-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 454 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 1/2


แตงกวา


1.พันธุ์ :
พันธุ์แตงกวาเกษตรกรต้องปลูกตามความต้องการของตลาด ตลาดต้องการลูกสีเขียวยาว หรือขาวยาว หรือ
ใหญ่ป้อม จึงเป็นลูกผสมของแต่ละบริษัทที่เกษตรกรจะเลือกปลูก เป็นของตราศรแดง บ.เจียไต๋ และบริษัทอื่นๆ


2. การเตรียมดิน
ต้องไถดินตามประมาณ 10 วัน จากนั้น พรวนดินให้ร่วน เรียบและสม่ำเสมอ ไม่มีน้ำท่วมขัง ปลูก
โดยการยกร่อง หรือพื้นเรียบ


3. วิธีการปลูก
หลังจากเตรียมดิน ทำการขึงเชือก ตีหลุมระยะปลูก 1 x1.2 เมตร ปลูกแบบพื้นเรียบ และไม่ต้องทำ
ค้าง หากทำค้างระยะปลูกประมาณ 1 x1.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ด ก่อนปลูกควรคลุก
เมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา และสารเคมี (เมทาแลคซิล และคาร์โบซัลแฟน)


4. การปักค้าง
กรณีทำค้าง ใช้ไม้ลวกปักแต่ละหลุม แล้วใช้ปลายค้างเอียงเข้าหากัน หรือปักตรงแต่ละหลุม และขึง
ตาข่ายมัดติดกับหลักให้เถาว์แตงกวาเลื้อยขึ้นไป จะสามารถเก็บผลผลิตได้ง่าย


5. การให้น้ำ
แตงกวาระบบรากตื้น จึงต้องให้น้ำมาก และควรให้น้ำสม่ำเสมอด้วย ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริง
เกอร์ เพราะจะทำให้เกิดโรคทางใบได้ง่าย


6. การใส่ปุ๋ย
ในขณะเตรียมดิน ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วย และเมื่อแตงกวาอายุ 10 วัน มีแรก
ประมาณ 2-3 คู่ ก็ใส่ปุ๋ย 46-0-0 ได้บางๆ รดน้ำให้ทั่วถึง


7. การเก็บเกี่ยว
อายะการเก็บเกี่ยวประมาณ 30-40 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยเลือกเก็บเฉพาะระยส่งตลาด ไม่
อ่อนหรือแก่มาก นำมาคัดแยกบรรจุถุงส่งตลาด


8. โรค
ที่สำคัญ คือ โรคราน้ำค้าง โรคเหี่ยว และแอนแทรคโนส ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดเมทโทม็อบ
เมทาแลคซิล คาเบนตาซิม หรือโพรคลอราช ตัวใดตัวหนึ่งสลับกัน


9. แมลงศัตรู
ที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ เต่าแตง แมลงวันผลไม้เจาะผล เพลี้ยจั๊กจั่น และหนอนคืบ ควรพ่นด้วยสารเคมีอิ
มิดาโดลพริด เซฟวิน อะมาเม็กติน และคาร์โบซัลแฟน


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


*******************************************************************************************************************************************



ว่าที่ ร.ต.หญิง พิมพ์ใจ กัญชนะ

แตงกวา พืชผักคู่ครัวคนไทย ปลูกง่าย ให้ผลผลิตดี ที่เชียงใหม่

"แตงกวา" เป็นพืชผักที่คุ้นเคยกันดีสำหรับคนไทย ช่วยชูรสอาหารให้มีความอร่อย โดยเฉพาะอาหารรสจัดจ้านใช้เป็น
เครื่องเคียงดับความเผ็ดร้อนของอาหารได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่ามื้อไหนๆ มี "แตงกวา" เป็นเครื่องเคียงด้วยแล้ว มื้อนั้น
เป็นอาหารเลิศรสเลยทีเดียว ดังนั้น แตงกวา จึงเป็นพืชผักที่คู่ครัวคนไทยมาช้านาน กอปรกับปัจจุบัน แตงกวา ไม่ใช่
เพียงเครื่องเคียงอาหารในครัวคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนประกอบอาหารของนานาชาติอีกด้วย แตงกวาจึงเป็นพืชที่
มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะปลูกเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกยังต่างประเทศอีกด้วย

