-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 325 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง




หน้า: 2/2



การเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่ง

    การเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่ง
วัฒนธรรม อาชีพที่สาบสูญ ของจังหวัดสุรินทร์
วิถีชีวิตชุมชนชาวจีนเมืองซู้ลิ่ง(สุรินทร์) ตอนที่ ๘


เรื่องโดย ปรีชา วรเศรษฐสิน นักธุรกิจท้องถิ่นจ.สุรินทร์


ปัจจุบัน เรามักจะได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ ถึงเรื่องอาหารปลอดสารพิษ ผู้บริโภคได้หันมาให้ความสนใจกับ สิ่งที่เรียกว่า “อาหารปลอดสารพิษ“ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในระยะ 20 ปีที่ผ่านไป การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูกพืชผัก ในประเทศไทยได้พัฒนาสู่ยุคแห่งการตื่นตัว ที่นำเอาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มาใช้ในการเพิ่มผลผลิต การเลี้ยงสัตว์ – เพาะปลูกพืชผัก

จากเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าว ได้นำไปสู่การนำเอาสารเคมีต่างๆ เข้ามามีส่วนผสมในอาหารสัตว์ – ปุ๋ยเคมี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มผลผลิต ตลอดจนการใช้ยาในการรักษาโรคสัตว์ – ใช้ยาปราบศัตรูพืช จนกระทั่งสารพิษตกค้างในพืชและสัตว์ เมื่อผู้บริโภคนำไปบริโภค จึงมักจะมีผลระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค กระทั่งมีการเรียกร้องต้องการ พืช หรือ สัตว์ ที่ปลอดสารพิษ

เมื่อเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆเข้ามา การผลิตแบบการตลาดเข้ามาแทนที่ ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมที่อาศัยธรรมชาติก็จำต้องหายไป การเลี้ยงเป็ดไข่ ไล่ทุ่งอย่างแพร่หลายในจังหวัดสุรินทร์ มีมาตั้งแต่ ปี ๒๔๙๐

จังหวัดสุรินทร์ เคยเป็นมหาอำนาจ การผลิตไข่เป็ด ส่งออกครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๕๐% ของพื้นที่ในภาคอีสาน ไล่ตั้งแต่ จังหวัดนครราชสีมา ไล่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ยันไปถึง จังหวัดอุบลราชธานี อีสานตอนกลาง ไล่ตั้งแต่ จังหวัดยโสธร,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์, สารคาม, ขอนแก่น ฯ

การเลี้ยงเป็ดไข่ในจังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากเป็นเป็ดไล่ทุ่ง เป็ดก็จะได้แหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ โดยจะเก็บหอย เก็บปู ปลา และรำ-ปลายข้าว กินเป็นอาหารหลัก เพื่อสร้างไข่ ฉะนั้นคุณภาพไข่เป็ดของจังหวัดสุรินทร์ จึงมีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคก่อน ๒๐ ปี

นับย้อนหลังไป รสชาด - คุณค่าทางอาหารดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำมาทำเป็น ไข่เค็ม รสชาดจะยอดเยี่ยมมาก สีของไข่แดงจะแดงเข้ม (เกิดจากธรรมชาติ) และจะมีมันเยิ้มเพิ่มคุณค่าทางอาหารและรสชาดให้อร่อยถูกใจผู้บริโภค ซึ่งต่างกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ในปัจจุบัน ที่มีสีของไข่แดงเกิดจากการใช้สารให้สี (สารซูดานเรด5=แดงมรณะ หรือ สารแซนโทฟิลล์ที่สกัดจากดอกดาวเรืองก็ใช่ว่าจะปลอดภัย) ผสมลงไปในอาหาร เพื่อแต่งเติมสีของไข่แดง ให้ได้ตามที่ตลาดต้องการ

