-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 486 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย87





นักวิจัย มช. เผย สกัดเมล็ด “มะมื่น” ต่อยอดสู่ยาและเครื่องสำอางได้


นักวิจัยเภสัช มช. ศึกษาต้นกระบก หรือมะมื่น พบเนื้อในมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง และยาเหน็บได้
      
ภญ.รศ.ดร.พาณี ศิริสะอาด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้วิจัย เปิดเผยว่า กระบกหรือกะบก ทางภาคเหนือเรียกว่า มะมื่น ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Irvingia malayana Oliv. Ex A. Benn. และจัดอยู่ในวงศ์ IRVINGGIACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-30 เมตร ผลรูปกลมหรือรูปไข่ ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีเนื้อหุ้มเมล็ด มีเมล็ดเดี่ยวที่โตและแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาว รับประทานสุกได้
      
จากผลงานวิจัยไขกระบกของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการนำวัตถุดิบที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยได้ทำการสกัดไขกระบก และศึกษาคุณสมบัติของไขกระบกทางเคมีและกายภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากไขกระบกทางเครื่องสำอาง และยา โดยนำมาพัฒนาเป็นครีม ยาเหน็บ และศึกษาแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ทางอาหารเสริม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต
      
โดยนำเนื้อในเมล็ดกระบก จากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มาสกัดแยกเอาไขโดยใช้เครื่องสกัดที่ไม่ใช้สารเคมี ทำให้บริสุทธิ์ และศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานและวิเคราะห์ค่ากรดไขมันในไขกระบกที่สกัดได้ จากนั้นนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยหาค่ามาตรฐานของไขกระบก ตั้งตำรับ สบู่แบบใส สบู่แบบขุ่นครีมบำรุงผิว ครีมบำรุงมือและเล็บ และ ยาเหน็บ


จากการนำเนื้อในเมล็ดกระบกมาศึกษาคุณค่า และวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า การสกัดกระบก ได้ไขร้อยละ 47.3% มีกรดไขมัน myristic acidและ lauric acid ร้อยละ 42 และ48 ตามลำดับ โดยมีจุดเริ่มต้นที่จะหลอมเหลว 34.17 องศาเซลเซียส อีกทั้งมี 2 รูป

ผลึกเมื่อหลอมที่อุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียส สามารถกลับมาแข็งตัวได้อีก พบว่าสามารถพัฒนาเป็นสบู่ที่มีฟองตามธรรมชาติไม่ต้องใช้สารเพิ่มฟอง ได้ครีมที่มีตัวทำอีมัลชั่นประเภทมีประจุและไม่มีประจุและพัฒนาได้ครีมต้นแบบ สามารถพัฒนาเป็นยาเหน็บโดยมีความมันวาว จับต้องง่ายไม่ระคายเคืองทวาร


เมล็ดกระบก หรือ มะมื่น
ทั้งยังพบว่า เนื้อในกระบก เมื่อสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเธอร์ ใน100 กรัม ประกอบด้วยไขมัน 66.78 % , คาร์โบไฮเดรท 9.07 % , โปรตีน 3.40 %, ธาตุเหล็ก 61.43 มก. และแคลเซียม 103.30 มก. ความชื้น 2.08 % เนื้อในไขกระบกที่เก็บไว้ที่4 ๐C มีความคงตัวสูงสุด เมื่อเทียบกับที่ 45 ๐C และที่อุณหภูมิห้องนาน 120วัน โดยมีค่าเปอร์ออกไซด์ 1.37-2.70 meqROOH/kg ของน้ำหนักเนื้อในไขกระบก ซึ่งแสดงว่าไขกระบกค่อนข้างทนต่อการเกิด
ปฏิกิริยาทางเคมี ในทางอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอาหารที่เพิ่มคุณค่าได้
      
สรุปผลการศึกษาไขกระบกมาจากเนื้อในเมล็ดพืช ได้จากต้นไม้ยืนต้น พบได้ทั่วไปในป่าทั่วประเทศไทย บางครั้งพบหล่นตามป่า คณะผู้วิจัยได้นำผลผลิตดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า และรายได้แก่คนบนดอย พบว่าเนื้อในผลมะมื่น นอกจากมีการนำมาคั่วกินเล่น สามารถนำมาพัฒนา เป็นเครื่องสำอาง และยาเหน็บทวารและเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หากสามารถขยายผลนำไปพัฒนาเป็นเครื่องสำอางและยา จะสามารถทดแทน การนำเข้าไขแข็งที่นำ
เข้ามาพัฒนาเป็นยาพื้นยาเหน็บและเครื่องสำอางได้



 

ที่มา :  ผู้จัดการ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (1204 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©