-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 387 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 2/3



ข้าวโพดหวานสองสี

จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเรียวคล้ายใบหญ้า ซึ่งประกอบด้วยตัวใบ ก้านใบ และหูใบ ขนาดของใบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์


โดยทั่วไปดอกตัวผู้บานก่อนดอกตัวเมีย และพร้อมจะผสมภายใน 1-3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2-14 วัน ดอกตัวเมียมีลัษณะเป็นฝักจากแขนงสั้นๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8-13 ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมีย และหุ้มฝัก(husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้าวเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสรตัวผู้



สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานสองสu

ข้าวโพดหวานสองสี เป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกและการเจริญเติบโต ควรอยู่ระหว่าง 21-30′C แต่ไม่ควรสูงเกิน 35′C อย่างไรก็ตามอุณหภูมิ ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในช่วง 16-24′C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูง อัตราการเปลี่ยน น้ำตาลเป็นแป้งสูง(Polysaccharides)


กระแสลมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูง จะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ อัตราการผสมเกสรต่ำ หากสภาพแปลงปลูก มีความชื้นสัมพัทธ์สูง เมล็ดอางจะเน่าได้ หรือสภาพความชื้นสูง หรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ข้าวโพดหวานเป็นพืชวันสั้น ในสภาพที่ช่วงวันยาว (มากกว่า 13 ชั่วโมง/วัน) จะจำกัดการเจริญ ของดอกใบบางสายพันธุ์


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของข้าวโพดหวานสองสu

ข้าวโพดหวาน จัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง และมีประมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามิน นอกจากนี้พันธุ์ที่มีสีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง การใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่ง หรือ ย่าง ทั้งฝัก นึ่งแล้วฝานผสม กับมะพร้าวขูด น้ำตาลทรายเล็กน้อย เกลือป่นทำเป็นข้าวโพดคลุกรับประทานเป็นอาหารว่าง ทำน้ำนมข้าวโพด ฝานดิบผสมกับเนื้อหมูสับ ไข่ แป้งสาลีแล้วทอดเป็นทอดมันข้าวโพด เป็นต้น

การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวานสองสีระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน

  1. ไถพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชและแมลงในดิน
  2. หากสามารถตรวจเช็คค่า pH ของดินได้จะช่วยในด้านการเติบโต ของข้าวโพด โดยค่า pH ควรอยู่ในช่วง 6-6.5 หากสภาพดิน เป็นกรดคือต่ำกว่า 6 ให้เติมปูนขาวหรือดินโดโลไมท์ ในอัตรา 100 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้นควรใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ช่วยปรับสภาพดินในอัตรา 2-5 กก./ตร.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับ สภาพดินและผสมปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 25-50 กก./ไร่ หากสภาพดินเป็นดินทราย ควรจะใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 แทนปุ๋ย 16-20-0

การเตรียมกล้า

  1. เพาะกล้าอย่างประณีต ในถาดหลุมเมื่อมีอายุ 7 วัน แล้วย้ายปลูก
  2. หากเพาะกล้าในแปลงเพาะโดยการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะ แล้วใช้แกลบดำกลบ ควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อเพิ่มความชื้น และลดความร้อนในช่วงกลางวัน
  3. การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก ควรบ่มเมล็ดก่อนโดยการใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียก และห่อเมล็ดไว้ 1 คืน ให้รากเริ่มงอก แล้วนำไปหยอด ในแปลงปลูกลึกประมาณ 1 เซนติเมตร และรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกแทงต้นพ้นดิน
    ข้อควรระวัง
    - ควรคลุกเมล็ดด้วยเอพรอน 35 เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง และ
    - ฉีดพ่นเซฟวิน 85 ป้องกันมดและแมลงทำลายเมล็ด
    หากใช้การหยอดเมล็ดในแปลงปลูกใช้วิถีถอยหลังแล้วหยอดเมล็ด ไม่ควรเหยียบแปลงที่หยอดเมล็ดแล้ว
  4. หากปลูกช่วงฤดูร้อนควรมีการแช่เมล็ดใน GA จะช่วยเพิ่มเกสรตัวผู้