ได้แนะนำท่านผู้อ่านได้รู้จักความเป็นมาของไข่เป็ดที่มาจาก การเลี้ยงเป็ดทุ่งมาพอสมควรแล้ว ทีนี้ผมจะพาไปรู้จักกับขบวนการเลี้ยงเป็ดทุ่งจังหวัดสุรินทร์ในอดีต หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวผ่านพ้นไป ประมาณเดือนกุมพาพันธ์ของทุกปีเป็นต้นไป เกษตรกรจะเริ่มหาเป็ดสาวหรือเป็ด100 (หมายถึงอายุ ๑๐๐ วัน) ซึ่งเป็นเป็ดไล่ทุ่งเช่นกัน และการเลี้ยงเป็ดสาวหรือเป็ด ๑๐๐ เป็นอาชีพของเกษตรกรในเขตภาคกลาง บริเวณจังหวัด นครปฐม สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบุรีฯลฯ

เกษตรกรในภาคกลางจะเริ่มเลี้ยงลูกเป็ด กระทั่งขนลายที่หน้าอกขึ้น(อายุประมาณ ๔ สัปดาห์) ก็จะเริ่มนำออกไล่ทุ่ง เก็บกินเมล็ดข้าวตามท้องนา หลังฤดูเก็บเกี่ยว นาปรังและนาปี ลูกเป็ดจะถูกไล่เลี้ยงไปในท้องทุ่ง ข้ามอำเภอ-ข้ามจังหวัด จนกระทั่ง ลูกเป็ดอายุได้ประมาณ ๑๐๐ วัน (ขนใต้ปีกขึ้นยาวประมาณ ๑.๕-๒ นิ้ว ) ก็จะย่างเข้าสู่วัยสาว เกษตรกรเขตภาคกลาง ก็จะขายแก่พ่อค้า ในจังหวัด และพ่อค้าก็จะขายส่งออกเป็ดสาว กระจายไปทั่วประเทศ เพื่อเลี้ยงเป็นแม่เป็ดไข่ต่อไป

เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ จะเลี้ยงเป็ดประมาณครอบครัวละ ๑๐๐–๓๐๐ ตัว และเมื่อได้เป็ดสาวมาแล้ว ก็จะเลี้ยงด้วย รำหยาบ ผสมกับ รำระเอียด และปล่อยให้เป็ดเก็บกินเมล็ดข้าวที่ตกหล่นตามท้องนา เกษตรกรจะเลี้ยงเป็ดสาวไปกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน ก็จะถึงระยะเวลาที่เป็ดสาวได้ย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เต็มที่ ถึงเวลาที่จะออกไข่ได้แล้ว ความต้องการคุณค่าทางอาหารของแม่เป็ดที่มากขึ้น ก็จะเป็นในช่วงเวลาของ ฤดูฝน ที่กุ้ง, หอย, ปู, ปลา, กบ, เขียด ฯลฯ กำลังเกิดพอดี เป็ดก็จะสามารถหาอาหารโปรตีน จากแหล่งธรรมชาติได้อย่างมากมาย

สามารถสร้างผลผลิตไข่ได้สูงถึง ๘๐–๙๐% จึงเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ประจำวันให้แก่เกษตรกรเลี้ยงเป็ดที่แน่นอนในระดับที่สามารถดำรงชีพได้เป็นอย่างดี

เกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดในช่วงฤดูฝน จะเลี้ยงอยู่บริเวณที่ราบทำนากระจายไปในพื้นที่ทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ เริ่มจากเดือนมิถุนายน ถึงประมาณเดือนตุลาคม ระยะเวลาการเลี้ยง การให้ผลผลิตไข่อยู่ประมาณ ๕ เดือน เป็ดจะเริ่มพลัดขน (หยุดไข่) และก็จะเป็นช่วงเวลาที่ ต้นข้าวเริ่มจะแตกรวง เกษตรกรเลี้ยงเป็ดในฤดูฝนก็จะขายเป็ดออกไป จาก ๒ เหตุผลดังนี้

๑, เมื่อต้นข้าวเริ่มแตกรวง เป็ดจะไปกินข้าวจากรวง ทำให้ข้าวเสียหายเกิดข้อพิพาทกันกับเจ้าของนาข้าว
๒, แม่เป็ดเริ่มผลัดขน ซึ่งเป็นช่วงเวลาของเป็ดที่จะหยุดการให้ไข่พอดี

