-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 485 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 1/2


งา


          
"กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้" เป็นสุภาษิตพื้นเมืองที่แสดงให้เห็นความคุ้นเคยของคนไทยที่ มีต่องาในอดีต และได้นำเอาเมล็ดงามาประกอบอาหารและขนมหวานมากมายหลายชนิด นอกจากนั้นยังได้น้ำมันงาที่สกัดใช้เป็นส่วนผสมของ
เครื่องสำอาง ยารักษาโรค ตลอดจนในพิธีทางศาสนาและประเพณีพื้นบ้านทั่ว  ๆ ไป งามีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาและได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ทวีปเอเชียและทั่วโลก มีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงาในประเทศอิหร่าน ตั้งแต่สมัย ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว บางครั้งก็ใช้เมล็ดงาแทนเงินตรา  และในบันทึกการเดินทางสู่ประเทศจีนของมาโคโปโล  ก็ได้กล่าวถึงงาไว้ด้วย
          
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกงา ๒๘๓,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล ๒๗,๐๐๐ ตัน ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกเป็นเงิน ๒๕๒ ล้านบาท นอกจากใช้บริโภคภายในแล้วก็ยังส่งออกจำหน่ายต่างประเทศปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐- ๑๕,๐๐๐ ตัน งาปลูกกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          
งาจัดอยู่ในวงศ์ (Family) Pedaliaceae และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesamum indicum   L. ได้มีการปลูกงามาเป็นเวลานานในหลายประเทศทำให้ต้นงามีความแตกต่างกันมากในด้านความสูงรูปร่าง การแตกกิ่ง ขนาด สีของลำต้น ใบ
และเมล็ด แต่โดยทั่วไปแล้ว งาจัดเป็นพืชล้มลุก (พืชอายุสั้นไม่เกินปี) มีรากแก้วที่เติบโตได้รวดเร็วและหยั่งลึกลงไปถึง ๒ - ๓ เมตรมีรากแขนงและรากฝอยแตกออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้งาเป็นพืชที่มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ลำต้นตั้งตรงสูงตั้งแต่ ๖๐ เซนติเมตร ถึง๒ เมตร ลำต้นเป็นรูปเหลี่ยม บางพันธุ์ก็แตกกิ่งย่อยออกไป ลำต้นมีสีเขียวหรือม่วง มีทั้งมีขน และไม่มีขน  ใบงาเกิดขึ้นตรงข้อของลำต้น ใบที่เกิดจากโคนต้น มีขนาดใหญ่ รูปกลมปลายแหลม ขอบใบกลมหรือเว้า บางพันธุ์ขอบใบเป็นรูปฟันเลื่อย ใบที่เกิดจากส่วนกลางของลำต้นมีขนาดปานกลาง และใบที่เกิดจากส่วนยอดมีขนาดเล็กปลายเรียวแหลมเป็นรูปหอก  ผิวใบมีขนและเมือกเหนียวติดอยู่ ดอกออกจากต้นตรงข้อใบจำนวน ๑ หรือ ๓ ดอกต่อข้อ  กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ตอนปลายแตกออกเป็นห้ากลีบมีสีขาว หรือชมพูอ่อน หรือม่วง ภายในกลีบดอกมีจุดสีม่วงหรือเหลือง ดอกบานในตอนเช้าและเหี่ยวร่วงในตอนบ่าย ดอกที่ได้รับการผสมเกสรจะพัฒนาเป็นฝักกลม ปลายแหลมยาว ๕ - ๗ เซนติเมตร กว้าง ๑ - ๒ เซนติเมตร ฝักแบ่งออกเป็น ๒ หรือ ๔ พู แต่ละพูมี ๑ - ๒ กลีบเมื่อสุกแก่ฝักแตกอ้าออกตรงรอยต่อของพู เมล็ดติดอยู่กับผนังภายในของเปลือก เมล็ดงามีขนาด เล็กค่อนข้างกลมรูปไข่ น้ำหนักต่อ ๑,๐๐๐ เมล็ด ประมาณ ๒ - ๔ กรัม เปลือกหุ้มเมล็ดมีทั้งสีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล สีเทา หรือดำ

          
เมล็ดงามีโปรตีนร้อยละ ๑๘ - ๒๕ น้ำมัน ร้อยละ ๔๐ - ๕๐ และเป็นน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงถึงร้อยละ ๘๕ ซึ่งจัดว่าเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง และยังมีสารป้องกันการเหม็นหืนอยู่ด้วยทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น
          
งาเจริญเติบโตได้ดีในเขตที่มีอากาศร้อนและค่อนข้างแห้งแล้ง แต่เมื่อมีฝนตกชุกหรือมีน้ำ
ขังแฉะ จะเกิดโรคหลายชนิดทำให้ใบร่วง  โคนและลำต้นเน่าตาย ดังนั้น เกษตรกรจึงนิยม ปลูกงา เฉพาะในช่วงต้นและปลายฤดูฝนเท่านั้น โดยเลือกปลูกบนที่ดอนซึ่งมีดินอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี พันธุ์งาที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำมี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 และพันธุ์มหาสารคาม 60
          
