-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 545 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง




หน้า: 2/3


การเจริญเติบโต
การเจริญเติบโตของกบนา จากลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 28-45 วัน ในการเลี้ยงถ้าบังคับให้ลูกอ๊อดเจริญไปเป็นลูกกบเร็วกว่าปกติจะได้ลูกกบมีขนาดเล็ก การฝึกให้กินอาหารยากขึ้นอัตราการรอดตํ่าลง ดังนั้นไม่ควรเร่งให้ลูกอ๊อดเจริญเป็นลูกกบเร็วกว่าอัตราการเจริญเติบโตตามปกติ การเจริญจากลูกกบไปเป็นกบเนื้อใช้เวลา 3-5 เดือน กบเนื้อที่มีอายุประมาณ 4-5 เดือน มีความยาวของลำตัวประมาณ 4 นิ้ว มีนํ้าหนักตัวอยู่ระหว่าง 200-300 กรัม (ขึ้นอยู่กับเพศ) กบที่พบว่ามีขนาดใหญ่ในระยะนี้มักจะเป็นเพศเมีย ส่วนที่มีขนาดเล็กจะเป็นเพศผู้ การเจริญเติบโตของพ่อแม่พันธุ์ใช้เวลา 10-12 เดือน ทั้งนี้การเจริญเติบโตในแต่ละระยะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างในด้านการจัดการ เช่น อาหารที่ใช้เลี้ยง การดูแลรักษาความสะอาดของบ่อ ความหนาแน่นที่ปล่อย และ การคัดขนาด เป็นต้น


ลูกอ๊อด
ไข่กบ
ลูกกบเล็ก
กบ ระยะขึ้นกระดาน
พ่อแม่พันธุ์กบ


อาหารธรรมชาติที่ผลิตได้เอง

1) การเลี้ยงปลวกโดยธรรมชาติ
ปลวกเป็นสัตว์สังคมจะอยู่ร่วมกันมากและช่วยกันทำงานและแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ พ่อแม่พันธุ์ ปลวกทหาร และปลวกงาน


ลักษณะทั่วไปของปลวก จะกินเยื่อไม้ เยื่อพืช กระดาษ ไม้เนื้ออ่อน เป็นอาหาร ไม้เนื้อแข็งหรือ แก่นไม้ ปลวกจะอยู่ในป่าในบริเวณที่มีความชื้นพอเพียงในที่ร่มหรือที่แสงแดดส่องน้อย ปลวกมีโปรตีนประมาณ 20 % ของนํ้าหนักแห้ง มีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับกบขนาดเล็ก การนำปลวกมาให้กบกิน จะทำให้กบเจริญเติบโตเร็ว มีสุขภาพดีแข็งแรง และมีนํ้าหนักดี และยังช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้มาก การเลี้ยงและสร้างแหล่งอาศัยของปลวก เลือกพื้นที่บริเวณใกล้จอมปลวก ทำการขุดหลุม ขนาด 1 X 1 X 1 ศอก นำท่อนไม้แห้ง ไม้เนื้ออ่อน กระดาษลูกฟูก เศษกระดาษ ใส่ลงในบ่อให้เต็ม รดนํ้าให้ชื้นปิดปากหลุมไว้ด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน ปลวกจะมากินท่อนไม้ในหลุม การเก็บปลวกเพื่อนำมาเป็นอาหารเสริม เปิดหลุมเลี้ยงปลวกแล้วหยิบท่อนไม้ 2 ท่อน จากหลุมมาเคาะกันบนปากถัง ปลวกก็จะร่วงหล่นสู่ถังเคาะจนหมด เมื่อปลวกออกจากท่อนไม้หมดแล้ว ให้นำท่อนไม้กลับสู่หลุมตามเดิม ถ้าจำเป็นให้เติมท่อนไม้ ท่อนใหม่ลงในหลุมได้อีก ปิดปากหลุมไว้ตามเดิม เมื่อได้ปลวกตามความต้องการแล้วก็นำปลวกไปให้กบกินเพื่อเป็นอาหาร ปลวกเหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมสำหรับกบเล็ก โดยโรยปลวกลงบนพื้นแห้งในบ่อเลี้ยงกบเล็ก กบจะกินเองตามธรรมชาติ ใช้ปลวกประมาณ 1-2 % โดยนํ้าหนักของกบ โดยสามารถให้กบเล็กกินปลวกได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง - 10 -


