-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 280 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง




หน้า: 3/3




เรื่องเล่าปลาสลิด



คนไทยทุกคนรู้จักปลาสลิดดีว่า เป็นปลาที่มีรสดี และนิยมกินกันเมื่อเป็นปลา ตากแห้งมากกว่าเป็นปลาสด ปลาสลิดตากแห้งเป็นสินค้าสำคัญ ขายกันภายในประเทศ มากกว่าส่งออกต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันรวมกันเป็นกลุ่มอา เซียน ก็นิยมปลาสลิด ประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ เรียกปลาสลิดว่า Sepat Siam
ดร. สมิท (Dr. Hugh M. Smith) อดีตนักมีนวิทยาระดับโลก และใน ระหว่าง ปี พ.ศ. 2466-2478 เป็นที่ปรึกษากิจการสัตว์น้ำของรัฐบาล ได้มี บันทึกไว้ว่า ปลาสลิดที่แพร่หลายในมาเลเซียและสิงคโปร์ นั้นเป็นพันธุ์ที่ ได้จากเมืองไทย นำเอาไปปล่อยในเขตชลประทานชื่อ เครียน (Krian) ในมลรัฐปิ รัค (Perak) ปลาสลิดก็เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดี

ดร.สมิท ยังได้เขียนบันทึกไว้ว่า ปลาสลิดที่ได้รับจากคลองดอนกำยาน จังหวัด สุพรรณบุรี เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียง คือ มีรสดีกว่าพันธุ์ปลาสลิดจากท้อง ที่อื่น ๆ แต่กรมรักษาสัตว์น้ำไม่มีตัวอย่างใน พ.ศ. 2474 รัฐบาลฟิลิปปินส์ ขอพันธุ์ปลาสลิดจากรัฐบาลไทยเป็นทางการผ่าน ทางกระทรวงการต่างประเทศ ข้าพเจ้าได้รับมอบงานให้จัดหาปลาสลิด 500 ตัว แล้ว ส่งไปทางเรือเมล์เดินทะเลไปกรุงมะนิลา การหาซื้อปลาสลิดก็สะดวก ซื้อจากแพ ปลาน้ำจืด ซึ่งเวลานั้นอยู่ที่ห้องแถวตำบลหัวลำโพงริมถนนบนฝั่งคลองผดุงกรุง เกษม ไม่ไกลจากโรงเรียนสายปัญญา วิธีการส่งปลามีชีวิตนั้นมิได้ทำอย่างที่ กรมประมงจัดทำอย่างในปัจจุบัน ใช้วิธีพื้นบ้านคือใส่ปลาลงในตุ่มดิน ใช้ไม้ แผ่นตีเป็นกรอบปิดก้นและข้าง ซึ่งกันไม่ให้ตุ่มพลิกเวลาเรือโคลง ข้าพเจ้า ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปลาสลิดเลย จึงส่งแต่ปลา 500 ตัวไปเท่านั้น เมื่อได้ส่งปลาสลิดไปประเทศฟิลิปปินส์ ในครั้งนั้น แล้ว ข้าพเจ้าก็มีความคิดว่าเมื่อข้าวและปลาเป็นอาหารประจำวันคู่กันสำหรับ คนไทย เรื่องข้าวนั้นคนไทยมีความสามารถในการเพาะปลูกจนถึงเป็นสินค้าสำคัญ ของประเทศ สำหรับเรื่องปลานั้นเรายังไม่ได้ทำให้เป็นผลอย่างการทำนา เมื่อ ปลาสลิดเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และชีวประวัติมันก็ คล้าย ๆ กับปลากัด คงจะไม่เป็นการยากที่จะทำให้ปลาสลิดเป็นสินค้า ถ้าอาศัย ความรู้จากปลากัดบ้างก็คงจะทำให้งานเร็วขึ้น ถ้าไทยสามารถทำเรื่องนี้ ได้ ไทยก็คงจะได้ชื่อเสียงกับเขาบ้าง เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เขา สามารถเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลเป็นล่ำเป็นสัน ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นก็เลี้ยง ปลาจีน ปลาไนและปลาเงินปลาทองเป็นอาชีพล่ำสันได้
ใน พ.ศ. 2475 ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้ไปเป็นหัวหน้าสถานีบำรุง พันธุ์สัตว์น้ำ ณ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในครั้งนี้นกรมชลประทานพึ่ง ก่อสร้างประตูระบายน้ำที่คลองบอระเพ็ดและฝายน้ำล้นหนองดุกเสร็จ ที่ทำการของ สถานีไม่มี ต้องใช้แพใหญ่หนึ่งหลังผูกไว้กับเสาในบึงใช้เป็นที่ทำงานและที่ พักหัวหน้าสถานี นับว่าสถานีไม่มีอุปกรณ์อะไรเลยที่จะช่วยในเรื่องค้นคว้า หรือวิจัย เพราะงานสำคัญเฉพาะหน้าไปยุ่งอยู่กับงานควบคุมมิให้คนลักลอบจับ ปลา สภาพของบึงบอระเพ็ด จึงชวนให้คิดว่าเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้เรื่อง ปลา งานที่ควรจะได้ศึกษาก็คือชีวประวัติของปลา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสรู้เรื่อง ปลาสลิด ที่บึงบอระเพ็ด มันเป็นปลาชนิดแรกที่ให้การต้อนรับ ปลาสลิดมีมากใน บึงบอระเพ็ด ในต้นฤดูฝนและเมื่อน้ำเริ่มขึ้นในบึง ปลาจะเข้าหาที่ตื้นเพื่อ วางไข่ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสศึกษาปลาสลิดวางไข่ พอข้าพเจ้าอยากรู้ว่าปลาตัว ผู้ตัวเมียมีลักษณะอย่างไร และเอ่ยขึ้นว่าเห็นจะต้องผ่าท้องปลาดู คนงานคน หนึ่งก็บอกว่าตัวผู้ตัวเมียต่างกันนั้นดูได้ที่กระโดง ซึ่งเขาหมายความถึง ครีบหลัง ข้าพเจ้าก็ดีใจที่คนงานสนใจและให้ความรู้ แต่ข้าพเจ้าก็ต้องผ่า ท้องปลาดูอวัยวะภายในเพื่อให้เป็นการแน่นอน ข้าพเจ้าได้มีประสบการณ์ ขึ้น การศึกษาชีวประวัติของปลาต่าง ๆ นั้นจะให้เร็วก็ต้องเข้าถึงชาวบ้าน