เกษตรกรเริ่มเตรียมดินปลูกงาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ในฤดูแล้ง เมื่อมีฝนแรกตกในเดือนมีนาคมหรือเมษายน ก็จะหว่านเมล็ดงาทันที โดยใช้เมล็ดในอัตรา ๓ กิโลกรัมต่อไร่ ปนกับทราย ละเอียดเพื่อให้เมล็ดกระจายออกไปอย่างสม่ำเสมอคราดหน้าดินกลบเมล็ด เมล็ดงาจะงอกภายใน๓ - ๕ วัน หลังจากนั้นก็จะปล่อยให้ต้นงาเจริญเติบโต  อาจมีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชหนึ่งหรือสองครั้ง ส่วนการปลูกในปลายฤดูฝน  เริ่มหลังจากเก็บเกี่ยวพืชอื่น  ๆ เสร็จ แล้ว โดยหว่านเมล็ดในเดือนสิงหาคมหรือกันยายนซึ่งมีฝนตกน้อยลง
    
           หลังจากต้นกล้างอกแล้ว ๓๕ - ๔๕ วันต้นงาจะเริ่มออกดอก การออกดอกเริ่มจากโคนทยอยไปสู่ยอด  มีช่วงเวลาออกดอกนานประมาณ ๒๕ - ๔๕ วัน (แล้วแต่พันธุ์) จากดอกพัฒนาเป็นฝัก และสุกแก่ภายใน ๒๕ - ๓๕ วัน ฝักงาสุกแก่ไม่พร้อมกัน ฝักที่แก่ก่อนจะแตกอ้าออกทำให้เมล็ดร่วงหล่นเสียหาย ดังนั้น การเก็บเกี่ยว จึงต้องพิจารณาช่วงที่มีจำนวนฝักที่สุกแก่มากที่สุดถ้าเก็บเกี่ยวเร็วเกินไป  ฝักเกิดทีหลังยังมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ ทำให้ได้ผลิตผลน้อยและมีคุณภาพต่ำแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปฝักจะแตกทำให้เมล็ดร่วงเสียหาย โดยทั่วไปงามีอายุ ๘๕ - ๑๒๐ วันการเก็บเกี่ยวทำได้โดยตัดต้นมากองสุมไว้    และนำไปแขวนในร่ม โดยมีเสื่อหรือผ้าพลาสติก    รองพื้น  ทิ้งไว้ ๗ - ๑๐ วัน ฝักแห้งจะแตกอ้าออกและเมล็ดร่วงตกลงมา หรืออาจใช้ไม้ตี หรือนำต้นมาเคาะกับพื้นอีกครั้งเพื่อให้ฝักแตก และเมล็ดร่วงออกจากฝักจนหมด ตากเมล็ดให้แห้งสนิทแล้วจึงเก็บไว้รอจำหน่าย



*************************************





งาเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย และมีแนวโน้มที่ทวี ความสำคัญขึ้นทุกปี เนื่องจากเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิต
และการตลาดสูง เป็นพืชที่ปลูกง่ายลงทุนน้อย ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี มีตลาดกว้างขวางและราคาดี เกษตรกรนิยมปลูกงาก่อนและหลังการทำนาหรือหลังการเก็บเกี่ยวพืชหลักก็จะปลูกงาเป็นพืชตาม เมล็ดงาและน้ำมันงามีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล่าวคือ
ในเมล็ดงาจะมีน้ำมันงาประมาณร้อยละ 40 – 59 มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว Oleic acid ประมาณร้อยละ 47 และ Linoleic acid ประมาณร้อยละ 39 
โปรตีนร้อยละ 17-18 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 9.0-17.2 แร่ธาตุ 2.3-2.33 กากและเยื้อใย 2.5-2.6 วิตามินอีและสารประกอบ Lignan สูง น้ำมันงาจึงมีคุณค่าทางอาหารสูง กลิ่นหอมและไม่เหม็นหืนง่าย มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลไม่ให้มากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ จึงได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นอาหารเพื่อโภชนาการ เส้นหมี่สำเร็จรูป ยารักษาโรค และเครื่องสำอางค์ ส่วนกากงาที่ได้จากการสกัดน้ำมันมีโปรตีนและกรดอะมิโน ที่สำคัญคือ Methionine สูง นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี เมล็ดงาและน้ำมันงาเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศสามารถส่งออกคิดเป็นมูลค่าปีละ 700 – 900 ล้านบาท


