-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 494 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 1/5


ถั่วเหลือง

           


ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้นานัปการ นอกเหนือไปจากการสกัดน้ำมันเมล็ดถั่วเหลืองใช้ประกอบอาหาร เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว  ถั่วเน่าซีอิ๊ว เส้นบะหมี่ น้ำนมถั่วเหลือง คุกกี้ โปรตีน แห้ง เนื้อเทียม ฟองเต้าหู้ และถั่วงอก เป็นต้นจีนใช้ถั่วเหลืองผิวดำปรุงยารักษาโรคหัวใจ ตับ ไตกระเพาะ และลำไส้ และเป็นอาหารเสริมเพื่อบำรุงสุขภาพ ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคถั่วเหลืองฝักสด(เก็บเกี่ยวเมื่อฝักยังมีสีเขียวสด) เป็นอาหารว่างและนำเข้าประเทศในปริมาณมาก กากถั่วเหลืองใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ นอกจากนี้การปลูก
           
ถั่วเหลืองยังเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในด้านเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนถั่วเหลืองมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ที่ติดต่อกับแมนจูเรียชาวจีนคุ้นเคยในการเพาะปลูกและใช้ประโยชน์จากถั่วเหลืองมาเป็นเวลากว่า ๕,๐๐๐ ปี ต่อจากนั้นก็ได้ขยายออกไปสู่ประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลี และญี่ปุ่น และแพร่หลายไปถึงทวีปยุโรปและอเมริกา เมื่อประมาณร้อยกว่าปี ปัจจุบันประเทศที่ปลูกถั่วเหลืองมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ บราซิล จีน และ อาร์เจนตินา ตามลำดับ ประเทศเหล่านี้อยู่ในเขตอบอุ่น มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลิตผลต่อไร่สูง
           
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการนำถั่วเหลืองเข้ามาปลูกในประเทศไทย แต่สันนิษฐานว่านำเข้ามาโดยพวกพ่อค้าและชาวเขา ซึ่งเดินทางไปมาระหว่างจีนตอนใต้และภาคเหนือของประเทศไทยแต่สมัยโบราณ ต่อมาจึงแพร่หลายไปในกลุ่มชาวไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ พระยาอนุบาลพายัพกิจเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ได้ส่งเสริมให้มีการปลูก ถั่วเหลือในนาหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นการเพาะปลูกก็ขยายตัวออกไปสู่ภาคต่าง ๆ พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในระยะแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความต้องการกากถั่วเหลือง (หลังจากที่ได้นำเมล็ดไปสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว) เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วทั้งประเทศมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองประมาณ
  ๒,๓๐๐,๐๐๐ ไร่ โดยปลูกในภาคเหนือ๑,๗๐๐,๐๐๐ ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ภาคละ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ รวมผลิตผลทั่วประเทศได้ ๓๔๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าที่เกษตรกรขายได้ ๒,๗๐๐ ล้านบาท แต่ก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศต้องนำเข้ากากถั่วเหลืองเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์อีก ๒๓๐,๐๐๐ ตัน ในอนาคตคาดว่าพื้นที่เพาะปลูก และผลิตผลถั่วเหลืองภายในประเทศ จะเพิ่มมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ผลิตถั่วเหลืองได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ


   
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ถั่วเหลืองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Glycine max (L.)  Merrill อยู่ในวงศ์ (Family)  Legumeminosae เป็นพืชล้มลุก ทรงต้นเป็นพุ่มมีความสูงระหว่าง ๕๐ เซนติเมตรถึงสองเมตรบางพันธุ์ก็เลื้อยเป็นเถา ระบบรากประกอบด้วย
รากแก้ว ซึ่งอาจหยั่งลึกลงไปถึง ๒ เมตรส่วนรากฝอยเกิดเป็นกระจุกประสานกันอยู่ใต้ระดับผิวดิน บริเวณผิวรากมีปมของบัคเตรีเกาะอยู่เห็นได้ชัดเจน ลำต้นแตกกิ่งจำนวน ๓ - ๘ กิ่งมีขนสีขาว น้ำตาล หรือเทาคลุมอยู่ ใบถั่วเหลืองเกิดสลับกัน เป็นใบรวม ประกอบด้วย ใบย่อย ๓ใบ รูปร่างกลมรี ช่อดอกเกิดจากมุมใบและปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วง จำนวน ๓ - ๑๕ ดอกต่อหนึ่งช่อ ดอกสมบูรณ์เพศมีอับเกสรตัวผู้และรังไข่อยู่ในดอกเดียวกัน การผสมเกสรเกิดขึ้นก่อนดอกบาน รังไข่จะเจริญเติบโตเป็นฝักรูปยาวและโค้ง ภายในมีเมล็ด ๒ - ๓เมล็ด เรียงตัวอยู่ตามแนวนอน เปลือกหุ้มเมล็ดมีทั้งสีเหลือง เขียว น้ำตาล และดำ ภายในเมล็ดมีใบเลี้ยงสีเหลืองหรือเขียวสองใบหุ้มต้นอ่อนอยู่ภายในในเขตอบอุ่นปลูกถั่วเหลืองได้ปีละครั้งใน
ฤดูร้อน แต่ในเขตร้อนเช่นประเทศไทยมีอุณหภูมิตลอดทั้งปีไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถปลูกถั่วเหลืองได้ปีละสามครั้ง คือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและกลางฤดูฝนบนที่ดอน และครั้งที่สามใน
นาที่มีระบบชลประทานหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวดังนั้น เกษตรกรนิยมปลูกถั่วเหลืองร่วมหรือสลับกับพืชไร่อื่น  ๆ
          
พันธุ์ถั่วเหลืองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แนะนำให้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ สจ.1 สจ.2 สจ.4สจ.5 เชียงใหม่ 60 สุโขทัย 1 และนครสวรรค์ 1รายละเอียดของพันธุ์และคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกถั่วเหลืองหาได้จากหน่วยงานในกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และ ตำบลในท้องถิ่น
         
ถั่วเหลืองขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดหรือด่างจัด ดินเค็มและดินที่มีน้ำขังแฉะ การเตรียมดินปลูกถั่วเหลืองก็คล้ายกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป มีการไถพรวน ดินให้ร่วนซุยเพื่อกำจัดวัชพืช และให้รากหยั่งลงดินได้สะดวก ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยจุลินทรีย์    ดินก่อนปลูกเพื่อให้มีการสร้างปมที่รากดีขึ้น เพื่อให้จุลินทรีย์ดินหรือบัคเตรีในปมรากช่วยจับไนโตรเจนจากอากาศมาสังเคราะห์เป็นปุ๋ยให้กับ ต้นถั่วเหลือง การปลูกมีหลายวิธี เช่น หว่าน หรือโรยเมล็ดเป็นแถว หรือหยอดเป็นหลุม แต่วิธีที่แนะนำคือหยอดเมล็ดหลุมละ ๒ - ๓ เมล็ดโดยให้มีระยะระหว่างแถวกว้าง ๕๐ เซนติเมตรและระหว่างหลุม ๒๐ เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๗ - ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรปลูกเมื่อดินได้รับความชุ่มชื้นหลังจากฝนตกหรือได้รับน้ำชลประทาน เมล็ดถั่วเหลืองจะงอกภายในเวลา ๕ - ๗ วัน ควรพรวนดิน ดายหญ้า
ไปหาปลายยอด เก็บเกี่ยวโดยตัดต้นถั่วเหลืองมา กองหรือผูกรวมเป็นฟ่อน ตากแดดให้แห้งสนิทแล้วจึงนวดโดยใช้ไม้ฟาดหรือใช้รถแทรกเตอร์เหยียบต้นถั่วเหลืองที่กองสุมกันอยู่ให้ฝักแตกหรือใช้เครื่องนวดข้าวติดเครื่องยนต์ นวดแยกเมล็ดออกจากเศษของลำต้น ทำความสะอาดตากเมล็ดให้แห่งสนิทก่อนเก็บใส่กระสอบ หรือภาชนะ อื่น  ๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป ผลิตผลถั่วเหลืองของไทยอยู่ระหว่าง ๑๒๐ -  ๓๕๐ กิโลกรัมต่อไร่แต่โดยเฉลี่ยประมาณ ๑๒๑ กิโลกรัมต่อไร่ในระยะที่ต้นถั่วเหลืองเจริญเติบโตในไร่อาจจะมีโรคหรือแมลงศัตรูพืชบางชนิดระบาด ทำความเสียหาย ควรป้องกันและกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
         
