-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 614 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่






สบู่ดำ


ประวัติสบู่ดำ


นันทวรรณ  สโรบล
 
ถิ่นกำเนิด


สบู่ดำ (Jatropha curas Linn.)  พืชน้ำมันที่กำลังเป็นที่สมใจของผู้คนทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้นั้น นักพฤกษศาสตร์จัดกลุ่มไว้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae วงศ์เดียวกับยางพารา ละหุ่ง และมันสำปะหลัง มีน้ำยางสีขาวใสลื่น ๆ เป็นฟอง มี
คุณสมบัติคล้ายสบู่อยู่ในทุกส่วนของลำต้น

ประวัติและความสำคัญ

“สบู่” เป็นภาษาโปรตุเกส หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่ สำหรับชำระล้างร่างกาย และซักล้างเสื้อผ้า ของใช้ มีบันทึก
ไว้ว่าค้นพบโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เดินเรือไปทวีปอเมริกากลาง และนำเข้ามาในทวีปเอเชีย และแพร่มายังประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว ๆ
 300 ปีก่อน โดยมีการแนะนำให้ผู้คนสมัยนั้นปลูกและพ่อค้ารับซื้อเมล็ดไปทำสบู่
           
ในทวีปแอฟริกา สมัยก่อนปลูกกันมากที่แหลม Verde ในที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นแนวเขตรั้วบ้าน คอกสัตว์ หรือบริเวณหลุมฝังศพ เพื่อกันสัตว์ไม่ให้
เข้าไปคุ้ยเขี่ย สำหรับในประเทศไทยมีรายงานว่า เคยมีการปลูกเป็นรั้วบ้าน ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยผู้เฒ่าผู้แก่ใช้ยางใส ๆ ที่หัก
ออกจากก้านใบ หรือส่วนยอดใช้ทาแผลสด โดยเฉพาะแผลที่ปากให้เด็ก ๆ ที่เป็นโรคปากนกกระจอก หรือใช้กวาดลิ้นเด็กที่เป็นฝ้าขาว และใช้เนื้อในเมล็ด
สีขาวเลียบไม้ จุดแทนเทียนไข ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนน้ำมันก๊าดที่ใช้จุดตะเกียง
           
สบู่ดำ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ เรียก มะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก หมากเย่า, มะเยา หรือสีหลอด ภาคใต้เรียก หงส์
เทศ (เพราะต้นโต) และภาคกลางเรียก สบู่ดำ ชาวเขาเรียก ไท้ยู หรือเกงยู (เพราะน้ำมันมีสีดำ) พม่าเรียก แจ้ทซู  เขมรเรียก ทะวอง จีนกลางเรียก หมาฟ่งสู้
แต้จิ๋วเรียก มั่วฮองซิว ญี่ปุ่นเรียก บูราคีรี และภาษาอังกฤษเรียก physic nut หรือ purging nut (Jatropha spp.) พืชสกุลนี้จัดเป็นไม้สกุลใหญ่ กระจายอยู่
ในเขตร้อนและกึ่งร้อน  จเร สดากร (2527) รายงานว่า พบสบู่ดำ 175 ชนิด (Airy Show, 1978) ในอินโดจีน พบ 4 ชนิด (Lecomit, 1931) 3 ชนิด พบใน
พม่า (Kura, 1974) และมาเลเซีย (Burkill, 1966) ในประเทศไทยเองพบ 5 ชนิด คือ J. gossypifolia (สบู่แดง), J. podagrica (หนุมานนั่งแท่น) J. integ-
gerima (ปัตตาเวีย), J. multifida (มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น) และ J. curcas (สบู่ดำ) 

เอกสารอ้างอิง 
สุขสันต์  สุทธิผลไพบูลย์ และระพีพันธุ์ ภาสบุตร (ไม่ระบุปีพิมพ์) ประวัติสบู่ดำพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซลและเบนซิน เอกสารโรเนียว
Airy Show, H,K. 1973.  A Dictionary of the Flowering Plants and Ferns.  The Univ. Press, (Cambridge. 1244 p.
Burkill, I.H. 1966.  A Dictionary of the Economic Products of the Malay perin…… Art printhng Workn. Kurla Lampur. 2444 p.