1. สถานการณ์
1.1 การผลิตงาของโลก ผลิตได้ประมาณปีละ 2.0 – 2.5 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตงาที่สำคัญของโลก ได้แก่ประเทศอินเดีย ซูดาน จีน และพม่า ทั้ง 4 ประเทศ
มีผลผลิตรวมกันประมาณร้อยละ60 ของผู้ผลิตโลก ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญรองลงมาได้แก่ไทย ไนจีเรีย อูกันดา เม็กซิโก ศรีลังกา เป็นต้น ตลาดโลกมีความต้องการใช้เมล็ดงาปีละ 400,000–500,000 ตัน และน้ำมันงาปีละ 800,000 ตันเมล็ด โดยมีประเทศผู้นำเข้า ที่สำคัญได้แก่ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ อเมริกา ประเทศในแถบยุโรปและตะวันออกกลาง
1.2 การผลิตงาของประเทศไทย ปี 2544/2545 มีพื้นที่ปลูกงาประมาณ 393,589 ไร่ ผลผลิตรวม 38,570 ตัน มีการส่งออกเมล็ดงาประมาณร้อยละ 65 
ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 25 ใช้ภายในประเทศ ( นำไปสกัดน้ำมันงาประมาณร้อยละ 20 และบริโภคในรูปอื่นๆ ประมาณร้อยละ 80 ) ในช่วงปี 2544 ตลาดภายในและต่างประเทศมีความต้องการงาสูงขึ้น มีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปงาเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณ ความต้องการใช้ภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น การผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาดีกิโลกรัมละ 20 – 25 บาท อีกทั้งตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น มีความต้องการงาดำมก.18 เพิ่มขึ้นปีละกว่า 12,000 ตัน งาขาวเพิ่มขึ้นปีละกว่า 90,000 ตันในอนาคตคาดว่าจะเกิดปัญหาการขาดแคลนงา
เพื่อใช้ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกจะขาดแคลนเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศจีนซึ่งผลิตงาเป็นอันดับ 3 ของโลกจะลดการผลิตงาลงและหันไปผลิต
พืชเศรษฐกิจอื่นๆ แทน การผลิตงาภายในประเทศไทยผลิตได้ ไม่มากนัก เนื่องจากขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีเช่นงาดำมก.18 งาขาวมก.19 ซึ่งตลาดมีความต้องการสูงอีกทั้งงบประมาณที่ได้จำกัดเพียงปีละ 1.4 ล้านบาท และประสบปัญหาภัยธรรมชาติฝนแล้ง จากปรากฏการณ์ธรรมชาติเอลนิโญ จึงคาดว่าการผลิตปี 2545/46 จะยังขาดแคลนไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศที่มีความต้องการสูงขึ้นทุกปี


แหล่งปลูกที่สำคัญ
1. ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลำปาง พิษณุโลก น่าน แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี ลำพูน
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สกลนคร สุรินทร์ ชัยภูมิ มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ขอนแก่น
    อุดรธานี
3. ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี
4. ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว
5. ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี
6. ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ฤดูปลูก
1. ต้นฤดูฝน มีนาคม – เมษายน เก็บเกี่ยว มิถุนายน
2. ปลายฤดูฝน กรกฎาคม – สิงหาคม เก็บเกี่ยว ธันวาคม
3. ฤดูแล้ง ธันวาคม – มกราคม เก็บเกี่ยว มีนาคม


พันธุ์ส่งเสริม
     งาดำนครสวรรค์
เป็นพันธุ์พื้นเมือง มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบทอดยอดลำต้นเป็นทรงพุ่มแตกกิ่ง 2-6 กิ่ง ความสูงของต้น 1-1.5 เมตร ใบที่อยู่ส่วนล่างของลำต้น
มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรืออาจเป็นแบบสามแฉกและใบที่อยู่ส่วนบนของลำต้นจะค่อยๆเรียวเล็กลง ก้านใบสีเขียวเหลือบม่วง การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ ออกดอกเมื่ออายุ 30-35 วัน ดอกสีชมพูอ่อนเกิดที่ซอกใบ ซอกละ 1 ดอก ที่โคนก้านดอกทั้งสองข้างจะมีต่อมน้ำหวานสีเหลืองเห็นชัดเจน เมล็ดมีสีดำขนาดใหญ่และเต่ง ลักษณะฝักเป็นแบบ 4 กลีบ 8 พู มีขนปกคลุมที่ต้น ใบและดอก เมล็ดแบนใหญ่ รูปไข่สีดำ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 3 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 กิโลกรัมต่อไร่
 
