-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 593 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย







“อีแต๋น" มาตรฐานต้นแบบ ลดใช้น้ำมันมากกว่ากระบะ 2 เท่า 
 
 จากเครื่องยนต์ รถไถนาเดินตามถูกดัดแปลงกลายเป็นรถยนต์เพื่อการเกษตรหรือที่รู้จักกันว่า "รถอีแต๋น" และมีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่กลับเป็นรถที่ผิดกฎหมาย ไม่สามารถวิ่งบนท้องถนนได้ เนื่องจากไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย จึงเป็นโจทย์สู่การวิจัยให้ได้รถที่ถูกหลักวิศวกรรม จนได้ต้นแบบที่ประหยัดน้ำมันกว่ารถแบบดั้งเดิม 2 เท่า
      
       ปิยพงศ์ เพ็ญชาติ ผู้ช่วยห้องปฏิบัติการยานยนต์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ไทยมีการผลิตรถอีแต๋นอยู่มากมาย แต่รถที่ประกอบขึ้นส่วนมากนั้น ใช้เครื่องยนต์มือสองจากเครื่องยนต์ของรถไถนาเดินตาม และอาศัยความรู้จากประสบการณ์ของผู้ผลิต โดยไม่มีองค์ความรู้เชิงวิศวกรรม จึงมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน และยังผิดกฎหมายเมื่อนำมาวิ่งบนถนน
       ่
       เอ็มเทคจึงได้พัฒนารถอเนกประสงค์ เพื่อเกษตรกรที่ถฏหลักวิศวกรรม โดยมี ดร.ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง นักวิจัยเอ็มเทค เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งปิยพงศ์ได้ร่วมในโครงการดังกล่าวด้วย และเขาได้บอกอีกว่ารถเอนกประสงค์นี้ออกแบบมาเพือภาคเกษตรโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อเทียบความปลอดภัยกับรถอีแต๋นทั่วไปแล้ว รถเอนกประสงค์นี้มีความปลอดภัยมากกว่า และเมื่อเปรียบเทียบกับรถกระบะที่มีราคาแพงกว่าแล้ว รถอเนกประสงค์ยังประหยัดน้ำมันมากกว่าถึง 2 เท่า
      
       ทั้งนี้ทีมวิจัยได้พัฒนาส่วนประกอบต่างๆ ของรถอเนกประสงค์คือ ระบบเฟืองท้าย ดุมล้อและระบบเบรก เพลาหน้า ระบบบังคับเลี้ยว และระบบรองรับการสั่นสะเทือน แล้วนำมาประกอบขึ้นเป็นรถอเนกประสงค์ อย่างไรก็ดีทีมวิจัยยังต้องพัฒนาชิ้นส่วนบางชิ้น ซึ่งยังไม่สามารถผลิตขึ้นในประเทศได้ คือระบบบังคบเลี้ยว เกียร์ และเฟืองท้าย
      
       รถอเนกประสงค์เพื่อการเกษตรนี้ใช้เครื่องยนต์ 1 สูบ ระบายความร้อนด้วยน้ำ 14 แรงม้า โดยน้ำหนักรถ 1.6 ตัน สามารถบรรทุกได้ 1.4 ตัน และได้ผ่านการวิเคราะหฺและทดสอบความปลอดภัย ซึ่งสามารถจดทะเบียนเป็นรถบรรทุกการเกษตรแบบ รย.15 ได้
      
       พร้อมกันนี้ บวร รุ่งเสถียร นักวิเคราะห์โครงการ โปรแกรมเทคโนโลยียานยนต์เพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน สำนักงานบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เปิดตัวรถโดยสารไฟฟ้า 15 ที่นั่ง ผลงานวิจัยที่มี ดร.ชินะ เพ็ญชาติ หัวหน้าห้องปฏิบัติการยานยนต์เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
      
       รถโดยสารไฟฟ้าดังกล่าว ไม่ใช้เครื่องยนต์เหมือนรถโดยสารทั่วไปที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลปั่นไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ โดยรถโดยสารไฟฟ้านี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีตะกั่ว 14 ลูกสำหรับใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ และใช้แบตเตอรีอีก 12 ลูกสำหรับระบบปรับอาหาศภายในรถ โดยการชาร์จประจุไฟฟ้า 1 ครั้งจะวิ่งได้ไกล 60 กิโลเมตร และวิ่งได้เร็วสูงสุด 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งทีมวิจัยมองว่าจะเป็นทางเลือกสำหรับรถโดยสารในเมือง ส่วนการพัฒนาเป็นรถโดยสารระยะไกลนั้นต้องพัฒนาแบตเตอรีลีเทียม ซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้เร็วและไกลขึ้น
      
       “การทำงานของรถนั้นขึ้นอยู่กับแบตเตอรีโดยตรง แต่ตอนนี้มีปัญหาเรื่องแบตเตอรีลีเทียมที่ยังมีราคาสูงมาก ทั้งนี้งานวิจัยรถบัสไฟฟ้านี้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาโลกร้อน เอ็มเทคจึงคิดที่จะพัฒนารถไฟฟ้า และเลือกพัฒนารถบัสไฟฟ้า เนื่องจากเมืองไทยมีรถบัสจำนวนมาก หากทำให้รถบัสเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้มาก" บวรเผย


ที่มา  :  MTEC









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (1001 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©