-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 626 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 3/9

....p-3



9. ทำอย่างไรให้มันสำปะหลังปลอดเพลี้ยแป้ง

มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งของไทย จนไทยเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากไนจีเรียและบราซิล และไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุด แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นพืชที่เกษตรกรต้องฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคไม่น้อย ไม่ว่าในด้านผลผลิต ราคา และการระบาดของศัตรูที่สำคัญ เช่น เพลี้ยแป้ง เป็นต้น เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก เพราะเห็นว่าเป็นพืชที่มีความอดทนต่อความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี ปลูกง่าย สามารถเติบโตได้ในแทบทุกพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง แม้ในดินที่มีความเป็นกรดสูง ก็สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้น มันสำปะหลังจึงสามารถเจริญเติบโตในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ ที่ 5.0-8.0 ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการ ตั้งแต่ 1,200-1,500 มิลลิลิตร ต่อปี และอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส


นักวิจัยการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ คุณสรรเสริญ สุนทรทยาภิรมย์ ได้กล่าวถึงการจัดการอย่างถูกต้อง เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังว่า มันสำปะหลังจะได้ผลผลิตมากหรือน้อยเพียงใด อยู่ที่การจัดการอย่างถูกวิธี บนพื้นฐานความเป็นจริง มิได้อยู่ที่การโฆษณาที่มีหลากหลายวิธีการ บนความคาดหวังว่าจะเนรมิตผลผลิตให้ได้ 20, 30 หรือ 40 ตัน ต่อไร่ ซึ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้อยู่บนพื้นฐาน และหลักความเป็นจริงของพฤกษศาสตร์วิทยามันสำปะหลังเลยแม้แต่น้อย เป็นการขายวิธีการ ขายผลิตภัณฑ์ ต้นพันธุ์ที่อ้างว่าพัฒนาเองในราคาสูงเกินความจริง หรือผลประโยชน์แฝงอื่นๆ ซึ่งเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรเสียมากกว่า การเกษตรที่ถูกวิธี ต้องสามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์การเกษตรที่เห็นได้ด้วยตา และสัมผัสได้ด้วยมือ มิใช่ไสยศาสตร์การเกษตรที่เป็นเพียงแต่ความฝันที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เกษตรกรจึงควรตระหนักและเน้นพื้นฐานความเป็นจริงของการเกษตรเท่านั้น



ดังนั้น สิ่งสำคัญที่เกษตรกรพึงตระหนักคือการจัดการให้ถูกวิธี เกษตรกรส่วนใหญ่มักเห็นว่าเป็นพืชปลูกง่ายจึงละเลยในการจัดการ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การจัดการเตรียมต้นพันธุ์ การเตรียมดินและการใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมทั้งการรู้จักป้องกันโรคและแมลง เป็นต้น การปลูกมันสำปะหลังในอดีตมักไม่พบปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนทานและปรับตัวได้ดี แต่จากการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เริ่มประสบปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช โรคและแมลง โรคของมันสำปะหลังที่พบ เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดไหม้ โรคใบจุดขาว ในบรรดาโรคเหล่านี้ โรคใบจุดสีน้ำตาลรุนแรงที่สุด กรณีนี้สามารถป้องกันได้ โดยเกษตรกรไม่ปลูกมันสำปะหลังให้มีปริมาณต้นมากเกินไป (ปลูกถี่) จนทำให้หนาแน่น การระบายอากาศในพื้นที่ต่ำ ทำให้เกิดโรคดังกล่าว ส่วนแมลง เช่น ไรแดง เพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว เป็นแมลงปากดูดที่ทำลายมันสำปะหลัง จะระบาดในระยะฝนทิ้งช่วงนานเกินไป


คุณสุพจน์ แสงปทุม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ได้กล่าวถึงวิกฤติการระบาดของเพลี้ยแป้งในขณะนี้ว่า มักระบาดในมันสำปะหลังที่ยังไม่โตซึ่งจะมีผลกระทบต่อการสร้างหัว เพราะพฤติกรรมของเพลี้ยแป้งคือ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ต้น ใบ ยอด และตาของมันสำปะหลัง มีปากแบบเจาะดูด ขับถ่ายมูลหวานออกมาทำให้เกิดราดำ ต่อมาจะเกิดอาการใบร่วง ข้อถี่ ยอดแห้งตาย หรือม้วนงอเป็นก้อนกลม (ลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ) สาเหตุการระบาดของเพลี้ยแป้งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันมีส่วนทำให้เกิดการ ระบาดของเพลี้ยแป้ง แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นที่การระบาดขยายวงกว้างขึ้น เกิดจากการขยายพื้นที่ปลูกและมีการใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่มีไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเพลี้ยแป้งติดไปกับท่อนพันธุ์ จากนั้นหลังปลูกจะมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งกระจายไปสู่ต้นมันสำปะหลังอื่น และแปลงข้างเคียง  การพบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2551 ซึ่งพบจำนวน 2 ชนิด

ชนิด แรก คือเพลี้ยแป้งลาย ซึ่งพบระบาดทั่วไปแต่ยังไม่เคยสร้างปัญหารุนแรงต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ส่วนเพลี้ยแป้ง

อีกชนิดหนึ่งไม่เคยมีรายงานพบการระบาดในมันสำปะหลังมาก่อน แต่พบการทำลายเสียหายรุนแรงกว่าชนิดแรก

เคยมีรายงานว่าการระบาดของเพลี้ยแป้งในประเทศแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้ทำให้ ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง 20-80 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของประเทศไทยพบว่า ในหลายพื้นที่ที่พบการระบาดขณะต้นยังเล็กมีความรุนแรงจนต้องไถทิ้งและปลูก ใหม่แต่ก็ยังระบาดซ้ำอีก เนื่องจากยังมีเพลี้ยแป้งอยู่บนเศษซากต้น และมีการระบาดที่แปลงข้างเคียง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ท่อนพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ต้องใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 500 ต้น รวมทั้งเกษตรกรต้องพ่นสารกำจัดแมลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นรวมถึงการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้แมลงที่มีประโยชน์พวกตัวห้ำตัวเบียนที่จะมาทำลายเพลี้ยตายไปหมดด้วย ดังนั้น เกษตรกรจึงควรรู้จักวิธีป้องกันและกำจัดที่ถูกต้อง





10. การทำให้มันสำปะหลังปลอดเพลี้ยแป้งให้ได้ผล
ต้องใช้วิธีการผสมผสาน


1. วิธีเขตกรรมและวิธีกล
.....ซึ่งมีอยู่อย่างน้อย 4 วิธี ได้แก่

1.1 ควรมีการไถและพรวนดินหลายๆ ครั้ง และตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเพลี้ยแป้ง

1.2 ควรปลูกต้นฤดูฝนเพื่อให้มันสำปะหลังแข็งแรง ทนทานต่อการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยหลีกเลี่ยงการปลูกในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม เพราะเป็นช่วงที่มันสำปะหลังยังเล็ก และกระทบแล้ง (ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม) ช่วงนี้เพลี้ยแป้ง ไรแดง แมลงหวี่ขาวระบาดมีความต้านทานต่ำ และกระทบแล้งพอดี  ระยะเวลาของ การปลูกที่เหมาะสมคือ กุมภาพันธ์-มีนาคม (น้ำหยด) หรือต้นฝน (เมษายน-พฤษภาคม) เพราะเป็นช่วงเวลาที่มันเล็กจะอยู่ในระหว่างฤดูฝน ทำให้เจริญเติบโตได้เร็วกว่า หรือการปลูกปลายฝน (มิถุนายน-กรกฎาคม) ซึ่งจะได้รับน้ำฝนเดือนสิงหาคมและกันยายน


1.3 คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเพลี้ยแป้ง และควรใช้พันธุ์ที่ทางราชการแนะนำ และหลีกเลี่ยงการนำต้นพันธุ์จากแหล่งระบาดเข้ามาปลูกในพื้นที่ ก่อนปลูกทุกครั้งต้องแช่ท่อนพันธุ์ในยาฆ่าเชื้อและไข่ของเพลี้ยแป้งเสมอ หรือมีการแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่อาจติดมากับท่อนพันธุ์


1.4 ถอนต้นหรือตัดส่วนของต้นมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งจำนวนมากออกจากแปลงแล้วเผา หรือทำลาย



2. การใช้ชีววิธี
......ซึ่งมีอยู่อย่างน้อย 2 วิธี ได้แก่

2.1 ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย ร่วมกับสารจับใบไคดินฉีดพ่น ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนี้

เด็ดยอดมันสำปะหลังที่มีกลุ่มเพลี้ยแป้งอาศัยออก ใส่ถุงพลาสติคสีดำ ตากแดดไว้จนกว่าเพลี้ยแป้งจะตาย  ฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียในเวลาเย็น อุณหภูมิต้องไม่เกิน 27 องศาเซลเซียส ความชื้นต้องไม่ต่ำกว่า 50% เชื้อราจะเข้าทำลายเพลี้ยแป้ง ส่วนสารจับใบไคดินที่มีองค์ประกอบของไคโตซานจะทำหน้าที่กระตุ้นการแตกยอด ใหม่ และกระตุ้นให้พืชสร้างเอ็นไซม์ไคดินเนส (พิษ) เพื่อป้องกันแมลงปากดูดทุกชนิดที่มีองค์ประกอบของเปลือกหุ้มเป็นไคดินทำลาย ฉีดพ่นซ้ำหลังการพ่นครั้งแรก 5-7 วัน


2.2 ใช้แมลงศัตรูเพลี้ยแป้งควบคุม เนื่องจากเพลี้ยแป้งมีศัตรูธรรมชาติทั้งแมลงเบียนและแมลงห้ำคอยควบคุมปริมาณ เพลี้ยแป้งให้อยู่ในระดับสมดุลอยู่แล้วในสภาพปกติ ได้แก่ ด้วงเต่า และแมลงช้างปีกใส


2.3 ทำไร่มันสำปะหลังด้วยระบบชีวภาพ หมักดินให้ดีมีภูมิต้านทานโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล (ปุ๋ยปลาร้า) เพื่อดึงความสมดุลทางธรรมชาติให้กลับคืนมา นอกจากจะให้ผลผลิตสูงสุดจากการเพิ่มศักยภาพของดินให้สมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบแล้วยังไม่มีโรค แมลงมารบกวน เป็นการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุอีกทางหนึ่ง