งาดำมก. 18
เป็นพันธุ์แท้ที่ปรับปรุงโดยโครงการปรับปรุงพันธุ์งา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คัดเลือกพันธุ์โดยวิธีจดประวัติจากคู่ผสมระหว่าง col 34 
กับงาดำนครสวรรค์ ในระหว่างปี 2528-2530 ได้ทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองและในสภาพไร่เกษตรกรในปี 2531-2533 และได้แนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกในปี 2534 งาดำพันธุ์มก. 18 มีคุณสมบัติคือ ลำต้นไม่แตกกิ่ง มีขนาดฝักใหญ่และค่อนข้างยาว เมล็ดสีดำสนิทค่อนข้างใหญ่และเต่ง มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบทอดยอด มี 1 ฝักต่อมุมใบ ฝักเกิดแบบตรงข้าม 1 ข้อจะมี 2 ฝัก การเรียงตัวของฝักจะเป็นแบบเวียนสลับรอบลำต้น ความยาวของปล้องสั้น ทำให้จำนวนฝักต่อต้นสูง ใบเรียวค่อนข้างยาวมีสีเขียวเข้ม ต้านทานการหักล้ม เมื่อแก่ฝักจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและใบร่วงทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว เมื่อฝักแก่เต็มที่ปลายฝักจะแตกเล็กน้อย ซึ่งทำให้ลดการสูญเสียผลผลิตเนื่องจากการร่วงของเมล็ด และไม่ต้องบ่มงาหลังการเก็บเกี่ยว ลักษณะประจำพันธุ์ ทรงต้นลำต้นเดี่ยว อายุดอกแรกบาน 31 วัน อายุดอกบาน 36 วัน อายุดอกสุดท้ายบาน 70 วัน ความสูง 126-129 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยวต้นฤดูฝน 90 วัน ฤดูปลายฝน 85 วัน น้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนัก 3.0 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 48.2 ต้านทานโรคไหม้ มีคุณสมบัติเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์คือเมล็ดมีกลิ่นหอม รสชาดดี และสีดำสนิท เมื่อนำไปประกอบอาหารสีดำจะไม่ละลายออกมา ซึ่งคุณลักษณะทั้ง 3 ประการนี้เป็นที่ต้องการของชาวญี่ปุ่น จึงเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่นใช้เพื่อบริโภคเมล็ดโดยตรง
    
งาขาวร้อยเอ็ด 1
เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรรับรองพันธุ์เมื่อเดือนธันวาคม 2527 มีลักษณะใบเล็กสีเขียว ขอบใบหยักเล็กน้อย ก้านใบสีเขียว แตกกิ่งเล็กน้อย 1-3 กิ่ง ออกดอก
เมื่ออายุ 25-30 วัน ดอกสีขาว ฝักมี 4 พู 1 ฝักต่อซอกใบ เรียงตัวแบบสลับ เมล็ดมีขนาดปานกลาง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนัก 2.47 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 1.4 อายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 60-115 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูงของต้น 1 เมตร อ่อนแอต่อโรคใบไหม้และเน่าดำ
    
งาแดงอุบลราชธานี 1
คัดเลือกพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตรจากงาพันธุ์นานนี 25/160/85-9 ของประเทศพม่า ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อ 19 มกราคม 2536 
เป็นงาแดงพันธุ์แตกกิ่ง 2-5 กิ่ง ดอกสีขาว ฝักมี 2 พู มี 1 ฝัก ต่อซอกใบ เรียงตัวแบบสลับ อายุออกดอก 32-35 วัน ลักษณะขนปานกลาง ต้านทานโรคใบเหี่ยว หนอนห่อใบงา ไรขาวและมวนฝิ่น เมล็ดมีระยะพักตัวไม่น้อยกว่า 1 เดือนหลังเก็บเกี่ยว ขนาดเมล็ดโต 1,000 เมล็ด เท่ากับ 3.16 กรัม เมล็ดมีสีแดงสม่ำเสมอ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 50.3 อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 139 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 142 เซนติเมตร อ่อนแอต่อโรคราแป้ง


เทคโนโลยีการปลูก
     สภาพภูมิศาสตร์
งาเป็นพืชเขตร้อนชอบอากาศร้อนและแดดจัด สามารถขึ้นได้ในระดับความสูงถึง 1,200-1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง อุณหภูมิที่เหมาะสม
ต่อการเจริญเติบโตประมาณ 27-33องศาเซลเซียส ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น เมล็ดงาจะไม่งอกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นจะทำให้การงอกจะช้าลงหรืออาจจะชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จะทำให้การผสมเกสรติดยากและการสร้างฝักเป็นไปได้ช้า
    
