-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 384 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร





เพาะกล้า  "เยาวชน" บนผืนนาอินทรีย์


"ข้าวเอ๋ย ข้าวสุก ต้องกินกันทุกบ้านทุกฐานถิ่น กว่าจะมาเป็นข้าวให้เรากิน ชาวนาสิ้นกำลังเกือบทั้งปี ..."

       
       บทแรกของคำกลอนสอนใจให้ลูกหลานไทยสำนึกบุญคุณของชาวนาไทย ทว่าทุกวันนี้มีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่รู้จัก "ข้าว" แค่ในฐานะอาหารหลักที่ต้องกินกันทุกมื้อ แต่แทบไม่รู้จักหรือเคยเห็นต้นข้าว และหลงลืมอาชีพชาวนา
       
       "ประเทศไทยส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก แต่ชาวนาไทยกลับมีฐานะยากจนกว่าในหลายประเทศ และน่าใจหายมากที่ประเทศไทยมีชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่เด็กไทยรุ่นใหม่แทบไม่รู้จักต้นข้าว ไม่เคยเห็นว่าต้นข้าวมีหน้าตาเป็นอย่างไร" เสียงจาก ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชน ที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของชาวนาและอนาคตของข้าวไทย
       
       เพื่อให้เด็กไทยรู้จักข้าว รู้จักอาชีพชาวนา และรู้คุณค่าของเกษตรกรรมธรรมชาติ กรีนพีซจึงจัดกิจกรรม "ชวนน้องสนุกกลางทุ่ง คุยฟุ้งเกษตรอินทรีย์" เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ 8-12 ปี จากเมืองหลวงได้ใช้เวลาในช่วงปิดเทอมสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาและเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ร่วมกับเยาวชนในท้องถิ่นรวม 40 ชีวิต ระหว่างวันที่ 23-25 เม.ย. และ 30 เม.ย.-2 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ และผืนนาอินทรีย์ ใน ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากกิจกรรมรณรงค์ให้คนไทยรักข้าวไทยและการเปิดตัวศิลปะบนนาข้าวอินทรีย์ที่ จ.ราชบุรี เมื่อปลายปี 2552
       
       ณัฐวิภา บอกว่า เด็กในเมืองปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าอาหารมาจากไหน สะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยไม่รู้จักอาชีพเกษตรกรรม บางคนอาจแทบไม่นึกถึงเลยว่า ข้าวที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ผลิตขึ้นมาอย่างไร ขณะที่บางคนอาจคิดว่าการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในนาข้าวเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่จริงแล้วไม่ควรเป็นเช่นนั้น
       
       "ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตร เป็นสิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ควรจะต้องได้รู้ และหากเรายังทำเกษตรแบบเคมีอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคตเราจะหาอาหารที่ปลอดภัยได้จากที่ไหน ซึ่งการปลูกฝังแนวคิดเกษตรกรรมแบบธรรมชาติที่ไม่พึ่งพิงสารเคมีให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ จะทำให้พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รู้จักเลือกสรรอาหารที่ปลอดภัย พืชผักปลอดสารเคมี และเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากชุมชนในท้องถิ่น" ณัฐวิภากล่าว
       
       ในทุ่งนาอินทรีย์ ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เด็กๆ จะได้เรียนรู้ว่า กว่าข้าวแต่ละเมล็ดจะเติบโต ออกรวง และกลายมาเป็นข้าวสวยที่แสนอร่อยและอุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ต้องผ่านกรรมวิธีการเพาะปลูกอย่างไร โดยเด็กๆ จะได้เรียนรู้งานในไร่นาด้วยการลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่การดำนา การทำปุ๋ยหมัก การกำจัดวัชพืช ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวข้าว ทั้งยังได้เรียนรู้เรื่องข้าวในมิติต่างๆ เรียนรู้การทำเกษตรแบบยั่งยืน และทำความรู้จักกับตลาดสดกลางทุ่งอันเป็นที่มาของอาหารปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
       
