-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 620 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย83





การผลิตการตลาดถั่วเหลืองจังหวัดเลย



ผู้วิจัย   นายกิจจา เภาราช
สังกัด   กลุ่มแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร
สังกัด   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3
โทร      0-4229-123 โทรสาร 0-4229-5123
E-mail 
gijja@oae.go.th


มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิต ถั่วเหลืองและโครงสร้างการผลิตถั่วเหลืองเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตและการตลาดให้มีประสิทธิภาพต่อไป
 
จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรปลูกถั่วเหลืองปีเพาะปลูก 2544/45 มีทั้งหมด 3,455 ครัวเรือน มีสมาชิกเฉลี่ย 4.74 คนต่อครัวเรือน เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.35 เพศหญิง ร้อยละ 44.65 อยู่ในวัยแรงงาน (อายุ 15-64 ปี) ร้อยละ 73.42 มีการศึกษาอยู่ในภาคบังคับ ร้อยละ 78.28 ขนาดเนื้อที่ถือครอง เฉลี่ยครัวเรือนละ 19.64 ไร่ มีรายได้เงินสดสุทธิเกษตรเฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือน 53,370.92 บาท และมีรายได้เงินสดสุทธิ    ต่อคน 7,848.91 บาท
 
ทรัพย์สิน – หนี้สิน จำนวนครัวเรือนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ปีเพาะปลูก 2544/45 จังหวัดเลย มีหนี้สินค้างชำระต้นปีเพาะปลูก ( ณ วันที่ 1 เมษายน 2544) เป็นเงิน 13,008.89 บาท/ครัวเรือน กู้ยืมมาใช้ระหว่างปีเพาะปลูก เป็นเงิน 25,444.44 บาท/ครัวเรือน คงเหลือหนี้สินปลายปี ( ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545) เป็นเงิน 22,922.08 บาท/ครัวเรือน
 
ประสิทธิภาพทางการเกษตรต่อหน่วยปัจจัยการผลิต จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ปีเพาะปลูก 2544/45 มีรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรรวม 9,580.17 บาท มูลค่าผลผลิตในฟาร์มที่นำมาบริโภคในครัวเรือน 6182.28 บาท และมีส่วนต่างของทรัพย์สินต้นปี และปลายปี -6935.11 บาท รวม รายได้เงินสดเกษตรรวม 33,013.49 บาท รายจ่ายเงินสดเกษตรรวม 23,433.33 บาท รายได้เงินสดสุทธิเกษตร 8,817.34 บาท รายได้เงินสดสุทธิเกษตรต่อไร่ 448.03 บาท รายได้เงินสดสุทธิเกษตรต่อแรงงาน 1 คน 2,499.81 บาท
 
ด้านการผลิต เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนการผลิตทั้งหมด 1,786.07 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 240.06 ก.ก./ไร่ บาท โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา 9.75 บาท/ก.ก. คิดเป็นต้นทุนต่อกิโลกรัม 7.44 บาท มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 554.52 บาท ผลตอบแทนสุทธิต่อกิโลกรัม 2.31 บาท ปัญหาในด้านการผลิตเกษตรกร มักประสบปัญหาเมล็ดพันธุ์ปลูกไม่เพียงพอและมีราคาแพงขาดเงินทุนสำหรับค่าปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายค่าแรงงาน
 
ด้านการตลาด พ่อค้าระดับท้องที่และระดับท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด โดยเกษตรกรผู้ผลิตขายผ่านพ่อค้าท้องที่และท้องถิ่นตามแต่พ่อค้าระดับใดจะมีกำลังซื้อและสถานที่เก็บมากน้อย ไม่เท่ากัน จากนั้นพ่อค้าท้องถิ่นรวบรวมส่งต่อไปยัง โรงงานสกัดน้ำมันพืช และพ่อค้ารายใหญ่นอกจังหวัด บางส่วนผู้ซื้อในตลาดระดับท้องที่และท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดราคารับซื้อจากเกษตรกรโดยรับซื้อตามความชื้น และใช้ราคาตลาดปลายทางเป็นตัวกำหนด ซึ่งราคาตลาดปลายทางขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศ การรับซื้อจะพิจารณาคุณภาพด้านความชื้น สิ่งเจือปน เชื้อรา สีและลักษณะเมล็ด แต่สำหรับการขายจะขายเป็นเกรดคละส่งตลาดปลายทางเกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรองราคาทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันเกษตรกรไปกู้ยืมเงิน และปัจจัยการผลิตจากพ่อค้าท้องที่และท้องถิ่นมาลงทุน
 
สำหรับต้นทุนการตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาด พ่อค้าท้องที่ มีค่าใช้จ่ายในการตลาด 10.08 บาท/ก.ก. สำหรับพ่อค้าท้องถิ่น ค่าใช้จ่าย 10.72 บาท/ก.ก.
 
กำไรและส่วนแบ่งที่เกษตรกรได้รับและพ่อค้าได้รับ กำไรของพ่อค้าประเภทต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 6.21 ต้นทุนการตลาด คิดเป็นร้อยละ 7.74 ส่วนแบ่งที่เกษตรกรได้รับ คิดเป็นร้อยละ 86.05
 
สรุปผลจากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบถั่วเหลืองรุ่น 1 กับรุ่น 2 พบว่าการผลิตถั่วเหลืองรุ่น 2 จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากราคาผลผลิตอยู่ระดับเดียวกันกับรุ่น 1 (ราคา 10.73 บาท/ก.ก.) เพราะผลผลิตต่อไร่สูงกว่ารุ่น 1 อีกทั้งในรุ่น 2 ยังไม่ประสบปัญหาด้านการผลิต แต่ประสบกับปัญหาด้านการตลาด ซึ่งปัญหาด้านการตลาดหากภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับเดียวกันและสามารถทำได้ทุกพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกถั่วเหลือง
 
ปัญหาอุปสรรค ด้านการผลิต ภาครัฐควรเพิ่มปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ดีจำหน่ายให้แก่เกษตรกรอย่างเพียงพอและมีราคาไม่แพง จัดการฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ การสาธิตการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม แนะนำการคัดคุณภาพ เช่น การทำความสะอาดและตากผลผลิตก่อนขายเพื่อให้ได้ราคา









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (1005 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©