-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 603 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ส้มเขียวหวาน




หน้า: 1/2


               ส้มเขียวหวาน                

          ลักษณะทางธรรมชาติ
               
       * เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทอายุหลายสิบปี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายหรือดินดำร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  
                

       * ในอดีตแปลงปลูกส้มเขียวหวาย่านแขวงบางมด  เขตบางขุนเทียน  กทม.  มีน้ำทะเลขึ้นถึง  พื้นที่บริเวณนั้นจึงเป็นพื้นที่ลักจืดลักเค็ม ทำให้ส้มเขียวหวานเจริญเติบโตดีมาก  ครั้นถึงช่วงหนึ่งของฤดูกาลเมื่อสภาพอากาศเหมาะสมก็จะมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาดเข้าทำลายผลส้มทำให้ผิวส้มหยาบกร้าน จากนั้นชาวสวนจะใช้สารเคมีกำจัด  หลังจากเพลี้ยไก่แจ้ถูกทำลายไปแล้วผิวเปลือกก็ยังคงหยาบกร้านเหมือนเดิมและจะเป็นอย่างนั้นจนเก็บเกี่ยว  
เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายเซลล์ใต้เปลือก ทำให้เปลือกไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารส่งให้ผลได้ ขณะที่ผลกำลังเจริญพัฒนาต้องรับสารอาหารจากรากเท่านั้น จึงทำให้คุณภาพของผลที่เซลล์เปลือกถูกทำลายดีกว่าผลที่ไม่ทำลายและผลส้มเขียวหวานที่หยาบกร้านนี้คือที่มาของคำว่า  ส้มบางมด  จนถึงปัจจุบัน                

       * ส้มเขียวหวานคุณภาพดีมิใช่เกิดจากสภาพพื้นที่ลักจืดลักเต็มเป็นหลักแต่เป็นผลงานทางธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้  นั่นคือ เมื่อผลอายุ 7-8 เดือน (ก่อนเก็บเกี่ยว  1 เดือน) แล้วมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาด  ปล่อยให้เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายผลส้มไปก่อน 3-4 วัน แล้วจึงใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดสารออกฤทธิ์รุนแรงเฉียบพลัน (เทียบเท่ายาน็อก) ฉีดทำลายล้างเพลี้ยไก้แจ้เสีย จากนั้นบำรุงต่อไปตามปกติ ผิวเปลือกส้มเขียวหวานก็จะกร้านพร้อมกับคุณภาพรสชาติดี
เยี่ยมเหมือนส้มบางมดได้เช่นกัน
                   

       * ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น หรือทุกฤดูกาล และทุกสภาพอากาศ ตราบเท่าที่ต้นได้รับการปฏิบัติบำรุงจนมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ
  
                 
       *  ออกดอกติดผลจากซอกใบปลายกิ่งที่เกิดใหม่ในรุ่นนั้น ให้ผลดกเป็นช่อและมีความดกมากกว่าส้มอื่นๆทุกชนิด ออกดอกติดผลที่ชายพุ่มด้านข้างมากกว่าชายพุ่มด้านบนและไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งในทรงพุ่ม  เป็นดอกสม
บูรณ์เพศที่ผสมกันเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้ดี
                
       * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
                

       * อายุดอกจากเริ่มออกถึงดอกบาน 20-25 วัน  ระยะดอกบานผสมติดถึงผลแก่เก็บเกี่ยว8 เดือน 
                

       * ผลที่ติดเป็นพวงสามารถเก็บไว้ทั้งหมดได้โดยไม่ต้องซอยผลออก จากนั้นบำรุงทั้งทางใบและทางรากให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะได้ผลคุณภาพดีทั้งพวงและทุกพวงภายในต้น 

