-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 506 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น8





โค่นไล่มันทิ้งหันเพาะเห็ดฟาง...แก้จน


โดย...ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ


วิกฤตเพลี้ยแป้งมันระบาดไร่มันสำปะหลังทำเกษตรกรชาวจังหวัดนครราชสีมาทำให้หลายรายสิ้นหนี้ประดาตัวเนื่องจากกู้หนี้ยืมสินเงินกู้นอกระบบ ขณะที่บางเลิกทำไร่มันหันไปยึดอาชีพเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีการสร้างโรงเรือนจากวัสดุธรรมชาติลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำวันละกว่า 2,000 บาท 


การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน ถึงแม้จะลงทุนสูงกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นทั่วไป แต่ก็มีข้อดีที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดอกเห็ดดีกว่า ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจเพาะกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงเรือนปกติจะอยู่ที่ราคาประมาณ 20,000-30,000 บาท /โรงเรือน แต่กลุ่มชาวบ้าน ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา  ใช้ภูมิปัญญาด้วยการนำวัสดุจากธรรมชาติซึ่งหาได้จากท้องถิ่น มาสร้างโรงเรือนเพื่อประหยัดต้นทุน


โดยโรงเรือนแต่ละแห่งจะสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยใบหญ้า และคลุมด้วยผ้าใบเพื่อเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือน ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด  นอกจากนี้ด้านที่เป็นผนังชาวบ้านจะนำใบไม้ขนาดใหญ่ เช่น ทางมะพร้าว ใบตาล หรือ ใบลานมากั้นคลุมผ้าใบไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาความชื้น เร่งการเจริญเติบโตของเห็ดได้อีกทางหนึ่ง  โดยโรงเรือนแต่ละโรงจะมีขนาด 4 x 10 เมตร ซึ่งหากเทียบกับต้นทุนการสร้างโรงเรือนแบบทั่วไปแล้วจะสามารถลดต้นทุนได้เกือบครึ่ง


สมถวิล ขามกระโทก บ้านเลขที่ 2 หมู่ 13 ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา  เป็นหนึ่งในเกษตรกรชาว ต.พลับพลา ที่หันมายึดอาชีพเพาะเห็ดฟางโดยการใช้วัสดุธรรมชาติมาสร้างโรงเรือนเพื่อประหยัดต้นทุน ร่วมกับเพื่อนเกษตรกรภายในหมู่บ้านกว่า 10 ราย  หลังจากต้องผิดหวังและขาดทุนย่อยยับกับการทำไร่มันสำปะหลังมา

กว่า 10 ปี เนื่องจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะในปี 2551 ที่ผ่านมาเกิดปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดกัดกินผลผลิตมันสำปะหลังอย่างหนัก จนไม่สามารถที่จะขายได้  จึงตัดสินใจรวมกลุ่มกันกับเพื่อนเกษตรกรเข้าไปปรึกษากับทางสำนักงานเกษตร อ.โชคชัย  เพื่อที่จะหาแนวทางการเพาะปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อให้เป็นรายได้เสริม โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอได้นำเกษตรกรไปศึกษาดูงานจากฟาร์มตัวอย่างในการปลูกพืชชนิดต่างๆ แต่ที่เห็นว่าน่าจะเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ให้แก่ตนเองมากที่สุดก็คือการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน เนื่องจากสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลาไม่นาน และยังเก็บผลผลิตส่งขายได้วันต่อวันอีกด้วย  อย่างไรก็ตามปัญหาของการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน ก็คือการลงทุนช่วงเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะขั้นตอนในการก่อสร้างโรงเรือนที่หากจะก่อสร้างโรงเรือนแบบทั่วไปจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจที่จะทดลองสร้างโรงเรือนจากวัสดุที่หาได้จากภายในท้องถิ่นเพื่อลดค่าใช้จ่ายแทน


โดยได้เริ่มก่อสร้างด้วยการนำไม้ไผ่มาขึ้นโครงเป็นโรงเรือน ให้ได้ขนาดความกว้างของโรงเรือน 4.20 เมตร ยาว 10 เมตร  ก่อนที่จะนำผ้าใบมาคลุมโครงของโรงเรือนให้ครบทั่วทั้งหมด  จากนั้นมุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบจาก แล้วนำใบมะพร้าวหรือใบตาล ใบลานซึ่งมีลักษณะใบเป็นแผงขนาดใหญ่มากั้นเป็นผนังคลุมทับผ้าใบอีกชั้น ให้ครบทั้ง 4 ด้าน ก่อนที่จะใช้ใบมีดกรีดผ้าใบตามแนวดิ่งให้ยาวประมาณ 1 ฟุต เพื่อให้เป็นช่องเพื่อให้อากาศภายในโรงเรือนถ่ายเท ด้านละ 3 ช่อง เท่านี้การสร้างโรงเรือนแบบง่ายโดยใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นก็เป็นอันเสร็จสิ้น