เมล็ดถั่วเหลืองประกอบไปด้วย โปรตีน ร้อยละ ๓๕ - ๕๐  น้ำมันร้อยละ ๑๒ - ๒๐ (มีส่วนประกอบของน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวร้อยละ ๘๕)เป็นน้ำมันคุณภาพดีสามารถละลายสารคอเลส-เตอรอลที่เกาะผนังเส้นเลือดได้ นอกจากนี้มีวิตามินบี ซี อี และเลซิติน รวมอยู่ด้วย ในเมล็ดถั่วเหลืองมีสารพิษบางชนิดที่ระงับการย่อยของโปรตีน ซึ่งสามารถขจัดให้หมดได้โดยการนำไปผ่านความร้อน ก่อนนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์
         
น้ำมันถั่วเหลืองหลังจากทำให้บริสุทธิ์แล้วใช้แปรรูปเพื่อประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำน้ำมันสลัด เนยเทียม และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันผสมสี หล่อลื่น ยารักษาโรค กากถั่วเหลืองที่ได้มีส่วนประกอบของโปรตีนสูงกว่าร้อยละ ๕๐ นำไปใช้เป็นอาหารและเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตอาหารสัตว์

   





 



ถั่วเหลือง
เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมภายในประเทศหลายชนิด ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการผลิตถั่วเหลืองให้เพียงพอใช้ในประเทศ โดยดำเนินการเร่งรัด

การผลิตควบคู่กับการกำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าเมล็ด ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ความคุ้มครองเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลือง ส่งผลให้ปริมาณ ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (ปี 2525-2529) อัตราการเจริญเติบโตของพื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 23 และร้อยละ 33 ตามลำดับต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 ให้ยกเลิกมาตรการควบคุม การนำเข้ากากถั่วเหลืองเป็นนำเข้าโดยเสรี และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษจากผู้นำเข้าในอัตราตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้ราคาถั่วเหลืองที่เกษตรกรขายได้ลดต่ำลงจากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 12 – 8.84 บาทในปี 2530/31-2531/32 ลดลง อยู่ในช่วงระดับราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.32-7.81 บาทในช่วงปี 2533/34-2535/36 แม้ว่าภาวะการผลิตจะผกผัน ปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในขณะที่พืชแข่งขันอื่น เช่น ข้าวนาปรัง ถั่วเขียว ข้าวโพด เป็นต้น มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมักประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วมอยู่เสมอ ทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการผลิตถั่วเหลือง จึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน เป็นสาเหตุให้พื้นที่และผลผลิตถั่วเหลืองมีแนวโน้มลดลง

