-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 377 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 1/2


ผักกาดหอม หรือ ผักสลัด


1.พันธุ์
พันธุ์ของผักกาดหอมที่นิยมปลูกในบ้านเราและสามารถปลูกได้ทั้งปี คือ ลิ๊ฟ (Leaf) หรือ ลูสลี๊ฟ (Loose leaf) และพันธุ์แกรนด์ แรปปิด (Grand Rapid) หรือเรียกว่า พันธุ์ใบ หรือผักกาดหอมใบหยิก นิยมปลูกมากในบ้านเรา (ตราศรแดง, ตราเครื่องบิน)


2. การเตรียมดิน
ไถดิน ตากแดดประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ ไถพรวน ชักร่อง รดน้ำให้ชุ่ม พ่นยาคลุมหญ้าด้วย อะลาคลอ หรือเพนดิเมทาริน ทิ้งไว้ 1 คืน


3. การปลูกผักกาดหอมใบหยิก
หยอดเมล็ดลงไปบนร่อง เป็นแถวเป็นแนว ระยะ ระหว่างต้น x ระหว่างแถว ประมาณ 30 x40 เซนติเมตร หลุมละ 2-5 เมล็ด พอขึ้นมามีใบจริง 2-3 ใบ ควรแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากปลูกหน้าร้อน ควรคลุมด้วยฟางข้าว


4. การรดน้ำ
ควรรดน้ำเช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ ด้วยระบบสปริงเกอร์ เรือรดน้ำ หรือลากสายยาง รดด้วยฝักบัว


5. การใส่ปุ๋ย
นิยมใส่ปุ๋ยคอกก่อนปลูก โดยคลุกกับดิน และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 เมื่อผักกาดหอมอายุได้ 15-20 วัน อัตรา 30 กก.ต่อไร่ และหมั่นสังเกตว่าหากผักกาดหอมเจริญเติบโตไม่ค่อยดีก็ทำการใส่ปุ๋ยซ้ำได้ อย่าลืมรดน้ำให้ชุ่ม


6. โรคและแมลง
ที่สำคัญ เนื่องจากผักกาดหอมไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นสารกำจัดแมลง และสารป้องกันกำจัดโรคพืช


7. การเก็บเกี่ยว
พันธุ์ใบหยิก อายุประมาณ 40-50 วัน ก็เริ่มตัดต้นขายได้ เมื่อตัดควรเด็ดใบสีเหลืองทิ้งแล้วล้างยางสีขาวออก ใส่ถุง หรือเข่ง ส่งตลาด


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร






ผักกาดหอม หรือผักสลัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactuca sativa L. ลักษณะทั่วไป หรือผักกาดหอม เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยุโรป เป็นพืช ฤดูเดียว มีลำต้นอวบสั้น ช่วงข้อถี่ ใบจะเจริญจากข้อเป็นกลุ่ม อาจห่อหัวหรือไม่ห่อหัว ลักษณะรูปร่วงและ สีแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้น อยู่กับสายพันธุ์ บางพันธุ์อาจมีใบหนาแข็ง บางพันธุ์ใบอ่อน นิ่ม มีสีเขียวอ่อนจน ถึงสีเขียวเข้ม สีน้ำตาลปนแดง สีแดง และสีน้ำตาล เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผักกาดแก้ว ใบจะห่อหัวซ้อนกันเป็นหัวกลม ใบบาง กรอบ ขอบใบหยักสีเขียวอ่อน หรือผักกาดหอมใบแดง เป็นลักษณะพันธุ์ไม่ห่อหัว ใบหยักเป็นคลื่น ขอบใบหยัก มีสีเขียวปนแดง ผักกาดหอมมีระบบรากแก้วที่สามารถเจริญลง ไปในดิน อย่างรวดเร็ว ช่อดอกเป็นแบบ panicle สูง 2-4 ฟุต ประกอบด้วยดอก 10-25 ดอกต่อช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลือง หรือขาวปนเหลือง ดอกจะบานช่วงเช้า และเป็นระยะสั้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ผักสลัด หรือผักกาดหอม เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24′C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสเขียว

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักสลัด หรือผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควร ควรปลูกใต้โรงเรือน
การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร


ผักสลัด หรือผักกาดหอมเป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้บางชนิด ผักสลัด หรือผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะผักกาดหอมที่มีใบสีแดง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน(hemoglobin) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การปฎิบัติดูแลรักษาผักสลัด หรือผักกาดหอม ตามระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน
ขัดดินตากแดด และโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตรม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปงกว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่(รองพื้น) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า
พาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรระบายน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์

