-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 603 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 1/2


กำลังปรับปรุงครับ



การปลูกมันฝรั่ง

    

 
ปัจจุบันคนไทยได้นิยมบริโภคอาหาร แบบตะวันตกเพิ่มมากขึ้นทั้งอาหารประเภทเร่งด่วน และอาหารว่างประเภทขบเคี้ยว ดังนั้นมันฝรั่งซึ่งเป็นวัตถุดิบ หลักในการผลิตอาหารดังกล่าว เพิ่มปริมาณความต้องการบริโภคขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่งทอดแผ่นบางได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการมันฝรั่งเพื่อเป็นวัตถุดิบประมาณ ปีละ ๑๒๔,๑๐๐ ตัน

     มันฝรั่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญในภาคเหนือ ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่น ๆ หลายชนิด โดยจะมีกำไรอยู่ระหว่าง ๖,๐๐๐ – ๙,๐๐๐ บาทต่อไร่ แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และตาก ซึ่งมีผลผลิตรวมกันประมาณร้อยละ ๙๐ ของผลผลิตทั้งหมดนอกจากนี้ ยังมีการผลิตมันฝรั่งในจังหวัดลำพูน เชียงราย สกลนคร และ เลย การปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยมี ๒ ประเภท คือ มันฝรั่งสำหรับบริโภคสด และมันฝรั่งแปรรูปส่งโรงงาน พื้นที่ปลูกรวมทั้งประเทศในปี ๒๕๔๑ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไร่ และในจำนวน ร้อยละ ๙๐ เป็นการผลิตมันฝรั่งเพื่อเป็น วัตถุดิบสำหรับแปรรูปส่งโรงงาน


ลักษณะทั่วไป

     มันฝรั่งเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับพริก มะเขือ มะเขือเทศ ยาสูบ ฯลฯ หัวมันฝรั่งเกิดจากส่วนของลำต้น ทำหน้าที่สะสมอาหารและขยายพันธุ์ ซึ่งจะเริ่มสร้างหัวหลังปลูกไปแล้ว ๑-๓ สัปดาห์ โดยเฉลี่ยจะให้ผลผลิตระหว่าง ๖ – ๑ หัวต่อต้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

     ราก ต้นที่เจริญจากเมล็ดจริงจะมีระบบรากแก้วบอบบาง และรากแตกแขนง ส่วนต้นเจริญมาจากหัว จะมีแต่รากแขนงที่งอกงามจาโคนของแต่ละหน่อ และจากข้อของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน

     ลำต้น ต้นที่เจริญมาจากเมล็ดจริงจะมีลำต้นหลักเพียงต้นเดียว ส่วนตัวที่เจริญจากหัวจะมีหลายลำต้นหลัก ส่วนลำต้นแขนงจะแตกกิ่งออกมาจากลำต้น ลำต้นมันฝรั่ง จะมีลักษณะตั้งตรง สูงระหว่าง ๕๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร เมื่อตัดตามขวางจะมีลักษณะกลมจนถึงเหลี่ยม สีของลำต้นโดยทั่วไปมีสีเขียวแต่อาจมีสีน้ำตาลแดงหรือม่วง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

     ไหล เกิดจากส่วนตาของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เจริญออกไปด้านข้าง ส่วนปลายของไหลจะเจริญเป็นหัว แต่ถ้าไหลโผล่พ้นดินขึ้นมาก็จะเจริญเป็นลำต้นมีใบปกติ

     หัว เป็นส่วนของไหลหรือลำต้นใต้ดินที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้า ที่สะสมอาหาร หัวมันฝรั่งจะมีตา ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นข้อของลำต้น ซึ่งตานี้จะเจริญเป็นหน่อ และงอกเป็นลำต้นต่อไป ลักษณะหัวของมันฝรั่งจะมีตั้งแต่รูปร่างกลมถึงกลมรี และรูปร่างยาว มีผิวสีขาว เหลือง ส้มแดง หรือสีม่วง หากกลบดินไม่ดีปล่อยให้ผิวที่หัว มันฝรั่งถูกแสงแดดระยะหนึ่ง หัวจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว เนื้อในของหัวมันฝรั่งจะมีสีขาว เหลือง แดง และสีม่วง แล้วแต่สายพันธุ์ นอกจากนี้ที่หัวมันฝรั่งยังมีในสภาพดินที่ชื้น

     หน่อ เจริญออกจากตาของหัวมัยฝรั่ง หลังจากปลูกจะออกรากและ เจริญไปเป็นลำต้นต่อไป

     ใบ มีลักษณะเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยเส้นกลางใบ กับ ใบย่อยหลายคู่ กับหนึ่งใบยอด

     ดอก เป็นดอกช่อ แต่ละก้านดอกจะแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ก้อน ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน เกสรตัวเมีย ๑ อัน กลีบดอกมี ๕ กลีบ สีของดอกมีทั้งสีขาว น้ำเงิน แดง และม่วง

