-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 492 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สับปะรด




หน้า: 3/3



เทคนิคการปลูกสับปะรด


1. พื้นที่ระบายน้ำทิ้งได้ดี
2. การเตรียมดิน
ครั้งที่ 1 ไถปั่นเศษวัชพืช 1 ครั้ง
ครั้งที่ 2 ไถพรวน ประมาณ 1-2 ครั้ง



วิธีปลูก

1. คัดหน่อ  หรือจุกให้มีขนาดเท่ากัน
2. ปลูกแถวคู่
3. ระหว่างต้น 20-30 ซม.
ระหว่างแถว 50-60 ซม.
ระหว่างแถวคู่  80-90 ซม.



การใส่ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังการปลูกประมาณ 2 อาทิตย์
สูตร 21-0-0 จำนวน 2 กระสอบ
สูตร 0-0-60 จำนวน  1  กระสอบ
โดยใช้ปุ๋ยทั้งสองสูตรผสมกันแล้วนำไปใส่ลงกาบใบล่างประมาณ 1 ช้อนแกงต่อต้น



ครั้งที่ 2 
หลังจากปลูกได้ 2 เดือนเพื่อเร่งสะโพกให้ต้นเป็นสาว (พร้อมให้ลูก)
โดยฟันใบออกประมาณ 1 ส่วน 4 ของต้น แล้วให้ปุ๋ยทางใบ
สูตร 21-0-0 จำนวน 3 กิโลกรัม
สูตร 0-0-60 จำนวน  5 กิโลกรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 10 วันต่อครั้ง



ครั้งที่ 3   
ก่อนบังคับออกผล ประมาณ 1 เดือน
สูตร 21-0-0 จำนวน 10 กิโลกรัม
สูตร 0-0-60 จำนวน  5 กิโลกรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่อนได้ประมาณ 2500 ต้น ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 อาทิตย์
ใบเริ่มแปะออกเพื่อพร้อมที่ออกลูก


ครั้งที่ 4  
ก่อนหยอดสารเคมีเร่งออกดอก ประมาณ 7 วัน สังเกตจากยอดเริ่ม
แปะออกให้ปุ๋ยทางใบโดยใช้สูตร
สูตร 21-0-0 จำนวน 10 กิโลกรัม
สูตร 0-0-60 จำนวน  5 กิโลกรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่อนก่อนบังคับผล 7 วัน

การใช้สารเคมีบังคับผล
อีทาฟอน 45%  ใช้ในอัตรา 150 ซีซี. และปุ๋ยสูตร 46-0-0  จำนวน 3 กก. ผสม
น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นหลังเวลา 4 โมงเย็นขึ้นไป ฉีดซ้ำอีกรอบ ช่วง 5-7 วัน จะทำ
ให้สับปะรดมีก้านสั้น ลูกกลม เนื้อแน่น น้ำหนักดี



เริ่มออกดอก
เมื่อสับปะรดเริ่มออกดอกตรงยอดจะมีสีแดง  ออกดอกเท่าเหรียญบาท ระหว่าง
สร้างดอกควรให้ปุ๋ยทางใบด้วย โดยใช้ปุ๋ย(ทางใบ) ฉีดพ่น


การเร่งตา
หลังจากดอกสับปะรดเริ่มโรยลงให้ใช้ปุ๋ยทางใบ  ขนาดของตากว้างประมาณ 18
เซนติเมตร จะประมาณการได้ว่าสับปะรดจะมีน้ำหนักประมาณลูกละ 1.5 กก.ขึ้นไป



วิธีห่อลูกสับปะรด
ใช้กระดาษหนังสือพิมห่อ



การให้ปุ๋ยหลังจากสับปะรดออกหัว
ระยะที่สับปะรดเป็นหัวห้ามใช้ปุ๋ย 21-0-0 หรือปุ๋ยไนเตรทอื่นๆ เพราะจะทำให้มี
สารตกค้างอันตรายต่อผู้บริโภค
ให้ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ เช่นปุ๋ยส้ม 0-0-60 หรือปุ๋ย
หวานอื่นๆ



การให้น้ำ
สับปะรดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ก็ต้องการน้ำไปช่วยการเจริญเติบโตเป็นระยะ
เกษตรกรสามารถวางแผนให้สับปะรดออกลูกได้ด้วยตนเอง (ไม่ต้องเสียเวลารอ
น้ำฝน) ช่วงที่สับปะรดต้องการน้ำอยู่ในช่วง
1. เริ่มปลูกใหม่
2. ระยะการให้น้ำ 10 วันต่อ 1 ครั้ง
3. ช่วงออกลูก



www.coopthai.com/sabparod/.../



การผลิตสับปะรดนอกฤดู

สับปะรด  เป็นพืชใบเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี  สามารถปลูกได้ในพื้นที่แทบทุก
แห่งของประเทศไทย  แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้ทะเล  เช่น   แถบ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   เพชรบุรี  ชลบุรี   ระยอง  จันทบุรี  ตราด  และจังหวัดทางภาคใต้เช่น  ภูเก็ต  พังงา  ชุมพร  ซึ่งนิยมปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา  สับปะรดที่ปลูกกันทั่ว
ไปนั้นมักจะออกผลทยอยกันตลอดปี  และในปีหนึ่ง ๆ  จะมีช่วงที่สับปะรดออกดอกและให้ผล
มากอยู่  2  ช่วง คือช่วงแรกสับปะรดจะออกดอก ประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
และจะเก็บผลได้เดือนเมษายนถึงมิถุนายน และช่วงที่สองจะออกดอกประมาณเดือนมิถุนายน
ถึงสิงหาคมและจะเก็บผลได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม  

