-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 621 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง




หน้า: 2/2



ลักษณะไก่เก่ง


บทกลอนชมไก่


ไก่ชนงามตามตำรามีห้าอย่าง
งามท่าทางองอาจดั่งราชสีห์
งามเยื้องย่างสามขุมดุจกุมภี


เตรียมต่อตีทุกฝีก้าวกำเท้าเดิน
เสียงขันใหญ่เจื้อยแจ้วแจ๋วแจ่มจิต
ยืนท่าชิดทรนงปานหงส์เหิร
ดูท่วงท่ามีสง่าทุกท่าเดิน
แสนเพลิดเพลินชวนมองจ้องตาดู

งามส่วนหัวหูตาหน้าแจ่มใส
คิ้วคอใหญ่คางรัดมัดติ่งหู
ไม่เปิดกว้างกลวงโบ๋โหว่เป็นรู
ถูกศัตรูแทงดิ้นสิ้นเดิมพัน
ปากสีขาตาสีตัวหัวรัดชิด
หน้าหงอนปิดปากร่องมองเป็นสัน
ตาคมวาวราวพยัคฆ์นักประจันต์
ใบหน้ามันดูดีเป็นสีแดง

งามลำตัวคอดกลางหว่างอกกว้าง
ยาวได้ช่วงตั้งชันไม่มันแฝง
แผ่นหลังใหญ่ไหล่หนาท่าแข็งแรง
ก้อนกล้ามแกร่งแดงเด่นเป็นร่องกลาง

หรือรูปปลีมีสร้อยลงประบ่า
สร้อยระย้าประก้นที่โคนหาง
ปีกยาวใหญ่ทอดแนบไม่แบบบาง
จรดสองข้างหางพัดจัดว่างาม
งามหางหงส์โค้งอ่อนเหมือนฟ่อนข้าว
ก้อนชิดเข้าเชิงกรานบานเหมาะสม
ท่อน้ำมันอันหนึ่งครึ่งวงกลม
ไว้สะสมแต่งเติมเพิ่มความงาม
ตะเกียบชิดแข้งคู่ไม่ลู่อ่อน
ช่วยบินร่อนตีเร่งให้เกรงขาม
ไม่ก้นย้อยห้อยเสี้ยวหางเบี้ยวตาม
พ่อโฉมงามไก่ชนของคนไทย

งามส่วนขาแข้งนิ้วเป็นทิวแถว
ถูกตามแนวโบราณท่านขานไข
เสือซ่อนเล็บพันลำเกล็ดกำไล
เหน็บชั้นในไชบาดาลผลาญศัตรู
กากบาทฟาดฟันดอกจันทร์แจ่ม
มีเกล็ดแซมเกล็ดเหน็บเล็บงามหรู
เกล็ดบัวคว่ำบัวหงายคล้ายใบพลู

ยอดนักสู้เดือยคมสมไก่งาม
ไก่เก่งแข้งจะเล็ก ดังคำว่า "นกแข้งใหญ่ ไก่แข้งเล็ก"
ไก่ที่กำเท้าเดินหรือเดินหยิบ จะเป็นไก่ชั้นเชิงและฉลาด
ส่วนไก่เสือกเท้าเดิน เดินแบเท้า จะเป็นไก่ตีหนัก
การเดิน เดินหนักเหนียง จะอดทน ตีหนัก ตีแม่น แต่ช้า
ถ้าเดินเชิด สง่าผ่าเผย แสดงถึงลักษณะ "พญาไก่"

* ไพฑูรย์ ณุวงค์ศรี แต่ง อรุณ บูรณธัญรักษ์ รวบรวม นสพ.กีฬาไก่ชน 1, 5 (ธ.ค.44) และ 1, 6 (ปักษ์
แรก ม.ค.44)
ไก่งามตามตำราโบราณ ไก่งาม คือไก่ที่มีรูปร่างลักษณะโครงสร้างดี ได้สัดส่วนและสง่างาม ไม่พบ
ความบกพร่องหรือพิการทางร่างกาย เช่น ปากบิดเบี้ยว ตาบอด อกไม่คด นิ้วไม่กุด ร่างกายสมบูรณ์ไม่เป็นโรคมี
น้ำหนักตัวผู้
3 กก. ตัวเมีย 2 กก. ขึ้นไปโดยมีส่วนประกอบของร่างกายงดงามตามตำรา คือ

1. ใบหน้า
แหลมเกลี้ยงเกลา กลมกลึงแบบหน้านกยูง ประกอบด้วย
- ปาก ต้องสีตามพันธุ์ สีเดียวกับแข้ง ปากใหญ่แน่นแข็งแรง ปลายงุ้มไม่ยาวไม่สั้นเกินไป ปากบนมีร่องน้ำตลอดปาก
- จมูก กว้างใหญ่ สันจมูกเรียบ รูจมูกไม่แฟบ
- คาง ตุ้ม เหนียงรัดกลมกลึง
- หู ไม่กลวง มีขนปิดหู(สีตามพันธุ์)
- ตา มีประกายแจ่มใส นัยน์ตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ หรือตรง ตาม
พันธุ์ ขอบตาเป็นรูปวงรี ลูกตาอยู่ตรงกลางตา มองเห็นเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ตาลึกอยู่ในเบ้าตา คิ้วนูนเป็นเส้น
ขนานไปตามเบ้าตา
- หงอนเล็ก ฐานหงอนหนา หน้าหงอนบาง ปลายหงอนยาวกดกอดกระหม่อม ราบเรียบสีแดงสดใส เลยตาดำยิ่งดี
- กระโหลกศรีษะ หนาอวบ ยาวเป็น 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวตามธรรมชาติ

2. รูปทรง
สมส่วนทะมัดทะแมง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ อกผายไหล่ผึ่ง ปีก หาง ยาวสมตัว ประกอบด้วย
- ลำตัว กระดูกโครงส้างดี อกไม่คด จับยาว 2 ท่อน ช่วงกลางกลมคอด ช่วงหน้ากว้าง และตะโพกใหญ่กว่า ช่วงท้อง
น้อย ตะเกียบตรงชิด แข้งยาวเท่ากัน
- หน้าอก สีแดงอกกว้างใหญ่ คล้ายรูปใบโพธิ์ มีกล้ามเนื้อ อกผาย ไหล่ผึ่ง กระดูกใหญ่ ไม่คด ไม่บุบ ยืนยืดอก
ลักษณะตั้ง
- คอ ใหญ่มั่นคง กระดูกปล้องคอชิดแน่น ร่องคอกับไหล่ชิดกัน ขนคอขึ้นเป็นระเบียบและเคลื่อนไหวตลอดเวลา
- ปีก ปีกยาวใหญ่เป็นลอนเดียว สนับปีกหนาแน่น สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอหลัง
- หางแข็ง หางพัด หางกระลวยยาว เป็นฟ่อนจำนวนหลายเส้น สีตรงตามพันธุ์ กระเบนหางใหญ่ ขั้วหางชิดกระดูก
สันหลัง กระปุกน้ำมันใหญ่มีอันเดียว
- แข้งขา แข้งเล็กเรียวกลม หรือเหลี่ยมแบบลำหวาย ไก่แข้งเหลี่ยมมักเป็นไก่ลำโต ตีเจ็บ แข้งไม่ผุ ไม่มีขน ปั้นขา
ใหญ่ล่ำแบบไม้กระบอง นิ้วยาว เรียวกลม เกล็ดแข้ง นิ้วเป็นระเบียบกลมกลืนกันทั้งสองข้าง เวลาจับไก่ ตรงกลางลำตัว
ยกขึ้นถ้าแข้งและนิ้วทั้งหมดเหยียดตรง จะเป็นไก่ตีแม่น ยิ่งเหยียดชิดกัน ขี่กัน ยิ่งตีแม่นตีเจ็บ

