-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 489 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง





กำลังปรับปรุงครับ


การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ตอนที่ 1

         
การประกอบอาชีพการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์มักจะมีปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ที่มีมูลค่าสูง ในขณะที่การขายผลผลิตทางการเกษตร ส่วนใหญ่มักไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาทางด้านรายได้ จากการผลิตไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อย ฐานะของเกษตรกรส่วนใหญ่ จึงไม่มั่นคงยากจนและมีหนี้สิน เกษตรกรหลายรายจึงได้พยายามดิ้นรนหาวิธีการช่วยตัวเองให้พ้นจากปัญหานี้ โดยการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งพบว่าหากผสมผสานกิจกรรมทางด้านการเกษตรหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน จะสามารถลดต้นทุนการผลิตของผลผลิตบางอย่างลงได้อย่างมาก โดยการใช้ผลพลอย ได้จากกิจกรรมหนึ่งไปเป็นปัจจัยการผลิตของอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ทำให้ระบบการผลิตโดยรวมมีต้นทุนลดลงดังกล่าวนี้ หลักการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเรื่องที่เกษตรกรรู้จักวิธีการนี้มานานแล้ว แต่การนำไปใช้ในทางปฏิบัติในบ้านเรายังมีอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ การเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลาร่วมกับปลา ก็เช่นกัน เกษตรกรได้ปฏิบัติกันมานานนับศตวรรษแล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออกเช่น ฮังการี ด้วยประเทศเหล่านี้ ต่างยอมรับว่าระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บกที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันและกันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่งเท่าที่มีมา



ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
         1. สามารถใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อ ใช้ปลูกพืช ผัก และใช้เป็นที่สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
         2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็กลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
         3. เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัวถ้าเหลือก็สามารถนำออกขาย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
         4. ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างเดียว และเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
         5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี



ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
         ในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนเลี้ยงสัตว์ จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
         1. แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด เพราะสะดวก และสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรืยนลงสู่บ่อปลา โดยตรง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็วและต้านทานโรคได้ดีขึ้น ทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงานข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้นเนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้นโรงเรือนลักษณะนี้ จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เป็ดหรือไก่เท่านั้น
         2. แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อนแล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง เกษตกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสาน โดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่ากว่า เพราะเป็นการประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นคงต้องใช้แบบหลัง



ขนาด ลักษณะ ของบ่อเลี้ยงปลา และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
         เมื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานได้แล้ว ขอแนะนำให้สร้างบ่อปลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเป็นการเลี้ยงขนาดใหญ่ระดับการค้า ควรขุดบ่อให้มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10-20 ไร่ ลึก 1.1-1.3 เมตร เพื่อเก็บน้ำให้ได้ลึก 1.0 เมตร ถ้าจะขุดติดต่อกันหลาย ๆ บ่อ ควรเว้นคันบ่อไว้ 3.0 -5.0 เมตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปลูกเหนือบ่อปลาปลูกชิดคันบ่อด้านที่อยู่ต้นลม ควรปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเลี้ยงไก่ บนบ่อปลา ขนาด 15 ไร่ โรงเรือนควรมีขนาด 400 ตร.ม. เลี้ยงไก่ได้ประมาณ 9,000 ตัว เล้าไก่ควรสูงจากน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากเป็นโรงเลี้ยงสุกร ในบ่อขนาด15 ไร่ ควรปลูกสร้างบนคันดินของบ่อปลาหรือ เหนือบ่อปลาด้านต้นลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกแบบเรียบง่ายประหยัด ขนาดประมาณ 200 ตร.ม. เลี้ยงสุกรได้มากประมาณ100 ตัว พื้นโรงควรลาดเอียงไปทางด้านบ่อปลา เพื่อสะดวกในการระบายมูลสุกร ลงบ่อปลานอกจากไก่และสุกรแล้ว เกษตรกรอาจจะเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เช่น เป็ด ห่าน แพะ นกกระทา ฯลฯ บนบ่อเลี้ยงปลาได้ การสร้างโรงเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ ควรปรึกษาผู้รู้ เช่น เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารคำแนะนำ หรือตำราวิชาการต่าง ๆ ที่หาได้จากร้านค้าที่จำหน่ายพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ หรือจากร้านหนังสือทั่วไป สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาผสมผสานในชนบทแบบยังชีพ ควรขุดบ่ออย่างน้อยขนาดครึ่งไร่ จนถึงสองไร่ แล้วสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้บนบ่อปลาขนาดของโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ หรือเป็ด บนบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ ควรมี ขนาดประมาณ 40 ตารางเมตร สำหรับเลี้ยงไก่หรือเป็ดได้ 200 ตัว ส่วนโรงเรือนสุกรควรมีขนาดประมาณ 5-8 ตารางเมตร เลี้ยงสุกรได้คราวละ 3-5 ตัว หากเกษตรกรไม่มีทุนมากพอ ก็ลดขนาดของการเลี้ยงสัตว์ลงได้อีกตามกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ แต่ผลผลิตปลาที่ได้จะต่ำลง

อ้างอิง : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



http://www.tgi4u.com/pages/knowlage%201-15.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1642 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©