     ผลและเมล็ด ผลมีลักษณะกลม คล้ายมะเขือเทศ มีสีเขียวบางพันธุ์อาจ มีสีขาวเป็นจุดหรือเป็นแถบ จำนวนเมล็ดในผลหนึ่งอาจมีมากกว่า ๒๐๐ เมล็ด


สภาพที่เหมาะสม

     สภาพปลูกที่เหมาะสมจะมีผลอย่างมากต่อผลผลิตมันฝรั่งใน เขตหนาวจะให้ผลผลิตสูงกว่าในเขตร้อน เนื่องจากมีสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความยาวของวัน ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และการสร้างหัวมันฝรั่ง

     อุณหภูมิ มันฝรั่งเป็นพืชที่ชอบอาหารหนาวเย็น มันฝรั่งจะเจริญเติบโต ได้ดีในอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดฤดูปลูกระหว่าง ๑๕ – ๑๘ องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า ๒๑ องศาเซลเซียส จะมีการเจริญทางลำต้นอย่างรวดเร็วแต่การลงหัวจะน้อย และผลผลิตจะต่ำลงอย่างมากเมื่ออุณหภูมิสูงถึง ๓๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำกว่า ๑๘ องศาเซลเซียสจะทำให้มันฝรั่งเติบโตช้าแต่การลงหัวจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การปลูกมันฝรั่งในฤดูฝน จึงจำเป็นต้องปลุกบนพื้นที่สูง ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๘๐๐ เมตรขึ้นไป เพื่อให้มีอุณหภูมิต่ำพอที่มันฝรั่งจะลงหัว

     ความยาวของวัน ช่วงความยาวของวันจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันฝรั่ง หากปลูกมันฝรั่งในฤดูหนาวที่กลางวันสั้น กลางคืนยาว จะลงหัวได้เร็ว ไหลจะสั้น ทรงพุ่มเล็ก และอายุแก่เร็ว ในสภาพวันยาว มันฝรั่งจะลงหัวช้า ไหลจะยาวขึ้น และการเจริญทางลำต้นมาก อายุเก็บเกี่ยวจะยืดออกไป

     ดิน มันฝรั่งจะเจริญเติบโตได้ดีในดรที่มีการระบายน้ำดี อาจเป็นดิน ร่วนหรือดินร่วนปนทราย ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ที่เหาะสมอยู่ระหว่าง ๕.๕ – ๖.๕ สภาพดินเหนียวจัดไม่เหมาะกับการปลูกมันฝรั่ง เพราะการระบายน้ำและอากาศไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อการสร้างหัว


การปลูก
๑. ฤดูปลูก

     การปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยแบ่งเป็น ๒ ฤดู ดังนี้

     ๑.๑  ฤดูแล้ง เป็นฤดูปลูกมันฝรั่งในเขตพื้นที่ราบ ช่วงที่เหมาะสมควร ปลูกเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ – มีนาคม

     ๑.๒  ฤดูฝน เป็นฤดูการปลูกมันฝรั่งในเขตพื้นที่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๘๐๐ เมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นเขตที่มีอุณหภูมิต่ำเหมาะกับการปลูกมันฝรั่ง การปลูกแบ่งเป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นหนึ่ง ปลูกเดือนมีนาคม – เมษายน เก็บเกี่ยวเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และรุ่นสอง ปลูกเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เก็บเกี่ยวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

     ๒. พันธุ์มันฝรั่ง

     มันฝรั่งที่ปลูกในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีอยู่ ๒ ประเภทคือ มันฝรั่งบริโภคสด และมันฝรั่งส่งโรงงานแปรรูป ดังนั้น พันธุ์ที่ใช้ปลูกจึงแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ พันธุ์มันฝรั่งที่มีการปลูกมากในปัจจุบันมี ๓ พันธุ์ คือ

     ๒.๑  พันธุ์สปุนต้า (Spunta) เป็นพันธุ์สำหรับการบริโภคสดจัดเป็นพันธุ์เบาปานกลาง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๑๐๐ – ๑๒๐ วัน เจริญเติบโตเร็ว ทรงต้นสูง ทรงพุ่มแน่น ใบเล็ก ทนแล้งได้ดี โคนต้นสีม่วง ดอกขาว หัวรูปร่างยาวและมีขนาดใหญ่ ผิวเรียบสีเหลือง ตาดิ้น เนื้อสีเหลือง ให้ผลผลิตสูง

     ๒.๒  พันธุ์เคนนีเบค (Kennebec) เป็นพันธุ์สำหรับแปรรูปเป็นมันทอดแผ่นบาง (Potato Chip) จัดเป็นพันธุ์เบาปานกลาง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๑๐๐ – ๑๒๐ วัน ใบใหญ่ ถ่มหนา ทนแล้ง ได้ดี ลักษณะหัวกลมรีรูปไข่ ผิวเรียบสีเหลืองอ่อน ตาดิ้น เนื้อในสีขาว ให้ผลผลิตสูงปานกลาง

