-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 535 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย








ธงชัย พุ่มพวง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
นำเสนอผลงานที่ปฏิบัติได้เพื่อชุมชน


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ตั้งแต่ปี 2518 ต่อมาในปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และในปี 2548 ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พร้อมกันทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีอักษรย่อว่า มทร.ล้านนา แบ่งเขตพื้นที่การบริหารและจัดการศึกษาครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ตาก น่าน พิษณุโลก และสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร ลำปาง

มทร.ล้านนา มีวิสัยทัศน์แห่งการเป็นผู้นำทางการศึกษาด้านอาชีพ งานวิจัย และงานบริการอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นเลิศ บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของชาติและของพื้นที่ได้อย่างสมดุลยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการที่ทันสมัย สีสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำตาล หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน เปรียบได้กับ มทร.ล้านนา ที่เป็นสถานที่ที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นฐานความพร้อมในการเสริมสร้างและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ ผู้มีคุณธรรม จริยธรรมสู่สังคม พร้อมทั้งการพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเจริญก้าวหน้า ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นปีบหรือกาสะลอง เป็นต้นไม้ที่รู้จักกันแพร่หลายในถิ่นล้านนา ลำต้นแข็งแรง สูงโปร่ง ช่อดอกสีขาวบานสะพรั่ง ดอกมีกลิ่นหอม เปรียบประดุจคุณลักษณะของบัณฑิตที่มีความพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่จะไปพัฒนาสังคมประเทศชาติ พร้อมทั้งเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักต่อสังคม

เมื่อไม่นานมานี้ มทร.ล้านนา นำโดย อาจารย์ชังยง เอื้อวิริยานุกูล อธิการบดี และทีมงาน ได้จัดงานแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน พร้อมทั้งนำเสนอผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอผลงานบางส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการ โดยเป็นผลงานจากเขตพื้นที่ต่างๆ ได้แก่

มทร.ล้านนา ภาคพายัพ นำเสนอเรื่อง รถพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อคนพิการ เป็นรถที่ออกแบบและสร้างขึ้นจากความคิดของรถคนพิการ วิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อช่วยผ่อนแรงผู้ใช้งาน สามารถชาร์จไฟจากไฟฟ้าในบ้านเรือนได้ การใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตน้ำส้มควันไม้ เป็นการผลิตน้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพดี ประหยัดพลังงานและเวลาได้มากกว่าผลิตแบบพื้นบ้าน เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ นักศึกษาได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับนานาชาติ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ถ้วยเซรามิคเพื่องานสปา ได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชุดถ้วยน้ำชา-ช้างศิลาดล ผู้สนใจผลงาน มทร.ล้านนา ภาคพายัพ ติดต่อโทรศัพท์ (053) 921-444 ต่อ 1033 หรือ www.rmutl.ac.th

มทร.ล้านนา พิษณุโลก นำเสนอผลงาน การปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นวิธีการปลูกข้าวด้วยเทคนิคการโยนต้นกล้า เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ สารกำจัดวัชพืชและปุ๋ยเคมี ใช้วิธีเพาะต้นกล้าในกระบะเพาะพลาสติคที่เป็นหลุมให้ออกรากก่อน อายุประมาณ 15-20 วัน จากนั้นจึงนำไปโยนในแปลงนาที่เตรียมเทือกไว้แล้ว ช่วยให้ชาวนาใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 4-5 กิโลกรัม ต่อไร่ หากเป็นการทำนาแบบนาน้ำตม จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.สมชาติ หาญวงษา โทร. (084) 618-5733

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร ลำปาง นำเสนอผลงาน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชหลายชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้หัว พืชสมุนไพร เช่น กล้วยไม้หวายเมืองกาญจน์ กล้วยไม้พญาไร้ใบ กล้วยไม้สกุลหวายอื่นๆ กระชายดำ ดาหลา หงส์เหิน กระเจียว ปทุมา หน่อไม้ฝรั่ง พริก พญาเศวต ขิงแดง ขิงชมพู ปูเล่ มะไห่ ที่สวยงามและสำคัญของการพัฒนาด้านพืชเนื้อเยื่อคือ การเพาะเลี้ยงให้กล้วยไม้ ดอกหน้าวัว ให้งอกและออกดอกในขวดขนาดเล็ก ได้พัฒนาให้เป็นของชำร่วยและของฝากที่สวยงาม ติดต่อ อาจารย์อภิชาติ ชิดบุรี โทร. (054) 342-553

นอกจากนี้ ที่ศูนย์วิจัยฯ ยังมีผลงานเด่นอีกมากมาย เช่น ฟักทองพันธุ์โอโตะ ได้ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2547 ปัจจุบัน บริษัท เจียไต๋ ได้รับสนองให้นำเมล็ดพันธุ์ไปผลิตเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ถั่วเหลืองพันธุ์ราชมงคล 1 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันอย่างแพร่หลายจนเกิดกลุ่มผู้ผลิตถั่วเหลืองส่งจำหน่ายให้สหกรณ์การเกษตรนำไปจำหน่ายแก่เกษตรกร

นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งราชมงคล 1 ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ที่สามารถให้ผลผลิตสูงและปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศทางภาคเหนือได้ดี การผลิตและสกัดต้นหางไหลเพื่อใช้ในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมี การศึกษาและขยายพันธุ์ต้นมะเกี๋ยง ต้นไม้อนุรักษ์ที่เริ่มจะหายาก เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร เช่น การทำไก่แฮม ไส้กรอกเยอรมัน ข้าวเกรียบฟักทอง เบเกอรี่จากแป้งฟักทองและแป้งข้าวสาลี เทคโนโลยีการทำเครื่องดื่ม เช่น น้ำฟักทอง น้ำมะเกี๋ยง น้ำมะม่วง น้ำหม่อน ไวน์ผลไม้ ไวน์บ๊วย ไวน์หม่อน ไวน์สับปะรด และโยเกิร์ตมะเกี๋ยง

สถาบันวิจัยฯ ได้ยื่นเรื่องจดสิทธิบัตรแล้ว ได้แก่ เครื่องวัดออกซิเจนอย่างง่าย กระบวนการสกัดสารโรติโนนจากหางไหล กระบวนการย้อมผ้าด้วยสีย้อมผ้าจากใบมะเกี๋ยง นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องปลูกเมล็ดพืชไร่ เครื่องกลั่นสุรา สารสกัดหางไหล ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการเชื้อพันธุกรรมผักตระกูลแตง โดยเฉพาะรวบรวมสายพันธุ์แตงกวา 619 สายพันธุ์ จาก 53 ประเทศ สายพันธุ์ฟักทอง 309 สายพันธุ์ การผลิตลำไยนอกฤดู การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตอย่างปลอดภัยและงานวิจัยเพื่อหาสารทดแทน สนใจผลงานของสถาบันวิจัยฯ โทรศัพท์ (054) 342-553 หรือ www.lartc.rmutl.ac.th

มทร.ล้านนา น่าน นำเสนอผลงาน การผลิตไข่จุลินทรีย์ โดยร่วมกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยมากว่า 5 ปีแล้ว ทำให้ไข่มีกลิ่นหอม มีคุณค่าทางอาหารสูง คอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ปลอดเชื้อโรค ปลอดสารพิษและยาปฏิชีวนะ ส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดน่านผลิตจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว และได้จดลิขสิทธิ์ทางปัญญาแล้ว ติดต่อ ดร.สุวรรณ ช่างกลึงดี โทรศัพท์ (089) 167-1706 การศึกษาเพาะพันธุ์ปลามัน เพื่อการอนุรักษ์ไว้ในแหล่งธรรมชาติ ปล่อยลูกปลามันจำนวน 3.5 แสนตัว ในแม่น้ำว้าและแม่น้ำมาง การขยายพันธุ์แมลงกว่างชน หรือนักสู้แห่งขุนเขาในเชิงพาณิชย์ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาชนหรือต่อสู้กันบนเวทีต้นอ้อยหรือลำอ้อย เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวล้านนา สนในผลงาน มทร.ล้านนา น่าน โทรศัพท์ (054) 710-259 หรือ www.nan.rmutl.ac.th

มทร.ล้านนา ตาก ได้รับรางวัลชนะเลิศโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการประกวดกระทงประดิษฐ์ ณ องค์การสวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการพลังงานโซลาเซลล์เพื่อชุมชน

มทร.ล้านนา เชียงราย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และ มทร.ล้านนา เชียงราย จัดตั้งศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ที่ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รวบรวมพันธุ์พืช เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ให้ผลผลิตที่ดี ทนทานต่อโรคแมลง ก่อนที่จะเผยแพร่แก่เกษตรกรนำไปขยายพันธุ์ ผลงานที่นำเสนอ ได้แก่ โครงการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่ว โครงการพัฒนาพันธุ์ทานตะวันรับประทานเมล็ด โครงการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง โครงการปลูกงาเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพน้ำมัน การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลือง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวไร่ คลีนิคเทคโนโลยี เพื่อแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรสาขาต่างๆ เช่น การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ การผลิตสีย้อมผ้าจากวัสดุธรรมชาติ และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย โครงการต้นกล้าอาชีพ เป็นไปตามมาตรการของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการจ้างงานด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถมีรายได้และสร้างทางเลือกใหม่แก่ผู้ว่างงานและผู้สนใจทั่วไป แบ่งออกเป็นกลุ่มอาหาร กลุ่มทักษะภาษา กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มเกษตร กลุ่มงานช่าง กลุ่มงานอาชีพอื่น เช่น ธุรกิจกาแฟ เพาะเห็ด ไส้กรอก โคมตุงล้านนา ฯลฯ สนใจผลงาน มทร.ล้านนา เชียงราย ติดต่อที่โทรศัพท์ (053) 729-600-5 หรือ www.chiangrai.rmutl.ac.th

มทร.ล้านนา ลำปาง นำเสนอผลงาน โครงการแคบหมูกึ่งสำเร็จรูป ได้รับการคัดเลือกผลงานวิจัยดีเด่นของ สกว. ประจำปี 2551 โครงการศึกษาใบหม่อน เพื่อประโยชน์ทางด้านอาหาร คุณค่าโภชนาการ สรรพคุณทางยา สนใจผลงาน มทร.ล้านนา ลำปาง ติดต่อโทรศัพท์ (054) 342-547-8 หรือ www.lpc.rmutl.ac.th

ผู้เขียนขอขอบคุณ ผศ.อาคม ตันตระกูล ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยของนักคิด นักปฏิบัติ ที่มุ่งสร้างคน สู่งาน มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และพึ่งพาตนเองได้"


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (842 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©