-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 546 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทผลัม




หน้า: 1/5



    
อินทผลัม : 
     
เป็นพืชตระกูลปาล์ม มชนิดหนึ่ง มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ เป็นไม้ดั้งเดิมแถบตะวันออกกลางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา มีทั้งต้นเดี่ยวและแตกหน่อ ลำต้นสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ช่อดอกจะออกจากโคนใบ มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง นิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือแยกหน่อ การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ในบ้านเราส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้จัดสวน ผลเป็นรูปปลี ยาวประมาณ 2- 4 เซนติเมตร ผลสุกจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้ม ผลรับประทานได้ แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากผลเล็กและรสฝาด ที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้านั้น เป็นอินทผลัมแปรรูปหรือแช่อิ่ม มีรสชาติหวานจัด ราคาแพง ประมาณกิโลกรัมละ 500-600 บาท และต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่อินทผลัมที่มีคุณภาพสั่งมาจากประเทศอิสราเอล


      ศักดิ์ ลำจวน :  
      เกษตรกรเจ้าของสวน  "บ้านสวนโกหลัก" อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า จบจากแม่โจ้ รุ่นที่ 36 ประกอบอาชีพส่วนตัวด้านวัสดุการเกษตร เกิดความคิดว่าอินทผลัมที่ปลูกเป็นไม้ประดับ น่าจะรับประทานผลสดหรือนำมาแปรรูปได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ จึงได้เริ่มต้นทดลองปลูก ประมาณ 30 ต้น ระยะห่าง 8x8 เมตร พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์ณัฐวุฒิ ภาษยะวรรณ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร แนะนำด้านวิชาการด้วยการผสมพันธุ์ใหม่ จะต้องช่วยการผสมเกสรของดอกเพศเมีย โดยนำเกสรเพศผู้ใส่ถุงพลาสติกนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เมื่อดอกเพศเมียแก่เต็มที่จึงนำเกสรเพศผู้มาผสมพันธุ์ โดยใช้ถุงพลาสติกครอบช่อดอกเพศเมีย วิธีการนี้จะช่วยให้เกิดผลของอินทผลัมมากมาย เมื่อผลแก่เต็มที่จึงนำเมล็ดไปขยายพันธุ์ จึงได้ต้นพันธุ์ช่วงที่ 2

      การปลูกอินทผลัมของช่วงที่  2  
      นับว่าเป็นลูกผสมที่เกิดลักษณะที่ดีหลายประการ ปลูกง่ายคล้ายกับการปลูกมะพร้าว รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ชอบที่ชื้นแฉะ ชอบน้ำปานกลาง ช่วงฤดูแล้งควรให้น้ำเพิ่มเล็กน้อย จะช่วยให้การเจริญเติบโตเร็วขึ้น ลักษณะของใบจะสีออกขาวกว่าอินทผลัมที่ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เมื่อถูกแสงแดดหรือแสงไฟ ใบจะขาวสว่าง

      เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกอินทผลัมของต่างประเทศ:
      พบว่า ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงให้ผลผลิตเพียง 3 ปีเท่านั้น ซึ่งในต่างประเทศจะต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี ไม่มีโรคแมลงรบกวน ข้อดีอีกประการหนึ่งคือให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง รุ่นแรกให้ผลผลิตประมาณปลายเดือนมกราคม รุ่นที่ 2 ให้ผลผลิตต้นเดือนกรกฎาคม แต่ในต่างประเทศให้ผลผลิตปีละ 1 ครั้ง ให้ผลดก ผลโต เนื้อมาก เมล็ดเล็ก เมื่อผลแก่มีสีเหลืองจัด รับประทานสดได้ทั้งเปลือก เนื้อนิ่มกรอบ เมื่อผลสุกจะเป็นสีน้ำตาล รสชาติหวานเพิ่มขึ้น วัดความหวานได้ประมาณ 17-20 บริกซ์ 


      ครั้งหนึ่งได้ไปดูงานด้านการเกษตรที่ประเทศอิสราเอล
      และให้ความสนใจกับการปลูกอินทผลัม

      ในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเท่านั้น บางพันธุ์มีผลรับประทานได้แต่ผลเล็กๆ เนื้อน้อย เมล็ดใหญ่ จึงได้ขอซื้อต้นอินทผลัมลูกผสมบาไฮ จำนวน 10 ต้น นำมาปลูกที่สวนในเขตอำเภอไชยปราการ ทำการปลูกดูแลรักษาเป็นอย่างดี ในปี 2548 เริ่มมีผลผลิตออกมาให้เห็นเป็นครั้งแรก จึงได้เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยคอก รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ พยายามค้นหาข้อมูลทางวิชาการและทางอินเตอร์เน็ตก็มีน้อยมาก หรือพิมพ์เป็นตำราแทบจะไม่มีเลย มีเพียงข้อมูลส่วนตัวของนักวิชาการบางคนที่ต้องใช้เวลาศึกษานานถึง 10 ปี จึงพยายามศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
 
      ดังนั้น ในปี 2549 จึงพบและสรุปได้ว่า ในต่างประเทศต้องใช้เวลาปลูกนานถึง 7 ปี แต่ที่ปลูกในสวนให้ผลผลิตเพียง 3 ปี มีรสชาติหวานกรอบ เนื้อมาก เมล็ดเล็ก รับประทานได้ทั้งดิบและสุก เก็บไว้ได้นาน อีกทั้งเมื่อให้ผลผลิตจะมีสีเหลืองทั้งต้น จึงเป็นไม้มงคลที่ควรจะขยายพันธุ์และเก็บเกี่ยวได้อีกนาน ต่อมาได้ประสานงานกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้ใบรับรองการจัดการสวนในระบบการจัดการที่ดี พร้อมกับตั้งชื่ออินทผลัมพันธุ์ที่ค้นพบใหม่นี้ว่า พันธุ์ KL. 1 (แม่โจ้ 36) เพื่อเป็นเกียรติแก่สถาบันการศึกษาและรุ่น 36
 
      จากการศึกษาด้วยตนเองจนถึงขณะนี้ คุณศักดิ์ ลำจวน หรือ โกหลัก พร้อมที่จะให้คำแนะนำแก่เกษตรกรทั่วไปแล้วเกี่ยวกับ การปลูกและดูแลรักษาอินทผลัม 



      การปลูกและดูแลรักษาอินทผลัม : 

      การปลูกอินทผลัมมีข้อคิดอยู่ว่า ควรเลือกพื้นที่ที่มีแดดจัด ไม่มีน้ำขังแฉะ แต่มีปริมาณน้ำอย่างพอเพียง เพื่อให้มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้ว จึงเริ่มเตรียมดินจากการขุดหลุมขนาด 50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ต้นที่นำลงปลูกไม่ควรให้ลงลึกใต้ดินมากนัก โคนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ฝ่ามือ จะช่วยให้ต้นโตเร็วขึ้น ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 8x8 เมตร หรือ 8x7 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 25-30 ต้น หลังจากปลูกควรให้น้ำประมาณ 7 วัน ต่อครั้ง การใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 กิโลกรัม ต่อต้น พร้อมกับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรมีการตัดแต่งใบที่แก่ทิ้ง เพื่อให้ทรงต้นสะอาด ไม่มีแมลงรบกวน และสะดวกในการปฏิบัติงาน
 
      ในระยะที่ผลเริ่มโตแล้ว ควรสังเกตน้ำหนักของทะลาย ทางที่ดีควรใช้เชือกหรือยางในรถจักรยานยนต์ มัดทะลายกับลำต้นเพื่อป้องกันการฉีกขาด และจะทำได้สะดวกกว่ารอให้ผลสุกหรือมีปริมาณมากเกินไป ขณะที่ผลเริ่มสุกควรใช้กระดาษสีน้ำตาลคลุมทั้งทะลาย เพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ค้างคาว และยังเป็นการช่วยให้สีของผลอินทผลัมสีเหลืองสวยงาม และช่วยป้องกันรอยขีดข่วนที่เกิดจากใบของอินทผลัมถูกลมพัด ทำให้ผลเป็นรอยแผล ไม่สวยงาม และอาจจะเน่าเสียได้ 

