-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 244 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 4/5



13. พันธุ์สับปะรด

สับปะรดเป็นพืชที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากจะนิยมบริโภคสดแล้ว ยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด สับปะรดแช่แข็ง สับปะรดกวน สับปะรดอบแห้ง และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง เปลือกใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบใช้ทำเส้นใยและกระดาษ

ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส

• ผลผลิตต่อไร่ต่ำ
• ต้นทุนการผลิตสูง
• การกระจายตัวของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ทำให้ราคาผลผลิตไม่มีเสถียรภาพ โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากใน 2 ช่วงฤดู คือ ช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน และเดือนพฤศจิกายน - มกราคม
• คุณภาพผลผลิตบางส่วนไม่ได้มาตรฐานของโรงงาน เช่น การตกค้างของสารไนเตรทเกินระดับมาตรฐาน (25 ppm) ผลแกน และอาการไส้สีน้ำตาล
• พันธุ์ปลูก มีการพัฒนาพันธุ์น้อยมาก มีการเสื่อมคุณลักษณะอันเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ หรือการเสื่อมถอยทางพันธุกรรม
• ความไม่สมดุลกันระหว่างการผลิตในภาคการเกษตร และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการขายตัดราคาสินค้ากันในต่างประเทศ



พันธุ์สับปะรด


พันธุ์ : เพชรบุรี
วันที่รับรอง : 18 มีนาคม 2541
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ
ประวัติ :
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และสถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรีได้ดำเนินการรวบรวมและ ศึกษาพันธุ์สับปะรด จากภายในและต่างประเทศจำนวน 10 และ 12 พันธุ์ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้สับปะรดพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง มีรสชาติตรงตามความต้องการของตลาด และปรับตัวได้เหมาะสมแต่ละสภาพท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกรใช้ เป็นพันธุ์ปลูก เพื่อรับประทานผลสด พบว่า พันธุ์นี้ มีคุณลักษณะดีเด่นในด้านรับประทาน ผลสด และมีการเจริญเติบโตดี

ลักษณะดีเด่น :

1. ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ภูเก็ตและสวี ซึ่งอยู่ในกลุ่มพันธุ์เดียวกัน 17.7% และ 23.2% ตาม ลำดับ
2. รสชาติหวานอมเปรี้ยว ปริมาณ soluble solids สูงถึง 16.9 องศา Brix และมีปริมาณกรดค่อนข้างต่ำเท่ากับ 0.45%
3. มีกลิ่นหอมแรง เนื้อกรอบใกล้เคียงกับพันธุ์สวีและภูเก็ต สีเนื้อเหลืองอมส้มสม่ำเสมอ
4. สามารถแกะแยกผลย่อยหรือตา (fruitlet) ออกจากกันโดยง่าย และรับประทาน
แกนผลได้

ข้อจำกัด :

ความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ ยังไม่ปรากฎหลักฐานการทำลาย หรือการศึกษากับพันธุ์สับปะรดทานผลสดเพชรบุรี (Tainan 41)

พื้นที่แนะนำ :

สับปะรดพันธุ์นี้ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขังแฉะ

พันธุ์
• ปัตตาเวีย มีเนื้อแน่น รสหวานปานกลางหรือหวานจัด ปลูกได้ทั่วไปเหมาะสำหรับส่งโรงงาน
• นางแล ใบมีขอบเรียบหรือมีหนามเล็กน้อย ผลรูปทรงกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อหวานจัด สีเหลืองทอง ตำบลนางแล อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกเหมาะสมที่สุด
• ภูเก็ต ตราดสีทอง และสวี ขอบใบมีหนามมาก ผลมีตาลึก เมื่อแก่จัดเปลือกสีส้ม และมีส่วนของกลีบดอกอยู่ที่เปลือก เนื้อหวานกรอบมีรูพรุน สีเหลืองเข้ม พันธุ์สวีจะมีผลสั้นกว่าพันธุ์ภูเก็ตและพันธุ์ตราดสีทอง จังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ภูเก็ต จังหวัดตราด เป็นแหล่งที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ตราดสีทอง และอำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์สวี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสับปะรด
• ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร
• ไม่มีน้ำท่วมขัง
• ดินร่วนหรือร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำดี ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 4.5 - 5.5
• อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ประมาณ 24 - 30 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ ประมาณ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตรต่อปี

