-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 504 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 3/5




ถั่วเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถั่วเหลือง (Soybean)
?
ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง (Soybean, Glycine max (L.) Merrill) เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง พ.ศ. 2143 และไปสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นกว่า 100 ปี ชาวอเมริกันได้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงวัวโดยไม่ได้นำเมล็ดมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนถึงปี พ.ศ. 2473 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมากขึ้น

ถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน นิยมเรียกกันในภาษาไทยโดยทั่วๆไปหลายชื่อเช่น ถั่วพระเหลือง ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) มะถั่วเน่า (ภาคเหนือ) เป็นต้น

เนื้อหา

1 ข้อมูลทางพันธุศาสตร์

2 ลักษณะทางกายภาพของถั่วเหลือง

3 ส่วนประกอบทางเคมี

4 ถั่วเหลืองกับการดัดแปลงพันธุกรรม

5 การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย

6 ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

7 รสชาติและสรรพคุณ

8 คุณค่า

9 ข้อพึงสังเกต

10 อ้างอิง


ข้อมูลทางพันธุศาสตร์
ได้มีผู้พยายามลดขนาดของวงศ์ Leguminosae ให้เล็กลง โดยการตั้งวงศ์ Fabaceae เมื่อราว 25 ปีมาแล้ว แต่นักพฤกษศาสตร์ยังนิยมจัดถั่วเหลืองอยู่ในวงศ์ Leguminosae แล้วจัดวงศ์ Fabaceae เป็นวงศ์ย่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลืองมีหลายชื่อ เช่น Glycine soja, Soja max, Phaseolus Max, Dolichos soja แต่ที่ยอมรับกันในปัจจุบันคือ Glycine max (L.) Merr.

ลักษณะทางกายภาพของถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองเป็นเมล็ดพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นแหล่งที่ดีของไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมล็ดถั่วเหลืองมีหลายขนาดและหลากหลายสีรวมถึงสีดำ สีน้ำตาล สีฟ้า สีเหลืองเปลือกถั่วเหลืองที่แก่แล้วจะแข็งแรงทนต่อน้ำ ถ้าส่วนห่อหุ้มเมล็ดแตก ถั่วเหลืองอาจจะไม่งอก รอยที่คล้ายๆแผลเป็นสามารถเห็นได้ชัด บนส่วนห่อหุ้มเมล็ดเรียกว่า hilum หรือ แผลเป็นบนเมล็ดพืช และเป็นคล้ายรูเปิดเล็กๆที่สามารถดูดซึมน้ำ เข้าไปได้แต่ที่น่าสังเกต เมล็ดถั่วเหลืองบรรจุโปรตีนไว้สูง และสามารถทำให้แห้งโดย ไม่เสียหายและสามารถทำให้ฟื้นกลับมาโดยการใส่น้ำ

ถั่วเหลืองเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นสี่เหลี่ยมปกคลุมด้วยขนสีเทาขาว ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ปลายแหลมใบค่อนข้างหนา ผิวมันทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกเป็นช่อสีขาวหรือม่วงแดง ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 25-30 วันเก็บเกี่ยวอายุประมาณ 90-100วัน ฝักแบนขาวติดเป็นกระจุกที่ข้อของต้น และกิ่งในฝักมีเมล็ด 3-5 เมล็ดรูปไข่ เมล็ดกลม ผิวสีเหลืองมันตาค่อนข้างลึกสีน้ำตาลอ่อน

ส่วนประกอบทางเคมี
น้ำมันและโปรตีนมีอยู่ในถั่วเหลืองทั้งคู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของถั่วเหลืองโดยน้ำหนัก โปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ น้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต 35 เปอร์เซ็นต์ ความร้อนเสถียรในการเก็บโปรตีนมีส่วนกับโปรตีนถั่วเหลืองส่วนใหญ่ ความร้อนเสถียรนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองต้องการความร้อนสูง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ในการทำ ตั้งแตคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองถูกพบเป็นส่วนใหญ่ในเวย์ หรือ หางนม และถูกทำลายลงระหว่างการเดือดเป็นฟอง เต้าหู้ ซอสถั่วเหลือง จะไม่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะหรือลำไส้
ถั่วเหลืองกับการดัดแปลงพันธุกรรม

ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ตัวเลขของผลิตภัณฑ์ใช้ถั่วเหลืองที่ดัดแปลงพันธุกรรมมีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995)บริษัทที่ชื่อว่าmonsanto ได้นำเข้าถั่วเหลืองที่มีการคัดลอกยีนมาจากแบคทีเรียม(bacterium)ที่ชื่อว่า Agrobacterium ซึ่งทำให้พืชถั่วเหลืองสามารถทนต่อการพ่น herbicide ยีนของบัคเนเรียคือ EPSP (5-enolpyruvyl shikimic acid-3-phosphate) ถั่วเหลืองโดยทั่วๆไปจะมียีนนี้อยู่แล้วแต่จะไวต่อ glyphosate แต่พันธุ์ที่ดัดแปลงใหม่จะทนได้


การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย

ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มปลูกถั่วเหลืองครั้งแรกเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าชาวจีนที่อพยพมาได้นำถั่วเหลืองเข้ามาด้วยเมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ทำให้มีถั่วเหลืองพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการผลิตถั่วเหลืองในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และทำให้ต้องมีการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ

การปลูกถั่วเหลืองปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ ปรับปรุงโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สจ.4 สจ.5 สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 สุโขทัย 3 นครสวรรค์ 1 เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 3 เชียงใหม่ 4 ถั่วเหลืองที่ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองขึ้นมาใหม่ คือ “พันธุ์ศรีสำโรง 1” ซึ่งให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทั้งยังสามารถต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดี [1]

สำหรับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่ 60 เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

ในประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี ปีละ 3 ฤดู การปลูกอาจต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อน pH ประมาณ 5.5-6.5 และเตรียมเมล็ดโดยการคลุกเชื้อไรโซเบียม การคลุกเชื้อไรโซเบียมต้องใช้เชื้อที่ใช้กับถั่วเหลืองเท่านั้น ถั่วเหลืองต้องการน้ำประมาณ 300-400 มิลลิลิตรตลอดฤดูปลูก ช่วงที่สำคัญที่ไม่ควรขาดน้ำคือช่วงการงอกและช่วงออกดอก อายุการเก็บเกี่ยวของถั่วเหลืองจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 60-110 วัน



ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

การแปรรูปถั่วเหลืองให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลายขึ้นและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ดังนี้ น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญในหลายประเทศอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมักและผ่านการหมักก่อน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมัก เช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง เช่น ถั่วเน่า เทมเป้ ซอสถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว เป็นต้นโปรตีนจากถั่วเหลือง หลังจากการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองด้วยตัวทำละลายแล้ว ส่วนที่เหลือจะเป็นเนื้อถั่วทีอุดมด้วยโปรตีน สามารถแปรรูปเป็นอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อเทียม (โปรตีนเกษตร) แป้ง เบเกอรี่ ทำโปรตีนเข้มข้น หรือผ่านกรรมวิธีเพื่อแยกเอาโปรตีนบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการแปรรูปถั่วเหลือง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศ เพื่อเป็นการขยายตลาดและเพิ่มความนิยมในการบริโภคถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ตถั่วเหลือง เนยถั่วเหลือง เป็นต้นอาหารเสริมจากถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารเคมี ที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น เลซิติน โอลิโกแซคคาไรด์ วิตามินอี สเตอรอล ไฟเตทเป็นต้น สามารถใช้ถั่วเหลืองเพื่อช่วยเพิ่มเยื่อใยและคุณค่าทางอาหาร


รสชาติและสรรพคุณ

รสหวาน บำรุงม้าม ขับแห้ง สลายน้ำ ขับร้อน ถอนพิษ แก้ปวด มักใช้บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ โรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง แผลเปื่อย


คุณค่า

มีโปรตีน เลซิทิน และกรดแอมิโน รวมทั้งมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี1 และบี2 วิตามินเอและอี ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ป้องกันการขาดแคลเซียมในกระดูก และบำรุงระบบประสาทในสมอง


ข้อพึงสังเกต

ถัวเหลืองได้รับการขนานนามว่า "ราชาแห่งถั่ว" หากกินเป็นประจำช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน




อ้างอิง
  1. อภิพรรณ พุกภักดี, "ถั่วเหลือง: พืชทองของไทย", มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546
  2. คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, "พืชเศรษฐกิจ", มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547
  3. schoolnet [1] (โครงการเผยแพร่ความรู้ผลงานทางวิชาการผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เดลินิวส์ วันที่ 6 มกราคม 2545
  4. ภญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์, "การบริโภคถั่วเหลืองเพื่อสุขภาพ" 
  5. ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์,"วิทยาการเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวและถั่วเหลือง"
  6. นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2550





ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวถั่วเหลืองพันธุ์ดี

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองมาตั้งแต่ปี 2538 ถึงปัจจุบันประมาณ 15 ปี โดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการสนับสนุนสหกรณ์ให้ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ 45 จังหวัด เพื่อช่วยเหลือภาครัฐในการผลิตและสามารถกระจายพันธุ์ที่มีคุณภาพสู่สมาชิกและเกษตรกรทั่วไป สามารถดำเนินการได้ปีละประมาณ 20,000-25,000 ตัน
   
ล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายฉกรรจ์  แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรทั่วประเทศจะอยู่ที่  ประมาณ 510,000 ตันต่อปี ในขณะที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสามารถผลิตได้เพียง 46,000 ตันต่อปี ภาคเอกชน 10,000 ตันต่อปี สหกรณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ประมาณ 20,000 ตันต่อปี เท่านั้น ทำให้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในภาครวมของทั้งประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ในขณะที่ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและ เป็นสินค้าหลักในการส่งออกนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
   
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งมีภารกิจในการสนับสนุน เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกและสหกรณ์การเกษตรสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน และดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคและการแข่งขันในตลาดโลก ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาสินค้าข้าวและถั่วเหลืองให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตามที่ตลาดต้องการ ตลอดถึงการลดต้น ทุน เช่น การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์ดีสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงขึ้น อันเป็นการลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง
   
“สมาชิกสหกรณ์และสหกรณ์ภาคการเกษตรส่วนหนึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองชั้นพันธุ์จำหน่ายมายาวนานกว่า 10 ปี โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์เน้นย้ำให้สหกรณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพได้มาตรฐานที่ทางราชการกำหนด ให้สามารถกระจายพันธุ์ที่มีคุณภาพสู่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร  ทั่วไปได้ทั่วถึง จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าว เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ สร้างความมั่นคง ด้านการผลิตพืชอาหาร สร้างรายได้แก่เกษตรกร สมาชิกและสหกรณ์ภาคการเกษตรอีกด้วย” นายฉกรรจ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  กล่าว
   
ทั้งนี้โครงการฯ มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ใน 41 จังหวัด และสหกรณ์ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองที่มีโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์และไม่มีโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ จำนวน  76 สหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ จำนวน 3,000 คน
   
และนอกจากการสนับสนุนสหกรณ์ให้ผลิตเมล็ดพันธุ์แล้ว ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้สหกรณ์  กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 1 ต่อปี ปีละ 150  ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง  ให้สหกรณ์เป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต และการรับซื้อคืนเมล็ดพันธุ์จากสมาชิกที่  ทำพันธุ์สู่กระบวนการปรับปรุงคุณภาพในโรงงานตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน  และจำหน่ายแก่สมาชิกนำไปทำพันธุ์ต่อไปอีกด้วย
   
ทั้งนี้การส่งเสริมการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองพันธุ์ดีแก่เกษตรกร ในสถาบันเกษตรกรจะก่อให้เกิดการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองที่มีคุณภาพไปสู่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไป คาดว่าผลผลิตปี 2553 จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าว 20,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 440 ล้านบาท เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 1,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 23 ล้านบาท รวม 21,000 ตัน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 463 ล้านบาท ปี 2554 จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าว 25,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 550 ล้านบาท เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 1,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 27.60 ล้านบาท รวม 26,200 ตัน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 577.60 ล้านบาท ปี 2555 คาดว่าจะได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์  ข้าว 30,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 660 ล้านบาท และเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 1,500 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34.50 ล้านบาท รวม 31,500 ตัน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 694.50ล้านบาท
   
และเป็นที่คาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่ม ผลผลิตข้าวต่อไร่ ได้สูงถึง 560 กิโลกรัมต่อไร่ จากเดิม 334 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.36 ถั่วเหลือง 220 กิโลกรัม ต่อไร่ จากเดิม 162 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.36 ทั้งนี้เกษตรกรที่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพจากสหกรณ์ จะช่วย  ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าวมีรายได้สูงขึ้นเฉลี่ยครอบครัวละ 2,712 บาทต่อไร่ เกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลืองมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยครอบครัวละ 1,160 บาทต่อไร่.

kasettuathai@dailynews.co.th

Content ©