คุณสมจิตต์ บุญมาวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเขตภาคเหนือ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เล่าถึงลักษณะของแตงกวาว่า
"แตงกวาเป็นพืชที่มีระบบรากแก้วและรากแขนงเป็นจำนวนมากแผ่กว้าง ลำต้นแบบเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยม ผิวขรุขระ มี
หนาม ใบใหญ่และหยาบ เป็นรูปฝ่ามือ ดอกมีทั้งดอกตัวผู้ ตัวเมีย แยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน แตงกวาสามารถเจริญ
เติบโต้ได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน ระหว่าง 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลาง
คืน อยู่ระหว่าง 17-18 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิและช่วงแสงมีอิทธิพลต่อการ
แสดงเพศของดอกแตงกวา ถ้าอุณหภูมิต่ำและวันสั้น เช่น ในช่วงฤดูหนาวจะมีอิทธิพลต่อการแสดงดอกเพศเมีย
อุณหภูมิสูงและวันยาวมีอิทธิพลต่อการแสดงดอกเพศผู้ ดอกแตงกวาจะบานในช่วงเช้า อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการ
ผสมเกสรอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาชอบแสงแดดตลอดวัน เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่
ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.8 แตงกวาจะให้ผลผลิตดีที่สุด"

คุณอินถา รัตนัง เกษตรกรผู้ปลูกแตงกวา อยู่บ้านเลขที่ 100/1 หมู่ที่ 2 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เล่าว่า "ตนเองทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ปลูกพืชมากมายหลายชนิด จนเมื่อ ปี 2549 ได้หันมาปลูกแตง
กวาพันธุ์เพรตตี้ สวอลโล 279 ลักษณะผิวด้าน ตามคำแนะนำของ คุณเจษฎากรณ์ ศรีคำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม ของ บริษัท
เพื่อนเกษตรกร จำกัด และใน ปี 2550 ได้ปลูกแตงกวาพันธุ์อาริโช 2036 ลักษณะผิวมัน เพิ่มเติม รวมกันในพื้นที่ 3
งาน

สำหรับวิธีการเพาะปลูก  เริ่มจากการเพาะเมล็ดและการหยอดเมล็ด วัสดุ  อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่  เมล็ดแตงกวา  ถุง
พลาสติกขนาดพอดีกับจำนวนเมล็ด น้ำสะอาด ผ้าขนหนูชนิดบาง ถาดเพาะเมล็ด วัสดุเพาะกล้า และยากันโรคโคนเน่า
ส่วนวิธีการเพาะเมล็ดนั้น จะนำถุงพลาสติคที่เตรียมไว้มาเจาะรู เพื่อให้น้ำซึมผ่านเข้าไปได้ ใส่เมล็ดแตงกวาลงไปปิด
ปากถุง แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด กดให้จมน้ำ ใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากนำขึ้นจากการแช่น้ำแล้วสลัดน้ำ
ออกให้หมด นำผ้าขนหนูไปชุบน้ำบิดให้พอหมาด  แล้วนำไปห่อถุงเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 3-4 ชั้น  แล้วนำไปใส่ถุง
พลาสติกมัดปากถุงอีกที เพื่อป้องกันความชื้นระเหยออก แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิช่วง 28-30 องศาเซลเซียส ใช้เวลา
ประมาณ 24-32 ชั่วโมง เมล็ดจะเริ่มงอก สำหรับในฤดูหนาวเมล็ดจะงอกช้า ต้องนำไปบ่มในกล่อง โดยใช้หลอดไฟ
ขนาด 40 วัตต์ ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ช่วง 28-30 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 24-36 ชั่วโมง เมล็ดจะงอก

การเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากการไถเปิดหน้าดินให้ลึก ไถพรวน 1 รอบ ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน หว่านปุ๋ยคอก (มูลไก่)
วัดแปลงระยะห่างประมาณ 1.5 เมตร ยกแปลงกว้าง 1.1 เมตร ร่องน้ำกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร จากพื้น
ร่องน้ำ ปรับแปลงให้เรียบ คลุมด้วยพลาสติคคลุมแปลง สีบรอนซ์-ดำ ขนาดกว้าง 1.2 เมตร เพื่อป้องกันแมลงและเก็บ
ความชื้น

การปลูก นิยมปลูกเป็นแถวคู่ โดยเจาะหลุมห่างจากขอบแปลงด้านละประมาณ 15.20 เซนติเมตร ให้มีระยะห่างระหว่าง
ต้น 45-50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 70-80 เซนติเมตร ซึ่งเริ่มปลูกในช่วงเย็น หรือขณะที่แสงแดดอ่อน และจะ
นำน้ำเข้าแช่ในร่องก่อนย้ายต้นกล้ามา เพื่อให้แปลงมีความชื้นพอปลูกแล้วกดดินให้แน่นพอควร แล้วจึงรดน้ำตามทันที

การดูแลรักษา การให้น้ำจะให้น้ำไหลไปตามร่องระหว่างแถวปลูก แล้วตักรดที่โคนต้น ปกติจะให้น้ำ 3-5 วัน ต่อครั้ง ถ้า
แตงมีความสูง 1 ฟุต ขึ้นไป จะให้น้ำโดยการปล่อยขังไว้ในร่อง ประมาณ 12 ชั่วโมง การทำค้าง ปักค้าง เมื่อแตงกวามี
อายุได้ประมาณ 7-10 วัน หลังปลูก

การมัดยอด ใช้เชือกฟางฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มัดยอดหลวมๆ ติดกับไม้ค้าง โดยมัด 3 วัน ต่อ
ครั้ง มัดไปจนกระทั่งสุดปลายแขน

การแต่งกิ่ง จะตัดแขนง ข้อที่ 1-3 ของลำต้นออก และข้อที่ 4 ขึ้นไป จะไม่ตัด จะทำให้ผลแตงกวาที่ได้สมบูรณ์ หัวไม่
คอด



การให้ปุ๋ย

ครั้งที่ 1 ใส่เมื่อเตรียมแปลงปลูก

ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุประมาณ 5-7 วัน หลังปลูก หรือเมื่อแตงกวาตั้งตัวได้แล้ว โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 250 กรัม และใช้
ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 300 กรัม ละลายในน้ำ 100 ลิตร ผสมยากันโรครากเน่าโคนเน่า นำไปรดโคนต้น ต้นละ 250 ซี
ซี โดยไม่ให้โดนใบ

ครั้งที่ 3 ใส่เมื่ออายุประมาณ 12-15 วัน หลังปลูก โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยยูเรีย อัตราส่วน 2:1 โดยเจาะหลุม
ต้นละ 1 หลุม ห่างจากโคนต้นลงมาทางร่องน้ำ ประมาณ 20 เซนติเมตร ให้หลุมลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วนำปุ๋ย
ที่ผสมแล้วใส่ลงไป ต้นละครึ่งช้อนแกง หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อใส่ปุ๋ยเสร็จปล่อยน้ำเข้าร่องแล้วตักรด ใส่ปุ๋ยละลาย

ครั้งที่ 4 ใส่เมื่ออายุได้ 20-23 วัน หลังปลูก โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หยอดลงในหลุมเดิมที่ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ต้นละครึ่ง
ช้อนแกง หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อใส่ปุ๋ยเสร็จแล้วปล่อยน้ำเข้าร่องน้ำแล้วตักรด ใส่ปุ๋ย

ครั้งที่ 5 ใส่เมื่ออายุได้ 30-33 วัน หลังปลูก โดยใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ปล่อยน้ำเข้าร่องแล้วหว่านในร่องน้ำ ครั้งที่ 6
อายุประมาณ 40-43 วัน หลังปลูก ปุ๋ยและวิธีการใส่เหมือนครั้งที่ 5 นอกจากการใส่ปุ๋ยทางดินแล้ว จะให้อาหารเสริม
ทางใบด้วย โดยใส่ไปพร้อมกับการฉีดพ่นสารเคมี ปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไป ใช้ปุ๋ยเกล็ด เพราะสามารถละลายน้ำได้ง่าย สูตร
18-33-18 หรือ 21-21-21 ผสมกับธาตุอาหารพวกแคลเซียม โบรอน