2) การเลี้ยงไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินที่เปียกชื้นและมีอินทรีย์สารมาก ซึ่งตัวของไส้เดือนจะประกอบด้วยโปรตีน กรดไขมันสูงมาก มีกรดอะมิโนจำเป็น รวมทั้งแร่ธาตุวิตามินหลายชนิด เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อลดต้นทุน เมื่อสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงได้กินไส้เดือนเป็นอาหารเสริมแล้ว สัตว์เลี้ยงจะมีการเจริญเติบโตที่เร็ว ได้นํ้าหนัก อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องต้นทุนของอาหารเลี้ยงสัตว์ได้มาก


ไส้เดือนจะสามารถผสมพันธุ์วางไข่บนผิวดินได้ทุกๆเดือน และสามารถนำไส้เดือนมาเป็นอาหารเสริมได้เมื่อไส้เดือนมีอายุ 5- 6 เดือน ชนิดของไส้เดือนดิน แบ่งออกเป็นไส้เดือนกลางคืนตัวยาว 8-10 นิ้ว ไส้เดือนสวนตัวยาว 5-7 นิ้ว ไส้เดือนมูลสัตว์ตัวยาว 4-5 นิ้ว และไส้เดือนสีแดงตัวยาว 3-4 นิ้ว ภาชนะสำหรับเลี้ยงไส้เดือน ใช้กระบะไม้ขนาด 60 x 36 X 18 นิ้ว เคลือบภายในด้วยขี้ผึ้งร้อนๆ ด้านนอกทาสีด้วยนํ้ามัน หรือใช้ถังกลม การเตรียมดินสำหรับเลี้ยง ใช้ดินที่มีสารอินทรีย์หรือใช้ดินร่วนผสมสารอินทรีย์ ห้ามใช้ดินที่ปนกรวดทรายมากหรือดินลูกรัง นำดินใส่กระบะให้หนาประมาณ 8-10 นิ้ว รดนํ้าเล็กน้อยให้ดินเปียกชื้นเติมอาหารหมู/ไก่ ที่มีโปรตีน 15 % นำไส้เดือนเริ่มต้นหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัมใส่ลงไป การให้อาหาร ได้แก่ เศษอาหารจากครัวเรือน เศษผัก เศษหญ้า กระดาษลัง เศษกระดาษ เปลือกผลไม้ ผลไม้ หรือใบไม้ที่กำลังเน่า มูลสัตว์แห้งๆ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่าให้อาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้อาหารเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นได้ พรมนํ้าทุกครั้งที่ให้อาหารแก่ไส้เดือนเพื่อเพิ่มความชื้นภายในภาชนะเลี้ยงไส้เดือน ปัจจัยอื่นๆที่ต้องคำนึงในการเลี้ยงไส้เดือน ภาชนะที่เลี้ยงไส้เดือนดิน ต้องอยู่ในที่ร่ม เช่นใต้ร่มไม้ ใต้ถุนบ้าน หรือเป็นโรงเรือนมีหลังคากันแดดกันฝน อุณหภูมิต้องไม่ตํ่ากว่า 20 องศาเซลเซียส ปิดคลุมภาชนะเลี้ยงไส้เดือนด้วยตาข่าย ถ้าอุณหภูมิตํ่ามาก ให้ความร้อนหลอดไฟฟ้า 