     ๒.๓  พันธุ์แอตแลนติค (Atlantic) เป็นพันธุ์สำหรับการแปรรูปเช่นเดียวกับพันธุ์เคนนีเบค มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๑๐๐ – ๑๒๐ วัน ทรงต้นตั้งตรง พุ่มหนา ใบใหญ่สีเขียวเข้ม หัวกลมขนาดกานกลางถึงเล็กผิวสีเหลืองอ่อนเป็นร่างแหเล็กน้อย เนื้อสีขาวครีม ให้ผลผลิตสูง

     ๓. การเตรียมพันธุ์

     โดยทั่วไปการปลูกมันฝรั่งจะนิยมใช้หัวปลูก การจัดการเตรียมหัวพันธุ์ก่อนลงปลูกที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ จะทำให้มันฝรั่งเจริฐเติบโตดี และให้ผลผลิตสูง หัวพันธุ์มันฝรั่งหลังจากขุดเก็บเกี่ยวแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น ๔ ระยะ คือ

     ๓.๑ ระยะฟักตัว ระยะนี้ตาบนหัวมันฝรั่งจะไม่แตกหน่อโดยปกติดระยะพักตัวจะใช้เวลาประมาณ ๑๒ – ๑๕ สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น

          - พันธุ์ มันฝรั่งพันธุ์เบา เช่น พันธุ์สปุนต้าจะพักตัวสั้นกว่าพันธุ์หนัก เช่น พันธุ์อัลฟ่า

          - อายุหัวพันธุ์เมื่อเก็บเกี่ยว ถ้าเก็บเกี่ยวเมื่อยังไม่แก่เต็มที่มีระยะพักตัวนานกว่าหัวพันธุ์เก็บเกี่ยวเมื่อแก่จัด

          - หัวพันธุ์จากแปลงที่ปลูกในแหล่งอากาศร้อนจะพักตัวสั้นกว่าหัวพันธุ์ปลูกในแหล่งอากาศเย็น

          - อุณหภูมิที่เก็บรักษาหัวพันธุ์ ถ้าเก็บในโรงเก็บที่อุณหภูมิสูงจะพักตัวสั้นกว่าหัวพันธุ์ที่เก็บไว้ในที่อุหณภูมิต่ำ

          - สภาพของหัวพันธุ์ หัวพันธุ์ หัวพันธุ์ที่มีบาดแผลหรือกระทบกระเทือนจาการเก็บเกี่ยวและขนส่ง หัวพันธุ์ที่มีโรคแมลงเข้าทำลายจะพักตัวสั้นกว่าหัวพันธุ์ที่มีสภาพสมบูรณ์

     ๓.๒ ระยะเริ่มงอก เมื่อพ้นระยะพักตัว ตาที่อยู่ปลายหัวจะเริ่มแตกหน่อเพียง ๑ ตา ส่วนตาอื่น ๆ เริ่มแตก ดังนั้น ระยะที่สองนี้จึงไม่ควรนำไปปลูกเพราะจะเจริญเติบโตช้า และมักจะงอกเพียงลำต้นเดียว ทำให้ผลผลิตจำนวนหัวน้อย แต่หัวจะมีขนาดใหญ่

     ๓.๓ ระยะแตกหน่อข้าง เมื่อพ้นระยะที่สอง ตาอื่น ๆ บนหัวจะเริ่มแตก หัวพันะมันฝรั่งที่ผลิตใน เขตหนาวและเก็บรักษาในห้องเย็นจะมีช่วงระยะนี้ยาวนานกว่าหัวพันธุ์ที่ ผลิตในเขตร้อนและเก็บรักษาในสภาพอากาศร้อน ระยะนี้อาจะกินเวลานานหลายเดือนพอควร เป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำไปปลูก ต้นมันฝรั่งจะเจริญเติบโตเร็วมีจำนวนต้นมากทำให้ได้หัวมาก ผลผลิตสูง

     ๓.๔ ระยะเสื่อมสภาพ หัวมันฝรั่งจะเหี่ยวและเสื่อมสภาพหน่อที่แตกออกมาจะผอมและยาว ไม่แข็งแรง และแตกกิ่งก้านมากบางครั้งจะเกิดลักษณะผิดปกติ คือเกิดหัวเล็ก ๆ ที่หน่อ ระยะสั้นไม่เหมาะสมที่จะนำไปปลูก เพราะจะได้ต้นที่อ่อนแอ


