-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 500 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ส้มโอ




หน้า: 3/4



ใช้ขี้แดดนาเกลือใส่สวนส้มโอ  ยืดอายุต้นพันธุ์ยาวนานกึ่งศตวรรษ

การทำเกษตรในยุคปัจจุบัน ที่ใช้หลัก "วิถีธรรมชาติ" ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นับเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเกษตรกรบ้านเรามาก ซึ่งนอกจากมีความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ยังเป็นการตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการ "เปิบ" อาหารที่ปลอดภัย ยังเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการจัดการ

ฉะนี้...เพื่อให้เกิดแนวทางการส่งเสริมอย่างมีแบบแผนเป็นรูปธรรม ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดทำ "โครงการอาหารปลอดภัยสมุทรสงคราม" ขึ้น

นายอรุณ เกิดสวัสดิ์ ผู้จัดแผนงานอาหารปลอดภัยฯ บอกว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนทุกอาชีพก็คือ "ความตื่นตัวในเรื่องของอาหารปลอด ภัย" ซึ่งนับว่าเป็นกระแสตอบรับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ปัจจุบันกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ มีความสนใจที่จะเข้ามาสัมผัส เรียนรู้ในวิถี แนวทางการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็น "อานิสงส์" ของภาคเกษตรในการผลิตอาหาร

...โดยต้องยึดหลักสำคัญคือ "ความปลอดภัย" ออกมาสู่ท้องตลาด เพื่อรองรับกลุ่มคนเหล่านี้ ที่ต้องการเข้ามาสัมผัสเรียนรู้ เก็บประสบการณ์ที่มีอย่างหลาก หลายอาชีพ ทั้งการทำขนมไทยอ่อนหวาน การผลิตน้ำตาลปลอดสาร รวมทั้งการปลูก "ส้มโอขาวอวบ" ของ อาจารย์สมทรง แสงตะวัน ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลบางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

อาจารย์สมทรง บอกให้ฟังว่า หลังกลับมารับราชการครูที่บ้านเกิด ช่วงปี 2514 ได้ซื้อที่ดินไว้จำนวนหนึ่ง ภายในพื้นที่ดังกล่าวมีส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่อยู่ 3 ต้น และ มะพร้าวตาล แรกๆนั้นได้เริ่มขยายกิ่งพันธุ์ส้มโอไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้ 300 ต้น ในระยะเวลา 7 ปี พอเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตขาย ทำให้มีเงินซื้อที่เพิ่มและปลูกบ้านให้ลูกและภรรยาอยู่

เมื่อเพื่อนบ้านเริ่มสังเกตเห็นว่ามีรายได้ที่ดีขึ้น ต่างเริ่มเข้ามาขอซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอเพื่อไปปลูกบ้าง จึงเข้าทางที่วางไว้นั่นคือ "ความต้องการให้คนในชุมชนมีการรวมกลุ่ม" เพราะจากการสังเกตที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ต่างคนต่างอยู่ ไม่ปรึกษาหารือ คนไหนที่พอมีความรู้บ้างก็จะหวงวิชา อย่างการใช้ปุ๋ยใส่ต้นไม้ ยังเอาฉลากออกไม่ให้เห็นว่าใช้ตราอะไร ดังนั้น หากชาวบ้านได้ทำงานพัฒนาร่วมกัน ช่วยกันคิด ตัดสินใจ มีการรวมกลุ่ม นอกจากทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ยัง แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลางได้

ในช่วงแรกรวบรวมได้ 57 สวน พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ใช้เกณฑ์ปฏิบัติร่วมกันคือ เน้นคุณภาพ ด้วยการเก็บผลผลิตตามกำหนด ถึงแม้ว่าราคาจะสูง คุณ-ธรรม หากผู้บริโภคซื้อไปแล้วกินไม่ได้ จะรับคืนโดยเรามีสติกเกอร์ติดบ่งบอกไว้ว่ามาจากสวนใด และ คุณประโยชน์ เรื่องของอาหารปลอดภัย อย่างการใส่ปุ๋ยเคมี กลุ่มจะใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพที่ได้จากขยะในครัวเรือนมาหมักกับกากน้ำตาล เพื่อให้ได้ ปุ๋ยชีวภาพ มาผสมกับมูลสัตว์หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใส่ต้นไม้ ทำให้ต้นทุนต่ำ รวมทั้งใช้ ขี้แดดนาเกลือ หรือที่เรียกกันว่า "ดินหนังหมา" ที่เดิมต้องจ้างคนงานขนทิ้ง

