-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 475 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง




หน้า: 1/2


กำลังปรับปรุงครับ



การเลี้ยงเป็ดไข่


เป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีเดิมเป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะ พิเศษเฉพาะพันธุ์
   

เพศเมีย



- สีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว ขา และแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ
- เริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม ไข่ได้ 300-320 ฟอง/ตัว
- ไข่มีขนาด 65 กรัม
- กินอาหารวันละ 145-160 กรัม/ตัว อายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด
   

เพศผู้
- ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว
- หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่
ชัดเจนและ
สีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำเมื่อเป็ดมีอายุมากขึ้น
- ขนหาง 2-3 เส้นจะโค้งงอขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ
- ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางคอจนถึงไหล่และหน้าอกด้านหน้าจะสีน้ำตาลเข้ม
- ขาแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ



การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 0-2 สัปดาห์
การเลี้ยงเป็ดจะสำเร็จหรือไม่นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกเป็ดระยะ 2 สัปดาห์แรกเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกเป็ดนั้น ถือว่า
เป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์ม ถ้าลูกเป็ดแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอ สมบูรณ์มีภูมิคุ้มกันโรคระบาดและไม่อมโรคแล้ว การเลี้ยงใน
ระยะต่อไปจะไม่ประสบปัญหา โดยปกติแล้วลูกเป็ดอายุ 0-2 สัปดาห์ มีความต้องการอยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือการเตรียมพร้อม
ก่อนนำลูกเป็ดเข้ามาเลี้ยง ความอบอุ่น อาหารที่มีคุณภาพ น้ำสะอาดและการป้องกันโรค

1. การเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดไข่เข้ามาเลี้ยง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เจ้าของ
1.1 ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก
หรือห้องสำหรับกกลูกเป็ดจะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้ากกลูกเป็ดบนพื้นคอกจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่
ทุกๆ ครั้งที่นำลูกเป็ดเข้าคอก
     
1.2 การสั่งจองลูกเป็ด ก่อนที่จะเลี้ยงเป็ด ควรจะได้มีการวางแผนว่าควรจะเลี้ยงในช่วงเวลาใดจึงจะเหมาะสม และเมื่อตัดสิน
ใจแล้วควจจะสั่งจองลูกเป็ดไว้ล่วงหน้า และควรสั่งซื้อสั่งจองจากโรงฟักลูกเป็ดที่มีชื่อเสียงที่ผลิตลูกเป็ดที่มี คุณภาพ และ
ต้องส่งลูกเป็ดในถึงฟาร์มได้ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หากโรงฟักอยู่ไกลเกิน การขนส่งลูกเป็ดเกิน 24 ชั่วโมง จะทำให้ลูกเป็ด
สูญเสียน้ำโดยระเหยออกจากตัว ทำให้ลูกเป็ดน้ำหนักลด มีผลต่อความแข็งแรงในระยะเวลาต่อมา
     
1.3 การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำใต้ดิน น้ำบาดาลหรือบ่อน้ำตื้น
หรือน้ำฝน หลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปา เพราะว่าลูกเป็ดจะตายหรืออ่อนแอมากเมื่อได้กินน้ำที่มีสารเคมี ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำประปา
ก็อาจทำได้โดยเปิดน้ำเก็บไว้ในถึงเป็นเวลานานข้ามคืน
     
1.4 โรงเรือนและอุปกรณ์ ก็จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่
- โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่
ลูกเป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นกต่างๆ

- การระบายอากาศ โรงเรือนควรมีช่องระบายอากาศที่ดี ส่วนใหญ่แล้วโรงกกลูกเป็ดมักมีฝา ประตูและหน้าต่าง ค่อนข้างจะมิด
ชิด เพื่อเก็บความอบอุ่นและป้องกันลมแรง การมีช่องระบายอากาศจึงมีความสำคัญ



ฟาร์มจะต้องตระเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะนำลูกเป็ดเข้าฟาร์ม

2. การกกลูกเป็ด



การกกลูกเป็ดอายุ 1-2 สัปดาห์
- เป็นการทำให้ลูกเป็ดอบอุ่น อาจจะกกบนพื้นดินที่โรยด้วยขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพด หนาประมาณ 1-2 นิ้ว หรืออาจเป็น
พื้นดินที่มีดินทรายรองพื้นก็ได้

