-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 439 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง





.....


พันธุ์กวางที่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย

          การทำฟาร์มกวางในประเทศไทย มีข้อจำกัดในการห้ามเลี้ยงกวางป่า เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อป้องกันควบคุมการลักลอบจับสัตว์ป่าเพื่อการซื้อขาย พันธุ์กวางที่เลี้ยงทั่วไป ได้แก่

กวางป่า หรือกวางม้า
มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม
เนื้อทราย
มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง
กลางดาว
เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ
กวางรูซ่า
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง
กวางซีก้า
มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน
กวางฟอลโล
มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว
กวางแดง
มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่

ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย

พันธุ์กวาง
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
ประเภทสัตว์
กวางป่า, กวางม้า
Sambar deer
Cervus uniculor
สัตว์เศรษฐกิจ
เนื้อทราย
Hog deer
Cervus porcinus
สัตว์เศรษฐกิจ
กวางดาว
Chital deer
Axis axis
สัตว์เศรษฐกิจ
กวางรูซ่า
Rusa deer
Cervus timorensis
สัตว์เศรษฐกิจ
กวางซีก้า
Sika deer
Cervus nippon
สัตว์เศรษฐกิจ
กวางแดง
Red deer
Cervus elaphus
บัญชีไซเตรส
กวางฟอลโล
Fallow deer
Dama dama
บัญชีไซเตรส
ที่มา : Grzimek (1984)

นอกจากนี้ยังมีกวางมัสค์ (Musk deer, Moschus moschiferus) ที่ประเทศจีนสกัดสารที่มีกลิ่นฉุนจากต่อมบริเวณช่องท้องของกวางตัวผู้ ใช้ทำการผลิตหัวน้ำหอม และกวางในเขตหนาวอื่นๆ เช่น กวางวาปิติ (Wapiti or Elk deer, Cervus canadensis) กวางเรนเดียร์ (Reindeer, Rangifer tarandas) เป็นต้น

ตารางที่ 4 ข้อมูลจำเพาะของกวางพันธุ์ต่างๆ

พันธุ์กวาง
น้ำหนัก (กก.)
ส่วนสูง (ซ.ม.)
ความยาว (ซ.ม.)
ระยะอุ้มท้อง (วัน)
กวางป่า (อินเดีย)
150-315
120-150
170-270
240
เนื้อทราย
70-110
60-75
105-115
220-235
กวางดาว
75-100
75-97
110-140
210-225
กวางรูซ่า
102
110
-
252
กวางซีก้า
45-80
63-109
110-170
222-240
กวางแดง
75-340
75-150
165-265
225-262
กวางฟอลโล
35-200
80-105
130-235
232-237
ที่มา : Grzimek (1984)

กวางป่า หรือ กวางม้า "กวางไทย"

 
ลักษณะทั่วไป  
- ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ภูฎาน ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางส่วนของจีน
- มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
- สีขาวแกมน้ำตาลเข้ม หางค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ หางยาวประมาณ 26-30 ซ.ม. ขนหางด้านล่างมีสีขาว เพศเมียมีสีอ่อนกว่า
- บริเวณหัวตาแต่ละข้างจะมีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ เรียกว่า ต่อมใต้กระบอกตา ใช้ในการผลิตสารที่มีกลิ่นฉุนสำหรับสื่อสารและบอกอาณาเขต จะขยายใหญ่ช่วงฤดูผสมพันธุ์
- เพศผู้อาจมีน้ำหนักถึง 320 กก. แต่ทั่วไปน้ำหนักเฉลี่ย 250 กก. วัดความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 180-200 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงไหล่ 140-160 ซ.ม.
- เพศเมียอาจมีน้ำหนักถึง 250 กก. เฉลี่ย 155 กก. สูง 120 ซ.ม.
อุปนิสัย
          
ชอบอยู่สันโดษ โดยเฉพาะตัวผู้ ได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีการรวมฝูงน้อยที่สุด รวมฝูงประมาณ 2-4 ตัว และส่วนใหญ่จะไม่ต่อสู้เพื่อคุมฝูงตัวเมีย อาศัยในป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางคืนและช่วงเช้า เมื่ออากาศร้อนจะหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า และบางครั้งขอบนอนแช่ในปลักเช่นเดียวกับควาย สายพันธุ์ที่พบในไทยเป็นสายพันธุ์ย่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervus unicolor equinus (สวัสดิ์, 2527)
           กินใบไม้ ประมาณ 66.6% กินหญ้าประมาณ 20.4% และเป็นพืชตามพื้นดินและลูกไม้ประมาณ 13% (Jac Saxton, 1983) และได้ชื่อว่า สามารถปรับพฤติกรรมการกินได้สูงสุด ทั้งนี้ ขึ้นกับแหล่งอาหารและอาหารที่มี

เนื้อทราย หรือ ตามะแน

 
ลักษณะทั่วไป
- มีขนาดเล็ก ขนสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลแกมแดง บางตัวอาจจะมีจุดสีขาวบริเวณลำตัว
- มีถิ่นกำเนิดในที่ราบลุ่มของประเทศอินเดีย ปากีสถาน พม่า เนปาล อัสสัม กัมพูชา เวียดนาม และไทย ปัจจุบันประเทศไทยพบยากมากในป่าธรรมชาติ แต่มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ดีในการเลี้ยงขังตามสวนสัตว์ และฟาร์มเอกชนหลายแห่ง
- ค่อนข้างเจ้าเนื้อ อ้วนเตี้ยคล้ายหมู (Hog)
- เพศผู้เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่หัวไหล่ 70 ซ.ม. หนัก 45-50 กก. เพศเมีย มีขนาดเล็กกว่า สูง 61 ซ.ม. และหนัก 30 กก.
- เขา มีเฉพาะตัวผู้ เขาเทียนจะเริ่มงอกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน และผลัดเปลี่ยนเขาทุกปี เขาของเนื้อทรายจะมีข้างละ 3 กิ่ง คล้ายกับเขาของกวางป่า
อุปนิสัย
          โดยธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง และตามทุ่งหญ้า เนื้อทรายจะตื่นตกใจง่ายคล้ายกับกวางดาว เวลาวิ่งมักจะก้มหัวต่ำและชอบมุด ไม่ชอบกระโจนหรือกระโดด ถ้าถูกต้อนอยู่ในที่คับแคบ ตัวผุ้ที่มีเขาจะทำร้ายกวางตัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้
          เนื้อทรายสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ระยะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน โดยปกติตกลูกครั้งละ 1 ตัว เคยพบอยู่บ่อยครั้งเวลามีลูกอ่อน แม่เนื้อทรายตัวอื่นๆ จะเข้ามาดูแลและแย่งเลี้ยงลูก เนื้อทรายอาจจะผสมพันธุ์กับกวางดาวและละมั่งได้
          เนื่องจากเนื้อทรายเป็นกวางที่ชอบมุด ดังนั้น ในการทำรั้วแปลงหญ้าในส่วนที่ติดดิน ควรก่ออิฐหรือตอกหมุดฝังดินยึดรั้วให้แน่น เนื้อทรายไม่ควรเลี้ยงปนกับกวางอื่น เคยมีผู้เลี้ยงเนื้อทรายปนกับกวางป่า ปรากฏว่าพ่อพันธุ์เนื้อทรายจะควบคุมกวางป่าตัวเมียเวลาเป็นสัด ทำให้พ่อกวางป่าไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ แม้เนื้อทรายจะตัวเล็กกว่า แต่วงเขาแคบ ทำให้กวางป่าไม่กล้าเข้าผสมพันธุ์กับแม่กวางที่เป็นสัด