อาจารย์สมทรง บอกว่า สมัยเด็ก เคยเห็น พ่อเอาเกลือมาใส่โคนส้มโอ มะพร้าว แล้วเห็นว่าผลผลิตดก จุดนี้เองเลยขอขี้แดดเอามาใส่โคนต้นละ 3 กระสอบ รดน้ำทุกอาทิตย์ ผลผลิตออกมาหลายคนที่กินบอกว่าส้มโอหวานมาก นั่นก็เพราะ ว่า ในขี้แดดนาเกลือประกอบไปด้วย แพลงก์ตอน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารที่พืชต้องการ ทำหน้าที่ปรับโครงสร้างของดิน เมื่อผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ จึง ส่งเข้าประกวดชิงโล่พระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ที่ศูนย์ ศิลปาชีพบางไทร ซึ่งได้รางวัลยอดเยี่ยม ทำให้สวนส้มโอเราเป็นที่รู้จัก มีสื่อเข้ามาทำข่าว แต่ปีนั้นต้นส้มโอ ตายหมด มารู้สาเหตุทีหลังว่า เพราะใส่มากเกินไป

...ปริมาณการใช้คือใส่ขี้แดดเพียงแค่ ต้นละ 2 กก. ก็หวานเพียงพอ โดย ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใส่คือก่อนเก็บผลผลิต 50-60 วัน แล้ว รดน้ำทุกอาทิตย์ ซึ่งจะทำให้ส้มโอกรอบหวาน แห้ง ต้นพันธุ์มีอายุนานไม่ต้องเสียเวลายกสวน "โละ" ปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใส่ในแปลงมะละกอ ชมพู่ แก้วมังกร พุทรา ฝรั่ง ทุกวันนี้นอกจากชาวสวนบางคนทีไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ชาวนาเกลือยังมีรายได้จากการขาย "ขี้แดดหนังหมา" ปีๆหนึ่งโกยเงินเข้ากระเป๋านับล้านบาทกันทีเดียว

ใครที่สนใจแนววิถีธรรมชาติ สามารถกริ๊งกร๊างสอบถามกันได้ที่โทร.08-9829-7100, 0- 3476-1985 ในวันเวลาที่เหมาะสม.



เพ็ญพิชญา เตียว



ที่มา  :  ไทยรัฐ




ส้มโอ

การปลูก
การปลูกส้มโอในประเทศไทยมีทั้งการปลูกในพื้นที่ลุ่มแทนการทำนา เรียกว่า สวนส้ม และการปลูกในพื้นที่ดอนน้ำไม่ท่วมเรียกว่า ส้มไร่ ซึ่งมีวิธีการปลูกที่คล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่เท่านั้น

การเตรียมพื้นที่
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าส้มโอสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ซึ่งการปลูกส้มโอในดินแต่ละชนิดจะมีการเตรียมพื้นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อให้เตรียมพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม จึงแยกพื้นที่ปลูกส้มโอออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. พื้นที่ลุ่ม
ส่วนใหญ่เป็นสภาพพื้นที่ดินเหนียวมีน้ำท่วมขัง ระบายน้ำยาก มีระดับน้ำใต้ดินสูง การเตรียมพื้นที่ปลูกต้องทำการยกแปลงปลูกให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมถึงประมาณ 50 เซนติเมตร โดยทำการยกแปลงปลูกเป็นแปลงระหว่างแปลงปลูกจะเป็นร่องน้ำ และรอบๆ สวนส้มโอควรมีคันดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมแปลง ขนาดของแปลงปลูกกว้างประมาณ 6 – 8 เมตร ส่วนความยาวของแปลงไม่จำกัดแล้วแต่ความต้องการของผู้ปลูก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึกประมาณ 1 เมตร พื้นท้องร่องกว้าง 0.5 – 0.7 เมตร

