-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 580 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง





ธงชัย พุ่มพวง

ไก่ไทยสายพันธุ์ตาก ไก่กึ่งเนื้อกึ่งไข่ ผลงานยอดเยี่ยมกรมปศุสัตว์

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหารในครอบครัว หากมีปริมาณมากจึงนำไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น เพราะไก่พื้นเมืองไทยมีเนื้อแน่น กลิ่นหอมกว่าไก่พันธุ์จากต่างประเทศ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป จำหน่ายได้ราคาสูงกว่า แต่หากเลี้ยงด้วยอาหารข้นจะทำให้ต้นทุนสูง เกษตรกรจึงเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ

ปัจจุบันพบว่าปริมาณการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของไทยลดน้อยลงมาก เนื่องมาจากการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เรียกกันว่า ไข้หวัดนก ไก่พื้นเมืองและสัตว์ปีกหลายชนิดถูกทำลายเป็นจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่ดีของไก่พื้นเมืองก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น กรมปศุสัตว์โดยสถานีวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการศึกษาวิจัยการสร้างไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตากจนประสบผลสำเร็จ ทีมงานวิจัยประกอบด้วย คุณยอดชาย ทองไทยนันท์ คุณไพโรจน์ ศิริสม คุณวรทัย รอดเรือง คุณอุดมศักดิ์ ภาดี คุณจาตุรันต์ ทองไทยนันท์ และ คุณทวิช ลีล้าน

คุณไพโรจน์ ศิริสม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ให้รายละเอียดว่า การสร้างไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 และสิ้นสุดโครงการเดือนพฤษภาคม 2552 ผลการดำเนินงานสามารถปรับปรุงพันธุ์ไก่สายพ่อพันธุ์เหลืองหางขาวและสายแม่ไก่พันธุ์ตาก ซึ่งเป็นไก่สามสายพันธุ์ ให้สามารถผสมพันธุ์จนเป็นไก่สี่สายพันธุ์ มีอายุการเลี้ยงส่งตลาด 12 สัปดาห์ มีน้ำหนักเฉลี่ย 1.30 กิโลกรัม ต้นทุนการเลี้ยงอายุ 1 วัน ตัวละ 9.52 บาท นำไปเลี้ยงสาธิตในฟาร์มของเกษตรกรชุดละ 100 ตัว เกษตรกรมีกำไรรุ่นละ 1,000 บาท ผลผลิตของโครงการทำให้ได้ไก่ปู่ไก่ย่าพันธุ์ สามารถนำไปผลิตในเชิงการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ แต่จะต้องมีแหล่งผลิตพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เพิ่มมากขึ้นควบคู่กันไปด้วย

คุณวรทัย รอดเรือง นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ เล่าว่า ก่อนที่จะทำการศึกษาวิจัยไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตากครั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองมาตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา โดยใช้พ่อเป็นไก่พื้นเมืองและแม่เป็นไก่ไข่ จึงได้ไก่ที่กึ่งเนื้อกึ่งไข่ ให้ไข่มาก เติบโตเร็ว ต่อมาในปี 2540 ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ได้ปรับปรุงสร้างไก่พันธุ์ตากจากลูกผสม 3 สายเลือด คือใช้ไก่พันธุ์เซี่ยงไฮ้ผสมกับพันธุ์บาร์พลีมัทร็อคและพันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรด จึงได้ไก่ลูกผสมเป็นแม่พันธุ์เพราะให้ไข่ดีอยู่แล้ว จากนั้นระหว่างปี 2545-2549 จึงสร้างฝูงไก่พื้นเมือง จำนวน 4 พันธุ์ เพื่อเป็นสายพันธุ์พ่อ ได้แก่ พันธุ์ประดู่หางดำ เหลืองหางขาว พันธุ์แดง และพันธุ์ชี จนพบว่าไก่พันธุ์เหลืองหางขาวมีลักษณะที่ดีคือ ลักษณะของหนังและแข้งสีเหลืองเช่นเดียวกับไก่สายพันธุ์ตาก ดังนั้น ระหว่างปี 2550-2552 จึงผสมพันธุ์เป็นไก่ลูกผสม 4 สายเลือด ตั้งชื้อว่า ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก

ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก เป็นไก่ที่มีรูปร่างค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับไก่พื้นเมืองทั่วไป เลี้ยงง่าย แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื้อแน่น กลิ่นหอม หน้าอกกว้างและยาว รสชาติดี โตเร็ว ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 สัปดาห์ น้ำหนักส่งตลาด 1.5 กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 65-70 บาท เมื่อชำแหละแล้วจำหน่ายกิโลกรัมละ 100-120 บาท คุณภาพของซากเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในเขตจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ และจังหวัดนครสวรรค์ ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตากที่ผสมพันธุ์ได้ครั้งนี้ เกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรขนาดกลางสามารถนำไปเลี้ยงในท้องถิ่นได้ แต่ต้องเป็นการเลี้ยงแบบโรงเรือนเปิดที่มีตาข่ายคลุมป้องกันนกไม่ให้เป็นพาหะนำโรคเข้ามาในเล้า

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการสั่งซื้อลูกไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000 โทรศัพท์ (055) 890-712, (055) 540-603, (089) 564-3269 E-mail : lcta_tak@dld.go.th, www.dld.go.th



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1899 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©