การจัดการหัวพันธุ์

     หัวพันธุ์มันฝรั่งที่ใช้ปลูกในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ หากเป็นพันธุ์จากประเทศในแถบยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์สก๊อตแลนด์ เยอรมัน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ในเดือนสิงหาคม – กันยายน เมื่อส่งมาปลูกในไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หัวพันธุ์ที่นำเข้ามาก็จะพ้นระยะพักตัวพอดี กรณีที่หน่อยอดงอกงามออกมาแล้วควรจะปลิดทิ้งเพื่อกระตุ้นให้ตาข้างแตก แล้วนำหัวพันธุ์ไปวางผึ่งเป็นชั้น ๆ หัวทับช้อนกันไม่เกิน ๒-๓ ชั้น ผึ่งในที่ร่มที่มีแสงสว่างแต่อย่าให้ถูกแดดโดยตรงภายใน ๓-๖ สัปดาห์หัวพันธุ์แตกหน่อจากตาต่างๆ รอบหัว เมื่อหน่องอกยาว ๑-๒ เซนติเมตร ก็สามารถนำไปปลูกได้

     การปลูกมันฝรั่งนั้นสามารถปลูกทั้งหัว หรือผ่าหัวพันธุ์ออกเป็นชิ้น ๆ การปลูกทั้งหัวจะมีข้อดี คือ จะมีอาหารสะสมที่จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ดีกว่า และผลผลิตจะสูงกว่าการปลูกด้วยหัวพันธุ์ที่ผ่าเป็นชิ้น แต่ข้อเสีย คือ สิ้นเปลืองหัวพันธุ์มากอาจถึงประมาณ ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อผ่าหัวพันธุ์ปลูกจะใช้ประมาณ ๑๐๐ – ๑๕๐ กิโลกรัมเท่านั้น แต่การผ่าหัวพันธุ์ก็มีข้อเสีย คือ จะทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายและเน่าเสียได้ง่าย มีโอกาสติโรคจากหัวพันธุ์ที่เป็นโรคไปยังหัวพันธุ์ที่ดี โดยติดไป กับมืดที่ใช้ผ่าได้ง่าย ดังนั้นจึงควรปฏิบัติในการผ่าหัวพันธุ์มันฝรั่ง ดังนี้

วิธีการผ่าหัวพันธุ์

     ๑. เมื่อหัวพันธุ์เริ่มแตกตาข้างพอสังเกตเห็นได้ก็พร้อมที่จะนำไปผ่าได้ ควรผ่าหัวพันธุ์ก่อนปลูกอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ การผ่าใช้มีดคมชุบแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ผ่ากลางหัวแบ่งครึ่งตามยาว โดยผ่าจากด้านท้ายไปด้านหัว จากนั้นตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ตามแนวยาวและแนวตั้งให้ ๑ ชิ้นมีตาอยู่อย่างย้อย ๑ ตา

     ๒. หลังจากผ่าเสร็จแต่ละหัว ควรจุ่มใบมีดในแอลกอฮอล์ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนจะที่จะผ่าหัวต่อไป เพื่อป้องกันการติดโรค

     ๓. นำหัวพันธุ์ที่ผ่าแล้วไปแช่ยาฆ่าเชื้อรา เช่น สารละลายเมตาเล็กซิล (เอพรอน) อัตราส่วน ๑ ช้อนแกง ผสมน้ำ ๒๐ ลิตร แช่นาน ๕ นาที แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง

     ๔. นำหัวพันธุ์ที่ผึ่งแห้งแล้งไปเพาะในแปลงเพาะที่ใช้ทรายหรือขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุเพาะ โดยเกลี่ยทรายให้เรียบหนาประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร นำหัวพันธุ์มาวางเรียงบนแปลงเพาะ โดยวางส่วนตาอยู่ด้านล่างกลบด้วยทรายบาง ๆ หนาประมาณ ๑ เซนติเมตร รดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอระวังอย่าให้เปียกแฉะหรือน้ำขัง หลังจากชำประมาณ ๑ สัปดาห์ หน่อจะงอกยาว ๑-๒ เซนติเมตร นำไปปลูกได้

     ๕. หากไม่นำหัวพันธุ์ที่ผ่าแล้วไปชำในแปลงเพาะ อาจจะนำไปเก็บในลังไม้หรือกระสอบป่าน โดยใส่เพียงครึ่งกระสอบเพื่อไม่ ให้เบียดชิดกันแน่นเกินไปแล้วคลุมด้วยกระสอบป่านที่ชื้น ๆ ระวังอย่าให้อุณหภูมิของภาชนะที่บรรจุหัวพันธุ์สูงเกินไป จะทำให้เน่าเสียได้ง่าย


๔. การเตรียมดิน

     ไถดินให้ลึกอย่างน้อย ๒๐ เซนติเมตร ตากดินไว้ก่อนปลูก ๑ๆ – ๑๕ วัน หากดินเป็นกรดมากควร ใช้โดโลไมท์หว่านให้ทั่วแปลง อัตรา ๒๐๐ – ๕๐๐ กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดของดิน จากนั้นไถพรวนอีก ๒-๓ ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุยดี จึงยกร่องหรือยกแปลงปลูก