Kurz, S. 1974.  Forest flora of British Bourns.  Bagmen Singh Mabendra pal Singh.  Dehra Dun. 613 p. 

Lecomte, M.H. 1931.  Flore generale de L’ Indo-Chine. Masson et.  C. Editeurs. Paris. 1106 p.
 

************************************************************************************************************


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อนุวัฒน์    จันทรสุวรรณ

                สบู่ดำ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 2 – 7 เมตร มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี จัดอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับยางพารา สบู่แดง ปัตตาเวีย มะละกอฝรั่ง หนุมานนั่งแท่น โป๊ยเซียน มันสำปะหลัง มะยม มะขามป้อม ผักหวานบ้าน เป็นต้น 

                ลำต้น  มีเปลือกลำต้นเรียบ มีสีเทา-น้ำตาล ลำต้นเกลี้ยง อวบน้ำ เป็นไม้เนื้ออ่อน ไม่มีแก่น หักง่าย มีน้ำยางสีขาวใส
                ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ กว้างหรือค่อนข้างกลม จัดเรียงแบบสลับ โคนใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักเว้า 3-5 หยัก

                ดอก  มีช่อดอกแบบ Panicle หรือ panicle cyme ประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกทั้ง 2 ชนิด มีกลีบรอง และกลีบดอก อย่างละ 5 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกสรเรียงเป็นวง 2 วง วงละ 5 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ ก้านเกสรตัวเมียมี 6 แฉก ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อ
ที่ซอกใบหรือปลายยอด ในช่อดอกเดียวกันมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย (อัตราดอกตัวผู้ : ดอกตัวเมีย เท่ากับ
6-7 : 1) ดอกแต่ละช่อบานไม่พร้อมกัน มีช่อดอกประมาณ 15-30 ช่อต่อต้น แต่ละช่อดอกมีดอกย่อย 70-120 ดอก แต่จะติดผลเพียง 8-14 ผล

                ผล ผลที่เกิดจากช่อดอกเดียวกันจะสุกแก่ไม่พร้อมกัน ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีเหลืองคล้ายลูกจันทน์ ผลมีลักษณะกลมรีเล็กน้อย ผลมีขนาดปานกลาง กว้าง 2 – 3 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรผลมี 3 พูๆ ละ 1 เมล็ด เมื่อสุกแก่ผลจะปริแตก ผลสด 1 กิโลกรัม มีจำนวน 85-90 ผล 

                เมล็ด  รูปกลมรี เปลือกนอกสีดำ เนื้อในสีขาว มีสารพิษ (curcin) หากบริโภคจะเกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย เมล็ดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 70 กรัม เมล็ด 1 กิโลกรัม มีประมาณ 1,300-1,500 เมล็ด




 เอกสารอ้างอิง
 จเร  สดากร. 2527. สบู่ดำพืชศักยภาพสูงเพื่อพลังงานทดแทนของประเทศไทย. ว. วิชาการเกษตร 2 : 67-72. 
นิรนาม. 2548. สบู่ดำกับน้ำมันดีเซล. น.ส.พ.กสิกร 78(5) : 22-33. 
นิรนาม. 2549. “สบู่ดำ” พืชพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล.แหล่งที่มา : http : // www.kasetonline.com/plant.asp.htm,
13 กุมภาพันธ์ 2549. 
พรศิริ  มณีโชติ. 2548. สบู่ดำกับเครื่องจักกลเกษตร. จดหมายข่าวผลิใบ 8(8) : 2-4. 

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา. 2548. เอกสารคำแนะนำการปลูกสบู่ดำ. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร, นครราชสีมา. 2 น.