สำหรับการเก็บเกี่ยวจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน หลังจากปลูก ซึ่งจะเก็บในช่วงเวลาประมาณ 06.00-12.00
น. โดยในพื้นที่ 3 งาน เก็บได้ประมาณวันละ 400-500 กิโลกรัม ต่อวัน ราคากิโลกรัมละประมาณ 12 บาท

ผู้สนใจเกี่ยวกับการปลูกแตงกวา หรือเมล็ด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เลขที่ 43 ถนน
ราชพฤกษ์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ (053) 217-180 โทรสาร (053) 217-181


ที่มา  :   เทคโนโลยีชาวบ้าน




การปลูกแตงกวาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์


การเลือกพื้นที่ปลูก            
ควรเป็นแปลงที่ไม่เคยปลูกแตงกวาและผักกาดตระกูลแตงมาก่อน แต่ถ้าเคยปลูกมาก่อนก็ควรจะมีการปลูกพืชอื่นหมุนเวียนเพื่อป้องกันโรคและแมลงระบาด  การปลูกแตงกวาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จะต้องปลูกห่างจากแตงกวาพันธุ์อื่น ๆ และแตงร้านไม่น้อยกว่า 500 เมตร ถ้าหาพื้นที่ไม่ได้ก็ใช้วิธีปลูกก่อนอย่างน้อย 1 เดือน ไม่เช่นนั้นจะเกิดการผสมข้ามพันธุ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้


ฤดูปลูกที่เหมาะสม
            
ควรปลูกในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม เก็บเมล็ดพันธุ์ประมาณเดือน มีนาคม ปลูกในพื้นที่ ๆ มีแหล่งน้ำ เช่น ในเขตชลประทาน



การเตรียมดิน
            
หลังไถพรวนแล้ว ไถหรือขุดดินขึ้นเป็นแปลงปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร (หว่านปูนขาวถ้าพบว่าดินเป็นกรด)  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกปุ๋ยให้เข้ากับดินแล้วขึ้นแปลงปลูกกว้าง 100-110 เซนติเมตร และให้มีทางเดินซึ่งใช้เป็นทางปล่อยน้ำกว้าง  50 เซนติเมตร


    การจัดระยะปลูก

การปลูก
ปลูกแบบแถวคู่บนแปลง ระยะห่างระหว่างแถว 75-80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร โดยหยอดเมล็ด 3-4 เมล็ดต่อหลุม  ก่อนหยอดเมล็ดควรนำมาแช่น้ำที่มีสารเคมีป้องกันโรคราน้ำค้าง เช่น ริโดมิลเอ็มแซดประมาณ 3-4 ชั่วโมงก่อนปลูกเพื่อให้เมล็ดดูดน้ำจนพองจะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้าง หยอดเมล็ดลึก 1 เซนติเมตร เกลี่ยดินกลบแล้วโดยหน้าหลุมด้วยสารเคมีกำจัดแมลงชนิดเม็ดดูดซึม เช่น ฟูราดาน คูราแทร์หรือเดทพารอน เพื่อป้องกันแมลงที่ชอบเข้าทำลายในระยะแรก เช่น มด เต่าแดงและแมลงปีกแข็งอื่นๆ  จากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้าแปลง  แล้วตักรดบริเวณหลุมที่ปลูก  อย่าให้น้ำท่วมแปลงเพราะจะทำให้หญ้าขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 14 วัน ต้นจะงอกก็ทำการถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น ต่อหลุม


