-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 559 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น6





ทิ้งไร่มัน-ข้าวโพด...ปลูกพุทรานมสดเนรมิตรครอบครัวใหม่


โดย....ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ


ต้นพุทรานมสดที่กำลังออกผลผลิตเต็มทั่วสวนบนพื้นที่ 7 ไร่  ภายในพื้นที่หมู่ 7 ต.วังน้ำเขียน อ.วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา   ถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของนายพยุงค์ มงคล อายุ 56 ปี เกษตรกรอีกหนึ่งคนใน อ.วังน้ำเขียว ที่ตัดสินใจผันตัวเองจากการปลูกพืชไร่ จำพวกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง รวมถึงมะม่วง มาลงทุนปลูกผลเมืองหนาวอย่างเช่นพุทรานมสด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว


เนื่องจากที่ผ่านมาการปลูกพืชไร่แต่ตะชนิดต้องปะสบกับปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้นทุกวัน ในขณะที่ราคาผลผลิตกลับตกต่ำสวนทางกัน ทำให้มองไม่เห็นอนาคตในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร  และมาถึงวันนี้การตัดสินใจของนายพยุงค์ฯ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิต ของครอบครัวนายพยุงค์ฯอย่างยิ่งใหญ่  เพราะในวันนี้พุทรานมสดถือเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากและเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อที่สุดในอ.วังน้ำเขียวชนิดหนึ่ง 
ทำให้นายพยุงค์ มีรายได้จากการจำหน่ายพุทรานมสดภายในสวนที่มีอยู่เพียง 7 ไร่ แต่ละปีไม่ต่ำกว่า  1 ล้านบาทต่อปี  ขณะที่ใช้เงินลงทุนเพียงไม่กี่หมื่นบาทต่อปีเท่านั้น  ส่งผลให้วันนี้ชีวิตที่เคยมีแต่หนี้สินรอบตัว กลายเป็นเพียงอดีต แต่ปัจจุบันเงินที่เก็บหอมรอบริมจากการจำหน่ายพุทราน้ำนมของนายพยุงค์ฯ ก็เพียงพอที่จะใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวไปได้ตลอดชีวิต


นายพยุงค์  เล่าว่า เดิมทีแล้วตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จ.สระบุรี แต่ได้มาตั้งรกรากที่อยู่ที่อำเภอวังน้ำเขียวตั้งแต่ปี 2514  โดยซื้อผืนดิน สปก.จำนวน 7 ไร่ต่อจากชาวบ้านในราคาไร่ละ 150 บาท เพื่อทำการเกษตรปลูกพืชไร่ อาทิ มันสำปะหลัง และข้าวโพด เลี้ยงชีวิต  ถึงแม้จะยึดอาชีพปลูกพืชไร่มานาน แต่ก็ไม่มีเงินเก็บ เพราะรายได้จากการขายผลผลิตส่วนใหญ่มักจะถูกจ่ายไปเป็นค่าต้นทุนการผลิต อาทิ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน ขณะที่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลังขาย ได้ราคากิโลกรัมละ 2 บาทเท่านั้น แต่หลังจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เข้าไปรณรงค์ให้ชาวบ้านที่อาศัยในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ “พุทรานมสด” แทนการทำไร่มันสำปะหลัง ตามยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิต เนื่องจากพืชดังกล่าวให้ผลตอบแทนสูง และเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่และภูมิอากาศอย่างวังน้ำเขียวที่ค่อนข้างหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี


"ตนเองจึงตัดสินใจทดลองปลูก โดยการลงทุนเบื้องต้นในการปลูกพุทราตั้งแต่ปี 2549  เริ่มปลูกพุทรามาเกือบ 3 ปี ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. หลังปลูกได้ประมาณ 7 เดือน พุทราก็เริ่มให้ผลผลิต ที่ประมาณ 960 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นการให้ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อปี 2550 ผลผลิตจะอยู่ที่ 1,900 กิโลกรัมต่อไร่ พอมาปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 3,800 กิโลกรัมต่อไร่  โดยราคาของพุทรานมสดจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 401 – 50 บาท ทำให้ตนเองมีรายได้ประมาณ 180,000 บาทต่อไร่ ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 30,000-40,000 บาทต่อไร่ ดีกว่าทำไร่มันสำปะหลังมาก เพราะพืชพวกนี้จะหมดไปกับค่าปุ๋ยค่ายาเป็นส่วนใหญ่"เกษตรกรผู้บุกเบิกปลูกไร่พุทรานมสดเล่าย้อนอดีต