โดยผลผลิตถั่วเหลืองลดลงจาก 6.72 แสนตัน ในปี 2532/33 เป็น 5.30 แสนตัน ในปี 2533/34 และเป็น 4.3 แสนตัน ในปี 2534/35 และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.27 แสนตัน ในปี 2537/38 และลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือเพียง 3.24 แสนตันในปี 2543/44 สืบเนื่องจากปี 2538 โดยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก (WTO) ว่าด้วยการเปิดตลาดให้นำเข้าสินค้าเกษตรที่เคยเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า ถั่วเหลือง เป็นสินค้าที่ต้องเปิดตลาดให้นำเข้าด้วย ส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองภายในประเทศต่ำลงเนื่องจากราคาถั่วเหลืองนำเข้ามีราคาถูกกว่าถั่วเหลืองที่ผลิตภายในประเทศ ต่อมาในปี 2539 รัฐมีนโยบายให้นำเข้าถั่วเหลืองรวมทั้งกากถั่วเหลืองได้โดยเสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้าพร้อมทั้งมีมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศด้านการให้ผู้มีสิทธิ์นำเข้าถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองต้องรับซื้อผลผลิตภายในประเทศในราคาขั้นต่ำที่กำหนด ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นจาก 425,000 ตัน ในปี 2538/39 เป็น 1,300,000 ตัน ในปี 2543/44 และคาดว่าความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศในปี 2544 จะไม่ต่ำกว่า 1,800,000 ตัน


      
แหล่งผลิต
แหล่งผลิตถั่วเหลืองในปัจจุบันได้กระจายไปทุกภาคของประเทศไทย จากการพยากรณ์โดย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 พบว่า ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองมากที่สุด คือ 1,030,549 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 69.66 รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 17.31 , 11.73 และ 1.3 ตามลำดับ

   
     
ฤดูการผลิต
1. ถั่วเหลืองต้นฤดูฝน
เกษตรกรจะเพาะปลูกถั่วเหลืองในสภาพพื้นที่ไร่ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม และจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม การปลูกถั่วเหลืองของเกษตรกรในช่วงดังกล่าวจะมีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 29 ของพื้นที่ปลูกตลอดปี ผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 28 ของผลผลิตทั้งปี ผลผลิตถั่วเหลืองที่ได้จากการปลูกถั่วเหลืองในช่วงต้นฤดูฝนมักมีคุณภาพต่ำ ความชื้นสูง เนื่องจากเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนตกชุก

ผลผลิตส่วนใหญ่จึงเข้าสู่โรงงานสกัดน้ำมัน จังหวัดที่ปลูกถั่วเหลืองในช่วงดังกล่าว ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เช่น สุโขทัย, ตาก, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, กำแพงเพชร เป็นต้น

2. ถั่วเหลืองปลายฤดูฝน

เกษตรกรจะเพาะปลูกถั่วเหลือง ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม และจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 22.5 ของพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองทั้งปี ผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งปี โดยปลูกในสภาพพื้นที่ไร่ตามพืชต้นฤดูฝน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียวผิวมัน เป็นต้น ถั่วเหลืองที่ผลิตได้ในช่วงนี้คุณภาพดีเพราะจะเก็บเกี่ยวในช่วงที่หมดฝน ผลผลิตที่ได้จะใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ของการปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งของเกษตรกร หากปีใดผลผลิตถั่วเหลืองปลายฤดูฝนได้รับความเสียหาย เนื่องจากภัยธรรมชาติ ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ มีผลทำให้การผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกรมีแนวโน้มลดลง และมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ปลูก เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง และเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ในอัตราสูง จังหวัดที่ปลูกถั่วเหลืองในช่วงดังกล่าวมาก ได้แก่ สระแก้ว, ลพบุรี, อุทัยธานี, นครสวรรค์ เป็นต้น

3. ถั่วเหลืองฤดูแล้ง
เกษตรกรจะเพาะปลูกถั่วเหลืองในนาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวในเขตชลประทาน ประมาณเดือนธันวาคม - มกราคม และเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน ถั่วเหลืองที่ผลิตได้จะมีคุณภาพดีเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ และบริโภคในรูปของเต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว และน้ำนมถั่วเหลือง พื้นที่ปลูก
ถั่วเหลืองฤดูแล้งจะมีประมาณร้อยละ 48.5 ของพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองทั้งปี และมีผลผลิตประมาณร้อยละ 52ของผลผลิตทั้งปี จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ , กำแพงเพชร , สุโขทัย , ชัยภูมิ , พิษณุโลก , ขอนแก่น เป็นต้น