3. ขน
พิจารณาทั้งขนพื้นและขนสร้อย ระย้า ความละเอียดอ่อน ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความ
สมบูรณ์ของขน
- สีขน ต้องเป็นไปตามพันธุ์ สีชัดเจนสม่ำเสมอ สีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูต้องเป็นสีเดียวกันหรือ ใกล้
เคียงกันสีพื้นตัวต้องเป็นสีตามพันธุ์
- น้ำขน ขนแห้งเป็นมัน ถูกน้ำเปียกได้ ใยขนไม่ขาดจากกัน
- สร้อยระย้า ขนสร้อยเป็นระย้าละเอียดอ่อน เส้นเล็กปลายแหลม ขนสร้อยหลังมาด้านข้างลำตัวแผ่ห้อย มา เป็นแผง
เป็นระย้า สร้อยประบ่า ระย้าประก้น
- ขนพัด ขนกระลวย เรียงเป็นระเบียบจากชายนอกไปหากระลวย จากสั้นไปยาวเสมอกันทั้ง 2 ข้าง ๆ ละ ไม่ต่ำกว่า
7 เส้น ขนกระลวยต้องยาว ก้านแข็งเป็นคู่ๆ หลายๆ คู่ สีหางกระลวยต้องเป็นไปตามพันธุ์
- ขนสมบูรณ์และสวยงาม ขนขี้นเป็นระเบียบแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่กรอบ ไม่กร่อน ไม่แหว่ง ไม่หัก ไม่เป็นโรค ไม่
เคลื่อน ไม่ถ่ายขน

4. กริยาท่าทาง
พิจารณาอากัปกริยา ยืน เดิน วิ่ง กระพือปีก และเชิงขน เชิงสูง ดังนี้
- ยืน มีสง่าราศี ชูคอ หัว ปีกยก ยืนข้อขาตรง ลำตัวตรง ปลายหางจรดพื้น ยืนเต็มเท้า เล่นสร้อย ท่าทาง ระมัดระวังตัว
อยู่ตลอดเวลา
- ท่าเดิน เดินย่างเท้าขึ้นแล้วกำนิ้วทั้งหมด ฝ่าเท้าลงแบนิ้วทั้งหมด เดินแบบคนเดินอย่างระมัดระวังตัว
- ท่าวิ่ง วิ่งด้วยปลายนิ้ว อุ้งไม่ติดพื้น ย่อขาโย้ตัว ยื่นคอไปข้างหน้าเสมอ
- กระพือปีก ขยับปีกอยู่ตลอดเวลา กระพือปีกแรงเสียงดังแล้วขัน เสียงขันกระชากกระชั้น หรือก้องกังวาน
- สู้ (อาจดูเชิงชนก็ได้) ไก่จะแสดงอาการสู้ไก่ตัวอื่น ไม่หวาดกลัว

5. เกล็ดหรือของดี
ถือว่าเป็นของวิเศษของไก่ที่สำคัญ คือ เดือย เกล็ด(ร่องเกล็ดแข้งลึก) นิ้ว เล็บ
- เดือย ตั้งมั่นคงแข็งแรงกระชั้นก้อย โตขนาดนิ้วก้อย ปลายเดือยปัดไปตามก้อย สีเดียวกับปากและแข้ง โคนเดือย
ใหญ่แหลมคม มีหมอนรองเดือยด้านล่างและด้านบน
- นิ้ว กลม ยาว เรียว ไม่คดงอ มีเกล็ดแตก เกล็ดเหน็บมาก
- เกล็ดหน้า เรียงเป็นระเบียบตั้งแต่ข้อขาถึงเดือย หรือโคนนิ้ว จะเป็นแถวเดียว กำไลพันลำ 2 แถว ร่องน้ำ ปัดตลอด
จระเข้ขบฟัน 3 แถว พญาครุฑเหน็บตลอด
- เกล็ดหลัง เรียงเป็นระเบียบ มีเกล็ดเมล็ดข้าวสาร เกล็ดข้าวโพดชัดเจน เกล็ดเดิมพัน และเกล็ดอันขึ้นสูง ชัดเจน
- เกล็ดพิฆาต มีกากบาท ดอกจันทร์ ดาวล้อมเดือน บัวตูมบัวบาน ข้าวตอกแตก เสือซ่อนเล็บ เหน็บนอก เหน็บใน

* ไม่ทราบแหล่งที่มา ใครเป็นเจ้าของข้อเขียนโปรดแสดงความเป็นเจ้าของด้วย ขอบคุณมาก

ไก่เก่ง จะต้องมีส่วนประกอบหลายๆอย่าง คือ

1. ชั้นเชิงดี
คือ ชั้นเชิงที่คู่ต่อสู้ไม่สามารทำอะไรได้ ทำคู่ต่อสู้ได้ฝ่ายเดียว หรือทำได้มากกว่า ไก่เชิงดีๆ (ถ้ามีทั้ง 4
เชิง ถือว่าเยี่ยม) คือ เชิงคุมบน (ขี่ กอด ทับ ล็อก) -- เชิงมัด (มัดโคน มัดกลาง มัดปลายปีก) -- เชิงเท้าบ่า
(เท้ากระปุกน้ำมัน เท้าหลัง เท้าปีก) -- เชิงสาดแข้งเปล่า (ฉะเดินหน้า ฉากถอยหลัง)

2. เดินดี
เดินชิด เดินเร็ว เข้าเดินวงใน เดินเข้าเบียดคู่ต่อสู้ ไม่ยอมออกห่างให้คู่ต่อสู้อัดชิดเข้าตีลูกติดตัวได้ ไก่เดิน
 วงในเก่งๆจะทำเชิงตีได้ก่อนและ จะไม่เสียแรง

3. ยืนดินดี
เวลาจิกบินขึ้นตีคู่ต่อสู้ตกลงมาถึงพื้นแล้วยืนพยุงตัวได้ไม่เอียงไม่ล้ม สามารถเข้าทำเชิงตีต่อได้เลยโดย
ไม่เสียหลัก

4. ปากไวตีนไวดี
จิกแล้วไม่โยก ไม่คลึง ไม่ดึง จิกแล้วตีเลย เรียกว่าปากถึงตีนถึง

5. ตีแม่นตีเจ็บ
เวลาตีถูกจุดสำคัญ คู่ต่อสู้มีอาการเจ็บปวด


ไก่ดีต้องชนได้ลักษณะนี้
ชนสองหน้า
คือ เข้าชนได้ทั้งสองหน้าของคู่ต่อสู้ ที่ด้านซ้ายและด้านขวา จะเป็นไก่เชิงตั้งแปะ 2 หน้าตี กล่อม
กระหม่อม ตีได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