หากมีการปล่อยให้สับปะรดออกดอกตามธรรมชาติแล้วจะพบว่าการติดผลและเก็บผลจะไม่
พร้อมกัน  ซึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยากมากในการเก็บเกี่ยวและการเลี้ยงหน่อในรุ่นต่อไป  นอกจาก
นี้การออกดอกของสับปะรดตามธรรมชาติจะทำให้มีผลผลิตออกมาปริมาณมากในช่วงเดียว
กัน  ซึ่งทำให้สับปะรดที่ออกมาในช่วงดังกล่าวมีราคาที่ต่ำมาก   ดังนั้นหากมีการบังคับให้
สับปะรดออกดอกและให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกติ  ทำให้สับปะรดมีราคาสูงขึ้น   ซึ่งเป็นสิ่ง
ที่เจ้าของสวนสับปะรดต้องการหรือปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน 


 
อย่างไรก็ตามในการบังคับให้สับปะรดออกดอกและให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกตินั้น ย่อมจะ
ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ คอยควบคุมอยู่ ปัจจัยที่นับว่าสำคัญมาก ได้แก่ สภาพความสมบูรณ์ของ
ต้นสับปะรด หากต้นมีขนาดเล็กเกินไปการบังคับจะทำไม่ได้ผล เนื่องจากต้นสับปะรดยังไม่
มีความพร้อมหรือความสมบูรณ์พอหรือถ้าออกดอกได้จะทำให้ผลมีขนาดเล็ก สำหรับสับปะรด
ที่พร้อมจะทำการบังคับนั้นต้องเป็นสับปะรดที่มีความสมบูรณ์ โคนต้นจะต้องอวบใหญ่ มีน้ำ
หนักของต้นประมาณ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป หรือมีใบมากกว่า 45 ใบหรือมีอายุได้ 7-8 เดือน
ต้องทำหลังจากการใส่ปุ๋ยทางดินอย่างน้อย 3 เดือน และสามารถคำนวณระยะเก็บเกี่ยวได้
โดยนับตั้งแต่บังคับให้ออกดอกไปประมาณ 160 วัน

ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและวิธีการใช้ :

1.การใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมากเพราะหาง่าย
และราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธีคือ

วิธีที่ 1 ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้น
จึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซี.ซี. (ประมาณ ¼ กระป๋องนม) หรืออาจจะดัดแปลง
โดยป่นถ่านแก๊สป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1-2 กิ
โลกรัม) วิธีนี้มักจะทำให้ช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวกและประสิทธิภาพการใช้ถ่ายแก๊ส
จะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมากเพราะต้อง
มีคนใส่ถ่านแก๊สคนหนึ่ง และหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่ง

วิธีที่ 2 ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้ว
หยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซี.ซี. (1 กระป๋องนม หยอดได้ 4 ต้น) วิธีนี้เหมาะ
มากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือ สิ้นเปลือง
ถ่านแก๊สมาก

วิธีที่ 3 ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย
 ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติกันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวกในการ
ปฏิบัติ

หลังจากหยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอกสีแดง ๆ โผล่ขึ้นมา
จากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน จะสามารถตัดสับปะรดแก่ไปขายหรือนำไป
บริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถ้านำไป
ขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ

***การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลงความเห็นว่า
การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงานหรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้
การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลย และที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
ขนาดของผลเล็กลง ทำให้น้ำหนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลงด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรด
ที่ใช้ถ่านแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง 3-5 วันเท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรด
จะไส้แตก เนื้อจะเน่า รสชาติจะเปลี่ยนไป และหากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอด
สับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็น
เพียงการตั้งข้อสังเกตและลงความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้
คงจะหมดไป ถ้าหากนักวิชาการเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่
เหมาะสมต่อไป

2. การใช้สารเอทธิฟอน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออก
มาโดยตรง เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมาเอทธิลีน
จะเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 2 ชนิด คือ

1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถุงพลาสติกขนาด 1 แกลลอนโดยใช้อัตรา
17-30 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซี.ซี. (กระป๋อง
นมละ 4 ต้น)

2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า อีเทรล ใช้
ในอัตรา 60-120 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี.
(กระป๋องนมละ 4 ต้น)

***ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้นสับปะรดด้วย
กล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น
 หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืน ช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่ม
ขึ้นอีกเท่าตัว

3. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโนฟอกซ์ใช้ใน
อัตรา 50 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา
60 ซี.ซีต่อต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกัน

ข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล :

1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือในเวลากลางคืน ซึ่ง
จะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น

2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นควรผสม
สารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ

3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากหยอดสาร จะต้อง
หยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว 7 วัน ทั้งนี้
เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้ใช้ยา อาลี
เอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซี.ซี. ต่อต้นซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20
ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 50 กรัม ราดหรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่
ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุก ๆ 30-45 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล
ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์ อัตรา
100 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่น
ให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุกประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยว
ผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่า
ช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น



ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่ โทร. 0 5387 3938-9
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm



 


ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอก

วิธีการใช้ดังนี้

1. การใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยม
ใช้กันมากเพราะหาง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่
ยอดสับปะรด จากนั้นจึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซีซี.
(ประมาณ ¼ กระป๋องนม) หรืออาจจะดัดแปลงโดยป่นถ่านแก๊สป่น
ประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ
1-2 กิโลกรัม) วิธีนี้มักจะทำให้ช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวก
และประสิทธิภาพการใช้ถ่ายแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1
นี้ มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่าน
แก๊สคนหนึ่ง และหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่ง

วิธีที่ 2 ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม
ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซีซี.
(1 กระป๋องนม หยอดได้ 4 ต้น) วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วง
ฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือ สิ้น
เปลืองถ่านแก๊สมาก

วิธีที่ 3 ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำ
ไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติ
กันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวกในการปฏิบัติหลังจาก
หยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอก
สีแดง ๆ โผล่ขึ้นมาจากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน
จะสามารถตัดสับปะรดแก่ไปขายหรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรด
ที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถ้านำไปขาย
ก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ

***การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูก
บางรายลงความเห็นว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงาน
หรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะ
รดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลย และที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
ขนาดของผลเล็กลง ทำให้น้ำหนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลงด้วย

นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่านแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง
3-5 วันเท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะเน่า
รสชาติจะเปลี่ยนไป และหากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอด
สับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตาม
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตและลงความเห็นของเกษตร
กรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไป ถ้าหากนักวิชา
การเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะ
สมต่อไป

2. การใช้สารเอทธิฟอน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการ
ปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับ
ปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมาเอทธิลีนจะเป็นตัวชักนำให้เกิด
การสร้างตาดอกขึ้น ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 2 ชนิด คือ

1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถุงพลาสติกขนาด
1 แกลลอนโดยใช้อัตรา 17-30 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย
350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)

2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มี
ชื่อการค้าว่า อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและ
ปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี. (กระป๋องนมละ
4 ต้น)

***ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาด
ของต้นสับปะรดด้วยกล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม
หรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอด
ยอดในตอนกลางคืน ช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีก
เท่าตัว


3. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า
แพลนโนฟอกซ์ใช้ในอัตรา 50 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และปุ๋ยยูเรีย
4-5 กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซีซี.ต่อต้น สามารถ
บังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกันข้อควรคำนึงในการบังคับให้
สับปะรดออก


ดอกนอกฤดูกาล :
1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือ
ในเวลากลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น

2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่งๆ
นั้นควรผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อม
คุณภาพ

3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมง หลัง
จากหยอดสาร จะต้องหยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้ง
แรกไปแล้ว 7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือ
ไส้เน่าก็ให้ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซีซี.ต่อ
ต้นซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา
50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน
50 กรัม ราดหรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และ
กระทำทุก ๆ 30-45 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล ทำให้
เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมน
แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ด
สูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่
ผลสับปะรดจะแก่หรือสุกประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผล
สับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรด
ที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น



อ้างอิงข้อมูลจาก
ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัย
แม่โจ้ จ.เชียงใหม่
โทร.053-873938-9
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm


http://innradio-wisanu.blogspot.com/2009/05/blog-post_14.html


[--PAGEBREAK--]


การปลูกและการดูแลรักษาสับปะรด

ในสภาพแวดล้อมของแหล่งปลูกในประเทศไทย การปลูกสับปะรดต้องใช้เวลานาน
15-18 เดือนเพื่อการเจริญเติบโตตั้งแต่แรกปลูกจนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ในระยะที่
ผลกำลังเจริญเติบโตตาที่อยู่ตามมุมใบของลำต้นจะเจริญเติบโตขึ้นมากลายเป็นหน่อ
ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลสับปะรดจากต้นแม่ (plant crop)ไปแล้วต้นสับปะรด
ต้นเดิมก็จะเสื่อมโทรมไป หน่อที่เจริญขึ้นมาจากตามมุมใบก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็น
สับปะรดต้นใหม่ สับปะรดที่พัฒนามากจากหน่อบนต้นแม่นี้เรียกว่า สับปะรดหน่อรุ่น
แรก (first ratoon) ซึ่งสามารถให้ผลได้คล้ายสับปะรดต้นแม่ เมื่อให้ผล
แล้วตาที่อยู่ตามมุมใบของสับปะรดหน่อรุ่นแรกก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก
สับปะรดต้นใหม่ที่เกิดจากตาตามมุมใบของหน่อรุ่นแรกนี้ เรียกว่า สับปะรดหน่อรุ่นที่
สอง (second ratoon) การเกิดต้นใหม่ทดแทนกันเช่นนี้จะดำเนินไปได้
หลายรอบถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต

ในทางปฏิบัติหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดจากต้นแม่ไปแล้ว จะยังสามารถไว้
หน่อและเก็บผลผลิตได้อีก 1-2 รุ่น ช่วงระยะเวลาตั้งแต่การเริ่มต้นปลูกครั้งแรกจน
ถึงเก็บเกี่ยวผลของหน่อรุ่นสุดท้ายและเตรียมการปลูกครั้งต่อไปในพื้นที่เดิมเรียกว่า
รอบการปลูก (crop cycle)ซึ่งแต่ละรอบการปลูกจะมีช่วงเวลา 4-5 ปี

รอบการปลูก 4 ปีจะประกอบไปด้วยสับปะรดรุ่นแรกและการไว้หน่อ 1 ครั้ง ซึ่งเวลา
จริงที่ต้องการในการเจริญเติบโตของพืชจะนานประมาณ 3 ปีกว่าเล็กน้อย ส่วนที่
เหลืออีก 8-9 เดือนจะเป็นการเตรียมพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมที่จะทำการปลูกรอบ
ใหม่ สำหรับรอบการปลูก 5 ปีจะรวมการไว้หน่อรุ่นที่ 2 ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหลังการไว้
หน่อรุ่นแรกประมาณ 1 ปี การจะเลือกไว้หน่อรุ่นที่ 2 หรือไม่นั้นขึ้นกับสภาพความ
สมบูรณ์ของการไว้หน่อรุ่นแรก ซึ่งส่วนมากจะไม่นิยมไว้หน่อรุ่นที่ 2 เนื่องจากผล
ผลิตของการไว้หน่อแต่ละครั้งจะลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตที่ได้รับ
ในสับปะรดรุ่นก่อนหน้านั้น