คุณสุพจน์ กล่าวตอนท้ายว่า เกษตรกรที่เริ่มปลูกมันสำปะหลังในระยะระบาดของเพลี้ย แต่ได้ป้องกันกำจัดอย่างถูกต้อง และต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดีก็อย่าประมาท เกษตรกรยังจำเป็นต้องระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้เพลี้ยแป้งระบาดซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดหรือบริเวณใกล้เคียง ยังมีต้นมันสำปะหลังอายุรอเก็บเกี่ยวเหลืออยู่ ซึ่งมักมีเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ตามลำต้น และบางพื้นที่ฝนทิ้งช่วง ภาวะเช่นนี้อาจทำให้มีการระบาดของเพลี้ยแป้งซ้ำขึ้นอีกได้ อันจะส่งผลต่อเนื่องให้ผลผลิตของปี 2553 ลดลงจากที่ประมาณการไว้ ดังนั้น จึงขอเน้นเกษตรกรให้เอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการระบาด ตรวจดูพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบการระบาดของเพลี้ยแป้งหรือโรค และแมลงอื่นๆ ควรรีบปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอันดับแรก เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล หรือศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ใกล้ที่สุด เพื่อป้องกันการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย อันจะส่งผลกับตัวเกษตรกรเองและสิ่งแวดล้อม เพราะโรคและแมลงแต่ละชนิดใช้สารเคมีต่างกัน และถ้าเป็นไปได้ควรพิจารณาการป้องกัน หรือกำจัดทางชีววิธีเป็นอันดับแรก เพื่อความปลอดภัย ประหยัด และหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น สำหรับท่านที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเตรียมต้นพันธุ์ การเตรียมดินและการใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมทั้งการรู้จักป้องกันโรคและแมลงโดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล (ปุ๋ยปลาร้า)



ข่าวโดย
http://info.matichon.co.th/techno










11. เกษตรยุคใหม่ใช้ปุ๋ยไร้พิษผลิตมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เกษตรกรปลูกได้ปีละ 20 ล้านตัน ครองแชมป์ส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลกและผลิตมันได้เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากไนจีเรียและบราซิล

นางสวน  แผนสมบูรณ์ อายุ 40 ปี เกษตรกรเจ้าของไร่มันสำปะหลัง 400 ไร่ ใน ต.ห้วยอุ่น  อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  เล่าว่า ปลูกมันสำปะหลังมานาน 7 ปี โดยใช้ปุ๋ยเคมีในช่วง 4 ปีแรก  แต่ 3 ปีหลังหันมาใช้ขี้หมูแทน โดยซื้อมา 20 กก. กก.ละ 3 บาท มีค่าใช้จ่าย 60 บาทเท่านั้น โดยนำขี้หมูมาแช่น้ำ 24 ชม. แล้วแยกกากออก เอาน้ำมาผสมน้ำเปล่าเพิ่มได้ 2 พันลิตร ฉีดพ่นได้ 20 ไร่ จากเดิมที่ได้ผลผลิตไร่ละ 3-4 ตัน ก็เพิ่มมาเป็นไร่ละ 15 ตัน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและในแต่ละรอบฤดูกาลปลูกจะเน้นการให้น้ำโดยวิธีน้ำหยดเดือนละ 1-2 ครั้ง


นางสวนกล่าวว่า  ปีที่แล้วผลิตมันสำปะหลังได้ 1 พันตันต่อ 400 ไร่ ราคาขายอยู่ที่ 1,700  บาทต่อตัน รวมมูลค่าเกือบ 2 ล้านบาท โดยที่ไร่จะปลูกแบบหมุนเวียนทำให้ได้ผลผลิตทั้งปี แต่ปัญหาคือมีเพลี้ยลงทำให้ยังจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดอยู่บ้าง

    
นางสวนเปิดเผยถึงขั้นตอนการปลูกว่า แต่เดิมใช้มีดสับท่อนพันธุ์ แต่ปัจจุบันใช้เครื่องหั่นแทนทำให้ประหยัดแรงคน จากนั้นนำท่อนพันธุ์มาแช่น้ำยาเร่งราก นำไปปลูกห่างกันต้นละ 1 เมตร จากเดิม  50 ซม. ทำให้ปัจจุบันใช้ท่อนพันธุ์ 1,600 ท่อนต่อไร่ ซึ่งก็ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะหัวมันต้นหนึ่งได้น้ำหนักถึง 25 กก.

    
ทั้งนี้ ขั้นตอนการปลูกที่สำคัญคือ การเตรียมดิน การชักร่อง และดึงสายน้ำหยดในช่วงเดือนแรก  10 วันหยด 1 ครั้ง ประมาณครึ่งวัน และต้องถอนหญ้าทิ้ง หลังจากเดือนที่ 2-3 จะให้น้ำเดือนละครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้นโดยดูที่ใบ ปุ๋ยขี้หมูก็ฉีดพ่นทางใบ 15 วันครั้งหนึ่ง ถ้าไม่มีเวลา 2  เดือนครั้งก็ได้ พอปลูกครบ 10 เดือนก็ขุดได้ โดยมันที่ปลูกจะเป็นพันธุ์ห้วยบง 60 เพราะน้ำหนักดี ได้ผลผลิต 13 ตัน ขณะที่พันธุ์ระยอง 5 ได้ผลผลิตไร่ละ 10 ตัน

    
นายเชน  ใจซื่อ  กก.ผจก.หจก.เชน  เฟอร์ติไลเชอร์  ผู้เชี่ยวชาญการผลิตปุ๋ยอินทรีย์รายใหญ่ของ  อ.สองพี่น้อง  จ.สุพรรณบุรี  บอกว่า  มันสำปะหลังเป็นพืชมหัศจรรย์  เพราะรากเป็นที่เก็บอาหารสำคัญ   เมื่อโครงสร้างดินร่วนซุย   มีการถ่ายเทได้ดี  รากก็เจริญเติบโตดี   ถ้าการปรับปรุงดินไม่ดี  ต้องพึ่งพาฝนไม่ได้บำรุงปุ๋ย  ไม่มีการให้น้ำการเจริญเติบโต  ก็ไม่ดีมีผลต่อน้ำหนัก

    
การปลูกมันสำปะหลัง 
เกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีได้  แต่ปุ๋ยคอกไม่ได้ผ่านกระบวนการหมัก  ถ้าใช้เพียงอย่างเดียวจะมีผลเสียทันที  เพราะกระบวนการหมักย่อยของมูลสัตว์ต่างๆ  ต้องใช้จุลินทรีย์เป็นหลัก  ถ้านำมูลสัตว์ไปใส่ที่โคนต้นพืชเลย  จุลินทรีย์ก็ต้องดึงไนโตรเจนในส่วนของรากพืชไปใช้เพื่อย่อยปุ๋ยต่างๆ  ทำให้พืชขาดไนโตรเจน  ทำให้ใบพืชกลายเป็นสีเหลือง  จนกว่ามูลสัตว์จะย่อยสลายไปแล้ว  ใบของพืชจึงจะกลับมาเป็นสีเขียว

    
วิธีการใช้ปุ๋ยเคมีลดลงเหลือ 1 ใน 3 ส่วน เพราะปุ๋ยเคมีมีธาตุหลัก 3 ตัวคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หากเป็นปุ๋ยยูเรียจะมีเพียงไนโตรเจนเท่านั้น  ยังขาดอีก 10 กว่าธาตุที่พืชต้องการ ซึ่งธาตุรองมีแคลเซียม  แมกนีเซียม  สังกะสี  แมงกานีส  โมลิบดินัม  โบรอน  เหล็ก  กำมะถัน  ในการเติบโตของพืชจะขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้  หากขาดไปจะแสดงอาการทันที  เช่น  ขาดธาตุสังกะสีใบของพืชจะไม้กว้าง  สีเขียวจะหายไป  และมีจุดเหลืองๆ มาแทนที่ หมายความว่าประสิทธิภาพการปรุงอาหารไม่ดี ถ้าหากดินมีความเป็นกรดเป็นด่างสูง ธาตุที่มีอยู่ในดินพืชก็นำไปใช้ไม่ได้ เพราะจะมีการรวมตัวกันของความเป็นกรดจัด หรือการเป็นด่างจัดจะทำให้พืชขาดธาตุเสริม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในดินจะช่วยลดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ช่วยปลดล็อกธาตุที่มีอยู่แล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เช่น ถ้าดินเป็นกรดคือค่าพีเอชของดินต่ำกว่า 5 ชาวบ้านเรียกว่าดินเปรี้ยว ธาตุฟอสฟอรัสที่ใส่ลงไปจะจับกับธาตุสังกะสีในดินกลาย  เป็นโครงสร้างสารเคมีตัวใหม่ที่เรียกว่าซิงก์ฟอสเฟส ซึ่งมีโมเลกุลที่ใหญ่พืชนำไปใช้ไม่ได้ ถ้าธาตุ2 ตัวนี้แยกกันอยู่ในรูปของอิออน สามารถละลายน้ำได้พืชจะนำไปใช้ได้ โดยปุ๋ยอินทรีย์มีคุณสมบัติในการช่วยปลดล็อกการจับตัวของธาตุดังกล่าว

    
ปุ่ยอินทรีย์เหมาะสำหรับรองพื้นก่อนปลูก 
เป็นการปรับโครงสร้างของดิน เมื่อมันสำปะหลังโตได้ 1 เดือน ปุ๋ยเคมีที่เคยใช้อยู่ 100% ให้ลดลง 75% ใช้เพียง 25% ก็พอ ซึ่งจะลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตด้วย การที่เกษตรกรไม่นิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก็เพราะการทำเอง ส่วนประกอบหายากและมีต้นทุนสูง การซื้อปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูปมาใช้จะสะดวกกว่า แต่ยังติดที่ว่าไม่ทันใจ และเห็นว่าปุ๋ยเคมีแบบเดิมที่ใช้อยู่ก็ให้ผลผลิตดีอยู่แล้ว จึงไม่กล้าเสี่ยง ในช่วงแรกจึงควรพบกันครึ่งทางแล้วค่อยๆ ปรับสัก 3 ฤดูกาล ในการปลูกครั้งที่ 4 จึงใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 100% ซึ่งก็หวังว่าในอนาคตสัดส่วนของปุ๋ยอินทรีย์จะเข้ามาแบ่งส่วนตลาดของปุ๋ยเคมี ซึ่งทั้งแพงและเป็นโทษ.