การปักค้าง
            
เมื่อแตงกวาอายุได้ 14-20 วัน ควรปักค้างเป็นกระโจมโดยใช้ไม้ไผ่หรือแขนงไผ่ปักขอบแปลงด้านนอกของหลุมปลูก เพราะเมื่อแตงกวาอายุได้ประมาณ21 วัน จะเริ่มเลื้อย แต่การปลูกแตงกวาในฤดูแล้วอาจจะไม่ต้องขึ้นค้างก็ได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต


    ปักค้างเป็นรูปกระโจมเพื่อให้แตงกวาเลื้อย


การให้น้ำ
กรณีให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้ตามความจำเป็นโดยดูจากความชื้นของดินเป็นหลักประมาณ  3-5 วันต่อครั้ง ควรระมัดระวังอย่าให้น้ำท่วมแปลงเพราะจะทำให้วัชพืชขึ้น โดยในระยะแรกตั้งแต่ปลูกถึงออกดอก  ควรใช้วิธีตักน้ำที่ไหลในร่องรดบริเวณหลุมปลูกหลังจากนี้นจึงค่อยปล่อยให้น้ำตามร่อง


การกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย
            
จะทำพร้อมกันโดยแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง คือ
 
           

ครั้งที่ 1
 
หลังจากปลูกได้ 14 วัน ทำการกำจัดวัชพืชพร้อมกับถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมแล้วใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
            

ครั้งที่ 2
 
หลังใส่ปุ๋ยเสริมครั้งแรก 14 วันหรือหลังปลูก 28 วัน กำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบสูตร 15-30-15 ร่วมกับธาตอาหาร รอง เช่น ยูนิเลท มัลติไมโคร โทน่า บีพลัส แคลเลทบี หรือดิซ ฉีดพ่นพร้อมกับสารเคมีป้องกันกำจัดดรคและแมลงทุกครั้งหลังจากใส่ปุ๋ยเสริมครั้งแรกเป็นต้นไปเพื่อป้องกันการขาดธาตอาหาร โดยเแฑาะธาตุรอง เช่น โบรอน และแมกนีเซี่ยม เป็นต้น



การไว้ผลเพื่อเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์
            
ในการผลิตเมล็ดพันธุ์แตงกวาเพื่อให้ได้เมล็ดที่สมบุรณ์ควรไว้ผลไม่เกิน 5 ผลต่อต้น โดยเกษตรกรสามารถเก็บผลสดบางส่วนไปขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง และเมื่อแตงกวาเริ่มติดผลอ่อนจะต้องตรวจคัดต้นที่มีพันธุ์อื่นปะปนทิ้ง โดยสังเกตจากสีของผลที่ผิดปกติ


   
ตรวจคัดต้นที่มีพันธุ์อื่นปะปน


ปัญหาการติดผลและติดเมล็ด
การที่ต้นแตงกวาติดผลน้อยเพียง 1-2 ผลต่อต้นและติดเมล็ดไม่ดีนั้น อาจะมีสาเหตุเนื่องมาจากต้นแตงกวามีดอกตัวเมียน้อยแต่มีดอกตัวผู้มาก  ซึ่งเกิดจากสภาพที่มีอุณหภูมิสุง มีช่วงกลางวันยาวมักพบในกรณีที่ปลูกในฤดูร้อนช่วงเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะเกิดจากการผสมเกสรที่ไม่ดีเพราะไม่มีแมลงที่ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้ง อยู่ในบริเวณที่ปลูก  หรือมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงอย่างไม่ระมัดระวังในช่วงบผสมเกสร  ทำให้ผึ้งถูกฆ่าไปด้วย            

วิธีการป้องกันก็คือ  เลือกช่วงเวลาปลูกให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่เป็นอันตรายต่อผึ้งในช่วงออกดอกและผสมเกสร  ฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่ผึ้งไม่ออกผสมเกสรซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาบ่าย ๆ รวมทั้งมีการตรวจรอบๆ บริเวณแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ว่ามีผึ้งอยู่หรือไม่  โดยสังเกตจากพืชอื่น ๆ ที่ออกดอกอยู่ใกล้เคียงว่ามีผึ้งออกมาช่วยผสมเกสรหรือไม่  ถ้าไม่มีก็จำเป็นที่จะต้องเลี้ยงผึ้งหรือติดต่อให้เกษตรกรที่มีอาชีพเลี้ยงผึ้งนำรังผึ้งมาเลี้ยงในบริเวณใกล้เคียง




โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
            
โรคที่สำคัยของแตงกวา 
            
1.  โรคราน้ำค้างหรือโรคใบลาย 
           
สาเหตุ  เกิดจากเชื้อรา  Peronospora cubensis 
           
ลักษณะอาการ   เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ ต่อมาแผลจะขยายออกเป็นสี่เหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ  ถ้าเป็นมากๆ จะลุกลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกและน้ำค้างลงจัดหรือช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูงในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตำแหต่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ 
           
การป้องกันกำจัด  ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดแตงกวาด้วยสารเคมีเอพรอนหรือริโดมิลเอ็มแซด  หรือนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำและควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี  เช่น ริโดมิลเอ็มแซด ดาโคนิล อลิเอท หรือวามีนเอส  สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อสาเหตุ 
               


2.  โรคใบด่าง
                
สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัส  Cucumber mosaic virus 
               
ลักษณะอาการ  ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลือง เนื้อใบตะปุ่มตะป่ำมีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง 
               
การป้องกันกำจัด  ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดของโรคนี้ ดังนั้นวิะที่ดีที่สุดในขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทำใได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อน และทำความสะอาดแปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ                



3.  โรคผลเน่า
                
สาเหตุ  เกิดจาก 
                       
1.  เชื้อพิเทียม  (Phythium spp.)
 
                       
2.  เชื้อไรช็อกโทเนีย  ( Rhizoctonic Solani)
 
                        
3.  เชื้อโบทริทัส  (Botrytis  cinerea)
 
               
ลักษณะอาการ  มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน  และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผล  จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น  กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นปกคลุม  กรณีที่เกิดจากเชื้อไรช็อกโทเนีย จะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีน้ำตาลแก่และมีรอยแกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่กิดจากเชื้อ โบทริทัสนั้น  บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่าจะมีเชื้อราขึ้นปกคลุม                 

การป้องกันกำจัด 
ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดินและป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล 
               



4.  โรคราแป้ง
                
เชื้อสาเหตุ  เกิดจากเชื้อดออยเดียม Oidium sp. 
               
ลักษณะอาการ  มักเกิดที่ใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้วโดยจะพบราสีขาวคล้ายผลแป้งปกคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายอยู่ทั่วไปบนใบ  เมื่อการรุนแรงจะพบเชื้อราปกคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย 
               
การป้องกันกำจัด  ใช้สารเคมี เช่น เบนเลท เดอโรซาล หรือบาวิสติน ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด



แมลงศัตรูที่สำคัญของแตงกวา
        
1.  เพลี้ยไฟแตงโม 
             
เป็นแมลงขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอกและผลอ่อน
 
       
การทำลาย 
จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ  ดอกอ่อน และยอดอ่อนทำให้ใบม้วนหงิกงอเป็นกระจุกผิดรูปร่าง  มีสีขีดสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เช่น มีควาวมชื้นในอากาศต่ำแลชะระบาดไม่ได้จะทำให้การปลูกแตงกวาไม่ได้ผลเลย
การป้องกันกำจัด 
       
- การรดน้ำโดยใช้บัวรดหรือฉีดด้วยสายยางให้น้ำเป็นฝอยโดนยอด ตอนเช้าและตอนเย็น รวมทั้งการรักษาความชื้นบริเวณแปลงปลูกจะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟลงได้
 
       
- ใช้สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคาร์โบฟูราน ได้แก่ ฟูราดาน 3 จี หรือ คูราแทร์ 3 จี ปริมาณ 1 ช้อนชาต่อหลุม ใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ดจะป้องกันได้ประมาณ 2 สัปดาห์
 
       
- กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ พอสซ์ เมชูโรล แลนเนท ไดคาร์โซล ออลคอล อะโซดริน โตกุไทออนหรือทามารอน เป็นต้น และการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดนั้นควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงไหม้ได้
 