- การกกควรแบ่งลูกเป็ดออกเป็นคอกๆ ละ 150-200 ตัว โดยใช้แผงไม้ขัดแตะหรือแผงกระดาษ หรือพลาสติกสูง
ประมาณ 1 นิ้ว กั้นระหว่างคอก เพื่อป้องกันลูกเป็ดนอนสุมกันในเวลากลางคืน ขนาดของคอกขึ้นกับอายุลูกเป็ด โดยเป็ดอายุ
0-1 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร กกได้ 30 ตัว ถ้าอายุ 1-2 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร กกได้ 23 ตัว และอายุ 2-3
สัปดาห์ ใช้อัตราส่วน 15 ตัว/พื้นที่ 1 ตารางเมตร

- แหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์ 2 หลอด/ลูกเป็ด 200 ตัว หรืออาจใช้โคมไฟสังกะสีที่มีหลอดไฟใต้
โคมแขวนสูงจากพื้น 1.5-2 ฟุต หรืออาจใช้แก๊สกกก็ได้

- อาจกกลูกเป็ดในตระกร้าไม้ไผ่หรือกล่องกระดาษ หรือสุ่มไก่โดยมีหลักว่าใช้ผ้าหรือกระสอบคลุมเพิ่มความอบอุ่นให้ลูก
เป็ด หรืออาจกกบนตาข่ายยกสูงจากพื้น 10-15 ซ.ม. ลวดข่ายหรือตาข่ายพลาสติก หรือไม้ไผ่ขัดแตะปูไปบนไม้หนา 2x4
นิ้ว ซึ่งวางเรียงกันบนพื้นซีเมนต์ที่ลาดเอียง ลูกเป็ดจะปล่อยเลี้ยงบนพื้นลวดตาข่ายและมีรางน้ำ รางอาหาร และไฟกกอยู่พร้อม
ลูกเป็ดถ่ายมูลออกมาและน้ำที่หกก็ตกลงบนพื้นซีเมนต์ เราสามารถล้างคอกได้ทุกวัน วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาความเปียกชื้นของ
พื้นคอก และนิยมมากในปัจจุบัน
     
- ใช้เวลากกลูกเป็ด 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ในฤดูร้อนอาจจะกกเพียง 9-10 วันก็พอ แต่ฤดูหนาวอาจจะกก 10-21 วัน
แล้วปล่อยออกไปเลี้ยงในบ่อน้ำที่จัดไว้ให้เป็ดเล่น หรือถ้าหากไมมีบ่อน้ำก็สามารถเลี้ยงลูกเป็ดปล่อยในแปลงหญ้า หรือรอบๆ
โรงเลี้ยงเป็ดที่มีชายคาหรือร่มไม้ มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
     
- ถ้าอากาศร้อนก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟกกลูกเป็ด
 

2.1 วัสดุรองพื้นคอกกก ถ้ากกบนพื้นดินควรรองพื้นด้วยวัสดุที่ดูดซึมความชื้นได้ดี เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ดินทราย ซังข้าวโพด
การจัดการด้านวัสดุรองพื้นนับว่ามีความสำคัญมากเช่นเดียวกับการควบคุมความอบอุ่น วัสดุรองพื้นที่เปียกชื้น ควรนำออกไปทิ้ง
หรือไม่ก็เติมวัสดุใหม่ๆ ลงไปอีก
     
2.2 ความชื้นภายในคอกลูกเป็ดประมาณ 65-75% ถ้าหากความชื้นภายในคอกสูงเกินไป ควรปรับช่องระบายอากาศให้กว้าง
ขึ้น หรือทำให้ลมพัดเข้าออกให้มากขึ้น ถ้าพื้นคอกเปียก ควรกลับแกลบเกลี่ยพื้นคอกให้น้ำระเหยออกไปทุกวัน
     
2.3 การปล่อยให้ลูกเป็ดเล่นน้ำ ในระยะแรกๆ 1-3 สัปดาห์ ลูกเป็ดยังไม่จำเป็นจะต้องเล่นน้ำ อาบน้ำ เราจึงกกไว้ในโรงกก
เพราะอวัยวะที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้น้ำในร่างกายของลูกเป็ดยังไม่พัฒนา แต่กรณีลูกเป็ดเปื้อนสกปรกอาจให้ลูกเป็ดเล่น
น้ำได้เพื่อล้างสิ่งสกปรก อาบน้ำ โดยปล่อยให้เล่นน้ำในเวลาที่มีแสงแดดจัด 5-10 นาที แล้วไล่ขึ้นมาตากแดดให้ขนแห้งแล้ว
ไล่เข้าคอก
     