การปลูก
ฤดูปลูกและการวางแผนการผลิต
เนื่องจากคุณภาพสับปะรดลดลงอย่างรวดเร็วหลังเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องวางแผนการผลิต เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของโรงงานและตลาด ตลอดปี
• ตกลงราคาและปริมาณกับผู้ซื้อไว้ล่วงหน้า
• ในพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ ให้ปลูกช่วงต้นฤดูฝน
• ในพื้นที่มีแหล่งน้ำ ให้ทยอยปลูกตลอดปี
• ช่วงฤดูแล้งควรปลูกด้วยจุก ช่วงฤดูฝนควรปลูกด้วยหน่อ เพื่อเป็นการกระจายการผลิต

การเตรียมดิน

• พื้นที่เคยปลูกสับปะรด ให้ไถสับใบและต้น ทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 เดือน แล้วไถกลบ
• ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7 - 10 วัน พรวน 1 - 2 ครั้ง ยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร แล้วทำแนวปลูกสับปะรด
• ถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ต้องทำร่องระบายน้ำรองแปลงปลูก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน
• วิเคราะห์ดินก่อนปลูก และปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละแหล่งปลูก โดยเฉพาะการจัดการอินทรียวัตถุในดิน

วิธีการปลูก

การปลูกด้วยหน่อ
• คัดหน่อให้มีขนาดเดียวกันสำหรับปลูกในแต่ละแปลง เพื่อสามารถเก็บเกี่ยวได้ พร้อมกัน
• ไม่ควรใช้หน่อพันธุ์ที่หักจากต้นแล้วเก็บไว้นานเกินไป
• สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 8 - 12 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อที่ใช้ปลูก

การปลูกด้วยจุก

• ปลูกด้วยจุกที่มีขนาดตั้งแต่ 180 กรัม
• สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 10 - 14 เดือน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาปลูก

การปลูกและระยะปลูก

• ชุบหน่อหรือจุกก่อนปลูก ด้วยสารป้องกันโรครากเน่าหรือต้นเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกช่วงกลางฤดูฝน ตามคำแนะนำ
• ปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 30 x 30 x (80-90) เซนติเมตร ปลูกได้ประมาณ 7,500 - 8,500 ตันต่อไร่ แต่ไม่ควรเกิน 12,000 ตันต่อไร่

การให้ปุ๋ย
• ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 และให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น ด้วยปุ๋ยเคมีสัดส่วน 2:1:3 หรือ 3:1:4 เช่น สูตร 12-6-15 หรือ 12-4-18 หรือ 15-5-20 หรือ 13-13-21 ให้ 2 ครั้ง ๆ ละ 10-15 กรัมต่อต้น ครั้งแรกหลังปลูก 1-3 เดือน ครั้งต่อมาห่างกัน 2-3 เดือน หากไม่ได้ให้ปุ๋ยรองพื้น จะให้ปุ๋ยทางกาบใบล่างของต้นก็ได้ แต่เพิ่มจำนวนเป็น 3 ครั้ง
 
• เมื่อสับปะรดมีใบสีเขียวซีดจาง เนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ให้พ่นปุ๋ยทางใบเสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 23-0-30 ผสมน้ำเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 75 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนบังคับดอก 30 วัน 5 วัน และหลังบังคับดอก 20 วัน

การให้น้ำ
• ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล
• ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโต สัปดาห์ละ 1-2 ลิตรต่อต้น
• หลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำ เพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมด
• ควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอก
• หยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15-30 วัน

การบังคับดอก
• ในแปลงเดียวกัน ควรบังคับดอกพร้อมกัน
• บังคับดอกหลังการให้ปุ๋ยทางกาบใบแล้ว 2 เดือน หรือหลังการพ่นปุ๋ยทางใบ 1 เดือน
• บังคับดอกเมื่อต้นสับปะรดมีน้ำหนักต้นปลูกประมาณ 2.5-2.8 กิโลกรัม และน้ำหนักต้นตอประมาณ 1.8-2.0 กิโลกรัม ด้วยสารผสมของเอทธิฟอน (39.5%) อัตรา 8 มิลลิลิตร กับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 300 กรัม และน้ำ 20 ลิตร อัตรา 60-75 มิลลิกรัมต่อต้น หรือใส่ถ่านแก๊ส อัตรา 1-2 กรัมต่อต้น ในขณะมีน้ำอยู่ในยอดทั้ง 2 วิธี บังคับ 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
• ทำการบังคับดอกในช่วงเย็นหรือกลางคืน หากมีฝนตกภายใน 2 ชั่วโมงหลังหยอดสารบังคับดอก ควรหยอดซ้ำภายใน 2-3 วัน

การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูสับปะรดที่สำคัญ และพบทั่วไปมีเพียงชนิดเดียว คือ
ด้วงเต่า ซึ่งตัวหนอนและตัวเต็มวัยของด้วงเต่าเป็นตัวห้ำ กัดกินเพลี้ยแป้ง

โรคของสับปะรดและการป้องกันกำจัด
โรครากเน่าหรือต้นเน่า
เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบยอดล้มพับและหลุดง่าย ระบาดรุนแรงในฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่มีสภาพเป็นด่างป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการใช้หน่อหรือจุกสับปะรดจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ
ส่วนยอดของสับปะรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสีเหลืองซีด ใบยอดล้มพลับและหลุดง่าย บริเวณฐานใบมีรอยเน่าซ้ำสีเหลืองอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เกิดอาการเน่าและมีกลิ่นเฉพาะตัว
ช่วงเวลาระบาด
ระบาดรุนแรงในฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่มีสภาพเป็นด่าง
การป้องกันกำจัด
• ปรับพื้นที่แปลงปลูกให้มีการระบายน้ำได้ดี
• ปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้ต่ำกว่า 5.5 โดยใช้กำมะถันผง
• หลีกเลี่ยงการใช้หน่อหรือจุกสับปะรดจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด
• จุ่มหน่อหรือจุกก่อนปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุก 2 เดือน ตามคำแนะนำ
• เก็บต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นต้นสับปะรดบริเวณใกล้เคียง ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ

โรคผลแกน
สาเหตุ เกิดจากปฏิกิริยาร่วมระหว่างเชื้อแบคทีเรีย กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
ลักษณะอาการเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในผลตั้งแต่ระยะดอกบาน และแสดงอาการเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ ผลสับปะรดที่เริ่มแก่ จะมีน้ำมากขึ้น บริเวณตาและเนื้อผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และแข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่นเหมือนเนื้อสับปะรดปกติ
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในระยะ 7-10 วัน ก่อนที่ผลสับปะรดจะเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด
• เพิ่มจำนวนต้นต่อไร่ให้มากขึ้น
• ให้โพแทสเซียมคลอไรด์ ตามคำแนะนำ

การใช้สารป้องกันกำจัดโรคของสับปะรด





โรค สารป้องกันกำจัดโรคพืช1/ อัตราการใช้/
น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว (วัน)
รากเน่าหรือต้นเน่า เมตาแลกซิล (25% ดับบลิวพี) 20-40 กรัม จุ่มหน่อหรือจุก ก่อนปลูก และพ่นทุก 2 เดือน เฉพาะต้นหรือบริเวณที่พบ การทำลาย 14
ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (80% ดับบลิวพี) 80-100 กรัม

ผลแกน
โพแทสเซียมคลอไรด์ 1 กิโลกรัม พ่นหลังการบังคับดอก ประมาณ 90-105 วัน -

1/ ในวงเล็บ คือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์ และสูตรของสารป้องกันกำจัดโรคพืช

แมลงศัตรูสับปะรดและการป้องกันกำจัด

เพลี้ยแป้ง
ลักษณะและการทำลาย
เพลี้ยแป้งมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ลำตัวยาวประมาณ 2.3 - 3.0 มิลลิเมตร ผนังลำตัวปกคลุมด้วยไขแป้งสีขาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากราก ต้น ใบ และผลสับปะรด
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงหลังการบังคับดอกแล้ว
การป้องกันกำจัด
• ในแหล่งที่เคยพบการทำลายของเพลี้ยแป้ง ให้ป้องกันกำจัดมด ซึ่งเป็นตัวแพร่กระจายเพลี้ยแป้ง ด้วยวิธีการทางเขตกรรม
วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ชนิดวัชพืช
วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
• ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้ารังนก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าดอกแดง และหญ้าบุ้ง เป็นต้น
• ประเภทใบกว้าง เช่น แมงลักป่า กระต่ายจาม ผักบุ้งยาง สะอึก ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักโขม สาบแร้งสาบกา และน้ำนมราชสีห์ เป็นต้น
• ประเภทกก เช่น กกทราย และกกหนวดแมว

