6.5 ไม่ควรใช้น้ำประปา หรือน้ำบาดาล เพราะมีปริมาณหินปูนมาก แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ ควรปรับค่าของน้ำเสียก่อน
สภาพที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงหน้าวัว
         
โรงเรือน : 
โดยปกติธรรมชาติของดอกหน้าวัว ต้องการความชื้นสูง และแสงแดดรำไร อากาศถ่ายเทดี ไม่ชอบลมโกรกมาก การสร้างโรงเรือนต้องมีความสูง 3-4 เมตร คลุมด้วยตาข่ายพรางแสง 70-80% รอบโรงเรือน ป้องกันไม่ให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไป หลังคาอาจดัดแปลงโดยพรางแสง 2 ชั้น หรือชั้นเดียว แล้วมุงด้วยพลาสติกใส เพื่อป้องกันน้ำฝน ที่จะทำให้ดอกเสียหายได้ และป้องกันโรคใบไหม้ ทางสวน Star Flora ได้ดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่างไม่ว่าหลังคามุงด้วยพลาสติกใส มีที่ระบายความร้อน ด้วยตัวหมุนดูดอากาศ
           
วัสดุปลูก:       
วัสดุปลูกควรมีลักษณะหรือคุณสมบัติโปร่ง ระบายน้ำได้ดี เก็บความชื้นดี สามารถเป็นที่ยึดเกาะของรากและลำต้นได้ดี ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช ไม่ยุบสลายเร็ว เพราะอายุของต้นหน้าวัว สามารถปลูกได้ 4 -6 ปี หากปราศจากโรค ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของวัสดุปลูกควรอยู่ที่ 5.5-6.5 
 
ระบบน้ำ:
การให้น้ำถือเป็นปัจจัยหลักและสำคัญในการปลูกเลี้ยงหน้าวัว เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง การให้น้ำต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย ถ้าหากโรงเรือนพรางแสงได้มาก วัสดุปลูกเก็บความชื้นได้ดี หรืออากาศไม่ร้อนจัด หรือมีฝนตก การให้น้ำก็จะให้ตามความเหมาะสม

การสังเกตุว่าหน้าวัวได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่นั้น สังเกตุได้จากใบและดอกเริ่มมีอาการเหี่ยวอ่อน จานรองดอกเป็นรอยช้ำ ๆ หรือวัสดุปลูกแห้ง แสดงว่าขาดน้ำหรืออุณหภูมิสูง ควรให้น้ำทันที ควรให้แต่น้อย และบ่อยครั้ง เพื่อให้ต้นหน้าวัวสามารถปรับสภาพได้ การให้น้ำโดยปกติควรรดให้เปียกโชกตลอดวัสดุปลูก ถ้าหากให้น้ำมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน คือใบหน้าวัวจะเหลืองและเหี่ยวแห้ง เน่าตายได้

สำหรับสวน Star Flora ได้มีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ภายในโรงเรือน และแบบพ่นหมอกทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน จึงไม่เป็นปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิสูง และความชื้นต่ำ

เมื่อสภาพอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูง ทางสวนจะมีการเปิดระบบพ่นหมอกเพื่อช่วยลดอุณหภูมิลงได้ จึงทำให้หน้าวัวของสวน Star Flora ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพสูง
ปุ๋ยและยาที่ใช้สำหรับหน้าวัว
         
การให้ปุ๋ย:
หน้าวัวเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้แม้จะไม่มีการให้ปุ๋ยเลย แต่การให้ปุ๋ยเสริมทำให้หน้าวัวมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น และมีดอกขนาดใหญ่ แต่การใช้ปุ๋ยต่าง ๆ นั้นย่อมให้ประโยชน์และโทษ แต่ต้องระวังไม่ควรใช้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นเกินความต้องการมากเกินไป อาจทำให้หน้าวัวตายได้
       
สำหรับการให้ปุ๋ยของสวน Star Flora เราได้มีผู้ชำนาญด้านการเกษตรเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการให้ปุ๋ย ทางสวน Star Flora จะให้ปุ๋ยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เช่น ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น, ปุ๋ยเร่งดอก และปุ๋ยเพิ่มคุณภาพของดอก และทางสวน Star Flora ยังมีการเพิ่มปุ๋ยธาตุอาหารเสริมให้กับหน้าวัวอีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพดอกหน้าวัวให้ได้ตามมาตราฐานที่ตลาดต้องการ หรือจะใช้ปุ๋ยละลายช้า (ออสโมโคส) ร่วมด้วย