การปลูก

  1. ระยะปลูก (ต้นxแถว) 25×75 ซม.(6 ต้น/ตร.ม.) จัดใบให้หันไปในทางเดียวกัน ทำมุมกับแปลง 45 องศา ทั้งนี้เพื่อให้มีการ ผสมเกสรได้ดีขึ้น เมื่อย้ายปลูกได้ 7 วัน
    - ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ 2 สูตร 21-0-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร รดบริเวณโคนต้นหรือใช้ วิธีการหยอดที่โคนต้น
    - ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อย้ายปลูกได้ 20-25 วัน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช และทำการคลุมโคน หลังจากนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะข้าวโพดกำลังเริ่มสร้างช่อดอกเกสรตัวผู้ ภายในลำต้น และระบบรากกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ควรที่จะรบกวนระบบ ราก มากนักอาจจะทำให้ต้นเหี่ยว และชะงักการเติบโตได้
  2. เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ 30-40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้น ให้เด็ดออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้าง ราสนิม และการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้น และฝัก
  3. เมื่อข้าวโพดอายุได้ 45-50 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายและให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากขาดน้ำ ต้นข้าวโพดจะหยุดการสร้างฝักเมล็ด ส่วนปลายฝักจะฟ่อทันที
     

ข้อควรระวัง
- ควรกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
- ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยนขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป


การให้น้ำ

ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากพืชขาดน้ำจะทำให้ การผสมเกสรไม่ดี ฝักที่ได้คุณภาพต่ำ การติดเมล็ดไม่สม่ำเสมอ


การใส่ปุ๋ย

- ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-20 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ ในขั้นตอนการเตรียมดิน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ หลังปลูก 7 วัน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25 วัน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 45 วัน

ข้อพิจารณา

  1. ในดินทรายการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
  2. การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หรือไม่ ขอให้พิจารณาความสมบูรณ์ของข้าวโพดเป็นสำคัญ

การเก็บเกี่ยว
โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเมื่อมีอายุ 16-20 วัน หลังจากที่ข้าวโพดผสมเกสร ลักษณะเปลือกเมล็ด ไม่หนาเกินไป การเก็บเี่กี่ยวก่อนกำหนด จะทำให้ข้าวโพดหวาน อ่อนเกินไป และมีน้ำหนักฝักน้อย ในขณะที่การเก็บอายุมาเกินไป ถึงแม้จะได้น้ำหนักฝักมากขึ้น แต่เปลือกเมล็ดจะหนา และข้าวโพดเสียคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก จะต้องทำการนับวัน ที่ข้าวโพดออกไหม แล้วจึงทำการกำหนดวันเก็บเกี่ยว โดยนับจากวันออกไหม 16-20 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของข้าวโพดหวาน จะพบว่า พันธุ์ลูกผสมจะมีช่วงการออกดอก สม่ำเสมอทำให้เกษตรกร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว เมื่อถึ่งกำหนด การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา ที่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับความอ่อน-แก่ ขนาด รูปร่าง รสชาติ และน้ำหนักของข้าวโพดหวาน ส่วนการเก็บก่อน การจำหน่ายฝักสด หรือก่อนการแปรรูป ในโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดหวาน



โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวานสองสีในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า-ย้ายปลูก 7-10 วัน โรคราน้ำค้าง,


ระยะคลุมโคนและเริ่มสร้างช่อเกสรตัวผู้ 17-32 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้,


ระยะแตกหน่อ 35-40 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้,


ระยะออกไหม-ผสมเกสร 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก


ระยะเก็บเกี่ยว 65-70 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก









ข้าวโพดหวานสองสีเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร


สถานีเกษตรหลวงปางดะส่งเสริมการปลูก
ข้าวโพดหวานสองสีเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

ข้าวโพดหวานสองสี เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างมาก ในปัจจุบันแต่ข้าวโพดหวานสองสีมีขอบเขตจำกัด คือ ต้องปลูกในพื้นที่ ที่มีอากาศเย็น และต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดหวานทั่วไป ข้าวโพดหวานสองสีนั้น จะมีเมล็ดสีขาวและเหลืองปะปนกันอยู่ทั่วไปภายในฝักเดียวกัน มีรสชาติหวานมาก จึงควรปลูกให้ห่างจากข้าวโพดอื่นอย่างน้อยประมาณ 500 เมตร หรือปลูกเหลื่อมกันอย่างน้อย 2-3 อาทิตย์ เพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์