การเตรียมดิน

เนื่องจากการมีรอบการปลูกที่ใช้เวลายาวนานดังกล่าว การเตรียมพื้นที่และการปลูก
จึงต้องมีการวางแผนการปฏิบัติเป็นอย่างดี เพื่อให้ต้นสับปะรดมีการเจริญเติบโตสม่ำ
เสมอ ให้ผลผลิตสูง การจัดการดูแลรักษากระทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและค่า
ใช้จ่าย และควบคุมระยะเวลาที่จะให้มีผลผลิตออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ในพื้นที่บุกเบิกใหม่การเตรียมพื้นที่จะมีขั้นตอนการทำงานคล้ายกับการ
บุกเบิกพื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่โดยทั่วไปคือ กำจัดต้นไม้ ตอไม้หรือสิ่งกีดขวางอื่นออก
ไปจากพื้นที่ กำจัดวัชพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัชพืชข้ามปีออกไปก่อนการไถพรวนดิน
ขั้นต่อไป สำหรับพื้นที่ที่เคยปลูกสับปะรดมาก่อนแล้ว จะมีซากเหลือของต้นสับปะรด
(pineapple trash) ตกค้างอยู่ในพื้นที่ 30-40 ตันต่อไร่ (น้ำหนัก
สด) ซึ่งอาจจัดการกับซากเหลือเหล่านี้ได้หลายวิธี เช่นนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
(pineapple hay หรือ silage) หรือปล่อยให้แห้งแล้วเผา
(standing burn) หรือใช้รถแทรคเตอร์ติดใบมีด ตัดต้นและใบสับปะรดให้
เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและไถกลบลงในดิน หรืออาจไถล้มต้นสับปะรด (know
down) หลายๆ รอบ ให้ส่วนของต้นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและไถกลบลงใน
ดินอีกทีหนึ่ง ในพื้นที่ที่มีดินดานอยู่ใต้ผิวหน้าดินอาจใช้ subsoiler หรือ
ripper ไถทำลายดินดานลึกประมาณ 75 เซนติเมตรทุกระยะ 1 เมตร 2
ครั้งในทิศทางตั้งฉากกันเพื่อเปิดผิวหน้าดินให้ระบบรากของสับปะรดสามารถเจริญลง
ไปได้ และยังช่วยให้การระบายน้ำในดินดีขึ้นด้วย หลังจากนั้นจะเป็นการไถพรวนลึก
ไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรซึ่งอาจจะทำไปพร้อมๆ กับการปรับระดับพื้นที่จนดินมี
สภาพเหมาะสมต่อการปลูกพืช


การวางรูปแปลงปลูก การวางรูปแปลงปลูกสับปะรดมีจุดประสงค์หลัก 2
ประการคือ

1. เพื่อให้มีเส้นทางเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ ตั้งแต่การขนย้ายวัสดุปลูก การปลูก
การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตออกจากไร่ได้สะดวก

2. เพื่อจัดให้มีระบบการระบายน้ำฝนที่มีปริมาณมากเกินไป ออกจากแปลงปลูก
อย่างมีประสิทธิภาพไม่ให้มีน้ำท่วมขังหรือซึมซับอยู่ที่หน้าดินบริเวณรากพืชนานเกิน
ไป ซึ่งระบบระบายน้ำที่ดีจะช่วยลดการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทะลายและ
ช่วยป้องกันการสูญเสียต้นสับปะรดจากการเกิดโรคยอดและรากเน่าได้ดี

ไร่สับปะรดประกอบไปด้วยแปลงปลูกสับปะรดเป็นแถบกว้าง 30-40 เมตร ความ
ยาวไม่จำกัดแต่ไม่ควรเกิน 500 เมตร เพื่อความสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานได้
เสร็จเป็นส่วนๆ แปลงปลูกเหล่านี้จะสลับกับถนนกว้าง 3-4 เมตรต่อเนื่องกันไป
ตลอดไร่ และมักจะมีถนนสายหลักตัดผ่านบริเวณกลางไร่และรอบไร่เพื่อความสะดวก
ในการเข้าออกและการทำงานของเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น รถฉีดพ่นสารเคมี
(boom sprayer) รถสายพานช่วยเก็บเกี่ยว (harvester) และรถ
บรรทุกวัสดุในการผลิตต่างๆ ตลอดจนรถบรรทุกที่จะใช้ในการขนย้ายผลผลิตออก
จากไร่

แปลงปลูกสับปะรดควรจะมีความกว้างเท่ากันตลอดไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไร่ขนาด
ใหญ่ที่ใช้เครื่องจักรกลช่วยในการปฏิบัติงาน ความกว้างของแปลงปลูกจะเป็นสอง
เท่าของความยาวของแขนเครื่องฉีดพ่นสารเคมี การแบ่งพื้นที่แปลงปลูก ถนน และ
ระบบระบายน้ำ อาจทำหลังจากการไถพรวนขั้นสุดท้าย โดยใช้รถเกรดเดอร์ทำส่วนที่
จะเป็นถนน บริเวณส่วนปลายของแปลงปลูกควรมนเล็กน้อยเพื่อให้รถบรรทุกและ
เครื่องจักรกลต่างๆ สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องถอยหลังตั้งลำใหม่ แนวของแปลง
ปลูกอาจจะขนานกับความลาดเอียงและจัดแถวปลูกให้ขวางกับแนวลาดเอียง เพื่อลด
การชะล้างหน้าดินและให้คนเข้าไปปฏิบัติงานได้สะดวก ส่วนไร่ที่ใช้เครื่องจักรกล
ขนาดใหญ่การวางแนวแปลงปลูกและแถวปลูกจะขวางความลาดเอียงของพื้นที่ การ
วางรูปแปลงปลูกควรถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงานและขนาดของ
เครื่องจักรกลที่มีอยู่ เพราะเมื่อปลูกต้นสับปะรดลงไปแล้วจะต้องดูแลรักษาต่อไปอีก
ประมาณ 4 ปี