เทคโนโลยีการผลิต
พันธุ์

พันธุ์ถั่วเหลืองที่แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก จะเป็นพันธุ์ที่ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันมีจำนวน 9 พันธุ์ คือ

1. พันธุ์ สจ.1 (SJ. 1)

2. พันธุ์ สจ.2 (SJ.2)

3. พันธุ์ สจ.4 (S.J.4)

4. พันธุ์ สจ.5 ( SJ. 5 )

5. พันธุ์นครสวรรค์ 1 ( นว.1 : NS. 1 )

6. พันธุ์เชียงใหม่ 60 ( ชม.60 : CM. 60 )

7. พันธุ์ มข.35 ( KKU. 35 )

8. พันธุ์สุโขทัย 1 ( สท.1 : ST. 1 )

9. พันธุ์ สุโขทัย 2 ( สท.2 : ST.2 )



     
กรรมวิธีการปลูก

การปลูก ปลูกได้ทั้งในสภาพดินที่มีการไถพรวนและไม่ไถพรวน แต่ต้องมีการระบายน้ำได้ดี และให้น้ำสม่ำเสมอ สำหรับสภาพพื้นที่ที่ไม่ได้ไถพรวนส่วนใหญ่ จะปลูกในฤดูแล้งหลังนาปี


1. การเตรียมดินปลูก ควรปรับดินให้สม่ำเสมอ โดยไถดิน 2 ครั้ง ไถลึก 15-20 เซนติเมตรตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ( ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ) ปรับระดับหน้าดินใหม่สม่ำเสมอไม่ให้มีน้ำขัง และมีการขุดร่องโดยรอบแปลงเพื่อระบายน้ำได้สะดวก


2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก โดยทำการทดสอบความงอกของเมล็ด และคลุกเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูก โดยใช้อัตราเชื้อไรโซเบียม 200 กรัมต่อเมล็ดถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม


3. วิธีการปลูก วิธีการปลูกนั้นอาจปลูกเป็นหลุม โดยมีระยะปลูกระหว่างแถว x ระหว่างหลุม เป็น 50 x 20 , 25 x 25 , 30 x 20 เซนติเมตร หลุมละ 4 ต้น หรือโรยเป็นแถว โดยมีระยะระหว่างแถว ประมาณ 25-50 เซนติเมตร ให้มีจำนวนต้นประมาณ 20 ต้น ต่อความยาวของแถวประมาณ 1 เมตร อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 12-25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปลูกโดยวิธีหว่าน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งนิยมปลูกในฤดูแล้ง ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วยเชื้อไรโซเบียม (เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ไปเป็นสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งเป็นปุ๋ยแก่ต้นถั่วเหลือง) เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลง นอกจากนี้ยังปลูกโดยโรยเป็นแถว โดยใช้เครื่องหยอด ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้กับการเตรียมดิน 
โดยการไถพรวนและไม่ไถพรวน ควรใช้ระยะระหว่างแถวประมาณ 30 เซนติเมตร ให้มีจำนวนต้นประมาณ 20 ตันต่อระยะแถวยาวประมาณ 1 เมตร การใช้ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร จะสัมพันธ์กับการใช้เครื่องเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองแบบวางรายอย่างมีประสิทธิภาพ



     
การใส่ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ย สูตร 12-24-12 หรือ 15-15-15 ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ย ถั่วเหลืองสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีการ ดังนี้ คือ


1.ใส่ปุ๋ยก่อนปลูก ทำได้โดยใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมก่อนปลูก เป็นวิธีที่ให้ผลดีแต่สิ้นเปลืองแรงงานมาก หรือหว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ


2.ใส่หลังปลูก โดยใส่ระหว่างหลุมหลังปลูก 15-20 วัน แล้วไถ (คราด) ดิบกลบ หรือใส่ปุ๋ยหลังปลูกโดยโรยข้างแถว แล้วไถกลบพร้อมกับกำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังปลูก 15-20 วัน