การเตรียมดิน
การเตรียมดินเป็นปัจจัยแรกที่มีความสำคัญในการช่วยให้เมล็ดงางอกได้ดี เนื่องจากเมล็ดงา มีขนาดเล็ก จึงต้องมีการเตรียมดินที่ดีและช่วยลดวัชพืชด้วย 
การเตรียมดินที่ดีและช่วยลดวัชพืชด้วย การเตรียมดินที่ดี ควรมีการไถดินอย่างน้อย 1-2 ครั้ง และมีการพรวนดินอีก 1 ครั้ง การพรวนดินจะช่วยให้พื้นที่แปลงปลูกมีความสม่ำเสมอไม่มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ ดินจะเก็บความชื้นได้ดี เมล็ดงอกพ้นดินได้ง่าย และมีจำนวนต้นต่อพื้นที่สม่ำเสมอ ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตดีและมีอายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกันทั้งแปลง ถ้าฝนตกหนักก็จะช่วยลดไม่ให้น้ำขังเป็นหย่อมๆ
การปลูกงาต้นฤดูฝนโดยอาศัยน้ำฝนช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปริมาณความชื้นในดินมีน้อย จะต้องรอให้ฝนตกก่อนจึงไถเตรียมดินปลูก สังเกตได้โดย 
เมื่อฝนต้นฤดูฝนตกทำให้ดินเปียกชื้นซึมลงไปจากผิวหน้าดิน 20 เซนติเมตร หรือลองใช้จอบขุดลึกลงไปประมาณ 1 หน้าจอบ และพบดินยังมีความเปียกชื้นอยู่ สามารถไถพรวนปลูกงาให้เสร็จได้ภายใน 1-2 วัน โดยไถดะ 1 ครั้งแล้วหว่านเมล็ดงา และคราดกลบทันที จะเป็นผลดีกับการปลูกงา เพราะว่าหลังจากนั้นดินจะแห้งเร็ว ความชื้นจะไม่เพียงพอที่จะทำให้งางอกได้ การปลูกงาช่วงกลางฤดูฝน-ปลายฝน ปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอทำให้เตรียมดินได้สะดวก โดยไถประมาณ 1-2 ครั้ง ก่อนการหว่านเมล็ดงา หลังจากนั้นจึงคราดกลบอีก 1 ครั้ง จะทำให้งางอกได้สม่ำเสมอ
สำหรับในเขตที่มีแหล่งน้ำในเขตชลประทานใช้วิธีปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกให้สม่ำเสมอแล้วจึงปล่อยน้ำออก หรือทิ้งไว้จนดินหมาด จึงไถดะดินเป็นก้อนโต
อาจจะไถอีก 1 ครั้ง หรือคราดให้ดินแตกก่อนจะหว่านเมล็ดงา แล้วคราดกลบ การปลูกงาโดยอาศัยน้ำชลประทานจะมีข้อได้เปรียบคือสามารถเลือกช่วงปลูกที่เหมาะสมได้และไม่ต้องเร่งรีบเหมือนปลูกงาแบบอาศัยน้ำฝน แต่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและมีข้อจำกัด อยู่เฉพาะบริเวณใกล้ๆ แหล่งน้ำเท่านั้น
การเตรียมดินปลูกงา หลังจากไถพรวนดินดีแล้ว ควรแบ่งพื้นที่ปลูกเป็นแปลงย่อย กว้างแปลงละ 3-5 เมตร เพื่อให้สามารถเดินเข้าไปปฏิบัติดูแลรักษา
ได้สะดวกและช่วยระบายน้ำ เมื่อมีฝนตกชุกจะช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมขัง
    
วิธีการปลูกงา
วิธีปลูกงามี 2 วิธี คือ
1. การปลูกแบบหว่าน เป็นวิธีการที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติอยู่ หลังจากเตรียมดินดีแล้วเกษตรกรจะใช้เมล็ดงาหว่านให้กระจายอย่างสม่ำเสมอในแปลงปลูก 
แล้วคราดกลบทันที เพราะถ้ารอจน หน้าดินแห้งหรือเมล็ดถูกแดดเผานานๆ เมล็ดงาจะตกมันทำให้ไม่งอกหรืองอกไม่สม่ำเสมอ สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่หว่านจะใช้อัตรา 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับสภาพการเตรียมดิน และความเคยชินของเกษตรกร ในการหว่านอาจใช้ทรายละเอียด ขี้เถ้าแกลบ หรือมูลสัตว์ผสมในอัตรา 1 : 1 เพื่อช่วยให้เมล็ดงากระจายสม่ำเสมอมากขึ้น ปัจจุบันมีการนำเครื่องปลูกงาแบบหว่านมาใช้ในเขตจังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ เป็นเครื่องปลูกที่ใช้ต่อท้ายรถแทรกเตอร์ ตัวเครื่องประกอบด้วยผาน 4 ผาน ถังบรรจุเมล็ดพันธุ์และมีช่องปล่อยเมล็ดพันธุ์ให้งาออกตามอัตราที่ตั้งไว้ เมื่อเมล็ดงาตกลงพื้น ผานทั้ง 4 ผานจะไถดินตามทำให้เมล็ดถูกกระจายออกและถูกดินกลบ ต้นงาที่งอกขึ้นมาจะกระจายตัวคล้ายกับการหว่านเครื่องปลูกงาเมื่อพ่วงกับรถไถเดินตามขนาดเล็กจะใช้เวลาปลูกประมาณ 20 นาทีต่อไร่ หากพ่วงกับรถไถขนาดใหญ่ จะใช้เวลาเพียง 10 นาทีต่อไร่ การปลูกแบบหว่านนี้จะทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ การเข้าไปทำงานในแปลงปลูกไม่สะดวก เกษตรกรปลูกเพื่อให้ได้ต้นงาที่มากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้อง