นอกจากนี้การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะใช้ต้นทุนประมาณ 15,000 – 18,000 บาท ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการเตรียมแผงที่จะใช้ในการเพาะเห็ด ซึ่งก็จะใช้ไม้ไผ่เหลาแล้วนำมาต่อกันเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้าง 1.20 เมตร ยาว 8 เมตร  แล้วนำผ้าตาข่ายหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าผ้าเขียว มาขึงไว้ในช่องสี่เหลี่ยม  ตั้งเสาไว้ในโรงเรือน เพื่อเตรียมไว้เป็นที่วางแผงเพาะเห็ดฝาง ในโรงเรือน 2 ฝั่งของโรงเรือนเป็น 2 แถว ใว้วางแผงเห็ดซ้อนกันได้ฝั่งละ 4 แผง และเว้นช่องไฟล์ให้มีระยะห่างช่องไฟล์แต่ละแผงประมาณ 45 ซม. แต่ควรระวังอย่าให้แผงเห็ดสูงจากพื้นดินเกิด 2 เมตร

เพราะจะทำให้ขั้นตอนการยกแผงเห็ดขึ้นทำได้ลำบาก เมื่อเตรียมแผงเห็ดและที่ว่างแผงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการเตรียมส่วนประกอบของอาหารเห็ดเพื่อจะนำไปใส่แผงเห็ดโดยแตะละแพงจะใช้อัตราส่วนหมักอาหารประกอบด้วย ปูนขาว 2 กก. สารอีเอ็ม 0.5 ลิตร น้ำหัวเชื้อกากน้ำตาล 12 ลิตร ฟางน้ำหนัก 15 กิโลกรัม 1 ก้อน ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม กากมัน 10 กก.ผสมให้เข้ากันจากนั้นใช้ผ้าใบคลุมทิ้งไว้ 5 วัน  ก่อนที่จะนำแผงเข้าไปวางไว้ภายในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ในโรงเรือน  อบไอน้ำที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส 3 – 4 ชั่วโมง เปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 1 คืน


จากนั้นโรยเชื้อเห็ดลงไปบนแผงปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 3 วัน เชื้อเห็ดก็จะเริ่มโตและมีใยขึ้นอยู่จากนั้นใช้น้ำธรรมดารดลงแผงเห็ดเพื่อตัดใยเห็ด ให้ทั่วแล้วปิดโรงเห็ดทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ ก็สามารถที่จะเก็บเห็ดส่งขายได้แล้ว  โดยเห็ดที่เพาะแต่ละโรงจะสามารถเก็บขายได้ประมาณ 7 วัน เฉลี่ยในแต่ละรุ่นจะได้เห็ดประมาณ 200-300 กิโลกรัม  ซึ่งปัจจุบันตนเองมีโรงเรือนเพาะเห็ดฟางทั้งหมด 4 โรง ก็จะสามารถหมุนเวียนเก็บเห็ดส่งขายได้ทุกวัน โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้านในราคากิโลกรัมละ 42 บาท ทำให้ครอบครัวของตนเองมีรายได้จากการเพาะเห็ดวันละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท

"ปัจจุบันแนวคิดการเพาะเห็ดแบบโรงเรือนธรรมชาตินี้ได้รับความนิยมกันในหมู่บ้านของตนเองเป็นอย่างมาก ขณะนี้มีชาวบ้านเกษตรกรหันมายึดอาชีพนี้แล้วกว่า 10 หลังคาเรือน "สมถวิล กล่าว


การเพาะเห็ดแบบโรงเรือนธรรมชาตินี้นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนในการก่อสร้างโรงเรือนแล้ว ด้วยความชื้นของโรงเห็ดที่ได้จากใบไม้ซึ่งนำมาปกคลุมโรงเรือน จะส่งผลให้ผลผลิตของเห็ดมีคุณภาพมากกว่าการเพาะเห็ดโรงเรือนที่ใช้อิฐบล็อกกั้นผนังและมุงหลังคาด้วยสังกะสี  เพราะอุณหภูมิของโรงเรือนเห็ดแบบธรรมชาติ จะมีอาการหมุนเวียนไม่เย็นหรือร้อนจนเกินไป


ขณะที่โรงเรือนที่มุงด้วยสังกะสีและกั้นด้วยอิฐบล๊อคจะปิดกั้นอากาศโดยสมบูรณ์ซึ่งก็จะส่งผลให้สภาพอากาศภายในโรงเรือนสูงมากโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนซึ่งก็จะส่งผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของเห็ด เพราะเมื่อโรงเพาะเห็ดมีอุณหภูมิสูงเกินไปเห็ดก็จะไม่เจริญเติบโตหรือให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่   ซึ่งในส่วนนี้ผู้เพาะเห็ดควรต้องระวังเป็นพิเศษ โดยส่วนตัวแล้วตนเองคิดว่าการเพาะเห็ดโดยใช้โรงเรือนธรรมชาติอย่างนี้จะทำให้ได้ผลดีกว่าการเพาะเห็ดโรงเรือนปกติ เพราะสามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดได้มากกว่า นายสมถวิลฯกล่าว


จากความสำเร็จในการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนธรรมชาติของนายสมถวิลฯ ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น จากเดิมที่เคยมีหนี้สิ้นล้นตัวจากการขาดทุนย่อยยับในการปลูกมันสำปะหลัง ปัจจุบันเขาชดใช้หนี้สินที่กู้ยืมมาจนหมดสิ้นและมีเงินออมไว้ใช้ภายในครอบครัวแล้วจำนวนหนึ่ง  ส่งผลให้ชีวิตของคนในครอบครัวดีขึ้น  และความรู้นี้กำลังถูกถ่ายทอดไปยังเพื่อนบ้านอีกหลายครัวเรือน

ที่มา ; บางกอกโพสต์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2271 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©