-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 525 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร







ธงชัย พุ่มพวง

ชาวไทยภูเขาปลื้ม สามารถปลูก "เฮมพ์" ได้
แต่ต้องอยู่ในการดูแลของคณะกรรมการร่วมโครงการหลวง


ความเป็นมา

กัญชง เป็นพืชตระกูลเดียวกับกัญชา แต่มีความแตกต่างกันหลายอย่าง ทำคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรชาวไทยภูเขาได้มากมายหลายชั่วอายุคน ด้วยความสับสนทางด้านกฎหมายที่จัดให้กัญชงเป็นพืชเสพติดหวงห้าม ประเภทที่ 5 เช่นเดียวกับกัญชา ทำให้เกษตรกรต้องลักลอบปลูก ทั้งๆ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจมีประโยชน์


มูลนิธิโครงการหลวง จึงเรียกชื่อ กัญชง ใหม่ว่า "เฮมพ์"

หลังจากที่คณะทำงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเฮมพ์ ที่ประกอบด้วยมูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันศึกษามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 พร้อมทั้งได้นำเสนอข้อมูลการศึกษาวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับจากเฮมพ์ และเกษตรกรชาวไทยภูเขา นำเสนอต่อรัฐบาลมาโดยตลอด จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 คุณวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งให้ทราบว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำเสนอผลการศึกษาแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมปลูกเฮมพ์ (กัญชง) ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจบนที่สูง ระหว่าง ปี 2552-2556 ดำเนินการโดยมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อนำมาใช้สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

เฮมพ์ เป็นพืชที่มีบทบาทและความผูกพันต่อชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เผ่าลีซอ และเผ่าอาข่า มาตั้งแต่อดีต สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จนเรียกได้ว่ามีชนเผ่านี้อาศัยอยู่ที่ไหน ก็จะมีการปลูกเฮมพ์ควบคู่กันไป เนื่องจากคุณประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก เช่น เปลือกของต้นเฮมพ์ใช้ทอเป็นเส้นใยใช้ทอเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ใช้ฟั่นทำเป็นเชือก ใช้ทำเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน เมล็ดใช้ประกอบอาหาร ใช้เมล็ดสกัดน้ำมัน ในต่างประเทศที่อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ เพราะเป็นพืชอินทรีย์ไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เส้นใยของเฮมพ์นำไปใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นส่วนผสมของคอนโซลรถยนต์ เป็นกระเป๋าเอกสาร กระเป๋าเดินทาง เบาะรถยนต์ ทำให้มีความแข็งแรง และจำหน่ายราคาแพง ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้เส้นใยเฮมพ์มาแปรรูปและใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด ที่ผ่านมาเกษตรกรไม่สามารถปลูกและผลิตเส้นใยเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงต้องมีการสั่งนำเข้าเส้นใยและผลิตภัณฑ์มาจากต่างประเทศ ที่ปลูกและผลิตได้อย่างเสรีและถูกกฎหมาย เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน อีกทั้งความต้องการมีแนวโน้มว่าสั่งซื้อในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เฮมพ์ เป็นพืชที่มีระบบรากแก้ว มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างต้นกัน ออกดอกตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกจะอัดกันแน่น อายุดอก ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะติดผล หลังติดผลประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมล็ดจะแห้งสีเทา รูปไข่ ผิวเรียบเป็นมันมีลายประ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง อวบน้ำ ลำต้นที่เจริญเต็มที่จะมีลักษณะหกเหลี่ยม ต้นสูงประมาณ 300 เซนติเมตร

การปลูกเฮมพ์ ช่วงเวลาการปลูกเฮมพ์ที่เหมาะสมคือช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปกติชาวไทยภูเขาจะปลูกเดือนกรกฎาคม เพราะต้องอาศัยน้ำฝน หากพื้นที่ในเขตชลประทานสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม เนื่องจากเฮมพ์เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ดังนั้น การปลูกต้องปลูกที่ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี การเตรียมดินควรถางหญ้าและพรวนดิน เพื่อเตรียมการปลูกด้วยวิธีหยอดหลุมปลูก ระยะปลูกระหว่างต้น 15 เซนติเมตร ระหว่างแถว 20 เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อไร่ แต่การปลูกของชาวไทยภูเขาจะปลูกแบบไม่กำหนดระยะหรืออาจใช้วิธีหว่าน การเก็บเกี่ยวเส้นใยอายุประมาณ 3 เดือน หลังปลูก ต้นสูงประมาณ 2 เมตร หรือก่อนออกดอกเพศผู้ เพราะระยะนี้เส้นใยจะเหนียว เบา สีขาว เหมาะสำหรับทำเป็นเส้นใยทอผ้า การตัดควรตัดลำต้นให้ชิดพื้นดิน