การเตรียมวัสดุปลูก

สับปะรดขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของลำต้น เช่น จุก หน่อ และตะเกียง วัสดุปลูก
ต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บเกี่ยวและวางคว่ำไว้บนต้นแม่เพื่อให้รอยแผลที่แยกออกมา
จากต้นแม่แห้งดีเสียก่อนเมื่อเตรียมพื้นที่ปลูกใหม่เสร็จแล้วจึงไปเก็บรวบรวมมาอีก
ครั้งหนึ่ง วัสดุปลูกแต่ละชนิดจะมีลักษณะของการเจริญเติบโตและระยะเวลาในการให้
ผลผลิตที่แตกต่างกัน

จุก

เกิดที่ส่วนยอดของผล มีน้ำหนักเฉลี่ย 200-300 กรัม มีอัตราส่วนของใบกับส่วน
ที่เป็นลำต้นค่อนข้างสูง จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้น้อย
กว่าหน่อ มีอายุการให้ผลนานกว่า และมีความต้านทานต่อโรคยอดเน่าได้น้อยกว่า
หน่อ แต่การใช้จุกเป็นวัสดุปลูกจะให้ต้นสับปะรดที่มีระบบรากแข็งแรงกระจาย
ออกรอบลำต้น มีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอดีกว่าหน่อ ทำให้สามารถควบคุมการ
ออกดอกและจัดการให้มีผลผลิตออกมาตามเวลาที่ต้องการได้ดี

หน่อ

เจริญขึ้นมาจากตาตามมุมใบ มีขนาดโดยเฉลี่ย 0.5-1.0 กิโลกรัม หน่ออากาศ
และหน่อดินเมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกจะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะ
สมและโรคยอดเน่าได้ดี อายุการให้ผลเร็วกว่าต้นที่ปลูกจากจุก แต่ต้นสับปะรดที่ปลูก
จากหน่อจะมีระบบรากแข็งแรงน้อยกว่า ความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตน้อยกว่า
และไวต่อการถูกกระตุ้นให้ออกดอกโดยสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติได้มากกว่า จึงทำให้
การควบคุมให้ออกดอกออกผลตามเวลาที่ต้องการจะทำได้ยากกว่าต้นที่ปลูกจากจุก

ตะเกียง

เป็นส่วนที่เจริญมาจากตาที่อยู่บนก้านผล ในทางพฤกษศาสตร์ตะเกียงคือส่วนที่เป็น
จุกของผลที่ไม่พัฒนาไปตามปกตินั้นเอง ตะเกียงมีขนาดเฉลี่ย 0.3-0.5
กิโลกรัม และมีอายุการให้ผลอยู่ระหว่างกลางของจุกกับหน่อ แต่ในสภาพสิ่งแวด
ล้อมของประเทศไทย สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียซึ่งนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมักจะไม่
มีการสร้างตะเกียง จึงไม่พบว่ามีการใช้ตะเกียงเป็นวัสดุปลูก

การคัดขนาดวัสดุปลูก

ทั้งจุกและหน่อก่อนนำไปปลูกควรมีการคัดขนาดออกเป็นกลุ่มต่างๆ ให้แต่ละกลุ่มมี
ขนาดใกล้เคียงกัน โดยแต่ละกลุ่มควรมีน้ำหนักแตกต่างกันไม่เกิน 100 กรัม
สำหรับจุก และไม่เกิน 200 กรัมสำหรับหน่อ การใช้จุกหรือหน่อที่มีขนาดเดียวกัน
ปลูกในแปลงเดียวกันจะทำให้ต้นสับปะรดมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ การปฏิบัติดูแล
รักษา เช่น การให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช และการบังคับผลทำได้สะดวก ผลมีขนาดสม่ำ
เสมอและมีช่วงเวลาเก็บเกี่ยวสั้น

การชุบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสำคัญของการปลูกสับปะรดในประเทศไทยและในอีกหลายพื้นที่ปลูกทั่วโลก
คือ การเกิดโรคยอดและรากเน่าซึ่งจะทำความเสียหายได้เป็นอย่างมาก การป้องกัน
ทำได้โดยการใช้จุกหรือหน่อที่ผึ่งให้รอยแผลแห้งดีเสียก่อน และชุบวัสดุปลูกในสาร
ป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสเอ็ทธิล อะลูมิเนียม (fosethyl
aluminium) อัตรา 400 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ามีแมลงเช่น เพลี้ยแป้ง
ติดมากับวัสดุปลูกอาจใช้สารกำจัดแมลงเช่น มาลาไธออน (malathion)
ผสมลงไปพร้อมกันในอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในการชุบสารดังกล่าว
ควรแช่วัสดุปลูกไว้นาน 2-3 นาที เมื่อนำขึ้นมาแล้วควรนำไปปลูกในแปลงที่เตรียม
ไว้ทันที ไม่ควรกองสุมวัสดุปลูกไว้นานข้ามวัน ถ้ามีความจำเป็นต้องทิ้งไว้นานข้ามวัน
ควรกระจายวัสดุปลูกออก หลีกเลี่ยงการซ้อนทับกันของวัสดุปลูกให้มากที่สุด

วิธีปลูกและระยะปลูก

ไร่สับปะรดขนาดใหญ่ที่ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด
กระป๋องมักนิยมปลูกในระบบร่องแถวคู่ (double row bed) โดยหลังจาก
การไถพรวนดินขั้นสุดท้ายแล้วจะยกร่องกว้างประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 15
เซนติเมตร ปลูกต้นสับปะรดเป็นแถวคู่แบบสลับฟันปลาใช้ระยะระหว่างแถวภายใน
ร่องเดียวกันประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่องคู่ 80-90 เซนติเมตร
ระยะระหว่างต้นภายในแถว 24-30 เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้ได้จำนวนต้น
8,000-10,000 ต้นต่อไร่ ความลึกในการปลูก 10-15 เซนติเมตร