****************************************************************************************************************************



การเขตกรรมสบู่ดำ


นันทวรรณ สโรบล


1. สภาพพื้นที่ปลูก

สบู่ดำเป็นพืชที่เพาะปลูก และขึ้นได้ง่าย จัดเป็นพืชทนความแห้งแล้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดตั้งแต่
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จนถึงความอุดมสมบูรณ์สูง อย่างไรก็ตามผลผลิตที่ได้รับก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ดังนั้น การที่จะให้ได้ผลผลิตสูง ดิน
ที่ปลูกควรมีความเป็นกรดเล็กน้อย ดินควรมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และหากจะปลูกในที่ลุ่มควรทำทางระบายน้ำ จากข้อมูลและรายงานระบุว่า สบู่
ดำสามารถเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ในดินที่ไม่เหมาะสม และในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ดินด่าง ดินเค็ม ดินทราย ดินที่มีหินมาก หรือแม้แต่ดินที่มีฝนตกน้อย
ปีละ 200 มิลลิเมตร (Lele, 2005) 1) ค่าจะมีการปรับตัวได้ดีในเขตร้อนที่มีปริมาณฝน 300-1000 มิลลิเมตรต่อปี (Joker and Jepen, 2003)
แต่ในแหล่งที่มีน้ำฝนมากกว่า 1000 มิลลิเมตรต่อปี และดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง เกษตรกรมักปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น การที่เกษตรกรจะเลือกปลูก
พืชอะไรในที่ดินบริเวณไหน ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เกษตรกรคำนึงถึง


2. การเตรียมดิน

โดยการไถพรวนในสภาพไร่ เพื่อให้ดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี และเป็นการกำจัดวัชพืช และหากเป็นที่ลุ่มควรมีการยกร่อง เพื่อเป็นการระบายน้ำ

สำหรับการปลูกเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ทางเศรษฐกิจในระยะยาว เกษตรกรบางส่วนจะขุดหลุมปลูกและเตรียมหลุมปลูกอย่างดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมก่อนปลูก
และมีการกำจัดวัชพืช และพรวนดินระหว่างแถวตามความเหมาะสม เนื่องจากสบู่ดำเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีอายุยาวนานกว่า 40 ปี หากมีการวางแผนเตรียมการที่
ดีตั้งแต่เริ่มต้น ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว


3. การปลูก

3.1 วิธีการปลูก

การปลูกสบู่ดำ ที่นิยมปลูกทั่วไป มักทำใน 3 วิธี ดังนี้

1) โดยการหยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกโดยตรง หลุมละ 1-2 เมล็ด หยอดลึกประมาณ 2-5 ซม. และกลบดินกรณีนี้จะต้องมีการเตรียมแปลงปลูก และหลุม
ปลูกให้พร้อมเวลาปลูกที่เหมาะสม ควรเป็นฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน) หากไม่งอกให้ทำการปลูกซ่อม โดยใช้เมล็ดหรือต้นกล้าที่เพาะเตรียมไว้

2) ปลูกด้วยต้นที่เพาะจากเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดไปแช่ในน้ำ 1 คืน และนำไปเพาะในถุงเพาะชำ เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง ถึง
2 เดือน จึงย้ายลงแปลงปลูก การปลูกโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นที่แน่นอน มักเป็นการปลูกในแปลงที่มีการเตรียมการอย่างดี

3) ปลูกด้วยท่อนพันธุ์ โดยการปักชำท่อนพันธุ์ในถุงเพาะชำ ความยาวของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสม คือ 30-60 ซม. (จากการทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอน
แก่น ปี 2529) เมื่อกิ่งแตกตาจนมีอายุ 45-60 วัน แล้วจึงย้ายลงแปลงปลูก การปลูกสบู่ดำโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นที่แน่นอน เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูง
เช่นเดียวกับการปลูกวิธีที่ 2


4. ระยะปลูก

ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อพื้นที่จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก ปัจจุบันระยะปลูกและอัตรา
ปลูกที่เหมาะสมยังอยู่ระหว่างการทำวิจัย ในที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และปลูกในสภาพน้ำฝน อาจปลูกระยะแคบและมีจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูก มากกว่าในดิน
ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีแหล่งน้ำ เป็นไปตามคำแนะนำ "ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง" อัตราปลูกและระยะปลูกตามสภาพพื้นที่ดังแสดงใน ตารางที่ 1
 

ตารางที่ 1 ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อพื้นที่ตามสภาพพื้นที่

สภาพพื้นที่

แหล่งน้ำ

ระยะปลูก (เมตร)