       "ที่โรงเรียนเคยสอนเรื่องข้าว สอนการปลูกข้าว การให้ปุ๋ย การทำหุ่นไล่กา ทำให้หนูรู้จักข้าวมาก่อน และรู้ว่ากว่าจะได้ข้าวมาชาวนาต้องลำบากมาก เพราะฉะนั้นเราต้องกินข้าวให้หมดจาน ไม่เหลือทิ้ง" ด.ญ.ณัฏฐณิชา แจ่มประกาศ หรือ ไบเบิล นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนเพลินพัฒนา หนึ่งในเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับกรีนพีซบอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์
       
       ไบเบิลบอกด้วยว่า การมาร่วมกิจกรรมนี้ทำให้เธอและเพื่อนๆ รู้จักข้าวมากขึ้นและรู้ว่าสามารถปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีได้ จะช่วยให้ข้าวอร่อยขึ้น ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญยังช่วยให้ชาวนาลดต้นทุนได้มาก จึงอยากให้ชาวนาไทยหันมาทำนาอินทรีย์กันมากๆ
       
       "เราหวังว่าเยาวชนเหล่านี้ จะมีความเข้าใจวิถีเกษตรอินทรีย์ เข้าใจธรรมชาติและความสำคัญของระบบนิเวศมากยิ่งขึ้น และตระหนักถึงอาหารปลอดภัย รู้ว่าอาหารมาจากท้องทุ่ง ไม่ใช่ซูเปอร์มาร์เกต และหวังให้เกิดการต่อยอดจากการที่เด็กๆ นำประสบการณ์ไปเล่าให้พ่อแม่ฟัง ทำให้เกิดการถ่ายทอดและกระจายความรู้ด้านการเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้สังคมวงกว้างได้ตระหนักถึงทางเลือกที่ดีกว่าในการทำเกษตรกรรม และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและผลักดันภาคเกษตรกรรมไปสู่วิถีที่ยั่งยืนได้" ณัฐวิภา กล่าว


ที่มา  :  ผู้จัดการ



 เกษตรอินทรีย์  VS  เกษตรเคมี
เด็กๆ เรียนรู้การปลูกผักด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ ในกิจกรรมค่าย "ชวนน้องสนุกกลางทุ่ง คุยฟุ้งเกษตรอินทรีย์" ที่จัดโดย กรีนพีซ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ โพธาราม จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 23-25 เม.ย. 2553
       การเกษตรแผนปัจจุบัน ที่มุ่งใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จนก่อให้เกิดปัญหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร สิ่งแวดล้อมและดินเสื่อมโทรม คุณภาพของผลผลิตลดลงและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้แนวทางเกษตรอินทรีย์ถูกนำมาใช้เพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ และมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
       
       หัวใจสำคัญของเกษตรอินทรีย์ คือการปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และให้ความสำคัญกับระบบนิเวศและสังคม ซึ่งแตกต่างจากเกษตรเคมี ดังต่อไปนี้
       
       เกษตรอินทรีย์
       
       - ใช้แนวคิดการเกษตรแบบองค์รวม
       - เน้นการผสมผสานให้เกิดความหลากหลายที่แต่ละกิจกรรมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
       - ใช้พันธุ์ที่คัดเลือกให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่แตกต่างกัน
       - เน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีในท้องถิ่น และใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ช่วยให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและลดต้นทุนการผลิต
       - ใช้แรงงานคน สัตว์ และเครื่องทุ่นแรงขนาดเล็ก ที่ประหยัดพลังงาน ใช้หลักการธรรมชาติในการจัดการศัตรูพืช การปรับปรุงดิน
       - มีเป้าหมายการผลิต เพื่อความยั่งยืนในระยะยาวทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร
       
       เกษตรเคมี
       
       - ใช้หลักการและแนวคิดการเกษตรแบบแยกส่วน
       - เน้นการผลิตแบบเชิงเดี่ยว (mono culture) ที่เป็นพืชหรือสัตว์เศรษฐกิจชนิดเดียว ในลักษณะเกษตรอุตสาหกรรม
       - ใช้พันธุ์ที่ได้จากคัดเลือกโดยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
       - เน้นการเพิ่มผลผลิตจากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้จากภายนอก เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมน ฯลฯ
       - ใช้เครื่องทุ่นแรงจากพลังงานการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
       - มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีกำไรเป็นตัวเงินเป็นเครื่องชี้วัดผลสำเร็จ
       
       (ข้อมูลจาก www.surinorganic.com)









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1475 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©