       * ระหว่างมีดอกผลอยู่บนต้นจะมียอดอ่อนแทงออกมาใหม่เสมอ     ไม่ควรปล่อยให้ยอดใหม่เจริญเติบโตจนเป็นกิ่งขนาดใหญ่โดยเฉพาะยอดใหม่ในทรงพุ่มเพราะจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ แต่ให้เด็ดทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆลักษณะยังเป็นยอดผักหวาน ส่วนยอดแตกใหม่ที่ชายพุ่มอาจจะพิจารณาเก็บไว้บ้างก็ได้สำหรับให้ช่วยสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร 

   
    * ช่วงติดผลหากได้รับไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้เปลือกหนา จุกสูง รกมาก กากมาก เป็นผลที่ด้อยคุณภาพ                 

       * อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก  แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี
                

       * ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ  แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ  รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป
 

       * ส้มเขียวหวานเสียบยอดบนตอมะกรูด.  มะขวิด.  หรือส้มจากต่างประเทศทุกสายพันธุ์  เมื่อต้นโตขึ้นส่วนตอจะใหญ่แต่ส่วนต้นเขียวหวานจะไม่โตตาม  ทำให้เกิดอาการ  "ตีนช้าง"  (ตอใหญ่-ต้นเล็ก) ซึ่งต้นส้มเขียวหวานที่เสียบบนตอไม้ดังกล่าวจะให้ผลผลิตดีเพียง 3-5 ปีแรก  หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตลดลงทั้งความดกและคุณภาพ                


          สายพันธุ์
               
          บางมด (พันธุ์ดั้งเดิม).  เขียวดำเนิน (กลายพันธุ์มาจากบางมด).
                

          ส้มเขียวหวานแจ็คพ็อต
               
          แม้ว่าส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคกันตลอดทั้งปีก็ตาม แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน  สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์  ส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้เพื่อการบริโภคแล้วยังเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกด้วย ส่งผลให้ส้มเขียวหวานมีราคาแพงขึ้นไปอีก ชาวสวนส้มหลายรายแบ่งพื้นที่ (โซน) สวนส้มออกเป็น 4 แปลง แล้วบำรุงส้มเขียวหวานให้ออกเฉพาะตรงกับเทศกาลเท่านั้น โดยไม่สนใจช่วงใดๆของปีทั้งสิ้น การบำรุงให้ต้นส้มเขียวหวานออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ ณ ช่วงเวลาตามต้องการนั้น     ผู้ปลูกต้องเข้าใจช่วงพัฒนาการของต้น
อย่างลึกซึ้ง การให้สารอาหารแต่ละชนิดต้องถูกต้องตรงตามความต้องการของต้นส้มอย่างแท้จริงไม่ใช่ตรงตามความต้องการของคน
   


         
การปฏิบัติบำรุงต่อส้มเขียวหวานแจ็คพอต
                                 

       - เดือน  พ.ย.- ธ.ค.              ล้างต้น   ตัดแต่งกิ่ง   เรียกใบอ่อ
       - เดือน  ม.ค.- ก.พ.              สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
       - เดือน  มี.ค. (ต้นเดือน)         ปรับ ซี/เอ็น เรโช            
       - เดือน  มี.ค. (ปลายเดือน)      เปิดตาดอก
       - เดือน  เม.ย.                     บำรุงดอก
       - เดือน  พ.ค.-มิ.ย.               บำรุงผลเล็ก
       - เดือน  ก.ค.-ต.ค.               บำรุงผลกลาง
       - เดือน  พ.ย..                    บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
       - เดือน ธ.ค.-ม.ค. (ต้นเดือน)    เก็บเกี่ยว 

         หรือ..........
                                                

       - ล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน   2     เดือน
       - สะสมอาหารเพื่อการออกดอก     2     เดือน                 
       - ปรับ ซี/เอ็น เรโช                 15    วัน
       - เปิดตาดอก                        15    วัน
       - บำรุงดอก (ตูม-บาน)             1     เดือน
       - บำรุงผลเล็ก                       2     เดือน
       - บำรุงผลกลาง                     5     เดือน
       - บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว          1     เดือน               