จำนวนตัน/ไร่

ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

สภาพน้ำฝน

1 x 1

1,600

ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

สภาพน้ำฝน

2 x 1

800

ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

น้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำ

1.5 x 1.5

711

ความอุดมสมบูรณ์ดี

น้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำ

2 x 1.5

533

ความอุดมสมบูรณ์ดี

น้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำ

2 x 2

400

ความอุดมสมบูรณ์ดี

น้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำ

2.5 x 2.5

256

ความอุดมสมบูรณ์ดี

น้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำ

3 x 2

266







การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำ : น้ำมันสบู่ดำ

สุปรียา ศุขเกษม


สบู่ดำเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง เมล็ดสบู่ดำมีปริมาณน้ำมัน 30 - 35% (ไพจิตร, 2530)

การสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ
วิธีการสกัดแยกน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำที่นิยมทำกันมากคือ ใช้วิธีการบีบอัด (pressing)จะได้น้ำมันประมาณ 25-30% มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15% อาจใช้เครื่องอัดแบบไฮโดรลิค (hydraulic press) หรือเครื่องอัดแบบสกรู (screw press) จะได้น้ำมันประมาณการแยกด้วยวิธีนี้จะได้น้ำมันปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับแรงอัดที่ใช้ ถ้าใช้แรงอัดสูงจะได้น้ำมันมาก แต่น้ำมันที่ได้จะมีคุณภาพลดลง เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจะไปเร่งปฏิกิริยาเคมีบางอย่าง ทำให้น้ำมันเสื่อมเสียได้เร็วขึ้น ดังนั้นการบีบอัดอาจทำได้ 2 แบบ คือ การบีบอัดโดยใช้แรงดันสูง เพื่อให้ได้น้ำมันมาก หรือการบีบอัดแบบ pre-press โดยบีบด้วยแรงดันต่ำก่อน แล้วจึงสกัดน้ำมันที่เหลือในกากต่อด้วยสารทำละลาย

คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำมันสบู่ดำ
น้ำมันสบู่ดำจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวปนเหลือง ใสและยังคงใสที่อุณหภูมิต่ำ และมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ และองค์ประกอบกรดไขมัน (รพีพันธุ์และคณะ, 2525) ดังนี้
ปริมาณกรดไขมันอิสระ ( Free fatty acid, %as oleic acid) 4.80
ค่าสปอนนิฟิเคชั่น (Saponification value) 197.13
ค่าไอโอดีน (Iodine value, Wijs) 97.08
ดัชนีหักเห (Refractive index) ที่ 25oC 1.4670
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ที่ 25oC 0.9136
ความหนืด (Viscosity)ที่ 25oC (Gardner) (cp) 45.68
องค์ประกอบกรดไขมัน
Palmitic acid (C 16:0) 16.17
Stearic acid (C18:0) 5.11
Total saturated fatty acid 21.28
Oleic acid (C18:1) 44.88
Linoleic acid (C18:2) 33.83
Total unsaturated fatty acid 78.71


*******************************************************************************************************************************************