กวางรูซ่า

 
ลักษณะทั่วไป
- มีขนาดกลาง ลำตัวสีน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลเทา เพศเมียสีอ่อนกว่าเพศผู้
- สูงประมาณ 1.1-1.3 เมตร
- สายพันธุ์ชวารูซ่า น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 120-160 กก. เพศเมีย 65-90 กก.
- สายพันธุ์โมลัคกัน น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 80-100 กก. เพศเมีย 50-60 กก.

อุปนิสัย
- ชอบอยู่เป็นฝูง นิสัยค่อนข้างตื่นตกใจง่าย และจะวิ่งหนี สามารถกระโดยได้สูงถึง 2 เมตร โดยเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
- ช่วงที่เขาแข็ง จะแสดงอาการดุร้าย หวงตัวเมีย จะไม่ให้ตัวผู้อื่นเข้าใกล้ ไล่ขวิดกันจนกว่าจะยอมแพ้หนีไปเอง บางครั้งขวิดกันจนขาหักอาจตายได้
          กวางที่จับแยกจากแม่มาเลี้ยงตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 2 เดือน ค่อนข้างเชื่องและคุ้นเคยกับคนเลี้ยงทั้งเพศผู้และเพศเมีย สามารถปล่อยออกมาเดินเล่นกับคนได้ เมื่อถึงระยะที่เขาแข็งกวางเพศผู้ที่คุ้นเคยกับคนจะดุมาก จะแสดงอาการเดินเข้าหาแบบช้าๆ ขนที่คอจะตั้งชัน ร่องที่ใต้ตาจะเปิดออก ทำริมฝีปากม้วน ฉี่เป็นวงใส่ตัวเอง กระทืบเท้าและทุ่มตัวเข้าใส่ พร้อมที่จะขวิดเมื่อคนเข้าใกล้
          ลูกกวางที่จับมาเลี้ยงด้วยนมกระบือมุร่าห์ ถ้าจับมาตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะดูดขวดนมได้เองและกินเก่งมาก กวางอายุ 1-2 เดือน สามารถกินได้ถึง 1.2-1.4 ลิตร/ตัว/วัน

กวางฟอลโล

ลักษณะทั่วไป
- ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน
- โตเต็มที่สูงประมาณ 75-105 ซ.ม. น้ำหนัก 50-80 กก.
- หน้าสั้น ลำตัวสีน้ำตาลจาง-น้ำตาลสนิม มีจุดขาว บางตัวมีสีขาวตลอดลำตัว ฤดูร้อนลำตัวเป็นสีน้ำตาลมีจุดขาวเห็นเด่นชัด หน้าหนาวลำตัวสีน้ำตาลสนิม-น้ำตาลเทา มีจุดน้อยสีขาวจางๆ

อุปนิสัย
- ชอบอยู่รวมเป็นฝูง
- ค่อนข้างขี้ขลาด ตื่นเต้นได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่น ถ้าเกิดเสียงดังจะวิ่งหนี หรือกระโดด (คล้ายกระต่าย) ไปก่อน แล้วค่อยๆ เดินกลับมาดูอีกครั้ง แต่ถ้าถึงเวลาให้อาหารก็จะเข้าใกล้คน ย้ายฝูงได้ง่าย

กวางเพศผู้
           ช่วงที่เขาแข็ง ถ้าเกิดความเครียด เช่น การไล่ต้อนฝูงเข้าไปอยู่ในที่แคบๆ เพื่อทำเบอร์ หรือ ฉีดยา กวางตัวผู้จะหันไปขวิดกันเอง และหันมาทำร้ายกวางตัวเมียและลูกกวาง อาจเกิดความเสียหายได้
กวางเพศเมีย
           ระยะคลอดลูก ถ้าเกิดความเครียดจากการไล่ต้อน หรือคนเข้าไปดูลูกเกิดใหม่ จะทำให้แม่กวางไม่ยอมเลี้ยงลูกและทิ้งลูกไปเลย ต้องจับลูกมาเลี้ยง และส่วนใหญ่จะไม่รอดเนื่องจากลูกกวางอ่อนแอมาก

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางฟอลโล
          เนื่องจากกวางมีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ต้องดุแลมากเป็นพิเศษทั้งด้านการให้อาหารข้นที่มีคุณภาพ และอาหารหยาบ ในช่วงหน้าแล้งที่มีแต่หญ้าแห้ง หญ้าหมัก ต้องหาใบไม้สดเสริมเพราะกวางจะทรุดโทรมง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะมีผลต่อการให้ลูกให้ปีต่อไป
          ลูกที่เกิดในฤดูผน (พฤษภาคม-มิถุนายน) มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้ลูกกวางมีสภาพอ่อนแอ และเกิดโรคปอดบวมแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดการสูญเสียมาก จึงต้องกำหนดฤดูผสมพันธุ์เพื่อให้ลูกเกิดในช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้นพฤศจิกายน

กวางแดง

ลักษณะทั่วไป
- มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในยุโรป
- ขนาดเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ หนัก 160 กก. เพศเมีย หนัก 90 กก. สูง 1.2-1.5 เมตร
- ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีขนยาว หน้ายาว

อุปนิสัย
- ชอบอยู่รวมฝูง ไม่ปะปนกับกวางพันธุ์อื่นๆ
- ค่อนข้างเชื่อง โดยเฉพาะเพศเมีย ไม่ค่อยตื่นตกใจ แต่เพศผู้ยังคงตื่นคนอยู่
- เพศเมียจะเป็นตัวนำฝูงเมื่อมีการไล่ต้อน
- ชอบลงแช่น้ำในเวลากลางวัน

