-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 337 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 2/2




ถั่วเขียว (mungbean)


ถั่วเขียวเป็นพืชไร่ที่มีอายุสั้นเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย สามารถปลูกได้ตลอดปี คือ ฤดูแล้งหลังการทำนาปี ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝนหลังเก็บเกี่ยวพืชไร่หลักเช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปอ เป็นต้น พื้นที่ปลูกถั่วเขียวในแต่ละปี ประมาณ 3 ล้านไร่ และ 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ปลูกถั่วเขียวผิวมัน ซึ่งมีแหล่งปลูกที่สำคัญคือ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ เป็นต้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกถั่วเขียวปลายฤดูฝน ส่วนถั่วเขียวผิวดำมีแหล่งปลูกอยู่ที่ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเทศไทยเริ่มปลูกถั่วเขียวเมื่อใด แต่ถั่วเขียวก็ถูกใช้ในพิธีกรรมทางศาสนามานานแล้ว เอกสารแรกที่กล่าวถึงการปลูกถั่วเขียวในประเทศไทย เริ่มเมื่อพ.ศ. 2480 นี้เอง โดยใช้พันธุ์เมล็ดเล็กชื่อพันธุ์ศรีสำโรง ซึ่งตอบสนองต่อช่วงแสงเป็นอย่างมากจนถึงกับต้องระบุวันปลูกไว้ให้ว่าควรปลูกระหว่างวันที่ 15-30 กันยายนของทุกปี เพราะถ้าปลูกเร็วกว่านี้ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตทางลำต้นและไม่ออกดอกจนกว่าจะสิ้นฤดูฝนเมื่อถึงพ.ศ. 2495 พื้นที่ปลูกถั่วเขียวในประเทศไทยมีอยู่ 68,009 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 85 กิโลกรัมต่อไร่ซึ่งนับว่าต่ำ นอกจากถั่วเขียวเมล็ดเล็กแล้วในช่วงประมาณพ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังปลูกถั่วทอง (ถั่วเขียวผิวมันเยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลือง) และถั่วเขียวผิวดำ (สมัยนั้นเรียกถั่วเขียวอินเดีย) อีกด้วย แต่ในปัจจุบันประเทศไทยปลูกแต่ถั่วเขียวเมล็ดมันใหญ่กับถั่วเขียวผิวดำเท่านั้น

พันธุ์ถั่วเขียวในประเทศไทยนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น โดยได้นำเข้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า พันธุ์เมล็ดมันฝักยาวและเมล็ดฝักดำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด แต่เป็นพันธุ์ที่นิยมมากในช่วงนั้นจนถึงพ.ศ. 2519 เริ่มมีการส่งเสริมถั่วเขียวผิวมันพันธุ์อู่ทอง 1 และพ.ศ. 2521 เริ่มส่งเสริมถั่วเขียวดำพันธุ์อู่ทอง 2 ยิ่งทำให้เกษตรกรไทยนิยมปลูกถั่วเขียวยิ่งขึ้นอีกจนมีพื้นที่ปลูกในบางปีกว่า 3 ล้านไร่ ปัจจุบันประเทศไทยปลูกถั่วเขียวผิวมันปีละประมาณ 2 ล้านไร่ ถั่วเขียวผิวดำประมาณ 5 แสนไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละประมาณ 110 กิโลกรัม คิดเป็นถั่วเขียวที่ผลิตได้ปีละ 260,000 ตัน ส่งออกทั้งในรูปถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์คิดเป็นมูลค่าปีละกว่า 1,000 ล้านบาท โดยมีคู่แข่งเป็นประเทศพม่าและเวียดนามซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยเล็กน้อย โดยในปีเพาะปลูก 2537/38 ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ประมาณ 786 บาท คิดเป็นต้นทุน 6.96 บาทต่อกิโลกรัม และขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 9.72 บาทใน พ.ศ. 2541 ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมคาดว่าประมาณ 7.50 บาท แต่เกษตรกรก็ขายได้เฉลี่ยประมาณ 12 บาท ถั่วเขียวจึงยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกอยู่ เนื่องจากประเทศไทยปลูกถั่วเขียวผิวมันเป็นส่วนใหญ่ ในที่นี้จึงเน้นกล่าวถึงถั่วเขียวผิวมันโดยเรียกว่าถั่วเขียวและแยกกล่าวถึงถั่วเขียวผิวดำเฉพาะในส่วนที่ต่างจากถั่วเขียวเท่านั้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ถั่วเขียวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus aureus, Roxb. อยู่ในตระกูล Leguminosae เป็นพืชฤดูเดียวทรงพุ่มตั้งตรงแผ่กว้าง สูงประมาณ 30–60 ซม.