ข้าพเจ้าก็ได้อาศัยความรู้เรื่องปลาสลิดจากบึงบอระเพ็ด เป็น แนวการเขียนวิธีเพาะเลี้ยงในบ่อและในนา แต่การนิยมเลี้ยงปลาสลิดก็ยังไม่ เกิดขึ้น เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น ข้าพเจ้าก็ได้คิดว่า การเลี้ยงปลาในบ่อ นั้นจะมีหวังยาก การเลี้ยงปลาในบ่อนั้นจะต้องยุ่งยากทั้งการหาทำเลที่ขุดบ่อ และใกล้น้ำ และข้อสำคัญคือเงินลงทุน ปรากฏว่าในทุ่งรังสิตและในเขตชลประทาน ที่มีน้ำท่วม ชาวนานิยม ทำบ่อล่อปลาเมื่อถึงฤดูน้ำลดหรือจะแห้งก็ปิดทางน้ำ เข้าออกแล้ววิดน้ำออกจับปลา ปรากฏว่าปลาสลิดเป็นปลาพื้น ข้าพเจ้าก็ลงความ เห็นว่าต้องใช้วิธีเพาะเลี้ยงปลาในนาข้าวจะได้เรื่องกว่า กรมประมงจึงวางแนว ทางใช้ทุ่งนาในเขตชลประทานโครงการเชียงราก -คลองด่านตอนใต้เริ่มทำการส่ง เสริม และกว่าจะลงมือได้ก็เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติงานเริ่ม ราว พ.ศ. 2497 กระทรวงการคลังได้ให้งบประมาณ 500,000 บาท เพื่อเป็นเงินให้ ชาวนากู้ไปทำทุนในการเลี้ยงปลาในนา ปลาสลิดก็เป็นปลาชนิดหนึ่งที่ทางการแนะ นำให้เลี้ยง ใน พ.ศ. 2505 มีการทำนาปลาสลิด 800 ราย ใช้เนื้อที่ นา 10,000 ไร่ ใน พ.ศ. 2510 การทำนาปลาสลิดก็ได้มีเนื้อที่ ประมาณ 100,000 ไร่ ผลผลิตในเกณฑ์ เฉลี่ย 150 กิโลกรัมต่อไร่ บัดนี้การทำนา ปลาสลิดในเขตชลประทาน ดังกล่าว มีเนื้อที่ 120,000 ไร่