12. สำปะหลังใบด่าง ปลูกประดับน่ารักดี
ผมเคยเขียนถึง "มันสำปะหลังใบด่าง" ไปนานแล้ว แต่ยังมีผู้อ่านไทยรัฐจำนวนมากอยากทราบว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นมันสำปะหลังที่ปลูกกินหัวทั่วไปหรือไม่ ซึ่งก็คือสายพันธุ์เดียวกัน เพียงแต่ "มันสำปะหลังใบด่าง" นิยมปลูกเป็นไม้ประดับลงกระถางขนาดใหญ่ หรือปลูกลงดินกลางแจ้งโชว์ความสวยงามของใบเท่านั้น ส่วนใหญ่นิยมปลูกเฉพาะในหมู่นักเลงไม้ใบไม่แพร่หลายเท่าที่ควร

มันสำปะหลังใบด่าง มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือน กับมันสำปะหลังทั่วไปคือ MANIHOT ESCULENTA CRANTZ อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหัวใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง มีตาตามรอยก้านใบที่ร่วงไปอย่างชัดเจน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปทรงกลมแล้วหยักเว้าลึกเป็นรูปนิ้วมือ มีใบย่อย 7 แฉก หรือ 7 ใบ แต่ ละใบหรือแต่ละแฉกเป็นรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งกว้าง โคนใบเรียวแคบ พื้นใบเป็นสีเขียว มีรอยด่างสีขาวแทงขึ้นจากโคนใบไปเกือบจดปลายใบ ก้านใบยาว เป็นสีแดงเลือดนก หรือสีแดงอมม่วง เวลามีใบดกก้านใบชูตั้งขึ้นและแผ่กระจายเป็นพุ่มกว้าง จะดูสวยงามน่ารักมาก

หัวรูปทรงกลมและยาว ออกเป็นกระจุก แต่ชนิดใบด่างจะมีหัวขนาดเล็กกว่าหัวของชนิดใบสีเขียวที่ปลูกเก็บหัวรับประทานและขายทั่วไปและหัวของ "มันสำปะหลังใบด่าง" ไม่นิยมรับประทานหรือขายตามที่กล่าวข้างต้น

ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการ ปักชำต้น และ หัว ปัจจุบัน "มันสำปะหลังใบด่าง" มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการแผงหน้าห้องสุขา ราคาสอบถามกันเอง  ปลูกได้ในดินทั่วไป  เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ทนแล้งได้ดี เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ความสวยงามของใบทั้งปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับในบริเวณบ้าน หรือปลูกลงดินเป็นกลุ่มหลายๆต้น เวลามีใบดกจะดูสวยงามน่ารักมาก

ใบอ่อนของมันสำปะหลังที่กินได้มีชนิดเดียวคือสายพันธุ์ 5 นาที เป็นแหล่งกรด "อะมีโน" และ "โปรตีน" สูงกว่าถั่วเหลือง ต้มให้สุกรับประทานแก้โรคขาดวิตามินบีหนึ่งดีมาก แต่ต้องทำให้สุกมากๆก่อนรับประทาน เพราะใบมีพิษกินมากตายได้ต้องระวังครับ.

"นายเกษตร"


ที่มา  :  ไทยรัฐ




13. เกษตรกรโอด ถูกโขกราคากิ่งพันธุ์สำปะหลัง
 ไร่ละ 5,000 บาท

เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ระบุ กิ่งพันธุ์มันสำปะหลัง ราคาแพงสูงถึงไร่ละ 5,000 บาท เพราะได้รับผลกระทบจากเพลี้ยแป้งที่ระบาดช่วงหน้าแล้ง และราคามันปีที่ผ่านมาดี...

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มัน ทำให้ผลผลิตเสียหายบางรายถึงกับต้องไถทิ้ง เพราะยอดต้นมันถูกเพลี้ยแป้งกัดกินเน่าตาย ในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้รับความเสียหายจากเพลี้ยแป้งหลายหมื่นไร่ และในช่วงต้นฤดูฝน เป็นช่วงที่ต้องเริ่มปลูกมันสำปะหลังรอบใหม่ ทำให้กิ่งพันธุ์มันสำปะหลังหายากและมีราคาแพง จากเดิมชาวไร่จะหาซื้อกิ่งพันธุ์กันที่ราคาไร่ละ 2,000-3,000 บาท แต่ขณะนี้ต้องซื้อกิ่งพันธุ์ในราคาไร่ละประมาณ 5,000 บาท แต่ก็ยังหายาก ไม่ค่อยมีขายกัน

จากการสอบถามนางระรื่น พิมพ์แก้ว อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 52 ม.1 ต.ลานดอกไม้ อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า ตนปลูกมันสำปะหลัง 20 ไร่ ต้องใช้กิ่งพันธุ์ถึง 2 ไร่ เพราะตามปกติ ถ้ากิ่งพันธุ์มีขนาดลำต้นยาว ก็จะใช้กิ่งพันธุ์ 1 ไร่ ต่อพื้นที่ปลูก 10 ไร่ แต่ถ้ากิ่งพันธุ์ลำต้นสั้น กิ่งพันธุ์ 1 ไร่ก็ปลูกได้เพียง 4-5 ไร่เท่านั้น

สำหรับผลผลิตที่ขุดขาย ถ้าไม่ประสบปัญหาเพลี้ยแป้งหรือโรคอื่นๆ ก็จะได้ถึงไร่ละ 8 ตัน ตอนนี้ขายได้ถึงตันละ 2,300 บาท ลงทุนต่อไร่ประมาณ 3,000 บาท และช่วงนี้ฝนเริ่มตกลงมาแล้ว ตนจึงต้องรีบปลูกมันสำปะหลังทิ้งไว้ แต่ปัญหาที่พบในขณะนี้คือ กิ่งพันธุ์มันสำปะหลังหายากและมีราคาแพง ต้องแย่งกันซื้อ เพราะเหลือกิ่งพันธุ์ที่รอดมาจากการระบาดของเพลี้ยแป้งจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

โดยในหลายพื้นที่ ชาวนาหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น อาจเป็นเพราะได้ราคาดี และไม่ต้องดูแลมากเหมือนข้าว คาดว่าถ้าปีนี้ไม่ประสบปัญหาเรื่องเพลี้ยแป้งและโรคต่างๆ สามารถขุดหัวมันขายได้ใน 1 ปี นับจากวันปลูก.

ที่มา  :  ไทยรัฐ





14. เชื้อรา Phytophthora
สาเหตุโรคต้นเน่าและใบไหม้มันสำปะหลัง


รังษี เจริญสถาพร

สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ โทร. 02-5790146


ปัจจุบันมันสำปะหลัง ถูกเพลี้ยแป้งสีชมพูดูดกินน้ำเลี้ยงจนเกิดความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า
1 ล้านไร่ ทำให้ปริมาณผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของหัวมันสำปะหลังลดลง นอกจากนี้ ยังทำให้กิ่งพันธุ์มัน สำปะหลังไม่สมบูรณ์และแข็งแรง แม้ว่ากิ่งพันธุ์จะผ่านการแช่สารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งแล้ว แต่กิ่งพันธุ์ดังกล่าว เมื่อนำไปเป็นท่อนพันธุ์ จะทำให้ต้นกล้ามันสำปะหลังที่เจริญเติบโตขึ้นมา มีความอ่อนแอต่อจุลินทรีย์ สาเหตุโรคพืชบางชนิด เช่น แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. manihotis สาเหตุโรคใบไหม้ และอื่นๆ

การนำกิ่งพันธุ์มันสำปะหลังที่ถูกเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย มาแช่สารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง แล้วปักชำใน
เรือนต้นไม้ ของสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ เมื่อต้นกล้ามันสำปะหลังเจริญเติบโต มีลักษณะผิดปกติ ดังนี้ ต้นเตี้ยแคระ ข้อถี่ ใบขนาดเล็ก และผิวใบหย่น ต่อมาใบล่างๆ จะมีสีเหลืองหลุดร่วง ไปจากล่างสู่ยอดต้น ลำต้นมีรอยฉ่ำน้ำและยางไหลออกมา ในที่สุดลำต้นจะเน่าสีดำ และยอดเหี่ยวรวมทั้งใบไหม้สีดำ เมื่อนำตัวอย่างมันสำปะหลังอาการดังกล่าว มาตรวจสอบและดำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอน


การศึกษาหาสาเหตุโรคพืช ได้ตรวจพบเชื้อรา
Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนส และเชื้อรา Phytophthora ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ สามารถก่อให้เกิดโรคพืช อย่างร้ายแรงต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่นโรครากเน่า โคนเน่า ของทุเรียน ส้ม อโวคาโด้ โกโก้ พริกไทย ลองกอง มันสำปะหลัง (ตามรายงานจากต่างประเทศ) ละหุ่ง ปอแก้ว งา และอื่นๆ จึงได้ศึกษาจำแนกชนิดในเบื้องต้นของเชื้อรา Phytophthora ดังนี้ ลักษณะโคโลนีที่เจริญบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) เป็นแบบ stoloniferous ซึ่งคล้ายกับการชักใยแมงมุง เส้นใย (mycelium) โป่งพอง รูปร่าง chlamydospore เป็นแบบทรงกลม ผนังหนา ซึ่งมีขนาดเฉลี่ย 33 ไมโครเมตร sporangium มี papilla เห็นชัดเจน รูปร่าง sporangium เป็นแบบ ลูกมะนาว ลูกแพร์ หรือทรงกลม ซึ่งมีขนาดความยาว 14-17 ไมโครเมตร และความกว้าง 12-60 ไมโครเมตร สัดส่วนความยาวต่อความกว้างเท่ากับ 1:3 ก้านชูsporangium (sporangiophore) ไม่แตกแขนง (unbranched) sporangium ไม่หลุดจาก sporangiophore ได้ง่าย รอยต่อของ sporangium กับ sporangiophore เรียกว่า pedicel สั้นมาก และไม่สามารถสร้าง oospore ในthallus ของตัวเองได้ ซึ่งเรียกว่า aplerotic


จากลักษณะเบื้องต้นของเชื้อรา
Phytophthora ดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่าเป็นPhytophthora parasitica จึงเป็นรายงานครั้งแรกของประเทศไทย ที่พบว่า เชื้อรา P.parasitica สามารถก่อให้เกิดโรคต้นเน่า และใบไหม้มันสำปะหลังได้โดยธรรมชาติ

ดังนั้นในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
(climate change) ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า extreme weather event ที่เป็นปัจจัยหนึ่งช่วยให้เพลี้ยแป้งสีชมพูเพิ่มจำนวนประชากรได้รวดเร็วและเข้าทำลายมันสำปะหลัง จนถึงขั้นสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงทำให้ผลผลิตและคุณภาพของมันสำปะหลังลดลง และทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังไม่สมบูรณ์ แข็งแรง เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตขึ้นมาตรงกับช่วงฤดูฝน (คำแนะนำของกรมวิชาการให้ปลูกมันสำปะหลังช่วงฤดูฝนเพื่อ ลดความเสียหายจากเพลี้ยแป้ง) ซึ่งเหมาะต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของเชื้อรา P.parasitica ต้นกล้าที่อ่อนแอจะถูกเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายได้ จึงต้องมีวิธีการป้องกันกำจัดไว้เบื้องต้น ดังนี้

1.
จะต้องควบคุมและกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู่มันสำปะหลังให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระดับเศรษฐกิจของการผลิตมันสำปะหลัง โดยการใช้ท่อนพันธุ์ที่ดี สมบูรณ์ แข็งแรง และปลอดจากเพลี้ยแป้ง ร่วมกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งแบบผสมผสาน (Integrated pest management)

2.
ถ้ายังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อที่ 1 ได้ จะต้องปรับปรุงบำรุงดิน โดยเพิ่มจำนวนประชากรจุลินทรีย์ที่ มีประโยชน์ เพื่อแข่งขันและลดประชากรของเชื้อรา P.parasitica โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแข็งหรือเหลว และเพิ่มเติมด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ชนิดเชื้อรา Trichoderma หรือ แบคทีเรีย Bacillus

3.
ปรับปรุงบำรุงดิน ให้มีการระบายน้ำ และอากาศได้ดี พร้อมกับปรับปรุงความเป็นกรด – ด่าง ให้สูงขึ้น

4.
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด กลุ่ม metalaxyl แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก หรือ ฉีดพ่นทางใบ และราดดินที่อัตรา คำแนะนำตามฉลากติดข้างภาชนะบรรจุ  การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น และมีความเป็นพิษต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วย