เพศผู้
          ในช่วงที่มีเขาแข็งจะต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงเพศเมีย ตัวใดชนะก็จะคุมฝูงและไล่ขวิดตัวผู้อื่นๆ ไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่มีตัวเมียอยู่ โดยจะวิ่งวนไปรอบฝูงตัวเมีย
เพศเมีย
          ในช่วงแรกที่นำเข้ามาใหม่ๆ กวางจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ไม่ดีนัก ทำให้ลูกกวางที่เกิดมาอ่อนแอตายเป็นจำนวนมาก แม่กวางจะหวงลูกและซ่อนลูกไว้ใต้พุ่มไม้ ถ้ามีคนไปรบกวนหรือจับตัวลูกกวาง แม่จะไม่ยอมรับลูกเลย บางครั้งจะให้หัวตบ กัด เตะ และกันไม่ให้เข้าฝูง
ลูกกวาง
          ช่วงระยะหย่านมจะต้องมีการศึกษาระยะที่เหมาะสมในการหย่านม เนื่องจากลูกกวางเมื่อหย่านมใหม่ๆ จะร้องเรียกแม่อยู่ตลอดเวลาและเดินวนรอบแปลงหญ้าตลอดคืน ทำให้ลูกกวางเหนื่อยตายได้
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางแดง
          เนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว และตัวใหญ่จึงค่อนข้างหอบง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ เมื่อมีการไล่ต้อนเพื่อย้ายแปลง ถ้าไม่สามารถย้ายได้ในการไล่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง จะต้องปล่อยให้กวางหยุดพักแล้วจึงไล่ใหม่ ทำให้เสียเวลาในการไล่ต้อน

กวางซีก้า (กวางญี่ปุ่น)

ลักษณะทั่วไป
- มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม
- มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ 70-110 กก. เพศเมีย 50-60 กก.
- ประเทศจีน เลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน  เขากวาง มีข้างละ 4 กิ่ง น้ำหนักเขาอ่อน 0.5-1 กก. ต่อคู่ ในร้ายขายยาจีน (เยาวราช) จำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ส่วนใหญ่เป็นเขากวางซีก้า

อุปนิสัย
       มีความสามารถในการกินอาหารได้หลายชนิด ทั้งหญ้าและใบไม้ เมื่อโตเต็มที่จะกินหญ้าสดประมาณ 10-15 กก./วัน สามารถรวมฝูงได้ดี (กวางซีก้าที่มีขายในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เวียดนาม ซึ่งถูกจับมาเลี้ยงแบบขังนานกว่า 100 ปีแล้ว จึงเป็นกวางที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเลี้ยงแบบขังคอกได้ดี 4-8 ตารางเมตร/ตัว)

กวางลูกผสมแซมบ้า-รูซ่า (Sambar-Rusa Crossbred)

ลักษณะทั่วไป
          เป็นกวางขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากเป็นลูกผสมระหว่างกวางป่าไทยกับกวางรูซ่า ลักษณะคล้ายทั้งกวางแซมบ้าและกวางรูซ่า
อุปนิสัย
          ชอบอยู่รวมฝูง ไม่ปราดเปรียวมากนักเนื่องจากตัวขนาดใหญ่ ถ้าตื่นตกใจจะร้องเสียงดังแล้ววิ่งหนี ชอบลงนอนแช่ปลักโคลน ช่วงเขาแข็งจะค่อนข้างดุ จะยืนจ้องและใช้เท้ากระทืบพื้นขู่ เช่นเดียวกับตัวเมียเวลาหวงลูก
          ลูกกวางที่จับมาเลี้ยงจะเลี้ยงยากเนื่องจากไม่ยอมดูดนมเอง ต้องบังคับโดยใช้นิ้วแหย่เข้าไปในปาก แล้วป้อนนมเข้าไป และใช้เวลาในการป้อนนมนาน

พฤติกรรมของกวาง
พฤติกรรมการกินอาหาร

          กวางจัดเป็นสัตว์ประเภท intermediate selector สามารถกินหญ้าและใบไม้ต่างๆ รวมทั้งยังสามารถแทะเปลือกต้นไม้เป็นอาหารได้ ปริมาณการกินได้ของกวางรูซ่าขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ ขนาดและเพศ (ตารางที่ 5)

ตารางที่ 5 ปริมาณการกินได้ของกวางรูซ่า (กก.วัตถุแห้ง/ตัว/วัน)

ปริมาณการกินอาหาร
เพศผู้
เพศเมีย
ลูกกวาง (6 เดือน)
กวางรุ่น (8 เดือน- 1 ปี)
กวางใหญ่ (มากกว่า 1 ปี)
1.0
1.5
1.7
0.8
1.0
1.0-1.4
ที่มา : Woodford and Dunning (1990)

           กวางเป็นสัตว์ที่อาศัยในปาธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ทั้งป่าต่ำและป่าสูง ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางวันและช่วงเช้า และเมื่ออากาศร้อนจะขึ้นหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า

อาหารที่ใช้เลี้ยงกวาง
          อาหารหยาบ กวางเป็นสัตว์ที่กินพืชอาหารสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เช่น หญ้า ถั่ว พืชอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น หญ้าหมัก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ต้นไมยราบ กระถิน ต้นไม้ใบต่างๆ แต่จะไม่ชอบกินพืชที่มีกลิ่นหรือยาง เช่น ต้นดอกรัก สะเดา กะเพรา เป็นต้น  ควรมีพืชอาหารสัตว์สำรองไว้ให้เพียงพอ ถ้ากวางได้รับอาหารหยาบที่มีคุณภาพเพียงพอแล้วจะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารข้น
          อาหารข้น ในช่วงฤดูแล้งที่ขาดแคลนหญ้าสด ช่วงกวางตั้งท้อง ช่วงให้นมลูก และกวางที่ป่วยอ่อนแอ ควรเสริมอาหารข้น โดยจะใช้อาหารโคนมโปรตีน 16-18% ให้กินวันละ 1% น้ำหนักตัว

          จากการสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของกวาง ในระยะแรกที่นำมาเลี้ยงกวางจะออกแทะเล็มพืชหญ้าและกินอาหารข้นในตอนเย็นและกลางคืน ช่วงกลางวันจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มซ่อนตัวใต้ร่มเงาไม้ เนื่องจากกวางยังมีสัญชาติญาณของสัตว์ป่าระวังภัยอยู่ กวางกินหญ้าได้ทุกชนิด แต่ควรระวังหญ้าซิกแนล หากให้กินอย่างเดียวทุกวันอาจะได้รับเชื้อรา หรือสารพิษ Saponin กวางจะเลือกกินส่วนของใบหญ้า ไม่ชอบกินส่วนก้าน และจะเลือกกินใบไม้หรือวัชพืชบางชนิด คือ
          - ใบไม้ที่กวางกินได้ เช่น ใบมะขามเทศ ใบกก ใบกล้วย ใบพุทรา ใบมะกอกป่า ใบกระถิน ใบขนุน ใบปีบ ใบตะคล้า ใบไมยรา และใบพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ
          - ใบไม้ที่กวางไม่กิน เช่น ใบสาบเสือ ใบหนาด ใบคันทา ใบดอกรัก ใบตีนกา ใบยอดอ้อย และใบต้นสบู่