การใช้ประโยชน์จากน้ำมันสบู่ดำ


ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเกิดการขาดแคลนน้ำมันก๊าดสำหรับจุดตะเกียง เกษตรกรทางภาคอีสานได้นำเมล็ดสบู่ดำมาตำให้ละเอียด ใช้จุดให้แสงสว่างแทนเทียนไขได้เป็นอย่างดี หรือมีการนำเอากากของเมล็ดที่สกัดน้ำมันออกแล้วมาใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ใช้จุดแทนเทียนไขได้ดีเช่นกัน น้ำมันสบู่ดำจะมีลักษณะใสที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้น้ำมันได้ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น และมีค่าไอโอดีนสูงจึงมีคุณสมบัติเป็น semi drying oil คือมีคุณสมบัติในการแห้งเร็ว จึงอาจมีการนำไปใช้เป็นน้ำมันทาสี น้ำมันชักเงาได้ และในหลายประเทศมีการนำไปใช้ทำสบู่ แต่กระบวนการผลิตยังใช้ต้นทุนสูงเนื่องจากต้องมีการผสมกับไขมันจากสัตว์ น้ำมันอื่นๆ และกลิ่นหอม เพื่อให้ได้สบู่ที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งการนำไปใช้ทำเทียนไข 
Stumpf และ Muhlbauer (2002) ได้รายงานว่ามหาวิทยาลัย Hohenheim ในประเทศเยอรมันได้มีการนำน้ำมันสบู่ดำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหุงต้ม โดยมีการพัฒนาเตาเรียกว่า Hohenheim plant oil stove พบว่ามีประสิทธิภาพดีเทียบเท่าการใช้เตาหุงต้มที่ใช้น้ำมันก๊าด 
น้ำมันสบู่ดำมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลแต่จะมีความหนืดมากกว่า รพีพันธุ์และคณะ (2525) ได้มีการนำน้ำมันสบู่ดำมาทดลองกับเครื่องยนต์ โดยนำน้ำมันสบู่ดำมาทดลองเดินเครื่องยนต์คูโบต้าดีเซล 1 สูบ แบบลูกสูบนอนระบบ 4 จังหวะ ปริมาตรกระบอกสูบ 400 ซีซี 7 แรงม้า/2200 รอบต่อนาที พบว่า เครื่องยนต์เดินเป็นปกติสม่ำเสมอไม่มีการน๊อก ความสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่าการใช้น้ำมันดีเซลเล็กน้อย และนำน้ำมันสบู่ดำทดสอบร่วมกับแก๊สหุงต้ม ทดลองเดินเครื่องกับเครื่องยนต์ดีเซล พบว่าเมื่อใช้แก๊สหุงต้มด้วยจะช่วยให้เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันสบู่ดำได้เฉลี่ย 77.1% พร้อมทั้งได้วิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำมันสบู่ดำในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ดังนี้

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคุณสมบัติของน้ำมันสบู่ดำกับมาตรฐานน้ำมันดีเซลหมุนเร็วของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

รายการวิเคราะห์
 
จากบริษัท Fuji Koosan Oil Refinery, Tokyo Japan
จากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
น้ำมันสบู่ดำ
น้ำมันดีเซล    หมุนเร็ว- ญี่ปุ่น1
น้ำมันสบู่ดำ
น้ำมันดีเซล     หมุนเร็ว-ไทย2
Specific gravity
0.9186
0.82-0.84
0.9188
0.82-0.90
Flash point (oC)
240
50 up
110
>52
Carbon residue (%)
0.64
0.15 less
-
<0.05
Cetane value
51.0
50 up
-
>50
Distillation(oC)
295
350 less
-
<370
Kinematic viscosity (cs)
50.73
2.7 up
-
1.8-5.0
Sulphur (%)
0.13
1.2 less
0.16
<1