ชนสองคอ
คือ เข้าชนได้สองข้างคอคู่ต่อสู้ ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา ส่วนมากจะเป็นไก่เชิงคุมบนกอด คออ่อน ขี่คอ
ทับคอ และล็อกคอ เข้าทำเข้าตีได้คล่องทั้ง 2 ข้าง

ชนสองปีก
คือ เข้ามุดมัดปีกได้คล่องทั้ง 2 ปีก ปีกซ้าย ปีกขวา และล็อกปีกไม่ให้คู่ต่อสู้หลบหนีจึงตีได้ ถนัด ส่วมมาก
ไก่เชิงมัดปีก มัดโคนปีก มัดกลางปีก มัดปลายปีกได้ทั้ง 2 ปีก ทั้งปีกซ้ายและปีกขวา

ชนสองขา
คือ ลงจิกขา หรือแบกขาได้ทั้ง 2 ขา ทั้งขาซ้ายและขาขวาของคู่ต่อสู้ ทำให้คู่ต่อสู้ล้มเสียหลัก และเจ็บขา
เกิดบาดแผลได้ ส่วนมากจะเป็นไก่เชิงลง ลงจิกขา ยกแบกดั้ม ไถนา

อ.พน นิลผึ้ง จากหนังสืออินไซค์ไก่ชน 6









ลักษณะไก่ ไร้สัญชาติญาณ

ไก่ ซึ่งมีลักษณะไม่ดี บ่งบอกว่าไก่ตัวนั้นมีความบงพร่องในสัญชาติญาณการต่อสู้ ขาดความทรหดอดทน
 จิตใจไม่แข็งแกร่ง มีความเป็นนักสู้น้อย ถ้านำลงสังเวียนชนมีโอกาสแพ้มากกว่าชนะ ไก่ที่มีลักษณะไม่ดีพอจะแยกออกดังนี้
หัว-หน้า
มีหัวใหญ่กลม แสดงว่าเป็นไก่ไอคิวต่ำ ทั้งดื้อและโง่ ไม่รู้จักการแก้ไขสถานการณ์ เวลาตีมัก
จะตีเชิงเดียวตลอด คิ้วบางเป็นสันแหลมเรียกว่าคิ้วลิง เป็นคิ้วเปราะบางถูกตีสันคิ้วมักชัก
ง่ายๆ คิ้วไม่คุ้มตามีโอกาสถูกแทงตาบอดได้ง่าย นัยน์ตากลม ขอบตาหนา ตาดำใหญ่ ตา
ขาวดำ มองรวมๆกันจะออกเป็นสีแดง ชอบกลอกนัยน์ตา ลอกแลก บอกให้รู้ว่าเป็นไก่ใจเสาะ
ถอดหัวหนีไม่บอกไม่กล่าว ไว้วางใจไม่ได้
หงอน
ไม่รัดกอดกระหม่อม มีสีซีดไม่แดงสดใส แสดงว่าเป็นไก่ไม่แข็งแรงเต็มที่ หรือเป็น ไก่หงอนรู
ตรงปลายหงอนซึ่งว่ากันว่าเป็นไก่ไม่มีสกุล จิตใจไม่แน่นอน บางครั้งอาจสู้ บางครั้งอาจไม่สู้
มีปลายหงอนมาตรงกับตาดำ เชื่อว่าไม่สามารถคุ้มตาตัวเองมักถูกตีตาบอดง่าย มีหงอนพับ
หรือเอียงไปข้างหนึ่ง
เหนียง
มีขนาดใหญ่ และยานอย่างที่เรียกว่า "คางวัว" เป็นจุดอ่อนของไก่ เพราะฝ่ายตรงข้ามจิกจับ
ได้ง่าย กลายเป็นเป้าหมายให้คู่ต่อสู้โจมตีสะดวก และแก้ไขได้ยาก
ปาก
ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไปไม่สมส่วนกับใบหน้า ปลายปากไม่งองุ้มเหมือนปากนกแก้วหรือปาก
เหยี่ยว ปากบน ปากล่างปิดไม่สนิท ขอบปลายปากไม่มีความคม ทำให้จิกจับคู่ต่อสู้ไม่มั่น
หรือไม่ติด มีโคนปากเล็ก บอบบาง ปากไม่มีร่องน้ำแสดงว่าปากไม่แข็งแรง ทำให้ปากหัก
ปากหลุดได้ง่าย
คอ
ยาว เกินไปหรือสั้นเกินไป คอเล็กกระดูกคอเป็นปล้องห่างๆ ไม่ชิดแน่น ซอกคอห่างจากลำตัว
แสดงว่าคอไม่แข็งแรง ขาดพลัง ถูกตีหัวได้ง่าย มีคอเป็นสองวงหรือคดสองกระด้ง(คอ
เหมือนคออูฐ) เปิดปากดมดูต้องมีกลิ่นสะอาด ถ้ามีกลิ่นคาว เน่าเหม็น แสดงว่าในลำคอมีแผล
ระบบการย่อยอาหารไม่ดี
หน้าอก
มีอกรวบแคบ กระดูกอกคด แสดงว่าไม่แข็งแรง ขาดความอดทน ถ้าอกยานทำให้เสียเปรียบ
ตอนเปรียบคู่ เพราะดูเหมือนจับใหญ่
ลำตัว
มีลำตัวยาวเหมือนรูปฟัก เวลาเปรียบคู่เสียเปรียบไก่ยาวแบบ"จับสองท่อน" เพราะเขาจะสูง
กว่า หรือมีลำตัวสั้นกลมเหมือนลูกมะพร้าวเวลาตีต้องยืดต้องเขย่งตี บินตีก็ต้องบินสูง ทำให้ตี
ไม่หนัก สูญเสียความรุนแรงเฉียบขาดในการตี
หลัง
แคบโก่งนูนขึ้นมาเหมือนคนหลังค่อม หรือกระดูกสันหลังมีลักษณะเหมือนหลังหัก ท่อนท้าย
ลำตัวแคบ แสดงว่าเป็นไก่ไม่แข็งแรงไม่อดทน
ปีก
กระดูกปีกค่อนข้างเล็กบาง คลำดูกล้ามเนื้อแฟบลีบ ปีกเป็นสองลอน สามลอน สนับปีกบาง
ขนเปราะหักวิ่น ทำให้บินไม่ดี สมรรถภาพในการตีลดลง
หาง
หางโค้งยาวเป็นไก่แจ้ เวลายืนยืดอกทำให้เหยียบหางตัวเอง หรือถูกฝ่ายตรงข้างเหยียบหาง
ทำให้เสียหลักล้ม กระเบนหางเล็ก-คด-อยู่ห่างลำตัว แสดงว่าเป็นไก่ไม่แข็งแรง
สร้อย
สร้อยคอสร้อยหลังขาดเป็นไก่ไม่มีสกุล จะสู้ไก่ที่มีสร้อยคอสร้อยหลังสมบูรณ์ไม่ได้ เรียกว่า
แพ้สกุลไก่
กระปุกน้ำมัน
อยู่ ห่างจากตัวไปทางหางแสดงว่าเป็นไก่เชื่องช้า ไม่อดทน ถ้ามีกระปุกน้ำมัน 2 อันมักเป็น
ไก่ใจเสาะ(แต่นักเลงไก่บางคนกลับถือว่ามีกระปุกน้ำมัน 2 อันเป็นไก่ตีเก่ง)
แข้ง
มีความยาวเก้งก้าง แข้งเป็นเหลี่ยม ท้องแข้งแห้ง เกล็ดบางนิ่มเกยกัน บนแข้งมีเกล็ดแพ้ เช่น
อันบอด หลุมผี เป็นต้น แสดงว่าตีไม่เจ็บ ไม่มีลำหนัก ตีไม่แม่น
นิ้วเท้า
นิ้วสั้น บิด งอ เก อุ้งเท้าบวม นูน เล็บสั้น แสดงว่ายืนดินไม่ดี ขาดความมั่นคง เล็บสั้นทำให้ใช้
เล็บเป็นอาวุธได้ไม่เต็มที่
เดือย
ตอเดือยเล็กบอบบาง ทำให้เดือยโค่นง่าย เดือยอยู่ห่างจากก้อยมากและโค้งงอขึ้นข้างบน
ทำให้เวลาไก่กระโดดตีเดือยจะไม่ถูกจุดสำคัญบนตัวคู่ต่อสู้