ใบ
เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ มีขนที่ใบ

ดอก
มีสีเหลืองอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก้านดอกจะยาวไม่เท่ากัน

ฝัก
มีรูปร่างแบบทรงกระบอก ยาว 4–10 ซม. อาจมีขนหรือไม่มีขน มีเมล็ดอยู่ภายใน 8–12 เมล็ดต่อฝัก

เมล็ด อาจมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปเหลี่ยมที่ปลายทั้งสองข้างของเมล็ด มีสีเขียว น้ำตาล เหลืองทอง หรือสีดำ



ลักษณะทั่วไปของถั่วเขียว

การจำแนกถั่วเขียวเหมือนถั่วเหลืองมาจนถึงระดับ subtribe คืออยู่ใน Phaseolinae ด้วยกัน ในทางการจำแนกพืชถือว่ามีวิวัฒนาการมามากกว่า subtribe อื่นๆ 3 ประการคือ 1) มีส่วนแคลลัส (callosity) หนึ่งหรือสองที่อยู่ด้านในของ standard 2) keel ทั้งสองมักเชื่อมติดกันและ 3) ก้านชูเกสรตัวเมียมีขน (trichome) อยู่ที่ด้านท้อง ถั่วเขียวถูกจัดอยู่ในสกุล Vigna
พืชในสกุล Vigna มีทั้งสิ้น 7 subgenera ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ใน 3 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา โดย subgenus ที่มีความสำคัญที่สุดได้แก่ Ceratotropis ประกอบด้วย ถั่วเขียว (V. radiata) ถั่วเขียวผิวดำ (V. mungo) ถั่วนิ้วนางแดง (V. umbellata) ถั่วอัดสุกิ (adzuki bean ; V. angularis) และ ถั่วมอท (moth bean ; V. aconitifolia) ใน subgenus นี้ ถั่วเขียวผิวดำและถั่วนิ้วนางแดงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย


การจำแนกถั่วเขียวและถั่วเขียวดำก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เช่นเดียวกับการจำแนกถั่วเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียวที่เคยจำแนกไว้คือ Phaseolus radiatus และ P. aureus ส่วนของถั่วเขียวผิวดำคือ P. mungo ชื่อสามัญภาษาอังกฤษของถั่วทั้งสองเคยมีผู้เรียกต่างๆ กัน แต่ในปัจจุบันชื่อสามัญของถั่วเขียวคือ mungbean, green gram หรือ golden gram (กรณีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีเหลือง) ส่วนชื่อสามัญของถั่วเขียวผิวดำคือ black gram, black matpe หรือ urd แต่ถ้าเรียกถั่วเขียวกับถั่วเขียวผิวดำรวมกันไป ใช้คำว่า mungbean แม้ว่าถั่วเขียวกับถั่วเขียวดำจะคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็สามารถจำแนกถั่วทั้งสองชนิดออกจากกันได้อย่างชัดเจน


ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก ใบกว้าง ลำต้นตั้งตรงหรือกึ่งเลื้อย ต้นสูง 25 เซนติเมตร ถึงกว่า 1 เมตร ลำต้นสามารถแตกกิ่งได้ตั้งแต่ข้อล่างๆ มีใบเป็นใบประกอบ 3 ใบย่อย แต่ก็มีบางพันธุ์ที่มีใบ 5, 7, 9, 11 หรือ 13 ใบย่อยอยู่บนต้นเดียวกันรูปร่างใบมักเป็นแบบรูปใบหอก แต่ก็มีพันธุ์กลายบางพันธุ์ที่เป็นรูปเว้าคล้ายใบมันสำปะหลัง ดอกมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00-1.75 เซนติเมตร ถั่วเขียวเป็นพืชผสมตัวเองแต่ก็สามารถผสมข้ามต้นได้ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ดอกทะยอยออกติดต่อกันตลอดเวลาแม้ว่าจะเริ่มมีฝักแก่แล้ว ฝักเมื่ออ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่มีสีเทา น้ำตาล หรือดำ ยาว 5-14 เซนติเมตร กว้าง 4-6 มิลลิเมตร ฝักจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวหลังดอกบานแล้ว 15-20 วัน เมล็ดมีสีต่างๆ ตั้งแต่เหลือง น้ำตาลแดง น้ำตาล ดำ หรือเขียวลายประดำเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งมันและด้าน พวกเมล็ดด้านเกิดจากผนังด้านในของฝักห่อหุ้มเมล็ดอยู่สามารถย่อยออกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักและเมล็ดต่อ 1,000 เมล็ด อยู่ระหว่าง 20-90 กรัม พันธุ์การค้ามีขนาด 60-75 กรัม เมื่อเพาะจะงอกแบบ eplgeal (ชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือดิน)