การคลุมหญ้า ซึ่งมีผลให้ได้จำนวนฝักต่อต้นน้อย
2. การปลูกแบบโรยเป็นแถว เป็นวิธีการที่จะให้การเข้าไปทำงานในแปลงงาได้สะดวก การปลูกเป็นแถวมี 2 แบบคือ
    1. ปลูกเป็นแถวในพื้นที่ราบ ในการทำร่องสำหรับโรยเมล็ดส่วนใหญ่จะใช้คราดกาแถว จะช่วยให้ทำแถวปลูกได้เร็วขึ้น หรือจะใช้คนชักร่องเป็นแนวร่อง
ขนานกับแปลงโดยใช้จอบขุดเป็นแนวร่อง ไม่ต้องลึกมากนัก 2-3 เซนติเมตร แล้วใช้คนโรยและเกลี่ยดินกลบเบาๆ เพื่อไม่ให้เมล็ดกระเด็นเมื่อฝนตก หรือจะใช้เครื่องหยอดเป็นล้อขนาดเล็กเข็นตามแนวร่อง เมล็ดจะร่วงลงเป็นแถว และมีโซ่เล็กๆ ทำหน้าที่คราดกลบ ระยะปลูกที่เหมาะสม 40-75 เซนติเมตร ควรใช้เมล็ดประมาณ 85 เมล็ดต่อความยาวแถว 1 เมตร หรือประมาณ 1 ช้อนชาปาดพอดีต่อความยาว 10 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ควรใช้เมล็ด 100 เมล็ด ต่อความยาวแถว 1 เมตร หรือประมาณ 1 ช้อนชาเต็มต่อความยาวแถว 10 เมตร
    2. ปลูกเป็นแถวโดยการยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกชุก พื้นดินเป็นหลุมไม่ สม่ำเสมอ การปลูกวิธีนี้ควรมีการยกร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างแถว
เท่ากันคือ 40-70 เซนติเมตร การปลูกแบบร่องนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ต้นงาอยู่ในดินได้ดีในขณะที่มีฝนตกชุก จะช่วยให้ต้อนงาอยู่เหนือระดับน้ำได้
    

อัตราการใช้เมล็ด
การปลูกแบบหว่าน  ใช้อัตรา 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกแบบเป็นแถว  ใช้อัตรา 0.5–1.0 กิโลกรัมต่อไร่


การดูแลรักษา
เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกงาเมื่อหว่านปลูกงาแล้ว ก็จะปล่อยไม่ดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร จนถึงระยะการเก็บเกี่ยว หากได้มีการปฏิบัติดูแลรักษาบ้างเหมือนพืชไร่
ชนิดอื่นๆ เช่น ควรมีการเลือกพื้นที่ทีดี มีความอุดมสมบูรณ์ของดินพอสมควร และมีการเตรียมที่ดี ปลูกงาให้สม่ำเสมอ ปลูกเป็นแปลงใหญ่ๆ ขนาดแปลง 3-5 เมตรต่อแปลง ให้มีร่องระหว่างแปลงเพื่อที่จะทำรุ่นพรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชโรคและแมลง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วก็จะสามารถจะเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
    
การให้น้ำ
งาเป็นพืชที่ค่อนข้างทนแล้งได้ดี ปลูกได้ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 300 ถึง 1,000 มิลลิเมตร หรือปริมาณน้ำฝนปานกลางถึงฝนตกชุด แต่ไม่เปียกแฉะ
หรือน้ำท่วมขังในฤดูปลูกงา ปริมาณน้ำและระยะเวลาการให้น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโต งาสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ถ้าฝนแล้งในช่วงสั้นๆ อัตราการใช้น้ำของงาหลังจากงางอกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงช่วงระยะออกดอก (อายุ 30-45 วัน) เป็นช่วงที่งาต้องการใช้น้ำมากที่สุด ดังนั้นการขาดน้ำในระยะออกดอกจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของงามากที่สุดหลังจากระยะออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวแล้ง อัตราการให้น้ำจะลดลง
โดยปกติในฤดูฝนจะมีความชื้นเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของงาตลอดฤดูการปลูก แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้ง ถึงว่าแม้ว่างาจะชอบอากาศร้อนและทนต่อสภาพ
ความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากจะให้ได้ผลผลิตสูงจะต้องอาศัยน้ำชลประทานเข้าช่วย เพราะการให้น้ำที่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของงา
    
