-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 417 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย








ไบโอเทคส่งงานวิจัยแก้ดินเค็ม คว้ารางวัลเกษตรดีเด่นญี่ปุ่น


รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ปีนี้นักวิจัยไทย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิจัยห้องปฏิบัติการสรีระวิทยาและชีวเคมีด้านพืช หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นด้านการเกษตรประจำปี 2550 หรือ Japan International Award 2007 of Agricultural Researchers ของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดให้มีรางวัลยกย่องนักวิจัยในสาขาเกษตรรุ่นเยาว์ โดยคัดเลือกจากนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่มีผลงานโดดเด่นจากทั่วโลก เพื่อสนับสนุนนักวิจัยสาขาเกษตรจากนานาประเทศ ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการวิจัยที่จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ลดน้อยลงในประเทศกำลังพัฒนา

รศ.ดร.ศักรินทร์กล่าวว่า สำหรับผลงานที่โดดเด่นของ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี คือ การประยุกต์วิทยาศาสตร์ในสาขาวิศวกรรมการควบคุมสิ่งแวดล้อมในระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เข้าสู่การพัฒนาระบบการควบคุมการแสดงออกในระดับเซลล์ เพื่อการสร้างองค์ความรู้ และนำไปสู่การคัดและพัฒนาพันธุ์พืชอาหาร และสิ่งแวดล้อม จากผลงานที่ผ่านมาสามารถค้นพบพันธุ์พืชยืนต้นที่มีความทนต่อความแห้งแล้งและความเค็มที่สูง และนำไปแก้ไขปัญหาดินเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ทั้งในภาคสังคมและภาคอุตสาหรรม องค์ความรู้ที่ได้รับถูกนำมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมที่มีระดับความสามารถทนเค็มได้มากว่าร้อยละ 1.2 และการประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาพลังงานชีวภาพด้วย

รศ.ดร.ศักรินทร์กล่าวอีกว่า ดร.เฉลิมพลมีประวัติผลงานที่โดดเด่นจากการได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ 6 รางวัล ผลงานจดสิทธิบัตร 7 สิทธิบัตร ผลงานตีพิมพ์ในระดับ International 40 เรื่อง และประสบความสำเร็จในการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้มากกว่า 12 ชุดโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลงานวิจัยที่นำไปสู่การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้าน "Research, development and extension on in vitro selection and mass-propagation for producing high quality transplants of medicinal, food and industrial crop"

"โครงการดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมความเข้าใจองค์ความรู้ด้านการแสดงออกของพืช (Phenotypic expression) และประยุกต์สู่การแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม และอาหารของโลกในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งมีประชากรมากกว่าร้อยละ 70 ของประชากรโลกที่ต้องต่อสู่กับภาวะความอดอยากจากความแห้งแล้ง ความเค็ม และการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก" รศ.ดร.ศักรินทร์กล่าว


ที่มา  :  มติชน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (655 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©