การปลูก
ระยะปลูก 30×30 ซม. 3 แถว ในฤดูร้อน และ 40×40 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน(เพื่อป้องกันการระบาดของโรค)


ข้อควรระวัง
1.อย่าปลูกในหลุมใหญ่ หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย
2.อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
3.กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
3.
ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามที่แนะนำ
4.
ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ ต้องวัด pH ก่อนช่วงเตรียมดิน
5.
หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำ และจิ้งหรีด

การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเีพียงพอต่อการเจริญเติบโต การให้น้ำไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า


การใส่ปุ๋ย
หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อม

กำจัดวัชพืช
หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ


ข้อควรระวัง
1.
ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
2.
การพรวนดิน ระวังอย่างกระทบเทือนรากหรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
3.
ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
4.
ไม่ควรปลูกซ้ำที่

การเก็บเกี่ยว
เมื่อผักสลัด หรือผักกาดหอม มีอายุได้ประมาณ 40-60 วัน หลังย้ายปลูกใช้มีดตัด และเหลือใบนอก3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียกควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย หรือค่ำแล้วผึ่งลมในที่ร่ม และคัดเกรด ป้ายปูนแดงที่รอยตัดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก

ข้อควรระวัง
1.
ในฤดูฝน เก็บเกี่ยวก่อนผักสลัดโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะเน่าง่าย
2.
เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของผักสลัด หรือผักกาดหอม ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


ระยะกล้า 20-25 วัน โรคโคนเน่า
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 25-30 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกระทู้ดำ, หนอนกินใบ,
ระยะห่อหัว30-35 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ,
ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ,



ที่มา : คู่มือ การปลูกผักบนพื้นที่สูง



ผักกาดหอมใบแดง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Lactuca sativa หรือ สลัดใบแดง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ จัดเป็นผักกาดหอม พันธุ์ใบไม่ห่อหัวชนิดหนึ่ง ใบและขอบใบหยัก มีสีเขียวปนแดง การปลูกดูแลรักษาคล้ายกับ ผักกาดหอมห่อ พืชชนิดนี้ควรปลูกเฉพาะ ในฤดูหนาว และฤดูฝน


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ผักกาดหอมใบแดง หรือผักสลัดใบแดงเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24′C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชจะสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูก
ควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีิอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รัีบแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมใบแดงมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

ผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง เป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้ในบางชนิด ผักกาดหอมใบแดง มีน้ำเป็นองค์ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน


การปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน
ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้่ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่ สัดส่่วน 1:1 (รองพื้น) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า
เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์

การปลูก
ระยะปลูก 30×30 ซม. 3 แถว ในฤดูร้อน และ 40×40 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน (เพื่อป้องกันการระบาดของโรค)

ข้อควรระวัง
1.
อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำไม่ดี อาจทำใ้ห้เน่าเสียหาย
2.
อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
3.
ต้นกล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
4.
ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
5.
ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ ต้องวัย pH ก่อน ในช่องเตรียมดิน
6.
หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำและจิ้งหรีด


การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเีพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิด โรคโคนเน่า

การให้ปุ๋ย
หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2 -3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋็ย 1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ

ข้อควรระวัง
1.
ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
2.
การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบกระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
3.
ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใ่ส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
4.
ไม่ควรปลูกซ้ำที่


การเก็บเกี่ยว
เมื่อผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง มีอายุ ได้ประมาณ 30-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้มีดตัดและเหลือใบนอก 3 ใบเพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียกควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย หรือค่ำแล้วผึ่งลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัวอย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติด

ข้อควรระวัง
1.
ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 30-35 วัน หลังย้่ายปลูก ก่อนที่ผักกาดหอมใบแดงจะขึ้นต้นแทงช่อดอก
2.
เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาด และสะสมโรคในแปลงปลูก



โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

- ระยะหยอดเมล็ด 0-25 วัน หนอนกระทู้ดำ, หนอนชอนใบ, โรครากปม,

- ระยะการเจริญเติบโต 20-30 วัน หนอนกระทู้ดำ, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, โรครากปม, ปลายใบไหม้,

- ระยะห่อหัว 30-35 วัน หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, โรครากปม, ปลายใบไหม้,

- ระยะเก็บเกี่ยว 35-36 วัน หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, โรครากปม, ปลายใบไหม้,


ที่มา: คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง






หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©