ขั้นตอนการแปรรูปเฮมพ์

นำต้นเฮมพ์ที่ตัดแล้วมัดปลายต้นเป็นกำใหญ่ นำไปตากแดด ประมาณ 15 วัน วางโคนต้นลงดิน เมื่อแห้งดีแล้วจึงนำไปเก็บไว้ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ดี ก่อนจะลอกเปลือกต้องนำไปตากน้ำค้าง 1 คืน เพื่อจะได้ลอกง่ายขึ้น ลอกเปลือกเป็นเส้นเล็กๆ มัดกำรวมกันเป็นกำใหญ่ นำไปแขวนไว้ในที่ร่ม จากนั้นนำเส้นใยไปตากน้ำค้างอีก 1 คืน เพื่อให้มีความชื้น ตำด้วยครกไม้เพื่อให้เส้นใยอ่อนนุ่ม เส้นใยที่ตำเสร็จแล้วนำมาต่อกันเป็นเส้น ม้วนเป็นขดเล็กๆ แล้วจึงนำมารวมกันเป็นขดใหญ่ จากนั้นจึงนำเส้นใยที่เป็นขดใหญ่นำไปแช่น้ำแล้วกรอเข้าหลอด เพื่อให้เส้นใยเป็นเกลียวกลม จากนั้นนำไปขึ้นกากบาทที่มีเส้นรอบวงประมาณ 10 เมตร เพื่อกำหนดความกว้างและความยาวของผ้าที่จะทอ ตากเส้นใยให้แห้งบนไม้กากบาท หากวนเส้นใยบนไม้กากบาท 12 ครั้ง ครั้งละ 40 รอบ จะทอผ้าได้ขนาดกว้าง 16 นิ้ว ยาว 8 เมตร โดยใช้กี่ทอผ้าชาวเขา หรือกี่เอว ถ้าวนเส้นใยบนไม้กากบาท 12 ครั้ง ครั้งละ 80 รอบ โดยใช้กี่ทอผ้าพื้นเมืองหรือกี่กระทบ จะได้ผ้าขนาดกว้างประมาณ 39.5 นิ้ว ยาว 8 เมตร เมื่อแห้งดีแล้วนำไปต้มในน้ำขี้เถ้าจนเปลือกนอกใยสีเขียวหลุดออกหมด นำไปต้มในน้ำเทียนไขเพื่อให้เส้นใยนุ่ม นำไปนวดโดยใช้ท่อนไม้ทำเป็นเครื่องมือนวดเพื่อให้เส้นใยแบนและอ่อนนุ่ม เส้นใยที่ผ่านการนวด นำไปขึ้นไม้กากบาทอีกครั้ง นำไปผึ่งลมให้แห้ง นำไปกรอเข้าหลอดด้ายยืนและหลอดด้ายพุ่ง จากนั้นจึงนำไปทอเป็นผืนผ้าด้วยกี่เอว



วิธีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดเฮมพ์

การปลูกเฮมพ์เพื่อใช้เส้นใยนั้น ระยะเวลาการปลูก ประมาณ 90 วัน แต่ถ้าต้องการเมล็ด จะต้องใช้เวลาประมาณ 110-120 วัน ในการหีบน้ำมันนั้น จะต้องเก็บเกี่ยวแล้วนำมาเก็บไว้ประมาณ 6 เดือน เพื่อลดความชื้นในเมล็ด การหีบโดยใช้เครื่องหีบน้ำมันที่มีคุณภาพ จากการทดลองในปัจจุบัน เมล็ดเฮมพ์ 1 กิโลกรัม สามารถหีบออกมาเป็นน้ำมันได้เพียง 120 ซีซี ในต่างประเทศสามารถหีบเป็นน้ำมันได้ประมาณ 30% หากจะพัฒนาถึงระดับอุตสาหกรรมในบ้านเรา จะต้องพัฒนาสายพันธุ์และเครื่องหีบน้ำมันต่อไปอีกระยะหนึ่ง ขณะนี้ได้ร่วมกับคณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แปรรูปน้ำมันเป็นอาหารเสริมความงาม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมันนวดตัว น้ำมันที่ใช้ในงานสปา สบู่ โลชั่น เกลือขัดผิว ทดลองใช้ในวงการแพทย์ ส่วนกากที่เหลือจากการหีบจะยังคงมีน้ำมันเหลืออยู่ นำไปใช้พอกตัวในงานสปา และนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.อาคม กาญจนประโชติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. (089) 851-1141


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1191 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©