-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 410 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร








 

ผักไทยไปยุโรป : รุ่งหรือร่วง ?
เป็น ที่ทราบกันดี ถึงกระแสความนิยมอาหารไทยทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่ร้านอาหารไทยเปิดใหม่หรือเปิดนานแล้ว ต่างได้การตอบรับอย่างกว้างขวางจากคนท้องถิ่น แม้ในเมืองเล็ก เมืองน้อย ที่ไม่น่าจะสามารถเปิดกิจการได้ รสชาติอาหารก็เริ่มเป็นไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฝรั่งทานเป็นกันมากขึ้น
Written by กรองยุโรป  
Friday, 26 February 2010

เป็น ที่ทราบกันดี  ถึงกระแสความนิยมอาหารไทยทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่ร้านอาหารไทยเปิดใหม่หรือเปิดนานแล้ว  ต่างได้การตอบรับอย่างกว้างขวางจากคนท้องถิ่น  แม้ในเมืองเล็ก เมืองน้อย ที่ไม่น่าจะสามารถเปิดกิจการได้   รสชาติอาหารก็เริ่มเป็นไทยมากขึ้นเรื่อยๆ  เพราะฝรั่งทานเป็นกันมากขึ้น

นอกจากการมีพ่อครัว แม่ครัวคนไทยที่ทำอาหารไทยออกรสชาติไม่เป็นจีนสวมชุดไทยแล้ว วัตถุดิบ เครื่องเทศ พริก กะปิ น้ำปลาของแท้จากไทย  ได้กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  

ผักสดจากไทยจึงกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ได้ขึ้นเครื่องบินมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางเมืองหลักในยุโรปทุกเที่ยวบิน 

ลองคิดง่ายๆ ว่า  หากผักไทยขายได้ราคากิโลกรัมละ 300–350 บาท  เมื่อเทียบกับราคาผักอย่างเดียวกันในตลาดสดบ้านเรา   ใครบ้างจะไม่สนใจตลาดยุโร

ปี 2551  ไทยส่งออกผักสู่ยุโรป  มีมูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท  โดยเกือบครึ่งไปยังอังกฤษที่เหลือ คือ เนเธอร์แลนด์  เยอรมนี  เดนมาร์ก  และฝรั่งเศส

ข่าวลบรับปีใหม่ 2553 จากกรุงบรัสเซลส์  เมืองหลวงของสหภาพยุโรป  ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะกรรมาธิการประชาคมฯ  อันเปรียบเสมือนคณะผู้บริหารอียู  ที่มีอำนาจทางการวางกฎระเบียบการค้ามาตรฐานสินค้าที่ประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศ ต้องไปปฏิบัติ คือ การประกาศกฎระเบียบตรวจเข้มร้อยละ 50  ณ ด่าน  กับผัก 3 ประเภทหลัก  ที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด  เริ่ม 25 มกราคม

ผัก 3 ประเภทหลัก  ที่ไทยส่งออกไปอียูและได้รับผลกระทบแล้ว คือ ผักตระกูลถั่ว (beans) ผักในตระกูลมะเขือ (anbergines) และผักในตระกูลกะหล่ำ (brassica vegetables)  เป็นผลมาจากการสุ่มตรวจพบยาฆ่าแมลงตกค้าง  และจากการประเมินผลของคณะผู้เชี่ยวชาญอียู  ที่มาตรวจในไทย

อันที่จริง  อียูได้ส่งสัญญาณให้ประเทศที่ค้าขายส่งผักไปอียู  ได้ตระหนักถึงการที่อียูให้ความสำคัญต่อการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์  เชื้อแบคทีเรีย  ยาฆ่าแมลง  และสารเคมีอันตรายอื่นๆ ที่ตกค้างในสินค้าอาหารและสัตว์มาโดยตลอด  ผ่านระบบการเตือนภัยของ EU–27  ที่เรียกว่า RAFF หรือ Rapid Alert System for Food and Feed

ทุกครั้งที่สินค้าอาหารหรือพืชผักไทยถูกตรวจ ณ ด่านนำเข้าของประเทศสมาชิกใดในอียู และพบสารอันตรายตกค้าง  หน่วยงานด้านสาธารณสุขอียูจะส่งหนังสือแจ้งไปยังคณะผู้แทนไทยประจำอียูใน ช่วง 1-2  ปีที่ผ่านมา  มีบ่อยขึ้น   อาจเป็นเพราะไทยสามารถส่งสินค้าเหล่านี้ได้ในปริมาณมากขึ้น

ทั้งนี้  อาจเป็นเพราะผู้ประกอบการไทยบางราย  เมื่อได้รับใบออร์เดอร์สั่งซื้อมาก  เวลาส่งมอบมีของที่ได้มาตรฐานไม่พอ  ก็ไปเอาผักที่ไม่ได้เคร่งครัดมาตรฐานเติมไปให้เต็ม  ทำนองน้ำขึ้นให้รีบตัก  

สำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศของไทยประจำ อียู  ได้ติดตามเรื่องกฎระเบียบตรวจเข้มร้อยละ 50  มาตั้งแต่ยังเป็นร่าง เมื่อ ก.พ. ปีกลาย ว่า  ฝ่ายอียูจะเอาจริง  โดยได้เวียนร่างให้คณะมนตรียุโรป  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถาบันหลักของอียู  ที่รวมของสมาชิก 27 ประเทศ  ให้ความเห็นชอบก่อนประกาศบังคับใช้

สำนักงานที่ปรึกษาเกษตรฯ ได้เข้าล็อบบี้ตั้งแต่ช่วงแรก  โดยท้วงติงการสุ่มตรวจในผักประเภทถั่ว  ซึ่งไทยส่งออกถั่วหลายประเภท  หากมีเพียงถั่วฝักยาวเท่านั้น  ที่มีปัญหาการตรวจสอบยาฆ่าแมลงตกค้าง  ซึ่งฝ่ายอียูรับที่จะพิจารณาใส่แต่เพียงชื่อ ถั่วฝักยาว เท่านั้น