การใส่ปุ๋ย
งาเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยน้อยมากในการเจริญเติบโต ถ้าหากปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ก็สามารถให้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นได้ดังนี้
1. ปุ๋ยอินทรีย์ ในดินร่วนทรายให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ย กทม. อัตรา 2 ตันต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตของงาเพิ่มขึ้น โดยน้ำหนักของงาเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
2. ปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยพืชสดประเภท ปอเทือง ถั่วพร้า และถั่วเขียวไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อน
การปลูกงา ในดินร่วนทรายจะทำให้ผลผลิตงาเพิ่มมากขึ้น
3. การใส่ปุ๋ย ในระบบปลูกพืช การปลูกถั่วพุ่มก่อนงา แล้วไถกลบซากต้นถั่วพุ่มหรือจะปลูกถั่วลิสงก่อนงา หรือคลุมดินระหว่างแถวงามีผลทำให้ผลผลิตสูงขึ้น
4.
ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ใช้กับงาในดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ให้ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 อัตรา 15-30
     กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่พร้อมกับการเตรียมดินปลูกและใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) ทั้งหมดก่อนปลูกหรือจะแบ่งวิธีการใส่ 2 ครั้ง คือ ครึ่งหนึ่งก่อนปลูก
     และอีกครึ่งหนึ่งใส่ปุ๋ยแบบแต่งข้างหลังจากงางอกที่ระยะออกดอก หรืองามีอายุ 20-40 วัน อัตราใช้ 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีแก่งา พิจารณาจากวิธีการปลูกดังนี้
    1. ปลูกแบบหว่าน ให้ใช้ปุ๋ยหว่านแล้วคราดกลบก่อนปลูก
    2.
ปลูกแบบโรยเป็นแถว ให้ใช้ 2 วิธีคือ
        1)
โดยใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมดหว่านรองก้นแถวปลูกแล้วคราดกลบก่อนปลูก
        2)
โดยแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งละเท่าๆกัน เหมาะกับการปลูกเป็นแถวเป็นแนวได้ 2 วิธี คือ
            
ครั้งแรก : โดยใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมดโรยก้นร่องแถวก่อนปลูก
             ครั้งที่สอง : โรยข้างแถวปลูกเมื่องาอายุ 20-40 วัน หรืองางอกซึ่งเป็นระยะออกดอกและไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูกไปแล้ว 40 วัน 



ข้อควรระวัง ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่าที่แนะนำจะทำให้ต้นงาที่สมบูรณ์มากแต่ได้ฝักและเมล็ดน้อยลง
การเก็บเกี่ยว
การสังเกตระยะสุกแก่ของงา เมื่องาเจริญเติบโตเต็มที่ถึงระยะสุกแก่จะต้องรีบเก็บเกี่ยว เนื่องจากฝักงาโคนต้นที่แก่ก่อนจะแตกออกทำให้เมล็ดร่วงเสียหาย 
การสุกแก่ของงาสามารถสังเกตได้ดังนี้
1. ดอก เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยวดอกสุดท้ายจะร่วง
2.
ใบ จะมีสีเหลืองและร่วงเกือบหมด
3.
ฝัก ฝักเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองประมาณ 1 ใน 4 ของต้น
4.
เมล็ด มีลักษณะค่อนข้างเต่งตึงและเปลี่ยนสีตามพันธุ์ สำหรับงาดำให้แกะฝักที่ 3 จากยอดออกมาดู ถ้าเมล็ดมีสีน้ำตาลแสดงว่าแก่เก็บเกี่ยวได้จึงนำไปตาก
5. ควรเก็บเกี่ยวที่ระยะฝักบนต้นประมาณ 2 ใน 3 ส่วน เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือฝักล่างแตกก็
เก็บเกี่ยวได้
6. อายุ โดยนับอายุของงาแต่ละพันธุ์ เช่น งาขาวพื้นเมืองเลย อายุ 110 – 120 วัน งาขาวพื้น
เมืองพันธุ์ชัยบาดาลอายุ 80 – 85 วัน งาขาวพันธุ์ร้อยเอ็ด1 
    อายุ 70 – 75 วัน งาขาวพันธุ์มหาสารคาม 60 อายุ 80 – 85 วัน งาดำนครสวรรค์ อายุ 90 – 95 วัน งาดำมก. 18 อายุ 85 – 90 วัน งาดำ มข.2 
    อายุ 70 – 75 วัน งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 มข.3 พิษณุโลกและสุโขทัย อายุ 80 – 85 วัน เป็นต้น การพิจารณาอายุของงานี้จะต้องพิจารณาความชื้น
    ของอากาศขณะนั้นประกอบด้วย ถ้าฝนตกชุกอากาศมีความชื้นสูงงาจะสุกแก่ช้า แต่ถ้าอากาศแห้งจะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าอายุจริง 5 – 10 วัน 
    เช่น งาขาวพันธุ์ร้อยเอ็ด 1 ถ้าอากาศแห้งแล้งจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70 วันเป็นต้น