บรรณานุกรรม

- ธนาคาร จารุพัฒน์, ตำจาริกภากร , นิพนธ์ ทวีชัย และธีระ สูตะบุตร.2525. โรคมันสำปะหลังที่พบในประเทศไทย ระหว่างปี 2520-2522 วารสารโรคพืช 3(4) : 10-19

-Erwin D.C.,and O.K.Ribeiro. 1996. Phytophthora Diseases Worldwide. APS Press. The American Phytopathological Society St. Paul, Minnesota. P.562



ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร




15.ผลิตแตนเบียนสู้เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้สร้างความหนักใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังค่อนข้างมาก เพราะมีผลกระทบต่อผลผลิต ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า การระบาดอย่างรุนแรงของเพลี้ยแป้งในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง 20 จังหวัดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เร่งแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีแผนควบคุมและกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังด้วยชีววิธี โดยใช้ "แตนเบียน" Anagyras lopezi ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง น่าจะเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาในระยะยาวได้
         
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า แตนเบียนที่กรมวิชาการเกษตรนำมาใช้ควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังในขณะนี้คือ แตนเบียน Anagyras lopezi นับเป็นแมลงที่ประโยชน์ สามารถช่วยทำลายเพลี้ยแป้งชนิดสีชมพูได้ เดิมแตนเบียนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนักกีฏวิทยาจากสถานบันวิจัยเกษตรเขตร้อน (International for Tropical Agriculture, CIAT) ประเทศโคลัมเบีย สำรวจพบครั้งแรกที่ประเทศปารากวัย และนำไปใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังชนิดสีชมพูที่ระบาดในประเทศต่างๆ รวม 25 ประเทศในแอฟริกาตะวันตกประสบผลสำเร็จมาแล้ว
         
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรได้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์แตนเบียน A. lopezi จำนวน 500 ตัว จากสาธารณรัฐเบนิน เพื่อเพาะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนที่ห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พร้อมศึกษาทดสอบในห้องปฏิบัติการกักกันแล้ว พบว่ามีความปลอดภัย สามารถนำมาใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งในประเทศไทยได้ จึงขออนุมัตินำแตนเบียนออกปล่อยเพื่อทดสอบนำร่องในแปลงปลูกมันสำปะหลังภายในศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ซี่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบการระบาด นอกจากนี้ยังจะนำไปปล่อยเพื่อประเมินผลเพิ่มเติมที่สถาบันวิจัยมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย (ห้วยบง) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา โดยจะติดตามประเมินผลความสามารถในการอยู่รอดของแตนเบียนอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถทราบผลได้ภายใน 6 เดือน ทั้งยังจะประเมินประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยแป้งด้วย ซึ่งคาดว่าจะสามารถทราบผลได้ในเวลาประมาณ 1 ปี ภายหลังการปล่อย
         
"การใช้แตนเบียนควบคุมเพลี้ยแป้ง เป็นการใช้ประโยชน์จากการควบคุมศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ไม่มีอันตรายต่อคน สัตว์ และสภาพแวดล้อม ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานเพื่อรอให้เห็นผลในการควบคุม แต่ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจะเกิดความยั่งยืน"
         
นางอัมพร วิโนทัย นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กล่าวถึงแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูว่า เป็นแมลงขนาดเล็ก มีลำตัวยาว 1.2-1.4 มิลลิเมตร สีดำสะท้อนแสง เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ มีปล้องฐานหนวดส่วนที่ต่อจากหัว ลักษณะเป็นแผ่นแบน ขนาดใหญ่กว่าหนวดปล้องอื่นๆ ส่วนเพศผู้มีปล้องหนวดเรียวยาวทุกปล้อง สำหรับแตนเบียนเพศเมียมีอวัยวะวางไข่ลักษณะคล้ายเข็มปลายแหลมเรียวยาว ปกติจะเก็บซ่อนอยู่ใต้ท้อง ใช้แทงฆ่าเพลี้ยแป้งโดยตรง และใช้วางไข่ในลำตัวเพลี้ยแป้งด้วย
         
แตนเบียนชนิดนี้จะเข้าทำลายเพลี้ยแป้งได้ 2 วิธี ได้แก่ การห้ำ และการเบียน โดยจะออกล่าและฆ่าเพลี้ยแป้งด้วยการใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในลำตัวเพลี้ยแป้งเพื่อสร้างบาดแผล จากนั้นจะใช้ปากดูดกินของเหลวจากรอยแผล เพื่อนำโปรตีนจากของเหลวในลำตัวเพลี้ยแป้งไปสร้างไข่ ซึ่งจะทำให้เพลี้ยแป้งตายทันที เมื่อไข่พัฒนาและพร้อมวางไข่แล้ว แตนเบียนเพศเมียจะทำหน้าที่เป็นตัวเบียน โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปภายในตัวเพลี้ยแป้ง แต่วิธีเบียนนี้จะให้เพลี้ยแป้งค่อยๆ ตายไป เมื่อไข่ของแตนเบียนฟักตัวเป็นหนอน หนอนจะดูดกินของเหลวในลำตัวเพลี้ยแป้ง กระทั่งเพลี้ยแป้งตายจะมีลักษณะเป็นซากแข็งสีน้ำตาล และมีดักแด้แตนเบียนอยู่ภายใน เรียกว่า "มัมมี่"
         
แตนเบียน A.Lopezi จะทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้ง ระยะเวลาตั้งแต่วางไข่ถึงตัวเต็มวัยเจาะออกจากมัมมี่ ประมาณ 17-20 วัน ซึ่งแตนเบียน 1 ตัวจะสามารถฆ่าและทำลายเพลี้ยแป้งได้วันละ 20-30 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดขนาดของเพลี้ยแป้งที่ถูกกิน และลงเบียนเพลี้ยแป้งได้วันละ 15-20 ตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เตรียมการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์แตนบียน A.lopezi ให้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้โครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้นและนำไปใช้ควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งไม่ให้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างขึ้น เป้าหมายจำนวน 2.7 ล้านตัว คาดว่าน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้ในระยะยาว.


ที่มา  :  ไทยโพสต์



 
16. เพลี้ยแป้งระบาดไร่มันบุรีรัมย์หนัก 1.3 แสนไร่
สูญแล้ว 80 ล้าน - ร้องรัฐช่วยเหลือด่วน

นายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ จ.บุรีรัมย์รณรงค์ให้ความรู้วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลัง

บุรีรัมย์ - กรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร ลงพื้นที่จ.บุรีรัมย์รณรงค์ให้ความรู้วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลัง ล่าสุดบุรีรัมย์มีพื้นที่ระบาดแล้ว 130,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 80 ล้าน ขณะเกษตรกรยื่น 3 ข้อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือด่วน
       

       วันนี้ (13 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยนายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลัง ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ โดยการรณรงค์ให้เกษตรกรผู้ปลูกมัน นำท่อนพันธุ์ไปชุบสารเคมีก่อนนำไปปลูก
       
       ส่วนพื้นที่ที่ระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมการระบาด แต่ยังพบว่าเกษตรกรในหลายพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ จึงทำให้ยังมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอยู่อย่างต่อเนื่อง
       
       โดยเฉพาะที่ จ.บุรีรัมย์ล่าสุดมีพื้นที่เพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลังแล้วกว่า 130,000 ไร่ ใน 14 อำเภอ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 80 ล้านบาท โดยอำเภอที่ระบาดมากที่สุด คือ อ.ปะคำ โนนสุวรรณ หนองกี่ บ้านกรวด ละหานทราย โนนดินแดง สตึก และ อ.คูเมือง จากพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งจังหวัดกว่า 288,000 ไร่
       
       นายทองดี พรหล่อ ประธานสหกรณ์การเกษตร จำกัด อ.ปะคำ ได้เป็นตัวแทนเกษตรกร 5 ตำบล กว่า 1,200 ราย ยื่นหนังสือ ต่อ นายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร เพื่อเรียกร้อง 3 ข้อ ให้รัฐหน่วยงานรัฐช่วยเหลือ คือ 1.ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้หรือพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิก 2.จัดหาท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพแจกจ่ายให้กับเกษตรกร และ 3.ชดเชยค่าเสียหายและค่าเสียโอกาส ให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยแป้งระบาดดังกล่าว
       
       ด้านนายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ ได้เดินหน้ารณรงค์ให้ความรู้วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง ส่วนที่ตัวแทนเกษตรกรได้ยื่นข้อเรียกร้องนั้น จะได้นำเรื่องเสนออธิบดี เพื่อพิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามที่เกษตรกรเรียกร้องต่อไป





17. ปลูก-มันสำปะหลัง

1. กลูโคส
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกลูโคสที่ผลิตในประเทศไทย มี 3 ชนิด 1. กลูโคสเหลว (Glucose syrup) หมายถึงสารละลาย แซคคาไรด์ (Sacharide) ที่ได้จากการย่อยแป้ง ซึ่งได้ผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์และทำให้เข้มข้นแล้วปัจจุบันเป็นที่นิยมผลิตกันมาก  เนื่องจากสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุในการผลิตลูกกวาดและเครื่องดื่มหลายชนิด

2. กลูโคสผง (Glucose powder) กลูโคสเหลวที่ได้ทำให้แห้งเป็นกลูโคสผง นำมาผลิตเดกซโตรสอีกสองชนิด คือ
2.1 เดกซโตรสโมโนไฮเดรท (Dextrose monohydrate) หมายถึง เดกซโตรสที่มีความชื้น ส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง สำหรับอาหารกระป๋องบางประเภทใช้ซูโคส (Sucrose)
2.2 เดกซโตรสแอนไฮดรัส (Dextrose anhydrous) หมายถึง เดกซโตรสที่ไม่มีความชื้น และผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์และตกผนึก ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยา
3. ซอบิตอล (Sorbitol) เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากเดกซโตรสละลายที่ความเข้มข้น ร้อยละ 70 ใช้มากในอุตสาหกรรมยาสีฟัน


ไลซีน.
เป็นกรดอะมิโนชนิดจำเป็นต่อร่างกาย (Essential amino acid) ที่สัตว์ใช้สร้างโปรตีนและไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารสัตว์ อย่างไรก็ตามอาหารสัตว์ตามธรรมชาติมีแอส-ไลซีน น้อยมากจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น จึงมีการผลิตแอล-ไลซีน HCI ขึ้นมารเพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารสัตว์ แอล-ไลซีน HCI เป็นแหล่งแอล-ไลซีนที่มีราคาถูก และช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารของสัตว์ เนื่องจากแอล-ไลซีน HCI มีความบริสุทธิ์ถึง 98.5 เปอร์เซ็นต์ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้นำแอล-ไลซีน HCI ออกสู่ตลาดเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว และได้เข้ามาเปิดโรงงานในประเทศไทย ที่จังหวัดปทุมธานีในปี 2529 ซึ่งเป็นโรงงานแอล-ไลซีน แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน มีกำลังการผลิตในปัจจุบันประมาณ 4,500 ตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการในตลาดโลกมีถึง 100,000 ตันต่อปี การผลิตในประเทศได้ส่งออกไปต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ปัจจุบันมีโรงงานผลิตแอล-ไลซีน 4 แห่ง ในประเทศญี่ปุ่น ไทย