2.4 การให้แสงสว่าง ในระยะแรกต้องให้แสงสว่างตลอดเวลา โดยอาศัยไฟจากกรงกกในเวลากลางคืน ใช้หลอดนีออนขนาด
20 วัตต์ หรือหลอดสว่างขนาด 60 วัตต์ ต่อพื้นที่คอกกก 30 ตารางเมตร ส่วนกลางวันก็ใช้แสงธรรมชาติ การให้แสงสว่างต่อ
เนื่องตลอดวันระยะอายุ 2 วันแรก จะช่วยให้ลูกเป็ดได้กินน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ ทำให้ลูกเป็ดแข็งแรง


3. การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด
ในระยะ 2 วันแรก ควรให้อาหารผสมชนิดผงคลุกน้ำพอหมาดๆ ใส่ในภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ยๆ เช่น ถาดสังกะสีหรือไม่ก็โรย
บนกล่องกระดาษที่แกะเป็นแผ่นเรียบๆ บนพื้น อาหารควรเป็นอาหารลูกเป็ดระยะ 0-3 สัปดาห์ มีโปรตีน 17-18% พลังงาน
ใช้ประโยชน์ได้ 2,890 กิโลแคลอรี่ มีน้ำสะอาดวางให้กินห่างจากไฟกกประมาณ 30-50 ซ.ม. การให้อาหารและน้ำ
หลังจาก 2 วันแรกให้วางอาหารค่อยๆ ห่างจากไฟกก 1.5-2 เมตร และขยับให้ห่างออกเรื่อยๆ สุดท้ายให้ห่างมากที่สุดเท่า
ที่จะทำได้ การให้น้ำใส่ในขวดพลาสติกสำหรับให้น้ำเป็ดแลไก่ ให้วางอยู่ใกล้อาหาร ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารเคมีคลอรีน
ถังน้ำ ขวดน้ำ รางน้ำ ควรทำความสะอาดทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง


4. สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเป็ดมาถึงฟาร์ม
การวางแผนล่วงหน้าในเรื่องต่างๆ ก่อนที่ลูกเป็ดจะมาถึงฟาร์มเป็นหน้าที่ของเจ้าของฟาร์ม ซึ่งต้องเอาใจใส่พิเศษ เมื่อลูกเป็ด
มาถึงและนำออกวางในกรงกก ควรสำรวจดูความแข็งแรง ถ้าตัวไหนอ่อนแอก็ให้แยกเลี้ยงต่างหาก ทันที่ที่ปล่อยลูกเป็ดลงพื้น
ของกรงกก สิ่งแรกที่ควรสอนลูกเป็ด คือ ให้ลูกเป็ดกินน้ำและต้องให้กินน้ำก่อนอาหาร 2-3 ชั่วโมง เมื่อเห็นตัวใดกินน้ำไม่เป็น
ควรจะจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดเรียนรู้ นอกจากเราจะเอาน้ำไว้ให้ลูกเป็ดกินอยู่ใกล้ๆ เครื่องกก ผู้เลี้ยงจะต้อง
คลุกอาหารด้วยน้ำอย่างหมาดๆ โปรยบนแผ่นภาชนะแบนๆ หรือกระดาษแข็งใกล้ๆ เครื่องกกด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าลูกเป็ดทุก
ตัวได้กินทั้งน้ำและอาหาร




อาหารเป็ด
ใน ปัจจุบันมีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสม
สำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิด
มาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณ
น้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ
alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพด
ในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด


อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้
1. อาหารสำเร็จรูป เป็น อาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว
มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหาร
ได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหาร
สะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
         
2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบ
อาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และ
รำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้
ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก
วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
         
อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุ สังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น
Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่
แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจาก
สารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.

การให้อาหาร คือ หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง 
เช้า กลางวัน เย็น
         
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด ตามแอ่ง มุมต่าง ๆ 
ของคอก  
           
วิธีการเก็บไข่ คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ 3 ฟอง จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำ
ไปคัดขนาด แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน



โรคเป็ดและการป้องกัน
เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรค
เป็ดที่สำคัญมีดังนี้    

1. โรคอหิวาต์เป็ด
สาเหตุ    
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
     
อาการ    
เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน
          
มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ
อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว
บางครั้งเป็ดจะ
ตายอย่างกระทันหัน หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบากในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้
     
การรักษา    
การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก
 
ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน)
ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้
     
การป้องกัน    
ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซีซี.
         