         หมายเหตุ  :
               
       - เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนใด ให้นับเวลาย้อนหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวมาถึงวันล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน โดยทำเครื่องหมายบนปฏิทินเลยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติบำรุงรวมทั้งสิ้น 13-14  เดือน/ 1 รุ่นการผลิต
 
       - ในระบบธรรมชาติไม่สามารถกำหนดจำนวนวัน/เดือนหรือตัวเลขแบบตายตัวลงไปได้ เนื่องจาก  ปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวเลขทุกอย่างเป็นไปในลักษณะโดยประมาณเท่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ด้วยทุกครั้ง  และอย่าตั้งความหวังว่าทุกอย่างที่วางแผนไว้จะต้องดำเนินไปอย่างราบรื่นความสำเร็จทุกขั้นตอนเสมอไป                
       - เทคนิคการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องจนถึงปีที่ 3 ต้นส้มจะมีความสมบูรณ์อย่างมาก  จะส่งผลให้ต้นตอบสนองต่อการบำรุงต้นในช่วงต่างๆดีและแน่นอน 
                
       - ช่วงเวลาต้นเดือนหรือปลายเดือนให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีอายุผลตั้งแต่ผลติดถึงเก็บเกี่ยว (8 เดือน) เป็นตัวกำหนด      
                
       - หากต้องการให้ส้มเขียวหวานออกช่วงเทศกาลอื่น (สารทจีน  เชงเม้ง  ไหว้พระจันทร์)ก็ให้คำนวณในลักษณะเดียวกันโดยการนับถอยหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตมาถึงวันเริ่มล้างต้น ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน (12-13 เดือน) แล้วลงมือปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน.....หรือเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนเดือนใดของปีนี้  ก็จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นนั่นเอง
       - วิธีบำรุงให้  “ผลแก่ก่อนกำหนด”  หรือ  “ผลแก่ช้ากว่ากำหนด”  20-30 วัน  ก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
       -  ข้อยุ่งยากก็คือช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ซึ่งจะต้องงดการให้น้ำเด็ดขาดนั้น
หากตรงกับช่วงหน้าฝนจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากมากหรือทำการงดน้ำไม่ได้เลย
 




เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มเขียวหวาน


แบบรายงานเรื่องเต็มผลการวิจัยที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2550
1. แผนงานวิจัย การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตในพื้นที่
2. โครงการวิจัย การศึกษาระบบการผลิตพืช


4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางพัชรี เนียมศรีจันทร์ สังกัด สวพ.2
หัวหน้าการทดลอง นายชัยศักดิ์ แผ้วพลสง สังกัด สวพ.3
ผู้ร่วมงาน นายพลากร บัณฑิตวงษ์ สังกัด สวพ.3
นางสาวรพีพร ศรีสถิตย์ สังกัด สวพ.3
นางสาวกุศล ถมมา สังกัด สวพ.3
นายมะนิต สารุณา สังกัด ศบป.เลย
นางทิพย์ดรุณี สิทธินาม สังกัด ศบป.เลย
นางสาวสายชล จันมาก สังกัด ศบป.เลย
นายประพาส แยบยน สังกัด ศบป.เลย




5. บทคัดย่อ
การทดสอบและพัฒนาชุดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มเขียวหวานแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นโครงการที่อยู่ในชุดโครงการทดสอบและพัฒนาชุดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มเขียวหวานแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ.2548 โดยกลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย และหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ดำเนินงานในแปลงเกษตรกรผู้ปลูกส้มจังหวัดเลย ในเขตอำเภอเมือง อำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว จำนวน 14 แปลง 
โดยทำการเลือกพื้นที่แล้วจัดเสวนาระดมความคิดร่วมกันระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่เพื่อวินิจฉัยปัญหาและกิจกรรมทดสอบ หลังจากนั้นรับสมัครเกษตรกรอาสาร่วมดำเนินงานทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มในแปลงของเกษตรกรโดยเกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการในแปลงและเก็บข้อมูล กรรมวิธีทดสอบมี 2 กรรมวิธี คือ