๕. วิธีปลูก
 สามารถปลูกได้ ๓ วิธีคือ

     ๕.๑ ปลูกแบบแถวเดี่ยวไม่ยกร่อง วิธีนี้จะขุดร่องยาวตามแนวแปลงลึกประมาณ ๑ หน้าจอบ ระยะระหว่างร่อง ๗๕-๙๐ เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมก่อนปลูก โดยโรยไม่ร่องแล้วคลุกเคล้ากับดิน วางหัวพันธุ์ในร่องห่างกัน ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร แล้วกลบดินหนาประมาณ ๕ – ๑๐ เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความชื้นของดินและอุณหภูมิของอากาศ หากดินแห้งและอุณหภูมิสูงควรปลูกให้ลึก วิธีการปลูกแบบนี้ อาจใช้รถไถเดินตามขนาดเล็ก ติดผานหัวหมูไถเปิดร่องและ ไถกลบร่องหลังวางหัวพันธุ์แล้วก็ได้ จะช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน เกษตรกรที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก นิยมปลูกด้วยวิธีนี้

     ๕.๒ ปลูกแบบแถวเดี่ยวยกร่อง วิธีนี้จะขุดยกร่องให้สูงขึ้นสันร่องสูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ระยะระหว่างร่องประมาณ ๗๕ – ๙๐ เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกบนสันร่องห่างกัน ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมเช่นเดียวกับวิธีที่ ๑ วางหัวพันธุ์ลงในหลุมแล้วกลบดินหนา ๕-๑๐ เซนติเมตร

     ๕.๓ ยกแปลงปลุกแบบแถวคู่ วิธีนี้จะยกแปลงปลูกขนาดกว้าง ๑-๑.๒ เมตร ยาวตามพื้นที่ ขุดหลุมปลูกแถวคู่บนหลังแปลง ระยะระหว่างแถว ๔๐ – ๘๐ เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม ๓๐ – ๔๐ เซนติเมตรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมและกลบดินเช่นเดียวกับ ๒ วิธีแรก วิธีนี้นิยมปลูกโดยเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

     การปลูกมันฝรั่งทั้ง ๓ วิธีนี้ เกษตรกรสามารถเลือกแบบใดแบหนึ่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญ และควรพิจารณาว่าจะนำเครื่องจักรกลทุ่นแรงมาช่วยหรือไม่ นับตั้งแต่การยกร่องปลูก การพรวนดินพูนโคน การใช้เครื่องเก็บเกี่ยว ซึ่งวิธีการปลูกแถวเดี่ยว ทั้งแบบปลูกในร่องและปลูกแบบยกร่องจะสะดวกต่อการใช้เครื่องมือจักรกล

     สำหรับการเตรียมดินและความลึกของการปลูก มีข้อความคำนึงถึง คือ สันร่องควรมีความกว้างค่อนข้างมาก และปลายสันร่องโค้งมนซึ่งจะช่วยทำให้หัวมันฝรั่งมีขนาดใหญ่ และควรวางหัวพันธุ์ให้อยู่สูงกว่าระดับท้องร่อง เพื่อว่ากรณีที่มีน้ำขังในร่อง หัวมันฝรั่งจะไม่แช่อยู่ในน้ำ


การปฏิบัติดูแลรักษา

     ๑. การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยมันฝรั่งควรจะใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีการใส่ปุ๋ยควคำนึง ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ใช้ปลูกมันฝรั่งว่ามีธาตุอาหารอยู่แล้วมากน้อยเพียงใด โดยการนำดินไปตรวจวิเคราะห์ แล้วจึงพิจารณาใช้ชนิดและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสม ตามค่าวิเคราะห์ดิน

     โดยทั่วไปแล้ว ควรแบ่งการใส่ปุ๋ยให้มันฝรั่งเป็น ๓ ครั้ง ดังนี้

     ครั้งที่ ๑ ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๑๐๐ กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก

     ครั้งที่ ๒ เมื่อมันฝรั่งอายุได้ ๑๕-๒๐ วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา ๒๕ กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่เป็นแถวข้างต้นพร้อมกับพูนดินกลบโคน

     ครั้งที่ ๓ เมื่อมันฝรั่งอายุได้ ๓๐ วัน ใส่ปุ๋ยโปตัสเซี่ยมซัลเฟต อัตรา ๒๕ กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่โรยเป็นแถวพร้อมกับพูนดินกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง

     ปุ๋ยไนโตรเจน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น ถ้าใส่มากเกินไปจะเฝือใบ ต้นมันฝรั่งจะแก่ช้าลง การลงหัวจะช้าด้วย หัวมันฝรั่งจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งต่ำ มีผิวบาง ถลอกได้ง่ายเวลาขุดเก็บเกี่ยว และมีอายุการเก็บรักษาได้ไม่นาน