นับว่าการทำนาปลาสลิดเป็นผลงานที่ควรแสดงความยินดีกับชาวนาปลา และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ได้ปฏิบัติเอง ข้าพเจ้าก็ ปลื้มใจตามด้วย ที่ปลื้มใจก็เพราะว่าคนไทยได้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศกับเขา ได้เหมือนกัน ว่าได้เพราะเลี้ยงปลาพื้นบ้านของตนเองเป็นล่ำเป็นสันได้ มี หน้าตาทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านได้
เรื่องการทำนาปลาสลิดจึงมีเรื่องราวพิสดารพอสมควร มีอุปสรรคที่ได้ขบแตกแล้ว และยังขบไม่แตก และจะมีอะไรเกิดขึ้นเป็นปัญหาอีกได้นั้น ข้าพเจ้าขอเล่าเป็น ข้อ ๆ ดังต่อไปนี้


ปลาสลิด



1. รูปร่างและลักษณะ

ปลาสลิดมีลำตัวแบนข้าง คือ แบนอย่างใบมีดบาง มักจะกล่าวว่า “คล้ายใบไม้” ท่านที่รู้จักปลากระดี่หม้อแล้วก็จะเข้าใจรูปร่างและลักษณะของปลาสลิดได้ เพราะมันคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันตรงที่ปลาสลิดตัวโตกว่าปลากระดี่ปลาสลิดมีลายเป็นริ้วดำหรือบั้งดำ พาดขวางตัวโดยตลอดแต่ไม่มีจุดดำเลย ส่วนปลากระดี่หม้อมีลายเป็นริ้วดำขวางตัวโดยตลอด แต่มีจุดดำ 2จุดอยู่ข้างลำตัวจุดหนึ่งอยู่ที่กลางตัวและอีกจุดหนึ่งอยู่ที่โคนหางลักษณะ อย่างละเอียดของปลาสลิด คือ รูปร่างจะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลำตัววัดจากหัวถึงโคนหางจะยาวประมาณ 2.3-3.0 เท่าของส่วนลึกของลำตัว ครีบหลังมีหนามแข็ง 5-9 อัน และก้านอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีหนามแข็ง 9-12 อัน และก้านอ่อน 36-38 อัน ครีบอกยาวกว่าหัว ครีบท้องจะมีก้านอ่อนอันที่หนึ่งเป็นเส้นยาว ยาวเลยโคนหางเกล็ดตามเส้นข้างของลำตัวนั้นจะนับได้ 55-63 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวเข็มทางด้านหลังและมีเขียวอ่อนตามข้างแบน และมีเส้นดำยาวจากนัยน์ตาจรดโคนหาง ปลาสลิดโตเต็มที่จะยาวถึง 25 เซ็นติเมตร ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ม.ล. อัคนี นวรัตน์ แห่งคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ลูกศิษย์ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีสอบถามถึงเรื่องพันธุ์ ปลาสลิดดอนกำยาน ได้ความว่าปลาสลิดพันธุ์ดอนกำยานนั้นมีสีค่อนข้างดำปนเขียวและมีจุดดำที่ ข้างตัว ข้างละ 7 จุดลักษณะปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียต่างกันดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น คือ เมื่อถึงวัยสืบพันธุ์ ปลาสลิดจะมีอายุประมาณ 6-7 เดือน และมีความยาว 10-12 เซนติเมตร ตัวผู้จะมีสีเข็มกว่าตัวเมีย ครีบหลังของตัวผู้จะยาวจรดโคนหาง หรือพ้นโคนหางไป ส่วนครีบหลังปลาตัวเมียนั้นปลายจะมนและมีความยาวไม่ถึงโคนหางคุณสมบัติสำคัญ อีก 2 ประการ ของปลาสลิด คือ ประการที่หนึ่ง มีอวัยวะหายใจพิเศษ ลักษณะคล้ายกับดอกไม้ที่บานและกลีบเรียงซ้อนกัน อยู่เหนือเหงือก และช่วยให้ปลาสูดอากาศได้โดยตรง แม้ว่ามันจะไม่อยู่ในน้ำ ก็มีความทนทานได้ นักมีนวิทยาจึงจัดให้ปลาสลิดอยู่ในวงศ์ Anabantidae ซึ่งรวมถึงปลาหมอ ปลาหมอตาล ปลาแรด ปลากริม และปลากัด ประการที่สอง คือ คุณสมบัติก่อหวอด ปลาตัวผู้จะเป่าฟองอากาศออกจากปาก และฟองอากาศเหล่านั้นจะติดกันเป็นก้อนกลม ซึ่งเรียกว่า หวอด