วัชพืชข้ามปี
เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัวและไหล ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
• ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าขน หญ้าตีนติด หญ้าชันกาด และหญ้าขจรจบดอกเหลือง เป็นต้น
• ประเภทใบกว้าง เช่น สาบเสือ ผักปราบ และเถาตอเชือก
• ประเภทกก เช่น แห้วหมู และกกดอกตุ้ม

การป้องกันกำจัด

• ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1-2 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชออกจากแปลง
• หลังปลูก 1-2 เดือน ควรกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานก่อนที่วัชพืชจะออกดอก โดยใช้จอบดายระหว่างแถว ถอนด้วยมือระหว่างต้น ต้องระวังไม่ให้รากและต้นของสับปะรดกระทบกระเทือน
• ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำ
• หลีกเลี่ยงการพ่นสารกำจัดวัชพืชไปที่ยอดสับปะรด และ ห้ามพ่นสารกำจัดวัชพืชทุกชนิดหลังการบังคับดอก

การใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่สับปะรด





วัชพืช สารกำจัดวัชพืช1/ อัตราการใช้/ไร่ วิธีการใช้ / ข้อควรระวัง
วัชพืชฤดูเดียว พาราควอท
(27.6% เอสแอล)
300-600 มิลลิลิตร พ่นก่อนการเตรียมดิน หรือเมื่อมีวัชพืชขึ้นหนาแน่น ก่อนปลูกสับปะรด 5-7 วัน
โบรมาซิล
(80% ดับบลิวพี)
500-600 กรัม พ่นหลังปลูกก่อนวัชพืชงอก หรือวัชพืชมี 4-6 ใบ เมื่อดินมีความชื้น
ไดยูรอน
(80% ดับบลิวพี)
500-600 กรัม
วัชพืชฤดูเดียว
วัชพืชข้ามปี
โบรมาซิล
(80% ดับบลิวพี) +
อามิทรีน (80% ดับบลิวพี)
สัดส่วน 1:1
400-600 กรัม พ่นหลังปลูกตั้งแต่วัชพืชงอก จนถึงออกดอก เมื่อดินมีความชื้น
วัชพืชข้ามปี ไกลโฟเสท
(48% เอสแอล)
600-800 มิลลิลิตร เมื่อมีวัชพืชขึ้นหนาแน่น พ่นก่อนการเตรียมดินหรือก่อน ปลูกสับปะรด
10-15 วัน

1/ ในวงเล็บคือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์ และสูตรของสารกำจัดวัชพืช

การเก็บเกี่ยว
สับปะรดสำหรับโรงงาน
• เก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่มีความสุกแก่ตามมาตรฐาน
• ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งให้สับปะรดสุกก่อนกำหนด

สับปะรดสำหรับบริโภคสด

• เก็บเกี่ยวเมื่อตาสับปะรดเริ่มเปิด 2-3 ตา หรือผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

วิธีการเก็บเกี่ยว

• สับปะรดสำหรับส่งโรงงานให้ใช้มือหักผลออกจากต้นโดยไม่ต้องเหลือก้าน แล้วหักจุกออก
• สับปะรดสำหรับบริโภค ใช้มีดตัดให้เหลือก้านยาวติดผลประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ต้องหักจุกออก

การจัดการต้นตอ

สับปะรดสามารถไว้ตอได้ 1-2 ครั้ง เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้
• ใช้มีดตัดต้นสับปะรดระดับเหนือดิน 20-30 เซนติเมตร และตัดใบให้เหลือประมาณ 10 เซนติเมตร
• ใช้ต้นและใบสับปะรดคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการงอกของวัชพืช
• ให้ปุ๋ยและน้ำตามคำแนะนำ
• หักหน่ออากาศ หรือหน่อที่เกิดจากต้นไปใช้ขยายพันธุ์ เหลือเฉพาะหน่อดินไว้เป็นต้นตอ

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
• คัดทิ้งผลแกน ถูกแดดเผา หรือจุกผิดปกติ
• คัดขนาดของผลตามมาตรฐานของโรงงานหรือผู้รับซื้อ
• ควรส่งโรงงานหรือผู้รับซื้อภายใน 1-2 วัน จัดเรียงผลสับปะรดให้ด้านจุกลงข้างล่าง เพื่อให้รับน้ำหนักและป้องกันผลช้ำ



http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=39





14. การขยายหัวสับปะรด






ต้นใหญ่หัวต้องใหญ่
เป็นนิยามของชาวไร่สับปะรด แท้จริงแล้วไม่แน่ต้นใหญ่หัวเล็กก็มี ต้นเล็กแล้วหัวใหญ่ก็มี การทีสับปะรดจะหัวใหญ่ได้นั้น ปัจจัยสำคัญ คือ "น้ำ" สับปะรดเป็นพืชทนแล้งแต่ก็ต้องการน้ำ เพราะในหัวสับปะรดนั้นมีแต่น้ำเป็นส่วนมาก รองลงมา คือ ธาตุอาหาร และแสงแดด และต้องไม่มีสารเคมีบางอย่างไปกระทบกระเทือนการเจริญเติบโตโดยเฉพาะสารควบคุมการเจริญเติบโต เช่น อีทีฟอน เป็นต้น