ประวัติความเป็นมาไก่ประดู่หางดำ
ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมไก่
เหลืองหางขาวและคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่หลายมา
ในหมู่ขุนนาง เจ้าขุนมูลนาย และต่อมาได้พัฒนามาเป็นกีฬาพระราชา เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเอกา
ทศรถ พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น


ไก่ประดู่หางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา มีนบุรี หนองจอก
ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดี
ไก่ประดู่หางดำโด่งดังครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ได้ทรงนำ
ไก่ประดู่หางดำ จากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพาร ทรงชนะตลอด ทำให้ไก่ประดู่หางดำโด่งดังไม่น้อยไป
กว่าเหลืองหางขาว บางตำราบอกว่า ไก่ประดู่หางดำ เป็นต้นตระกูลสายพันธุ์ไก่อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย
ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่มีลักษณะงดงามมาก ชั้นเชิงการชนเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า ขี่ กอด ทับ เท้าบ่า หรือบางที
มีมัดปีกด้วย


แหล่งกำเนิด ไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มีถิ่นกำเนิดแถบภาคกลางของไทย เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา
ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ (มีนบุรี หนองจอก) สิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นแหล่งกำเนินไก่ประดู่หางดำชั้นดี นอกจากนี้ยัง
มีแถบจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันนิยมเลี้ยงแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย และต่างประเทศในแถบอาเซียน เช่น มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน เป็นต้น

ประเภท
ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป เพศเมียหนัก 2 กิโลกรัม ขึ้
นไป

สีของเปลือกไข่
เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะลูกไก่
หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวนวล ปาก ขา สีน้ำตาลแก่


ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูปร่างลักษณะ ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่มีลักษณะงดงามทรงรูปปลีกล้วย ไหล่กว้าง ลำตัวยาวล่ำสัน หางยาวเป็น
  • ฟ่อนจรดพื้น ปั้นขาใหญ่ แข้งเป็นแข้งคัดออกเหลี่ยม ดูสง่างาม ทะมัดทะแมง น่าเกรงขามยิ่งนัก ตะเกียบ หนา แข็ง
    แรง และชิด ปลายโค้งเข้าหากันเล็กน้อย

  • ใบหน้า กลมกลึงแบบหน้านกยูง และมีสีแดง
  • หาง หางพัดสีดำสนิทยาว และเรียงกันเป็นระเบียบจากล่างไปบน สองข้างเท่าๆ กัน มีหางรับข้างละ 2-3 เส้น กระ
  • เบนหางใหญ่ ขั้วหางชิด กระปุกน้ำมันใหญ่ เป็นกระปุกเดี่ยว

  • ปาก ปากใหญ่ ปลายงองุ้มเหมือนปากนกแก้ว ปากบนรับกับปากล่าง หุบสนิทพอดี มีร่องปากทั้ง 2 ข้าง ปากสี
  • น้ำตาลแก่ สีปากจะรับกับสีแข้ง และเดือย

  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย หรือแข้งคัด
  • จมูก รูจมูกกว้าง สันจมูกราบเรียบ สีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีน้ำตาลรับกับสีปาก เกล็ดแข้งเป็นเกล็ดพัดเรียงเป็นระเบียบ
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี ดวงตาสีไพลแก่ มองเห็นเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตามีประกายแจ่มใส คิ้วนูนเป็นเส้น
  • ขนานโค้งไปตามเบ้าตา

  • นิ้ว นิ้วยาวกลม ปลายนิ้วเรียวมีท้องปลิงปุ่มตรงข้อนิ้ว เกล็ดนิ้วมีแตก แซมเหน็บเล็บสีน้ำตาลรับกับสีปาก ไม่บิด
  • ไม่งอ ปลายเล็กแหลมคมแบบเล็บเหยี่ยว

  • เหนียง เหนียงรัดกลมกลึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนสีของหงอน
  • เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่น เดือยตรงโคนใหญ่ปลายแหลมคมแบบเดือยลูกปืน สีเดียวกับปากและแข้ง
  • กะโหลก กะโหลกหัวอวบยาว 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ

  • ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนสั้นแน่น บริเวณหน้าคอถึงหน้าอกจะมองเห็นหนังสีแดง ขนใต้ปีก ใต้อกแน่น ช่วงท้องเป็น
  • ปุย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าเป็นขนละเอียด ก้านขนแข็งเล็กเป็นแผงสีประดู่ สยายประบ่าประก้น


  • คอ คอใหญ่ ยาวโค้งลอนเดียวแบบคองูเห่า กระดูกปล้องคอใหญ่ชิดแน่น ร่องคอชิดกับไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ
  • สร้อยคอยาวประบ่าต่อกับสร้อยหลัง


  • กิริยาท่าทาง ไก่ประดู่หางดำเป็นไก่สกุลเดียวกับเหลืองหางขาว เวลายีน เดิน วิ่ง ชน กระพือปีกและขัน จะแสดง
  • อาการหยิ่งผยอง ยืนตรง อกตั้ง ทะมัดทะแมง เดินย่างเท้าแบบสามขุม เหยียบเท้ามั่นคง เวลายืนจะกางปีก และกระ
    พือปีกตลอดเวลา เวลาพบไก่อื่นจะแสดงอาการพร้อมที่จะต่อสู้ทันที โดยไม่สะทกสะท้าน จะเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวน
    ท่า คือ กอด ขี่ ทับ เท้าบ่า และหน้าคอ


  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกสีดำ ยาวถึงก้นเป็นปีกตอนเดียว ขนคอจะมีสีประดู่แซมปลายเล็กน้อย ขนสั้นละเอียด หางยาวดำ
    สนิท ปากมั่นคง มีร่องน้ำ ปาก แข้ง เล็บ ปุ่ม เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ถ้าประดู่แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ ปุ่มเดือย สีเขียวหยก ตาลายดำ ลักษณะอื่นๆ เหมือนตัวผู้  