การปลูก
จะใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายพลั่วขนาดเล็กมีด้ามสั้นๆ เรียกว่าเหล็กปลูก(plan
-ting iron)ขุดดินให้เป็นหลุมลึก 10-15 เซนติเมตร แล้วจึงวางจุดหรือ
หน่อตามลงไปและกลบดินรอบลำต้นให้แน่น ดินควรจะร่วนซุยและสัมผัสโคนวัสดุ
ปลูกอย่างทั่วถึง สำหรับการใช้เครื่องจักรกลช่วยในการปลูกสับปะรด มีการพัฒนาขึ้น
มาใช้ในแหล่งปลูกใหญ่ๆ เช่นในฮาวาย แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้มากนักเนื่องจากมีปัญหา
ในด้านความลึกของการปลูกไม่เพียงพอและการกลบดินรอบต้นปลูกใหม่ไม่ดีเท่าที่
ควร

สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากนักอาจเลือกปลูกในระบบแถวเดี่ยวโดย
ใช้เชือกขึงทำแนวปลูกใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30
เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000 ต้น การใช้จำนวนต้นต่อไร่
ต่ำจะทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และปริมาณวัสดุปลูกน้อยกว่า แต่ผลผลิตที่ได้
อาจจะไม่สูงเท่าที่ควร


ระยะปลูก
เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องรักษาให้สม่ำเสมอกัน ถ้าปลูกโดยมีระยะห่างไม่สม่ำเสมอกัน
ต้นที่มีระยะปลูกกว้างจะเจริญเติบโตเร็วกว่าและบังแสงต้นที่อยู่ข้างเคียง ทำให้การ
เจริญเติบโตของต้นสับปะรดในแปลงไม่สม่ำเสมอ ประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการคัด
ขนาดวัสดุปลูกก็จะสูญเสียไป การเจริญเติบโตและผลผลิตโดยรวมจะลดลง การ
เลือกใช้ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อไร่จะมีผลกระทบต่อผลผลิตและขนาดเฉลี่ยของ
ผลที่จะได้รับ ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดีตามมาตรฐานการใช้ระยะปลูกแคบ หรือเพิ่ม
จำนวนต้นต่อไร่ให้สูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น แต่ขนาด
เฉลี่ยของผลและปริมาณของผลขนาดใหญ่จะลดลง


ความต้องการธาตุอาหาร

ดินในพื้นที่ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่มักจะมีสภาพเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดิน
ทรายที่มีการระบายน้ำดี ซึ่งลักษณะการระบายน้ำดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูก
สับปะรด แต่ลักษณะการระบายน้ำดีของดินดังกล่าวมาแล้วนั้นก็มักจะเป็นผลให้มีการ
สูญเสียธาตุอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ของดินไปค่อนข้างเร็ว โดยสูญเสียไปกับ
น้ำที่ชะล้างหน้าดิน หรือน้ำที่ซึมลงไปในดินเกินระดับความลึกของระบบรากพืช นอก
จากการสูญเสียธาตุอาหารไปกับน้ำแล้ว ธาตุอาหารอีกจำนวนหนึ่งก็จะถูกนำออกไป
จากพื้นที่โดยติดไปกับผลผลิตของสับปะรดอีกด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่าดินในพื้นที่ที่ใช้
ปลูกสับปะรดในระยะแรกจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี แต่เมื่อปลูกสับปะรดไปได้ระยะหนึ่ง
ดินก็จะเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ไปได้ในเวลาไม่นานนัก

การปลูกสับปะรดในอัตรา 6,106 ต้นต่อไร่และให้ผลผลิต 8.8 ตันต่อไร่ จะมี
การดูดธาตุอาหารขึ้นมาจากดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และบางส่วนของธาตุ
อาหารเหล่านั้นจะสะสมอยู่ในส่วนของผลผลิต และสูญเสียไปจากพื้นที่เมื่อมีการเก็บ
เกี่ยวผลผลิตออกไป นอกจากธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิตแล้ว ถ้ามีการนำ
หน่อออกไปจากพื้นที่อีกประมาณหนึ่งหน่อต่อต้นแม่หนึ่งต้น ก็จะมีการสูญเสียธาตุ
อาหารออกไปจากพื้นที่อีกคือ N5.33 กิโลกรัม P2O5 1.28 กิโลกรัม K2O
6.88 กิโลกรัม CaO 1.59 กิโลกรัม และ MgO 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่

การเจริญเติบโตและผลผลิตของสับปะรดจะตอบสนองต่อธาตุไนโตรเจนได้มากที่สุด
รองลงมาคือโพแทสเซียม ปริมาณไนโตรเจนที่จะให้กับสับปะรดก็จะเป็นตัวกำหนด
ปริมาณของโพแทสเซียม ซึ่งควรจะสมดุลกันด้วย สำหรับธาตุฟอสฟอรัสซึ่งสับปะรด
มักจะมีความต้องการในปริมาณไม่สูงนัก แต่ปริมาณที่เพียงพอของธาตุฟอสฟอรัสก็มี
ความจำเป็นต่อการออกดอกและการเจริญเติบโตตามปกติของผล ในดินที่มีธาตุ
ฟอสฟอรัสเพียงพออยู่แล้วต้นสับปะรดจะไม่ตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยฟอสฟอรัส หรือ
ถ้ามีการเพิ่มฟอสฟอรัสให้มากเกินไปอาจมีผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่อง
จากระดับฟอสฟอรัสที่สูงเกินไปจะทำให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ
ได้น้อยลง สำหรับธาตุอาหารรองที่สับปะรดต้องการและมักพบว่ามีการตอบสนองต่อ
การเพิ่มให้คือแมกนีเซียม ในพื้นที่ที่ใช้ปลูกสับปะรดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว มักจะพบ
ว่าสับปะรดได้รับธาตุอาหารเสริม (micronutrient) หลายธาตุไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการ เช่น Fe Zn และ Cu และอาจรวมถึง B ด้วย ต้นสับปะรดที่
ได้รับธาตุอาหารหลักในปริมาณที่เพียงพอควรจะมีระดับธาตุอาหารใน D-leaf