การทำสับปะรดหัวใหญ่ ต้องเริ่มจากช่วงบังคับออกดอกเลย ต้องเลือกบังคับต้นที่พอดีคือ ไม่เล็กเกินไป ควรมีขนาดต้น 2 กิโลกรัมต่อต้น หรือมีอายุ 8-12 เดือน คือ ต้นต้องได้ขนาดว่างั้น ถึงแม้อายุครบ 12 เดือนแต่ต้นไม่ถึง 2 กิโลกรัม ก็ไม่ควรไปบังคับมัน ถ้าอายุครบ 12 เดือน ต้นไม่ได้ขนาดแสดงว่าเจ้าของไร่ดูแลไม่ดี หรือไม่ได้ดูแลปล่อยให้เทวดาเลี้ยง เทวดาก็ไม่มีความรู้แถมไม่ขยัน สับปะรดเลยต้นไม่โต อ้าเลิกทำสับปะรดเสียเถอะ


ประการต่อมาสะโพกต้องใหญ่ (หมายถึงสะโพกสับปะรดช่วงโคนต้นนะ) การทำสับปะรดให้สะโพกใหญ่ช่วงทำต้นต้องให้ปุ๋ย จำพวกฟอสฟอรัส.มากหน่อย เช่น 16-20-0 เป็นต้น หรืออาจไม่ทันใจก็ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำ เช่น สูตร 6-20-10, 12-10-8 ก็ได้นะ ไม่ใช้เอะอะก็ 21-0-0 ใส่อยู่สูตรเดียว

เมื่อต้นพร้อมเวลาหยอด ก็ใส่โบรอน.ไปด้วย ซึ่งมีผลเวลาออกดอก โบรอนจะช่วยดอกใหญ่และสดดอกไม่แห้ง ถ้าดอกแห้งตาก็จะหาย เมื่อตาหายจำนวนตาน้อย หัวก็น้อยตามไปด้วย


เมื่อเห็นดอกแดงๆแล้วก็บำรุงเสียหน่อย ด้วยอาหารเสริมจำพวก แคลเซียม โบรอน. ปุ๋ยไนโตรเจน. เพราะสับปะรดช่วงเล็กต้องการธาตุอาหารพวกไนโตรเจน.มากหน่อย แต่ต้องไม่มากเกิน ควรมีโปแตสด้วย เช่น 12-10-8, 0-0-60 สัก 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร ก็พอ

ไม่แนะนำ 21-0-0 หรือ 46-0-0 หรือ 13-13-21 หรือ 15-15-15 เพราะปุ๋ยพวกนี้มักมีปัญหาสารไนเตรดตกค้างในหัว อ้อ ถ้าจะให้ดีต้องแถมสาหร่ายผสมฉีดพ่นด้วยจะดีมากๆ


หมายเหตุ : ถ้าช่วงนี้เห็นดอกแดงตอนแล้งแล้ว ก็มีเคร็ดนิดหนึ่ง คือ ต้องให้น้ำด้วย ช่วงนี้ต้องการน้ำมากหน่อย ใช้เครื่องพ่นน้ำก็ได้ 5 วันสักครั้งจะดีมากๆ


เมื่อดอกม่วงโรยหมดแล้ว อาจแคะจุกออกนิดหนึ่งแต่ไม่ควรเดาะจุก ควรให้หัวมีจุกติดอยู่บ้างเพื่อระบายสารไนเตรดว่างั้นเหอะ

ช่วงนี้อัดสารขยายหัวได้เลย เช่น จิบเบอลิน. โพลิฟินอล. เป็นต้น ใส่ปุ๋ยน้ำ เช่น 6-6-18, 3-0-32 หรือ ปุ๋ยเกร็ด 0-0-60 หรือ 5-10-40 เป็นต้น