2. ที่อาศัย อาหาร และกิริยาวางไข่

ในธรรมชาติ จะพบปลาสลิดอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่นในท้องนา ร่องน้ำ คูน้ำแอ่งน้ำ อ่างเก็บน้ำ หนองและบึงอาหารธรรมชาติได้แก่ พืชและสัตว์น้ำเล็ก ๆ ที่ลอยอยู่ในน้ำ ซึ่งเรียกว่า แพลงค์ตอน และพันธุ์ไม้ที่เน่าเปื่อยแล้วปลาจะวางไข่ในฤดูฝน ซึ่งอาจจะตั้งต้นในเดือนเมษายนและสิ้นสุดในเดือนตุลาคม อุณหภูมิของน้ำจะอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ปลาที่จะวางไข่นั้นยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ปลาจะเลือกบริเวณน้ำว่าง ซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่ใกล้ มันจะก่อหวอดขนาด 10 เซ็นติเมตร วัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง และหวอดจะลอยอยู่บนผิวน้ำและติดกับพันธุ์ไม้ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้มีประสบการณ์ในการเฝ้าปลาสลิดวางไข่ ได้ความว่าเมื่อปลาตัวผู้ได้ก่อหวอดแล้ว มันจะไปไล่ต้อนปลาตัวเมียให้มาอยู่ใต้หวอด ตัวผู้จะงอตัวรัดท้องตัวเมีย เมื่อไข่หลุดออกมาปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมแล้วเก็บไข่อมไว้ในปาก แล้วกลับพ่นไข่เข้าไปในหวอด ตัวผู้จะรัดตัวเมียจนหมดไข่แก่ จะรู้ได้โดยปลาตัวผู้ไล่ตัวเมียออกไปไม่ให้เข้าใกล้หวอดไข่ปลาสลิดนั้นกลม มีขนาด 1 มิลลิเมตร วัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง เมื่อออกใหม่ ๆ จะมีสีเหลือง และมีหยดน้ำมันหนึ่งหยดในเม็ดไข่ด้วย แม่ปลาตัวหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 7,000-10,000 ฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24-48 ชั่วโมง ถุงอาหารของลูกปลาที่ฟักออกใหม่ ๆ นั้นจะยุบหายไปในระยะเวลา 2-3 วัน



3. ทำเลที่อาศัยในประเทศไทย

เอกลักษณ์ของพันธุ์ปลาสลิด ก็คือเป็นปลาที่มีชุกชุม โดยเฉพาะในภาคกลางและจังหวัดปราจีนบุรี เป็นปลาที่ชอบทุ่งน้ำท่วม พันธุ์ปลาสลิดที่มีชื่อเสียงกว่าพันธุ์จากแห่งอื่น ๆ ต้องเป็นพันธุ์จากคลองดอนกำยาน จังหวัดสุพรรณบุรีคลอง (แม่น้ำ) ดอนกำยานนี้อยู่ในตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี คลองนี้เข้าใจว่าเป็นลำแม่น้ำเก่าและตื้นเขิน เริ่มต้นแต่ตำบลดอนเจดีย์ กิ่งอำเภอดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ ไปจดคลองสองพี่น้อง ในฤดูแล้ง น้ำในคลองขาดเป็นห้วง ๆ เป็นที่อาศัยของปลาสลิดอย่างดี ในปัจจุบัน คลองนี้อยู่ในเขตชลประทาน โครงการโพธิ์พระยา เริ่มสร้างใน พ.ศ. 2464 เนื่องด้วยชาวบ้านไม่ได้ช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา มีแต่การจับอย่างเดียว ดังนั้น ใน พ.ศ. 2468 ดร.สมิท ยังไม่สามารถเก็บตัวอย่างปลาสลิดพันธุ์ดอนกำยานได้ บัดนี้ ได้ทราบว่ากรมประมง กำลังจะสร้างสถานีประมงน้ำจืดในจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้น ข้าพเจ้าก็หวังว่ากรมประมงคงจะได้ศึกษาถึงคุณสมบัติของดินและน้ำในคลองดอน กำยานว่าจะมีคุณสมบัติดีนั้นเหลือพอจะเอาไปเป็นแนวทางในการบำรุงพันธุ์ปลา บ้างหรือไม่ปลาสลิดไม่มีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้มาก่อน ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เพราะกรมประมงได้เอาพันธุ์ไปปล่อย การปล่อยก็ทำอย่าง่าย ๆ ดังนั้นกว่าจะได้รู้เรื่องว่าวิธีขยายพันธุ์ปลาแบบนี้นั้นจะเห็นผล ก็ใช้เวลาคอยถึง 10 ปี ดร.สมิท เป็นผู้ที่มีความรอบคอบมาก เพื่อจะให้แน่ว่าปลาสลิดนั้นเป็นปลาคู่กับเมืองไทย ท่านก็ต้องมีหนังสือเป็นทางการถามไปยังกรมประมง ของมาเลเซีย ในเวลานั้นเมืองหลวงอยู่ที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำยืนยันว่าเป็นปลาจากเมืองไทย ทางการเอาไปปล่อยในเขตชลประทานในรัฐปิรัค



