-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 481 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย86





ศึกษา "พิษแมงป่อง" ทางเลือกยาแก้ปวดแทนมอร์ฟีน



นักวิจัยอิสราเอลศึกษา "พิษแมงป่อง" สารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบประสาท อาจเป็นทางเลือกยาแก้ปวดแทน "มอร์ฟีน" สารเคมีมีพิษและมีฤทธิ์ทำให้เสพติด ด้วยศักยภาพที่มีโปรตีนกว่า 300 ชนิด เฉพาะต่อประสาทรับรู้ความเจ็บปวด
      
ศ.ไมเคิล กูเรวิทซ์ (Prof.Michael Gurevitz) จากภาควิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) ประเทศอิสราเอล ได้สืบหาวิธีใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมยับยั้งความเจ็บปวด จากองค์ประกอบเคมีทางธรรมชาติ ซึ่งพบในพิษของแมงป่อง
      
เขากล่าวว่า องค์ประกอบเหล่านี้ ได้ผ่านวิวัฒนาการยาวนานหลายล้านปี โดยบางองค์ประกอบแสดงถึงประสิทธิภาพสูง และมีความจำเพาะเจาะจงต่อองค์ประกอบที่มีอยู่ในร่างกายโดยไม่มีผลข้างเคียง สารพิษเปปไทด์ซึ่งพบในพิษแมงป่อง ทำอันตรกริยาต่อช่องสัญญาณโซเดียมในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และบางช่องสัญญาณโซเดียมนี้สื่อสารกับความเจ็บปวด
      
“ร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีช่องสัญญาณโซเดียม 9 ช่องสัญญาณ ซึ่งมีเพียงชนิดย่อยชนิดเดียวที่นำส่งความเจ็บปวดสู่สมองของเรา เราพยายามที่จะเข้าใจว่าสารพิษในพิษแมงป่องนั้น ทำอันตรกริยากับช่องสัญญาณโซเดียมในระดับโมเลกุลอย่างไร สารพิษบางตัวมีความแตกต่างต่อช่องสัญญาณย่อยอย่างไร" ไซน์เดลีระบุคำอธิบายของ ศ.กูเรวิทซ์
      
 ศ.กูเรวิทซ์อธิบายว่า หากเราหาคำตอบนี้ได้ เราก็อาจะปรับเปลี่ยนสารพิษเหล่านี้ได้บ้าง เพื่อทำให้สารพิษนี้มีศักยภาพและจำเพาะต่อความเจ็บปวดที่เชื่อมต่อช่องสัญญาณโซเดียม และวิศวกรเคมีจะคำนวณหาวิธีเลียนแบบพิษแมงป่องได้ ซึ่งจะทำให้เราได้นวัตกรรมยับยั้งความเจ็บปวด ที่มีความจำเพาะสูงและไม่มีผลข้างเคียง
      
ในงานวิจัยของเขา ศ.กูเรวิทซ์ได้พุ่งเป้าเข้าไปที่การศึกษา "แมงป่องเหลือง" (yellow scorpion) ของอิสราเอล ซึ่งเป็นหนึ่งในแมงป่องที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก โดยในปริมาณพิษเพียงเล็กน้อยของแมงป่องนั้น มีเปปไทด์มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งเหตุผลที่เขาสนใจพิษแมงป่องชนิดนี้เพราะพิษที่ออกฤทธิ์นั้น ผ่านการคัดเลือกจากธรรมชาติให้มีความหลากหลายมาเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี
      
ระหว่างกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาตินี้ สารพิษบางตัวได้มีวิวัฒนาการให้มีขีดความสามารถที่มีผลกระทบโดยตรงต่อช่องสัญญาณโซเดียมชนิดย่อย ในขณะที่สารพิษตัวอื่นๆ จำเพาะและมีผลกระทบต่อช่องสัญญาณโซเดียมของสัตว์ไม่มี่กระดูกสันหลัง อย่างเช่น แมลง เป็นต้น ซึ่งความหลากหลายในความจำเพาะต่อการออกฤทธิ์นี้ จะเป็นบทเรียนในการศึกษาว่าจะจัดการสารพิษโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมอย่างไรต่อไป
      
อย่างไรก็ดี ชาวจีนได้ใช้ประโยชน์จากพิษแมงป่องมานานหลายร้อยปีแล้ว โดยแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นการแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่งนั้น ได้ใช้พิษแมงป่องในการรักษาบางโรค ด้วยความเชื่อว่าเป็นพิษที่มีคุณสมบัติบรรเทาปวดสูง และบางการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า พิษแมงป่องสามารถนำไปใช้บำบัดโรคลมบ้าหมูได้
      
“เราศึกษาว่าพิษเหล่านี้จะให้ผลในการรักษาตามแบบแผนตะวันตกได้อย่างไร เพื่อดูว่าจะจะนำพิษนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นยาระงับปวดที่มีศักยภาพได้อย่างไร" ศ.กูเรวิทซ์กล่าว
      
การค้นพบนี้อาจช่วยแก้หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุดของวงการแพทย์ปัจจุบัน โดยความเจ็บปวดเป็นการตอบสนองเชิงกายภาพต่ออันตราย ความเจ็บปวดเชิงกายภาพ และสุขภาพย่ำแย่ และแพทย์ยังจำเป็นต้องลดความเจ็บปวดอันแสนสาหัสให้กับผู้ป่วย ซึ่งยาแอสไพรินไม่สามารถช่วยได้ ถึงทุกวันนี้ยาแก้ปวดที่มีองค์ประกอบของฝิ่นยังค่อนข้างได้ผล แต่ด้วยความเสี่ยงจากการใช้ยาแก้ปวดชนิดนี้วงการแพทย์จึงพยายามที่จะหาทางเลือกอื่นแทน
      
“ยาชนิดใหม่นี้มีประโยชน์ต่อความเจ็บปวดจากไฟไหม้และอวัยวะขาดที่รุนแรง ตลอดจนการใช้ในทางทหารและรับมือจากผลที่ตามมาเนื่องจากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ แทนที่จะยืดเยื้อต่อความเสี่ยงในการติดยา ยาซึ่งเลียนแบบเปปไทด์เป็นพิษนี้จะทำงานตามวิถีทางที่ควรจะเป็น และผ่านส่วนต่างๆ ของร่างกายไปโดยไม่ทิ้งร่องรอยหรือผลข้างเคียง" ศ.กูเรวิทซ์กล่าว




ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000025917









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (960 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©