นอกจากความแตกต่างในสัณฐานวิทยาระหว่างถั่วเขียวกับถั่วเขียวผิวดำแล้ว การวิเคราะห์ทางเคมีของเมล็ดพบว่า ถั่วทั้งสองชนิดมี dipeptide อิสระที่แตกต่างกันกล่าวคือ ถั่วเขียวมี y-glutamyls-methylcyteine ในขณะที่ถั่วเขียวผิวดำมี y-glutamylmethionine



พันธุ์ถั่วเขียว

พันธุ์แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ถั่วเขียวผิวมัน ได้แก่ พันธุ์อู่ทอง 1 กำแพงแสน 1 ชัยนาท 60 และ 36, มอ. 1 เป็นต้น

2. ถั่วเขียวผิวดำ ได้แก่ พันธุ์อู่ทอง 2 และพิษณุโลก 2 ซึ่งมีตลาดรับซื้อจำกัดกว่าถั่วเขียวผิวมัน



ลักษณะประจำพันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน

1. พันธุ์อู่ทอง 1
ฝักแก่สีดำและค่อนข้างยาว ไม่แตกง่าย เมล็ดสีเขียวมัน อายุเก็บเกี่ยว 60-70 วัน ให้ผลผลิต 165 กิโลกรัม/ไร่ ไม่ต้านทานโรคใบจุด จึงควรปลูกในฤดูแล้ง ลักษณะเด่น ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้กว้าง และทนทานต่อสภาพดินด่าง เช่น ดินชุดตาคลี (ความเป็นกรด-ด่างของดิน 7-8) ลักษณะด้อย ฝักอยู่ในทรงพุ่มทำให้มีปัญหาเวลาเก็บเกี่ยวอ่อนแอต่อโรคใบจุดและราแป้ง และการหักล้มของลำต้นค่อนข้างสูง

2. พันธุ์กำแพงแสน 1

ฝักแก่สีดำ เมล็ดสีเขียวมัน อายุเก็บเกี่ยว 65-75 วัน ให้ผลผลิต 202 กิโลกรัม/ไร่ สามารถปลูกได้ตลอดปีในเขตชลประทาน ลักษณะเด่น ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้กว้าง ฝักอยู่เหนือทรงพุ่ม ต้านทานต่อการหักล้ม ต้านทานต่อโรคใบจุดและราแป้งปานกลาง ลักษณะด้อย ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำเมื่อปลูกในดินด่าง

3. พันธุ์กำแพงแสน 2

ฝักแก่สีดำ เมล็ดสีเขียวมัน อายุเก็บเกี่ยว 65-75 วัน ให้ผลผลิต 189 กิโลกรัม/ไร่ สามารถปลูกได้ตลอดปี ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์กำแพงแสน 1 เมื่อปลูกในฤดูแล้งนอกเขตชลประทาน ลักษณะเด่น ฝักอยู่เหนือทรงพุ่ม ต้านทานต่อการหักล้มในระดับสูงต้านทานต่อโรคใบจุดและราแป้ง ลักษณะด้อย ให้ผลผลิตต่ำเมื่อปลูกในดินด่าง

4.พันธุ์ชัยนาท 60

ฝักแก่สีดำ เมล็ดสีเขียวมัน อายุเก็บเกี่ยว 55 วัน เป็นพันธุ์อายุสั้น แต่ฝักแก่จะแตกง่าย จึงควรปลูกในฤดูฝนให้ผลผลิต 175 กิโลกรัม/ไร่ ลักษณะเด่น อายุเก็บเกี่ยวสั้น ฝักอยู่เหนือทรงพุ่ม ทนทานต่อสภาพดินด่าง ลักษณะด้อย อ่อนแอต่อโรคราแป้ง และฝักแก่จะแตกง่าย