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
สาเหตุ    
เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ 
เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย
อุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทรวรจะแดงช้ำ
หายใจลำบาก
     
การรักษา    
ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น
    
การป้องกัน    
โดยการทำวัคซีนป้องกัน ดังนี้
               
     
ครั้งแรก
ทำเมื่อเป็ดอายุ 1 เดือน ทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 1 ซี.ซี. หรือตามคำแนะนำในฉลาก
ข้างขวด
วัคซีนทั้งสองชนิด ซื้อได้ที่กรมปศุสัตว์ หรือที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
     
ครั้งที่สอง
เมื่อเป็ดอายุ 3 เดือน
     
ครั้งที่สาม
เมื่อเป็ดอายุ 6 เดือน





http://www2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=90.0








สาคู เปลือกกุ้ง อาหารของเป็ดไข่ สูตรลดต้นทุน ที่กลุ่มเขาตูม


เทคโนฯปศุสัตว์

ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ


สืบเนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ประสบปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และเสบียงสัตว์ มีราคาแพง ส่งผล
ให้ต้นทุนในการผลิตสูงตามไปด้วย เพราะต้นทุนการเลี้ยงสัตว์เกิดจากค่าอาหารถึง ร้อยละ 70 ส่งผลกระทบต่อ
การประกอบอาชีพเป็นอย่างมาก ดังนั้น การปรับตัวเพื่อรับกับสถานการณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องดำเนิน
การอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ ช่องทางสำคัญที่จะทำให้การประกอบอาชีพสามารถอยู่รอดได้นั่นคือ การลดต้นทุนการผลิต
ลง โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารที่ใช้เลี้ยง

การประยุกต์ใช้พืชในท้องถิ่นมาเป็นอาหาร เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำได้ ดั่งเช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงเป็ดเขาตูม
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่กำลังประสบความสำเร็จในขณะนี้

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงเป็ดเขาตูม จากผลกระทบของปัญหาดังกล่าว ที่มีต่อการเลี้ยงเป็ดไข่ อันเป็นกิจกรรมเสริมรายได้
ทำให้ทางวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ต้องหาทางออก โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้พวกเขามองถึงการนำต้นสาคูที่มี
อยู่มากในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบเลี้ยงเป็ดไข่ทดแทนอาหารสำเร็จรูปที่มีราคาแพง ช่วยประหยัดค่า
อาหารเป็ดได้ค่อนข้างดี ทำให้กลุ่มมีกำไรและพอที่จะอยู่รอดได้

คุณลาริ เหมหลำ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงเป็ดเขาตูม เล่าให้ฟังว่า สำหรับอาชีพหลักของสมาชิกในกลุ่ม
ได้แก่ การปลูกยางพารา โดยอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก.

"แต่พอดีว่ามีพื้นที่ว่างเหลือประมาณ 1 ไร่ จึงคิดใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้เสริม" ประธานกลุ่มกล่าว

"แรกเริ่มได้ชักชวนเพื่อนบ้านละแวกเดียวกันรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงเป็ดเขาตูม เมื่อวันที่ 1
ธันวาคม 2549 มีสมาชิก 7 ราย ระดมหุ้นรายละ 15,000 บาท พร้อมกับกู้เงินกองทุนปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตร
กรรมมาลงทุน จำนวน 140,000 บาท เพื่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดและใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับซื้ออาหารเลี้ยง
เป็ดไข่ จำนวน 500 ตัว"

ทั้งนี้ สาเหตุที่เลือกเลี้ยงเป็ดไข่ เพราะตลาดในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงมีความต้องการไข่เป็ดจำนวนมาก มีตลาด
รองรับแน่นอน ไม่ต้องแข่งขันสูงเหมือนกับไก่ไข่

ประธานกลุ่มเล่าให้ฟังว่า ทางกลุ่มซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยง ราคาตัวละ 19 บาท หลังจากเลี้ยงได้ 4 เดือน เป็ดจะเริ่ม
ออกไข่ และเมื่ออายุได้ 6 เดือน จะให้ผลผลิตไข่เต็มที่

ปัจจุบัน กลุ่มสามารถเก็บไข่เป็ดได้ไม่ต่ำกว่า 300 ฟอง ต่อวัน หรือ 9,000 ฟอง ต่อเดือน โดยผลผลิตไข่ที่ได้
มีทั้งการส่งไข่เป็ดสดคละเกรดให้กับพ่อค้าในตลาดจังหวัดยะลา ฟองละ 3 บาท ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้อง
การของตลาด ส่วนหนึ่งแปรรูปเป็นไข่เค็ม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยจำหน่ายในราคา 4 บาท ต่อฟอง