ข้อควรระวัง ถ้าช่วงเวลาเก็บเกี่ยวมีอากาศร้อนและแสดงแดดจัดเพราะอากาศแห้ง จะช่วยให้ฝักงาแห้งและแตกเร็วขึ้น จึงต้องรีบเก็บเกี่ยวโดยเร็ว ถ้าเก็บช้าอาจทำให้เมล็ดงาร่วงมากทำให้สูญเสียผลผลิตมาก
    
วิธีการเก็บเกี่ยวงา
การเก็บเกี่ยวใช้เคียวหรือมีดเกี่ยวต่ำกว่าฝักล่างเล็กน้อย ถ้าปลูกในดินทรายหรืองาต้นเล็กจะใช้วิธีถอนทั้งต้นก็ได้ ทั้งนี้พยายามอย่าให้ดินทรายเกาะติดต้นงา 
เพราะจะปนอยู่กับเมล็ดมากเวลาเคาะ ทำให้คุณภาพของงาลดลง ปัจจุบันมีเครื่องเกี่ยวงาแบบวางราย ทำให้เกี่ยวได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การมัด ตาก เคาะ และทำความสะอาดเมล็ดงา
หลังจากเก็บเกี่ยวงาแล้ว วางงาที่เกี่ยวเป็นตามแถวแนวแปลงที่เกี่ยวแล้วใช้ตอกหรือเชือกฟางมัดเป็นกำๆ ขนาดกำมือแล้วนำงา 3 กำ มามัดที่ปลายต้นงา
รวมเป็นมัดเดียวกันแล้วตั้ง 3 ขา คล้ายกระโจมตั้งตากช่วยพยุงไม่ให้มัดงาล้มเวลาตั้งตากหรือจะใช้วิธีทำราวตากโดยมัดงาเป็นกำขนาดใหญ่แล้วแบ่งครึ่งแขวนตากไว้บนราว วิธีนี้จะได้เมล็ดงาที่สะอาดกว่าวิธีแรก เพราะต้นงาไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นดิน หลังจากตากไว้ 3 – 5 วัน ก็นำไปเคาะ โดยนำมัดงาที่ตากจนฝักแห้งและปลายฝักอ้าออกแล้วคว่ำมัดงาลงภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้ไม้เคาะมัดงาเบาๆ เมล็ดงาก็จะร่วงลงบนภาชนะโดยง่าย จากนั้นทำความสะอาดเมล็ดงาโดนฝัดแยกเอาสิ่งเจือปนออกแล้วบรรจุลงกระสอบนำไปเก็บหรือจำหน่ายต่อไป
    
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
หลังการกระเทาะเมล็ดงาและทำความสะอาดงาแล้วควรจะลดความชื้นในเมล็ดด้วยการตากแดดประมาณ 1 – 2 วัน ความชื้นเมล็ดงาควรจะอยู่ที่ 
6 – 7 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติเมล็ดพืชน้ำมันจะเสื่อมความงอกในช่วงระยะเวลาอันสั้นแต่เมล็ดงานั้นสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน จากการทดสอบพบว่า เมล็ดงาสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 17 เดือน โดยเก็บไว้ในถุงพลาสติกชนิดหนาปิดปากถุงด้วยความร้อน เมล็ดยังมีความงอกถึง 82 เปอร์เซ็นต์ และเก็บใส่ถุงปุ๋ย ถุงผ้า และถุงกระดาษ นาน 8 เดือน เมล็ดงายังมีความงอกมากกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจำเป็นต้องเก็บเมล็ดไว้นานไม่ควรวางกระสอบเมล็ดไว้บนพื้นปูนซีเมนต์ ควรมีไม้รองพื้นเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นปูน ควรเก็บกระสอบงาไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
เมล็ดงาที่จะเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ ควรเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดี ที่ได้จากการเคาะครั้งแรก เพราะเมล็ดจะแก่และสมบูรณ์เต็มที่ จากนั้นนำไปตากให้แห้งก่อนเก็บ
ในภาชนะปิดที่มีความชื้นต่ำ



ปริมาณการผลิต

ปี

พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตรวม (ตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กก.)
2541/42 389,674 37,409 96
2542/43 391,714 38,780 99
2543/44 393,587 40,933 104
2544/45 393,589

38,572

98
2545/46 395,315 39,532 100
    



โรคที่สำคัญ ได้แก่
1. โรคเน่าดำ
2.
โรคใบไหม้และลำต้นเน่า
3.
โรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย
4. โรคยอดฝอย
     แมลงศัตรูงาที่สำคัญ ได้แก่
1. หนอนห่อใบงา
2.
หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก
3.
มวนเขียวข้าว
4.
มวนฝิ่น
5. เพลี้ยจักจั่น
6. แมลงกินูนเล็ก







หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©