ที่สำคัญเมื่อขยายหัวต้องขยายเปลือกด้วยไม่งั้นหัวแตกไม่รู้ด้วย ถ้าไม่แตกก็หัวลายไม่สวย ถ้าจะทำสับปะรดส่งโรงงาน อัดแคลเซียม 40 ไปเลยเปลือกหนา ได้น้ำหนักด้วย แถมไม่ต้องคุมหัวด้วย แต่ถ้าส่งแม่ค้าขายสดไม่ดีแน่ เปลี่ยนมาใช้แคลเซียม-โบรอน. แทนหรือ แคลเซียม 14% จะดีกว่า เพราะเปลือกไม่หนาเกินไป ควรฉีดพ่นสัก 2-3 ครั้งก็พอ

อย่าลืมพวกอาหารเสริมด้วยละ เขามีทั้งแบบผงจากอังกฤษ แบบน้ำในไทยด้วย ที่สำคัญ สับปะรดต้องใช้แมกนีเซียม.มากๆหน่อย ใบจะได้หนาไม่ค่อยเหี่ยว อ้อ ที่สำคัญ ถ้าทำส่งแม่ค้าขายสดอย่าใช้ 0-0-60 นะ เพราะสูตรนี้ใส่สับปะรดแล้วเปรี้ยวสะใจเลยละจะบอกให้

แค่นี้ก็หัวใหญ่แล้วเห็นไหมทำไม่ยาก

(ก่อนตัดขาย สัก 20 วัน ถ้ากลัวเรื่องสารในเตรดแล้วก็ ฉีดสารพวกกำมะถัน 12.8% แมงกานิส 50.38% สังกะสี 3.84% ช่วยได้นะ เพราะสารพวกนี้ช่วยยับยั้ง การทำงานของสารไนโตรเจน.ต้นเหตุของสารไนเตรท.เขาละ)



http://charitphomkum-amin999.blogspot.com/2011/09/blog-post_11.html









15. แนะเก็บสับปะรดให้ถูกเวลา


เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประโยชน์ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำให้เกษตรกรเก็บสับปะรดในระยะที่สุกพอดีเท่านั้นส่งโรงงาน อย่าเก็บสับปะรดดิบส่งโรงงาน รวมทั้งควรปฏิบัติตามขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ถูกวิธี เพื่อลดปริมาณสารไนเตรทในผลสับปะรด โดยการปฏิบัติดังนี้ คือ

- เกษตรกรไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังการบังคับดอกแล้ว
- ไม่ทำลายจุกสับปะรดก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต และ
- ไม่เก็บผลสับปะรดดิบจำหน่าย เพราะนอกจากจะทำให้ตรวจพบสารไนเตรทมากแล้ว สับปะรดดิบจะมีคุณภาพต่ำไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ทำให้โรงงานสับปะรดกระป๋องไม่ซื้อ
- รวมทั้งไม่ควรใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งให้สับปะรดสุกก่อนกำหนด

สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรเก็บสับปะรดสุกไม่น้อยกว่า 25% หรือสุกตั้งแต่ 2-3 ตาขึ้นไปจำหน่าย ส่วนในแหล่งที่ตรวจพบสารไนเตรทตกค้างในผลสับปะรดในปริมาณที่สูง ควรเก็บตัวอย่างใบสับปะรดช่วงระยะที่บังคับดอก เพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุโมลิบดินัม หากความเข้มข้นของธาตุชนิดนี้ต่ำกว่า 1 ส่วนในล้านส่วนให้ใช้ธาตุโมลิบดินัม อัตรา 5 มิลลิกรัมต่อต้น โดยฉีดพ่นทางใบหลังการบังคับดอกในระยะดอกแดงจะช่วยแก้ปัญหาในผลสับปะรดได้.




ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=42357

http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=23






15. ธาตุอาหารที่จำเป็นและการใช้ปุ๋ยเคมีในสับปะรด

สับปะรดเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง ถ้าขาดไนโตรเจนจะเริ่มแสดงอาการที่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวจาง ๆ แต่ใบแก่ยังคงมีสีเขียวเข้ม ต่อมาใบที่งอกใหม่จะมีขอบสีแดง แต่บัวใบสีเหลืองซีด ถึงช่วงนี้แล้วต้องรีบแก้ไขโดยให้ปุ๋ยทันที มิฉะนั้นจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก หน่อและตะเกียงจะไม่เกิดเลย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจน ที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงนัก

ถ้าขาดโพแทสเซียม
ปลายใบจะไหม้ จะมีจุดไหม้ที่ใบแก่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเหี่ยวแห้งไป ผลมีขนาดเล็กสุกช้า และมีปริมาณกรดในเนื้อสับปะรดน้อยมาก ธาตุโพแทสเซียมนี้ได้จากปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟตเป็นส่วนใหญ่
ความต้องการธาตุฟอสฟอรัสในสับปะรด นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลักทั้งสอง เพราะส่วนใหญ่ในดินมีฟอสฟอรัสเพียงพออยู่แล้ว แต่ถ้าในดินขาดธาตุฟอสฟอรัสแล้วจะทำให้ต้นไม่แข็งแรง หน่อและตะเกียบจะลดจำนวนลงมาก

อาการขาดธาตุเหล็ก
เริ่มจากใบอ่อนมีสีซีดคล้ายขาดไนโตรเจนและมีรอยแต้มสีแดงขึ้นทั่วไป มีสีน้ำตาลที่ปลายรากและไม่มีรากแขนงให้เห็น ผลจะแก่เร็วขึ้น แต่มีกรดในเนื้อต่ำ การแก้ไขอาการขาดธาตุเหล็กนั้นโดยการใช้เหล็กซัลเฟตฉีดพ่นในอัตรา 1-3 ในบริเวณที่มีแมงกานีสสูง หรือในดินที่มีระดับความเป็นกรด-ด่าง ที่สูงกว่า 5.8 จะพบอาการขาดธาตุเหล็กอยู่เสมอในดินทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำจะพบอาการขาดธาตุทองแดง และสังกะสีอาการปรากฏคือที่ยอดของใบอ่อน จะบิด เบี้ยวใบจะแคบ และมีสีเหลืองอ่อนความ ทนทานของผล ต่อแสงแดดจะลดลง ทำให้ผิวเปลือกไหม้เกรียมเป็นหย่อม ๆ แก้ไขโดยใช้สังกะสีซัลเฟตและทองแดงซัลเฟตในรูปสารละลายฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นและใบ


ปุ๋ยที่จะใส่ให้สับปะรดนับเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของดิน การใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแคลเซียมจะมีส่วนเพิ่มความเป็นด่าง ในขณะเดียวกันการใช้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูปซัลเฟตจะเพิ่มความเป็นกรดในดิน การให้ปุ๋ยสับปะรดนั้นผู้ปลูกแต่ละรายก็ใช้ปุ๋ยแตกต่างกันไป เนื่องจากสภาพดิน และปัจจัยอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ย 3-4 ครั้งต่อรุ่น ปุ๋ยที่ใช้มากคือ ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยผสมสูตรต่าง ๆ เช่น 12-4-18 + ธาตุอาหารเสริม




ปุ๋ยสำหรับสับปะรด กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำการใส่ปุ๋ยดังนี้ คือ
สับปะรดรุ่นแรก

ครั้งที่ 1 ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก 1 ตันผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-3-0 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวหลังไถแปรตามแนวร่องปลูกเพื่อปรับปรุงดินสำหรับกระตุ้นการออกราก

ครั้งที่ 2 หลังปลูก 1-2 เดือน หรือระยะเริ่มออกรากใส่ปุ๋ยสูตรที่มีสัดส่วนไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น ใส่ดินโคนต้นฝังหรือกลบปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกในขณะดินมีความชื้นเพียงพอ

ครั้งที่ 3 หลังปลูก 4-6 เดือน ใส่ปุ๋ยครบสูตรที่มีสัดส่วนโพแทสเซียมสูง 3:1:4 เช่นสูตร 12-4-18 + ธาตุอาหารเสริม, 15-5-20, 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง ซึ่งไนโตรเจนไม่ควรเกิน 15% ป้องกันสารไนเตรทตกค้างอัตรา 10 กรัมต่อต้น ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย

ครั้งที่ 4 ก่อนบังคับผล 1-2 เดือน ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ได้แก่ แคลเซียม โบรอน โดยฉีดพ่นเข้าทางใบ

ครั้งที่ 5 หลังบังคับผลประมาณ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-6) หรือโพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50) อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย



สับปะรดที่ไว้หน่อ (หลังเก็บผลรุ่นแรก)
- หลังจากเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 บริเวณกาบใบล่างอัตรา 10 กรัมต่อต้น เพื่อบำรุงต้นตอและเร่งหน่อ