การใส่ปุ๋ย

ต้นสับปะรดควรได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ แต่ไม่
มากเกินความต้องการ ปริมาณและช่วงเวลาที่ให้ปุ๋ย ควรจะสัมพันธ์กับระยะและอัตรา
การเจริญเติบโตของต้นสับปะรดด้วย ต้นที่มีขนาดเล็กมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ จะ
ต้องการปุ๋ยในปริมาณน้อยกว่าต้นที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ต้น
สับปะรดควรมีสภาพสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงและวัชพืชรบกวน สภาพแวดล้อมควรเอื้อ
อำนวยต่อการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยด้วย ถ้าต้นสับปะรดถูกรบกวนโดยศัตรูพืชต่างๆ
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งจัดหรือมีน้ำท่วมขัง จะทำให้
ต้นสับปะรดไม่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ได้เท่าที่ควร การเจริญเติบโตของต้น
สับปะรดที่ควรพิจารณาในแง่ของการใช้ปุ๋ย อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1

ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการบังคับผลสับปะรดรุ่นแรก ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่ควรใส่ปุ๋ย
ส่วนใหญ่ที่สับปะรดต้องการ การให้ปุ๋ยในระยะนี้เพื่อบำรุงให้ต้นสับปะรดมีการเจริญ
เติบโตจนมีขนาดเหมาะสมที่จะบังคับผล ต้นมีสภาพสมบูรณ์มีอาหารสำรองสูง ใบ
ควรมีสีเขียวมะกอก ถ้าต้นสับปะรดมีสภาพสมบูรณ์ดีการสร้างช่อดอกในระยะต่อไปจะ
ได้ช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนดอกย่อยมาก ซึ่งจะทำให้ได้ผลขนาดใหญ่และผล
ผลิตสูง

ระยะที่ 2

ตั้งแต่บังคับผลถึงเก็บเกี่ยวผลสับปะรดรุ่นแรกซึ่งอาจพิจารณาได้เป็น 2 ช่วง คือช่วง
หลังบังคับผลถึงระยะที่เห็นช่อดอกสีแดงที่ปลายยอด และช่วงจากเห็นดอกสีแดงไป
จนถึงเก็บเกี่ยว ในช่วงหลังบังคับผลจนถึงระยะเห็นช่อดอกสีแดงซึ่งใช้เวลานาน
ประมาณ 2 เดือน ถ้าต้นสับปะรดไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพียงพอในระยะที่ 1 อาจ
ให้ปุ๋ยเพิ่มเติมได้ในช่วงนี้ซึ่งจะช่วยให้ได้รับผลผลิตสูงขึ้นได้หลังจากนี้แล้วไม่ควรให้
ปุ๋ยแก่ต้นสับปะรดอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยไนโตรเจน เพราะจะทำให้คุณภาพของ
ผลลดลง

ระยะที่ 3

ตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลสับปะรดรุ่นแรกจนถึงบังคับผลหน่อรุ่นที่หนึ่ง การให้ปุ๋ยในระยะนี้
เพื่อช่วยให้หน่อเจริญเติบโต และมีสภาพสมบูรณ์สำหรับการบังคับผล ลักษณะของ
การให้ปุ๋ยจะคล้ายกับระยะที่ 1 แต่จำนวนครั้งและปริมาณที่ให้อาจจะลดลงเหลือ
ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ให้ในสับปะรดรุ่นแรก

ระยะที่ 4

ตั้งแต่บังคับผลจนถึงการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดหน่อรุ่นที่ 1 การพิจารณาว่าจะให้ปุ๋ย
หรือไม่และให้ในช่วงเวลาใดจะมีเหตุผลคล้ายกับระยะที่ 2 ในสับปะรดรุ่นแรก และ
ถ้ามีการไว้หน่อรุ่นที่ 2 การให้ปุ๋ยก็จะย้อนกลับไปทำเหมือนระยะที่ 3 และระยะที่
4 อีกรอบหนึ่ง

ในด้านธาตุอาหารหลักสับปะรดต้องการไนโตรเจนและโพแทสเซียมในปริมาณสูง
เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการธาตุฟอสฟอรัส ในสภาพของพื้นที่ปลูกสับปะรด
ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยซึ่งดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดินร่วนปนทราย
หรือดินปนลูกรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ สัดส่วนของปุ๋ย N:P2O5:K2O ที่เหมาะ
สมคือประมาณ 4:1:4 หรือ 5:1:5 ปริมาณที่เหมาะสมในสับปะรดรุ่นแรกคือ
N 8-12 กรัมต่อต้น P2O5 2-3 กรัมต่อต้น และ K2O 8-12 กรัมต่อต้น
แหล่งของปุ๋ย N ที่นิยมใช้คือ แอมโมเนียซัลเฟตและยูเรีย แหล่งของ P2O5 คือ
หินฟอสเฟตและดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต แหล่งของ K2O นิยมใช้โพแทสเซียม
ซัลเฟต นอกจากนี้ก็อาจใช้ในรูปของปุ๋ยผสมที่หาได้ทั่วไปในท้องตลาดเช่น 16-
20-0 หรือ 15-15-15 ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ไม่เป็นที่นิยมใช้เนื่องจากมี
รายงานจากหลายพื้นที่ปลูกเช่น ฟลอริดา ฮาวาย และเปอร์โตริโก ว่าการใช้ปุ๋ยที่มี
คลอไรด์ทำให้คุณภาพของผลต่ำลง เนื้อมีสีเหลืองซีด และผลผลิตลดลง อย่างไรก็
ตามผู้ปลูกสับปะรดบางรายจะฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ให้ต้นสับปะรดในระยะ
1-2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวโดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์กรดในผล