      วิธีการเก็บเกี่ยวและรักษาผลผลิต : 
      ต้นอินทผลัมที่เริ่มปลูกจะให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป ขึ้นกับสภาพดินและการดูแลรักษา ลักษณะของผลจะกลมรี ออกผลเป็นพวงหรือเป็นทะลาย การพัฒนาของผลจะมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ผลดิบ ระยะผลสมบูรณ์เต็มที่ ระยะผลสุกแก่ และระยะผลแห้ง
 
      การเก็บเกี่ยวสังเกตที่สีของผล คือ จะมีสีเหลืองเข้มมากหรือมีผลสุก 5-10% จึงทยอยเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ แล้วแต่ทะลายที่สุกหรือแก่จัด ระยะเวลาที่อินทผลัมออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 7-8 เดือน เมื่อเก็บเกี่ยวผลอินทผลัมที่ผลสุกแก่แล้ว ควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี


      การผสมเกสรอินทผลัม:
      การปลูกอินทผลัมให้ประสบความสำเร็จ นอกจากการคัดเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การผสมเกสร เนื่องจากอินทผลัมเป็นพืชที่มีเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้อยู่คนละต้นกัน เรียกง่ายๆ ว่า ต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย หากปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยลมหรือแมลงนั้น จะทำให้ได้ผลผลิตน้อยและไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้น การช่วยผสมเกสรให้ได้ผลผลิตมากนั้นจะต้องใช้เทคนิคช่วยในการผสมเกสร



      วิธีการเก็บเกสรตัวผู้ของอินทผลัม :
      จะต้องเก็บเกสรเพศผู้สำรองไว้ก่อน ในระยะออกดอกให้สังเกตจั่นที่แทงออกมา เมื่อจั่นแตกจะเห็นดอกข้างใน เป็นดอกที่มีกลีบดอกเป็นแฉกคล้ายหางกระรอก ใช้ถุงพลาสติกคลุมยอดดอกทั้งหมด แล้วเขย่าเพื่อให้ละอองเกสรดอกตัวผู้หล่นอยู่ในถุง จากนั้นจึงไล่อากาศภายในถุงออกให้หมด ปิดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรอเวลานำไปผสมกับเกสรตัวเมีย


      การผสมเกสรตัวเมียของอินทผลัม :
      ต้นตัวเมียจะออกจั่นเหมือนเพศผู้ แต่เวลาจั่นแตกดอกของดอกตัวเมียจะมีดอกเป็นช่อเม็ดกลมๆ เมื่อจั่นเริ่มแตกให้นำละอองเกสรตัวผู้ที่เก็บสำรองไว้ในตู้เย็นนั้นมาผสม กับเกสรตัวเมีย ใช้เกสรตัวผู้ใส่ในถุงพลาสติก ประมาณ 1/3 ช้อนชา ต่อ 1 ช่อดอกตัวเมีย ใช้เกสรตัวผู้ที่แยกใส่ถุงพลาสติกครอบช่อจั่นตัวเมียแล้วเขย่าให้ละอองเกสร ตัวผู้ฟุ้งกระจายและติดกับเกสรตัวเมีย ทำซ้ำเช่นนี้ประมาณ 1-2 วัน ก็จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการช่วยผสมนี้ควรเป็นช่วงเช้า เนื่องจากเป็นเวลาที่อากาศไม่ร้อนจัดและความชื้นในอากาศมีน้อย

      การเก็บรักษาผลผลิต :
      หากเก็บไว้ในอุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้หลายเดือนถึง 1 ปี โดยไม่ต้องนำไปแช่อิ่ม อีกทั้งผลของอินทผลัมนอกจากรับประทานสดแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการแก้กระหายน้ำ ลดเสมหะในลำคออีกด้วย ขณะนี้ได้ประสานงานกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อรับรองพันธุ์พืชและเป็นพืชอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีใดๆ หากสายพันธุ์นี้คงที่ จะได้ทดลองขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในโอกาสต่อไป

