-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 497 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง




หน้า: 2/2




กลเม็ดการฟื้นฟูดินอย่างได้ผล

หลังจากที่มีกระแสเรื่องการเตรียมบ่อโดยใช้วิธีการปรับปรุงดินให้กลับมามีชีวิตเผยแพร่ออกไป ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ดินพื้นบ่อมีคุณภาพดีขึ้น ส่งผลให้กุ้งโตดีและเลี้ยงง่ายขึ้น ปรากฏว่ามีเกษตรกรนำข้อมูลของผู้ที่ใช้วิธีการฟื้นฟูปรับปรุงดินไปปฏิบัติตามกันเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพบ่อของตัวเอง จนเกิดปัญหาตามมามากมาย นสพ.กุ้งไทย จึงได้ไปสอบถามวิธีการปฏิบัติในการปรับปรุงฟื้นฟูดินที่ถูกต้องจากเกษตรกรที่ใช้วิธีการดังกล่าวอยู่ เพื่อนำมาฝากท่านผู้อ่านกันอีกครั้ง

วิธีการใช้ฮิวมัสปรับปรุงดินที่ถูกต้อง



คุณนันทาศักดิ์ หงษ์กิตติยานนท์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งปัตตานี กล่าวถึงเทคนิคฟื้นฟูดินให้มีชีวิตว่า ก่อนที่จะทำการปรับปรุงดิน เกษตรกรต้องทราบสภาพดินในบ่อของตัวเองก่อนว่าเป็นอย่างไร ดินมีค่าพีเอชและอัลคาไลน์อยู่เท่าไร โดยปกติในการเตรียมบ่อ ตนจะใช้ฮิวมัสในการปรับปรุงฟื้นฟูคุณภาพดิน สาเหตุที่เลือกใช้ฮิวมัส เนื่องจาก ฮิวมัสมีค่า ซีเอ็นเรโช (C:N) ที่เหมาะสม คืออยู่ที่ 25:1 นอกจากนี้ฮิวมัสยังสามารถรักษาความชื้นได้ถึง 8 เท่า และมีประจุลบ/ประจุบวกสามารถจับสารโลหะหนักและปล่อยแร่ธาตุออกมา ที่สำคัญฮิวมัสมีจุลินทรีย์และเชื้อราตัวดี ซึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตเล็กในดินอีกด้วย

สำหรับการเตรียมบ่อแบบฟื้นฟูดินให้มีชีวิต ควรหลีกเลี่ยงการฉีดเลนเพราะจะทำให้โครงสร้างของดินและอาหารในดินเสียไป วิธีการที่ถูกต้อง หลังจากจับกุ้งเสร็จก็ให้ดันขี้เลนขึ้นแล้วทำการวัดพีเอชดิน จากนั้นหว่านฮิวมัสซึ่งเป็นสารอินทรีย์ฟื้นฟูดินลงไป สำหรับอัตราการใช้ฮิวมัสขึ้นอยู่กับสภาพพีเอชของดิน คือ ถ้าพีเอชอยู่ที่ 4 ใช้ฮิวมัช 300 กก./ไร่ พีเอช 5 ใช้ 500 กก. แต่ถ้าพีเอชสูงกว่า 5 ใช้ 200 กก. หลังจากหว่านฮิวมัสทั่วบ่อแล้ว ก็ให้ฉีดพรมจุลินทรีย์ลงไปเพื่อเป็นการรักษาความชื้นให้กับดิน สูตรการหมักขยายจุลินทรีย์ (อัตราใช้ต่อไร่) มีกากน้ำตาล 20 กก. น้ำ 400 ลิตร และจุลินทรีย์บาซิลัส 1 กก. หมักขยายไว้ 1 คืน พอช่วงเช้าก็ฉีดพรมให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ พีเอชดินก็จะค่อยๆ ขึ้นมาเองและมีสัตว์หน้าดินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นทำการสูบน้ำเข้าบ่อด้วยวิธีการกรอง ถ้าเป็นพื้นที่เสี่ยงก็จะทรีทน้ำฆ่าพาหะ แล้วมีการลากโซ่กระตุ้นพื้นบ่อทุกวัน เมื่อมีสีน้ำเกิดขึ้นสวยแล้ว ก็สามารถปล่อยลูกกุ้งได้

คุณนันทาศักดิ์ ฝากเตือนมาว่า ในช่วงหน้าร้อนนี้ เกษตรกรต้องพยายามคุมอาหารให้ดีและถ้าลากโซ่พื้นบ่อได้จะดีมาก ทั้งนี้ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากให้อาหารมากเกินไป ก็ให้งดอาหารและตีน้ำมากๆ ไว้ก่อน ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาได้



ต้องรู้จักสภาพบ่อตนเองก่อน
 



คุณวิษณุ หยกจินดา เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแนวชีวภาพ จ.จันทบุรี กล่าวว่า การจะใช้วัสดุอะไรก็ตามในการปรับปรุงดินนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะของแต่ละบ่อ ตรงนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าจะใช้ในปริมาณเท่าใด เกษตรกรต้องทดลองทำด้วยตัวเอง เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสม
 
