-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 597 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย







ขี้เลื่อย”ไทย ไปเมืองนอก นวัตกรรมใหม่ นำเงินเข้าประเทศมหาศาล 
 
ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถนำไปประกอบเป็นเป็นกรอบประตู หน้าต่าง คิ้ว บัว ฯลฯ
 
        บริษัทเอกชนไทย ร่วมมือกับ สกว. และอาจารย์ม.บางมด วิจัย “ขี้เลื่อย” วัสดุเหลือใช้ในอดีต ทำเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ คุณภาพเทียบเท่าเนื้อไม้แท้ ๆ แย้ม ต่างประเทศแห่จองสั่งซื้อจำนวนมากจนรับออเดอร์ไม่ไหว เตรียมขยายบริษัท เพิ่มเครื่องจักร จ้างคนเพิ่ม นับเป็นแบรนด์ไทยที่มีแนวโน้มสดใส นำเงินเข้าประเทศได้จำนวนมาก ในอนาคต
      
       ปัจจุบันปริมาณป่าไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว แต่การปลูกป่าทดแทนกลับไม่มีคุณภาพพอจะทดแทนป่าไม้ธรรมชาติได้ แนวทางหนึ่งที่ช่วยลดการทำลายป่าคือ ใช้ไม้ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมมือกับ บริษัทวีพี วู๊ด จำกัด และทีมงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกันวิจัย นำ “ขี้เลื่อย” หรือเศษไม้เหลือใช้ ผสมกับพีวีซี พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด

 รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ทำการวิจัย
 
        จุดเด่น ต้นทุนต่ำ ทนทาน ติดตลาดได้ไม่ยาก
      
       รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยว่า งานวิจัยดังกล่าว เป็นการนำเอา “ขี้เลื่อยไม้” ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการผสมกับพลาสติกพีวีซีเพื่อผลิตเป็นวัสดุผสมชนิดใหม่ ผลการศึกษาที่ได้สามารถพัฒนาสูตรผสมของขี้เลื่อยไม้และพีวีซีเพื่อผลิตเป็นวัสดุแทนการใช้พีวีซีล้วนๆ โดยสามารถนำผงขี้เลื่อยไม้มาทดแทนกรใช้พีวีซีได้สูงถึง 50% และได้วัสดุชนิดใหม่ที่มีต้นทุนถูกกว่าการผลิตจากพีวีซีล้วนๆ 25-30% ผลต่อเนื่องจากการวิจัยนี้คือการจดสิทธิบัตรผลงานนวัตกรรมใหม่ เพื่อแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาไทยล้วนๆ ผลงานวิจัยนี้ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น กรอบประตู หน้าต่าง คิ้ว บัว ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้ผลขี้เลื่อยให้มากขึ้น

 วัตถุดิบ ประกอบด้วย ขี้เลื่อย และพีวิซี 
 
 นายวิชัย โรซาร์พิทักษ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทวีพี วู๊ด จำกัด เปิดเผยว่า การนำวัสดุหรือ “ขี้เลื่อย” มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ เคยมีการทำอยู่ทั่วไป แต่ที่ทีมงานวิจัย ได้คิดค้นขึ้นนั้นแตกต่างออกไปเนื่องจากมีการผสมกับพีวีซี ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษคือ ทนทานน้ำทนฝน ไม่หดตัว และยังมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับเนื้อไม้ธรรมชาติมาก ขั้นตอนต่อไปคือการพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าไม้ธรรมชาติ
      
        ต่างประเทศนิยม เตรียมขยายโรงงาน รองรับ
      
       “ผลิตภัณฑ์ของบริษัท กำลังได้รับความนิยมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมาเลเซีย สั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนตอนนี้รับออเดอร์ไม่ไหว ต้องสั่งจองเข้ามาก่อน ขณะที่ในไทยยังไม่มีการจำหน่าย คาดอีก 2 เดือนจะมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายในเมืองไทยได้” นายวิชัยกล่าว

นายวิชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้บริษัทมีแผนที่จะขยายบริษัทให้ใหญ่ขึ้น โดยจะต้อง เพิ่มเครื่องจักรและเปิดรับพนักงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรองรับออเดอร์ที่สั่งเข้ามาจำนวนมาก คาดอีกไม่เกิน 1 ปี จะสามารถส่งออกไปยังตลาดในอเมริกาได้ เนื่องจากตลาดไม้ในอเมริกายังขาดแคลนอยู่มาก อีกทั้ง ไม่ต้องห่วงเรื่องของการกีดกันทางการค้า เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิ่ล และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
      
        อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้นับเป็นความสำเร็จจากการร่วมมือกันระหว่างนักวิจัย สกว. และผู้ประกอบการที่ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงการวัสดุเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์และยังเป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของ SMEs ไทยไปสู่ตลาดโลกด้วย


ที่มา  :  ม.พระจอมเกล้าธนบุรี









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (685 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©