1) กรรมวิธีเกษตรกร ปฏิบัติตามที่เกษตรกรปฏิบัติ
2) กรรมวิธีปรับปรุง มีการปฏิบัติและใส่ปุ๋ยเคมีตาม GAP ใช้กับดักแมลงวันทอง


ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มมี 3 กลุ่มได้แก่

1) กลุ่มตำบลเหล่ากอหก อำเภอนาแห้ว เป็นเกษตรกรรายย่อย มีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การปลูกขิง  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ข้าว  ถั่วดำ ยางพารา  และสวนส้ม  มีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีต่ำ  ใช้น้ำจากภูเขา


2) กลุ่มตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง เป็นเกษตรกรรายย่อย มีกิจกรรมการปลูกส้ม ข้าว ยางพารา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปัญหาที่พบในการปลูกส้มคือโรคโคนเน่า ผลร่วงจากแมลงวันทอง


3) กลุ่มตำบลโป่ง อำเภอด่านซ้าย เป็นเกษตรกรรายย่อย มีกิจกรรมการปลูกส้ม ข้าวและมะม่วง มีปัญหาการปลูกส้มด้านราคาตกต่ำ ผลการทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มเขียวหวาน พบว่า ในปีที่1 กรรมวิธีปรับปรุง ผลผลิต 24 – 120 กก./ ต้น สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ผลผลิต 23 – 80 กก./ ต้น ค่า%TSS กรรมวิธีปรับปรุง 11.5% กรรมวิธีเกษตรกร 9 % ปีที่ 2 กรรมวิธีปรับปรุง ผลผลิต 215 กก./ ต้น สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ผลผลิต 120 กก./ต้น ค่า%TSS กรรมวิธีปรับปรุง 11.8 % กรรมวิธีเกษตรกร11.0 %



6. คำนำ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานประมาณ 5,000 ไร่ ปัญหาการผลิตได้แก่โรคแมลงศัตรูส้มระบาดอย่างรุนแรง ทำให้ต้องใช้สารเคมีมากอาจทำให้ผลผลิตไม่ปลอดภัยและ คุณภาพผลผลิตยังไม่ดีเท่าที่ควร รสชาติจืด จำเป็นต้องเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้จำหน่ายได้ราคาดีขึ้น โดยใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง พัฒนาการผลิตโดยใช้ฐานความรู้เป็นหลักตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลปัจจุบัน ใช้ภูมิปัญญาของเกษตรกรผนวกกับเทคโนโลยีหรือผลงานวิจัยที่มีอยู่ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ เทคโนโลยีหรือผลงานวิจัยที่ผ่านมาและเอกสารที่เกี่ยวข้องรวบรวมได้ดังนี้