     ปุ๋ยฟอสฟอรัส ช่วยเร่งการพัฒนาและการเจริญเติบโตของลำต้นและราก เร่งการลงหัว และช่วยเพิ่มจำนวนหัวต่อต้น

     ปุ๋ยโปตัสเซียม ช่วยในการดูดซึมและการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารการสะสมแป้งในหัว ถ้าใส่มากเกินไป อาจมีผลต่อคุณภาพของหัว ทำให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งต่ำ โดยเฉพาะปุ๋ยที่อยู่ในรูปคลอไรด์ หรือโปตัสเซียมคลอไรด์

     ดินที่เป็นกรด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH ต่ำกว่า ๔๘ อาจทำให้ต้นมันฝรั่ง ขาดธาตุแคลเซียมกับแมกเนเซียม ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญของหน่อ ควรใส่ปุ๋ยโดโลไมท์ ช่วงเตรียม ดินก่อนปลูกอย่างน้อย ๑ เดือน

     ๒. การพูนโคน คือ การขุดดินบริเวณกลางระหว่างแถวต้นมันฝรั่งขึ้นมากลบที่โคนต้น ควรทำอย่างน้อย ๒ ครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๒ และ ๓ ให้ดินที่กลบโคนต้นสูงประมาณ ๒๐-๒๕ เซนติเมตร

     การพูนโคนมีความสำคัญต่อผลผลิตของมันฝรั่ง เนื่องจากหัวมันฝรั่งเกิดจากลำต้นใต้ดินที่เรียกว่าไหล ซึ่งอกออกมาจากส่วนโคนของลำต้น ตรงส่วนปลายของไหลนี้จะพองตัวออกทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารเป็นหัวมันฝรั่ง แต่ถ้าไหลนี้เกิดโผล่พ้นดินขึ้นมาก็จะเจริญเป็นลำต้นมีใบตามปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพูนดินกลบโคนต้นเพื่อให้มีการลงหัวดีรวมทั้ง เป็นการป้องกันไม่ให้หัวมันฝรั่งถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้หัวเกิดสีเขียว ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือโรงงาน

     ๓. การให้น้ำ มันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ความถี่ของการให้น้ำจะ ผันแปรตามระยะการเจริญเติบโตของมันฝรั่ง ในระยะแรกหลังจากปลูกมันฝรั่งต้องการน้ำน้อย และจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อต้นเจริญเติบโตคลุมดินเต็มที่ และต้องการปริมาณน้ำมากจนต้นฝรั่งแก่ดังนั้นช่วงแรกปลูกควรให้น้ำปริมาณ น้อยเพียงพอแก่การงอกเท่านั้นถ้าน้ำมากเกินไปอาจทำให้หัวพันธุ์ที่ปลูกเน่าเสีย หลังมันฝรั่งงอกแล้วให้น้ำปริมาณมากขึ้นและสม่ำเสมอ หลังจากที่มันฝรั่ง ลงหัวแล้วถ้าได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอจะให้หัวที่มีลักษณะผิดปกติ การให้น้ำโดยทั่วไป ใช้วิธีปล่อยน้ำไปตามร่องให้น้ำไหลซึมไปสู่บริเวณราก เกษตรกรอาจช่วยตักรดได้ ให้ดินมีความชื้นพอเหมาะ ไม่แห้งหรือแฉะเกินไป ทำให้ผิวไม่สวยและมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย เมื่อใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวควรงดให้น้ำก่อนขุดประมาณ ๒ สัปดาห์

     ๔. การกำจัดวัชพืช ควรทำการกำจัดวัชพืชไปพร้อมกับการใสปุ๋ยและพูนโคน การพ่น สารเคมีคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น เมทริบูซิน (เซ็งคอร์) ฉีดพ่นหลังจากปลูกมันฝรั่งเสร็จก่อนงอก จะลดปริมาณวัชพืชลงได้มาก ช่วงที่มันฝรั่งลงหัวแล้วไม่ควรพรวนดินกำจัดวัชพืช จะทำให้หัวมันฝรั่งได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้หัวเกิดรอยแผลได้

     ๕. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวมันฝรั่งจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ เช่น พันธุ์เคนนีเบค พันธุ์แอตแลนติค และพันธุ์สปุนต้า ซึ่งเป็นพันธุ์เบาปานกลางจะมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๑๐๐ – ๑๒๐ วัน ต้นมันฝรั่งที่แก่ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ลำต้นจะล้มเอนราบไปกับพื้นดิน ควรขุดมันฝรั่งเมื่อแก่จัดเต็มที่เมื่อลำต้นและใบเริ่มแห้งตายเท่านั้น

ในการเก็บเกี่ยวมันฝรั่งเพื่อให้มีคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้นานนั้นมีข้อควรระวัง ดังนี้

