-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 541 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย99





เส้นทางของเศษฟางข้าว...วัสดุทดแทนไม้ที่มีอนาคต

    

จากสภาพปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความจำเป็นต้องลดการใช้ไม้ธรรมชาติในประเทศเพื่อรอการฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้เพียงพอจนเกิดความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรมาทำให้กลับมีคุณค่าเป็นวัสดุทดแทนไม้ธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม น่าจะเป็นโอกาสในการสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “ฟางข้าว” เศษวัสดุเหลือทิ้งจากท้องนาที่ไม่ได้รับการเหลียวแล และถูกมองข้ามเสมอมา

    
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ในฐานะที่เป็นหน่วยส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมแล้ว ยังตระหนักถึงประโยชน์ของ “ฟางข้าว” ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นวัสดุทดแทนไม้ธรรมชาติสร้างมูลค่าเพิ่ม และสามารถส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้แก่เกษตรกรได้เกิดการรวมกลุ่มประกอบอาชีพการผลิตวัสดุทดแทนไม้ในเชิงอุตสาหกรรมชนบทต่อไป

    
นายวรธรรม อุ่นจิตติชัย นักวิชาการป่าไม้ 8 ว งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ กลุ่มงานพัฒนาอุตสาหกรรมไม้และป้องกันรักษาเนื้อไม้ สำนักวิจัยและการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ฟางข้าวที่ถูกตัดทิ้งจัดเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ปราศจากคุณค่า แต่จากการศึกษาศักยภาพทางวิชาการแล้ว “ฟางข้าว” มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถ พัฒนาเป็นฉนวนความร้อน เพื่อทดแทนฉนวนใยแก้วและแผ่นโฟมที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 

    
“วัสดุฉนวนความร้อนกำลังเป็นที่นิยมและแพร่หลายมากในปัจจุบัน มีการใช้มากทั้งในโรงงาน งานก่อสร้างอาคารและบ้านพักอาศัย แต่ส่วนใหญ่จะใช้ฉนวนใยแก้ว และแผ่นโฟม โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉนวนใยแก้วที่ต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ จากสถิติในปี 2543 ไทยมีการนำเข้าฉนวนใยแก้วสูงถึง 45,149,891 บาท ทำให้เสียดุลการค้า นอกจากนั้น ฉนวนความร้อนเหล่านี้ ยังผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งมักประสบปัญหาและคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพเมื่อนำมาใช้งาน” นายวรธรรมกล่าว

     
นายวรธรรม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การพัฒนาฉนวนความร้อนที่อาศัยเส้นใยจากพืชที่หาได้จากธรรม ชาติ ย่อมส่งผลดีทั้งช่วยลดปัญหาการขาดดุลการค้า  และปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่ง “ฟางข้าว” จัดเป็นฉนวนความร้อนที่ดีอย่างหนึ่ง และจากการทดสอบค่าการนำความร้อนของฟางข้าวแห้งที่นำมาอัดจนมีความหนาแน่นประมาณ 80 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.05-0.07 W/mK ในขณะที่ฉนวนใยแก้ว มีค่าการนำความร้อนประมาณ 0.03-0.04 W/mK ขึ้นอยู่กับชนิด และความหนาแน่นของฉนวน 

    
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า จากการเปรียบเทียบค่าการนำความร้อนระหว่าง ฟางข้าว และ ฉนวนใยแก้ว มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะ  นำฟางข้าวมาผลิตเป็นฉนวนความร้อนที่ดีได้ในอนาคต เนื่องจากมีคุณ สมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงความร้อนที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  เช่น มีความหนาแน่นต่ำ สามารถม้วน งอ หรือพับได้ และ มีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ใยฉนวนความร้อนที่ผลิตได้จะมีค่าการนำความร้อนต่ำสามารถใช้ทดแทนฉนวนความร้อนที่ทำจากใยแก้วและโฟมเป็นอย่างดี


อย่างไรก็ตาม กรอบแนวทางการวิจัยของกรมป่าไม้ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวเพื่อทดแทนไม้มิได้มีเพียงเท่านั้น ยังมีการพัฒนาฟางข้าวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นประกอบชีวภาพ คล้ายคลึงกับแผ่นไม้ประกอบ เช่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด และแผ่นไม้อัดสารแร่ เป็นต้น โดยแผ่นประกอบชีวภาพนั้น สามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องเรือน เครื่องไม้ในครัวเรือนต่าง ๆ ทดแทนไม้จริงตามธรรมชาติ ตลอดจนการศึกษาพัฒนาการผลิตแผ่นพลาสติกเสริมแรงด้วยฟางข้าว เพื่อเป็นวัสดุโพลิเมอร์ชนิดใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาการเตรียมวัสดุคอมโพสิตจากโพลิเมอร์และเส้นใยฟางข้าว เพื่อใช้งานเป็นวัสดุไม้เทียมและวัสดุขึ้นรูปแบบพลาสติก


ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัจจุบันกรมป่าไม้โดยงานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้ และผลิตผลป่าไม้ ได้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบฟางข้าว จนสามารถทำผลิตภัณฑ์ จากเศษฟางข้าวได้ พร้อมกับได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแผ่นประกอบจากฟางข้าวให้กับกลุ่มเกษตรกร และประชาชนที่สนใจแล้วหลายรุ่น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม  ต่อไป


ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคต “ฟางข้าว” ที่ถูกมองข้ามมานาน จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างแน่นอน.



ที่มา  :  เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (1498 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©