การให้อาหารกวาง
1. การเลี้ยงแบบขังกรง ตัดพืชอาหารสัตว์มาให้กิน  
  - ต้องมีพืชอาหารให้กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา  
  - ควรมีแหล่งพืชอาหารอย่างน้อย 2-3 แหล่ง  
  - รางอาหารควรยาวพอให้กวางได้กินทุกตัว ไม่เบียดกัน  
  - ควรตัดพืชอาหารให้กินหลายๆ ชนิด และตัดหญ้าสดให้กินทุกวัน  
2. เลี้ยงแบบปล่อยแปลงหญ้า  
  - ควรมีแปลงหญ้าหมุนเวียนอย่างเพียงพอ (ไม่ควรน้อยกว่า 3 แปลง)  
  - ควรปลูกหญ้าไว้อย่างน้อย 2 ชนิด (ชนิดละแปลง)  

พฤติกรรมการผสมพันธุ์
 
          ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กวางตัวผุ้จะมีเขาที่แข็งเต็มที่ คอใหญ่ ไหล่หนาสีขนเข้มขึ้น และลูกอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ทำให้มีน้ำเชื้ออสุจิมากจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ พฤติกรรมของกวางจะทำเสียงขู่ เขาขวิดต้นไม้ ชนรั้ว ต่อสู้คน ต่อมใต้ตาเปิด ตาขวาง ชอบเล่นน้ำ และชอบฉี่รดรอบตัวเองให้มีกลิ่นติดตัวเพื่อเรียกความสนใจจากตัวเมีย และจะทำริมฝีปากม้วนคล้ายแพะ กวางบางพันธุ์จะเปลี่ยนสีขนในฤดูกาลผสมพันธุ์ เช่น กวางซีก้า จะเปลี่ยนสีขนเป็นสีน้ำตาลหมดทั้งตัว กวางรูซ่ามักจะตามไล่ตัวเมียที่เป็นสัด แต่ถ้าเป็นกวางป่าตัวเมียจะเข้ามาหาตัวผู้ อัตราส่วนการคุมผูงผสมพันธุ์ ตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1:20-30 อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าตัวผู้ อายุ 2 ปี น้ำหนัก 70 กก. ตัวเมีย อายุ 18 เดือน น้ำหนัก 45 กก. จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำลงด้วย นอกจากนี้อาหารที่มีคุณภาพดีมีผลต่ออัตราการตั้งท้องสูงถึง 95% ถ้ากวางได้รับอาหารคุณภาพต่ำโอกาสการตั้งท้องเพียง 55% อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางฟอลโล 16 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัว 30 กก.

          ฤดูกาลผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าโดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม แต่จากการศึกษาข้อมูลการเกิดของลูกกวางพันธุ์ต่างๆ พบว่า ลูกกวางพันธุ์รูซ่าเกิดขึ้นตลอดปี ซึ่งหมายถึงกวางรูซ่าสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับกวางพันธุ์พื้นเมืองของไทย ที่มีลูกเกิดตลอดปี ขณะที่กวางแดงและกวางฟอลโลเป็นกวางพันธุ์ยุโรปที่มีฤดูผสมพันธุ์ค่อนข้างสูงมาก (highly season patterns of reproduction) ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และจะคลอดลูกในเดือน มิถุนายน-สิงหาคม ทั้งนี้อาจเนื่องจากความยาวของแสง (photoperoid) มีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์ของกวางแดงและกวางฟอลโล (Asher และคณะ, 1991) กวางส่วนใหญ่มักคลอดลูกเพียงตัวเดียว แต่กวางมูส และกวางน้ำจีน (Chinese Water Deer) ที่ให้ลูกแฝด
          กวางม้า เนื้อทราย กวางรูซ่า และกวางแดง สามารถผสมข้ามพันธุ์กันได้เนื่องจากอยู่ในตระกูล Cervus เดียวกัน

การจัดการเลี้ยงกวาง
สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงกวาง  
- พื้นที่ในการเลี้ยงกวางควรเป็นที่ดอน หรือหากเป็นพื้นราบไม่ควรมีน้ำขังแฉะจนเป็นโคลนตม
- ลักษณะแปลงที่ปล่อยเลี้ยงกวางควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีแปลงไม่น้อยกว่า 3 แปลง เพื่อแยกเลี้ยงกวางระยะอุ้มท้องกับแม่เลี้ยงลูก กวางหย่านม และกวางที่โตเต็มที่
- ควรมีทางวิ่ง (race way) ระหว่างทุกแปลงสำหรับใช้ต้อนกวาง
- ควรมีต้นไม้ใหญ่ในแปลง หรือที่ให้ร่มเงาและไว้หลบซ่อนระวังภัย เนื่องจากกวางเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย เมื่อตกใจจะกระโจนไปตามแนวรั้ว ชนบาดเจ็บ
- ควรเลี้ยงกวางให้ห่างจากฟาร์มแกะและสุกรอย่างน้อย 1 กิโลเมตร เนื่องจากอาจจะติดเชื้อโรค Malignant catarrh จากแกะ และอาจะติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยจากสุกรได้
- ถ้าเป็นไปได้ควรนำตัวอย่างดินส่งตรวจเชื้อมงคล่อพิษ และเชื้อแอนแทรกซ์
- การล้อมรั้วกวาง ขอบล่างให้ติดพื้นดิน และใช้เส้นรั้วลวดหนามขึงติดกับพื้นดินป้องกันสุนัขเข้ามาทำร้าย กวางรูซ่าควรมีรั้วรอบนอกสูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร และใช้รั้วที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันกวางได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งชนกระแทก
- หากเลี้ยงกวางจำนวนมากควรมีคอกคัดกวาง (deer yard) และมีซองบังคับตัวกวาง (deer crush) เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น คัดกวางสำหรับแบ่งฝูง ชั่งน้ำหนัก ตัดเขา หรือทำวัคซีน
- แม่กวางก่อนและหลังคลอด ควรแยกเลี้ยงในแปลงที่มีร่มเงาหรือมีไม้สูงเพื่อใช้เป็นที่หลบคลอดลูก


ทางวิ่ง (race way) ใช้สำหรับต้อนกวาง


รั้วกวาง แบบ tight lock
 

ซองบังคับตัวกวาง deer curck สำหรับตัดเขา/ฉีดยา

ความหนาแน่นในการเลี้ยงกวาง


          แบบขังกรง กวางอุ้มท้องใกล้คลอดและเลี้ยงลูกใช้พื้นที่ 100 ตรม. ขนาดอื่นใช้พื้นที่ 50 ตรม.