กรมวิชาการเกษตร (2545) รายงานว่าเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) สำหรับส้มเขียวหวาน สภาพพื้นที่ ควรสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 750 เมตร ห่างจากแหล่งปลูกส้มเดิมที่มีการระบาดของโรคอย่างน้อย 10 กิโลเมตร ลักษณะดิน ควรมีอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร การใส่ปุ๋ย วิเคราะห์ดิน 1-2 ปีต่อครั้ง เพื่อให้ปุ๋ยตามสูตรและอัตราที่เหมาะสม ถ้า pH ต่ำกว่า 5.5 ควรใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 1-2 กก./ต้นปีละ 1-2 ครั้งในฤดูแล้งแล้วให้น้ำตาม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กก./ต้นในปีแรก และ20-50 กก./ต้นในปีที่ 2-4 โดยใส่ปีละครั้งช่วงปลายฤดูฝน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0 (1: 1) อัตรา 0.5-1.0 กก./ต้นในปีแรก โดยแบ่งใส่ 4-6 เดือนต่อครั้ง และอัตรา 1-2 กก./ต้น ในปีที่ 2-4 โดยใส่ 3-4 เดือนต่อครั้ง อายุ 4 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยดังนี้ ก่อนออกดอกใส่สูตร 12-24-12 อัตรา 1 กก./ต้นและพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ระยะติดผล ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน และแมงกานีส เป็นต้น  โดยพ่นทางใบ ช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 1-2 กก./ต้น หลังเก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ย 15-15-15 + 46-0-0 (1:1) อัตรา 1-3 กก./ต้นพร้อมพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมและให้ปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กก./ต้น การให้น้ำ ให้น้ำ 20-40 ลิตร/ต้นทันทีหลังปลูก และให้อีกครั้งห่างจากครั้งแรก 2-5 วัน จนส้มตั้งตัว อย่าให้ส้มขาดน้ำจนมีอาการเหี่ยว  ช่วงเวลาให้น้ำที่เหมาะสมคือ 08.00-10.00 และ 14.00-16.00 น. การบังคับน้ำ หลังส้มแตกใบอ่อน 60 วันในช่วงอากาศร้อน หรือ 90 วันในช่วงอากาศเย็น เริ่มงดการให้น้ำ ระยะเวลางดการให้น้ำ ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดทรงพุ่ม และสภาพดินฟ้าอากาศ โดยสังเกตจากการเหี่ยวของใบส้มเร็วขึ้นแต่ละวัน ถ้าใบเหี่ยวช่วงเวลา 10.00-11.00 น. ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับการงดน้ำ หลังจากนั้นให้น้ำติดต่อกันจนส้มออกดอกติดผล



ศัตรูที่สำคัญ
1) โรคกรีนนิ่ง ป้องกันกำจัดโดยไม่ปลูกพืชอาศัยของแมลงพาหะ เช่น ต้นแก้ว พบต้นที่เป็นโรคต้องขุดและเผาทำลายนอกแปลงปลูก ป้องกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้โดยพ่นอิมิดาคลอพริด (10% LS) หยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน


2) โรคทริสเทซ่า ป้องกันกำจัดโดย พบต้นที่เป็นโรคต้องขุดและเผาทำลายนอกแปลงปลูก ป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนแมลงพาหะโดยพ่นคาร์โบซัลแฟน (20% EC) หยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน


3) โรครากเน่าโคนเน่า ป้องกันกำจัดโดยใช้ต้นตอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรค เช่น ทรอยเยอร์ คลีโอพัตรา ปรับสภาพดินให้มี pH 5.5-6.5 โดยใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ ปีละ 1-2 ครั้ง ไม่ให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น ใช้สารเมทาแลคซิล (25% WP)


4) หนอนชอนใบ ป้องกันกำจัดโดยจัดการให้ส้มแตกใบอ่อนพร้อมกัน หากพบหนอนชอนใบมากกว่า 50 % ใช้สารอิมิดาคลอพริด (10 % SL) หรือฟลูเฟนนอกซูรอน (5 % EC) หยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน


5) เพลี้ยไฟพริก ใช้สารอิมิดาคลอพริด (10% LS) หรือโฟซาโลน (35% EC) หยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน


6) ไรแดง ใช้สารโปรปาไกต์ หยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน ไรสนิมส้ม ใช้กำมะถัน (80% WP) หยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน การเก็บเกี่ยว นับจากวันออกดอกถึงเก็บผลใช้เวลา 8.5-10 เดือน