สถานีเกษตรหลวงปางดะ ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสะเมิง ปลูกข้าวโพดสองสีดังกล่าว ทดแทนการปลูกกระเทียม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เฉลี่ยแล้วเดือนละประมาณ 12,000 บาท ซึ่งนายต่อมคำ ปัณธิยา เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดหวานสองสี แล้วประสบความสำเร็จ และได้กล่าวถึงการปลูกตั้งแต่เลือกพื้นที่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ดังนี้

การเลือกพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานสองสี ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความชื้นสม่ำเสมอ ดินควรเป็นดินร่วนซุย มีการระบายน้ำได้ดี PH ดินประมาณ 5-6 และจะต้องไม่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง หรือเป็นหุบเขาใกล้กับต้นไม้ใหญ่ เพราะจะทำให้พืชไม่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ และยังทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย ควรจะเป็นที่โล่งแจ้ง มีการระบายอากาศได้ดี มีแสงแดดตลอดทั้งวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานสองสีอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส

การเตรียมดิน การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์เพื่อ ปรับดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวโพดหวานสองสีสามารถทำได้ ดังนี้
- ไถดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนเตรียมแปลงปลูก
- ยกแปลงสูงประมาณ 20 ซม. หลังแปลงกว้าง 100 ซม. (แปลงปลูกแบบแถวคู่)ร่องแปลงกว้าง 50 ซม.
- ผสมมูลไก่โดยใช้ 1 กระสอบ ต่อพื้นที่ 4 ตร.เมตร และปูนขาว 0-100 กรัม ต่อ ตร.เมตร หรือใช้จอบขุดเป็นหลุมบนแปลงที่เตรียมไว้ ระยะห่าง ระหว่างต้น x แถว ประมาณ 30x70 ซม. แล้วใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 รองก้นหลุมก่อนย้ายปลูก อย่างน้อย 5-7 วัน ก่อนปลูกในอัตรา 1 ต้น และ 80 ก.ก ต่อไร่ ตามลำดับ


การเพาะกล้าการปลูกข้าวโพดโดยทั่วไป มักจะใช้วิธีหยอดเมล็ด แต่สำหรับการปลูกข้าวโพดหวานสองสีนั้นตวรใช้วิธีเพาะกล้า ดีที่สุด สาเหตุที่ต้องเพาะกล้า เนื่องจาก
- เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีมีราคาแพง
- ป้องกันการทำลายของศัตรูที่จะเข้าทำลายในระยะที่ข้าวโพดหวานสองสีกำลังงอก
- ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง สมบูรณ์ และมีความสม่ำเสมอเพราะว่าเราสามารถคัดต้นกล้าตั้งแต่ในแปลงเพาะ การเก็บเกี่ยวจะได้ผลผลิตพร้อมกัน
- ไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ จากการหยอดเม็ดแล้วถอนทิ้ง การหยอดเมล็ดจะทำให้ข้าวโพดไม่มีความสม่ำเสมอ
- เพาะในถาดเพาะกล้า โดยใช้ดิน+แกลบขี้เลื่อยที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 2:1 อายุกล้าที่เหมาะสมคือ 8-9 วัน (ฤดูร้อน-ฝน) 10-12 วัน(ฤดูหนาว)
- เพาะในแปลงเพาะ ยกแปลงให้สูงประมาณ 15 ซม. โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ หรือทรายแม่น้ำที่มีตะกอนผสมอยู่ อายุกล้าที่เหมาะสมคือ 7-8 วัน (ฤดูร้อน-ฝน) 10-12 วัน(ฤดูหนาว) การเพาะด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องเพาะกลางแจ้ง โดยวันแรกใช้ตาข่ายพรางแสงหรือฟางข้าวคลุมแปลงไว้ หลังจากนั้นอีก 3 วัน จึงค่อยเปิดออก การเพาะด้วยวิธีนี้จะได้ต้นข้าวโพดที่แข็งแรง ต้นใหญ่ ลำต้นไม่ยืด