จากนั้นหน่วยงานไทยก็ได้แต่เตือนผู้ส่งออกว่า  ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ  เพราะฝ่ายอียูจะมีการพิจารณาผลการตรวจเข้มในช่วง 4 เดือนแรก  หากพบว่า มีน้อยลงก็อาจผ่อนคลายการตรวจเข้ม ตรงกันข้าม  หากมีสารตกค้างมากขึ้น  ก็คงจะถูกตรวจเข้มยิ่งขึ้น

เมื่อกฎหมายในรูปกฎระเบียบ EU-27 มีผลบังคับใช้แล้ว  ภาคเอกชนผู้นำเข้าของอียูก็เริ่มได้รับผลกระทบแตกต่างกัน  แล้วแต่วิธีปฏิบัติของแต่ละประเทศ เมื่อต้นเดือนนี้  ผู้บริหารบริษัทนำเข้าผักสดรายใหญ่ที่สุดแห่งอังกฤษ  พร้อมด้วยนายกสมาคมผู้ผลิตสินค้าผักสด  ได้เข้าพบทูตไทยประจำอียู ณ กรุงบรัสเซลส์  เพื่อแสดงความเป็นห่วงต่อผลกระทบและหาทางแก้ไข  โดยทั้งสองคนได้ไปล็อบบี้กับคณะกรรมาธิการประชาคมฯ  ภายหลังจากพบทูตไทยแล้วด้วย

สินค้าของ บริษัทผู้นำเข้าอังกฤษ  ที่เป็นสินค้าแพ็คแบบแกะแล้วลงกระทะผัดได้เลย โดยผสมผสานผักสดหลายชนิด  ที่ชาวอังกฤษนิยมไว้ด้วยกัน  ทำให้เป็นสินค้ามีราคาสูง  วางห้างหรือซูเปอร์ตลาดบนเท่านั้น   การที่สินค้าตกถูกปล่อยภายหลัง 4 วันทำการ  ทำให้ไม่อยู่ในสภาพสดพอที่จะวางขายบนชั้นได้  และเมื่อขาดการป้อนไปยังชั้นซักระยะ  ทางห้างก็จะหาสินค้ารายอื่นขึ้นชั้นแทน

หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปอีก 3-4 เดือน  บริษัทก็คงต้องไปหาซื้อผักแบบนี้จากที่อื่น เช่น เคนยา
เช่นที่บริษัทเคยต้องหันไปซื้อหน่อไม้ฝรั่ง  ข้าวโพดอ่อน  จากแอฟริกามาแทนของไทย  เพราะปัญหา
ในอดีตมาแล้ว

สำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศฯ ได้เฝ้าติดตามประสานงานกับผู้นำเข้าและฝ่ายอียู มาตลอด  และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ก็ได้ไปประชุมกับหน่วยงานความปลอดภัยสินค้าบริโภคและอาหา VWA (Food and Consuner Product Safety Authority)  พร้อมผู้นำเข้าและส่งออกจากไทยที่เฮก  พบว่ ปริมาณการนำเข้าสินค้าทั้ง 3 ชนิด  ลดลงร้อยละ 30 จากการใช้มาตรการนี้  ซึ่งผลจากการหารือหน่วยงาน VWA ได้รับทราบปัญหาของผู้นำเข้า  โดยเสนอลดระยะเวลาการตรวจสอบจาก 3 วัน เป็น 1 วันครึ่ง เพื่อลดผลการกระทบและอำนวยความสะดวกต่อผู้นำเข้าในเนเธอร์แลนด์

อย่างไรก็ดี  อียูยังจับตามองผักชนิดอื่นด้วย เช่น พริก กะเพรา โหระพา  ซึ่งหากมีสถิติการ ตรวจพบเพิ่มขึ้น  พืชเหล่านี้อาจถูกรวมอยู่ในรายการตรวจเข้มร้อยละ 50 ก็เป็นได้       
         

แม้ว่า มาตรการนี้จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าอียู  แต่มองในด้านดี มาตรการนี้ก็จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยระมัดระวังคัดเลือกสินค้าที่ ปลอดภัยส่งมายังอียูมากขึ้น และช่วยลดผู้ส่งออกที่ไม่รักษาคุณภาพให้หมดไป

มาตรการนี้ ยังคงต้องมีอยู่ต่อไปและอาจมีการลดหรือเพิ่มจำนวนชนิดของผัก  ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความปลอดภัยของผักไทยที่ส่งเข้ามา  และผลการสุ่มตรวจที่ด่านนำเข้าของอียู  ดังนั้น เกษตรกรและผู้นำข้าวของไทยต้องระมัดระวังในการเลือกสินค้าผักที่จะส่งมาอี ยู  เพราะหากผลจากตรวจของระบบ RASFF ไม่ลดลง  ผักไทยก็คงถูกตรวจเข้มข้นอย่างไม่สามารถไปโต้เถียงกับฝ่ายอียูได้  และผู้นำเข้าก็คงไปหาผักจากประเทศอื่นแทน
      

ผักชนิด อื่นๆ ของไทยที่ไม่มีปัญหาก็จะพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย   เงินรายได้กว่าพันล้านบาทต่อปีที่เข้ากระเป๋าเกษตรกรรายย่อยไทยโดยตรง  ก็อาจจะหดหายไปอย่างน่าเสียดาย  พร้อมๆ กับชื่อเสียงของสินค้าเกษตรไทยในอียู
  

www.greenshopcafe.com/newsdetail.php?id=138









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1095 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©