     
การใช้ฮอร์โมน
การใช้ฮอร์โมนประเภท เอ็น เอ เอ (NAA) เข้มข้น 10-12 ส่วนในล้านส่วน ให้ 1-2 ครั้ง  ในระยะก่อนถั่วเหลืองออกดอกเล็กน้อย หรือให้ปริมาณโปรตีนในเมล็ดเพิ่มขึ้นประมาณ 20- 25 เปอร์เซ็นต์


      
การป้องกันกำจัดโรคพืช

โรคถั่วเหลืองที่สำคัญ คือ โรคราสนิม โรคแอนแทรกโนส การป้องกันกำจัดโรค ถั่วเหลืองควรป้องกันโดย

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ต้านทานโรค เช่น พันธุ์ สจ.5, สจ.4 เป็นต้น

2. ปลูกพืชหมุนเวียน

3. ถ้าระบาดรุนแรงควรใช้สารเคมี ไดเทนเอ็ม - 45 แมนเสทดี ฉีดพ่นประมาณ 3 ครั้ง โดยพ่นครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 40 วัน และพ่นอีก 1 - 2 ครั้ง ตามความจำเป็น



      
การป้องกันกำจัดแมลง

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง ในช่วงถั่วเหลืองอายุ 7 วันหลังงอก จำเป็นจะต้องพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้น และหลังจากนั้น ควรป้องกันกำจัดตามความจำเป็น คือ เมื่อพบโรคแมลงระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ จึงควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแมลง ดังนี้


1. หนอนเจาะฝัก พ่นด้วยสารเคมีประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน 56 % WSC, นูวาครอน 56 % SC , อะโซครอน 56 % WSC เป็นต้น ในอัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน


2. เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น แมลงหวี่ขาว หนอนมวนใบ มวนเขียวถั่ว สาร คาร์โบฟูราน 3 % จี. โรยในแถวก่อนหยอดเมล็ดอัตรา 4-6 กก./ไร่ หรือสารประเภท โมโนโครโตฟอส อัตรา 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน พ่นครั้งแรกเมื่อ ถั่วเหลืองอายุ 7 วัน หรือสารประเภท โอเมธโธเอท 25 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกระยะ 7-10 วันโดยพ่นครั้งเมื่อถั่วเหลืองอายุ 7 วัน



      
การป้องกันกำจัดวัชพืช

การป้องกันกำจัดวัชพืชสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ

1. วิธีกล โดยใช้แรงงานคน สัตว์ ทำการถากถางไถพรวนกำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ในระยะที่ต้นถั่วเหลืองอายุไม่เกิน 30 วัน

2. ใช้สารเคมี โดยพ่นสารเคมีหลังปลูกทันทีหรือหลังปลูก 1-2 วัน ก่อนที่วัชพืชงอก สารเคมีที่ใช้ให้ผลดี ได้แก่ ดูอัลชนิดน้ำ 40 % แลสโซ่ชนิดน้ำ 43.7 %



      
การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ควรมีการปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ตาก ย้าย นวด ฯลฯ เพราะจะช่วยลดการสูญเสียเนื่องจากการปฏิบัติ วิธีการเก็บเกี่ยว อาจเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองตามอายุ และสังเกตสีของฝักโดยการตัดที่โคนต้น และนำมามัดรวมกันเป็นฟ่อน ตั้งเป็นกองทิ้งไว้โดยเอาโคนลงดิน จนกระทั่งใบร่วงประมาณ 5-7 วันก่อนนวด



     
การนวด

สามารถทำได้หลายวิธี คือ

1. ใช้เครื่องนวด

2. ใช้รถนวด โดยใช้แทรกเตอร์หรือรถไถเดินตาม

3. โดยใช้ไม้ฟาดให้เมล็ดร่วง



     
โรคและแมลงศัตรูถั่วเหลืองที่สำคัญ

1.โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคราน้ำค้าง , โรคราสนิม , โรคแอนแทรกโนส, โรคใบจุดนูน, โรคเมล็ดสีม่วง, โรคเน่าคอดิน, โรครากเน่า , โรคใบด่าง และ โรคใบยอดย่น