ผงชูรส.
ผงชูรส ผงชูรสที่ใช้การปรุงรสอาหารมีชื่อทางเคมีคือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium glutamate) เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แป้งมันสำปะหลังถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณแป้งที่ผลิตได้ทั้งหมด การทำโมโนโซเดียมกลูตาเมตนั้นมีขั้นตอนการทำโดยใช้แป้งหรือกากน้ำตาลที่ เรียกว่า โมลาส (Molasses) จากโรงงานน้ำตาล หรือทั้งสองอย่างมาผสมกัน หลังจากนั้น ก็เปลี่ยนย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส (Glucose) โดยใส่เอนไซม์อมัยเลส (Amylase) และอมัยโลกลูโคซิเดส (Amyloglucosidase) หมักและใส่จุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ Micrococcus glutamicus หรือ Brevibasterium spp. และเสริมด้วยอาหารอื่น เช่น ยูเรียเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคนเป็นกรดกลูตามิค (Glutamic acid) หลังจากหมัดจนได้ที่นำไปทำปฏิกริยากับโซดาไฟจะได้โมโนโซเดียมกลูตาเมต ทำให้ตกผลึกซึ่งเราเรียกกันว่าผงชูรส


แป้งแปรรูป.
แป้งแปรรูป เนื่องจากแป้งมันสำปะหลัง (Native starch) มีคุณสมบัติบางประการที่ยังไม่ตรงกับความต้องการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตสินค้าบางชนิด เช่น ในการผลิตกระดาษ แป้งมันสำปะหลัง จะเหนียวเกินกว่าที่เครื่องเคลือบจะทำงานได้หรือหากนำน้ำแป้งไปเก็บไว้ในที่ ที่มีอุณหภูมิต่ำจะทำให้น้ำที่ผสมอยู่แยกจากตัวแป้ง ทำให้ไม่เหมาะสมกับการทำน้ำสลัด ดังนั้น จึงได้มีความพยายามในการปรับปรุงคุณสมบัติของแป้งเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไป ใช้งานในรูปแป้งแปรรูป (Modified starch) โดยการนำแป้งมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของแป้งและทำให้แป้งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการใช้งาน ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ การแปรรูปแป้งมันในประเทศไทยขณะนี้ใช้อยู่ 3 วิธี คือ
1. วิธี Degradation หรือ Conversion คือ การทำให้ความเหนียวของแป้งลดลง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ คือ 1.1 Acid Conversion คือ การนำแป้งมาเติมกรดเกลือและกรดกำมะถันเพื่อให้ความเหนียวของแป้งลดลง และสามารถคงรูปเจล (Gel) ได้โดยการทำให้เย็น แป้งที่ได้เรียกว่า Acid Modified Starch
2. วิธี Pregelatinization คือ การนำแป้งที่มีความเข้มข้นร้อยละ 40-50 เทลงบนผิวถังร้อน


อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง.
อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง หัวมันสำปะหลังมีแป้งเป็นส่วนประกอบประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แป้งมันสำปะหลังที่สกัดจากหัวมันสำปะหลัง และยังไม่มีการแปรรูปเรียกว่า แป้งดิบ (Tapioca starch, Native starch) ซึ่งกรรมวิธีการผลิตที่โรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลางใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี ขั้นตอน ดังนี้
1. ชั่งน้ำหนักและวัดเปอร์เซ็นต์แป้ง
2. ส่งเข้าเครื่องร่อนดินทรายออก
3. ส่งเข้าเครื่องปอกเปลือกและล้าง (เครื่องเดียวกัน)
4. นำหัวมันสดที่ล้างสะอาดแล้วเข้าเครื่องโม่ให้ละเอียด นำเข้าเครื่องแยกกากจากน้ำแป้ง กากของหัวมันที่ได้จะถูกส่งไปยังลานตาก
5. นำน้ำแป้งที่ได้มาฟอกด้วยน้ำกำมะถัน เพื่อฟอกและขจัดยางทำให้น้ำแป้งขาวและบริสุทธิ์ขึ้น
6. แยกน้ำแป้งออกจากแป้งโดยใช้เครื่องสลัดแห้งระบบแรงเหวี่ยง (Centrifuge)
7. อบให้แห้งด้วยความร้อนโดยใช้ท่อลมร้อน
8. แป้งที่อบแห้งแล้วจะถูกนำมาตีให้แตกตัวออกเป็นผง
9. นำแป้งที่แห้งสนิทและแตกตัวเป็นผงแล้วเข้าเครื่องร่อนเอาส่วนที่หยาบออกไป และบรรจุถุงจำหน่าย

อัตราการแปรรูปจากหัวมันสดเป็นแป้งมัน ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์แป้งของหัวมันสด ถ้าหัวมันสดมีเปอร์เซ็นต์แป้งประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ จะใช้หัวมันสด 5 กิโลกรัมในการผลิตแป้ง 1 กิโลกรัม และจะได้กากมันประมาณ 0.4 ถึง 0.5 กิโลกรัม



ชุดขุดหัวมันสำปะหลังแบบผานขุดรูป เหลี่ยมได้รับการออกแบบติตตั้งใขช้งานทางด้านหน้าของรถแทรกเตอร์ การศึกษา สภาพการปลูกมันสำปะหลังและทิศทางของหัวมันสำปะหลังที่แผ่ออกจากต้นได้กระทำ ขึ้นในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบเครื่องขุดมันสำปะหลัง ชุดขุดหัวมันสำปะหลังแบบผานขุดรูปเหลี่ยมได้รับการออกแบบติ ตตั้งใช้งานทางด้านหน้าของรถแทรกเตอร์ โดยประกอบเข้ากับแขนจับยึดใบมีดเกรดดิน ชุดขุดประกอบด้วย
1) ผานขุดรูปสามเหลี่ยมขนาดกว้างตรง 80 ซม.
2) โซ่ลำเลียงหัวมันสำปะหลังขึ้นจากดิน ยาว 100 ซม. ติดตั้งทำมุม 30 องศาในแนวนอน
3) โซ่ลำเลียง หัวมันสำปะหลังออกด้านข้างยาว

รถขนย้ายผลิตผลการเกษตร.
รถขนย้ายผลิตผลการเกษตร การออกแบบและพัฒนารถขนย้ายผลิตผลเกษตรนี้ เป็นการร่วมมือของภาครัฐและเอกชน โดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมเป็นผู้ออกแบบ โรงงานจักรทองจังหวัดชัยนาท เป็นผู้สร้าง และทดลองใช้งานระยะยาวที่ศูนย์วิจัยพืชสวน สุราษฎร์ธานีร่วมกับเกษตรกร นำข้อคิดเห็นและข้อบกพร่องมาปรับปรุงและสร้างรถขนย้ายที่สามารถทำงานได้ดี ในปัจจุบันโรงงานจักรทองได้ผลิตรถขนย้ายผลิตผลเกษตรนี้จำหน่ายแก่เกษตรกร แล้ว รถขนย้ายนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวรถไถเดินตาม และตัวรถพ่วง รถไถเดินตามเป็นแบบที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศ เครื่องยนต์ดีเซลต้นกำลัง 9-11 แรงม้า มีเกียร์เดินหน้า 2 เกียร์ ทำการดัดแปลงระบบคลัทช์แบบบีบเลี้ยวมาเป็นเท้าเหยียบ และเพิ่มคันเหยียบเบรคสำหรับเบรคที่ล้อรถพ่วง เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น รถพ่วงมีส่วนประกอบ ดังนี้ ที่นั่งขับ มีช่วงระยะตอนหน้าพอเหมาะให้ผู้ขับรถสามารถนั่งได้สบาย จุดหมุนของกะบะบรรทุกได้รับการออกแบบให้สามารถยกเทได้ สะดวก โดยไม่ต้องออกแรงมาก (ใช้คนเพียงคนเดียว) โครงสร้างกะบะบรรทุกเน้นความแข็งแรงโดยใช้วัสดุภายในประเทศ ระบบเบรคแบบก้ามปู (ดรัมเบรค) ทำให้สามารถหยุดรถได้ดีและปลอดภัย ช่วงล่างของรถพ่วง ใช้วัสดุแข็งแรงเพียงพอที่จะบรรทุกน้ำหนัก1,000 กิโลกรัม ผลทดสอบการเบรค อยู่ในเกณฑ์การทดสอบของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ระบบเลี้ยว เป็นแบบเลี้ยวกลางตัว ทำให้มีวงเลี้ยวที่แคบกว่ารถพ่วงทั่วๆ ไป กะบะบรรทุก ขนาด กว้าง 1.4
 
เครื่องขนมันสำปะหลัง.
เครื่องขนมันสำปะหลัง การทำไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรไทยต้องอาศัยแรงงานคนเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะ ขั้นตอน การขนหัวมันสำปะหลังขึ้นรถบรรทุกต้องใช้แรงงานจำนวนมาก แต่เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ทำให้ผลผลิตเกิดการตกค้างในไร่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งค่าจ้างแรงงานคนมีอัตราค่าจ้างสูงขึ้น จากปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงจำเป็นต้องหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาช่วยให้ประหยัดแรงงาน และลดต้นทุนผู้วิจัยจาก สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม จึงได้ศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องขนหัวมันสำปะหลังขึ้นรถบรรทุกโดยที่ต้นทุน ในการผลิตไม่สูงมากนัก สามารถนำไปพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความเหมาะสมในการใช้งานในไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรไทย ผู้ดำเนินงานวิจัยออกแบบเครื่องขนมันให้พ่วงกับรถแทรกเตอร์ 60-80 แรงม้า ใช้กำลังจากเพลาอำนวยกำลัง ขนหัวมันขึ้นรถบรรทุกสูงไม่เกิน 3.80 เมตร ที่มุม 50 องศา หลักการทำงาน คือ ตัวเครื่องเป็นแบบสายพานกวาด ใช่โซ่ลำเลียงแบบโซ่คู่ใช้ความเร็วรอบเพลาอำนวยกำลัง 540 รอบต่อนาที ถ่ายทอดกำลังไปสู่ชุดลำเลียง และปั๊มน้ำมันไฮดรอลิคส์โดยใช้สายพานรางลำเลียงและชุดลำเลียงซ้อนกัน และยึดออกไปได้ เครื่องขนมันสำปะหลังมี 3 ล้อ เลี้ยวโดยล้อหน้าจากการทดสอบที่ความเร็วสายพานขับ 0.38 เมตรต่อวินาที ความสามารถในการทำงานประมาณ 27.86 ตัน/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ยร้อยละ 59.5 สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

เครื่องขุดมันสำปะหลัง.