  • ไก่ประดู่หางดำ แบ่งตามสายพันธุ์มี 3 สายพันธุ์ คือ

  • 1. ประดู่เมล็ดมะขาม หรือประดู่มะขามคั่ว ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวย สีดำสนิท ไม่มีสีขาว หรือสีอื่นๆ แซม ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อย 
  • ระย้า และขนปิดหูสีประดู่สีเดียวกันทั้งตัวไม่มีสีขนอื่นๆ แซม เช่นกัน ตาสีไพลหรือแดง ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ
  • เดือยสีน้ำตาลแก่ หน้าสีแดง ถือว่าเป็นเอกเหนือประดู่อย่างอื่นๆ ทั้งสิ้น เป็นประดู่พันธุ์แท้แต่โบราณ พันธุ์ยอด
  • นิยมมี 2 เฉดสี คือ 
     

  • สรุป
    ไก่ประดู่หางดำ แต่เดิมเป็นไก่ที่ลักษณะงดงามมาก ชั้นเชิงการชนเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า ตัวผู้รูปร่างสูงตระหง่าน
  • สง่างาม ลำตัวตั้งทอดยาวสองท่อ ใบหน้ากลมกลึง ตาสีไพล ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลแก่ หรือมะขามไหม้ หรือ
    มะขามคั่ว หางพัดสีดำสนิท ยาวเรียงเป็นระเบียบ หางกระรวยสีดำสนิทรูปใบข้าว ขึ้นดำยาวเป็นฟ่อนรูปพลูจีบ ปลายโค้งลงเล็กน้อย ลักษณะอย่างนี้ถือว่า
    เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ต่อมาไมได้รักษาพันธุ์ หรืออนุรักษ์ไว้ เลยกลายพันธ์ไป เท่าที่พบเห็นปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3
    ประเภท ดังกล่าวข้างต้น



    ประวัติความเป็นมา ประดู่เลาหางขาว
    ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์หรือการบันทึกยังไม่พบว่า
    เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดใน
    ประวัติศาสตร์



    แหล่งกำเนิด
    ไก่ประดู่เลาหางขาวมีแหล่งกำเนินแถบจังหวัดกรุงเทพฯ (มีนบุรี หนองจอก) พระนครศรีอยุธยา เพชร
    บุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร
    สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช
     

    ประเภท เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ 3.00-3.40 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
     

    สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน
     

    ลักษณะลูกไก่ ขนหัว และขนคอสีขาว ขนหลังสีดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอและหน้าท้องสีขาว


    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้


  • เป็นไก่รูปร่างแบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืนท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำ
  • หวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก

  • กะโหลกหัวยาวกลมเป็น 2 ตอน ท่อนหน้าเล็กกว่าท่อนหลัง
  • กลมกลึง หน้าแบบหน้านกเหยี่ยว
  • คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดกันขนสร้อยคอสีประดู่เลาขึ้นดกเป็นระเบียบ
  • ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน
  • ปีกใหญ่และยาว จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ
  • จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบสีเดียวกับปาก
  • ตะเกียบแข็ง ตรง หนา และชิดกัน
  • ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตาสองชั้นนัยน์ตาดำตารอบนอกสีเหลืองแก่เหมือนสีไพลเส้นเลือดสีแดงชัดเจน

  • หางยาวดก เรียงเป็นระเบียบสีขาวอมดำ หางพัดดำปลายขาว หางกระรวยคู่กลางสีขาวปลอดคู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ
  • หางดกเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน

  • หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกะรัดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
  • ปั้นขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำเป็นแข้งรูปลำเทียน หรือ ลำหวาย เกล็ดแข้งเป็นระเบียบ นิ้วเรียว
  • ยาว แข้งสีเดียวกับปาก
     

  • ตุ้มหู ไม่ยาน สีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลาเหมือนขนสร้อย
  • เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
  • เหนียงเล็ก สีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
  • นิ้วเรียวยาว ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
  • ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดมีสีขาวปนดำ ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก
  •  สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่

  • เดือยเป็นเดือยแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
  • เป็นกระปุกใหญ่อันเดียว



  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญ คือ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกสีดำ ยาวถึงกันเป็นปีกตอนเดียว ขนคอจะสั้น ละเอียด หาง
    ยาวดำสนิท ปาก แข้ง เล็บ มีสี
    น้ำตาลอมเหลือง



    ไก่ประดู่เลาหางขาวมีอยู่ 4 เฉดสี คือ

    1. ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่า เลาใหญ่ พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว
    ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเมล็ดมะขามแก่ ขนกระรวยคู่กลางสีขาว
    ปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ที่หัว ปีก ข้อขาสีกระขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล


     www.kaisiam.com


    2. ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้า
    โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเมล็ด
    มะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ
    ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล


    3. ประดู่เลาแดง ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้า
    โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่
    แดง ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล
    ตาสีไพลหรือสีส้ม


    4. ประดู่เลาดำ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว
    ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ ขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำ
    ตาล ตาสีไพล



  • รูปร่างลักษณะ










  • ไก่ชนญี่ปุ่น

    ไก่ญี่ปุ่นเรียกว่า ไก่ซาโมะ มีลักษณะเด่นคือ

    1. เป็นไก่ขนาดใหญ่ ตัวผู้มีนน. ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไปถึง 7.0 กก นน. เฉลี่ยประมาณ 4. กก ตัวแมียก็หนักประมาณ
    3.0 กก ถึง 4.5 กก.  

    2. มีลักษณะโครงสร้างคล้ายไก่ไทยมาก บางท่านจึงบอกว่าชาวญี่ปุ่นเอาไก่ไทยไปพัฒนา จริง ๆ แล้ว ไกญี่ปุ่นก็มี
    ลักษณะเด่นเฉพาะของเขาเอง ซึ่งเรื่องนี้ต้องแยกแยะ แต่การพัฒนาข้ามสายพันธุ์ก็เป็นเรื่องธรรมดา  

    3. ชาวญี่ปุ่นจะเน้นเลี้ยงไว้เป็นอาหารและใช้เป็นชนเชิงกีฬาบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ดังนั้นไก่ญี่ปุ่นจึงมีจำนวนไม่มาก
    นักถ้าเปรียบเทียบกับประชากรที่มีจำนวนมาก เพราะไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนา คงมีการเลี้ยงเฉพาะคนที่รักจริง ๆ
    เท่านั้น  

    4. สีสรรของมีมากมายหลายสีเหมือนกับไก่ไทยครับ แต่สีหลักคือ สีกรดแดง สีเหลืองหางดำ สีกรดดู่หางดำ สีขาว
    สีลายเบี้ยข่อย ฯลฯ จุดที่น่าสนใจสำหรับสายพันธุ์นี้คือ ตัวโต หากคัดเลือกเหล่ากอดี ๆ น่าจะได้ไก่มาพัฒนาไก่ชน
    ไทยได้ดีขึ้น เราจะได้ไก่รอยใหญ่เป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคต แต่การสืบสายเหล่ากอไก่เก่ง ๆ ในญี่ปุ่นทำได้ยาก
    เพราะไม่มีซุ้มมีฟาร์มเลี้ยงชนอย่างจริงจัง ดังนั้นไก่ที่นำเข้ามาจึงเป็นเพียงไก่ฝีมือพื้น ๆ เท่านั้น การพัฒนามีความ
    ยากลำบากมา ได้เพียงอย่างเดียวคือโครงสร้างครับ    