     ๑. ไม่ควรรีบขุดหัวมันฝรั่งที่อายุอ่อนเกินไป เพราะผิวบางถลอกได้ง่ายเวลาขุดและทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เก็บรักษาได้ไม่นาน หัวมันที่อ่อนจะมีปริมาณน้ำตาลสูงและปริมาณแป้งต่ำ ทำให้ไม่ได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ

     ๒. ไม่ควรเก็บเกี่ยวมันฝรั่งขณะที่มีฝนตก จะทำให้มันฝรั่งเปียกชื้น เมื่อนำไปเก็บรักษาจะทำให้เน่าเสียง่าย

     ๓. ไม่ควรทิ้งหัวมันฝรั่งที่ขุดแล้วไว้กลางแจ้งถูกแสงแดดนานเกินไป หัวมันฝรั่งที่เกิดความร้อนมากเกินไป อาจจะทำให้เนื้อมันฝรั่งมีสี ดำคล้ำในภายหลังระหว่างเก็บรักษา

     ๔. ระมัดระวังในการขนย้ายหัวมันฝรั่งออกจากแปลง มิให้กระทบกระแทกเสียดสีกันมากเกินไป

     ๕. ควรผึ่งหัวมันฝรั่งก่อนนำเข้าโรงเก็บ โดยผึ่งในที่ร่มที่ระบายอากาศได้ดี ไม่ควรเดินหรือยืนบนกองมันฝรั่ง

     ๖. ควรคัดแยกหัวที่เป็นแผล หรือเป็นโรคเน่า หัวรูปร่างผิดปกติและหัวสีเขียวทิ้งไป แล้วทำการคัดขนาดของ หัวมันฝรั่งตามเกรดที่ตลาดหรือโรงงานแปรรูปต้องการ

     ๖. การป้องกันกำจัดโรคแมลง โรคและแมลงที่เป็นศัตรูของมันฝรั่งมีมากมายหลายชนิด แต่จะกล่าวถึงศัตรูที่สำคัญ ๆ ดังนี้

     โรคใบไหม้

     ลักษณะอาการ เริ่มแรกแผลบนใบเป็นจุดช้ำฉ่ำน้ำ มีลักษณะกลม จะลุกลามขยายเป็นแผลใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งสีน้ำตาล ขอบแผลเปียกชื้นสีดำ เนื้อเยื่อใบรอบ ๆ ขอบแผลมีสีเหลืองซีดและฉ่ำน้ำ ในสภาพอากาศชื้นจะปรากฏเส้นใยและสปอร์สีขาวหรือเทาที่วงรอบนอกของแผลด้านท้องใบ แผลจะเริ่มปรากฏตรงปลายหรือริม ๆ ขอบใบ ขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ ๒-๓ มิลลิเมตร ถึง ๓-๔ เซนติเมตร กรณีที่เป็นโรครุนแรงใบจะแห้งและดำ จะเกิดแผลเน่าแห้งสีน้ำตาลแก่หรือสีดำตามแนวของลำต้นและกิ่งก้าน เมื่อเป็นมากจะหักพับและแห้งตาย

     สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด เกิดจากเชื้อราไฟทอฟเทอร่า ซึ่งอาศัยอยู่ในเศษ ซากพืชที่เป็นโรคและต้นพืชที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยว การระบาดเกิดจากสปอร์ถูกพัดพาหรือถูกนำให้แพร่กระจาย ไปโดยลม น้ำฝน แมลง และเครื่องมีอกสิกรรม เป็นต้น

     การป้องกันกำจัด

     ๑. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชลงในแปลงเก่าที่เคยมีโรคระบาด หรือใกล้กับแปลงปลูกพริกและมะเขือเทศ

     ๒. ไม่ควรปล่อยให้มีวัชพืช หรือต้นที่งอกขึ้นมาเองหลังเก็บเกี่ยวแล้วหลงเหลืออยู่ ในแปลง

     ๓. รักษาแปลงปลูกให้สะอาดอยู่แล้วเสมอ โดยเก็บหรือทำลายเศษซากพืชที่เคยเป็นโรคให้หมด โดยการเผาไฟหรือฝังดินลึก ๆ

     ๔. การใช้สารเคมีควรเน้นหนักไปในการป้องกันการเกิดโรคหรือ ติดเชื้อ ควรเริ่มพ่นเมื่อพืชมีขนาด ๑๕-๓๐ เซนติเมตร อย่างน้อย ๑๐ วัน ก่อนที่โรคจะเกิดขึ้น โดยพ่นทุก ๆ ๗-๑๐ วัน หรือ ๓-๕ วันต่อครั้งเมื่ออากาศเริ่มชื้น หมอกน้ำค้างจัดหรือฝนชุก และมีการระบาดรุนแรง จากนั้นให้พ่นติดต่อกันไปจนเก็บเกี่ยว สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้ได้ผลดี เช่น โพรพีเนบ เมตาแฃกซิล เอฟโฟไซท์ อะลูมินั่ม แมนโคเซ็บ มาเน็บ ซีเน็บและคอบเปอร์อ๊อกซี คลอไรด์

     ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเหี่ยว และโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทำให้ใบด่างและ ต้นแคระแกรน ยังไม่มียาป้องกันกำจัดที่ได้ผลดี การควบคุมโรค คือ ถ้าพบต้นเป็นโรคให้ถอนทิ้งทันที แล้งนำไปฝังหรือเผาทำลาย สำหรับโรคที่เกิดจากไวรัสควรพ่นสารฆ่าแมลง เพื่อกำจัดเพลี้ยอ่อนที่เป็นพาหะของโรค

     การควบคุมแมลง พวกเพลี้ยอ่อน พ่นด้วยสารคาร์บาริล (เซพวิน ๘๕ ) สลับกับคาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) ทุก ๑๐ วัน ถ้ามีหนอนชอนใบและเพลี้ยไฟระบาด ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิคาโคลพริค (คอนฟิดอร์ ๑๐๐ เอสแอล) สลับไซเพอร์เมทริน/ไฟซาโลน (พาร์ซอน) ฉีดพ่นทุก ๆ ๕-๗ วัน

     ไส้เดือนฝอยรากปม

     ลักษณะอาการ ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายรากก่อนจนเกิดรากปม แล้วจึงเข้าทำลายหัวมันฝรั่งเกิดปุ่มปมเหมือนหูด ทำให้หัวมีลักษณะบิดเบี้ยว เกษตรกรนิยมเรียกว่า โรคหูด

     สาเหตุและการแพร่ระบาด เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม เมลลอยโดยีน โดยมีน้ำเป็นตัวพัดพาไป พบมากในบริเวณที่ดินการระบายน้ำไม่ดี ไส้เดือนฝอยจะอาศัยอยู่ตามพืชมากมายหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ คะน้า พริก กระหล่ำปลี และวัชพืช เช่น ผักเผ็ดแม้ว โทรงเทง หญ้ายาง ฯลฯ การทิ้งหัวมันที่เป็นโรคไว้บนแปลงจะทำให้การแพร่ระบาดของ ไส้เดือนฝอยรากปมออกไปได้เรื่อย ๆ

     การป้องกันกำจัด

     ๑. ดูแลรักษาแปลงให้สะอาด หมั่นกำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของไส้เดือนฝอยรากปม และเก็บหัวมันฝรั่งที่เป็นโรคหูดออกนอกแปลง

     ๒. ไถพรวนดินให้ดีและลึก และควรไถตากดินทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อนทำการปลูก

     ๓. ปลูกพืชที่ไม่เป็นพืชอาศัยของไส้เดือนฝอยรากปม หมุนเวียนเพื่อลดปริมาณของไส้เดือนฝอย

     ๔. การใช้สารเคมี ควรใช้ด้วยระมัดระวัง สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัด ไส้เดือนฝอยรากปมมีหลายชนิด เช่น รักบี้ ไวเดท เป็นต้น

     หนอนผีเสื้อ

     ลักษณะอาการ หนอนจะทำลายโดยชอบใบมันฝรั่งและเจาะเข้าไปในกิ่งก้าน และเจาะทำลายหัวในระยะปลูกสำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่ประสบ ปัญหาในระยะปลูกมากนัก แต่จะระบาดรุนแรงเจาะทำลายหัวมันฝรั่งช่วงเก็บรักษาในโรงเก็บ

     การแพร่ระบาด หนอนผีเสื้อชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศร้อน อุณหภูมิ ๒๕ – ๒๘ องศาเซลเซียส นอกจากมันฝรั่งแล้วยังทำลายพืชชนิดอื่นอีก เช่น พรอก มะเขือ ยาสูบ มะเขือเทศ เนื่องจากมีพืชอาหารหลายชนิด จึงสามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี

     การป้องกันกำจัด

     - ระยะปลูกในไร่ ไม่ควรปลูกมันฝรั่งหรือพืชอาหารของแมลงชนิดนี้ต่อเนื่องกันตลอดปี ควรปลูกสลับกับพืชอื่น เช่น ข้าวโพด หรือ ข้าวฟ่าง ควรทำความสะอาดแปลงเก็บเศษพืช ทำการพูนโคนให้ดี และให้น้ำแก่มันฝรั่งอย่างสม่ำเสมอ

     - ระยะเก็บรักษาในโรงเก็บ ตรวจตราและคัดแยกนำเอาเฉพาะหัวมันฝรั่งที่ไม่มีการทำลายจากหนอนผีเสื้อ หรือแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าเก็บรักษา หากมีการระบาดในโรงเก็บ ก็อาจใช้สารประเภทเชื้อแบคทีเรีย สารเฟนรารีเลท สารเอทริมฟอสหรือสารคาร์โบซัลแฟน อย่างใดอย่างหนึ่ง พ่นเดือนละ ๑-๒ ครั้ง



http://sansai.webege.com/wordpress/?p=149




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©