2.แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ หนอนเจาะแมลงวันต้นถั่ว, หนอนม้วนใบ, หนอนชอนใบถั่ว, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้ผัก, แมลงหวี่ขาว , หนอนเจาะฝักถั่ว , มวนเขียวข้าว , มวนเขียวถั่ว และ มวนขาโต






      
การใช้ประโยชน์

ถั่วเหลืองสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนกล่าวคือ


1.ส่วนต่าง ๆ ของถั่วเหลือง คือ ใบ ลำต้น เปลือกเมื่อเก็บเกี่ยวและนวดเรียบร้อยแล้ว และไถกลบลงสู่ดินรวมทั้งปมที่ตกค้างในดินจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีที่สุด ในส่วนของเปลือกถั่วเหลืองนำมากองรวมกันใช้เพาะเห็ดที่เรียกว่า " เห็ดถั่วเหลือง " นำมาทำอาหารรับประทานได้


2.เมล็ดของถั่วเหลืองนำมาใช้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเมล็ด ถั่วเหลืองจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ ซึ่งแบ่งตามวิธีการผลิตเป็น 2 ลักษณะ คือ



      
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการหมัก (Nonfermente Product)   ได้แก่

น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดีมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid)80-85 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล น้ำมันถั่วเหลืองใช้สำหรับปรุงอาหาร ทำปลากระป๋อง เนยเทียม น้ำมันสลัด สีหมึก กลีเซอรีน และสบู่ ส่วนกากถั่วเหลืองที่สกัดน้ำมันออกแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อย่างดีเพราะมีโปรตีนสูงประมาณ 40 - 45 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันมีโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง จำนวน 9 โรงงาน มีกำลังการผลิตรวมกันจะใช้เมล็ดถั่วเหลืองประมาณ 1 ล้านตันต่อปี สำหรับกรรมวิธีการผลิตน้ำมัน ถั่วเหลืองดิบแบบสกัด (Extraction of Soybean Oil Process) และกรรมวิธีในการผลิตน้ำมัน ถั่วเหลืองบริสุทธิ์ (Refining Soybean Oil Process) เมล็ดถั่วเหลือง 100 กิโลกรัม เมื่อสกัดน้ำมันแล้วจะได้น้ำมันประมาณ 14.5-16.2 เปอร์เซ็นต์ และได้กากถั่วเหลืองประมาณ 77-78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกากถั่วเหลืองจะเป็นผลผลิตหลักของโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง มีโปรตีนสูงประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ และพบว่า เป็นแหล่งของอาหารโปรตีนที่ดีมากอย่างหนึ่ง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรม ที่ใช้กาก ถั่วเหลืองไปแปรรูปเป็นอาหารมนุษย์ เพื่อบริโภค ดังนั้น กากถั่วเหลืองจึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่พอใช้ภายในประเทศต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละหลายแสนตัน

น้ำนมถั่วเหลือง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่านมถั่วเหลือง สามารถใช้เป็นอาหารของคนได้ทุกเพศทุกวัย เป็นอาหารเสริมดื่มแทนนมวัวได้ดีพอสมควรแม้ว่าคุณค่าทางโภชนาการของนมถั่วเหลืองจะด้อยกว่านมวัว แต่ก็สามารถนำไปปรับปรุงคุณภาพให้ใกล้เคียงกับนมวัวได้ เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมวัว


เต้าหู้
เป็นอาหารพื้นเมืองของคนไทย นิยมรับประทานโดยทั่วไป สามารถทำอาหารได้หลายแบบ ราคาถูก เต้าหู้ที่ขายในท้องตลาดมีหลายลักษณะ ซึ่งได้แก่ เต้าหู้แข็ง เต้าหู้อ่อน เต้าหู้เหลือง เต้าหู้หลอด เต้าหู้แห้ง เป็นต้น