    แต่ว่าความแข็งแรงและตีเจ็บไก่ญี่ปุ่นจะสูสีไก่บราซิลครับ แต่ไก่ญี่ปุ่นไม่ค่อยมีลีลามากยืนตีเหมือนไก่ไทย แต่ถ้า
    เราผสมกับไก่ไทยก็เพื่อเพิ่มความอดทนและลูกตีเจ็บและโครงสร้างใหญ่ครับ ส่วนจะผสมกับสายพันธุ์ไหนแล้วแต่
    ถนัดครับ ทุกอย่างเป็นไปได้หมดครับ ถ้าไม่หยุดพัฒนา




    ไก่ชนบราซิล


    สายพันธุ์บราซิลร้อย  เพศผู้  สีสัส่วนมากที่นำเช้ามาในไทยจะเป็นสีโทนเทา เทาขาว เทาแดงคล้ายโอวัลตินแต่
    หากนำไปผสมข้ามสายกันแล้วจะมีสีสันต่างกันออก ไปตามสายที่มาผสมด้วย

    ใบหน้าจะเป็นไก่ที่มีลักษณะหน้าเนื้อหรือหน้าอิ่มไม่มีเหนียง บางตัวอาจมีเครา 
    ปากเหง้าปากใหญ่สั้นแข็งแรง เป็นสีขาวหรือเหลืองสะอาดไม่มีจุดกระปน มีสีเดียวกับแข้ง
    รูจมูกใหญ่ระบบหายใจดี  
    ตาโดยส่วนมากมีสีขาวแบบปลาหมอตาย ตาดำเล็ก แววตาดุ
    คิ้วเป็นสันโค้งขนานไปกับเบ้าตา
    หูรูหูไม่กว้างมากมีขนปิดสนิทสีเดียวกับสร้อย 
    คอลำคอใหญ่กระดูกปล้องคอชิดดูแล้ว สมส่วนกับลำตัว
    อกถ้ามองด้านตรงเข้าไปจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจนอกหนากว้าง
    เป็นไก่แข็งแรงปึกแผ่ นดีกล้ามเนื้อเต็มชัดเจน 
    ปีกยาวใหญ่สุดลำตัว สนับปีกกว้างขนเรียงชิดแน่นและขนแข็งหนาน้ำขนดีสร้อยคอสีเดียวกับสร้อยหลัง
    หลังแบนกว้างใหญ่ดูแล้วเป็นไก่ที่มีพละกำลังดีมาก 
    ปั้นขาใหญ่แข็งแรงสมส่วน กับความสูงยาวของลำตัว 
    หางยาวไม่มากนักแต่แข็ง แข้งเป็นไก่แข้งสะอาด ท้องแข้งอิ่ม
    เดือยออกลักษณะใหญ่มั่นคงแบนเล็กน้อยแต่ไม่มาก เกล็ดเหมือนไก่ชนทั่วไป
    ส่วนตัวเมียลูกร้อยก็มีลักษณะคล้ายกันคับ  

    ไก่บราซิลเป็นสายพันธุ์ที่มีความแข็งแกร่งอยู่ใน ความต้านทานโรคสูง เลี้ยงง่ายโตไว กระดูกดีชนแข็งแรง ระบบ
    หายใจดีปอดใหญ่ และระบบประสาทดีเยี่ยมจึงฟื้นตัวเร็ว

    ลูกไก่อายุ 5-6 เดือนก็เริ่มสู้ไก่แล้ว เป็นไก่ที่ชนนิ่งเก็บอาการเก่งหากโดนเจ็บแล้วอาฆาตไก่ดีต้องเอาคืน ค่อนข้าง
    ดุร้ายอยากชนะอยากเอาคีน 

    เรื่องหัวจิตหัวใจไก่บราซิลนี้ไม่เป็นรองไก่ชนสายพันธุ์อื่น จะเรียกว่าใจเกินร้อยก็ว่าได้ ลูกตีก็เด็ดขาดรุนแรงเป็นไก่
    ใช้ตอจัด ส่วนมากตีซอกไล่ขึ้นตัวกระเดือกสุดท้ายก็หูตา แต่ก็ยังขาดในเรื่องของความเร็วเป็นไก่ค่อนข้างช้าและ
    ลีลาไม่มากยีนกันคอตี โดยส่วนมากจึงนิยมมาผสมกับไก่พม่าให้เหลือบราซิล 25-12.5%  ดึงข้อเด่นของสาย
    พันธุ์นี้ไปพัฒนา ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด






    ไก่ชนเวียดนาม...

    ไก่ไซ่ง่อน
    สายน้ำโขงที่ขึงตัวทอดยาวจากประเทศจีนตอนใต้  ไหลผ่านนานาประเทศแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ผู้คนหลาย
    ล้านชีวิตได้ยังชีพ  จนดินแดนแถบนี้กลายเป็นอู่อาระยะธรรมอีกแห่งหนึ่งของมวลมนุษยชาติ  ก่อให้เกิดวัฒนธรรม
    แห่งลุ่มน้ำโขงซึ่งเปรียบได้ดังโซ่ที่ร้อยดวงใจผู้คนถึงหกประเทศให้มีความผูกพันทางวิถีชีวิต  ตั้งอยู่บนรากฐานของ
    ความรัก  ความเข้าใจจึงได้ดำรงเผ่าพันธุ์อย่างปกติสุขสืบมาหลายศตวรรษ

        
    วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงเป็นวัฒนธรรมที่มีรากเหง้าและเติบโตงอกงามมาจากสังคมเกษตรกรรม  ผู้คนจะปรับตัวอยู่กับ
    ธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน  เป็นสังคมพึ่งพาระหว่างคนกับคน  คนกับสัตว์และคนกับธรรมชาติ  ดังนั้นการปลูกพืช
    และเลี้ยงสัตว์จึงเป็นวิถีชีวิตที่ผู้คนแห่งลุ่มน้ำโขงได้สืบสานมาจากบรรพชนโดยสายเลือด  การปลูกพืช  เช่น 
    ข้าว  พืชผัก ไม้ผลนอกจากเอาไว้บริโภคเองแล้วยังเป็นสินค้าส่งออก  การเลี้ยงสัตว์อาจเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน เช่น 
    ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  เลี้ยงเอาไว้เป็นอาหาร เช่น เป็ด  ไก่  ห่าน และเลี้ยงเอาไว้ดูเล่น เช่น  สุนัข  แมว 
    นก ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้จึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตไม่ว่าจะเป็น  การทำงาน  วิธีคิด  พิธีกรรม  ตลอดจนการละเล่นต่าง ๆ
    ของพวกเขาโดยตรง

       
    การเลี้ยงและการเล่นชนไก่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนแถบลุ่มแม่น้ำโขงนิยมเลี้ยงและเล่น
    กันอย่างแพร่หลาย  ไก่ชนสายพันธุ์ที่นับว่าขึ้นชื่อและได้รับการยอมรับของผู้ที่ชมชอบการชนไก่อยู่ในขณะนี้ได้แก่
    ไก่สายพันธุ์ไทย  ไก่สายพันธุ์พม่า  และไก่สายพันธุ์เวียดนามหรือที่รู้กันในนาม "ไก่ไซง่อน" (อีสานเรียกไก่คอ
    ล่อน) ซึ่งไก่ชนทั้งสามสายพันธุ์นี้มีจุดเด่น  และมีจุดด้อยต่างกันออกไปตามคุณลักษณะแต่ละชาติพรรณ