จากนั้นได้ทดสอบและวิเคราะห์ไอเสีย พบว่าควันดำจากเครื่องยนต์ที่ใช้เดินด้วยน้ำมันสบู่ดำมีค่าเฉลี่ย 13.42% และมีปริมาณคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ส่วนการตรวจหาซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์จากปลายท่อไอเสีย พบว่าเครื่องยนต์ที่เดินด้วยน้ำมันสบู่ดำไม่พบซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์เลยในขณะที่เดินด้วยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วพบปริมาณ 125 ppm. 
เมื่อทำการเดินเครื่องยนต์ดีเซลครบ 1,000 ชั่วโมง ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มาตรวจสภาพพบว่าเสื้อสูบ ลูกสูบ แหวน ลิ้น หัวฉีดและอื่นๆ ไม่มียางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดี
และได้มีรายงานของกรมส่งเสริมการเกษตรในการนำน้ำมันสบู่ดำไปใช้กับเครื่องยนต์ดังนี้
1. นำน้ำมันสบู่ดำมาทดสอบกับเครื่องยนต์ดีเซลคูโบต้า ขนาด 7 แรงม้า ที่ติดตั้งบนรถไถนาเดินตามได้ผลดี โดยไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซล ในอัตราเร่ง 1,500-2,000 รอบต่อนาที พบว่ามีการใช้น้ำมันสบู่ดำโดยเฉลี่ย และมีควันดำไอเสียใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันดีเซล เมื่อเดินเครื่องครบ 1,000 ชั่วโมง ได้ถอดชิ้นส่วน อาทิ เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวนลิ้น หัวฉีด มาตรวจสอบความสึกหรอ พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และไม่มียางเหนียวจับ
2. นำน้ำมันสบู่ดำทดสอบกับรถยนต์ดีเซล ยี่ห้ออีซูซุ 1,584 ซี.ซี.94 แรงม้า โดยวิ่งบนถนนที่อัตราความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เครื่องยนต์ไม่น๊อกเมื่อวิ่งด้วยความเร็วปกติ ไม่ต้องดัดแปลงโครงสร้างเครื่องยนต์ ซึ่งติดง่ายและมีกำลังแรงดี สามารถเร่งความเร็วได้สูงสุดถึง 140 กิโลกรัมต่อชั่วโมง 
3. ผสมน้ำมันสบู่ดำ 10 %กับน้ำมันเบนซิน 90 % (โดยปริมาตร) ทดสอบกับรถจักรยานยนต์ฮอนด้า 4 จังหวะ พบว่าวิ่งได้เรียบสม่ำเสมอ แต่ถ้าผสม 15% ทำให้หัวเทียนบอดง่าย เครื่องติดยาก เดินไม่สะดวก
4. ผสมน้ำมันสบู่ดำ 30%กับน้ำมันเบนซิน 70%(โดยปริมาตร) ทดสอบกับรถจักรยานยนต์ฮอนด้า 2จังหวะ พบว่าเครื่องเดินเรียบปกติ แต่ถ้าผสมเกิน 30% ทำให้เครื่องติดยาก กำลังตก เมื่อเดินเครื่อง 500 ชั่วโมงถอดส่วนต่าง ๆ ดู ไม่พบความสึกหรอหรือผิดปกติ
5. ผสมน้ำมันสบู่ดำ 10%กับน้ำมันเบนซิน 90%(โดยปริมาตร) ทดสอบกับเครื่องปั่นไฟฮอนด้า 4 จังหวะ พบว่าได้ผลดี ไม่มีปัญหา
6. น้ำมันสบู่ดำผสมกับน้ำมันดีเซลและเบนซินได้ดี ไม่จำเป็นต้องล้างถังเมื่อใช้น้ำมันแต่ละชนิดหมดลง
ในประเทศอินเดียได้มีการนำไปทดลองใช้กับเครื่องยนต์เช่นกัน 
นอกจากการนำน้ำมันสบู่ดำมาใช้กับเครื่องยนต์โดยตรงแล้ว ยังมีการนำน้ำมันสบู่ดำมาผลิตเป็นไบโอดีเซล โดยเปลี่ยนให้อยู่ในรูปเอสเทอร์ด้วยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอร์ริฟิเคชั่น แล้วนำไปใช้กับเครื่องยนต์ ซึ่งเอสเทอร์ที่ได้จะมีคุณสมบัติที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลคือมีค่า Cetane number สูง ทำให้มีการเผาผลาญดีกว่า มีจุดวาบไฟสูง ทำให้ปลอดภัยในการเก็บ มีปริมาณออกซิเจนสูงถึง 10% ซึ่งจะทำให้สารไฮโดร คาร์บอนเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์มากกว่า และไม่มีซัลเฟอร์
สรรพคุณทางยา
ใช้ใส่ผมเพื่อบำรุงรากผมได้อย่างดี (รพีพันธุ์และคณะ, 2525) ใช้เป็นยาสำหรับโรคผิวหนัง โรคริดสีดวงทวาร โรคอัมพาต และใช้เป็นยาถ่าย
สารพิษ
มีสารพิษที่เรียกว่า curcin หากบริโภคแล้วทำให้ท้องเดิน

เอกสารอ้างอิง
ไพจิตร จันทรวงศ์. 2530. พืชน้ำมันและน้ำมันพืช 52 ชนิด. โรงพิมพ์คุรุสภา. กรุงเทพฯ. 126 หน้า.
รพีพันธุ์ ภาสบุตร, สุขสันต์ สุทธิผลไพบูลย์, ไพจิตร จันทรวงศ์, วีระศักดิ์ อนัมบุตร, มาลี ประภาวัต, วิไล กาญจนภูมิ และ อรวรรณ หวังดีธรรม. 2525. เดินเครื่องด้วยน้ำมัน "สบู่ดำ". 43 หน้า.
Stumpf E. and W. Muhlbauer. 2002. Plant-oil cooking stove for developing countries. Boiling Point No 48 2002 : 37-38.
http://www.jatropha.de/
http://www.uni-hohenheim.de/~www480/docs/gf030224/jatropha-biodiesel.htm