เมื่อเกษตรกรขายเป็ด ก็จะมีพ่อค้ารับซื้อ แล้วก็จะจำหน่ายให้กับเกษตรกรเลี้ยงเป็ด ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูล แถบอำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี และบางส่วนทางตอนใต้ของทุ่งกุลาร้องไห้ เขตจังหวัดร้อยเอ็ด เช่นบ้านสาหร่าย บ้านจานเตยฯลฯ

พื้นที่บริเวณแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ของปีถัดไป ซึ่งเป็นช่วงที่แม่น้ำมูลลด จะมีแอ่งน้ำมากมายที่จะเป็นแหล่งอาหารโปรตีน สำหรับเป็ดที่จะใช้ในการสร้างไข่

เกษตรกรเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่งแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล จะเลี้ยงเป็ดฝูงละประมาณ ๓๐๐–๕๐๐ แม่ ต่อครอบครัว และเมื่อถึงประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน เกษตรกรเลี้ยงเป็ดแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ก็จะขายแม่เป็ด กลับคืนลงมาให้กับ “เกษตรกรเลี้ยงเป็ดในที่ราบทำนา” เป็ดรุ่นนี้จะเรียกว่าเป็ดแก่ (ภาษาเขมรเรียกเตียจ๊ะ) แต่ยังสามารถให้ผลผลิตไข่ได้ดีเนื่องจากอายุเพียง ๑ ปี

วัฎจักรของการเลี้ยงเป็ดก็จะหมุนเวียนไปเรื่อยๆ โดยอาศัยแหล่งอาหารตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่เริ่มเลี้ยงลูกเป็ดถึงอายุ ๑๐๐ วันในภาคกลาง และเลี้ยงเป็ดสาวเพื่อผลิตไข่ ในพื้นที่ราบทำนาในจังหวัดสุรินทร์ช่วงฤดูฝน

เมื่อข้าวแตกรวง แม่เป็ดก็จะถูกเคลื่อนย้ายขายไปยังเกษตรกรแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน เกษตรกรเลี้ยงเป็ดแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ก็จะขายแม่เป็ด กลับคืนลงมาให้กับ “เกษตรกรเลี้ยงเป็ดในที่ราบทำนา “เขตอ.เมือง อ.จอมพระ อ.ปราสาทฯลฯ

ดังนั้นเกษตรกรเลี้ยงเป็ดในที่ราบทำนา จึงมีการเลี้ยงเป็ดสองรุ่น คือ แม่เป็ดสาว และแม่เป็ดแก่ (หมายถึงแม่เป็ดไข่ที่ผลัดขนมากกว่า ๒ ครั้ง) วัฎจักรจะหมุนเวียน กระทั่งแม่เป็ดไข่ อายุ ได้ประมาณ ๒ ปี ก็จะถูกนำขายเป็นเป็ดเนื้อ* วัฎจักรการเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่งของจังหวัดสุรินทร์ในอดีต จึงเป็นวัฎจักรการเลี้ยงเป็ดไข่สืบสานต่อกันมาเป็นเวลานาน กระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมที่สาบสูญ ไปจากจังหวัดสุรินทร์ มาร่วม ๓๐ ปีแล้ว
ผู้เขียนได้ออกสำรวจคร่าวๆ (ปีพ.ศ.๒๕๔๔) ในบริเวณที่อดีตเคยมีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งหนาแน่น ในเขตตำบลท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ และได้ทราบว่า ปัจจุบันมีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเหลือเพียง ๒-๓ ราย การออกสำรวจในครั้งนี้ ผู้เขียนได้พบกับ ผู้เลี้ยงเป็ดรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สืบสานตำนานการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ยึดถือเป็นอาชีพมาโดยตลอด

คือนาย สมบูรณ์ นาคสุข อยู่ที่ ๑๓/๒ บ้าน เขวาน้อย ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน อายุ ๕๓ ปี คุณสมบูรณ์เล่าให้ฟังว่า ได้สืบทอดอาชีพเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมาตั้งพ่อ-แม่ นับได้กว่า ๔๐ ปีแล้ว เดิมทีเลี้ยงคราวละประมาณ ๑๕๐ ตัว ต่อมาก็เพิ่มเป็น ๒๐๐–๓๐๐ ตัว