ประเสริฐและคณะ (2546) รายงานว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการร่วงของผลส้ม ได้แก่ ความรุนแรงของการเป็นโรคกรีนนิ่ง กิ่งที่เป็นโรคมากจะมีการร่วงของผลในทุกรุ่นมากกว่ากิ่งที่เป็นโรคน้อย การจัดการเพื่อลดการร่วงของผล พบว่าการปรับ pH ของดินร่วมกับการจัดการปุ๋ยตามแบบของกรมวิชาการเกษตรช่วยลดปริมาณการร่วงของผลได้ในระดับหนึ่ง


กรมวิชาการเกษตร (มปป.) ได้ศึกษาสาเหตุการทรุดโทรมของส้ม พบว่ามีสาเหตุหลักมาจากโรคกรีนนิ่ง โรคทริสเตซ่า และโรครากเน่าโคนเน่า สาเหตุรองได้แก่ การกักน้ำส้มนานเกินพอดี การทำให้ส้มมีผลผลิตหลายรุ่น ปริมาณการติดผลที่ไม่สมดุลกับความสมบูรณ์ของต้น ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินและการให้ธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมกับปริมาณผลผลิตส้มที่ได้รับ และสภาพดินเป็นกรดจัด ทำให้ไม่เกิดความสมดุลของธาตุอาหาร แนวทางฟื้นฟูสวนส้มแบบบูรณาการ คือ แก้ปัญหาหลัก คือโรคกรีนนิ่งและทริสเตซ่า ซึ่งไม่สามารถรักษาต้นส้มให้หายจากโรคนี้ได้ การฟื้นฟูระยะสั้นอาจทำได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีผลอย่างถาวร การแก้ปัญหาอย่างถาวรและยั่งยืน อาจทำได้โดยการใช้ต้นส้มปลอดโรคปลูกทดแทนเช่นในหลายประเทศปฏิบัติ แต่ต้องมีการทำอย่างเป็นระบบดังนี้ คือ


1) ต้องขุดรากถอนโคนพืชตระกูลส้มที่เป็นโรค และพืชอาศัยของแมลงในพื้นที่ให้หมดก่อนปลูกส้มปลอดโรค


2) กำหนดเขตปลูกส้มปลอดโรค และบังคับใช้กฎหมายกักกันพืชเพื่อป้องกันโรคและแมลงพาหะจากภายนอกเขต


3) ควบคุมแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไก้แจ้และเพลี้ยอ่อนซึ่งมีการระบาดมากในช่วงส้มแตกใบอ่อน ดังนั้นเมื่อส้มเริ่มแตกใบอ่อนจึงควรพ่นสารเพื่อกำจัดหรือลดปริมาณเพลี้ยทั้ง 2 ชนิด


4) ถ้าตรวจพบส้มเป็นโรคควรรีบป้องกันกำจัดโดยตัดกิ่งที่มีอาการของโรคหรือถ้าพบทั้งต้นในระยะเล็กอาจจะถอนทิ้งและเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อในแปลงปลูก ถ้าพบโรคกรีนนิ่ง ในช่วงอายุ 1-3 ปี ควรรีบตัดกิ่งที่แสดงอาการของโรคออกโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เชื้อลุกลามไปยังกิ่งอื่น การเกิดโรคเมื่อต้นอายุมากขึ้นอาจมีผลกระทบไม่รุนแรงนักกับผลผลิตและอาการทรุดโทรมของต้นส้ม


5) อย่านำต้นส้มที่เป็นโรคหรือไม่ได้รับการรับรองว่าปลอดโรคเข้าในสวนเป็นอันขาดเพราะอาจเป็นการนำเชื้อโรคกลับเข้าสวนอีก


ชลิดาและคณะ (2541) รายงานว่าในส้มเขียวหวานอายุ 1 – 2 ปี การพ่นด้วยน้ำมันปิโตรเลี่ยม DC ตรอน Plus และ Hoech oil ที่มีความเข้มข้น 0.3 – 2.0% และ FT99 ความเข้มข้น 0.3 – 0.5% พ่นให้ทั่วต้นจนเปียก สามารถป้องกันกำจัดตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ส้มได้ผลเกือบ 100% ภายใน 5 วัน หลังพ่นสาร ส่วนสารฆ่าแมลง imidacloprid + สารจับใบ (Aridex) อัตรา 8+5 มล./ น้ำ 20 ลิตร ป้องกันกำจัดตัวอ่อนได้ 100% ภายใน 1-3 วัน หลังพ่นสาร