2. พื้นที่ดอน
เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง การปลูกส้มโอในพื้นที่แบบนี้ไม่ต้องยกแปลงปลูก เพียงแต่ปรับพื้นที่ให้เรียบ กำจัดวัชพืชและไถกลบดินให้ลึกสัก 2 ครั้ง ถ้าเป็นดินเก่าที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ก็ควรหว่านพืชตระกูลถั่วลงไปแล้วไถกลบ เพื่อเป็นการเพิ่มปุ๋ยพืชสดให้กับดิน

ระยะปลูกและหลุมปลูก
เนื่องจากต้นส้มโอที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่ได้จากกิ่งตอน จึงมีทรงพุ่มไม่กว้างนัก ดังนั้นถ้าปลูกในสภาพที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี ใช้ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 8 X 8 เมตร แต่ถ้าปลูกในสภาพที่ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์นักหรือมีระดับน้ำใต้ดินสูงก็อาจจะปลูกให้มีระยะระหว่างต้นและแถวประมาณ 6 X 6 เมตร ฉะนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 25 – 40 ต้น

สำหรับหลุมปลูกควรมีขนาดความกว้าง ยาว และลึกประมาณ 0.5 – 1 เมตร ขุดหลุมโดยแยกดินชั้นบนและดินชั้นล่างกองไว้ปากหลุม แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน จากนั้นใช้ดินชั้นบนและดินชั้นล่างบางส่วนผสมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ หญ้าแห้ง เข้าด้วยกัน แล้วกลบลงไปในหลุมจนเต็มปากหลุม

วิธีปลูก
หลังจากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้วางลงตรงกลางหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงต้นกล้าสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับดินที่ชำพอดีกับดินปากหลุมใช้มีดที่คมกรีดถุงต้นกล้าจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้งสองด้านคือซ้ายและขวา เมื่อกรีดถุงแล้วให้ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นแล้วใช้ไม้ปักยึดกับลำต้น โดยปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อป้องกันลมโยก หาวัสดุต่างๆ เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง มาคลุมดินบริเวณโคนต้น รดน้ำให้ชุ่มแล้วหาวัสดุมาทำร่มเงา เช่น ทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่มาพรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพื่อช่วยพรางแสงแดดให้กับส้มโอที่ปลูกใหม่


การปฏิบัติดูแลรักษา

การให้น้ำ
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการตัดสินใจปลูกส้มโอ ช่วงที่ปลูกส้มโอใหม่ๆ จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าต้นส้มโอจะตั้งตัวได้ เมื่อส้มโอเจริญเติบโตได้ดีแล้วก็ให้น้ำเป็นครั้งคราวโดยสังเกตดูจากความชื้นในดิน การให้น้ำส้มโอต้องไม่ให้แฉะ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการขาดน้ำไม่ว่าในช่วงระยะใดก็ตามจะมีผลทำให้ต้นส้มโอชะงักการเจริญเติบได้โดยเฉพาะในระยะที่ผลส้มยังเล็กหรือเป็นระยะส้มรุ่นอยู่ หากขาดน้ำผลส้มโอจะมีขนาดเล็กลง และถ้าส้มโอได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้ผลส้มโอมีเปลือกหนาจะมีขนาดเล็กลง รสชาติออกอมเปรี้ยวมากและไม่สามารถควบคุมความหวานได้ ดังนั้นควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและปริมาณที่พอเหมาะ

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยส้มโอจะต้องให้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในการใส่ปุ๋ยเคมีจะต้องคำนึงถึงสูตรปุ๋ยหรือสัดส่วนระหว่างธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนิดของดินและอายุของต้นส้มโอ ถ้าเป็นส้มโอที่ปลูกใหม่จนถึงก่อนให้ผลจะต้องการปุ๋ยเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งก้าน ใบ และรากเท่านั้น ซึ่งในช่วงนี้ส้มโอต้องการปุ๋ยเคมีสูตรที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ส่วนธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมมีความต้องการปานกลาง ดังนั้นปุ๋ยเคมีที่จะให้แก่ส้มโอระยะนี้เช่น ปุ๋ยสูตร 20–10–10, 15-15-15 หรือ 10-10-10 เป็นต้น สำหรับต้นส้มโอที่ให้ผลแล้วจะมีความต้องการธาตุอาหารทั้ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ที่ใกล้เคียงกัน ปุ๋ยเคมีที่ให้แก่ส้มโอในระยะนี้ เช่น สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 หรือสูตรอื่นที่ใกล้เคียงกัน สำหรับปริมาณหรืออัตราปุ๋ยที่ใส่ให้คำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและอายุของต้นส้มโอเป็นหลัก

สำหรับระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยเคมี ถ้าหากต้นส้มโอยังเล็กหรือเพิ่งปลูกใหม่ๆ ระบบรากจะไม่สมบูรณ์นัก การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้ควรแบ่งใส่ปีละหลายครั้ง ครั้งละน้อยๆ จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพและสูญเสียน้อยที่สุด ส่วนส้มโอที่ให้ผลผลิตแล้วในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตจะต้องการธาตุอาหารในสัดส่วนที่แตกต่างกันดังนี้

1. ช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลเสร็จ

ส้มโอจะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านและใบมาก จะต้องการธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมปานกลาง ในช่วงนี้ควรใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียงใช้ในอัตรา 1 - 2 กิโลกรัมต่อต้น หรือใส่ในอัตราที่เพิ่มขึ้นตามขนาดอายุและผลผลิตในปีนั้นๆ แบ่งใส่ประมาณ 2 – 3 ครั้ง จนถึงฤดูกาลออกดอกอีกครั้งหนึ่ง

2. ช่วงออกดอก

จะมีความต้องการธาตุฟอสฟอรัสสูง ธาตุไนโตรเจนและโปแตสเซียมปานกลาง ในช่วงนี้ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-30-15 หรือ 15-15-15 หรือ 10-10-10 เป็นต้น และก่อนออกดอกควรใช้ปุ๋ยเสริมฉีดพ่นทางใบสูตร 15-30-15

3. ช่วงติดผลแล้ว

จะต้องการธาตุโปแตสเซียมสูง ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสต้องการปานกลาง ในช่วงนี้ควรใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 และควรให้ปุ๋ยเสริมฉีดพ่นทางใบสูตร 10-20-30 จะทำให้คุณภาพของผลผลิตส้มโอดีขึ้น

วิธีการใส่ปุ๋ย

ควรพรวนดินตื้นๆ รอบๆ บริเวณรัศมีของทรงพุ่ม แบ่งปุ๋ยที่จะใส่ออกเป็น 4 ส่วน โดยใส่บริเวณรอบๆ ทรงพุ่ม 3 ส่วน อีก 1 ส่วน ให้โรยบนพื้นดินภายในทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ชิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกลำต้นส้มโอเน่าและอาจทำให้ส้มโอตายได้

สำหรับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่จะใส่ให้แก่ส้มโอนั้น ถ้าสามารถกระทำได้ควรใส่ในช่วงฤดูแล้งหรือฝนไม่ชุกมากนัก จะทำให้ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี อีกทั้งยังช่วยลดความเป็นกรดของดินเนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีด้วย

การกำจัดวัชพืช

ในสวนส้มโอทุกแห่งมักจะมีปัญหามีวัชพืชขึ้นรบกวน ถ้ามีจำนวนมากจะก่อให้เกิดผลเสียหาย เพราะนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมโรคแมลงอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องคอยควบคุมอย่าให้มีวัชพืชมาก การกำจัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนรากหรือเกิดบาดแผลที่โคนต้น ควรพรวนดินเพื่อให้ดินโปร่ง กรณีถ้าต้องใช้สารเคมีฆ่าหญ้าหรือควบคุมหญ้าซึ่งได้แก่สารในกลุ่มพาราควอท เช่น กรัมม๊อกโซน กล๊าสโซน น๊อกโซน ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง คือต้องทำตามคำแนะนำในฉลากโดยเคร่งครัด และระวังอย่าให้ละออง สารเคมีไปโดนใบส้มโอเด็ดขาด ส่วนวัชพืชข้ามปีพวกหญ้าคาให้ใช้สารดูดซึมในกลุ่มไกลโฟเสทฉีดพ่น

การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งส้มโอเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะมีผลเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการออกดอกติดผลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งก็คือ ทำให้ลำต้นมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทำให้ต้นมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการเข้าไปปฏิบัติงานภายในสวนได้สะดวก ทำให้มีการติดผลกระจายทั่วต้นสม่ำเสมอ โดยที่ไม่ติดผลหนักมากไปที่กิ่งใดกิ่งหนึ่งและทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จากต้นที่มีการตัดแต่งกิ่งมีคุณภาพดีทั้งขนาดและรสชาติ

การตัดแต่งกิ่งส้มโอจะทำการตัดกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ถูกแมลงทำลาย กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้น รวมทั้งกิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ การตัดแต่งกิ่งดังกล่าวถ้าเป็นกิ่งเล็กควรใช้กรรไกรตัดแต่ง ถ้าเป็นกิ่งใหญ่ควรใช้เลื่อย ซึ่งควรกระทำด้วยความระมัดระวัง ควรเลื่อยด้านล่างก่อนแล้วจึงเลื่อยด้านบนให้เยื้องออกไปทางด้านปลายเล็กน้อย จึงจะทำให้กิ่งที่หักลงมาไม่ฉีกขาด การตัดแต่งกิ่งไม่ว่าจะเป็นกิ่งเล็กหรือกิ่งใหญ่ต้องตัดให้ชิดโคนกิ่งใหญ่กว่าให้มากที่สุด และหลังจากการตัดแล้วให้ใช้สารกันราหรือปูนแดงกินกับหมากผสมน้ำทาตรงรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อราเข้าไปทำลาย ในการตัดแต่งกิ่งส้มโอในระยะหลังจากที่ให้ผลผลิตแล้วจะต้องกระทำทุกปีหลังจากเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้ว


การบังคับให้ส้มโอออกดอก

การกักน้ำส้มโอเป็นการบังคับให้น้ำส้มโอออกดอกเร็วขึ้นและสม่ำเสมอกัน โดยการกักน้ำหรือสูบน้ำออกจากร่องสวนให้แห้ง ทิ้งไว้ประมาณ 7 – 30 วัน ระหว่างนี้ส้มโอจะเกิดอาการขาดน้ำ เฉา ใบซีด แล้วจึงปล่อยน้ำให้เข้าไปใหม่ ส้มโอจะดูดน้ำเข้าไปอย่างเร็ว หลังจากนั้นส้มโอจะผลัดใบและออกดอก นับจากให้น้ำจนถึงออกดอกใช้เวลาประมาณ 15-60 วัน วิธีนี้สามารถทำให้ส้มโอออกดอกเร็วขึ้นตามต้องการ แต่จะเป็นการทำให้ส้มโอโทรมเร็วกว่าที่ปล่อยให้ส้มโอทยอยออกดอกตามธรรมชาติ


การติดผล

ต้นส้มโอที่ปลูกจากกิ่งตอนจะเริ่มให้ผลได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป โดยเริ่มให้มีการติดผลทีละน้อยๆ คือ เริ่มจากปีที่ 3 อาจจะให้ติดผล 2 – 3 ผล พอปีที่ 4 ให้ติดผลได้ 15-20 ผล ทยอยให้มีการติดผลเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของต้นส้มโอเป็นหลัก และจะให้ติดผลได้เต็มที่เมื่อส้มโออายุได้ 7 ปีขึ้นไป ซึ่งผลผลิตของส้มโอจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งต้นส้มโอมีอายุ 10 ปี และในช่วงอายุ 10-15 ปี ผลผลิตของส้มโอจะคงที่ หลังจากปีที่ 15 ไปแล้วต้นส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตลดลง


การเก็บเกี่ยว

ส้มโอจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 3-4 ปี ช่วงออกดอกและติดผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน การเก็บเกี่ยวให้พิจารณาจากขนาด สีผล โดยสีจะจางลงจากสีเขียวเป็นสีเขียวอมเหลือง ต่อมน้ำมันจะห่างและจางลง บริเวณปลายผลจะแบนและนิ่มเมื่อใช้มือกด การเก็บเกี่ยวในกรณีที่ผลอยู่ไม่สูงนักก็ใช้มือปลิด ใช้จำปาสอย ใช้ขอติดแบบเชือกกระตุกต่อด้าม หรือใช้เครื่องเก็บแบบ กวศ.1 ซึ่งสามารถตัดผลตามซอกตามมุมต่างๆ ของต้นไม้และจำนวนผลร่วงหล่นหรือผลบอบช้ำมีน้อย จากนั้นก็ขนส่งมายังเรือนเพื่อคัดขนาดรอการจำหน่ายต่อไป