การใช้ยากำจัดแมลงและปราบศัตรูพืช : 
โดยปกติหน้าวัวจะมีศัตรูรบกวนน้อยมาก เนื่องจากหน้าวัวมีใบที่หนา และมีไขเคลือบใบ แต่อย่างไรก็ตามหากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็อาจจะมีการทำลายของแมลง หรือโรคเข้าระบาดได้ ทางสวน Star Flora มีปัญหาถูกแมลงหรือการทำลายโรคระบาดพบได้น้อยมาก เพราะทางสวน Star Flora มีการจัดการที่ดี มีการเตรียมพร้อมในด้านโรงเรือน วัสดุปลูก ตลอดจนการดูแลที่ดี เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก จะมีการฉีดยากันเชื้อราทั่วพื้นที่โรงเรือน แล้วจึงลงมือทำการปลูก ถ้าหากหลังทำการปลูกไปแล้วมีการระบาดของเชื้อรา จะทำการฉีดยาเชื้อราทันที เพื่อยับยั้งการระบาดต่อไป หรือมีการทำลายของหนอนหรือแมลง ทางสวนก็จะฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อยับยั้งการระบาด แต่ทางสวนจะไม่ฉีดยาตัวเดียวซ้ำ ๆ กัน เพราะจะทำให้ดื้อยาได้ง่าย ในการใช้ยาฆ่าแมลงทางสวน Star Flora ได้ใช้ยาชีวภาพในการฉีดพ่นกำจัดแมลงร่วมด้วย


www.navy22.com/smf/index.php?topic=14039.0 -

http://www.infoforthai.com/forum/topic/3169




นภดล:
ปลูกหน้าวัว...เสริมรายได้ ในสวนยางพารา  ประกิต เพ็งวิชัย

ที่มา  http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05036010652&srcday=&search=no

ไม้ดอกสกุลหน้าวัว (Anthurium spp.) เป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยได้รับการพัฒนาให้เป็นไม้ตัดดอกเพื่อการส่งออก และนิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศ เนื่องจากมีพันธุ์และสีสันหลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง และมีอายุการใช้งานได้นาน จากการศึกษาและทดสอบปลูกเป็นพืชร่วมในสวนยางพารา ที่โครงการสวนยางเขาสำนัก และโครงการสวนยางทักษิณราชนิเวศน์ โดยงานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส พบว่า สามารถเจริญเติบโตและออกดอกได้ดี

หน้าวัว เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่ง ที่เหมาะสำหรับแนะนำหรือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืชร่วมในสวนยางพารา เพื่อเสริมรายได้ในช่วงฤดูฝนที่มีจำนวนวันกรีดน้อยหรือในช่วงที่ราคายางตกต่ำ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกหน้าวัว คือมีร่มรำไร มีแสงแดดประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ และต้องการความชื้นสูง หากนำมาปลูกในสวนยางพารา ควรปลูกในสวนยางพาราอายุประมาณ 10 ปี นอกจากปริมาณแสงเพียงพอกับการเจริญเติบโตและออกดอกแล้ว ยังมีเวลายาวนานเพียงพอกับการลงทุน สำหรับพันธุ์ที่แนะนำการปลูกหน้าวัวในสวนยางพารา ควรใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรคและทนทานต่อแสงแดด สายพันธุ์ไทยที่เหมาะสม ได้แก่ เปลวเทียนภูเก็ต (สีชมพู) เปลวเทียนลำปาง (สีขาว) หน้าวัวผกามาศ (สีส้ม) และหน้าวัวดวงสมร (สีแดง) วิธีการปลูกเป็นวิธีการที่ไม่ยากมากนัก ใช้ต้นพันธุ์ที่มีใบ 3-4 ใบ และมีราก 2-3 ราก วิธีการปลูก ปลูกในแปลงโดยใช้กาบมะพร้าวสับเป็นวัสดุปลูกหลัก และใช้เศษอิฐหักผสมบ้างเพื่อกันต้นล้ม นิยมปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 50x50x50 เซนติเมตร จำนวนต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 3,200 ต้น และ 2,750 ต้น ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร (ภาพที่ 1) และระยะปลูกยางพารา 3x7 เมตร (ภาพที่ 2) โดยปลูกห่างแถวยางพารา 2 เมตร และ 1.75 เมตร ตัวอย่างการปลูก ดังนี้

วิธีการปฏิบัติและการดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย ในปีแรกใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 21-21-21 อัตรา 15 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร สลับกับปุ๋ยน้ำ สูตร 11-8-6 อัตรา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง ในปีต่อๆ ไป ยังคงใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 21-21-21 อัตราเท่าเดิม ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง และสลับด้วยปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเดือนละครั้งเพื่อเร่งดอก การป้องกันกำจัดโรค ในฤดูฝนมักมีโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดทางใบและดอก เช่น โรคแอนแทรกโนส ควรใช้สารออโธไซด์ฉีดพ่นเพื่อป้องกันหรือในช่วงเป็นโรคเพียงเล็กน้อย อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ถ้าโรคระบาดรุนแรงให้สลับด้วยสารอาลีเอท อัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง และค่อยๆ ห่างออกไป ส่วนในช่วงแล้งไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี

วิธีการให้น้ำ ในช่วงฤดูแล้งควรรดน้ำให้ชุ่มทั้งต้นและวัสดุปลูก วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น ผลผลิตเริ่มออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 5-7 เดือน ในปีแรกผลผลิตดอกยังน้อย ในปีถัดไปผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 22,000 และ 16,000 ดอก ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ การเก็บเกี่ยว ควรตัดดอกในช่วงเช้า โดยเลือกจานรองดอกที่มีดอกจริงบนจานรองดอก 1/2-3/4 ของจาน ให้สังเกตจากสีของจานรองดอกที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ตัดมานั้นมีอายุการใช้งานได้นาน ไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ ต้นทุนการผลิต และรายได้ (ในพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่) ในปีแรกต้นทุนจะประกอบด้วยค่าต้นพันธุ์ วัสดุปลูก อุปกรณ์ให้น้ำ ปุ๋ย และสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เฉลี่ยประมาณ 51,700 และ 44,400 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตแตกต่างกันบ้าง ขึ้นกับราคาขายและพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน ในปีต่อๆ ไป มีเฉพาะค่าปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เฉลี่ย 2 บาท ต่อต้น หรือประมาณ 6,400 บาท และ 5,500 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ

สำหรับรายได้จากการตัดดอกในปีแรกยังคงต่ำ เฉลี่ยประมาณ 34,450 บาท และ 29,600 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ในปีต่อๆ ไป รายได้เฉลี่ยประมาณ 80,000 บาท และ 68,750 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะเวลาปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ ฉะนั้น ผลตอบแทนจะสามารถคืนทุนได้ในปีที่ 2 หลังจากปลูก และจะมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายต้นพันธุ์ ซึ่งเริ่มขยายพันธุ์ได้ในปีที่ 4-5 เป็นต้นไป ข้อเสนอแนะในการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางพารา เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับสวนยางพาราในบางพื้นที่เท่านั้น โดยให้พิจารณาถึงแหล่งที่มีตลาดรองรับ นอกจากนี้ เจ้าของสวนควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย คือ

1. แหล่งน้ำในสวน ควรมีเพียงพอสำหรับการให้น้ำไม้ดอกในช่วงฤดูแล้ง
2. แรงงาน เจ้าของสวนควรมีแรงงานเพียงพอสำหรับดูแลรักษาแปลงไม้ดอก
3. ปริมาณพื้นที่ปลูก ให้พิจารณาจากเงินทุนที่มีอยู่ และการปลูกควรเริ่มจากพื้นที่น้อยๆ แล้วค่อยขยายออกไปเมื่อมีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น และควรหมั่นคอยดูแลเอาใจใส่ แล้วจะได้ผลอย่างที่ต้องการ