เครื่องขุดมันสำปะหลัง กองเกษตรวิศวกรรม ได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลัง โดยทำการศึกษาเครื่องขุดมันสำปะหลัง ที่มีใช้กันอยู่หลายแบบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา จากการทดสอบและประเมินผล เครื่องขุดมันสำปะหลังที่ใช้กันอยู่ พบว่ามีขีดจำกัดในการทำงานคือ เครื่องไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อใช้เครื่องขุดแล้วต้องหยุดเพื่อใช้คนนำเอามันออกจากร่องขุด เพื่อมิให้รถแทรกเตอร์เข้าไปเหยียบในการขุดในร่องต่อไป ซึ่งเกษตรกรแก้ปัญหานี้โดยใช้คนยืนรออยู่สองข้างของแปลง เพื่อขนมันออกเพื่อทำให้การขุดต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบว่า ความกว้างของผานขุดไม่เหมาะสมทำให้ต้องใช้กำลังรถแทรกเตอร์มาก และทำให้หัวมันแตกหัก และตกค้างอยู่ค่อนข้างมาก จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้ดำเนินงานวิจัย จึงได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบคานเดี่ยวขึ้น เครื่องชนิดนี้ใช้ต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์ขนาด 60-70 แรงม้า ผานขุดมีลักษณะคล้ายกับไถหัวหมูความกว้าง ของใบผาน 80 ซม. ในการทำงานของเครื่อง ผานขุดจะขุดมันสำปะหลังและส่งให้หัวมันเคลื่อนไปตามรัศมีความโค้ง ของใบผานผ่านซี่ตะแกรงแยกดิน แล้วตกลงด้านข้างของแนวขุดทำให้สามารถขุดร่องต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง จากการทดสอบพบว่า เครื่องมีความสามารถในการทำงานโดยเฉลี่ย 4.15 ไร่ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 33.2 ไร่ต่อวัน (คิดการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง) ประสิทธิภาพในการทำงานโดยเฉลี่ยร้อยละ 86.78 สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องมีการแตกหักของหัวมัน เนื่องจากการขุดโดยเฉลี่ยร้อยละ 10.4 หัวมันตกค้างร้อยละ 7.26 มีจุดคุ้มทุนในการใช้งานเท่ากับ 11.66 ไร่ ต่อปีเมื่อเปรียบเทียบกับการขุดโดยใช้แรงงานคน


การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ.

ศัตรูธรรมชาติของไรและ แมลงศัตรูมันสำปะหลังที่สำคัญพบทั่วไป ได้แก่ แมลงห้ำ มี 4 ชนิด ซึ่งทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัยเป็นตัวห้ำ ยกเว้นแมลงช้างปีกใส เฉพาะระยะหนอนเท่านั้นที่เป็นตัวห้ำ ด้วงเต่าสีดำ ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รูปร่างกลม หัวและท้ายเล็กกว่าส่วนลำตัวเล็กน้อย ปีกสีน้ำตาลเป็นมัน เป็นตัวห้ำของไรแดงและเพลี้ยแป้งลาย ด้วงเต่าสีน้ำตาล หนอนมี ลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้ง หัวท้ายเรียว เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หลังโค้งนูนสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลเข้ม ส่วนอกสีเหลืองทอง ปลายปีกมีรูปยาวรีสีเหลืองทอง เป็นตัวห้ำของเพลี้ยแป้งลาย ด้วงปีกสั้น ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รูปร่างยาวเรียว ปีกสั้นกว่าท้อง เป็นตัวห้ำของไรแดง แมลงช้างปีกใส ตัวเต็ม วัยลำตัวเรียวยาว ปีกโค้งบางใสขนาดใหญ่และยาวกว่าลำตัว สีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน มีปีก 2 คู่ หนอนมีลำตัวเรียวยาว สีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีน้ำตาลพาดผ่านลำตัว มีกรามคล้ายเขี้ยว และบางชนิดจะมีซากเหยื่อที่กินแล้วอยู่บนหลังเพื่อพรางตัว หนอนเป็นตัวห้ำของไรแดง เพลี้ยแป้งลาย

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด.
การป้องกันกำจัด วัชพืช ไถ 1 ครั้ง ตากดินไว้ 7–10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราด เก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง กำจัดวัชพืชไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ตลอดฤดูปลูก คือ ครั้งแรก พ่น สารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกก่อนวัชพืชงอก หรือใช้จอบ เครื่องกลขนาดเล็ก หรือแรงงานสัตว์ เพื่อกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1–2 เดือน ก่อนใส่ปุ๋ย ครั้งที่สอง ใช้จอบดาย หรือพ่นสารกำจัดวัชพืชอีกครั้ง ถ้ามีวัชพืชฤดูเดียวประเภทใบแคบมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่

สรุปแนวทางการป้องกันกำจัดศัตรูมันสำปะหลัง.
สรุปแนวทางการป้องกันกำจัดศัตรูมันสำปะหลัง การระบาดของศัตรูมันสำปะหลังโดยทั่วไปแล้ว จะเป็นการเกิดแบบครั้งคราวและเกิดเป็นหย่อม ๆ หรือกลุ่ม ศัตรูมันสำปะหลังจะขยายบริเวณกว้างออกไปหากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย การป้องกันกำจัดควรใช้วิธีการต่าง ๆ ผสมผสานกัน ได้แก่
1. โดยวิธี เขตกรรมหรือวิธีกล
1.1 การไถพรวนพื้นที่ปลูกหลายครั้ง เพื่อตากดินหรือเพื่อให้ตัวหนอน ดักแด้ของศัตรูพืชในดินเป็นอาหารของนกและสุนัข
1.2 การเก็บศัตรูพืชด้วยมือ ได้แก่ เก็บตัวเต็มวัยทำลาย หรือทำเป็นอาหาร การเก็บส่วนของพืชที่มีศัตรูพืชนำมาทำลาย เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชไม่ให้แพร่กระจาย
1.3 การเก็บซาก เศษพืชเผาทำลาย การทำความสะอาดแปลงปลูกหลังการเก็บเกี่ยว

2. ศัตรูธรรมชาติ มีศัตรูธรรมชาติหลายชนิดที่ควบคุมปริมาณของศัตรูพืชให้อยู่ ในระดับสมดุลตามธรรมชาติ ในกรณีที่ไม่มีการระบาดของศัตรูพืช

3. การป้องกันกำจัดโดยสารฆ่าแมลงและไร ควรใช้เฉพาะกรณีที่เกิดการระบาดของศัตรูพืชอย่างรวดเร็ว รุนแรงและมีโอกาสทำความเสียหายกับพืชได้หากไม่มีการป้องกันกำจัด เช่น ทำลายการเจริญเติบโตหรือการสร้างหัวของพืช การใช้สารฆ่าแมลงและไร ควรใช้เฉพาะบริเวณที่ศัตรูพืชทำลายเท่านั้น และหยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 7-21 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารฆ่าแมลงและ ไร ประเภทปากกัด. ประเภทปากกัด เป็นแมลงศัตรูที่กัดกินทำลายส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลัง ซึ่งจะพบมีความสำคัญเป็นบางพื้นที่เท่านั้น ได้แก่

1. ปลวก (Termite, Coptotermes gestroi Wasmann, Coptotermes spp.) วงศ์ Coptotermidae อันดับ Isoptera ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวันกัดกินท่อน พันธุ์ทำให้ต้นมันสำปะหลัง ไม่สามารถงอกได้ กัดกินลำต้นแล้วนำดินเข้าไปบรรจุไว้แทนในลำต้น ทำให้ต้นหักล้มและนอกจากนี้ ยังทำลายส่วนหัวมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่จะพบใน แหล่งพื้นที่เปิดใหม่ หรือเนินจอมปลวก ในกรณีพื้นที่ที่มีปลวกทำความเสียหายในระยะแรกและท่อนพันธุ์ไม่งอกมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ควรทำการปลูกซ่อม

2. แมลงนูน หลวง (Sugarcane White Grub, Lepidiota stigma (Fabricius)) วงศ์ Scarabaeidae อันดับ Coleoptera เป็นแมลงปีกแข็งค่อนข้างใหญ่ ขนาดลำตัวยาว 3.20-4.00 เซนติเมตร กว้าง 1.50-2.00 เซนติเมตร ตัวหนอนทำลายกัดกินรากต้นมันสำปะหลัง ทำให้ต้นพืชตาย ทำความเสียหายในระยะพืชยังเล็ก 


3. แมลงหวี่ขาว. แมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาว (Whitefly, Dialeurodes sp.)
เป็นแมลงปากดูดในวงศ์ Aleuroidae อันดับ Homoptera ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกิน น้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบพืช แมลงจะถ่ายมูลของเหลวทำให้เกิดราดำ พืชสังเคราะห์แสงน้อยลง และชะงักการเจริญเติบโต ใบม้วน ซีด และร่วง มีการเข้าทำลายเป็นหย่อม ๆ และจะแพร่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้างอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ว เป็นเวลานาน มีพืชอาศัยมาก ทั้งพืชไร่ พืชสวนและไม้ประดับ เริ่มพบทำลายมันสำปะหลังในปี 2531 และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำลายของแมลงชนิดนี้จะพบควบคู่กับการเข้าทำลายของไรแดงและเพลี้ยแป้ง ชีวและนิเวศวิทยา ไข่ มีรูปยาวรี หัวท้ายเรียว สีเหลืองครีม เป็นฟองเดี่ยว ๆ มีปลายข้างหนึ่งติดผิวใบพืช ไข่จะวางเป็นรูปวงกลมคล้ายวงของใยแมงมุม มักจะพบบริเวณใต้ใบส่วนยอด ขนาดไข่กว้าง 0.12-0.24 มิลลิเมตร ยาว 0.28-0.43 มิลลิเมตร ตัวอ่อน วัยแรกเห็นส่วนตาสีแดงชัดเจน ลำตัวยาวเรียว ส่วนหัวและท้ายนูนเห็นได้ชัด ลำตัวเป็นปล้อง มีขา 3 คู่




(Dextrose ...
soclaimon.wordpress.com/category/




18. เร่งปล่อยแตนเบียนสกัดเพลี้ย
เกษตรฯ ผวาระบาดลามไม่หยุดกระทบอุตฯ มันสำปะหลัง
 
นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังในพื้นที่ 36 จังหวัด ครอบคลุมเนื้อที่ 406,962 ไร่ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดมากที่สุด คือ จ.นครราชสีมา รองลงมา ได้แก่ จ.กาญจนบุรี พิษณุโลก กาฬสินธุ์ และยโสธร ซึ่งต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมเร่งควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด และต้องลดพื้นที่ระบาดลงโดยเร็ว ขณะเดียวกันยังต้องเร่งฟื้นฟูแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับความเสียหายด้วย 

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้นำเข้าพ่อ-แม่พันธุ์แตนเบียน Anagyrus lopezi จากสาธารณรัฐเบนิน จำนวน 500 ตัว เพื่อเพาะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนที่ห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พร้อมศึกษาทดสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการกักกัน แล้วนำแตนเบียนที่เพาะได้ไปทดลองปล่อยในแปลงปลูกมันสำปะหลังภายในศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.ระยอง และพื้นที่ของสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย (ห้วยบง) จ.นครราชสีมา ซึ่งมีการระบาดของเพลี้ยแป้ง เพื่อศึกษาความสามารถในการอยู่รอดของแตนเบียนและศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เบื้องต้นพบว่า แตนเบียน A. lopezi ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากแตนเบียนจะทำลายเฉพาะเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเป็นชนิดที่ระบาดทำลายมันสำปะหลังอยู่ในขณะนี้ นับว่ามีความปลอดภัยสูงมาก 

ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เร่งจัดฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงและปล่อยแตนเบียน A. lopezi ให้แก่นักวิชาการของกรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้นำเกษตรกร และผู้แทนโรงงานแป้งมันและอุตสาหกรรมแป้ง เพื่อช่วยกันผลิตแตนเบียนและทยอยปล่อยในพื้นที่ปลูกเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง คาดว่าจะสามารถผลิตได้เดือนละ 5,000 - 50,000 คู่ รวมกับความสามารถของแตนเบียนในการเพิ่มปริมาณได้ในธรรมชาติอย่างน้อย 10 เท่าในทุก ๆ เดือน คาดว่าภายในเดือนธันวาคม 2553 นี้ จะสามารถผลิตและปล่อยแตนเบียนครอบคลุมพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า 1.18 ล้านไร่

ที่มา  :  แนวหน้า




19. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่

รองศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ราคาหัวมันสดในปัจจุบันประมาณ 2.50 บาทต่อกิโลกรัม ถือว่าเป็นราคาที่สูงที่สุดใน ประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังในประเทศไทย สาเหตุคงเนื่องมาจากปริมาณหัวมัน สดไม่พอเพียงกับความต้องการของตลาด ราคาหัวมันสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นราคาที่จูงใจให้เกษตรกรเร่งขุดเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ และคาดกันว่าในฤดูกาล เพาะปลูก ปี 2551

ผลผลิตรวมมันสำปะหลังของประเทศจะมีเพียงประมาณ 25 ล้านตัน จากพื้นที่ปลูกรวม 7.3 ล้านไร่ อย่างไรก็ตามเมื่อหัวมันสดมีราคาดี และแนวโน้มความต้องการหัวมันสดยัง มีสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชอื่น เช่น อ้อยและข้าวโพด ก็อาจเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกมันสำปะหลัง และ อาจมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตรวมมันสำปะหลังในฤดูกาลเพาะปลูก ปี 2552 เพิ่มขึ้นได้บ้าง ซึ่งนั่นก็ เป็นเพียงผลจากการขยายพื้นที่เท่านั้น สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องในวงการมันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็น

ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรควรตระหนักคือ ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของมันสำปะหลัง ให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนที่จะทำให้ตลาดมีหัวมันสดพอเพียง และเกษตรกรได้กำไรจากการปลูกเพิ่มขึ้นด้วย

1) ผลผลิตหัวสดต่อไร่ จากอดีตถึงปัจจุบัน
ในปีเพาะปลูก 2550 ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยต่อไร่ทั่วประเทศประมาณ 3.7 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตหัวสดต่อไร่ในปี 2534 (2.2 ตันต่อไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่สูงขึ้นเกิดจาก

1.1 มันสำปะหลังพันธุ์ดี เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีทดแทนมันสำปะหลัง พันธุ์ดั้งเดิมมากขึ้น ทั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศ ไทย และกรมวิชาการเกษตรได้แนะนำพันธุ์ดี ปี 2534 คือ พันธุ์ระยอง 90 ปี 2535 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ปี 2537 พันธุ์ระยอง 5 ปี 2542 พันธุ์ระยอง 72 ปี 2546 พันธุ์ห้วยบง 60 และปี 2548 พันธุ์ระยอง 7 และระยอง 9 พันธุ์ใหม่เหล่านี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จนเป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตหัวสดและเชื้อแป้งในหัวสดสูง เมื่อมีการนำพันธุ์ดีเหล่านี้ไปปลูกย่อมทำให้ผลผลิต ต่อไร่สูงขึ้นด้วย มันสำปะหลังพันธุ์ดี หมายถึง พันธุ์ที่ทางราชการรับรองเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ซึ่งในกระบวนการรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน หน่วยงานที่ยื่นขอจะต้องแจกแจงรายละเอียดถึง ความเป็นมาของการพัฒนาพันธุ์ พร้อมทั้งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นพันธุ์ที่ได้ทดลองและทดสอบ 1.2 วิธีการปลูกที่ถูกต้อง มันสำปะหลังพันธุ์เดียวกัน เมื่อนำไปปลูกต่างพื้นที่ (ต่างสภาพแวดล้อม) ย่อมให้ผลผลิตแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมในที่นี้หมายถึง ดินที่ปลูกรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณน้ำฝน และวิธีการดูแลมันสำปะหลังในแปลง (การคัดเลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ ระยะปลูก การใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช) เกษตรกรควรมีความเข้าใจในพันธุ์มัน สำปะหลังที่ปลูก เพื่อที่จะได้เอาใจใส่พร้อมทั้งจะได้ปฏิบัติดูแลได้ดีขึ้น จากรายงานผลการสำรวจ มันสำปะหลังโรงงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า ในปี 2546 เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 30.3 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในปี 2550 อัตราปุ๋ยที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 32.7 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก แม้ในปี 2550 มีอัตราการใส่น้อยลงกว่าปี 2546 แต่พื้นที่ที่ใส่กลับเพิ่มขึ้น ปี 2545 มีพื้นที่ใส่ปุ๋ยคอก 767,763 ไร่ ปุ๋ยหมัก 16,116 ไร่ ส่วนในปี 2550 มีพื้นที่ใส่ปุ๋ยคอก 941,846 ไร่ ปุ๋ยหมัก 25,527 ไร่) แสดงว่าเกษตรกรเข้าใจมากขึ้นว่า การปลูกมันสำปะหลังควรมี การใส่ปุ๋ย และการใส่ปุ๋ยไม่เพียงจะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นการช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ มีการปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

ผู้เขียนจึงขอสรุปทำความเข้าใจว่า ผลผลิตหัวสดต่อไร่ของมันสำปะหลังในประเทศ ไทยที่เพิ่มขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นผลมาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกเกิดมาจากมันสำปะหลังพันธุ์ดี ส่วนที่สองเกิดจากความเข้าใจในสภาพพื้นที่ปลูก การใช้ปัจจัยการผลิต และมีการจัดการ ที่ดี ซึ่งทั้งสองส่วนจะต้องประกอบกัน

2) เทคนิคการเพิ่มผลผลิตหัวสดต่อไร่ ในอดีตจากรายงานคณะกรรมการบริหารสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2543 – 2544 ผู้ขียนและคณะซึ่งได้แก่ อาจารย์ปิยะวุฒิ พูลสงวนศาสตราจารย์ ดร .เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เอ็จ สโรบล อาจรย์จำลองเจียมจำนรรจา ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ ดวงพัตรา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัชรี เลิศมงคล ได้เสนอ บทความเรื่อง เทคนิคในการเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลัง ซึ่งสรุปได้ว่า การ เพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังควรใช้เทคนิคดังนี้

(1) การใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดี โดยเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ใหม่ เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 และระยอง 5 ทดแทนพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งพันธุ์ใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตในแปลงเกษตรกรได้สูงถึง 10 ตันต่อไร่ และปริมาณแป้ง 28 เปอร์เซ็นต์

(2) การวางแผนการปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล เนื่องจากการปลูกมันสำปะหลังทั้ง ประเทศยังต้องอาศัยน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาลเป็นหลัก การปลูกจึงอาจเลือกปลูกได้ทั้งปลายฤดูฝน (พฤศจิกายน – มกราคม) หรือต้นฤดูฝน (กุมภาพันธ์ – เมษายน)

(3) การปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับผลผลิตแบบยั่งยืน ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินที่ปลูกมันสำปะหลัง เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพร้า ปอเทือง) ไถกลบ การใช้ปุ๋ยคอก เช่น มูลไก่ มูลวัว และการใช้ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับโครงสร้างดินที่แน่นทับ และช่วยให้ต้นมันสำปะหลังสามารถดูดใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สำหรับพื้นที่ปลูกที่มีความลาดเท ควรมีการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารจากแปลงปลูกโดยการปลูกแฝกเป็นแนวขวางความลาดเทไว้ด้วย

(4) การเตรียมดิน ควรไถดินให้ลึกและพรวนให้มีความร่วนซุย ซึ่งนอกจากจะเป็น การกำจัดวัชพืชและทำให้ดินเก็บกักความชื้นไว้ได้แล้วยังช่วยให้ท่อนพันธุ์สัมผัสกับเม็ดดินได้ดี เพิ่มความงอกได้สูงขึ้นด้วย

(5) คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมและใช้วิธีการปลูกที่ถูกต้อง โดยเริ่มตั้งแต่ใช้ต้นพันธุ์ที่มีอายุประมาณ 11-12 เดือน เลือกส่วนที่มีสีน้ำตาลตัดเป็นท่อนพันธุ์ และไม่ควรเก็บต้นไว้นานเกิน 15 วัน แต่ถ้าจำเป็นการเก็บต้นพันธุ์รวมเป็นกอง วางตั้งไว้ในแปลงให้โคนต้นสัมผัส ดินอาจเก็บได้นานถึง 2 เดือน ท่อนพันธุ์ที่ตัดแล้วยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ปลูกตั้งตรงหรือเฉียงเล็กน้อย โดยปักให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร หรือครึ่งหนึ่งของความยาวของท่อนพันธุ์จะ เหมาะสม

(6) การจัดระยะปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่ปลูกแต่ละแห่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่างกัน การใช้ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นอาจใช้ได้ตั้งแต่ 1.0 x 1.0 เมตร 1.0 x 1.20 เมตร 1.20 x 1.20 เมตร 1.0 x 0.8 เมตร หรือ 0.8 x 0.8 เมตร ซึ่งอาจต้องคำนึงถึงการใช้ผานขุดเก็บเกี่ยวหัวไว้ด้วย แต่การปลูกถี่เพื่อให้ได้จำนวนหัวมากไม่ได้แสดงว่า มันสำปะหลังที่ปลูกจะให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง

(7) การกำจัดวัชพืช ในช่วง 1–4 เดือนแรกหลังปลูกควรให้พื้นที่ปลูกมีวัชพืชน้อยที่สุด ซึ่งการกำจัดวัชพืชในช่วงดังกล่าวอาจใช้จอบถาก หรือสารฆ่าวัชพืชก็ได้ ส่วนจำนวนครั้งที่ ต้องกำจัดวัชพืชไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณวัชพืช

(8) การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุย๋ เคมีเป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้อย่าง ชัดเจน ชนิดปุ๋ยที่แนะนำได้แก่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่แบบขุดหลุมห่างต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบจะลดการสูญเสีย

(9) การขุดเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม การยืดอายุเก็บเกี่ยวมากกว่า 1 ปี ผลผลิตหัวสดจะเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน ส่วนใหญ่จะขุดเก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 11-12 เดือน ถ้าขุดในช่วงแรกปริมาณแป้งจะสูง บทความข้างต้นได้มาจากเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 4 ของโครงการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ดำเนินการโดยภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2542 ภายใต้โครงการเดียวกันก็ได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 1 เรื่อง มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ฉบับที่ 2 เรื่องดินและปุ๋ยมันสำปะหลัง ฉบับที่ 3 เรื่อง การจัดการวัชพืชในไร่มันสำปะหลัง ฉบับที่ 5 เรื่อง การ แปรรูปและการใช้ประโยชน์มันสำปะหลัง และฉบับที่ 6 เรื่อง เครื่องจักรกลเกษตรที่ใช้ในการ เพาะปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งเอกสารทั้งหมดได้แจกจ่ายให้เกษตรกรหมดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ต่อมาในปี พ.ศ.2546 ผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นวิทยากรในโครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างวิทยากรมันสำปะหลังในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) และเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) คณาจารย์จากวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี และพนักงานของสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง ณ อาคารเคยูโฮม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 4 พฤษภาคม และวันที่ 4-8 สิงหาคม 2546 ผู้เขียนได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง การเขตกรรมที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ซึ่งสรุปได้ว่า การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังสามารถทำได้ด้วย 3 วิธีการร่วมกัน วิธีการแรกคือ การเลือกใช้หรือเลือกปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี มันสำปะหลังพันธุ์ดีในที่นี้หมายถึง พันธุ์ที่ให้ผลผลิต และปริมาณแป้ง (เปอร์เซ็นต์แป้งในหัว) สูง เนื่องจากการซื้อขายหัวมันสำปะหลัง ราคาจะถูก กำหนดโดยเปอร์เซ็นต์แป้งและน้ำหนักของหัว นอกจากนี้พันธุ์ดียังต้องมีลักษณะอื่น ๆ ที่ต้องการด้วย เช่น งอกดี ความอยู่รอดสูง โตเร็ว คลุมวัชพืชได้ดี ต้านทานต่อโรคแมลง ขุดเก็บเกี่ยวง่ายและเป็นพันธุ์ที่ผู้ซื้อ (โรงงาน) ต้องการ ซึ่งมันสำปะหลังพันธุ์ดีในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 90 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งได้แนะนำให้เกษตรกรปลูกคือพันธุ์ห้วยบง 60 และมันสำปะหลังพันธุ์ดีเหล่านี้ จะมีข้อเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกันไป และมีความสามารถในการให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ปลูก ด้วย วิธีการที่สองคือการจัดการดินให้ดี เนื่องจากธาตุอาหารที่มันสำปะหลังต้องใช้เพื่อการสร้าง ต้น ใบ และหัวนั้นจะได้มาจากดินเป็นส่วนใหญ่ การจัดการดินให้ดีเพื่อให้มันสำปะหลังสร้างหัวดีนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสม ต้องบำรุงดินเพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์และต้องมีการอนุรักษ์ดินเพื่อให้มันสำปะหลังสร้างหัวได้อย่างยั่งยืน ส่วนวิธีการที่สาม คือ การจัดการดูแลดี โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินดี เลือกใช้ต้นพันธุ์ (ท่อนพันธุ์)ที่สมบูรณ์ปลูก คือ ใช้ต้นพันธุ์ที่มีอายุและส่วนของต้นที่เหมาะสม ความยาวของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นต้นพันธุ์ที่มีการเก็บรักษาถูกต้อง ใช้วิธีและระยะปลูกที่ถูกต้อง เลือกฤดูปลูกให้เหมาะสม มีการกำจัดวัชพืช ไม่ว่าจะใช้คน เครื่องจักร หรือสารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องเหมาะสมและทันเวลา ใส่ปุ๋ยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอนินทรีย์ให้เหมาะสม ดูแลเรื่องโรคแมลง และขุดเก็บเกี่ยวให้ถูกต้องเหมาะสม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้สูงขึ้นตามที่ต้องการได้นั้น ต้องประกอบด้วย 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น การเลือกใช้แต่เพียงวิธีการใดเพียงวิธีการเดียว ผลผลิตมันสำปะหลังอาจเพิ่มขึ้นได้บ้าง แต่จะไม่เป็นไปตามศักยภาพของพันธุ์และพื้นที่ และผลผลิตที่ได้ก็อาจไม่ยั่งยืนด้วย

3) เทคนิคการเพิ่มผลผลิตหัวสดต่อไร่ ในปัจจุบัน คำถาม เทคนิคการเพิ่มผลผลิตหัวสดต่อไร่ในปี พ.ศ.2551 แตกต่างจากอดีตหรือไม่ ตามความเห็นของผู้เขียนตอบได้ว่า เทคนิคอาจมีความแตกต่างแต่อยู่ในหลักการเดียวกัน หลักการ (ทฤษฎี) และเทคนิคต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้มีการวิจัยทดลองและทดสอบตามหลักวิชาการจนเกิดความ

มั่นใจก่อนที่จะทำการแนะนำหรือส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้หรือเกษตรกรผู้ปลูก ดังนั้นในการเสนอแนะเทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ครั้งนี้ ผู้เขียนใคร่ขอเสนอในส่วนที่เพิ่มเติมจากในอดีต ดังนี้

(1) เลือกใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก
มันสำปะหลังพันธุ์ดีในหัวข้อ 1.1 สามารถนำไปปลูกได้ทั้งหมด เนื่องจากหน่วยงานที่แนะนำพันธุ์ดังกล่าวย่อมเป็นหลักประกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูก นอกจากนี้ตามรายงานผลการสำรวจมันสำปะหลัง โรงงาน ปี 2550 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า ในปี 2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวม 7.6 ล้านไร่ โดยแยกเป็นพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ร้อยละ 55.4 ระยอง 5 ร้อยละ 21.8 ระยอง 90 ร้อยละ 10.7 ระยอง 60 ร้อยละ 3.9 และพันธุ์ห้วยบง 60 ร้อยละ 2.3 แต่การเลือกใช้พันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับพื้นที่ปลูกของตัวเอง เกษตรกรต้องยอมเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำ

พันธุ์เหล่านั้นมาทดลองปลูก เมื่อได้ทดลองโดยการใส่ปัจจัยการผลิตเหมือนกันทุกพันธุ์แล้ว พันธุ์ใดที่ให้ผลผลิตและเชื้อแป้งดีที่สุด แสดงว่า พันธุ์นั้นเหมาะกับพื้นที่ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการแนะนำพันธุ์ที่มีชื่อแปลก ๆ ซึ่งเกษตรกรก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกันกับข้อแนะนำข้างต้น คือ ซื้อมาไม่ต้องมากแล้วทดลองปลูกด้วยตัวเอง ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ไม่ควรลงทุนในการซื้อต้น พันธุ์ราคาแพง เนื่องจากการเพิ่มผลผลิตหัวสดไม่ได้เกิดจากการใช้พันธุ์ดีแต่เพียงอย่างเดียว และมันสำปะหลังขยายพันธุ์ด้วยลำต้น ดังนั้นการรอให้มีต้นพันธุ์เพิ่มขึ้น ราคาต้นพันธุ์ย่อมจะถูกลง

ในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าธุรกิจการค้าพันธุ์มันสำปะหลังคึกคักมากพอควร แต่สิ่งที่ควรระวังในอนาคต คือ การใช้พันธุ์มันสำปะหลังอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากพันธุ์ใหม่จะมีการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืช เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้สร้างพันธุ์

ดังนั้นการนำพันธุ์ใหม่ไปปลูกโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจะเป็นการละเมิดสิทธิ์ และ ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยี จะทำให้การพิสูจน์ดีเอ็นเอของพันธุ์พืชเป็นไปอย่างชัดเจน


(2) การเลือกใช้วิธีการผลิตอย่างถูกต้อง
2.1 เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ หมายความว่า ควรเป็นต้นพันธุ์ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 8 เดือน แต่ไม่ควรมีอายุมากกว่า 14 เดือน การเร่งขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเร็วกว่าปกติเนื่องมาจากราคาจูงใจในช่วงก่อนฤดูเก็บเกี่ยวปี 2551 ซึ่งมันสำปะหลังมีอายุได้เพียง 6-7 เดือน ทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นพันธุอ์ ่อนปลูกต่อ ผลที่ตามมาคือ ท่อนพันธุ์มีความงอกต่ำ แต่ถ้างอกได้ก็ จะเป็นต้นที่มีพุ่มใบเล็ก ไม่แข็งแรง ถ้าเจอสภาพแล้งหรือขาดฝน ต้นที่งอกจะตายได้ง่าย สิ่งที่ควร ปฏิบัติในกรณีนี้คือ เมื่อราคาจูงใจควรขุดเก็บเกี่ยวเพียง 8 ใน 10 ส่วนของพื้นที่ ที่เหลือ 2 ส่วน ควรทิ้งไว้ในแปลงโดยไม่ขุด เพื่อไว้ใช้เป็นต้นพันธุ์สำหรับฤดูกาลปลูกถัดไป การคัดท่อนพันธุ์ที่ สมบูรณ์ปลูก ทำให้ได้ต้นที่แข็งแรง พุ่มใบใหญ่ โตเร็ว และไม่ควรใช้สารใด ๆ ในการเร่งราก

2.2 ปรับปรุงโครงสร้างและบำรุงดินที่ปลูกมันสำปะหลัง ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ใส่ในดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังจะช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย ช่วยอุ้มความชื้นและยึดจับธาตุอาหารไม่ให้สูญเสียออกไปจากพื้นที่ได้ง่าย และทำให้รากมันสำปะหลังสามารถดูดใช้ธาตุอาหารในดินหรือจากปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยหมักเปลือกมันเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ จึงทำให้เกษตรกรนิยมใช้มากขึ้นโดยหว่านก่อนไถ ซึ่งสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทสูงควรต้องใส่ทุกปีที่ปลูก และปลูกแฝกเป็นแนวขวางความลาดเท เพื่อช่วยอนุรักษ์ดินและธาตุอาหารไม่ให้ถูกชะล้างออกจากแปลง

2.3 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 สูตร 16-16-16 หรือสูตร 15-7-18 ยังคงเป็นปัจจัย การผลิตที่ต้องใส่เพื่อเพิ่มผลผลิต แม้ในปัจจุบันปุ๋ยเคมีจะมีราคาแพงขึ้นก็ตาม

2.4 การให้น้ำ แม้มันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี และไม่ชอบพื้นที่ดินชุ่มน้ำ แต่สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ดอนทั่วไป การให้น้ำอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้น้ำในระยะที่ฝนทิ้งช่วง หรือช่วงฤดูแล้ง ส่วนพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งอาจเป็นน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากโรงงานแป้งหรือจากแหล่งน้ำอื่น ๆ วิธีการให้น้ำ อาจให้เป็นระบบน้ำหยด หรือแบบหัวฉีด ซึ่งจะทำให้ ประหยัดน้ำได้มาก ต้นทุนในการวางระบบประมาณ 7,000-10,000 บาทต่อไร่ และมีอายุการใช้งานได้นานถึง 4-5 ปี มันสำปะหลังที่ปลูกโดยการให้น้ำสามารถให้ผลผลิตหัวสดไม่ต่ำกว่า 10 ตันต่อไร่



ที่มา : รายงานประจำปี 2550 สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
www.tapiocathai.org/Articles/51_4.pdf






หน้าก่อน หน้าก่อน (2/9) - หน้าถัดไป (4/9) หน้าถัดไป


Content ©