หมายเหตุ การเพาะกล้าทั้งในถาดหลุมหรือแปลงเพาะ จำเป็นต้องคลุกเมล็ดซ้ำโดยใช้ เอพรอน 35 เอสดี อัตรา 7 กรัม/เมล็ดข้าวโพดหวาน 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ด

การปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 30x70 เซนติเมตร ซึ่งระยะปลูกนี้ ในพื้นที่1 ไร่ จะปลูกได้ 7,000-8,000 ต้นการปลูกโดยใช้ต้นกล้าจากถาดเพาะ ทำได้โดยการใช้ไม้กระทุ้งหลุมลึกประมาณ 5 เซนติเมตรหรือใช้จอบขุดเป็นหลุม จากนั้นจึงย้ายต้นกล้าปลูก การปลูกจำเป็นต้องกดดินรอบโคนต้นให้แน่น ส่วนต้นกล้าจากแปลงเพาะ การปลูกสามารถทำได้โดย ใช้คาดที่มีความกว้าง 70 เซนติเมตร ลากเป็นทางยาวก่อนปลูก การปลูกทั้งสองวิธีต้องมีการปล่อยน้ำเข้าแปลงก่อนปลูก 1 วัน

การปฏิบัติและการดูแลรักษาการปลูกข้าวโพดหวานสองสี จำเป็นต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงานและดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดหวานสองสี เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใบ เร็วมาก ซึ่งถ้าหากกำหนดวันที่ผิดพลาด การปฏิบัติงานในแปลงจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะการกลบโคนต้นหลังใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สำหรับแผนการปฏิบัติงาน

การเก็บเกี่ยวระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานสองสี สังเกตุได้จาก ลักษณะเส้นไหมของข้าวโพด ซึ่งแห้งจากปลายฝักเข้าหาโคนฝักประมาณ 3/4 นับอายุหลังจากไหมโผล่ประมาณ 18-20 วัน ซึ่งสังเกตุจากข้าวโพดออกไหมแล้ว 80% ของพื้นที่ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว นายต่อมคำ ยังได้รับคำปรึกษา และความรู้ด้านการผลิต ตลอดจากการดูแลรักษา ด้านโรคและแมลง จากเจ้าหน้าที่ของโครงการหลวงปางดะ เป็นอย่างดี

http://www.kasetcity.com/data/articledetails.asp?GID=275
**************************************************************************************************




เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน
ให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักสดดี


นายไพศาล   หิรัญมาศสุวรรณ นักปรับปรุงพันธุ์พืช

......................................



::: พันธุ์ข้าวโพดหวาน
พันธุ์ข้าวโพดหวานที่ใช้ปลูกควรเป็นข้าวโพดหวานลูกผสม  ในตลาดมีหลายพันธุ์ผลิตจากหลายบริษัทให้เลือก แต่พันธุ์ที่แนะนำคือพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง มีขนาดฝักใหญ่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดดีมาก รสชาติดี กลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้เชื้อพันธุกรรมที่มีในประเทศ  ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างกว้างขวาง


::: การเตรียมดิน
การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูง  เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ดจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง  ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วยการเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะและทิ้งตากดินไว้ 3-5 วัน จากนั้นจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้ แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่เหมาะกับการงอกของเมล็ด ควรมีการหว่านปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยขี้ไก่เป็นต้น อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น  และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน


::: การปลูก
  ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนวซึ่งสามารถปลูกได้สองวิธี คือ
การปลูกแบบแถวเดี่ยว
ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่


การปลูกแบบแถวคู่
มีการยกร่องสูง  ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็นสองแถวข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร1 ต้นต่อหลุม จะมีจำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500 ต้นต่อไร่และใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำจะปล่อยน้ำตามร่องซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกดี


::: การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน เพราะปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จึงควรใส่ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) เพิ่มเติมลงในดิน การใส่ปุ๋ยในข้าวโพดหวานมีขั้นตอนดังนี้


การใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8
อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่  ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน


หมายเหตุ
ถ้าปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบาง ๆ ก่อนหยอดเมล็ด  ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรงเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้


การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1
สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วันหลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยก็จะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว


การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2
เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วันหลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม


::: การกำจัดวัชพืช
ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดหวานมีวัชพืชขึ้นมากจะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลงจึงควรมีการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก วิธีการกำจัดวัชพืชสามารถทำได้ดังนี้


การฉีดยาคุมวัชพืช
ใช้อลาคลอร์  ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูกก่อนที่วัชพืชจะงอกขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น


ใช้วิธีการเขตกรรม
ถ้าหากจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่โรงงานผู้ส่งเสริมการปลูก


::: การให้น้ำ
ระยะที่ข้าวโพดหวานขาดน้ำไม่ได้คือระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดหวานขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลงจะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงปลายหรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ซึ่งฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือ ช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก


::: การเก็บเกี่ยว
โดยปกติข้าวโพดหวานจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 70-75 วันหลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้นมีไหม 50 ต้น)
  
ข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 68-70 วัน และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3  จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 65-68 วันหลังปลูก แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานหรือจำหน่ายโดยเร็ว เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ หากขาดน้ำจะมีผลต่อเมล็ดและน้ำหนักของฝัก


::: ปัญหาและการแก้ไข ที่พบเห็นบ่อย ๆ มีดังนี้
ความงอก
ปกติเมล็ดพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ได้ผ่านการทดสอบความงอกมาแล้วจึงจำหน่ายสู่เกษตรกร  แต่บางครั้งเมล็ดพันธุ์อาจจะค้างอยู่ในร้านค้าเป็นเวลานานหรือเกษตรกรอาจจะซื้อเมล็ดพันธุ์มาเก็บไว้ที่บ้าน และสถานที่เก็บอาจจะไม่เหมาะสม  สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกลดลง วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ ก่อนปลูกทุกครั้งให้ทดสอบความงอกของเมล็ดที่จะปลูกก่อน โดยการสุ่มเมล็ดจากถุงประมาณ 100 เมล็ด แล้วปลูกลงในกระบะทรายหรือดินแล้วรดน้ำเพื่อทดสอบความงอก นับต้นที่โผล่พ้นดินในวันที่ 7 ถ้ามีจำนวนต้นเกิน 85 ต้น  ถือว่ามีอัตราความงอกที่ใช้ได้ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ถุงนั้นไปปลูกได้


โรคราน้ำค้าง
ปัจจุบันพันธุ์ข้าวโพดหวานเกือบทุกพันธุ์ที่ขายในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคราน้ำค้าง ตั้งแต่พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และไฮ-บริกซ์ 3 จนถึงพันธ์ล่าสุดไฮ-บริกซ์ 9 ซึ่งทุกพันธุ์ได้ผ่านการคลุกยาป้องกันโรคราน้ำค้าง (เมตาแลกซิล) ในอัตรายาที่เหมาะสม  เมื่อปลูกแล้วจะไม่พบว่าเป็นโรค แต่การปลูกที่ผิดวิธีก็อาจเป็นสาเหตุให้เป็นโรคราน้ำค้างได้ การปลูกที่ผิดวิธีที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้


แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูก
เกษตรกรเชื่อว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้การงอกดีและมีความสม่ำเสมอ แต่การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้ยาที่คลุกติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นยาป้องกันโรคราน้ำค้างละลายหลุดออกไป ทำให้ยาที่เคลือบเมล็ดมีน้อยลงหรือไม่มีเลย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไปปลูก ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงเป็นโรค ราน้ำค้าง วิธีแก้ไข คือ ไม่แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกหรือคลุกสารเคมีอื่นเพิ่มเพราะมีผลต่อความต้านทานโรคราน้ำค้างและความงอกของเมล็ดพันธุ์


ปล่อยน้ำท่วมขังแปลงหลังปลูก
เกษตรกรบางรายเมื่อปลูกเสร็จจะปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกหรือปล่อยน้ำท่วมร่องปลูก ซึ่งน้ำจะท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่าจะซึมลงดินหมด เมล็ดจะแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ยาป้องกันโรคราน้ำค้างที่เคลือบเมล็ดอยู่จะละลายหายไปกับน้ำ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่ได้รับยาป้องกันโรคราน้ำค้าง  จึงแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น