โดยขั้นตอนการปลูกพุทราน้ำนมยุ่งยากพอสมควร เนื่องจากพุทราเป็นไม้ผลที่มีพุ่มกว้างพอควร แต่ที่สวนจะตัดแต่งและบังคับ ทรงพุ่มมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ให้เกินกว่า 3 ม. แล้ววันระยะช่องทางเดินไว้ 1 ม. ดังนั้น หลุมปลูกจึงมีระยะ 5 เมตร ต่อหลุม/ต้น จากนั้นขุดหลุม มีขนาด รัศมีวงกลม 50 ซม. และลึก ไม่เกิน 50 ซม. จากนั้นนำปุ๋ยหมัก ที่ประกอบด้วย รำละเอียด , แกลบดำ , แกลบขาว , มูลสัตว์ คลุกผสมกากน้ำตาลและอีเอ็มชีวภาพ ที่หมักทิ้งไว้ 1 เดือน ผสมกับดินในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 ใส่ให้เต็มหลุมแล้วทำการแหวกหลุมนำกล้าพุทราใส่ลงไป


จากนั้นก็ดูแลอย่าขาดน้ำ ต้องมีการให้สม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ระยะแรกให้น้ำทุกวัน จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้ หลังจากนั้นให้น้ำตามความชุ่มชื้นของดิน โดยไม่ให้น้ำขังหรือแห้งจนเกินไป  เมื่อต้นพุทราตั้งตัวได้แล้ว  เริ่มให้ปุ๋ยนมสด ซึ่งผลิตจากรำละเอียด ผสมนมเปรี้ยวหรือนมข้น กากน้ำตาล อีเอ็ม  ผลไม้หมัก และเศษอาหารหมัก ใช้ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:20 ฉีดให้ทั่วลำต้น และฉีดเข้าใต้ดินระยะห่างจากโคนต้นประมาณ 30 ซม. เป็นระยะๆ จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งปุ๋ยนมสดนี้จะมีส่วนทำให้พุทรามีความหวานกรอบ เมื่อรับประทานจะมีกลิ่นน้ำนม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “พุทรานมสด”


ทั้งนี้ “พุทรา” เป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่ต้องมีการดูแลและจัดการอย่างดี เพราะมีแมลงวันทองรบกวนมากในช่วงพุทราออกดอก ติดผล แต่หากใช้ปุ๋ยนมสดฉีดพ่นตามลำต้นและใบควบคู่ไปกับฉีดลงโคนต้นก็จะช่วยกันแมลงวันทองได้ หรือไม่ก็ให้ใช้นำน้ำหมักสมุนไพรอาทิเช่นสะเดามาผสมกับน้ำ อัตราส่วน 1/2 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันแมลง 7 วันต่อครั้งโดยผสมพร้อมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ฉีดพ่นพร้อมกัน


ส่วนกากที่เหลือก็นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเป็นอาหารของพืชต่อไปได้อีกวิธีนี้ช่วยให้ต้นพุทราติดผลดก ลูกโต รสชาติดี ผิวสวย กรอบ อร่อย พบปัญหาผลหลุดร่วงน้อยขายได้ราคาดี  ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้ส่งผลให้ตนเองกลายเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยะมีลูกค้ามารับซื้อถึงหน้าสวนในราคาประมาณ 40 – 50 บาท ต่อกิโลกรัมในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดระหว่างเดือน พฤศจิกายนไปจนถึงปลายเดือนธันวาคามของทุกปี


สำหรับปัจจุบันเกษตรกรใน อ.วังน้ำเขียว สนใจหันมายึดอาชีพปลูกพุทรานมสดจำหน่าย แทนการปลูกพืชไร่ที่ไม่คุ้มทุนจำนวนเกือบ 100 ราย คิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 300 ไร่  ซึ่งทางสำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเขียวได้พยายามที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรเหล่านี้ใช้วิธีการเพาะปลูกโดยไม่พึ่งสารเคมี อย่างที่นายพยุงค์ฯ ทำ  และรวมกลุ่มกันเพื่อสามารถให้เกษตรกรได้กำหนดราคาการจำหน่ายผลผลิต และใช้ยุทธวิธีประสานงานด้านการตลาดให้แก่ทางเกษตรกรที่ปลูกพืชผักปลอดสารพิษให้มีแหล่งระบายผลผลิตในราคาที่สูงกว่าพืชผักแบบธรรมดาที่ไม่มีการควบคุมการใช้สารเคมี


นอกจากนี้เพื่อจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชไร้สารพิษเพิ่มขึ้น และสามารถมีผลผลิตป้อนทันตามความต้องการของตลาดที่สูงขึ้นได้  จนปัจจุบันในอ.วังน้ำเขียวมีเครือข่ายเกษตรกรร่วมเพาะปลูกพุทราสารพิษออกสู่ท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 70 ราย  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งในการส่งเสริมเกษตรอินทรีปลอดสารที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเขียวกำลังเร่งรณรงค์อยู่ในตอนนี้


...หากมองในภาพรวมแล้วปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกพืชผักไปลอดสารพิษในอ.วังน้ำเขียว ขยายพื้นที่ไปทั่วอำเภอมากกว่า 60 % ซึ่งทางสำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเขียวตั้งเป้าที่จะรณรงค์ให้เกษตรกรวังน้ำเขียวเพิ่ม
พื้นที่การเพาะปลูกพืชปลอดสารพิษให้ได้ 80 % ภายในปีนี้


ที่มา  :  บางกอกโพสต์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2631 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©