       

2.  เพลี้ยอ่อน
              
เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อ เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อน มีสีเขียวอ่อน ตัวแก่สีดำและมีปีก
          การทำลาย  จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสด้วย  มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้ง โดยมีมดเป็นตัวนำพาเพลี้ยอ่อน 
          
การป้องกันกำจัด ใช้วิธีเดียวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ 
       


3.  ไรแดง
              
ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มี 8 ขา มีขนาดเล็กมากมองเห็นเป็นจุดสีแดง  
การทำลาย   จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด จะอาศัยอยุ่ใต้ใบและเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้ง 
         
การป้องกันกำจัด   การรดน้ำโดยใช้บัวหรือฉีดด้วยสายยางให้น้ำเป็นฝอยโดนยอดตอนเช้าและตอนเย็นรวมทั้งการรักษาความชื้นบริเวณแปลงปลูกจะช่วยลดปัญหาของไรแดงลงได้  กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ เดลเทน ไตรไทออน หรือโดไมท์ เป็นต้น 
       


4.  เต่าแตงแดงและเต่าแตงดำ
              
เป็นแมลงปีกแข็งปีกขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร มีสีส้มแดงและสีดำเข้ม อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนาหรือตามกอหญ้า
 
             
การป้องกันกำจัด   ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงรวมทั้งเศษซากแตงกวาหลังการเก็บเกี่ยว หรือใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่เซฟวิน คาร์โบน๊อกซี-85 หรือไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี ใส่ลงไปในหลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์ 
        


5.  หนอนกินใบแตงและหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล
              
หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2  เส้น เมื่อตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง  ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน
         

การทำลาย 
จะกัดกินใบ  ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น ดรคผลเน่า          

การป้องกันกำจัด 
ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนททามารอน โตกุไออน หรือ อะโกรน่า เป็นต้น



การทำเมล็ดพันธุ์แตงกวา
        
นำผลแตงกวาที่สุกแก่จัด และเปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วมาผ่าผลออกและใช้ช้อนตักไส้แตงกวาที่เป็นเมล็ดและอยู่ตรงกลางผลใส่ในถุงพลาสติกหรือใส่ถังพลาสตวิก หมักทิ้งไว้ 1 คืน  (โดยไม่ต้องใส่น้ำผสมลงไป) เพื่อให้เมือกหุ้มเมล็ดแตงกวาหลุดออกจากเมล็ดได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นนำเมล็ดที่ผ่านการหมักมาล้างน้ำสะอาดเพื่อช่วยให้เมือกลื่น ๆ หลุดออกจากเมล็ด่ให้หมดและล้างเมล็ดแตงกวาจนเปลือกนอกหุ้มเมล็ดสะอาดดีแล้วจึงนำเมล็ดมาตากแดด  โดยนำเมล็ดวางบนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือบนฝ้าตาข่ายไนล่อน  (ห้ามตากเมล็ดบนลานซีเมนต์หรือบนสังกะสีโดยตรง เพราะเมล็ดจะตายนึ่งได้)  และควรเก็บเมล็ดเข้าที่ร่มในตอนกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดพันธุ์เปียกน้ำค้าง ทำการตากเมล็ดวิธีนี้ประมาณ 5-7 วัน จนเมล็ดพันธุ์แห้งดีแล้ว จากนั้นนำเมล็ดมาฝัดในกระจาดเพื่อคัดเมล็ดลีบออก  แล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกหรือกระสอบที่สะาอาดเก็บไว้ใช้ทำพันธุ์หรือรอจำหน่ายต่อไป


   
แตงกวาที่มีผลแก่สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาทำเมล็ดพันธุ์ได้


ผ่าผลแตงกวาแล้วควักเอาเมล็ดออกจากผล


หมักเมล็ดทิ้งไว้ 1-2 คืน เพื่อให้เมือกที่ติดมากับเมล็ดหลุดออก


นำเมล็ดที่หมักมาล้างทำความสะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง



http://www.doae.go.th/library/html/detail/Vetgetab/index4.htm






หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©