การปฏิบัติการหลังเก็บเกี่ยว
1) การเก็บเกี่ยว สังเกตลักษณะผล ผิวเปลือก ผิวเปลือกจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเข้ม เป็นสีเขียวอมเหลือง ต่อมน้ำมันบริเวณก้นผลจะขยายใหญ่และห่างกันมากขึ้น

2) การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว โดยคัดผลที่มีตำหนิ เช่น ผลช้ำมีบาดแผลจากการเก็บเกี่ยว มีร่องรอยการทำลายของโรคแมลง ทำความสะอาดผลส้มโอ โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดทั่วผล หรือล้างน้ำสะอาด เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและรอยคราบสารเคมีออกให้หมด หลังจากนั้น ผึ่งให้แห้ง และถ้ามีการเคลือบผิวส้มโอด้วยไข ก็จะทำให้ผลส้มโอมีผิวสวยขึ้น ซึ่งยังช่วยให้ยืดอายุการวางขายได้นานขึ้น พร้อมทั้งมีการคัดขนาด หรือคัดเกรดของผลส้มโอด้วย

3) การเก็บรักษา ในสภาพที่เหมาะสมคือ ใช้อุณหภูมิประมาณ13-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90% ทำให้ส้มโอคงสภาพดีอยู่ได้ประมาณ 2 เดือน ในกรณีที่เป็นส้มที่ผ่านการเคลือบไขมาแล้ว สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติประมาณ 1 เดือน

202.129.0.133/plant/orange2/3.html -



สรินนา อ้นบุตร

ส้มโอ...ผลไม้สร้างรายได้ให้เกษตรกร ที่ชัยภูมิ


หากจะนึกถึงแหล่งผลิตส้มโอในบ้านเรา ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าส้มโอปลูกมากในจังหวัดแถบภาคกลาง เช่น นครปฐม สมุทรสาคร ชัยนาท ราชบุรี แต่น้อยคนจะรู้ว่าจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีเกษตรกรชาวสวนปลูกส้มโอพันธุ์ทองดี บนพื้นที่หมู่บ้านหนองผักหลอด อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ จนเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น ผลผลิตที่ออกมาได้คุณภาพ รสชาติหวานอมเปรี้ยว เป็นที่ติดอกติดใจใครหลายคนไม่แพ้ส้มโอจากจังหวัดอื่น

จุดกำเนิดของส้มโอหมู่บ้านหนองผักหลอด เกิดจากแนวคิดของ คุณบุญมี นามวงศ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่นคนปัจจุบัน ได้ไปดูงานการทำสวนส้มโอของเกษตรกรที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม แล้วนำความรู้กลับมาใช้ในการพัฒนาอาชีพของตนเองที่จังหวัดชัยภูมิ เริ่มปรับเปลี่ยนแนวความคิดจากการทำนามาเป็นทำสวน ได้ปรับพื้นที่นาเป็นสวนส้มโอ โดยการทดลองปลูกส้มโอนำร่องเป็นคนแรก จำนวน 30 ไร่ ด้วยเงินลงทุน 120,000 บาท

ต่อมาได้ขยายผลแนะนำให้ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงหันมาทดลองปลูกส้มโอเพราะใช้น้ำน้อยกว่าทำนาและคิดว่าจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ได้ เนื่องจากทุกปี ไม่ว่าปัญหาภัยแล้ง การประกอบอาชีพทำนาของราษฎรในพื้นที่บ้านหนองผักหลอด ประสบปัญหาภาวะไม่คุ้มทุนและต่างพากันเป็นหนี้สินมาตลอด และมีรายได้จากการทำนาต่อปีได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาท ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกส้มโอกันมากขึ้น

โดยช่วงเริ่มปลูกแรกๆ เกษตรกรยังไม่มีการรวมกลุ่มกัน ต่างคนต่างปลูก ต่างคนต่างขาย ทำให้พ่อค้าเร่ที่เข้ามาซื้อผลผลิตกดราคา หรือบางครั้งก็ถูกหลอกขายส้มโอให้แล้วไม่ได้เงินเลยก็มี

