-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 497 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม5





กังหันลมแรงต่ำ สร้างพลังงานสะอาด


ในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ไทยก็เริ่มให้ความสำคัญกับพลังงานจากลมบ้างแล้ว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ตระเวนหาพื้นที่ที่เหมาะกับการลงทุนพลังงานสะอาดชนิดนี้


เรื่อง : เบญจมาศ เลิศไพบูลย์


“สร้างตรงไหนก็มีปัญหาทั้งนั้นแหละ แค่ขอไม่ใช่หลังบ้านเรา” เสียงผู้ร่วมทริปดูกังหันลมในญี่ปุ่น สร้างความขำขันให้กับพวกเรา และดูเหมือนจะพูดถูกต้องที่สุด เพราะต่อให้เจ้าใบพัดกังหันลมมหึมาที่ตั้งอยู่ตรงหน้าจะดูเก๋ เท่แค่ไหน แต่คงไม่มีใครอยากให้มันผุดขึ้นหลังบ้านแน่


จริงแล้วกังหันลมในบ้านเราที่อิมปอร์ตกังหันจากจีน ก็มีให้เห็นที่ลำตะคองจ.นครราชสีมา ไม่ต้องนั่งเครื่องบินข้ามมาดูถึงญี่ปุ่นก็ได้ เพียงแต่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน อยากให้เห็นว่า เจ้าเสาที่ตั้งสูงตรงหน้าในโตเกียวประเทศญี่ปุ่นนั้น ก็ไม่ได้ต่างจากบ้านเราในเรื่องแรงลม แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังสนับสนุนพลังงานสะอาดประเภทนี้ โดยให้เอกชนเสนอตัวเข้าร่วมดำเนินงาน แล้วรัฐบาลจะอุดหนุนอัตราส่วนเพิ่มไฟฟ้าให้อีกส่วนหนึ่ง

 

เท่ากับว่าประเทศไทยก็สามารถมีพลังลมคลื่นเต่านี้ได้ แม้ลมจะพัดเอื่อย ไม่เหมือนเจ้าตำรับกังหันลมในประเทศเดนมาร์ก และถ้าแหงนมองด้วยตาเปล่าก็จะเห็นด้วยตามนั้นคือ ใบพัดไม่ได้ปะทะแรงลมหมุนให้เห็นสักนิด มีเพียงโลโก้เบ้อเริ่มของ เจ เพาเวอร์ แสดงความเป็นเจ้าของเสาขนาดยักษ์ ซึ่งใบพัดที่ว่านี้มีอัตราเฉลี่ยความเร็วลมของเจ้าใบพัดยักษ์จะอยู่ที่ 5.4 เมตรต่อวินาที ณ ความสูงที่ 44 เมตร


ปัจจุบันผู้ลงทุนพลังงานลมในญี่ปุ่นมีหลายเจ้า แต่กังหันลมที่ไปดูครั้งนี้เป็นของเจ เพาเวอร์ ร่วมทุนกับบรรษัท โตโยต้า ซุยโฮ ภายใต้ชื่อ เจ วินด์ โตเกียว เพื่อเป็นผู้บริหารงาน มีชื่อเต็มว่าโรงไฟฟ้าพลังลมเบย์ไซด์ถือเป็นโรงไฟฟ้าของกรุงโตเกียว ก่อสร้างขึ้นทางชายฝั่งทะเลของกรุงโตเกียวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน และปลุกสำนึกให้ชาวโตเกียว รวมถึงภาคธุรกิจต่างๆ ตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติ


เสาแต่ละต้นที่ตั้งก็จะอยู่ห่างกัน ฉะนั้นการจะทำฟาร์มลมจึงต้องใช้พื้นที่มาก และแม้จะเป็นการผลิตพลังงานสะอาดที่ดูสวยงามที่สุด จากกังหันลมที่ช่วยสร้างทัศนียภาพให้กับพื้นที่ละแวกนั้น แต่การสร้างกังหันลมก็ไม่แคล้วโดนคนในชุมชนต่อต้าน เพราะหากกังหันลมพัดเร็ว ก็จะเกิดมลพิษทางเสียงที่ดัง “บุก บุก บุก”


ต่อให้สวย ช่วยโลก แต่คนในพื้นที่ก็ไม่เอาด้วย การจะสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละครั้งของญี่ปุ่นก็เลยไม่ต่างจากไทย กว่าจะสร้างโรงงานแต่ละโรง ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชนให้วุ่นเหมือนกัน


แต่หนทางหนึ่งในการตัดขาดปัญหาระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นกับคนในชุมชนบริเวณที่ก่อตั้งโรงไฟฟ้า คือ การจัดเก็บภาษีจากเอกชนเจ้าของโรงไฟฟ้าสูงกว่าการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลทั่วไป โดยเงินภาษีที่ได้นั้นจะส่งตรงถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ไปบริหารกันเอง เช่น แล้วแต่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกระจายงบประมาณให้โรงพยาบาลในชุมชนนั้นเท่าไร


และแม้ว่าการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าจะสร้างความยุ่งยากให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะชาติใดในโลก แต่ธุรกิจโรงไฟฟ้าก็ยังเย้ายวนให้เอกชนทุ่มทุน อยากเข้าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้ เพราะนับวันการใช้พลังงานของโลกใบนี้ก็ยิ่งมากขึ้นๆ พลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยอุดหนุนอัตราส่วนเพิ่มให้กับเอกชนที่ลงทุน ต่อให้ลงทุนอย่างไรเอกชนก็ได้กำไรเห็นๆ