ปีที่ผ่านมา ท่านเลี้ยงมากถึง ๕๐๐ ตัว โดยเลี้ยงแบบธรรมชาติ ๑๐๐% โดยไม่มีการใช้หัวอาหาร อาศัยแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ คือการไล่ทุ่ง และปลายข้าว เป็ดสามารถให้ไข่ได้ สูง ถึง ๖๐–๙๐% รายจ่ายค่าปลายข้าว วันละประมาณ ๓๕๐ บาท ขายไข่ได้ระหว่าง ๗๐๐–๘๐๐ บาท/วัน รายได้กำไรประมาณเดือนละ ๑๓,๐๐๐– ๑๕,๐๐๐ บาท /เดือน

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายได้จากการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ที่มีประมาณ ๑๐๐ ตัว มูลเป็ดก็นำไปปลูกผัก และ ขายมูลเป็ดเป็นรายได้เสริมอีกด้วยโดยขาย ในราคา ๑ ถุงปุ๋ย ต่อ ๓๕ บาท จากอาชีพการเลี้ยงเป็ดดังกล่าว นายสมบูรณ์ กล่าวว่า ชีวิตการเป็นอยู่ได้อย่างสบายๆ ไม่เดือดร้อน ท่านยังบอกอีกด้วยว่า อยากให้เกษตรกรหันมาสร้างอาชีพเกษตรแบบธรรมชาติ แบบที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ (ดำรงตำแหน่ง 2542 -2548) ได้ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ เช่นการทำนาก็ให้ใช้ควายไถนา แทน เครื่องยนต์ ฯลฯ

ในสถานการณ์ วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ที่เกษตรกรขาดทุนล้มละลายจากวิธีการผลิตแบบการตลาด-เทคโนโลยี เป็นไปได้หรือไม่ หรือจะมีใครบ้างที่จะหันกลับมาสนับสนุนให้นำเอาวัฒนธรรม “ การเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่ง ” ที่หายสาบสูญไปจากจังหวัดสุรินทร์ กลับมาส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรอีกครั้ง ไม่ต้องถึงขั้นมหาอำนาจการผลิตไข่เป็ดปลอดสารพิษ ของภาคอีสานเช่นในอดีต แต่ขอเพียงสามารถผลิตเพื่อสนองตอบต่อสังคมในท้องถิ่น และสามารถสร้างสรรค์อาชีพและการมีงานทำของรากหญ้าชาวสุรินทร์ นอกจากจะทำให้เกษตรกรมีอาชีพ “เลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่ง“แล้ว ยังสามารถสร้างอาชีพ การทำไข่เค็มปลอดสารพิษได้อีกหนึ่งอาชีพอีกด้วย ผู้เขียนมั่นใจว่า ไข่เค็มปลอดสารพิษสุรินทร์ จะมีคุณภาพที่ดีที่สุด และสามารถสร้างอาชีพและชื่อเสียงอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่น่าจะเป็นความภาคภูมิใจของคนสุรินทร์ “เมืองเกษตรอินทรีย์” ได้อีกทางหนึ่งด้วย

*เกษตรกรหรือพ่อค้าจะมีข้อสังเกตว่าแม่เป็ดแก่ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดนั้นเป็นเป็ดแก่ที่มีอายุมาก (ตั้งแต่ ๒ปีขึ้นไป) ซึ่งหากนำไปเลี้ยงจะให้ผลิตได้ไม่คุ้มทุน ด้วยสังเกตที่ส้นเท้าของเป็ดจะหนา (ภาษาเขมรเจิงโดง) ประมาณ ๐.๕-๑ ซ.ม.ขึ้นไป เกษตรกรจะไม่ซื้อไปเลี้ยง พ่อค้าก็จะนำไปขายส่งแม่ค้าชำแหละในตลาดหรือร้านอาหารต่อไป



ที่มา : ปรีชา วรเศรษฐสิน (222.123.201.35) [2008-06-27 12:08:55]


http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=thin&No=2274







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (6205 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©