4. ชื่อเฉพาะและชื่อสามัญ

ปลาสลิดมีชื่อเฉพาะ ซึ่งเป็นชื่อตั้งตามกฎเกณฑ์ของสัตววิทยา คือ Trichogaster pectoralis (Regan) มีเรื่องว่าปลาสลิดไม่มีชื่อเฉพาะมาก่อนเลยและเพิ่งจะมีขึ้นใน ค.ศ. 1910 (ราว พ.ศ. 2452) เมื่อนักมีนวิทยา ชื่อ Regan เป็นผู้เสนอให้เรียกว่า Trichopodus pectoralis และเวลาเขียนสมบูรณ์แบบก็ต้องเขียนว่า Trichopodus pectoralis Regan แสดงว่า Regan เป็นผู้อธิบายคนแรกถึงลักษณะของปลาสลิดตามระเบียบโลกว่าด้วยการตั้งชื่อ สัตว์ ต่อมาใน พ.ศ. 2476 ดร.สมิท ได้วิเคราะห์ใหม่ เห็นว่าชื่อสกุลของปลาสลิดควรเป็น Trichogaster จึงให้ชื่อปลาสลิดว่า Trichogaster pectoralis และเมื่อเขียนตามแบบสมบูรณ์แล้วเขียนว่า Trichogaster pectoralis (Regan) เอาคำว่า Regan ไว้ในวงเล็บปลาสลิดมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปลาใบไม้” คำว่าสลิดเป็นคำที่ใช้กันมานานมาก ดังนั้นคำว่าปลาใบไม้จึงไม่ติดปาก มีเรื่องเล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงแนะนำให้ข้าราชบริพารในราชสำนักใช้คำว่า “ปลาใบไม้” แทน “ปลาสลิด” เพราะพระองค์ทรงเห็นว่าข้าราชบริพารในราชสำนักบางคนเป็น “พวกใจกระดุกกระดิก” ข้าพเจ้าได้บังเอิญอ่านหลักภาษาไทยพายัพ ซึ่งพระธรรมราชานุวัตร์ เป็นผู้เรียบเรียง จึงรู้ว่าปลาสลิดเป็นคำเพี้ยนมาจาก “จริต” ดร.สง่า สรรพศรี เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเล่าว่า ถ้าชาวเชียงใหม่ใช้คำว่า “สลิดดก” ก็หมายความว่า “จริต”มาก” ข้าราชบริพารในสมัยรัชกาลที่ 4 คงมี “ใจกระดุกกระดิก” ว่าหญิงชาววังกันบ้างก็อาจจะเป็นได้ พระองค์จึงทรงแนะนำให้ใช้ “ปลาใบไม้” แทน จากนั้นมาก็ถือกันว่า “ปลาใบไม้” เป็นราชาศัพท์
ประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศกลุ่มอาเซียนเรียกปลาสลิดว่า Sepat Siam มานานแล้ว ดังได้กล่าวแล้ว นับว่าเขายกย่องเมืองไทยมานานแล้ว