ไม่เว้นกระทั่งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น เอกชนที่ลงทุนโรงไฟฟ้าจะได้ค่าส่วนเพิ่มจากรัฐบาลเหมือนในบ้านเรา ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นจะอุดหนุนค่าส่วนเพิ่มให้เอกชนประมาณ 3.70 บาท ขณะที่การอุดหนุนเอกชนในบ้านเราสำหรับพลังงานลมจะอยู่ที่ประมาณ 23.50 บาท


ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังลมเบย์ไซด์มีกำลังผลิต 1,700 กิโลวัตต์ หรือ 1.7 เมกะวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 2,500 ล้านหน่วย จ่ายไฟให้แก่ 800 ครัวเรือน
ที่สำคัญลดภาวะโลกร้อนได้ประมาณ 1,700 ตันต่อปี


หน้าที่ของโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะผลิตกระแสไฟจากพลังลมแล้วจ่ายให้กับบริษัทไฟฟ้าโตเกียวทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2548 คิดเป็นสัญญาระหว่างบริษัทกับรัฐบาลระยะเวลา 20 ปี มูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 330 ล้านเยน


เสมอใจ ศุขสุเมฆ
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สนพ. บอกว่า ความเร็วลมของโรงไฟฟ้าพลังลมเบย์ไซด์ถือว่าใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้ากังหันลมของไทยที่ลำตะคอง ที่ 5 เมตรต่อวินาที ถือว่าเป็นพลังงานลมที่มีความเร็วต่ำ สามารถผลิตไฟฟ้าจากลมได้เหมือนกัน แม้ปริมาณจะไม่หวือหวาเหมือนโรงไฟฟ้าประเภทอื่น

 

เพียงแต่บ้านเราสิ่งที่เป็นปัญหาคือ การจัดหาพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังลม เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ความเร็วลมแรง กลับเป็นพื้นที่ป่าสงวน เป็นพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) ฉะนั้นการจะขอใช้พื้นที่จึงเกิดปัญหา หากจะทำจริงก็ต้องหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากไม่ใช่น้อย โดยมีการสำรวจพื้นที่ที่เข้าข่ายความเร็วลมแรงขณะนี้ อยู่ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช


ที่เป็นไปได้ยากกว่านั้น คือ การก่อสร้างถนนหนทางเพื่อขนอุปกรณ์การก่อสร้าง ต่อให้เจอพื้นที่ดี แต่พื้นที่พวกนี้ก็จะอยู่กลางป่าเขา การถางพื้นที่เพื่อขนอุปกรณ์เข้าไปตั้งเสาขนาดมหึมา 1 ต้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจได้ไม่คุ้มการเสียพื้นที่ป่า


ในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ไทยก็เริ่มให้ความสำคัญกับพลังงานจากลมบ้างแล้ว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ตระเวนหาพื้นที่ที่เหมาะกับการลงทุนพลังงานสะอาดชนิดนี้ มีการลงทุนติดตั้งสถานีวัดลมที่ความสูง 45 เมตร พบว่าบริเวณที่มีศักยภาพลมดีที่สุดอยู่บริเวณสถานีลำตะคอง มีความเร็วลมเฉลี่ย 6.14 เมตรต่อวินาที

แหล่งที่มีศักยภาพลมดีรองลงมาได้แก่ แหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ต 5.65 เมตรต่อวินาที และบ้านอ่าวไผ่ จ.ชลบุรี 5.19 เมตรต่อวินาที การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงมีโครงการติดตั้งกังหันลมขนาด 1 เมกะวัตต์ จำนวน 4 ตัว ที่สถานีลำตะคอง


สำหรับโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง ติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ จำนวน 2 กังหันลม ทั้งคู่จะถูกติดตั้งบริเวณพื้นที่อ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ อ.สีคิ้วจ.นครราชสีมา จะมีต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้า 5.04 บาทต่อหน่วย และจัดว่าเป็นโรงไฟฟ้ากังหันลมที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในประเทศไทย

จากประสบการณ์กังหันลมขนาด 150 กิโลวัตต์ ที่สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ และการเก็บข้อมูลลมที่ลำตะคอง พบว่าภูมิประเทศเหมาะต่อการตั้งกังหันลม เนื่องจากเป็นภูเขาสูง ไม่มีสิ่งกีดขวาง และไม่มีที่พักอาศัยของชุมชน มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 6 เมตรต่อวินาที ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 3.50 หน่วย ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 1.08 ล้านลิตรต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 3,000 ตันต่อปี


หากมีการเปิดให้เอกชนเข้ามาเสนอตัวลงทุนทำโรงไฟฟ้าพลังลม ตอนนี้มีที่เห็นๆ ก็กว่า 10 ราย ที่อยากเสนอตัวเข้าทำโรงไฟฟ้าพลังลม ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่ขี้เหร่ เพราะส่วนเพิ่มที่เอกชนจะได้จากรัฐบาลนั้น ถือว่าเป็นส่วนต่างที่ยั่วยวนใจ สร้างกำไรได้ไม่ยากเลย


แต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังลมขึ้นมาโรงหนึ่ง ต่อให้ช่วยโลก ช่วยเราแค่ไหน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่สามารถสร้างระบบการจัดการให้เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน


ที่มา  :  โพสต์ทูเดย์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1286 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©