ข้อควรระวังในการเลี้ยง
ระวังอย่าให้นํ้าขัง เพราะไส้เดือนจะจมนํ้าตายหรือไม่ก็จะหนีออกจากบ่อเลี้ยง ต้องเจาะรูขนาดเล็กแล้วกรุด้วยตาข่ายมุ้งลวด ดินชื้นอยู่เสมอ เพราะเมื่อภายในบ่อเลี้ยงมีความชื้นที่พอเหมาะ ไส้เดือนจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี ปรับดินให้มีค่าความเป็นกรด-ด่างให้เป็นกลาง การนำไส้เดือนดินมาใช้ ตักดินจากกระบะไปใส่ลงในถังขนาดใหญ่ให้หมด ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ค่อยๆตักดินด้านบนกลับสู่กระบะทีละน้อย ในที่สุดจะพบไส้เดือนดินส่วนใหญ่อยู่ที่ก้นถังนำแล้วก็นำไส้เดือนไปใช้เลี้ยงสัตว์ตามความต้องการ การนำไส้เดือนดินให้กบกิน ควรให้ไส้เดือนดินเป็นอาหารเสริมเมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตของกบเพื่อให้ได้นํ้าหนักที่มาก นั้นคือประมาณ 1-2 เดือนก่อนจับขาย ไส้เดือนจะทำให้กบมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจึงควรให้พ่อแม่พันธุ์กบกินไส้เดือนเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนก่อนให้จับคู่ โดยการโรยไส้เดือนที่ล้างสะอาดปราศจากดินลงบนพื้นแห้งในบ่อเลี้ยงกบ

3) การเลี้ยงไรนํ้า
ไรนํ้าเป็นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม กุ้ง กั้ง ปู มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในนํ้าจืด มีรูปร่างคล้ายไต สีชมพูเรื่อๆ ถึงสีแดง มีขนาดตั้งแต่ 0.5-10.0 มม. ขึ้นกับชนิด แต่ส่วนใหญ่มีขนาด 1-3 มม. ไรนํ้ามีอายุไข 40-50 วัน ขึ้นกับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงชีวิตจะสั้น อุณหภูมิตํ่าชีวิตจะยืนยาวขึ้น ไรนํ้าเข้าสู่ระยะเต็มวัย ใน 6-10 วัน ไรนํ้ากินสิ่งต่างๆ ขนาดเล็กที่ล่องลอยในนํ้า ได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์


คุณค่าทางอาหารของไรนํ้า มีโปรตีน 50% ของนํ้าหนักแห้ง ไขมัน 20-27% ในไรนํ้าเต็มวัย ไขมัน 4-6% ในไรนํ้าวัยอ่อน เริ่มเลี้ยงการเลี้ยงไรนํ้า โดยใช้ตู้ปลา หรือ อ่างปากกว้างขนาดใหญ่ ตั้งไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง เติมนํ้าสะอาดให้เกือบเต็ม หาไรนํ้ามาใส่ลงไป ให้อาหารวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง อาหารสำหรับไรนํ้า ได้แก่ นํ้าเขียว เป็นนํ้าที่มีสาหร่ายเซลล์เดียวสีเขียว แบคทีเรีย ยีสต์ การทำนํ้าเขียว ถ้าต้องการนํ้าเขียวเร็ว ให้นำนํ้าเขียวมาจากแหล่งอื่น มาเติมลงในถังนํ้าที่เตรียมไว้จะได้นํ้าเขียวเร็วกว่าวิธีแรก 


การเพาะแบคทีเรีย
ใช้มูลวัว มูลไก่ที่แห้งหนัก 50-60 กรัม ใส่ลงในถุงผ้าไนล่อน (ถุงน่อง ถุงเท้า) ผูกปากถุง นำไปผูกแขวนในนํ้าที่เลียงไรนํ้า แบคทีเรียจะออกสู่นํ้า เพิ่มจำนวน ควรทำการเปลี่ยนถุงมูลสัตว์สัปดาห์ละครั้ง การเตรียมยีสต์ ใช้ยีสต์ทำขนมปังหรือใช้หมักส่าเหล้า ตักยีสต์ 1 ช้อนชา เติมลงในนํ้าอุ่น 2 ลิตร ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ยีสต์เพิ่มจำนวน นำไปเลี้ยงไรนํ้า การนำไรนํ้าไปเป็นอาหาร ใช้กระชอนที่มีตาขนาดพอเหมาะที่จะให้ไรนํ้า ขนาดเล็กลอดออกไปได้ ตัวใหญ่ลอดไม่ได้ นำไรนํ้าในกระชอนไปเลี้ยงลูกอ๊อด ข้อควรระวัง อย่าปล่อยให้เกิดไรนํ้ามากเกินไป ถ้าไรนํ้าเกิดมากเกินไปจะพากันตายหมด ต้องหมั่นนำไรนํ้าไปเลี้ยงลูกอ๊อดทุกวัน


4) การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
จิ้งหรีด เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก ลักษณะโดดเด่นของจิ้งหรีด คือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ ลักษณะจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย เป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยสีนํ้าตาลเข้มลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. นิสัย กินอาหารเก่ง โตไว ไม่ชอบบิน เดินนุ่มนวลน่ารัก การเลี้ยงจิ้งหรีด สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ จิ้งหรีดสามารถเป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ กบ เป็ด ปลา และอื่น ๆ



วงจรชีวิต
ตัวเต็มวัย
ตัวอ่อนไข่



ความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมีย เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น สามารถทำให้เกิดเสียงได้ โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกัน เสียงที่จิ้งหรีดทำขึ้นเป็นการสื่อสารที่มีความหมายของจิ้งหรีด เพศเมียปีกคู่หน้าเรียบ และมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลม คล้ายเข็มยาวประมาณ 1.50 ซม.


การผสมพันธุ์
เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 3-4 วัน ก็จะเริ่มผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3-4 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่โดยใช้อวัยวะที่ยาวแหลมคล้ายเข็มความยาวประมาณ 1.50 ซม. แทงลงไปในดินลึก 1-1.50 ซม. โดยวางไข่เป็นกลุ่มๆละ 3-4 ฟอง จิ้งหรีดตัวเมีย 1 ตัว จะสามารถวางไข่ได้ประมาณ 1,000-1,200 ฟอง ปริมาณของไข่สูงสุดในช่วงวันที่ 15-16 นับจากการผสมพันธุ์ จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ จนหมดอายุขัย วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วัสดุที่จะนำมาเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง ได้แก่ บ่อซีเมนต์ กะละมัง โดยติดเทปกาวรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดหนีออกนอกบ่อ ใช้พลาสติกกว้างประมาณ 5 ซม. ให้ยาวเท่าเส้นขอบวง ยางรัดปากวง มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอก เพื่อความสะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง ใช้ตาข่ายไนล่อนสีเขียวใช้สำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดและ ป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีด วัสดุรองพื้นบ่อ ใช้แกลบใหม่ๆ รองพื้นหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ ใส่ที่หลบภัยเพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว เช่น ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ เข่งปลาทู ถาดให้อาหารที่ไม่ลึกมาก เพื่อให้จิ้งหรีดได้กินอาหารได้สะดวก ให้นํ้าโดยใช้ที่ให้นํ้าสำหรับลูกไก่และต้องมีหินวางไว้สำหรับให้จิ้งหรีดเกาะได้ไม่ตกนํ้า ถาดวางไข่ใช้ขันอาบนํ้าทั่ว ๆ ไป วัสดุที่ใส่ ใช้ขี้เถ้าแกลบดำ รดนํ้าให้ชุ่ม สถานที่เพาะเลี้ยง ต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น โรงเรือนเลี้ยง ใต้ถุนบ้าน ชายคา บ้าน เป็นต้น การให้นํ้าอาจใช้ต้นกล้วยดิบตัดเป็นท่อนๆ แตงกวา ชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงโม นํ้าเต้า ให้จิ้งหรีดดูดกินนํ้า เมื่อตัวเล็กๆ การให้อาหาร อาหารหลักได้แก่ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาด กะหลํ่า หญ้า มะละกอ อาหารรองใช้อาหารไก่เล็ก ผสมกับแกลบอ่อน อัตรา 1: 1 เมื่อจิ้งหรีดอายุ 40-50 วัน พร้อมที่จะนำมาบริโภคและจำหน่ายต่อไป โรคและศัตรู จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ไม่ค่อยมีโรคและศัตรูรบกวนมากนัก ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่า การกำจัด ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจิ้งหรีดและผู้บริโภค ศัตรูของจิ้งหรีดได้แก่ มด จิ้งจก ไร แมงมุม ดังนั้น ต้องป้องกันโดยใช้ตาข่ายคลุมให้มิดชิด





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©