แต่อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้ประสบปัญหาสำคัญ เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนการผลิตขยับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่า
อาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงเป็ดไข่ที่มีราคาแพง

หนทางแก้ไขนั้น กลุ่มจึงได้หันมาใช้วัสดุที่มีอยู่มากในธรรมชาติ คือ ต้นสาคู นำมาเป็นอาหารเลี้ยงเป็ดทดแทนรำ
ข้าวที่มีราคาสูงถึง 5 บาท ต่อกิโลกรัม นับว่าช่วยลดภาระได้ค่อนข้างมาก

คุณลาริ กล่าวด้วยว่า ต้นสาคู เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชตระกูลเดียวกับปาล์ม ซึ่งถือเป็นพืชประจำท้องถิ่นของภาคใต้
สามารถขึ้นได้ในธรรมชาติตามพื้นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง หรือในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำไม่ดี พบมากในจังหวัด
ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล ฯลฯ

ซึ่งลำต้นของต้นสาคูจะมีลักษณะกลม เมื่อต้นแก่เต็มที่จะมีจั่นดอกแตกออกตรงส่วนยอด ชาวบ้านเรียกว่า "แตกเขา
กวาง" เพราะแต่ละจั่นมีแง่งคล้ายเขากวาง เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะสูงประมาณ 8-10 เมตร

สำหรับพืชท้องถิ่นชนิดนี้ เป็นพืชที่คนในท้องถิ่นนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ใบของต้นสาคู สามารถนำ
ไปมุงหลังคาแทนใบจาก ลำต้นใช้สร้างบ้าน ทำเชื้อเพลิง และนำมาผลิตเป็นแป้งได้ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า แป้งสาคู

ทั้งนี้ ในส่วนของคุณค่าทางอาหารของแป้งสาคูนั้น พบว่า แป้งสาคู 100 กรัม จะประกอบด้วย ความชื้น 14 กรัม
โปรตีน 0.7
กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 84.7 กรัม พลังงาน 353 แคลอรี วิตามิน บี 1 0.01 มิลลิกรัม
แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม และเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม

ซึ่งจากข้อมูลของกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้ให้ข้อแนะนำในการนำสาคูมาใช้เลี้ยงสัตว์ว่า ด้วยคุณค่าทางอาหารต่ำ
การใช้เป็นอาหารสัตว์ควรใช้ร่วมกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารตามความต้องการของสัตว์ นอกจากนี้
สาคูบดและตากแห้งสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในสูตรอาหารได้เช่นเดียวกับมันเส้น และควรใช้สาคูร่วมกับวัตถุดิบ
อาหารสัตว์ชนิดอื่นที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากสาคูมีคุณค่าทางอาหารต่ำ

สำหรับวิธีการนำต้นสาคูมาเป็นอาหารเลี้ยงเป็ด กลุ่มจะเลือกเฉพาะต้นที่มีจั่นดอก เพราะจะให้โปรตีนสูง โดยตัดทั้งต้น
นำมาเลาะเปลือกออก จากนั้นนำลำต้นเข้าเครื่องบดให้ละเอียด แล้วค่อยนำมาผสมกับอาหารสำเร็จรูปให้เป็ดกินทุกวัน

ต้นสาคู 1 ต้น สามารถใช้เลี้ยงเป็ดไข่ จำนวน 500 ตัว ได้ประมาณ 1 สัปดาห์
จากการเก็บ
ข้อมูลของทางกลุ่มพบว่า เป็ดไข่ที่เลี้ยงด้วยสาคู มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดี น้ำหนักและอัตราการเจริญเติบ
โตของเป็ดไม่แตกต่างกับการเลี้ยงด้วยรำข้าวหรือปลายข้าว

"สำหรับต้นสาคูนี้ถือว่าสามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ค่อนข้างมาก ทำให้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และคืนทุน
ได้ภายใน 6 เดือน หลังจากเป็ดเริ่มให้ผลผลิต" ประธานกลุ่มกล่าว

นอกจากการนำพืชท้องถิ่นอย่าง สาคู มาใช้ประโยชน์แล้ว ทางกลุ่มยังได้นำวัสดุเหลือทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อีก
อย่างหนึ่งคือ หัวกุ้ง และเปลือกกุ้ง