5. เทคนิคการเพาะปลาสลิด

เมื่อได้รู้คุณสมบัติของปลาสลิดพอสมควรแล้ว ข้าพเจ้าก็ออกแบบการเพาะและเลี้ยงเทคนิคนี้แสดงว่าจะไม่มีอะไรมาก หากว่าเข้าใจในเรื่องชีวประวัติของปลา ข้าพเจ้าได้แนะนำให้เพาะทั้งในถังไม้และในบ่อดิน เท่าที่พอจะจำได้นั้นก็คือเลือกพ่อแม่ปลาได้แล้วก็แยกตัวผู้ตัวเมียไว้เพศละ ตัว เก็บไว้ 3-4 วัน ถังไม้จะใช้เพาะพันธุ์มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ลึก 75 เซ็นติเมตร เมื่อจะใช้ถังเพาะพันธุ์ปลานั้นจะต้องล้างหรือทำความสะอาดก่อนแล้วใส่น้ำ ใหม่ ใช้น้ำจากลำคลองหรือบ่อก็ได้ แต่ควรจะกรองเสียก่อนใส่ถัง ใช้ผักบุ้งซึ่งได้ล้างรากสะอาดเช่นเดียวกันแล้วใส่ลงในถัง กะว่าให้ผักบุ้งมีไม่เกิน 1/2 ของเนื้อที่น้ำ ให้มีเพิงกันแดดเพื่อมิให้น้ำในถังร้อนเกินไป จะใช้ทางจากหรือมะพร้าวเป็นเพิงก็ได้ สำหรับถังเพาะขนาดนี้ใช้พ่อแม่ปลา 2 คู่ เป็นที่รู้กันว่าปลาได้น้ำใหม่แล้วก็อยากจะผสมกัน ภายใน 3-5 วัน ก็จะมีหวอดเกิดขึ้นในถัง แสดงว่าการวางไข่ตั้งต้นแล้ว ขนาดไข่ 1 มิลลิเมตร วัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง และมีหยดน้ำมันในเม็ดไข่ด้วย ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 24-48 ชั่วโมง ถุงอาหารของลูกปลาที่ฟักเป็นตัวแล้วนั้นจะยุบหายไปในระยะเวลา 2-3 วัน ในระหว่างที่ยังไม่ยุบก็ไม่ต้องให้อาหาร ต่อจากนั้นก็เอาลูกปลาไปปล่อยลงในบ่อดิน ซึ่งได้เตรียมให้มีอาหารธรรมชาติโดยใช้ปุ๋ยคอกพอสมควรช่วยให้เกิดตัวไรน้ำ ในระยะแรกจะโปรยรำข้าวให้ลูกปลาก่อน ต่อมาก็ให้อาหารเสริมซึ่งใช้ผักบุ้งต้มให้เปื่อยปนกับปลายข้าวเคล้ากับรำ ปั้นเป็นก้อนวางไว้บนไม้ ปลาก็จะมากินเองวิธีเพาะปลาสลิดนี้ สถานีประมงซึ่งรับเอาแบบไปดำเนินการก็ไม่ได้ทำเหมือนกันหมดทุกสถานีมีสิทธิ จะดัดแปลงให้ตามเหมาะสมสำหรับการเพาะขนาดใหญ่นั้น ใช้บ่อดินขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ให้กักน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซ็นติเมตร บ่อเช่นนี้ต้องทำความสะอาดเหมือนถังไม้เพาะพันธุ์ปลาที่จะเป็นศัตรูแก่ปลา สลิดและพันธุ์ไรน้ำที่มากเกินไปก็เอาออกเสีย ต่อจากนั้นก็ใส่ปุ๋ยคอกลงในบ่อดินและใส่น้ำคลองที่ใหม่และสะอาดและได้กรอง แล้ว ปลูกผักบุ้งไว้ที่มุมบ่อทั้ง 4 มุม และมีที่กันแดดไว้ด้วยเช่นเดียวกับที่ทำกับถังเพาะพันธุ์ ใช้พ่อแม่ปลา 50 คู่ ซึ่งได้แยกเพศไว้เพศละถังไว้เป็นเวลา 3-4 วัน ปล่อยลงในบ่อดินนั้น ภายใน 7 วันก็จะมีหวอดลอยติดกับผักบุ้ง แสดงว่าปลาวางไข่แล้ว วิธีเพาะปลาแบบนี้ใช้ได้ทั้งในการเลี้ยงปลาสลิดในนาข้าวด้วย สำหรับนาข้าว 10 ไร่ จะต้องใช้เพาะปลาขนาด 1 ไร่ จึงจะมีลูกปลาพอแก่การปล่อยเลี้ยงในนาข้าว