วันทนีย์ (2547) รายงานว่าการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่ผสมรำและปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหว่านลงดินใต้ทรงพุ่มหรือบริเวณรากตามขนาดรัศมีทรงพุ่ม (จากโคนต้นถึงชายพุ่ม) คือรัศมีทรงพุ่ม 1 เมตร ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสด 600 กรัม/ต้น รัศมีทรงพุ่ม 1.5 2.0 2.5 3.0 และ 3.5 เมตร ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา 1.5 3 4 6 และ 8 กก./ต้น ตามลำดับ หรืออาจใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมน้ำ (กรองเมล็ดข้าวออก) ฉีดพ่นลงดินใต้ทรงพุ่มหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ โดยรัศมีทรงพุ่ม 1 เมตร พ่น 2 ลิตร/ต้น รัศมีทรงพุ่ม1.5 2.0 2.5 3.0 3.5 และ 4.0 เมตร พ่น 3 6 8 12 16 และ 20 ลิตร/ต้น ตามลำดับ กรณีป้องกันโรคสามารถทำได้ปีละ 4-6 ครั้ง สำหรับการรักษาโรคจำนวนครั้งขึ้นอยู่กับอาการและสภาพแวดล้อม


พฤกษ์ (2524) รายงานว่าการวิจัยในศูนย์วิจัยและในสถานีทดลองจะเน้นหนักในด้านเฉพาะสาขาวิชา ขาดการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมและองค์รวม (Holistic view) ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรจะมีกิจกรรมหลายๆอย่างพร้อมกันไป เช่น มีกิจกรรมด้านพืช สัตว์ ประมง สังคม รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ การดำเนินการวิจัยโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในสภาพไร่-นา สวนเกษตรกร จึงจำเป็นต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นในกิจกรรมต่างๆ


อารันต์ (2527) รายงานว่า การถ่ายทอดผลงานวิจัยที่ทำในสถานีทดลองไปสู่เกษตรกรโดยตรงมักจะพบอยู่เสมอว่าเกษตรกรไม่ยอมรับ ต่อมามีการนำไปทดสอบในพื้นที่เกษตรกร แต่นักวิจัยเป็นผู้ควบคุมดูแลการผลิต ให้คำแนะนำ สนับสนุนปัจจัยการผลิตบางประการ ทำให้สามารถทดสอบความเหมาะสมของเทคโนโลยีกับสภาพที่แท้จริงของเกษตรกร การที่เกษตรกรไม่ยอมรับเทคโนโลยีในบางครั้ง อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีนั้นดีในสายตานักวิจัย แต่ไม่ใช่ของเกษตรกรก็ได้ ซึ่งเกณฑ์การประเมินของนักวิจัยต่างกับของเกษตรกร


7. อุปกรณ์ละวิธีการ
7.1 การเลือกพื้นที่เป้าหมาย ทำการประสานงานกับเกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตส้มเขียวหวาน และคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย

7.2 การวิเคราะห์พื้นที่และวินิจฉัยปัญหา จัดเวทีเสวนากลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย เพื่อให้ทราบข้อมูลของพื้นที่ ทัศนคติของเกษตรกรต่อการผลิตส้มเขียวหวาน ระบบการผลิตส้มเขียวหวานของเกษตรกร ปัญหาการผลิตด้านมาตรฐานคุณภาพ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตส้มเขียวหวานให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