เต้าฮวย
มีลักษณะล้ายกับเต้าหู้อ่อน แต่เนื้อนิ่มกว่า จัดเป็นอาหารหวานที่รับประทานร่วมกับน้ำขิง ซึ่งคนทั่วไปในประเทศไทยนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง สำหรับกรรมวิธีในการทำเต้าฮวย


ฟองเต้าหู้
เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความนิยมของคนไทยเช่นเดียวกัน แต่มีขอบเขตการใช้จำกัด ซึ่งนิยมใช้ประกอบอาหารประเภทแกงจืดเป็นหลัก การทำฟองเต้าหู้จะทำร่วมกับการทำเต้าหู้ เนื่องจากการเตรียมการในขั้นตอนการทำน้ำเต้าหู้เป็นขั้นตอนการทำเช่นเดียวกัน สำหรับขั้นตอนในการทำฟองเต้าหู้


ถั่วงอกหัวโต
เป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เพราะนอกจากคุณภาพของโปรตีนและไขมันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่จะได้ไวตามีนซี และไวตามีนเอ ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่การรับประทานถั่วเหลืองหัวโตจะต้องทำให้สุกก่อนเพื่อให้โปรตีนมีประสิทธิภาพสูง กรรมวิธีในการทำถั่วงอกหัวโต


แป้งถั่วเหลือง
ที่มีไขมันเต็ม เป็นแป้งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงใช้แก้ปัญหาในด้านทุพโภชนา โดยเฉพาะโรคขาดโปรตีนและแคลอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหารเสริมเด็กอ่อน อุตสาหกรรมทำขนมอบ และอุตสาหกรรมทำน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น


ถั่วเหลืองไขมันเต็ม
(Full fat soy) เป็นอาหารสัตว์ที่อุดมด้วยไขมันในปริมาณสูง เหมาะที่จะใช้เลี้ยงลูกสุกรแรกเกิดถึงอายุประมาณ 1 เดือน หรือน้ำหนักประมาณ 15 กก. ซึ่งจะทำให้ลูกสุกรโตเร็ว โดยมีกรรมวิธีในการทำ คือ ใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่คัดคุณภาพทำความสะอาดแล้วนำไปทำให้สุกและตีให้ป่นโดยผ่านขบวนการเอ็กซ์ทรูด ( Extruder ) ซึ่งเป็นขบวนการเบ็ดเสร็จในตัวคือทำให้สุกและตีให้ป่นเรียบร้อย โดยเครื่อง Extruder


     
       
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการหมัก
(Fermented Product)

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มักจะใช้เป็นสารชูรสอาหารทำให้อาหารมีรสชาดดี กลิ่นน่ารับประทาน ได้แก่


ซีอิ้ว
ใช้เป็นเครื่องจิ้มและเครื่องปรุงอาหารแทนน้ำปลาหรือเกลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารจีนและอาหารมังสวิรัต


เต้าเจี้ยว
นำมาใช้ประกอบอาการประเภท ผัด ซุป ทอด และใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำจิ้ม ซึ่งนิยมบริโภคกันทั่วไป การทำเต้าเจี้ยวทำได้ 2 ลักษณะ ซึ่งมีขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตเช่นเดียวกับซีอิ้ว ลักษณะแรก ทำโดยการดูดน้ำซีอิ๊วออกเหลือแต่เนื้อถั่วนำไปปรุงเติมแต่งรสใหม่ จะได้เต้าเจี้ยวที่คุณภาพไม่ดีราคาถูก ลักษณะที่สอง ไม่ต้องผ่านการดูดน้ำซีอิ้วออกใช้ทั้งหมดจะได้เต้าเจี้ยวที่มีคุณภาพดีราคาแพง


เต้าหู้ยี้
นอกจากจะนำไปใช้เป็นสารชูรสในการบริโภคเป็นเครื่องจิ้ม เช่น อาหารประเภทสุกี้แล้ว ยังนำมาบริโภคกับข้าวต้มโดยตรง






หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©