      ท่านที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บ้านเลขที่ 128 หมู่ที่ 6 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320 โทรศัพท์ (053) 457-081, (089-855-6569 


  
       เทคนิคและวิการปลูก

    1. ต้นที่ปลูกจะใช้วิธีการแยกหน่อจากต้นใหญ่ (ตัวเมีย) โดยเลือกต้นแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หน่อมีขนาดใหญ่ดีกว่าขนาดเล็ก เมื่อตัดจากต้นแม่แล้วจะมัดรวบใบไว้ก่อน (ควรใช้หน่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ขึ้นไป) ราคาต้นพันธุ์ประมาณ 15-20 RO ขึ้นอยู่กับพันธุ์ (ประมาณ 1,500-2,000 บาท ; 1 RO = 100 บาท)
 
    2. เมื่อปลูกแล้วประมาณ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต
    3. การปลูกจะขุดหลุม ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 เมตร ปลูกให้หน่ออยู่ลึกลงไปในหลุม และหน่อจะลึกลงไปในดินประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถเก็บน้ำไว้สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ได้ดี ระยะปลูกใหม่ยังไม่ให้ปุ๋ย ให้เหลือเพียงแต่น้ำทุก 5 วัน เมื่อตั้งตัวแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มให้ปุ๋ยคอก ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม ในการปลูกระยะแรกจะยังคงมัดรวบใบไว้จนกว่าต้นจะฟื้นและตั้งตัวได้ จึงจะตัดเชือกที่ผูกออก วิธีการนี้จะใช้กับการย้ายต้นใหญ่ๆ ไปปลูกที่อื่นด้วย จะช่วยให้ต้นรอดตายมาก

       การดูแลรักษา
    1. การปรับพื้นดิน ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน) จะมีการใช้รถไถเดินตามไถพรวนพื้นที่ใต้ต้นซึ่งสภาพดินส่วนใหญ่จะเป็นทราย เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ขณะเดียวกันก็จะทำเป็นแนวร่องน้ำและคันกั้นน้ำแต่ละต้นไปด้วย เป็นตารางคล้ายคันนาขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 6 x 6 เมตร
 
    2. การให้น้ำ น้ำที่ใช้จะถูกส่งมาตามรางคอนกรีต ซึ่งมาจากจุดให้น้ำของหมู่บ้าน มีเครื่องสูบน้ำมาเก็บไว้ มีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลการจ่ายน้ำ ซึ่งจะกำหนดจ่ายให้ทุกสวน ทุก 5 วัน และทุก 3 สัปดาห์ ในฤดูหนาว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายน้ำ เมื่อไหลเข้ามาตามรางในสวนจะถูกปล่อยไปตามต้นต่างๆ ตามร่องที่เตรียมไว้
 
    3.การใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บผลแล้วจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม หว่านทั่วใต้ต้น และให้ปุ๋ยคอกต้นละประมาณ 30 กิโลกรัม (1 กระสอบ) 1 ครั้ง ต่อปี หลังจากให้ปุ๋ยยูเรียแล้วประมาณ 10 วัน 

    4. การตัดแต่งใบ จะมีการตัดแต่งทางใบ โดยใช้เลื่อยที่มีลักษณะคล้ายเคียว ผู้ตัดจะปีนขึ้นบนต้นไปตัดทางใบที่แก่แล้วทิ้งไป ต้นละประมาณ 2-3 ทางใบ ทางใบที่ตัดออกมาจะใช้ในการทำรั้วหรือทำฟืน ขณะเดียวกันจะตัดหน่อที่แตกออกมาที่กลางต้น หรือใกล้ๆ ยอดออกด้วย ทำให้ต้นสะอาดเป็นการป้องกันแมลงศัตรูที่อาจมารบกวนได้ และทำให้การป้องกันสัตว์ที่มากัดกินผลได้ง่ายด้วย
 
    5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูอื่นๆ ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคแมลง เนื่องจากไม่มีการระบาดของศัตรูดังกล่าว แต่มีนกหรือหนู หรือกระรอกมารบกวนกัดกินผล โดยเฉพาะในช่วงที่ผลใกล้แก่ เกษตรกรจะใช้วิธีการยิงด้วยหนังสติ๊ก หรือปืนลม