**********************************************************************************************************************************

การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำ:นอกจากน้ำมัน


นายรังษี เจริญสถาพร

นางสาวอมรรัชฏ์ คิดใจเดียว


สบู่ดำ (Physic nut or Purging nut) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas L อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้นสูงประมาณ 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่งแต่ไม่มีขน เนื้อไม้ ไม่มีแก่น ใบคล้ายใบฝ้ายหรือใบพุดตาล แต่หนากว่ามี 4 แฉก ก้านใบยาว ออกดอกเป็นช่อที่ส่วนปลายของยอด ดอกสีเหลือง ขนาดเล็กมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียแยกกันอยู่คนละดอก ใน 1 ต้นจะมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย ผลมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยง เมื่อแก่มีสีเหลืองคลายลูกจันทร์ ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกจนผลแก่ใช้เวลาประมาณ 60-90 วัน ผลหนึ่งมี 2-3 พู แต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อยมีปริมาณน้ำมันทั้งเมล็ด 34.96 % (แอนนาและคณะ, 2547)

การปลูกสบู่ดำผลผลิตที่สำคัญคือเมล็ด ซึ่งมีน้ำมันที่สามารถนำไปแปรรูปเป็น ethyl หรือ methyl ester เพื่อผสมกับน้ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซล หรือใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลกับเครื่องยนต์ดีเซลได้ทุกประเภท และสามารถใช้น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดโดยตรงกับเครื่องยนต์ทางด้านการเกษตรได้ดี (ระพีพันธ์และสุขสันต์, 2525)

ส่วนประโยชน์ด้านอื่นๆ ของสบู่ดำมีดังต่อไปนี้

1. การปลูกสบู่ดำ

1.1 เป็นรั้วล้อมรอบพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจหลักๆ เพื่อป้องกันวัว ควาย เข้ามาทำความเสียหายต่อพืชชนิดนั้น เนื่องจากวัว ควาย จะไม่กินใบหรือยอดอ่อนของสบู่ดำ (Diallo, 1994) นอกจากนี้อินเดียปลูกเป็นรั้วป้องกันลมร้อนในฤดูร้อนที่ทำให้มีการระเหยของน้ำอย่างรวดเร็วในแปลงปลูกผัก

1.2 ปลูกสบู่ดำป้องกันการชะล้างของดิน (soil erosion) ในฤดูฝนของเขตพื้นที่แห้งแล้ง พบที่ Cape Verde เป็นพืชสบู่ดำ 14.6 % ของพื้นที่ทั้งหมด 4,462 เฮกแตร์ (Spaak, 1990)

1.3 ในประเทศ Madagascar ปลูกสบู่ดำสำหรับเป็นเสาค้างของพืชวนิลลา

1.4 ในบางพื้นที่ของประเทศอินเดียปลูกพืชสมุนไพร ได้แก่ Asgandh (Withania somnifera) แซมในระหว่างต้นสบู่ดำ สารเคมีจากต้นสบู่ดำจะถูกปล่อยออกมาขับไล่แมลงศัตรูของพืชสมุนไพร Asgandh ได้ (http://botaisical.com/site/column-poudhia//4-jatropha.html) 2

2. การใช้เป็นอาหารของคน

2.1 Duke (1985) กล่าวว่าส่วนของใบอ่อนหรือยอดอ่อนเมื่อนำไปนึ่งด้วยไอน้ำร้อนแล้วสามารถนำมารับประทานได้อย่างปลอดภัย

2.2 เมล็ดสบู่ดำจากบางพื้นที่ของประเทศแม็กซิโกเมื่อนำมาต้มและคั่วด้วยความร้อนสามารถนำไปรับประทานได้ (Apone, 1978)

3. การใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากกากสบู่ดำ (press cake) มีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ประกอบด้วยสารพิษมากมายได้แก่ curcin, phorbolic esters, saponin, protease inhibitors และ phytates นำกากสบู่ดำมาผ่านกระบวนการกำจัดสารพิษก่อนนำไปเลี้ยงสัตว์โดยการใช้ความร้อนร่วมกับการสกัดด้วยสารเคมี หรือการหมักกากน้ำมันสบู่ดำด้วยเชื้อรา Rhizopus oryzae (Gübitz etal. 1997)