6. คุณภาพของดิน

ในเขตชลประทานโครงการเชียงราก-คลองด่านตอนใต้กรมประมงได้อาศัยเขตชลประทาน โครงการเชียงราก-คลองด่านตอนใต้ ต่อไปเรียกสั้นว่าเขต ชป. เป็น “หัวหาด ” ในการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในนา ซึ่งในกาลต่อมาชาวนาได้พัฒนาแยกไปเป็นการทำนาปลาสลิดที่สำคัญของประเทศไทย ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะกล่าวขอบคุณกรมชลประทาน โดยกล่าวถึงเขตชลประทานไว้เป็นหัวข้อหนึ่งโดยเฉพาะ จะได้ระลึกไว้เสมอว่า ถ้าไม่มีน้ำแล้ว ปลาทั้งหลายก็ขยายพันธุ์ไม่ได้



7. การทำนาปลาสลิดแบบใหม่

การเลี้ยงปลาสลิดในนาร่วมกับการปลูกข้าวในเขต ชป.ที่มีดินกรุงเทพฯ ชุดใหม่ก็ได้เริ่มมาแต่ พ.ศ. 2502 ระยะแรกปรากฏว่าได้ผลผลิตข้าวและปลาต่อไร่อยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าการจะให้ได้ผลดีทั้งข้าวและปลาในเวลาเดียวกันนั้นเป็นการยาก ต่อมามีชาวนาบางรายได้ทดลองเลี้ยงปลาแต่อย่างเดียวในเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ก่อน ปรากฏว่าได้ผลดีกว่าทำนาข้าวและเลี้ยงปลารวมกัน ชาวนาบางคนมีที่นาซึ่งอยู่ในที่ค่อนข้างลุ่ม และมีวัชพืช เช่น หญ้าทรงกระเทียม หญ้าชันกาด และหญ้าไซ ก็ลองเลี้ยงปลาสลิดในที่เช่นนั้น โดยตัดหญ้าแล้วสุมเป็นกองแช่ในน้ำให้หญ้าเน่าเปื่อยเป็นอาหารของปลาสลิดและ เป็นปุ๋ยช่วยให้เกิดตัวไรเป็นอาหารของลูกปลาสลิดด้วย วิธีการเช่นนี้ก็ถ่ายทอดถึงกันโดยเร็ว จนเกิดเป็นการทำนาปลาสลิดแบบใหม่ขึ้น การทำนาปลาสลิดแบบใหม่มีวิธีการง่าย ๆ คือ ขุดคูรอบแปลงนา คูกว้าง 3 เมตร ลึก 1.5 เมตร ปล่อยให้หญ้าทรงกระเทียมขึ้นตามธรรมชาติ สูบน้ำใส่คูให้เต็ม แล้วใส่พ่อแม่ปลาที่คัดเลือกไว้แล้ว ขนาดตัวยาว 17-18 เซนติเมตร ใช้พ่อแม่ปลาในอัตราไร่ละ 20 กิโลกรัม ไม่ต้องแยกเพศผู้เพศเมียให้เสียเวลา คิดว่าเป็นส่วน 50-50 ทำนาปลา 40 ไร่ ก็ต้องใช้พ่อแม่ปลา 800 กิโลกรัม ปล่อยปลาไว้ในคู 15 วัน และในระหว่างนั้นก็ฟันหญ้าทรงกระเทียมและสุมเป็นกอง ๆ เป็นแถว ๆ ไป สูบน้ำลงคูอีก คราวนี้ให้ท่วมนาและกองหญ้าประมาณ 30 เซนติเมตร ปลาจะขึ้นจากคู เข้าทุ่งและจับคู่ก่อหวอดและวางไข่ ส่วนหญ้าก็เน่าเปื่อยไป เป็นทั้งอาหารของปลาตัวโตโดยตรง และเป็นปุ๋ยซึ่งช่วยให้เกิดไรน้ำเป็นอาหารของลูกปลา ชาวนามีวิธีสังเกตว่าอาหารธรรมชาติเพียงพอหรือไม่โดยดูสีของน้ำ ถ้าน้ำเป็นสีเขียวขุ่นหรือเป็นสีชาแก่ก็แสดงว่าน้ำมีอาหารสมบูรณ์ถ้าน้ำใส มาก ก็หมายความว่าน้ำนั้นมีอาหารสำหรับปลาไม่พอ ชาวนาก็ต้องตัดหญ้าเพื่อน้ำเข้านา ดังนั้น ในการทำนาปลาสลิดแบบใหม่นี้ต้องดูแลให้เครื่องยนต์เพื่อสูบน้ำนั้นใช้การได้ ทุกเวลาความก้าวหน้าเกี่ยวกับการใช้เครื่องตัดหญ้าก็เป็นเรื่องที่น่าชม ไม่ทราบว่าชาวนาเองหรือมีนักประดิษฐ์เป็นผู้คิดขึ้น มีขายในตลาดบางพลี เมื่อจะตัดหญ้าก็ถอด “หาง” ของเรือหางยาวออกแล้วเอาแท่นเครื่องตัดหญ้าใส่ที่ท้ายเรือแล้วเอาใบมีดแบบ อักษรตัวเอสในภาษาอังกฤษ ทำด้วยแหนบรถยนต์ ติดกับแท่นเครื่อง ใช้เครื่องยนต์ 3 แรงม้าของเรือหางยาวนั้นเป็นกำลังฉุดให้เครื่องตัดหญ้าทำงาน ชาวนาจะใช้เครื่องตัดหญ้าดังกล่าวก็เมื่อลูกปลาในนาอายุได้ 3 เดือนแล้ว ก่อนนั้นใช้มีด (พร้า) หวดหญ้า เลี้ยงปลาสลิดในนาแบบนี้อยู่ 7-8 เดือน ก็จะได้ขนาด 20 เซ็นติเมตร เป็นขนาดที่สืบพันธุ์ได้ และเป็นขนาดที่มีคนรับซื้อไปแปรรูปเป็นปลาสลิดตากแห้งเจ้าของนาบางรายมี ประสบการณ์มากก็เลี้ยงปลาดุกปนในนาด้วย แต่ลูกปลาดุกที่ปล่อยนั้นต้องมีอายุเท่ากับลูกปลาสลิด ปลาดุกที่เลี้ยงในนาปลาสลิดเป็นปลาที่มีผิวพรรณน่ากินมาก เพราะไม่เป็นโรคผิวหนังอย่างปลาดุกเลี้ยงกันในตำบลมะขามส้ม จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวนาปลาสลิดไม่นิยมทำปลาสลิดตากแห้งเอง นิยมขายให้แก่ผู้ชำนาญการทำปลาสลิดตากแห้ง ผลผลิตต่อไร่ของการเลี้ยงปลาสลิดแบบนี้จะได้ไร่ละ 150-160 กิโลกรัม เป็นเงินไร่ละ 1,500 บาท มีบางคนเลี้ยงแบบเดียวกันและให้อาหารเสริมด้วย ได้ผลไร่ละ 200 – 400 กิโลกรัม เป็นวิธีที่ยังไม่นิยมกัน



