-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 396 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง




หน้า: 1/3


กำลังปรับปรุงครับ


ปลาสลิด (ปลาใบไม้)

ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pecteralis และนิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดียว ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้น เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมืองไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปีที่ผ่านมา และเรียกว่าสยาม หรือเซียมสำหรับแหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียเป็นที่รู้สักว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลายทำให้น้ำธรรมชาติที่จะระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้ เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้นคือกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารต้นทุนการผลิตต่ำ โดยจะเลี้ยงอยู่ในนา คนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิด และบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียก แปลงนาปลาสลิดหรือล้อมปลาสลิด (*) กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง
อุปนิสัย
ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณทีมีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่รย เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกำบังตัวและก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่ สาหร่าย พืชและสัตว์เล็ก ๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างดี

ลักษณะเพศ
ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลัง และสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีสีลำตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันท้องและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด 1:1 เป็นปลาขนาดกลาง น้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัม ดีที่สุด

รูปร่างลักษณะ
ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้างมีครีบ ท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัวมีสีเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำเป็นพื้น และมีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร 
โรค

ปลาสลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากน้ำในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เพราะออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขก็คือต้องถ่ายน้ำเก่าออกและระบายน้ำใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ในบ่ออื่น โดยเฉพาะมักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะต้วแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือดของปลากิน ความเจริญเติบโตของปลาชะงักลง ทำให้ปลาผอม การกำจัดโดยระบายน้ำสะอาดเข้าไปในบ่อให้มาก ๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้

การป้องกันโรคระบาดอีกประการหนึ่งก็คือ ปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ถ้าปรากฏว่ามีบาดแผล ไม่ควรนำลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อ เพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรคราและติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นได้




การสืบพันธุ์
ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลัง และสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีสีลำตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันท้องและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด 1:1 เป็นปลาขนาดกลาง น้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัม ดีที่สุด

การเพาะพันธุ์
ปลาสลิด สามารถผสมพันธุ์แลวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ทั้งนี้ ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังจากที่ได้กำจัดศัตรู ระบายน้ำเข้า และปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว ควรปลูกผักบุ้งรอบบริเวณชานบ่อ น้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้




การจัดการบ่อเพาะพันธุ์ปลาสลิดเพื่อให้ลูกปลามีอัตรารอดสูง

1. ระบายน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิกรัมจนท่วมชานบ่อโดยรอบให้มีระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้น อาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิมเป็นการเพิ่มที่วางไข่ และที่เลี้ยงตัวลูกปลามากขึ้น

2. สาดปุ๋ยมูล โคและมูลกระบือแห้งบนบริเวณชานบ่อที่ไขน้ำท่วมขึ้นมาใหม่ตามอัตราการใส่ปุ๋ย จะทำให้เกิดไรน้ำและผักบนชานบ่อเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย

3. ปล่อยให้ผักขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ ผักเหล่านี้ปลาสลิดจะใช้ก่อหวอดวางไข่ และเป็นกำบังหลบหลีกศัตรูของลูกปลาในวัยอ่อนจนกว่าจะแข็งแรงเอาตัวรอดได้



การวางไข่
ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่ และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองน้ำละลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้งโปร่งไม่หนาทึบเกินไปเช่นเดียวกันปลากัด ปลากริมและปลากระดี่ ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้ง


เมื่อเตรียมหวอดเสร็จแล้ว ปลาก็จะเริ่มผสมพันธุ์กันโดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ จากนั้นปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอด ไข่จะลอยติดอยู่ที่หวอด


นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว ยังเพาะในภาชนะได้อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้ถังทรงกลมปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร น้ำลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้ง โดยทำเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถังเพื่อกำบังแดดใช้ผักบุ้งลอยไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กำลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่มก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโตเช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้นให้ช้อนพ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปแ่กนโดยให้ไข่ผงหรือไรน้ำเป็นอาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รำผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนำหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงมาฟักในถังทรงกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมีชีวิตรอดเป็นจำนวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเอง เพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่นแมลงในน้ำ กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทำลายไข่และลูกปลา อัตราลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะ




การฟักไข่
ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง และทยอยฟักเป็นตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมง ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเป็นราสีขาว ไม่ออกเป็นตัว ลูกปลาที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีถุงอาหารติดอยู่ที่ท้อง และยังไม่กินอาหารโดยจะไม่กินประมาณ 7 วัน เมื่อถุงอาหารยุบหมด ลูกปลาจึงเริ่มกินอาหาร ซึ่งจะสังเกตเห็นลูกปลา ขึ้นเหนือน้ำในตอนเช้าตรู่ ลักษณะคล้ายฝนตกลงน้ำหยิม ๆ


การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์โดยคิดจากลูกปลา
ลูกปลา 300 ตัว มาจากแม่ปลา 1 แม่
ลูกปลา 75,000 ตัว มาจากแม่ปลา 1x75,000 = 250 แม่
แม่ปลา 250 ตัว จะให้ลูกปลา 75,000 ตัว



ศัตรูของปลาสลิด มีหลายประเภท ดังนี้คือ
1. สัตว์ดูดนม เช่น นาก
2. นกกินปลาย เช่น นกกระเต็น นกยาง นกกาน้ำ และเหยี่ยว
3. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า ตะพาบน้ำ ฯลฯ
4. กบ เขียด
5. ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ มวนวน แมงดาสวน จะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อน


ตามธรรมชาติของปลาสลิดย่อมจะรู้จักหลบหลีกศํตรูได้ดี แต่เมื่อนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อ ปลาสลิดยากที่จะหาทางหลบหลีกศัตรูได้ จึงจำเป็นจะต้องช่วยโดยการป้องกันและกำจัด

 
การป้องกันและกำจัดพวกสัตว์ดูดนม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทำรั้วล้อมรอบก็เป็นการป้องกันได้ดี ส่วนสัตว์จำพวกนกต้องทำเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สำหรับปลากินเนื้อชนิดต่าง ๆ นั้น ต้องระวังผักที่จะเก็บลงมาปลูกในบ่อเพราะอาจจะมีไขปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายน้ำเข้าต้องพยายามใช้ลวดตาข่าวยที่มีช่องตาขนาดเล็กกรองน้ำที่จะผ่านลงในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกรงถ้าชำรุดควรรีบเปลี่ยนใหม่


อนึ่ง การล้อมรอบคันบ่อใช้ตาข่ายไนล่อนให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ส่วนล่างของตาข่าวยให้ฝังดินลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มควรต่อตาข่ายไนลอน 2 ผืน หรือเสริมเฝือกสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบ หากชำรุดต้องรีบซ่อม



เมื่อมีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตักและใช้ขัน หรือถังตักลูกปลาทั้งน้ำและตัวปลาเพื่อมิให้ปลาช้ำ ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับน้ำลงทีละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคู โดยเดินตรวจบนแปลงนาว่าไม่มีปลาค้างบนแปลงนาเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ลึกที่สุด สูบน้ำออกจากคูทีละน้อย ปลาจะหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวน


ในกรณีที่ต้องการจับปลาเพื่อใช้ประกอบอาหารประจำวัน ควรใช้ลอบยืนวางไว้ตามมุมบ่อ ถ้าใช้แหทอดหรือสวิงตักที่แป้นอาหารปลาจะเข็ดไม่มากินอาหารหลายวัน


ระยะเวลาที่ควรจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจำหน่าย คือ เดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้น แล้วคัดปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตรอาหาร สปช. 12 วันละ 2% ของน้ำหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น









ปลาสลิดทะเล
เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์


ปลาตัวเล็กสีน้ำตาลที่ชื่อปลาสลิดทะเล ปลากระต่าย หรือ ปลาสลิดหิน (Rabbit fish) ที่ดูเหมือนไม่มีคุณประโยชน์อันใด กลับเป็นปลาที่ช่วยปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย



ศ.เดวิด เบลล์วู้ด ศูนย์ศึกษาแนวปะการัง มหาวิทยาลัยเจมส์คุก ทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ กล่าวว่า ปลาสลิดทะเลช่วยกินวัชพืชที่บางครั้งโตขึ้นมาปกคลุมปะการังอ่อนและทำให้แนวปะการังเสียหาย โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชมากกว่าปลานกแก้ว (Parrot fish) และปลาขี้ตังเบ็ด (Surgeon fish) น่านน้ำออสเตรเลียมีประชากรปลาสลิดทะเลไม่น้อย แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการปกป้องดูแลโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่มันอยู่



ออสเตรเลียไม่ได้จับปลาชนิดนี้รับประทาน แต่เราก็ทำลายแหล่งที่อยู่ของมันซึ่งทำให้มันตาย และจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแนวปะการัง ดังนั้น เราจึงต้องระวังให้มาก เบลล์วู้ดกล่าว



 




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©