Gübitz และคณะ (1997) รายงานว่าการใช้ใบของพันธุ์สบู่ดำจากประเทศแม็กซิโกเลี้ยงไหมป่า (eri silkworm) ทำให้ไหม่ป่ามีชีวิตรอดเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นและน้ำหนักเปลือกรังไหมต่ำกว่าไหมป่าที่เลี้ยงด้วยใบละหุ่ง แต่ในอียิปต์ใช้ใบสบู่ดำเลี้ยงไหมป่า tusser (http://www.fao.org//docrep/x540Ze11.htm)


4. การใช้เป็นยารักษาโรค

ส่วนต่างๆ ของสบู่ดำสามารถนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคของคนได้ดังนี้

ส่วนต่างๆ ของสบู่ดำ

สรรพคุณทางเภสัช

ต้น

เปลือก

ใบและเนื้อไม้

เมล็ด

ยาง

ยาถ่าย

ยาถ่าย ขับพยาธิ แก้ปวดท้อง

แก้พิษตานซาง ถอนพิษที่ทำให้ตัวร้อน แก้ปากและลิ้นเปื่อยพุพอง แก้ลิ้นเป็นฝ้าละออง

แก้ปวดตามข้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาระบาย ยาถ่ายอย่างแรง

แก้ปากเปื่อย พุพอง และแก้ลิ้นเป็นฝ้าละออง







***************************************************************************************************************


การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำ

อุดมวิทย์ ไวทยการ และ อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ

ใบ
- ใช้เลี้ยงไหมอีรี่
- ใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์
ลำต้น
- ปลูกเป็นแนวรั้ว
- ทำไม้อัด
- ทำกระดาษ
- ตัดเป็นท่อนต้มให้เด็กกินแก้โรคซางหรือตาลขโมย หรือแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง
- เปลือกต้นใช้ทำสีย้อมผ้า,สกัดเอาสารแทนนินมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
กิ่งใบ ลำต้นจากการตัดแต่ง
- ใช้เป็นเชื้อเพลิง(Biomass)
น้ำยาง
- น้ำยางจากก้านใบรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน
- ผสมน้ำนมมารดากวาดป้ายลิ้น เด็กที่เป็นฝ้าขาวหรือคอเป็นตุ่ม
ผล
เปลือก
- วัสดุเพาะชำ
- ทำปุ๋ยหมัก
- ทำน้ำหมักชีวภาพ
- ทำเชื้อเพลิง
เมล็ด
- สกัดน้ำมันจากเมล็ดโดยตรง ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีรอบต่ำ
- น้ำมันจากเมล็ดผลิตเป็นไบโอดีเซล ใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไปได้โดยตรงหรือผสมกับน้ำมันดีเซลตามอัตราที่ต้องการ
- กลีเซอรอล ผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซล ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง
- กากเมล็ด หลังจากการบีบน้ำมันใช้เป็นเชื้อเพลิง (Biomass)ให้กับเครื่องสตีมเทอร์ไบน์ (steam turbine) สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือใช้ทำปุ๋ยหมัก
- เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย 
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาแก้โรคผิวหนังหรือผิวหนังอักเสบ บรรเทาอาการปวดข้ออันเนื่องมาจากรูมาตอยด์
- น้ำมันและสารสกัดจากน้ำมัน สามารถนำมาใช้กำจัดศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย ศัตรูผัก มันฝรั่งและข้าวโพด สารสกัดเมธานอลจากสบู่ดำ ซึ่งประกอบด้วยสารพิษบางชนิด มีการทดลองนำมาใช้ควบคุมพยาธิในหอยที่นำมาบริโภค


เอกสารอ้างอิง

นิรนาม. 2548. สบู่ดำกับน้ำมันดีเซล. น.ส.พ.กสิกร 78(5) : 22-33.

นิรนาม .2549. การใช้ประโยชน์จากต้นสบู่ดำ. แหล่งที่มา : http://www.thaijatropha.com,
21กุมภาพันธ์ 2549.

 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2994 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©