          แบบปล่อยแปลง (stocking rate) ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแปลงหญ้า ถ้าคุณภาพดีสามารถเลี้ยงกวางรูซ่า 2-3 ตัว/ไร่ กวางฟอลโล 2-4 ตัว/ไร่ กวางแดง 1 ตัว/ไร่  เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ใช้แปลงหญ้าเลี้ยงโค 1 ตัว เท่ากับเลี้ยงกวางฟอลโลได้ 8 ตัว หรือกวางแดง 3 ตัว หรือคิดตามปริมาณความต้องการอาหาร (วัตถุแห้ง) 



          ตัวอย่าง ถ้าหากเลี้ยงแม่กวาง 5 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว จะต้องใช้หญ้าสดกี่กิโลกรัม?
  แม่กวาง 5 ตัว กินอาหารตัวละ 1.0 กก. รวมกิน 5 กก./วัน
  พ่อกวาง 1 ตัว กินอาหารตัวละ 1.7 กก. รวมกิน 1.7 กก./วัน
  รวมกินอาหาร (วัตถุแห้ง)  
  (หญ้าสด มีวัตถุแห้งประมาณ 25%)  
  จะต้องตัดหญ้าสดให้กินวันละ (6.7x100)/25= 26.8 กก./วัน



สมรรถภาพการเจริญเติบโตของกวางรูซ่า


          หากมีการจัดการให้อาหารคุณภาพแตกต่างกัน จะทำให้กวางมีน้ำหนักตัว 70 กก. ที่อายุต่างกันได้ กล่าวคือ ถ้าให้หญ้าคุณภาพดีผสมพืชตระกูลถั่วหรือเสริมอาหารข้น จะทำให้กวางมีน้ำหนักตัว 70 กก. เมื่ออายุ 1 ปี แต่ถ้าให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียวอาจจะใช้เวลานานอายุถึง 2 ปี

          Chardonnet (1993) รายงานสมรรถภาพการเจริญเติบโตของกวางรูซ่า มีน้ำหนักแรกเกิด เฉลี่ย 4 กก. (เพศผู้ 4.5 กก. เพศเมีย 3.5 กก.) น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน เฉลี่ย 30 กก. อัตราการเจริญเติบโตก่อนหย่านมเฉลี่ย 200 กรัม/วัน น้ำหนักเมื่ออายุ 15 เดือน (เพศผู้ 55 กก. เพศเมีย 45 กก.) เฉลี่ย 50 กก. อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านม (4-15 เดือน) เฉลี่ย 60 กรัม/วัน

          กวางรูซ่า มีอัตราการเลี้ยงรอดและมีการเจริญเติบโตดี และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะที่กวางฟอลโล มีอัตราการตายแรกเกิดสูง ทั้งนี้เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ไม่สามารถปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมการเลี้ยงขังในแปลงที่จำกัดและเปิดโล่ง ทำให้สัตว์เกิดความเครียด ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกรอดต่ำมาก



การผลิตเนื้อกวาง (venison)

          จากการศึกษาซากกวางรูซ่าที่ศูนย์วิจัยฯ หนองกวาง พบว่า น้ำหนักก่อนฆ่าเฉลี่ย 56 กก. มีเปอร์เซ็นต์ซาก 62.1% เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง กระดูก และไขมัน เท่ากับ 78.4, 20.3 และ 1.3% ตามลำดับ

          ประเทศนิวซีแลนด์จะนำกวางส่งโรงฆ่า เมื่อกวางมีอายุ 15-18 เดือน เพราะถ้าเลี้ยงต่อไปกวางจะสะสมไขมัน ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง ทำให้เปลืองค่าอาหาร และคุณภาพของเนื้อกวางจะเริ่มเหนียวถ้ามีอายุ 3 ปีขึ้นไป กวางฟอลโลจะส่งโรงฆ่าเมื่ออายุ 12-15 เดือน น้ำหนักตัว 45-50 กก. และจะได้น้ำหนักซาก 25.30 กก. (Yerex และ Spiers, 1990) กวางจะมีเปอร์เซ็นต์ซาก 55-60% (ตารางที่ 6) และซากกวางหลังชำแหละ ได้เนื้อแดง 70-75% (ตารางที่ 7) ขณะที่สัตว์อื่นๆ มีเนื้อแดงเพียง 45-60% ทั้งนี้ เนื่องจากกวางมีสัญชาติญาณในการระวังภัยสูงมักหนีตลอดเวลา จึงทำให้มีมัดกล้ามเนื้อที่ขาหลังมากเป็นพิเศษไขมันต่ำ และเนื้อแดงมีสีคล้ำมาก เนื่องจากมีปริมาณธาตุเหล็กที่สูงกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ (Drew และ Hogg, 1990)


ตารางที่ 6 น้ำหนักซากและเปอร์เซ็นต์ซากของกวางเมื่ออายุต่างๆ
พันธุ์กวาง
อายุ 1 ปี
อายุ 2 ปี
โตเต็มวัย
รูซ่า

น้ำหนักซาก (กก.)
เปอร์เซ็นต์ซาก (%)
50.0
61.7
-
-
-
-
ฟอลโล

น้ำหนักซาก (กก.)
เปอร์เซ็นต์ซาก (%)
24.5
55.0
30.6
55.0
-
-
กวางแดง
น้ำหนักซาก (กก.)
เปอร์เซ็นต์ซาก (%)
54.9
57.9
76.0
56.4
112.0
57.1
ที่มา : Drew และ Hogg (1990)



          เนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างต่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว (ที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดสูง) อยู่น้อยมาก ขณะเดียวกันกรดไขมันในเนื้อกวางเป็น essential fatty acid มีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ได้เอง



ตารางที่ 7 ส่วนประกอบของซากกวาง
พันธุ์กวาง
อาย
ุ (ปี)
น้ำหนัก
(กก.)
เนื้อแดง
(%)
ไขมัน
(%)
กระดูก
(%)
เนื้อแดง
ไขมัน
เนื้อแดง
กระดูก
ฟอลโล
2
40
73.9
9.1
13.6
8.1
5.4
กวางแดง
2
60
72.7
7.0
20.3
10.4
3.6
ที่มา : Gregson และ Purchas (1985)



ตารางที่ 8 คุณค่าทางโภชนะของเนื้อกวางเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ
เนื้อสัตว์
โปรตีน
(g/100g)
พลังงาน
cal/100g
แคลเซี่ยม
mg/100g
ฟอสฟอรัส
mg/100g
ไทอามีน
mg/100 g
ไรโบเฟลวิน
mg/100g
ไนอาซีน
mg/100g
เนื้อโค
18.5
263
11
171
0.08
0.16
4.4
เนื้อแกะ
16.5
263
10
147
0.15
0.20
4.8
เนื้อสกุร
15.7
308
9
175
0.76
0.18
4.1
เนื้อกวาง
21.6
126
10
249
0.23
0.48
6.3
ที่มา : Drew และ Hogg (1990)



การผลิตเขากวางอ่อน (valvet antler)

ลักษณะของเขากวาง

          กวางตัวผู้จะเริ่มสร้างเขาเมื่ออายุประมาณ 1 ปี จากปุ่มส่วนหน้าของกะโหลกศรีษะ เป็นอวัยวะที่เจริญมาจากส่วนของเนื้อเยื่อชั้นนอก (epidermis) โดยงอกติดกะโหลกด้านหน้า (frontal bone) แต่ไม่ได้เป็นส่วนของกะโหลกศรีษะ เขามีลักษณะตัน ไม่กลวงเหมือนเขาโค แพะ แกะ ในช่วงที่เขาอ่อน (valvet) จะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงและอุดรมด้วยเนื้อเยื่อ vascular ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และแร่ธาตุแคลเซี่ยม โดยเฉพาะส่วนปลายเขามีแร่ธาตุซีลิเนี่ยมอยู่จำนวนมาก ตัวลำเขาของกวางป่ายาว 70-80 ซ.ม.