วิธีแก้ไข คือ ให้น้ำในแปลงก่อนการปลูกและรอให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการงอกของเมล็ดจึงทำการปลูก ยาที่เคลือบเมล็ดจะไม่ละลายหลุดไปกับน้ำ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงได้รับยาอย่างเต็มที่และไม่เป็นโรคราน้ำค้าง


การระบาดของหนู
พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดหวานติดต่อกันหลายรุ่นมักจะพบว่ามีหนูระบาดและมักจะเข้าทำลายข้าวโพดหวานในระยะงอกและระยะก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อมีหนูระบาดจะทำให้ผลผลิตลดลง ฝักที่เก็บได้มีร่องรอยการทำลายของหนูทำให้ขายไม่ได้   แก้ไขโดยการวางยาเบื่อหนู ซึ่งทำได้โดยใช้ข้าวโพดหวานฝักสดฝานเอาแต่เนื้อผสมกับยาเบื่อหนูที่เป็นผงสีดำ (Zinc phosphide) คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วหว่านให้ทั่วในแปลงหลังจากปลูกเสร็จ (อาจจะหว่านในช่วงหลังปลูก คือ ข้าวโพดกำลังงอก) และในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว (ช่วงข้าวโพดกำลังเป็นน้ำนม ประมาณ 65-70 วันหลังปลูก)หว่านติดต่อกันสัก 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 วัน จะทำให้การระบาดของหนูลดลง


หนอนเจาะฝักข้าวโพด
บางฤดูจะพบว่ามีการระบาดของหนอนเจาะฝักเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้ฝักที่เก็บเกี่ยวได้มีตำหนิขายไม่ได้ราคา ผลผลิตต่อไร่ลดลง สามารถป้องกันการระบาดได้โดยการหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะในระยะเริ่มผสมเกสร  ถ้าพบว่าเริ่มมีหนอนเจาะฝักให้ใช้ยา ฟลูเฟนนอกซูรอน หรือ ฟิโบรนิล (ชื่อสามัญ) ในอัตรา 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน


มวนเขียว
หลังจากข้าวโพดผสมเกสรแล้ว บางครั้งจะมีมวนเขียวระบาดโดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มวนเขียวจะใช้ปากเจาะฝักข้าวโพดและดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดที่ยังอ่อนอยู่ชึ่งจะไม่เห็นร่องรอยการทำลายจากภายนอก เมื่อเก็บเกี่ยวจะพบว่าเมล็ดมีรอยช้ำหรือรอยดำด่างทำให้ขายไม่ได้ราคา ป้องกันได้โดยการหมั่นเดินตรวจแปลงในระยะหลังจากผสมเกสรแล้วถ้าพบมวนเขียวให้ฉีดพ่นด้วยยา คาร์โบซัลแฟน (ชื่อสามัญ) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ฝักข้าวโพด


เพลี้ยไฟ
ถ้าข้าวโพดหวานออกดอกในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มักจะพบว่ามีเพลี้ยไฟ(แมลงตัวเล็กๆ สีดำ) เกาะกินน้ำเลี้ยงที่ไหมของฝักข้าวโพดทำให้ไหมฝ่อ การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดีตามไปด้วย ป้องกันได้โดยหมั่นตรวจแปลงในระยะออกดอก ถ้าพบว่ามีเพลี้ยไฟเกาะที่ไหม ให้ใช้ยาเอ็นโดซันแฟน (ชื่อสามัญ)หรือ วีฟอส (ชื่อการค้า)อัตรา 40 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก


ข้าวโพดไม่หวาน
ถ้าพบว่าข้าวโพดหวานฝักสดมีรสชาติไม่หวานแสดงว่าดินในแปลงที่ปลูกข้าวโพดขาดธาตุโปแตสเซี่ยม (K) ธาตุโปแตสเซี่ยมจะช่วยให้การสะสมน้ำตาลในเมล็ดดีขึ้น แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมร่วมด้วย เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 16-16-8 หรือ 13-13-21 ขึ้นกับสภาพดิน  ถ้าดินขาดโปแตสเซี่ยมมากก็ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีค่า K สูง