8. ปัญหาลูกปลาสลิดตายเพราะน้ำเปรี้ยว

การทำนาปลาสลิดได้ผลก็ชักจูงให้ราษฎรในท้องที่และต่างท้องที่สนใจและ ตามอย่างเนื่องด้วยที่ในเขต ชป. นั้นยังมีที่ลุ่มที่มีวัชพืช และที่แห้งก็มีหญ้าชะครามขึ้น แสดงว่าดินยังเค็ม เมื่อจะทำนาปลาสลิด ก็ต้องทำในที่ไม่เคยทำเป็นนาข้าวมาก่อน ใน พ.ศ. 2512-2514 มีปัญหาเรื่องลูกปลาสลิดตายเพราะน้ำเปรี้ยว คือ ลูกปลาสลิดในนาจะตายมากภายหลังที่ฟักเป็นตัวได้ 7 วัน ในเวลานั้น ความรู้เรื่องดินกรุงเทพฯ ชุดใหม่เป็นดินเปรี้ยวได้นั้นรู้กันแต่ในกรมพัฒนาที่ดิน ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์มาก แต่กรมพัฒนาที่ดินก็เตรียมแหล่งดินมาร์ลที่จะใช้แก้ดินเปรี้ยวได้นั้นไว้ แล้ว กรมประมงยังไม่มีประสบการณ์เหมือนกัน เพิ่งประสบกับเหตุครั้งแรกซึ่งต้องการคำตอบทันที วิธีแก้ไข คืออย่าให้ดินนาตากแห้งและแตกระแหง ถ้าทำได้เช่นนี้แล้วก็จะไม่เกิดน้ำเปรี้ยว






http://www.ปลาสลิด.net/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94/







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3706 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©