      การออกดอกติดผล
    1. การออกดอก เดือนมกราคมจะเริ่มออกดอก ต้นหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-11 ช่อ และจะบานประมาณปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยทยอยบานทุกๆ 5 วัน เกษตรกรจะนำเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกตัวผู้ที่มีอยู่ในสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์ Khori และ Bahani (สวนที่ดูงานจะมีต้นตัวผู้อยู่ 4 ต้น ก็เพียงพอสำหรับผสมกับต้นตัวเมีย ประมาณ 250 ต้น) ดอกตัวผู้สามารถเก็บไว้ใช้ได้โดยนำช่อดอกไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกใส่ถังปิดฝาไว้ เก็บไว้ได้นานหลายเดือน จะผสมเกสรเสร็จประมาณเดือนมีนาคม หลังจากติดผลแล้ว 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วย ผลจะเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บางพันธุ์อาจแก่ก่อนนี้เป็นพันธุ์เบาซึ่งขายได้ราคาดี (เช่น พันธุ์ Battas) ปกติจะเก็บเกี่ยวมากๆ ในเดือนสิงหาคม ระยะตั้งแต่ติดผลจนถึงผลแก่ประมาณ 180-200 วัน แต่ละทะลายจะมีผลติดดกประมาณ 6-8 กิโลกรัม
 
    2. การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแก่จะมีสีแดง หรือเหลือง แล้วแต่พันธุ์ มีรสชาติมันและหวาน เกษตรกรจะปีนขึ้นไปโดยใช้เชือกที่ถักแบนๆ โอบรัดไปด้านหลังของเกษตรกรและพันรอบต้น แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปโดยใช้เท้าเหยียบไปบนต้นที่มีโคนทางใบที่หลงเหลืออยู่จากการตัด ทำให้ขึ้นได้ง่ายมาก เมื่อตัดแล้ววางลงบนตะกร้า หย่อนเชือกลงมาด้านล่าง ผู้ที่อยู่ใต้ต้นจะเป็นผู้เก็บรวบรวมเป็นกอง ปกติต้นหนึ่งๆ จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม (ถ้าดูแลดี แต่โดยทั่วไปจะได้น้อยกว่านี้)
 
    3. ราคาจำหน่าย เกษตรจำหน่ายผลอินทผลัมสดในช่วงต้นฤดูกาลประมาณ กิโลกรัมละ 10-15 RO แต่ในช่วงที่ผลผลิตออกมากจะขายได้ประมาณ 0.25-0.35 RO ผลแห้งในท้องตลาดจะจำหน่ายปลีกประมาณ กิโลกรัมละ 0.35-1.0 RO ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า 

    4. การแปรรูป เกษตรกรจะนำผลไปผึ่งแดด ประมาณ 7-10 วัน จนผลแห้ง (เนื้อที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งผล) แล้วนำไปล้างน้ำตากแห้งอีกเพียง 1 วัน แล้วบรรจุภาชนะเพื่อจำหน่ายต่อไป การคัดคุณภาพของผลแห้งจะแยกเป็นชนิดที่แยกเป็นผลเดี่ยวๆ ได้จะมีราคาแพง ส่วนผลที่ค่อนข้างจะติดกันจะตักขายเป็นก้อน ราคาจะถูกลง ส่วนชนิดที่เละมากจะนำไปกวนเป็นน้ำหวานสำหรับปรุงอาหาร สำหรับผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรจะนำไปผึ่งแดดเก็บไว้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัว ผมพอมีข้อมูลการปลูกอิทผาลัมอยู่บ้างครับโดยหาจาก เว็ปต่างๆแล้วรวบรวมไว้เพราะผมเองก็สนใจเหมือนกันครับ

      เพื่อนๆสมาชิกลองเข้าไปดูที่
www.intapalum.com ดูครับเป็นสวนที่เชียงใหม่ครับ และผมมีรายละเอียดเกี่ยวกับการปลูกมาฝากลองอ่านดูนะครับ
 




หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©