ต่อมาทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิได้เข้ามาแนะนำให้รวมกลุ่มกัน แล้วใช้หลักสหกรณ์บริหารจัดการพร้อมทั้งสนับสนุนด้านกู้เงิน ส่งเสริมจัดหาปัจจัยการผลิตจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่นมีความเข้มแข็ง เปิดรับสมัครสมาชิกจนในปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 73 ราย พื้นที่เพาะปลูกส้มโอ จำนวน 420 ไร่ ผลผลิตต่อปีไม่น้อยกว่า 200,000 ลูก ส่วนใหญ่เป็นส้มโอพันธุ์ทองดี เพราะเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาด เหมาะสำหรับสภาพพื้นที่ที่จะปลูกในจังหวัดชัยภูมิด้วย ซึ่งช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ผลผลิตต่อต้นสูงสุด 170-180 ลูก

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกร ทำให้สามารถต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง และสามารถคัดแยกและตรวจสอบคุณภาพผลผลิตก่อนส่งออกจำหน่าย เพื่อกำหนดราคาซื้อขายตามเกรดของส้มโอ ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพของผลผลิตและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

ลักษณะพิเศษของส้มโอทองดีของบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เป็นส้มโอที่มีเปลือกบาง เนื้อมีสีเหลืองปนชมพู รสหวานอมเปรี้ยวกำลังดี กลิ่นหอม รับประทานแล้วต้องยกนิ้วให้ในเรื่องของรสชาติที่อร่อยจนติดใจ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงเข้ามาช่วยส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย และเริ่มเปิดตัวผลผลิตส้มโอบ้านแท่นเป็นครั้งแรก โดยนำไปจำหน่ายในงานเทศกาลบริโภคผลไม้ไทย ที่ห้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ที่ไปเที่ยวในงาน ทำให้สามารถขายส้มโอได้ 1,000 ลูก สร้างรายได้กว่า 40,000 บาท

ต่อมา กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น มีความต้องการให้มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจนและยั่งยืน กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องการจัดหาช่องทางการตลาดที่จะสร้างความมั่นคงให้กับการดำเนินธุรกิจจำหน่ายส้มโอของกลุ่มเกษตรกร โดย คุณชาญชัย นิมิตรมงคล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพัฒนาธุรกิจด้านพืชและผลิตภัณฑ์ สำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ พร้อมด้วย คุณวิลัยพร สอนมั่น ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อส่วนภูมิภาค (อาหารสด) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เดินทางไปเยี่ยมชมสวนส้มโอของกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ พร้อมทั้งเจรจาสั่งซื้อผลผลิตส้มโอเพื่อนำไปจำหน่ายในห้างแม็คโคร 10 สาขา ในช่วงเทศกาลสารทจีน ในปริมาณ 6,000-10,000 ลูก เพื่อเป็นการช่วยขยายช่องทางการตลาด และเป็นการเริ่มต้นเพื่อทดลองทำธุรกิจซื้อขายส้มโอกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ครั้งแรก โดยมี คุณไพรวัน พูลชัย ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด และ คุณอัมรินทร์ บุญสอน กรรมการสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด จังหวัดจันทบุรี ในฐานะผู้มีประสบการณ์ส่งผลไม้ขายให้กับห้างแม็คโคร ร่วมเดินทางไปครั้งนี้ด้วย เพื่อช่วยให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านการทำธุรกิจกับห้างโมเดินเทรด

ในระยะแรกของการส่งส้มโอให้กับห้างแม็คโคร ทางสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น เพื่อส่งจำหน่ายให้กับทางห้าง เนื่องจากต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพ และเกี่ยวข้องกับระบบบัญชี การสั่งจ่ายเงินของทางห้าง แต่ในระหว่างการเริ่มรวบรวมผลผลิตส้มโอ ทางสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด โดยผู้จัดการสหกรณ์ จะแนะนำวิธีการและขั้นตอนในการรวบรวมผลผลิต การคัดแยกเกรดก่อนส่งห้าง และการทำระบบบัญชีที่ได้มาตรฐาน พร้อมสำหรับการทำธุรกิจกับคู่ค้า ซึ่งเป็นห้างโมเดินเทรดหรือบริษัทผู้ส่งออก ให้กับคณะกรรมการของกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น เพื่อให้มีความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และสามารถดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าได้เองในฤดูกาลต่อไป

นอกจากการสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่นได้ทำธุรกิจซื้อขายส้มโอกับห้างแม็คโครแล้ว กรมส่งเสริมสหกรณ์ยังมีแผนส่งเสริมการตลาดส้มโอบ้านแท่น ส่งไปจำหน่ายยังประเทศเวียดนาม โดยในขณะนี้ได้ประสานงานกับ คุณศิริญา กันเปลือย ผู้จัดการบริษัท LT ไทยเวียดนาม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ส่งออกผลไม้รายใหญ่ของไทยไปยังประเทศเวียดนาม ได้นำส้มโอบ้านแท่นส่งไปทดสอบตลาดที่ประเทศเวียดนามแล้ว โดยส่งตัวอย่างส้มโอบ้านแท่นไปให้เจ้าของบริษัทนำเข้าผลไม้ของเวียดนามได้ทดลองชิมรสชาติ ได้รับผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ ชาวเวียดนามชื่นชอบรสชาติส้มโอทองดีของบ้านแท่น เนื่องจากคนเวียดนามนิยมรับประทานผลไม้ ได้แก่ ส้มโอเป็นอันดับหนึ่ง แต่ยังไม่มีคนนำส้มโอของไทยไปเปิดตลาด ส้มโอที่จำหน่ายในเวียดนามปัจจุบันเป็นส้มโอที่ปลูกภายในประเทศ รสชาติสู้ส้มโอของไทยไม่ได้

ดังนั้น ผู้ส่งออกผลไม้จึงมองเห็นลู่ทางว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะสามารถส่งส้มโอไปจำหน่ายยังประเทศเวียดนาม โดยจะเริ่มติดต่อเจรจาการซื้อขายไว้ล่วงหน้าข้ามปี คาดว่าในปี 2554 บริษัท LT ไทยเวียดนาม จำกัด จะเป็นผู้บุกเบิกตลาดส้มโอในประเทศเวียดนาม โดยจะส่งไปพร้อมๆ กับลำไยของภาคเหนือ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งทางบริษัทจะเน้นย้ำให้กลุ่มเกษตรกรคัดผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการส่งออก เพื่อให้ได้การยอมรับและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวเวียดนามด้วย

ส้มโอบ้านแท่น นอกจากจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างยั่งยืนแล้ว กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่นยังทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชน เปิดเป็นโรงเรียนการทำสวนส้มโอปลอดสารพิษแห่งแรกของประเทศ มาตั้งแต่ปี 2551 ที่ผ่านมา จนปัจจุบันนี้ ยังพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับส้มโอจังหวัดชัยภูมิ จนครองแชมป์อันดับ 1 ของประเทศต่อไป ผู้ที่สนใจส้มโอของเกษตรกรบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ สามารถโทร.ไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (082) 749-9785 และ (087) 441-4404

นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยเสริมรายได้ให้คนในชุมชนในด้านการเก็บผลผลิตเพื่อส่งออกในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ ค่าจ้างเก็บผลส้มโอ คัดแยก อีกไม่น้อยกว่าวันละ 200 บาท ต่อคน

ขณะที่คุณนิรันดร์ หนุ่มวัย 33 ปี ชาวบ้านหนองผักหลอด หมู่ที่ 9 พ่อค้าแผงส้มโอ ข้างทางถนนสายบ้านแท่น-ภูเขียว กล่าวว่า ในส่วนตนและญาติพากันปลูกสวนส้มโอคนละกว่า 20 ไร่ นอกจากเรื่องการมีรายได้จากการเข้ากลุ่มเพื่อส่งออกแล้ว ยังมีรายได้จากการนำส้มโอมาวางแผงจำหน่ายตามริมทางรวม 9 แผง ต่อวัน ยังสามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงนี้ได้ไม่น้อยกว่าวันละ 3,000 บาท อีกด้วย 


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05075011053&srcday=2010-10-01&search=no

                                   *************************************






หน้าก่อน หน้าก่อน (2/4) - หน้าถัดไป (4/4) หน้าถัดไป


Content ©