"การเตรียมบ่อของผมจะใช้แนวทางการปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยชานอ้อยหมัก บางคนกลัวว่าถ้าใช้ปุ๋ยหมักในช่วงหน้าร้อนจะทำให้แพลงก์ตอนบลูม แต่ปุ๋ยชานอ่อยหมักที่ผมใช้มีค่าไนโตรเจน (N) ไม่สูง คือ มีค่าซีเอ็นเรโช (C:N) ) ไม่เกิน 20-30 : 1 จึงไม่ทำให้แพลงก์ตอนบลูม สำหรับเกษตรกรที่มีปัญหาเมื่อใช้ปุ๋ยหมักในช่วงหน้าร้อนแล้วแพลงก์ตอนบลูม ผมคิดว่าเขาคงจะใช้พวกปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น ขี้ไก่ ขี้วัวหมัก ซึ่งมีไนโตรเจนสูง หรืออาจจะใช้ปุ๋ยหมักที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ พอแดดจัดจึงทำให้แพลงก์ตอนบลูมเร็ว"

คุณวิษณุ กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะฝากถึงเกษตรกร ก็คือ ก่อนจะใช้อะไรต้องรู้จักสภาพบ่อของตัวเองก่อน บางครั้งบ่อมีสภาพแวดล้อมดีอยู่แล้ว พีเอชในดินดีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องหาอะไรไปใส่ แต่ถ้าบ่อเสื่อมสภาพแล้วก็ไม่ควรดันทุรังเลี้ยงแบบเดิม ควรมีการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ทำแบบมีเหตุมีผล คิดก่อนลงมือทำ ไม่ใช่ทำตามคนอื่นอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้ได้ผลร้ายมากกว่าผลดี สำหรับเทคนิคการเลี้ยงกุ้งในช่วงหน้าร้อน เกษตรกรต้องควบคุมอาหารให้เข้มงวด เพราะของเสียที่มาจากอาหารอันตรายมาก เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้กระบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นเร็ว ซึ่งถ้าเกิดปัญหาให้อาหารมากเกินไป วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ งดอาหารและถ่ายน้ำควบคู่กันไปก็จะช่วยได้


อย่าทำตามคนอื่น
 



คุณอานนท์ อารีราษฎร์ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งคุณภาพ (ซีโอซี) จ.ระยอง กล่าวว่า เทคนิคการเตรียมบ่อแบบการปรับปรุงคุณภาพดิน ในเบื้องต้นเกษตรกรต้องรู้จักดินพื้นบ่อของตัวเองก่อน เกษตรกรบางคนใส่วัสดุปรับปรุงดินโดยที่ไม่เช็คคุณภาพดินของตัวเองเลยว่าดินเป็นกรดเป็นด่างเท่าไร ฟอสเฟตในดินมีไหม ฯลฯ อยู่ๆ ก็ใส่ 300-400 กก./ไร่ หรือบางคนก็ใส่กันไร่ละเป็นตันๆ จนสุดท้ายมารู้ตัวว่าใส่มากเกินไปก็ตอนเกิดปัญหาแก้ไขไม่ทันแล้ว

"การจะใช้อะไรเราต้องรู้สภาพบ่อของตัวเองก่อนว่าเรายังขาดสิ่งใด เมื่อรู้แล้วเราก็ค่อยเติมในสิ่งที่เราขาด ไม่ใช่เขาบอกว่าตัวนี้ใช้ดีก็แห่กันไปใช้ สุดท้ายกุ้งก็ตาย ไม่ประสบความสำเร็จกันสักราย ผมเลยไม่กล้าพูดว่าควรใช้อะไรในปริมาณเท่าใด เพราะกลัวคนทำตาม ดังนั้นเกษตรกรต้องทดลองทำด้วยตัวเอง อย่าทำตามคนอื่นอย่างเด็ดขาด"


เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำคัญในการเลี้ยงกุ้ง
 



ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผู้ทำโครงการวิจัยฟื้นฟูดินพื้นบ่อกุ้ง กล่าวว่า จากการได้เข้าไปสัมผัสบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร พบว่าสภาพดินและน้ำของเกษตรกรแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางบ่อเป็นดินกรด ก็ต้องปรับพีเอชให้เป็นกลางก่อน บางบ่อขาดสารอินทรีย์ก็ต้องเสริมเข้าไป แต่ถ้าเช็คแล้วดินมีสารอินทรีย์สะสมมากอยู่แล้วก็ไม่ต้องเติม อีกทั้งสภาพดินบางบ่อเป็นดินเหนียว บางบ่อเป็นดินร่วน เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันเป็นเรื่องของแต่ละบ่อ การจัดการย่อมต้องแตกต่างกัน

"ผมคิดว่าหลักการพื้นฐานของการเลี้ยงกุ้งที่ทุกคนยังขาดอยู่ ก็คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็น เช่น เครื่องวัดพีเอช เครื่องวัดออกซิเจน เครื่องวัดแอมโมเนีย ไนไตรท อัลคาไลน์ รวมถึงเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงกุ้ง ถ้ามีเครื่องมือเหล่านี้เกษตรกรก็จะทราบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบ่อของตัวเองอยู่ตลอดเวลา จะได้จัดการได้อย่างถูกต้อง"

ดร.สุริยา กล่าวว่า ในเรื่องของฤดูกาลก็มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงกุ้ง เช่นฤดูร้อนอุณหภูมิสูง การดรอปหรือการตายของแพลงก์ตอนจะมีมาก นั่นหมายถึงวัฏจักรของอินทรีย์สารจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง จะทำให้มีแอมโมเนียสะสมในบ่อมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรต้องระวังในจุดนี้ด้วย




เนื้อหาจากหนังสือพิมพ์ กุ้งไทย

นำเสนอขึ้นสู่เวบไซต์ โดย
www.shrimpcenter.com
เอกอนันต์ ยุวเบญจพล webmaster


http://www.shrimpcenter.com/page000491.html







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (4065 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©