5. พันธุ์ชัยนาท 36

ฝักแก่สีดำ ฝักดก เมล็ดสีเขียวมัน อายุเก็บเกี่ยว 67 วัน สามารถปลูกได้ตลอดปี ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตในทุกสภาพสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานอื่น แม้แต่ปลูกในดินด่าง เมล็ดมีขนาดใหญ่และติดฝักดก ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาลปานกลาง และเมื่อนำเมล็ดไปเพาะจะได้ต้นถั่วงอกสีขาวตามความต้องการของตลาด




พันธุ์ที่ส่งเสริม

1. พันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน
อู่ทอง 1 (U-thong 1) เป็นพันธุ์แนะนำพันธุ์แรกในปี 2519 โคนต้นอ่อน (hypocotyl1) มีสีม่วงแต่เมื่อเติบโตขึ้นจะจางหายไปและปรากฏสีม่วงให้เห็นชัดตรงรอยต่อใบกับก้านใบ ฝักส่วนใหญ่จะอยู่ในทรงพุ่มขนาดเมล็ดเฉลี่ย 65 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ผิวของเมล็ดมันมีสีเขียวตาสีขาวให้ผลผลิตเฉลี่ย 165 กก./ไร่ เป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อดินด่าง (calcareous soil) สามารถปลูกได้ทั่วประเทศมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรคใบจุดสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยว 65 -72 วัน

กำแพงแสน 1
(Kamphaeng Saen 1) เป็นพันธุ์แนะนำในปี 2528 โคนต้นอ่อนสีเขียว ใบสีเขียว ฝักส่วนใหญ่จะอยู่เหนือทรงพุ่มขนาดเมล็ดใหญ่เฉลี่ย 69 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ผิวของเมล็ดสีเขียว ตาสีเทาเฉลี่ย 208 กก./ไร่ เป็นพันธุ์ค่อนข้างจะอ่อนแอต่อดินด่างสามารถปลูกได้ทั่วประเทศมีความต้านทานปานกลางต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคราแป้ง อายุเก็บเกี่ยว 65-75 วัน

กำแพงแสน 2
(Kamphaeng Saen 2) เป็นพันธุ์แนะนำพร้อมกำแพงแสน 1 โคนต้นอ่อนสีเขียว ใบสีเขียว ฝักส่วนใหญ่จะอยู่เหนือทรงพุ่มขนาดเมล็ดใหญ่เฉลี่ย 66 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ผิวของเมล็ดมัน สีเขียวสด ตาสีขาวให้ผลผลิตเฉลี่ย 193 กก./ไร่ เป็นพันธุ์ที่มีความอ่อนแอมากต่อดินด่าง มีความต้านทานสูงต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล และต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้ง อายุเก็บเกี่ยว 65- 75 วัน

ชัยนาท 60
(Chai Nat 60) เป็นพันธุ์แนะนำในปี 2530 โคนต้นอ่อนสีเขียว ใบสีเขียวเข้ม ฝักส่วนใหญ่จะอยู่เหนือทรงพุ่ม ขนาดเมล็ดค่อนข้างใหญ่เฉลี่ย 62 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ผิวของเมล็ดมัน มีสีเขียว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 203 กก./ไร่ เป็นพันธุ์ต้านทานต่อดินด่าง แต่มีปฏิกิริยาต่อฤดูปลูก คือถ้าปลูกในฤดูใน ต้นจะสูงและถ้าปลูกในฤดูแล้งต้นจะเตี้ย เมื่อฝักแก่ (สีดำ) ต้องรีบเก็บเกี่ยวเพราะฝักแก่แตกง่าย มีความอ่อนแอต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลและการหักล้ม แต่เป็นพันธุ์มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่สุด คือเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 55 วัน

มอ.1
(PSU-1) เป็นพันธุ์แนะนำในปี 2531 โคนต้นอ่อนสีเขียว ขนาดเมล็ดและผลผลิตอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์กำแพงแสน 1 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง เมื่อปลูกแซมในสวนยางในภาคใต้ ค่อนข้างอ่อนแอต่อดินด่างแต่มีความต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยว 65-75 วัน