7.3 วางแผนการทดสอบ จากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตส้มเขียวหวานให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ นำชุดเทคโนโลยีเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) หรือผลงานวิจัยที่ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้นไปต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิม โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการปรับใช้ชุดเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม แล้วกำหนดเป็นกรรมวิธีปรับปรับปรุงเพื่อทดสอบเปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกร แล้วหาเกษตรกรอาสาสมัครร่วมดำเนินการทดสอบ กลุ่มละ 5 รายๆละ 2 ไร่ กรรมวิธีละ 1 ไร่


8. แบบและวิธีการทดสอบ
8.1) แผนการทดลอง ดำเนินการในแปลงเกษตรกรโดยใช้เกษตรกรเป็นซ้ำ มี

กรรมวิธีทดสอบดังนี้
8.1.1) กรรมวิธีเกษตรกร และ
8.1.2) กรรมวิธีปรับปรุง


8.2) วิธีปฏิบัติการทดลอง ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรอำเภอเมือง ด่านซ้ายและนาแห้วจังหวัดเลย พื้นที่อย่างน้อย 28 ไร่ เกษตรกร 14 ราย ๆ ละ 2 ไร่ โดยเกษตรกรแต่ละรายแบ่งพื้นที่ 672 ตารางเมตร (28 ต้น) ปฏิบัติตามกรรมวิธีปรับปรุง พื้นที่ส่วนที่เหลือปฏิบัติตามกรรมวิธีของเกษตรกร โดยมีการปฏิบัติตามกรรมวิธีดังนี้
8.2.1) กรรมวิธีเกษตรกร ปฏิบัติตามวิธีเกษตรกร
8.2.2) กรรมวิธีปรับปรุง ก่อนดำเนินการใช้กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม โดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางร่วมปรับใช้เทคโนโลยีเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) หรือผลงานวิจัยที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยหลังเก็บเกี่ยววัด pH ของดิน ถ้าต่ำกว่า 5.5 ใส่ปูนโดโลไมท์ อัตรา 1-2 กก./ ต้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 20-50 กก./ต้น ใส่เชื้อไตรโคเดอร์มาลงดินบริเวณโคนต้นใส่ปุ๋ย 15-15-15 + 46-0-0 (1:1) อัตรา 1-3 กก./ต้น พร้อมพ่นปุ๋ยทางใบมีธาตุอาหารรองและอาหารเสริมและ ก่อนออกดอกใส่ปุ๋ย 12-24-12 อัตรา 1 กก./ต้น และพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มธาตุอาหารรองและอาหารเสริม ระยะติดผล ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมทางใบ เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอนและแมงกานีส เป็นต้น ก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 เดือนใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 1-2 กก./ต้น การป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามความจำเป็นและงดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วันวางกับดักแมลงวันทองรอบแปลงในช่วงติดผล



9. สิ่งที่ใช้ในการทดลอง
9.1 สวนส้มเขียวหวานอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป
9.2 เครื่องมือวัด pH ของดิน, Hand Refractometer
9.3 ปูนโดโลไมท์
9.4 ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 , 46-0-0, 12-24-12 และ 13-13-21
9.5 สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตามความจำเป็น
9.6 หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา และวัสดุขยายเชื้อ
9.7 เมธิลยูจีนอล ทะเบียนวิจัยส้มเขียวหวาน



10. การนำไปใช้ประโยชน์ :
ให้ระบุว่าผลงานที่สิ้นสุดได้นำไปใช้ประโยชน์ พัฒนาต่อหรือถ่ายทอดได้ในประเด็นอะไรบ้าง(ระบุเป็นข้อๆ)


11. ควรมีการพัฒนาการใส่ปุ๋ยอินทรีย์พร้อมเชื้อไตรโคเดอร์มาทางดินเพื่อป้องกันการเกิดโรคโคนเน่าจากเชื้อรา


12. ควรมีการติดตามสถานการณ์การเกิดโรคกรีนนิ่งในแปลงเกษตรกรเพื่อหาทางป้องกันหรือลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


 




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©