           เขากวางแต่ละข้างจะมี 3 กิ่ง กิ่งแรกเรียก กิ่งรับหมา (brow tine) จะชี้ไปด้านหน้า ตัวลำเขาจริงจะชี้ไปด้านหลัง รอยต่อระหว่างกิ่งรับหมาและลำเขาจริงจะมีลักษณะคล้ายรูปตัวยู ก้ำกึ่งรูปตัววี ปลายของลำเขาจริงจะแตกแขนงออกเป็น 2 กิ่ง โดยที่กิ่งด้านหน้าจะยาวกว่ากิ่งด้านหลัง ลักษณะภายนอกของเขาอ่อนมีหนังหุ้มขนสั้นละเอียดคล้ายกำมะหยี่

          
เขากวางอ่อนเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน จะแปรสภาพเป็นเขาแข็ง (antler) มีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาว เขากวางจะแก่เต็มที่และแข็งแรงในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) และเขาจะหลุดในเดือนกันยายน ซึ่งกวางจะสามารถผลัดเขาได้และสร้าขึ้นมาใหม่ทุกปี กวางจึงจัดอยู่ในตระกูล Cervidae ในขณะที่เขาของแพะแกะ (horn) ไม่สามารถผลัดเขาและสร้างขึ้นมาใหม่ได้เหมือนเขากวาง

          กวางป่าจะมีการผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ภายหลังจากเขาหลุด 7 วัน กวางจะสร้างเนื้อขึ้นมาหุ้มบริเวณที่เขาหลุด จากนั้นอีกประมาณ 21 วัน จะเริ่มงอกเขาใหม่ การเจริญเติบโตของเขากวางจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้นทั้งขนาดและความยาว จนกระทั่งกวางมีอายุ 9-10 ปี ความยาวของเขากวางจะลดลงแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น (สวัสดิ์, 2527) ขณะที่สนั่นและคณะ (2539) รายงานว่า เขากวางอ่อนของกวางป่าอายุเฉลี่ย 6 ปี มีน้ำหนักสดข้างละ 820-1,640 กรัม ยาว 41-63 ซ.ม. เส้นรอบวง 11.5-17.2 ซ.ม.

          จากการศึกษาการสร้างเขากวางของกวางรูซ่าทีเลี้ยงในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง พบว่า กวางรูซ่าเริ่มงอกเขาแรก (เขาเทียน) เมื่ออายุ 234 วัน เขามีความยาวสูงสุดเฉลี่ย 10.21 ซ.ม. (7.0-17.5) เส้นรอบวงเขาเฉลี่ย 7.13 ซ.ม. (5.5-10.5 ซ.ม.) และสลัดเขาแรกทิ้งเมื่ออายุ 418 วัน หลังจากสลัดเขาแรกทิ้ง 24.11 วัน จึงเริ่มสร้างเขาสองเมื่ออายุ 653.43 วัน น้ำหนักเขากวางอ่อนในแต่ละปี (ตารางที่ 9)


ตารางที่ 9
ผลการศึกษาน้ำหนักของเขากวางอ่อนรูซ่า

อายุกวาง
ก่อนอบ
หลังอบ
% น้ำหนักแห้ง
2 ปี
3 ปี
4 ปี
355.34
495.0
690.18
162.28
185.75
267.41
45.63
37.53
38.74
ที่มา : Yerex และ Spiers (1990)



การตัดเขากวางอ่อน

           เริ่มตัดครั้งแรกเมื่อกวางอายุได้ 3 ปี หลังจากนั้นจะตัดได้ทุกปีๆ ละครั้ง เมื่อกวางมีน้ำหนักมากขึ้นน้ำหนักเขาจะเพิ่มขึ้นด้วย เขากวางอ่อนที่ได้คุณภาพและเหมาะสมจะตัด คือเขาอ่อนที่มีอายุประมาณ 65-70 วัน นับจากวันที่เขาแก่หลุดออกไป หรือเมื่อเห็นว่าลำเขาจริงเริ่มแยกออกเป็น 2 กิ่ง ยาวออกมาไม่เกิน 2 นิ้ว
         



ขั้นตอนการตัด

1. ควรทำงานในช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงที่อากาศเย็น
2. ต้อนกวางเข้าอาคารจัดการ ให้กวางเข้าไปอยู่ในซองบังคับตัวไว้ไม่ให้ดิ้น
3. ใช้เลื่อยสำหรับตัวเขากวางโดยเฉพาะ เมื่อทาน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีดและที่เขากวางแล้ว ใช้เลื่อยตัดในบริเวณที่สูงขึ้นมาจากโคนเขาประมาณ 2 นิ้ว ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เขาอ่อนที่ตัดแล้วให้วางโดยเอาด้านโคนขึ้น เพื่อกักเลือดให้อยู่ในเขาไม่ไหลทิ้ง
4. ทายาห้ามเลือดที่รอยตัด หรือใช้ผงชูรสใส่แทน แล้วทายาหรือพ่นยาป้องกันและฆ่าตัวอ่อนของแมลงวัน (เนกาซัน) ให้ทั่วก่อนปล่อยกวางกลับเข้าแปลง เลือดจะแข็งตัวและแผลจะแห้งภายใน 5-10 นาที ช่วงนี้ปล่อยให้กวางอยู่อย่างสงบ
5. เขากวางอ่อนที่ตัดมาแล้วควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง ก่อนนำส่งไปอบแห้งต่อไป ซึ่งการแช่แข็งสามารถยืดอายุการจัดเก็บเขากวางอ่อนได้นานถึง 3-4 เดือน



การอบเขากวางอ่อน

          ก่อนอบแห้ง ให้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดถูเขาเพื่อล้างไขมันด้านนอก จากนั้นใช้น้ำเดือดเทราดหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เขาอ่อนคงรูป และบริเวณที่ตัดจะถูกลวกจนกระทั่งเป็นสีเนื้อสุก ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นไม่ให้เลือดในเขาไหลออกมาได้ง่าย รวมทั้งเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วย จากนั้นจำไปผึ่งลมให้แห้ง เรียงเขากวางลงในตะแกรง โดยหันด้านโคนเขาขึ้น ไม่ให้เลือกไหลออกจากเขาเพราะจะเสียคุณค่า เนื่องจากถือว่าเลือดที่มีอยู่ในเขาอ่อนมีประโยชน์ในทางยา ตู้หนึ่งอบได้ประมาณ 10 เขา อบที่อุณหภูมิ 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2-4 วัน ขึ้นกับขนาดของเขา ถ้าเขาที่เล็กกว่าแห้งก่อน สามารถเปิดตู้หยิบออกมาก่อนได้