       
    ไก่ไซง่อนมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเวียดนามผู้คนจึงนิยมเรียกว่า "ไซง่อน"  ตามชื่อเมืองหลวงของเวียดนามใต้ใน
    อดีต  ลักษณะทั่วไปเป็นไก่พันธุ์หนักมีรูปร่างโต  สูงใหญ่  ผิวหนังย่นหนาแบบหนังคางคกและมีสีแดงจัด  หน้า
    ตามีแววดุดันจนบางครั้งทำให้ดูน่ากลัว  ปากใหญ่ยาวและหนาทนทานเป็นเลิศ  ฉีกร่องน้ำ  เป็นไก่ที่ตีหนัก  ชอบ
    ตีบริเวณลำตัว  และซอกคอเป็นหลัก  ไก่สายพันธุ์นี้อาจมีการเข้าทำเชิงอาจน้อยไปบ้างเพราะเป็นไก่ขนาดใหญ่ 
    มีมวลมาก  จึงทำให้การหลบหลีกไม่คล่องตัวเท่าที่ควร  ส่วนลักษณะที่เห็นชัดเจนที่สุดที่ใคร ๆ เห็นแล้วพอจะ
    อนุมานได้ว่าไก่ตัวนั้นเป็นไก่ไซง่อนหรือไม่โดยสรุปก็คือ ไก่ไซง่อนส่วนมากแล้วจะมีขนปกคลุมร่างกายน้อย  โดย
    เฉพาะบริเวณลำคอไม่มีขนปกคลุมเอาเสียเลย  สามารถเห็นผิวหนังลำคอที่แดงจัดได้อย่างเปิดเผย ส่วนสีขนของไก่
    ไซง่อนนี้มีหลายเฉดสีแต่สีหลัก ๆ   คือ สีเทา  สีแดง  สีเขียว  สีด่าง  สีปีกแมลงสาบ  เป็นต้น  ไก่ไซง่อน
    ส่วนมากจะมีเกล็ดเรียงเป็นระเบียบแบบจระเข้ขบฟ้น(อีสานเรียกเกล็ดสับหว่าง)ซึ่งนับว่าเป็นไก่ที่มักมีลำแข้งกลมและ
    สวยในอุดมคติ

       
    การเลี้ยงไก่ไซง่อนต้องอาศัยเวลามากกว่าไก่สายพันธุ์อื่น  เนื่องจากไก่พันธุ์นี้ต้องการเวลาสร้างเนื้อสร้างตัวนาน 
    ถ้ายังเป็นหนุ่มจะไม่มีจิตใจชอบต่อสู้มากนัก  ต่อเมื่ออายุร่วม 24  เดือนแล้วจิตใจจึงจะเป็นยอดนักสู้อย่างเต็มตัว 
    มีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจธรรมชาติไก่สายพันธุ์นี้ดีพอ  และมีหลายครั้งที่ไก่สายพันธุ์นี้ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นไก่ใจเสาะจน
    ต้องถึงลงหม้อไปก่อนวัยอันสมควรอย่างน่าเสียดาย  แต่เมื่อนำมาผลิตเป็นไก่ลูกผสมก็จะทำให้ผลิตผลอย่างรวดเร็ว
    ลูกหลานสู้ไก่เร็วขึ้น

          
    ในเกมส์การต่อสู้แล้วไก่ไซง่อนมักจะตกเป็นรองคู่ต่อสู้ในเรื่องของเชิงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น  รถสิบล้อไม่อาจวิ่ง
    โฉบเฉี่ยวโลดแล่นบนถนนเหมือนกับรถเก่งหรูทันสมัยฉันใด  ความเป็นไซง่อนนั้นถ้าเจอกับไก่ไทยหรือไก่พม่าแล้ว
    ย่อมเป็นเชิงรองอย่างหลีกเลี้ยงไม่ได้(ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากเพราะน้ำหนักต่างพิกัด)  แต่หากมองในมิติของลำ
    หักลำโค่นแล้วไก่ไซง่อนย่อมมีอานุภาพทำลายล้างสูงกว่า  ด้วยเหตุนี้นักพัฒนาสายพันธุ์จึงนิยมนำมาพัฒนาสายพันธุ์
    เพื่อดึงลักษณะภายนอกให้ปรากฏในรุ่นลูกหลาน  ให้เชิงเหมือนไก่ไทย  ตีนไวเหมือนไก่พม่า

           
    เมื่ออายุได้ที่  จิตใจจะส่อแววการต่อสู้ออกมา  ผิวหนังสีแดงจะย่นหนาเหมือนดังจะท้าทายลมฟ้าอากาศที่มิอาจ
    สร้างความระคายเคืองหรือเจ็บปวดให้กับมันได้แม้แต่น้อย  หากพิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้วจะเห็นว่า
    ไก่ไซง่อนเป็นไก่ที่มีมวลมาก  มีกระดูกที่ใหญ่โตประกอบกับกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ ที่แข็งแรงย่อมจะมีแรงปะทะมาก
    เป็นธรรมดา  การเก็บพลังงานสะสมไว้กับเซลกล้ามเนื้อที่กำยำนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ประกันได้ว่าไก่สายพันธุ์นี้จะมีความ
    อึด  เรื่องคู่ต่อสู้จะคว่ำลงนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย  หากชนกันในระยะยาว  ยืดเยื้อแบบหนังชีวิตแล้วนับว่าคู่ต่อสู้อยู่
    ในอันตรายเป็นอย่างยิ่ง  หากเปรียบเป็นรถแล้วไก่ไซง่อนเป็นรถที่มีถังน้ำมันใหญ่  และยังมีสำรองเอาไว้ในปริมาณ
    มากย่อมวิ่งไปได้ไกลโดยไม่ต้องหยุดเติมน้ำมันข้างทางให้เสียเวลา  ดังนั้นความอึดจึงเป็นสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานมา
    ให้กับไก่ไซง่อน  และความอึดนี้เองที่ทำให้ไก่สายพันธุ์นี้มีเสน่ห์ดึงดูดใจให้นักเลี้ยงนักเล่นทั้งหลายอยากไขว่คว้ามา
    เป็นเจ้าของ

           
    การทำเชิงแบบสองปีกสองคอนั้นอาจหาไม่พบในไก่ไซง่อน  ส่วนมากเป็นไก่ยืนคล้องบนตี  หรือไม่ก็เป็นไก่ไม่ชอบ
    สู้คอลายหัวให้คู่ต่อสู้  แต่ไก่ไซง่อนจะเป็นแบบไหนก็แล้วแต่ถ้าเป็นไก่ปากไวแล้วมักไม่ทำให้ผู้เป็นเจ้าของผิดหวัง
    เพราะลูกตีของไซง่อนนี้หนักหน่วงรุนแรงชนิดที่เรียกว่า"โป้งเดียวจอด"  ประกอบกับถ้าเป็นไก่แม่นและจำแผลแล้ว
    มันจะสร้างความกดดันให้คู่ต่อสู้ได้มาก  เมื่อมีนาทีทองจะเดินบด  เดินอัดจนคู่ต่อสู้หัก  ขาตาย  จากนั้นลำโต ๆ
    สวย ๆ หนัก ๆ และเน้น ๆ จะเริ่มทะยอยออกมาทีละนิด ๆ จนถึงวาระสุดท้ายของคู่ต่อสู้