ผู้สนใจต้องการปลูกหน้าวัว ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ (073) 631-033, (073) 631-038


http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=6642.0;wap2




หน้าวัวจัดเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าไม้ตัดดอกชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะว่าดอกมีสีสันสวยงาม สะดุดตา ก้านดอกยาว และแข็งแรงมีอายุการใช้งานนานกว่า 10 วัน เป็นที่นิยมของตลาด ต่างประเทศ จากการสำรวจพบว่าหน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกที่ทำรายได้สูงสุด คือ 140,000 บาท/ไร่/ปี รองลงมาคือ เบญจมาศ 72,924 ดอก/ไร่ จะขายกันประมาณดอกละ 2 บาท ซึ่งจะเห็นว่าหน้าวัวเป็นไม้ตัดดอก อีกชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ สูงทีเดียว ถึงปีแรกจะเสียค่าต้นพันธุ์สูงแต่ในปีต่อไปจะลดลง จึงทำให้การผลิตหน้าวัวคุ้มค่าต่อการลงทุน
แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถลดต้นทุนการผลิตเกี่ยวกับโรงเรือนได้ในบางพื้นที่ เช่น การปลูกแซมในสวนยางพารา ในภาคใต้ หรือแซมในป่าสนสองใบ ในจังหวัดภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ดอกหน้าวัวเกิดจากตาเหนือก้านใบประกอบด้วยปลี (ช่อดอก) และจานรองดอก ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบติดอยู่ที่โคนปลี แต่มีสีสันสวยงามสะดุดตา จึงทำให้คิดว่าจานรองดอกคือดอกของหน้าวัว ลักษณะของจาน รองดอกมักมีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้างและจานรองดอกจะมีขนาดเล็กใหญ่ขึ้นกับขนาดของต้น ชนิดของพันธุ์และการเลี้ยงดู นอกจากความสวยงามของจานรองดอกด้วย ซึ่งเรียกว่า "ร่องน้ำตา" ในเมืองไทย มักนิยมร่องน้ำตาลึก ๆ เช่น พันธุ์ดวงสมร แต่ในต่างประเทศมักต้องการจานรองดอกที่ค่อนข้างเรียบ จานรองดอกที่ดีควรมีลักษณะเป็นรูปหัวใจและได้สัดส่วนกันจากโคนมาถึงปลาย ด้านซ้ายและขวา จะต้อง เท่ากันโดยไม่มีรอยแหว่งเว้าของด้านใดด้านหนึ่ง ความหนาของจานรองดอกไม่บางเกินไป ในเมืองไทยนิยมให้โคนของจานรองดอกตั้ง หรือที่เรียกว่า "หูแนบ" แต่ในต่างประเทศไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ส่วนช่อดอกของหน้าวัวหรือที่เรียกว่า ปลี คือ ส่วนที่เป็นดอกจริง ซึ่งประกอบด้วย ก้านช่อ ซึ่งมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน ดอกที่อยู่บนก้านดอกนี้จะมีสีต่าง ๆ เมื่อจานรองดอกคลี่ปลีออกจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีปนแดง แล้วแต่ชนิพันธุ์ เมื่อจานรองดอกบานเต็มที่ ดอกที่อยู่โคนปลีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ไล่ไปปลายปลี ลักษณะเช่นนี้ แสดงว่า ดอกบาน และเมื่อตุ่มยอดเกสรตัวเมียเริ่มมีน้ำเหนียว ๆ แสดงว่าดอกนั้นพร้อมที่จะผสมเกสรตัวผู้จะบานภายหลังเกสรตัวเมีย ดังนั้นหน้าวัวส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีโอกาสผสมตัวเอง ยกเว้นบางพันธุ์เท่านั้น นอกจาก นี้เกสรตัวผู้ของหน้าวัวลูกผสมส่วนใหญ่ จะมีเกสรตัวผู้ฟุ้งเมื่ออุณหภูมิเย็น ดังนั้นโอกาสที่ผสมพันธุ์ในกรุงเทพฯ จึงมีช่วงระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยมากมักจะผสมในช่วงฤดูหนาว

พันธุ์


หน้าวัวมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ และแต่ละชนิดก็มีหลายพันธุ์ คือ
1. Anthurium andraeanum ส่วนใหญ่ใช้ตัดดอก สามารถแบ่งได้ตามสี 4 สี คือ
- พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีแดง ในเมืองไทยที่พบมีพันธุ์จักรพรรดิ ดวงสมร กรุงธน นครธน กษัตริ์ศึกธนบุรี บางกล จอมพล กรุงเทพฯ แดงนุกูล ดาราไทย ฯลฯ แต่พันธุ์ที่นิยมเป็นไม้ตัดดอกของเมืองไทย คือ ดวงสมร ลักษณะของพันธุ์นี้จะมีจานรองดอกเป็นสีแดงเข้ม เป็นมันสวยงาม เป็นรูปหัวใจ หูชิดเท่ากันสองด้าน ร่องน้ำตาย่นลึก ปลีมีสีเหลือง เมื่อแก่จะมีสีขาว
- พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีส้ม ในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์ผกามาศ ผกาทอง ตราทอง สุหรานากง โพธิ์ทอง ฯลฯ พันธุ์สีส้มนี้ พันธุ์ที่เป็นไม้ประกวด คือ สุหรานากง และโพธิ์ทอง ส่วนพันธุ์ที่น่าสนใจ คือ ดาราทอง ซึ่งมี หน่อมาก เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง
- พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์ศรีสง่า ศรียาตรา จักรเพชร ฯลฯ
- พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ขาวนายหวาน ขาวพระสังขศาสตร์ ขาวคุณหนู

พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีอื่น ๆ มักไม่ค่อยพบเป็นไม้ตัดดอก เพราะมีจำนวนปลูกน้อยต้น ราคาค่อนข้างแพง

พันธุ์นี้มีจานรองดอกสีแตกต่างกัน แต่ไม่นิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทย เพราะต้องการความเย็นและความชื้นสูงกว่า anthurium andraeanum พันธุ์นี้ปลีงอ หรือเป็นเกลียวปลูกเป็นไม้ตัดดอก และไม้กระถาง


2. Anthurium schzerianum ในสหรัฐอเมริกา นิยมใช้หน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีแดงอ่อนมาก คือประมาณ 80% ส่วน 20% เป็นสีชมพู และสีขาว ในประเทศฝรั่งเศสและสวิสเซอร์แลนด์ นิยมสีแดงและสีส้ม ปัจจุบันได้มีผู้พัฒนาวิธีการและเทคนิคใหม่ ๆ ในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะดี และแปลกออกไป ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการอาบรังสี ให้หน้าวัสเกิดการกลายพันธุ์มากขึ้น

การขยายพันธุ์


1. การตัดยอด การขยายพันธุ์วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก โดยทำเมื่อต้นสูงขึ้นจากระดับเครื่องปลูกและมีราก 2-3 ราก วิธีปฏิบัติควรทำการขยายพันธุ์แบบนี้เมื่อยอดที่จะถูกตัดนั้นมีรากยาวพอสมควร เพื่อให้ยอดที่ถูกตัด นั้นมีรายการพอสมควร เพื่อให้ยอดที่ถูกตัดเมื่อนำไปปลูก ตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็วไม่ชะงักการเจริญเติบโตนานเกินไป เพราะรากสามารถยึดเกาะติดกับเครื่องปลูกเพื่อพยุงลำต้น และหาอาหารให้กับหน้าวัวได้เลย การตัดแบบนี้ควรเหลือใบไว้ที่ต้นตอเดิมประมาณ 1-2 ใบ เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้เกิดหน่อใหม่ได้เร็ว และมีหน่อสมบูรณ์ ถ้าตอไม่มีใบเหลืออยู่จะเกิดหน่อมาก แต่การเจริญเติบโตช้ามาก การตัดยอดไปปลูกนี้ควร ทายากันราที่รอยแผลที่ถูกตัดทั้งยอดและตอเพื่อป้องกันไม่ให้ราเข้าทำลายได้
มีผลการทดลองที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการตัดยอดหน้าวัวโดยไม่มีรากติดกับยอดนำไปชำในเครื่องปลูกที่เก็บรักษาความชื้นมากและกระชังกับต้น เช่น ใช้ขี้เถ้าแกลบหรือ ขี้เถ้าแกลบผสมกับทราย 1 : 1 เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำไปชำแล้วประมาณ 2 เดือน ยอดจะมีรากและสามารถนำไปปลูกต่อไปได้
2. การแยกหน่อ หน้าวัวบางพันธุ์มีหน่อมาก เช่น พันธุ์ดาราทอง หรือหน่อที่เกิดจากตอเดิมที่ถูกตัดยอดไป เมื่อหน่อเหล่านี้มีรากมาก ก็ดึงหน่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไปได้เช่นกัน
3. การตัดต้นชำ หน้าวัวบางพันธุ์ไม่ได้ขยายพันธุ์โดยการตัดยอดนานเข้าหน้าวัวจะเจริญเติบโตเรื่อย ๆ ทำให้ลำต้นยาว หลังจากถูกตัดหน่อไปปลูกแล้ว ก็มีลำต้นเหลืออย่างมาก ก็อาจจะขยายพันธุ์ได้อีก โดยการตัดต้น ที่ยาวนี้เป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนจะมีข้อประมาณ 2-3 ข้อ นำท่อนพันธุ์ไปใช้ชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่เสมอ จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาตามข้อหรือปล้องนั้น เมื่อต้นมีรากก็แยกไปปลูกต่อไป
4. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการที่สามารถผลิตหน้าวัวได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่สั้น แต่จะมีปัญหาอยู่คือการทำความสะอาดชิ้นส่วนของหน้าวัวทำได้ยาก เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบความชื้น ฉะนั้นจึงทำให้มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรียตามต้นพันธุ์มาก แต่เมื่อได้เนื้อเยื่อที่ปลอดเชื้อและยังมีชีวิตอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตต่อไป เมื่อมีต้นอ่อนเจริญเติบโตในหลอดอาหารและเมื่อโตเพียงพอก็ย้ายออกจาก หลอดนำไปปลูกเลี้ยงในโรงเรือนที่ชื้นสม่ำเสมอในะระยนี้ต้องมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่มิฉะนั้นต้นจะตายง่ายโดยเฉพาะถ้าขาดความชื้น
5. การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิม ในประเทศไทยปกติสภาพของกรุงเทพฯ การบานของเกสรตัวผู้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ซึ่งมักจะมีละอองเกสรเฉพาะ ช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะต้นพันธุ์ที่ดี ส่วนพันธุ์ป่าโดยมากบานเกือบทั้งปี แต่มีโอกาสที่หน้าวัวจะติดเมล็ดเองมีน้อย เพราะเกสรตัวผู้และตัวเมียบานไม่พร้อมกัน โดยมากเกสรตัวเมียบานแล้ว จึงมีละอองเกสรตัวผู้จะสังเกต เห็นละอองเกสรตัวผู้จะบานไล่จากโคนปลี ไปหาปลายปีหน้าวัวมีน้ำเหนียวเป็นเงาเอามือแตะดูจะรู้สึกเหนียว ๆ แสดงว่าเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมแล้วจึงเอามือหรือพู่กันขึ้น ๆ แตะบนละอองเกสรตัวผู้ มาป้ายบนยอดเกสร ตัวเมีย ซึ่งจะบานไล่จากโคนไปด้านปลายปลีเช่นกัน หลังจากผสมแล้วถ้าผสมติดจะสังเกตเห็นว่าปลีบวม เพราะรังไข่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ เป็นตุ่มและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง และถ้าแก่เต็มที่ผลจะหลุดออกจากปลี ผลหนึ่งมีเมล็ด 1-3 เมล็ด ระยะเวลาตั้งแต่ผสมจนถึงเมล็ดแก่ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เมื่อเมล็ดแก่ก็นำมาเพาะต่อไป
การเพาะเมล็ดควรเตรียมวัสดุให้พร้อมคือ อิฐละเอียดที่มีขนาด 0.3-0.6 เซนติเมตร ร่อนให้สะอาดแช่น้ำให้ชุ่มชื้น นำใส่กระถางที่วางบนจานรองมีน้ำสะอาดต่อไป นำเมล็ดที่ล้างเอาเมือกออกหมดแล้วโรยบนอิฐให้ทั่วใช้ กระจกปิดปากกระถางเพื่อรักษาความชื้น เมล็ดหน้าวัวจะงออภายใน 4-5 ใบ ย้ายลงกระถางใหม่เตรียมอิฐที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เครื่องปลูกโปร่งขึ้น
การเพาะเลี้ยงเมล็ดนี้จะเสียเวลารอเมล็ดแก่นาน จึงมีการเพาะเลี้ยง embryo (embryo culture) คือเมื่อผสมติดแล้วประมาณ 2-3 เดือน นำเมล็ดผ่าเอา embryo มาเลี้ยงในหลอดทำให้ได้ลูกผสมในระยะเวลาสั้นขึ้น การเพาะเลี้ยงแบบนี้ได้ต้นโตเร็ว และได้จำนวนมากภายในเวลา 2 เดือน ก็สามารถนำต้นออกมาเลี้ยงนอกหลอดทดลองได้แล้ว แต่ต้องดูแลเป็นพิเศษเช่นเดียวกับต้นอ่อน
http://www.oknation.net/blog/supaporn/2007/12/29/entry-7




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©