ซึ่งหัวกุ้งและเปลือกกุ้ง ถือว่าเป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าสูง โดยเฉพาะแคลเซียม โดยทางกลุ่มจะให้เสริมทุกวัน

ไข่เป็ดที่เลี้ยงด้วยหัวกุ้งและเปลือกกุ้งจะได้ไข่แดงที่มีสีแดงเข้ม

สำหรับหัวกุ้งและเปลือกกุ้ง ทางกลุ่มจะซื้อมาในราคากิโลกรัมละ 3 บาท

อนาคตกลุ่มได้เตรียมแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยจะดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรตั้งแต่ผลิตพันธุ์เป็ดเพื่อทด
แทนฝูงเดิมที่ปลดระวาง พร้อมกับผลิตอาหารสัตว์อัดเม็ดขึ้นใช้เอง ทั้งยังจะแปรรูปไข่เค็มป้อนตลาดมากขึ้นด้วย
นอกเหนือจากการจำหน่ายไข่เป็ดสด ซึ่งได้ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มจำนวนเป็ดในฟาร์มไม่น้อยกว่า 1,000 ตัว เพื่อให้สมา
ชิกมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3,000 บาท ต่อเดือน ต่อครัวเรือน

จากผลงานดำเนินงานที่มีความโดดเด่น จึงทำให้ขณะนี้ ส.ป.ก.ได้คัดเลือกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงเป็ดเขาตูม
เป็นวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินดีเด่นของจังหวัดปัตตานี

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับการนำต้นสาคูมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงเป็ดเขาตูม 142 หมู่ที่ 5 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี โทร. (089)
293-7090 หรือสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี โทร. (073) 332-449


http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=1250.0







พันธุ์เป็ดไข่

เป็ดไข่พันธุ์กากีแคมป์เบลล์ (Khaki Campbell)

เป็ดไข่พันธุ์กากีแคมป์เบลล์ (Khaki Campbell) ประเทศไทยได้นำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็ดพันธุ์กากีแคมป์เบลล์ ถือว่าเป็นเป็ดไข่ที่ให้ผลผลิตไข่ดกมาก ประมาณปีละไม่น้อยกว่า 280 ฟองต่อตัว






เป็ดไข่กบินทร์บุรี

เป็ดไข่กบินทร์บุรี เดิมเป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะพันธุ์ คือ เพศเมียจะมีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว ขาและแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินประจำ เริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักตัวเมียเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม สามารถไข่ได้ 145-160 กรัม/ตัว และอายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะพิเศษ คือ ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่ชัดเจนและสีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำ เมื่อเป็ดอายุมากขึ้น ขนหาง 2-3 เส้นจะงอโค้งขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางลำคอจนถึงไหล่ และหน้าอกด้านหน้าจะมีสีน้ำตาลเข้ม ขนแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ




เป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ

เป็ดพันธุ์ปากน้ำ เป็นเป็ดพื้นเมืองที่กรมปศุสัตว์อนุรักษ์และพัฒนาต่อเนื่องมากกว่า 30 ปี จนมีขีดความสามารถในการให้ผลผลิตไข่ปีละ 280-300 ฟอง กินอาหาร 120-130 กรัม/ตัว/วัน ไข่หนัก 1 กิโลกรัม กินอาหาร 2.8 กิโลกรัม เริ่มไข่อายุ 150 วัน เลี้ยงง่าย ต้านทานโรค แข็งแรง เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยในชนบทและสำหรับผสมข้ามพันธุ์กับเป็ดพันธุ์กบินทร์บุรี จะให้ลูกผสมที่มีผลผลิตสูง ไข่เฉลี่ย 320-328 ฟอง/ปี






เป็ดไข่นครปฐม

เป็ดนครปฐม เป็นเป็ดพันธุ์พื้นเมืองที่ใกล้สูญพันธุ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติได้รวบรวมพันธุ์มาจากชายแดนภาคใต้ 20-30 ตัว เป็นฝูงสุดท้ายที่รวบรวมได้ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันทำการวิจัยด้านพันธุกรรมและพัฒนาพันธุ์ เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นเป็ดที่ให้ทั้งไข่และเนื้อ และต้านทานโรค ซึ่งกรมปศุสัตว์จะดำเนินการจดทะเบียนเป็นแหล่งพันธุกรรมสัตว์พื้นเมืองต่อไป


Content ©