-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 588 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย





ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตคะน้า


การศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตคะน้า ดำเนินการในพื้นที่ของหมอดินอาสา กลุ่มชุดดินที่8 ชุดดินธนบุรี แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร วางแผนการทดลองแบบ สังเกตการณ์ (Observation trial) จำนวน 8 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ 1) ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 50, 100 และ 150 กิโลกรัม/ไร่ 2) ปุ๋ยเคมี (25-7-7) อัตรา 25 และ 50 กิโลกรัม/ไร่ 3) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ และ 4) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ผลการวิจัยพบว่าทุกตำรับการทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักผลผลิตคะน้าสูงกว่าแปลงควบคุม (ไม่ใช้ปุ๋ย) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ร่วมกับปุ๋ยยูเรียให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 5,929 กิโลกรัม/ไร่ โดยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ และการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่กับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ขึ้นไปโดยเสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สำหรับการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีของดินพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่สูงขึ้นโดยเสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีแนวโน้มทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ค่าการนำไฟฟ้าลดลง ทั้งนี้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดของปริมาณอินทรียวัตถุ ธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และแคลเซียม แต่พบว่ามีแนวโน้มทำให้ธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมเพิ่มมากขึ้น

จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในต้นคะน้าอายุ 45 วัน พบว่าทุกตำรับการทดลองมีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตำรับควบคุม การใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่กับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ขึ้นไป มีธาตุไนโตรเจนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่กับปุ๋ยยูเรีย เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่กับปุ๋ยยูเรียให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด 25,819.00 บาท/ไร่


ข้อเสนอแนะ

1. การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมควรพิจารณาจากค่าวิเคราะห์ดิน เนื่องจากในดินอาจมีธาตุอาหารบางชนิดที่มากเกินความจำเป็น การใส่ปุ๋ยมากเกินไปนอกจากจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีผลทำให้ธาตุอาหารในดินบางชนิดไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชปลูกด้วย เช่น ธาตุฟอสฟอรัสที่มีมากเกินไปจะทำให้ธาตุเหล็ก ทองแดงและสังกะสีเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง ทั้งนี้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินจะทำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต โดยเกษตรกรสามารถเลือกใช้วัตถุดิบชนิดต่างๆที่มีปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกันไป

2. เกษตรกรควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือพืชปุ๋ยสด เพื่อให้ดินมีสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ทั้งนี้อินทรียวัตถุจะช่วยดูดซับธาตุอาหารไว้ในดินและปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้เป็นประโยชน์ต่อพืชปลูกในระยะยาว โดยก่อนการปลูกพืชหากมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่มากก็จะทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นด้วย

3. แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะมากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี แต่ก็ทำให้ดินมีสภาพเหมาะสมต่อการพืชปลูกมากกว่า ทั้งนี้หากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่เหมาะสมก็สามารถทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นใกล้เคียงกับปุ๋ยเคมีได้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกร เพราะวัตถุดิบที่ใช้สามารถหาได้ง่าย เกษตรกรสามารถผลิตได้เอง ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในอนาคตอาจมีราคาสูงว่าปุ๋ยอินทรีย์ก็เป็นได้

4. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำร่วมด้วยสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีส่วนผสมของฮอร์โมนและกรดอินทรีย์ที่จำเป็นและช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เกษตรกรสามารถผลิตได้เอง โดยกรมพัฒนาที่ดินแนะนำให้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากเศษพืช ผัก ผลไม้ เศษปลา หอยเชอรี่ เปลือกไข่ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์พด.2 ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ได้เร็วยิ่งขึ้น

5. หน่วยงานรัฐควรส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์น้ำทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ควรแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (792 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©