-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 542 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย89





การศึกษาดูงานมันสำปะหลังในประเทศเวียดนาม



น.ส.กฤติกา อกนิษฐาภิชาติ
ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชไร่นา
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
 
 
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ไปศึกษาดูงานมันสำปะหลังเมื่อวันที่ 10-12 มกราคม 2549 ณ จังหวัด Tay Ninh ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ประเทศ ในปี 2548 เวียดนามมีพื้นที่ปลูก 2.56 ล้านไร่ ผลผลิต 6.65 ล้านตัน และมีผลผลิตต่อไร่ 2,500 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก ปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.96 19.39 และ 7.91 ตามลำดับ สำหรับปี 2549 คาดว่าเกษตรกรจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เป็น 2.92 ล้านไร่ หรือพื้นที่ร้อยละ 10 เนื่องจากปีที่ผ่านมามันเส้นมีราคาดี และโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น


เวียดนามแปรรูปหัวมันสดเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ในรูปมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง โดยในรูปมันเส้นเกษตรกรเป็นผู้แปรรูปเองทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากไทยที่ส่วนใหญ่แปรรูปโดยภาคเอกชน โดยเวียดนามแปรรูปเป็นมันเส้นปอกเปลือก มันเส้นปอกเปลือกบางส่วน และมันเส้นไม่ปอกเปลือก ซึ่งในจังหวัด Tay Ninh เกษตรกรนิยมแปรรูปเป็นมันเส้นปอกเปลือกเพราะขายได้ราคาสูงกว่า ซึ่งอัตรา แปรสภาพจากหัวมันสดเป็นมันเส้นโดยเฉลี่ย 2.5–3 : 1 เนื่องจากเกิดการสูญเสียจากการปอกเปลือก


ส่วนการแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง เวียดนามมีโรงงานแป้งมันสำปะหลัง 53 โรง อยู่ทางตอนใต้ 29 โรง มีกำลังการผลิตวันละ 2,580 ตัน ตอนกลาง 16 โรง กำลังการผลิตวันละ 1,090 ตัน และตอนเหนือ 8 โรง มีกำลังการผลิตวันละ 610 ตัน อัตราการแปรสภาพจากหัวมันสดเป็นแป้งมันสำปะหลัง โดยเฉลี่ย 4 : 1 ในจังหวัด Tay Ninh โรงงานแป้งมันสำปะหลังมีส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนของชาวเวียดนามเอง บางโรงเป็นการลงทุนของชาวเวียดนามและต่างชาติ เช่น ไทย เป็นต้น โดยเทคโนโลยีการผลิต / แปรรูปส่วนใหญ่จะนำเข้าจากไทย นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรบางรายที่มีการแปรรูปเป็น Wet Powder แต่มีปริมาณน้อย


ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังนำมาใช้ภายในประเทศประมาณร้อยละ 45-50 ของผลผลิต โดยมันเส้นใช้เป็นส่วนประกอบอาหารสัตว์ สำหรับแป้งมันจะใช้บริโภคในครัวเรือนและในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่เหลือประมาณร้อยละ 50-55 ของผลผลิตจะส่งออก ซึ่งในปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 749,666 ตัน และมีมูลค่าการส่งออก 66.88 ล้านดอลลาร์ ตลาดหลักที่สำคัญคือ ประเทศจีน ส่วนการส่งออกแป้งมันสำปะหลังจากการสอบถามโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่จังหวัด Tay Ninh ทราบว่าการส่งออกแป้ง มันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเวียดนามขยายการผลิตมันสำปะหลังและมีการสร้างโรงงานแป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น โดยตลาดหลักที่สำคัญคือจีน

ปัญหาที่เกษตรกรประสบก็คือ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เนื่องจากมันสำปะหลังไม่ใช่พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนาม จึงทำให้รัฐบาลขาดงบประมาณในการวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลัง ไม่มีการถ่ายทอด / ฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรเพื่อให้มีความรู้ในการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่ถูกต้อง และใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัย นอกจากนี้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากพ่อค้าคนกลางที่รวบรวมผลผลิตยังมีน้อย


ด้านนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับมันสำปะหลังในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามตั้งแต่ฉบับที่ 1 – 9 ( ปัจจุบัน ) รัฐบาลไม่ได้มุ่งเน้นในการพัฒนามันสำปะหลังเนื่องจากเป็นพืชที่มีมูลค่าค่อนข้างต่ำ แต่มันเส้นที่ส่งออกในช่วงปีที่แล้วต่อเนื่องมาปีนี้มีราคาอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงงานแป้งมันสำปะหลังขยายการผลิตเพราะราคาจูงใจ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้หันมาสนใจในพืชชนิดนี้ โดยกระทรวงเกษตรจะส่งเสริมในเรื่องพันธุ์และพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยแก่เกษตรกร สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมจะสนับสนุนให้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพในการป้อนโรงงาน แป้งมันสำปะหลัง นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายที่จะใช้มันสำปะหลังเพื่อเป็นพืชทดแทนพลังงานในอนาคตด้วย
 
 
ข้อคิดเห็น
ระยะสั้น ไทยยังสามารถครองตลาดในการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งมันเส้นและแป้ง มันสำปะหลัง โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของเวียดนาม หากราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ส่งออก เป็นไปตามกลไกของตลาด เนื่องจากไทยสามารถขยายการผลิตหัวมันสำปะหลังและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ในปริมาณเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของจีน โดยเฉพาะมันเส้นที่ตลาดจีนมีความต้องการมาก รวมทั้งสามารถส่งมอบได้ตามระยะเวลาที่กำหนด แต่เวียดนามจะได้เปรียบกว่าในเรื่องข้อตกลงการค้าชายแดนระหว่างจีน – พม่า – ลาว – เวียดนาม เป็นผลให้เวียดนามส่งออกมันสำปะหลังไปจีน จะเสียภาษีนำเข้าและ ภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับที่นำเข้าจากไทย แม้ว่าข้อตกลงการค้าเสรี ไทย - จีน ทำให้ไทยเสียภาษีการนำเข้ามันเส้นลดลงจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 0 ก็ตาม แต่ไทยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 13 เมื่อรวมแล้วไทยเสียภาษีรวมร้อยละ 13 ขณะที่เวียดนามจะเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 2.5 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.5 เวียดนามจึงเสียภาษีรวม (ภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม) ร้อยละ 9 นอกจากนี้ค่าขนส่งของเวียดนาม ถูกกว่าไทย รวมทั้งมีมันเส้นสะอาด แต่โดยภาพรวมไทยยังคงได้เปรียบมากกว่า
 
ระยะยาว หากรัฐบาลเวียดนามได้ตระหนักถึงความสำคัญของมันสำปะหลังโดยการส่งเสริมอย่างจริงจังโดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกร อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังต่อหน่วยลดลงและมีการขยายพื้นที่ปลูกอาจเป็นคู่แข่งของไทยในอนาคตได้ 
   
 ดังนั้นเพื่อให้ไทยยังคงเป็นตลาดที่ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่สำคัญของโลกควรจะดำเนินการดังนี้

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง ทำให้สามารถแข่งขันกับพืชทดแทนชนิดอื่น รวมทั้งสามารถแข่งกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่น ๆ


ส่งเสริมให้มีการทำมันเส้นสะอาดมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มมูลค่าเพิ่มของมันสำปะหลัง
ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศผู้ซื้อทราบคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ 


 
Email-Address
Krittika@oae.go.th
ประวัติการศึกษา ปริญญาโทมหาบัญฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัย









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (425 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©