       
    ด้วยโครงสร้างทางสรีระที่จัดอยู่ในประเภทที่เรียกได้ว่า "อย่างหนา"  ซึ่งจะทำให้แรงตีที่เด็ดขาดและหนักหน่วงแล้ว
    ความเป็นอย่างหนาของไก่สายพันธุ์นี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ทนทานต่อการออกอาวุธจากคู่ต่อสู้  หากแม้นว่าคู่ต่อสู้
    นั้นสามารถตีให้ลงไปนอนกองกับพื้นมันก็จะสามารถฟื้นตัวคืนมาใหม่ได้และตีโต้ส่งคู่ต่อสู้ให้นอนได้อีกเช่นกัน 
    ความพยายามมุ่งมั่นที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ที่เกินร้อยนี่เรียกว่าความเหนียวแน่น  นับเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่ผู้เลี้ยงไก่
    ต้องให้ความพิถีพิถันคัดสรรเป็นพิเศษ  เพราะการที่จะเป็นไก่ชนที่นับอยู่ในระดับแนวหน้าได้ต้องมีความเหนียวแน่น
    มาเป็นตัวประกอบที่สำคัญ และสิ่งนี้ก็มีบริบูรณ์แล้วในไก่ไซง่อน

           
    สายน้ำโขงที่สร้างสายสัมพันธุ์ของผู้คนหลากหลายชนชาติอย่างสง่างามและเปิดเผย  ขณะเดียวกันแม่น้ำสายนี้ก็เป็น
    ถิ่นกำเนิดของไก่ชนไซง่อนซึ่งเป็นผู้สร้างตำนานไก่ชนอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ประกอบด้วยความอึด  เหนียวแน่นและหนัก
    หน่วง  พร้อมที่จะคลายพิษสงให้คู่ต่อสู้ได้ชิมรสชาติของความเจ็บปวด  และตัวมันเองก็ได้ชื่อว่า "ผู้พิชิตความเจ็บ
    ปวด" เช่นกัน  ทั้งนี้เป็นข้อสรุปจากข้อมูลเชิงประจักษ์ของไก่ไซง่อนมาหลายยุค  ทั้งมุขปาฐะและอมุขปาฐะเล่า
    ขานตำนานการต่อสู้จากข้างขอบสังเวียนเลือดสมควรที่จะจดจำและบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ของวงการไก่ชนให้
    ปรากฏความยิ่งใหญ่สืบไป



    ไก่ไซ่ง่อนหรือไก่เวียดนาม

    เป็นไก่ที่มีลักษณะไม่ค่อยสวยงาม คือ มีขนน้อย โดยเฉพาะสร้อยคอ ขนตัว และหางมักจะสั้น ผิวพรรณโดยเฉพาะ
    หนังจะเป็นสีแดงและหนา กระดูกและโครงสร้างจะใหญ่กว่าไก่ไทยและไก่พม่า ลีลาชั้นเชิงมีน้อย อืด และช้า ด้วยเหตุ
    นี้จึงมีผู้นิยมนำไก่เวียดนามไปผสมกับไก่ไทยและพม่า


       
    ไก่เวียดนามมีสีเด่นๆ ดังนี้
    - สีเขียว มีทั้งสีเขียวไข่กา เขียวแมลงภู่ เขียวเลาแข้งเขียวตาลาย
    - สีประดู่ ส่วนใหญ่จะเป็นไก่สีประดู่หางดำ
    - สีเทา มีทั้งเทาทอง เทาดำ และเทาทั่วไป
    - สีทองแดง มีทั้งแดงโนรี นกแดง แดงกรด
    - สีเหลือง มีทั้งเหลืองอ่อน เหลืองใหญ่ และเหลืองดอกโสน
    - สีดอกหมาก


    ไก่เวียดนามที่นิยมเล่นกันมักจะเป็นสีเขียว สีประดู่ สีเทา ส่วนสีอื่นก็มีเหมือนกัน ไก่เวียดนามมีจุดเด่น ที่มองเห็นชัดคือ
    โครงสร้างกระดูกใหญ่ ขันเสียงดัง แข้งมักจะใหญ่ เกล็ดมักจะเป็นเกล็ด 2 แถว แบบตะเข้ขบฟัน เกล็ดเม็ดข้าวสารมัก
    จะสวย ไก่เวียดนามที่เป็นลูกผสมไทยหรือพม่า ถ้าแข้งกลมเล็กมักจะเก่งแทบทุกตัว และตีเจ็บปวด


          
    ข้อสังเกตเกี่ยวกับไก่เวียดนาม
    1. ไก่ไซ่ง่อนพันธุ์ล่อน ขนคอไม่มีตั้งแต่เกิดจนถึงโต
    2. ไก่ไซ่ง่อนพันธุ์มีขน จะมีขนขึ้นทั่วตัวเหมือนกับไก่ไทย แต่พอโตขึ้นขนจะน้อยโดยเฉพาะขนคอและหาง
    3. ไก่ไซ่ง่อนลูกร้อยเล็กๆ จนถึงโตเป็นหนุ่ม จะขี้ขลาดไม่ค่อยสู้ไก่เต็มตัว ยกเว้นบางตัว พอเป็นลูกถ่ายแล้วจึง จะสู้
    เต็มตัว คนไทยไม่ชอบเพราะทนรอไม่ไหว แต่ถ้าเป็นลูกผสม 50%, 75%, 25% จะสู้ไก่ตั้งแต่รุ่นหนุ่มเหมือนกับไก่
    ไทยยกเว้นบางตัว
    4. ไก่ไซ่ง่อน เป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงและเพลงตีไม่ค่อยดี แต่เป็นไก่ตีลำโต ตีหน้าอุด ตีตัว ถ้าตัวใดปากไว ตีไม่เลือก
    แผลก็เก่งไปเลยสู้ไก่ได้ทุกเชิง
    5. ไก่ไซ่ง่อนลูกร้อย ความจริงก็มีขนขึ้นทั่วตัวแต่มีน้อย และเจ้าของโดยเฉพาะชาวเวียดนาม เขาจะตัดขนตามสีข้าง
    และตะโพกออก เพื่อเวลาไก่ตีจะ ได้ระบายความร้อนออกตามผิวหนังได้สะดวก ซึ่งเป็นความเชื่อของเขา นับว่าก็มี
    เหตุผลดี ซึ่งตรงกันข้ามกับความเชื่อของนักเลงไก่ไทยโดยว่าขน ตามตัวจะช่วยอุ้มน้ำ ทำให้ไม่หอบเวลาชน



    **ไม่ทราบแหล่งที่มา**








    หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


    สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

    ติดประกาศ: 2010-05-05 (28315 ครั้ง)

    [ ย้อนกลับ ]
    Content ©