- ระยะดูแลรักษาต้นตอจนถึงระยะบังคับผล และระยะเก็บเกี่ยวใส่สูตรและอัตราเดียวกับต้นรุ่นแรก (ครั้งที่ 3-5) ถ้ามีฝนให้ใส่ที่กาบใบหน้าแล้งอาจใช้วิธีฉีดพ่นทางใบ


http://web.ku.ac.th/agri/pineapple/pine13.htm




สับปะรดภูเก็ต หวาน อร่อย อัตลักษณ์สำคัญ ของ จังหวัดภูเก็ต

เสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน

เทคโนฯ เกษตร
วันที่ 05 มิถุนายน 2556
อ่าน 34 ครั้ง
พิมพ์


สับปะรดภูเก็ต เป็นสับปะรดที่มีแหล่งที่มาจากจังหวัดภูเก็ต และหากจะดูจากประวัติพบว่า ได้นำเข้ามาจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย


คุณชาลี สิตบุศย์
หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต พูดให้ฟังว่า เกษตรกรจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่ปลูกสับปะรดแซมในสวนยาง โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอยู่ราว 2,500 ไร่ จำนวนเกษตรกร 50 ราย ผลผลิต 11,962 ตัน คิดเป็นมูลค่า 128 ล้านบาท ต่อปี


นอกจากนี้ สับปะรดพันธุ์นี้ยังนับว่าเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต และทางจังหวัดได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไว้เมื่อปี 2552


คุณชาลี ได้พูดให้ฟังถึงสับปะรดพันธุ์นี้ว่า สับปะรดภูเก็ต เป็นสับปะรดที่มีกลิ่นหอม กรอบ มีลักษณะเฉพาะตัว จัดเป็นของดีประจำจังหวัด และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ


สับปะรดภูเก็ต เป็นพันธุ์เดียวกับสับปะรดภูแลที่ปลูกทางภาคเหนือ และสับปะรดตราดสีทอง ทางภาคตะวันออก แต่เมื่อนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศต่างกันไป จึงทำให้ได้ผลผลิตออกมาต่างกัน

การปลูกสับปะรดแซมในสวนยางพารา ส่วนใหญ่เกษตรกรเลือกปลูกในช่วงยางพาราอายุ 1-3 ปี ซึ่งยังกรีดยางไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายสับปะรดในช่วงนี้ไปก่อน


คุณจิรายุ กี่ประเสริฐพงศ์
รองประธานผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ต และเจ้าของสวนสับปะรด ที่อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เล่าให้ฟังว่า สับปะรดภูเก็ต ต้องการพื้นที่ปลูกที่มีแสงไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์


คุณจิรายุ มีสวนยาง 60 ไร่ และมีสับปะรดปลูกแซม ราว 200,000 ต้น

ระหว่างที่ยางพารายังไม่ให้ผลผลิต จึงต้องพึ่งพารายได้จากสับปะรดไปก่อน  ซึ่งเจ้าของสวนว่า รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย อยู่ที่ประมาณ 10,000-20,000 บาท ต่อไร่


“การปลูกสับปะรดแซมในสวนยาง เป็นการปลูกในช่วงที่ยังกรีดยางพาราไม่ได้ ซึ่งในช่วง 3 ปีก่อนที่จะกรีดยาง  เราสามารถปลูกสับปะรดได้ 2 รุ่น” คุณจิรายุ ว่าอย่างนั้น


ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ปริมาณผลผลิตต่อไร่ อยู่ที่ 3,300 ผล และสามารถปลูกสับปะรดได้ราว 3,500-4,000 ต้น ต่อไร่

สับปะรดที่ตัดหัวแล้ว ต้นยังนำไปขายให้คนเลี้ยงช้าง นำไปให้ช้างกิน ขายกันแบบเหมาสวนเลย ไร่หนึ่งอยู่ที่ 1,000-7,000 บาท ขึ้นกับปริมาณผลผลิตมากน้อยในช่วงเวลาที่ต่างกัน


เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ต จะรวมผลผลิตมาขายกันที่ร้านคุณแม่จู้ ซึ่งขายของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดภูเก็ต


ใครที่ไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ก็อย่าลืมมองหาสับปะรดอร่อยๆ กิน อีกทั้งยังได้ชื่อว่า มาถึงภูเก็ตแล้วอย่างสมบูรณ์


สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต กรมส่งเสริมการเกษตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โทร. (076) 212-188






หน้าก่อน หน้าก่อน (3/5) - หน้าถัดไป (5/5) หน้าถัดไป


Content ©