การจัดการอาหารช่วงระยะการสร้างเขา

          หากกวางได้รับปริมาณอาหารไม่เพียงพอ หรือทำให้กวางเกิดความเครียดจากสาเหตุต่างๆ จะมีผลทำให้ผลผลิตเขาต่ำลง การเสริมอาหารข้นที่มีคุณภาพดีเพื่อต้องการเพิ่มผลผลเขานั้นให้ผลไม่แตกต่างกับการให้กวางได้กินอาหารพืชหญ้าคุณภาพดีในปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ในช่วงระยะการสร้างเขาจึงควรมีปริมาณอาหารที่เพียงพอวางให้กินอย่างเต็มที่ อย่าจำกัดอาหารและไม่จำเป็นจ้องเสริมอาหารข้น



ระยะเวลาการตัดเขา

          ระยะเวลาในการตัดเขาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก และมีข้อจำกัดเวลาในการตัดเขา คือ จะต้องตัดเขาในระยะเวลาที่เหมาะสม เมื่อเขามี 50-60 วัน หากตัดเขาเร็วก่อนเวลาเกินไป จะทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักของเขาน้อยลง (เงินจะน้อยลงไปด้วย) แต่ถ้าตัดเขาช้าเกินไปทำให้คุณภาพของเขาที่ได้ด้อยลง ดังนั้น จึงต้องคอมตรวจดูลักษณะเขาทุก 2-3 วัน ว่าตัวใดถึงเวลาตัดเขาหรือไม่ โดยปกติกวางที่โตเต็มที่เขาจะงอกยาวเฉลี่ยวันละ 1 ซ.ม. หรือคิดเป็นน้ำหนักเขาเพิ่มวันละ 50 กรัม ในกวางแต่ละตัวจะมีเวลาที่เหมาะสมในการตัดต่างกันไป ซึ่งจะต่างกันไปตามอายุของกวาง (Yerex และ Spiers, 1990)



ตารางที่ 10
ระยะการตัดเขากวางรูซ่าและน้ำหนักเขาที่ได้

อายุกวาง
(ปี)
อายุเขาที่ตัด
(วัน)
น้ำหนักเขากวางรูซ่า
(กก.)
น้ำหนักเขากวางแดง
(กก.)
2
3
4
5
55
58
61
60
1.01
1.60
1.93
2.17
1.44
2.05
2.60
2.90
ที่มา : Yerex และ Spiers (1990)



ส่วนประกอบทางเคมีของเขากวาง

          เขากวางเมื่ออบแห้งจะมีน้ำหนักประมาณ 35% ของน้ำหนักสด และเขาที่อบแห้งจะต้องมีความชื้นไม่เกิน 15% คุณค่าทางโภชนะของเขาประกอบด้วย โปรตีน 47%, แร่ธาตุ 33%, ไขมัน 3% และความชื้น 12% ผลผลิตน้ำหนักของเขาและคุณภาพแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และอายุกวาง คุณภาพของเขาแบ่งเป็นเกรด โดยเขากวางคุณภาพดีจะมีความยาวของลำเขาไม่น้อยกว่า 40 ซ.ม. ขนาดเส้นรอบวงลำเขาไม่น้อยกว่า 18 ซ.ม. ราคาการจำหน่ายเขาแบ่งตามสรรพคุณเป็น 3 ส่วน ส่วนปลายยอดเขาอ่อนมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะมากกว่าส่วนอื่น ส่วนกลางใช้รักษาโรคไขข้อ และส่วนโคนใช้รักษาในผู้ชราที่ขาดแร่ธาตุแคลเซียม



สรรพคุณของเขากวางอ่อน

          Kong และ But (1985) รายงานว่าเขากวางอ่อนมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง ไขข้ออักเสบ และกามตายด้าน ขณะที่ Yoon (1989) ได้รายงานว่าเขากวางอ่อนใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ และสามารถป้องกันรักษาโรคในเด็กเล็กได้หลายโรค สำหรับในประเทศไทยผู้ที่นิยมบริโภคเขากวางอ่อนได้แก่ ชาวจีนสูงอายุ ส่วนใหญ่จะหาซื้อรับประทานเฉพาะช่วงฤดูอากาศหนาวเย็น เพื่อต้องการบำรุงสุขภาพทำให้ร่างกายอบอุ่น โดยทำการตุ๋นหรือดองเหล้าโรงร่วมกับสมุนไพรจีน (ฮวยซัว เก๋ากี้ และปั๊กคี้) คนที่เป็นความด้นโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน นอกจากนี้มีรายงานว่าในเขากวางอ่อนมีฮอร์โมน Insulin-link Growth Factor (IGF1)




โรคที่พบในกวาง

          กวางที่มีอายุระหว่าง 12-15 เดือน มักจะป่วยได้ง่ายกว่ากวางที่มีอายุเต็มวัย แต่โดยทั่วไปแล้วหากเลี้ยงกวางจำนวนไม่หนาแน่นเกินไปจะไม่ค่อยพบมีการติดเชื้อโรค โรคที่พบในกวาง คือ

  1. โรคกวางที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  
  - วัณโรค เกิดจากเชื้อ Mycobacterium bovis ที่บริเวณปอดและต่อมน้ำเหลืองในช่องอกและที่เต้านม กวางมีร่างกายซูบผอม กินอาหารลดลง ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หายใจขัด ไอ
  - ท้องเสีย เกิดจากเชื้อ Salmonella spp. พบว่าส่วนมากเป็นสาเหตุการตาย

  2. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  
  - โรคปากและเท้าเปื่อย อาการเริ่มแรกกวางมีน้ำลายฟูมปากและมีตุ่มใสเล็กๆ เกิดขึ้นภายในปาก บริเวณกีบเท้า มีอาการขาเจ็บ เดินกระเผลกและไม่กินอาหาร

  3. โรคพยาธิ พบน้อยในกวาง แต่ในการเลี้ยงเป็นฟาร์มควรจะมีการถ่ายพยาธิด้วย



ลักษณะอาการป่วยของกวาง
 
  - กวางป่วย มีอาการหงอยซึม แยกออกจากฝูง ไม่หนีเมื่อเข้าใกล้ มักถูกตัวอื่นทำร้าย หัวและหูห้อยตก
  - อาการป่วยเนื่องจากพยาธิ กวางจะซูบผอม โตช้า ผิวหนังหยาบกร้าน ไอบ่อย
  - อาการป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส เบื่ออาหาร มีฝ้าในปาก น้ำลาย น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ลิ้นบวม



การป้องกันโรค  
  - หากกวางป่วย ควรแยกออกจากฝูง และปรึกษาสัตวแพทย์
  - ควรแยกกวางที่ได้มาใหม่ กักไว้สักระยะหนึ่ง (ประมาณ 1 เดือน) ตรวจดูอาการ
  - ควรให้อาหารที่มีคุณค่า ทำวัคซีน และถ่ายพยาธิ
  - รักษาความสะอาดในโรงเรือน รางอาหารและน้ำ
  - อย่าให้กวางถูกขังในคอกที่อับชื้นและสกปรกโดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  - แหล่งน้ำต้องสะอาดเพื่อป้องกันตัวกลางของพยาธิใบไม้ในตับ
  - ทำการทดสอบวัณโรค (Tuberculin Test) ปีละครั้ง




ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน

          จากการพิจารณาความคุ้มทุนในการทำฟาร์มกวางขนาด 10 แม่ เลี้ยงในพื้นที่ 5 ไร่ ใช้แรงงานในครอบครัว ผลิตลูกกวางขนาดหย่านม เพื่อจำหน่ายพันธุ์ และตัดเขากวางอ่อนจากพ่อพันธุ์ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้


  ต้นทุนคงที่  
  - ค่าพันธุ์ พ่อ 1 ตัว แม่ 10 ตัว ราคาตัวละ 20,000 บาท เป็นเงิน 220,000 บาท  
  - ค่ารั้วความยาว 600 เมตรๆ ละ 300 บาท (รวมเสา) เป็นเงิน 180,000 บาท  

  ต้นทุนผันแปร  
  ค่าอาหาร  
  - อาหารข้น พ่อแม่พันธุ์ กิน 0.5 กก./ตัว/วัน (อาหารข้นราคา กก.ละ 8 บาท ให้กิน 365 วัน 11 ตัว) เป็นเงิน 16,060 บาท  
  - อาหารหยาบ กิน 1 กก./ตัว/วัน (วัตถุแห้ง) (อาหารหยาบราคา กก.ละ 1.0 บาท ให้กิน 365 วัน 11 ตัว) เป็นเงิน 4,015 บาท  
    รวมค่าอาหาร        (ปีแรก)   เป็นเงิน   20,075 บาท
  รวมต้นทุนค่าใช้จ่าย (ปีแรก)   เป็นเงิน 420,075 บาท
 
  - อาหารข้นสำหรับลูกกวาง กิน 0.2 กก./ตัว/วัน (อาหารข้น กก.ละ 9 บาท ให้กิน 120 วัน 10 ตัว) เป็นเงิน 2,160 บาท
  ปีถัดไป ใช้จ่ายเฉพาะค่าอาหารปีละ (20,075+2,160) เป็นเงิน 22,235 บาท
 

  รายได้ จากการจำหน่ายผลผลิต (เริ่มรับในปีที่ 2)  
  - จำหน่ายลูกกวางหย่านมปีละ 6 ตัวๆ ละ 18,000 บาท เป็นเงิน 108,000 บาท  
  - จำหน่ายเขากวางเฉลี่ย 1 กก.ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท  
  รวมรายรับทั้งหมด เป็นเงิน 113,000 บาท  

 

ผลตอบแทนที่ได้รับ
เป็นรายปี
 



ปีที่
ต้นทุน
รายได้
1
2
3
4
5
6
420,075
22,235
22,235
22,235
22,235
-
113,000
113,000
113,000
113,000
113,000
รวม
531,250
565,000
          

ผลการเลี้ยงจะได้ต้นทุนคืนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ดังนั้นผู้ที่คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงกวางเป็นอาชีพจะต้องมีเงินลงทุนระยะยาว แต่สามารถลดต้นทุนการผลิตโดยหาลูกกวางที่เกิดในประเทศ ใช้วัสดุพื้นบ้านในการกั้นคอก และจัดหาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเลี้ยงกวาง นอกจากนี้ต้องมั่นใจว่าจะมีตลาดรองรับที่สามารถขายลูกกวางได้ดีโดยราคาจำหน่ายพันธุ์ประมาณตัวละ 20,000-25,000 บาท หรือจำหน่ายเป็นเนื้อกวางชำแหละราคา กก.ละ 300-500 บาท หรือเขากวางอ่อน กก.ละ 8,000-10,000 บาท

          
ดังนั้น การทำฟาร์มเลี้ยงกวางโดยผลิตเขากวางอ่อน เนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากหนังกวาง สามารถกระทำได้โดยเฉพาะกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ให้ลูกกวางได้ตลอดทั้งปี ลูกกวางมีอัตราการเจริญเติบโตและมีอัตราการเลี้ยงรอดสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะที่กวางแดงและกวางฟอลโลซึ่งเป็นกวางพันธุ์จากยุโรปมีฤดูกาลผสมพันธุ์มีอัตราการเกิดลูกต่ำ โดยเฉพาะกวางฟอลโลมัอัตราการตายแรกเกิดสูง และอัตราการเลี้ยงลูกรอดต่ำ นอกจากนี้ยังมีกวางซีก้าที่นิยมเลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน



ข้อเสนอแนะ

1. การทำฟาร์มกวางอาจยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากในการจัดหากวางพ่อ-แม่พันธุ์ เนื่องจากกวางรูซ่าที่มีขนาดเล็กกว่ากวางม้า ทำให้ได้ผลผลิตเนื้อและเขาน้อยลงไปด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กวางม้าที่มีขนาดรูปร่างใหญ่กว่าเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ใช้กวางรูซ่าที่เกิดในประเทศ ผลิตเป็นลูกผสมกวางม้า-รูซ่า


2. ปัจจัยทางด้านตลาด ยังขาดการสำรวจปริมาณความต้องการของตลาดที่แท้จริงของตลาดภายในประเทศ การขยายตลาดของกลุ่มผู้บริโภคเขากวางยังจำกัดเนื่องจากมีราคาแพง ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ตกต่ำ ปัญหาคนว่งงาน ต้องประหยัด่าใช้จ่ายต่างๆ และยังไม่มีการยืนยันที่แนชัดทางการแพทย์หรือจากองค์การอาหารและยาในการรับรองสรรพคุณ เขากวางอ่อนที่มีความเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ หรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รวมทั้งคุณภาพของผลผลิตที่สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากกรรมวิธีการแปรรูปและการเก็บรักษายุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องโรคปากและเท้าเปื่อย เช่นเดียวกัยผลผลิตจากโคและสุกร


ทั้งนี้เพื่อสามารถผลักดันอาชีพการเลี้ยงกวางให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง




ราคาจำหน่ายพันธุ์กวางของกรมปศุสัตว์

 
          กวางรูซ่า กวางแดง และกวางฟอลโล ทั้งเพศผู้และเพศเมีย คิดราคาตามน้ำหนักในวันจำหน่าย ราคากิโลกรัมละ 250 บาท บวกค่าสายพันธุ์อีกตัวละ 6,000 บาท



ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

1. กลุ่มงานเล็ก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร.0-2653-4453

2. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ตู้ ปณ.9 อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3226-1090, 0-1437-9280

3. สหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทร.0-3435-1905



เรียบเรียงโดย
นายคมจักร พิชัยรณรงค์สงคราม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย (ปรับปรุงพันธุ์สัตว์)

นายสุวิทย์ อโนทัยสินทวี กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร. 0-2653-4491, 0-2653-4444 ต่อ 3241-2
นายเสนอ วงกลม, นางสาวสรรทยา อินทจินดา ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง โทร.0-32226-1090

http://www.dld.go.th/service/deer/deer_h.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1567 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©