ชัยนาท 36
(ChaiNat 36) เป็นพันธุ์แนะนำในปี 2534 โคนต้นสีเขียว ใบสีเขียว ฝักส่วนใหญ่จะอยู่เหนือทรงพุ่ม ขนาดเมล็ดใหญ่ที่สุดในบรรดามาตรฐานคือ 72 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ผิวเมล็ดมันสีเขียวให้ผลผลิตเฉลี่ย 216 กก./ไร่ เป็นพันธุ์ต้านทานต่อดินด่างสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ มีความต้านทานปานกลางต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคราแป้งเป็นพันธุ์ที่มีอายุการสุกแก่ของฝักชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ใกล้เคียงกันมากที่สัดคือฝักแรกแก่ห่างจากฝักสุดท้ายประมาณ 12 วัน อายุเก็บเกี่ยว 67-75 วัน



2.พันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ

อู่ทอง 2 (U-Thong 2) ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2521 มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 12 % เมล็ดโตสม่ำเสมอมีเมล็ดสีน้ำตาลปนอยู่น้อยกว่าพันธุ์อื่น จึงมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของท้องตลาด อายุการเก็บเกี่ยว 90 วัน

พิษณุโลก 2
(Phitsanulok 2) ได้รับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2533 มีลักษณะเด่นคือ ใบแคบ ต้นตั้งตรง ทรงต้นโปร่ง มีอายุสั้นกว่าพันธุ์อู่ทอง 2 สามารถปลูกได้ผลดีในฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าวในเขตชลประทาน อายุเก็บเกี่ยว 75 - 80 วัน




พันธุ์รับรอง

พันธุ์ มทส.1
ลักษณะเด่นของถัวเขียวพันธุ์ มทส.1
- ฝักชูเหนือต้น
- ฝักสุกเป็นชุด
- ฝักเป็นระเบียบ
- ขั้วโตเก็บง่าย
- ไม่มีขน เก็บด้วยมือสะดวก การระบาดของแมลงทดสอบแล้วไม่รุนแรงกว่าพันธุ์อื่น ๆ
- เมล็ดโต ได้ถั่วงอกคุณภาพดี อัตราการงอกสูง
- ต้านทานต่อโรคใบจุดและราแป้งกว่าพันธุ์อื่น ๆ


ชัยนาท 72
เป็นพันธุ์ที่คิดได้จากการกลายพันธุ์ (โดยรังสีแกมมา) จากพันธุ์กำแพงแสน 2 ผ่านการคัดเลือกทั้งในสภาพที่มีและไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้น จนได้สายพันธุ์ที่ให้ชื่อว่า CNM 8709 - 5 แล้วนำไปประเมินความต้านทานต่อหนอนแมลงวันเจาะลำต้น (ในสภาพที่มีการระบาดตามธรรมชาติในแปลงปลูก) ประเมินผลผลิตทั้งในศูนย์ / สถานีฯ และไร่นาเกษตรกร ในแหล่งปลูกทั่วประเทศ ตามขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ (เปรียบเทียบเบื้องต้น มาตรฐานในท้องถิ่น ในไร่เกษตรกร และทดสอบในไร่เกษตรกร) จนกระทั่งผ่านการพิจารณาเพื่อขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช จากคณะกรรมการขึ้นทะเบียนและรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 และให้ชื่อว่า ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72


ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 212 กก. / ไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 ร้อยละ 4.4 ส่วนในฤดูแล้ง ต้นฤดูฝนให้ผลผลิต 222, 240 และ 187 กก. / ไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 ร้อยละ 7.8, 5.7 และ 1.6 ตามลำดับ

2. มีความต้านทานปานกลางต่อหนอนแมลงวันเจาะลำต้น (ในสภาพธรรมชาติ) โดยให้ผลผลิต 135 กก. / ไร่ ซึ่งสูงกว่า พันธุ์ชัยนาท 36 ร้อยละ 26.2

3. เสถียรภาพในลักษณะผลผลิตอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แต่มีเสถียรภาพของลักษณะน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ชัยนาท 36 แสดงว่า พันธุ์ชัยนาท 72 มีความสามารถที่จะปลูกได้ทุกสภาพแวดล้อม




http://www.giswebr04.ldd.go.th/lddweb/knowledge/plant/mungbean/index.asp







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (9452 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©