เปลือกหุ้มฝักเหลือง
การเก็บเกี่ยวที่อายุเกิน 20 วันหลังออกไหม 50% จะมีผลทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอ่อนลงดูเหมือนฝักจะแก่  บางครั้งถึงแม้ว่าจะเก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม เปลือกหุ้มฝักก็ยังมีสีออกเหลือง  การแก้ไขทำได้โดยการเพิ่มปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นข้าวโพดในขณะดินมีความชื้นในระยะที่ข้าวโพดออกดอก  จะทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอยู่ได้นานขึ้น


โรคราสนิม
ถ้ามีโรคราสนิมระบาดรุนแรงจะทำให้ฝักข้าวโพดไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่เต็มถึงปลายขายไม่ได้ราคา ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราสนิมอยู่เป็นประจำควรฉีดพ่นด้วยยาไดฟีโนโคนาโซล (ชื่อสามัญ)หรือ สกอร์ (ชื่อการค้า)อัตรา 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร  เมื่อเริ่มเป็นโรค


::: ข้อควรระมัดระวัง
การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรควรขอคำแนะนำจากโรงงานผู้ส่งเสริม หรือนักวิชาการโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงสารตกค้างที่อาจปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์




www.pacthai.co.th/knowleage_base/sweetcorn.htm -





เทคนิคการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงเท่าตัว

 

เทคนิคการปลูกข้าวโพดวิธีใหม่นี้เป็นการปลูกที่มีความถี่หนาแน่นเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า วิธีการนั้นก็คือ ให้วางแถวแนวปลูกหันไปตามทิศตะวันออก-ตะวันตก ให้ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นห่างจากกัน 50 เซนติเมตรเท่าๆกัน และหยอดเมล็ดหลุมละ 3 ถึง 4 เมล็ด ให้เมล็ดกระจายออกจากกันเล็กน้อย อย่าหยอดวางกันเป็นกระจุก เมื่อต้นงอกมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตรแล้ว ให้ถอนเหลืออย่างน้อยหลุมละ 3 ต้น แต่ถ้าต้นสมบูรณ์ใกล้เคียงกันทั้งหมด 4 ต้นก็ให้เก็บไว้ทั้งหมดก็ได้

หลังจากนั้นก็ให้จัดการดูแลเหมือนดังที่เคยปฏิบัติ แต่ต้องจัดให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะจำนวนต้นต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสามเท่าตัวเลยทีเดียว การปลูกด้วยเทคนิคใหม่นี้ทำให้ต้นข้าวโพดติดฟักที่สองสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเกือบทุกต้น ช่วงความสูงของลำต้นลดลง แต่ความยาวของใบบนนั้นจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการแก่งแย่งแสงแดดกันเอง จึงทำให้ใบยืดยาวขึ้น ลักษณะที่เป็นไปเช่นนี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นข้าวโพด เนื่องจากลำต้นสั้นเตี้ยลง และการปลูกหลุมละหลายต้นทำให้ระบบรากนั้นเกี่ยวสอดรัดพันกันหนาแน่น ทำให้ยึดเกาะติดกับผืนดินได้แข็งแรงขึ้นอีกมาก การล้มหักของต้นก็ลดน้อยลง

ส่วนการวางแนวปลูกให้หันไปตามทิศตะวันออก-ตะวันตกนั้นก็ทำให้ต้นข้าวโพดได้รับแสงแดดสม่ำเสมอเท่าๆกัน และการปลูกที่มีระยะห่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นก็เป็นการทำให้การผสมเกสรเป็นไปอย่างทั่วถึง ฝักข้าวโพดจึงติดเมล็ดแน่นสมบูรณ์เต็มฝัก นับเป็นการพัฒนาวิธีการปลูกที่อาศัยการสังเกตอย่างละเอียดและเข้าถึงหลักการรอย่างลึกซึ้ง จึงทำให้ประสบผลสำเร็จที่น่าพึงพอใจเป็นที่สุด





http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=403279&Ntype=2








หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©