เนื่องจากสับปะรดมีช่วงเวลาการเจริญเติบโตในช่วงก่อนออกดอกนาน ส่วนใหญ่ไม่
ต่ำกว่า 12-13 เดือน การให้ปุ๋ยจึงนิยมแบ่งให้หลายครั้ง ลักษณะของการให้ปุ๋ย
อาจแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ


1. การให้ปุ๋ยรองพื้น
(basal application)
ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก การให้ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกจะช่วยให้ต้นสับปะรดตั้ง
ตัวได้เร็วขึ้น การวิเคราะห์ดินและประวัติการตอบสนองต่อปุ๋ยของสับปะรดที่ปลูกใน
รอบที่ผ่านมา รวมทั้งการทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยในแต่ละพื้นที่ จะช่วยในการ
ตัดสินใจให้ปุ๋ยได้ถูกต้องตรงกับความต้องการของสับปะรดมากขึ้น ปุ๋ย P2O5 มี
ความเหมาะสมที่จะให้แบบรองพื้น เนื่องจากมีการสูญเสียจากการชะล้างน้อย โดย
เฉพาะอย่างยิ่งถ้าแหล่งของปุ๋ยมาจากหินฟอสเฟตซึ่งเหมาะสมในดินที่เป็นกรดควร
ให้แบบรองพื้นทั้งหมด ส่วน N และ K2O จะสูญเสียไปจากดินได้ง่าย การให้ใน
แบบรองพื้นก่อนปลูกจึงควรให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อให้สับปะรดมีธาตุอาหาร
ใช้เพื่อการเจริญเติบโตในระยะแรกเท่านั้น


2. การให้ปุ๋ยที่โคนใบ
(side dressing)
การให้ปุ๋ยที่โคนใบจะเริ่มให้ตั้งแต่ระยะหลังปลูกเสร็จไปจนถึงระยะก่อนออกดอก อาจ
แบ่งให้ 3-4 ครั้งในช่วงหลังปลูกจนถึงก่อนออกดอกออกผล โดยใส่ให้ที่โคนใบที่
อยู่ส่วนล่างของลำต้น ครั้งแรกในช่วง 1 เดือนหลังปลูก ปุ๋ยที่ให้ส่วนใหญ่จะเป็น N
จากแอมโมเนียมซัลเฟต และ K2O จากโพแทสเซียมซัลเฟต หรืออาจใช้ปุ๋ยผสม
ต่างๆ ถ้ามีการให้ปุ๋ยรองพื้นแล้วการใส่ปุ๋ยที่โคนใบครั้งแรกอาจยืดเวลาออกไปทำใน
ช่วง 2-3 เดือนหลังปลูก การให้ครั้งต่อๆ ไปจะทิ้งช่วงเวลา 2-3 เดือน การให้
แต่ละครั้งควรปรับเวลาเลือกช่วงที่มีฝนหรือน้ำชลประทานพอที่ต้นสับปะรดจะ
สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ย เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3. การให้ปุ๋ยทางใบ
(foliar application)
ในระยะที่ต้นสับปะรดเจริญเติบโตจนมีพุ่มใบคลุมพื้นที่มากแล้ว การเข้าไปให้ปุ๋ยที่
โคนใบจะทำได้ไม่สะดวก การให้ปุ๋ยทางใบจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้ปลูก
สับปะรดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มักนิยมใช้การให้ปุ๋ยทางใบเนื่องจากทำได้รวดเร็ว
ประหยัดแรงงาน และยังสามารถเพิ่มธาตุอาหารเสริมต่างๆ ลงไปกับปุ๋ยหลักได้ ปุ๋ยที่
ให้มักจะเป็น N จากยูเรีย และ K2O จากโพแทสเซียมซัลเฟต การให้ปุ๋ยทางใบ
ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยทั้งหมดไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หลีกเลี่ยงการ
ฉีดพ่นในเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดจัด ในพื้นที่ที่ขาดธาตุอาหารเสริม
ต่างๆ เช่น Fe Cu Zn และ B อาจเพิ่มธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นลงในสาร
ละลายปุ๋ยได้ การให้ปุ๋ยทางใบส่วนใหญ่จะให้ในระยะก่อนบังคับผล ปุ๋ยยูเรียที่ใช้ควรมี
สารไบยูเร็ท (biuret) ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สารไบยูเร็ทเป็นสารปนเปื้อนที่
เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการผลิตยูเรีย ถ้ามีไบยูเร็ทปนอยู่ในปริมาณสูงจะเป็นพิษต่อ
สับปะรด โดยต้นสับปะรดจะแสดงอาการปลายใบไหม้ ถ้าอาการรุนแรงใบจะเหลือง
การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง


การควบคุมวัชพืช

นอกจากจะมีอายุการเก็บเกี่ยวแล้ว สับปะรดยังมีอัตราการเจริญเติบโตในช่วง 3-6
เดือนแรกค่อนข้างต่ำ ทำให้มีช่วงเวลาที่วัชพืชจะเข้ามาทำความเสียหายได้มาก
บทบาทของวัชพืชนอกจากจะแก่งแย่งปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโตแล้ว การมี
วัชพืชขึ้นอยู่ในแปลงปลูกสับปะรดยังเป็นอุปสรรคกีดขวางการเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยวอีกด้วย การป้องกันกำจัด
วัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมปลูกไปจนถึงระยะที่
ต้นสับปะรดสามารถสร้างพุ่มใบปกคลุมพื้นที่ได้พอสมควรแล้ว ซึ่งอาจกินเวลา 7-9
เดือนหลังการปลูก

เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชที่มีระบบรากกระจายอยู่มากบริเวณผิวดินตื้นๆ จึงไม่นิยมใช้
เครื่องจักรกลเข้าไปทำการไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช เพราะจะทำให้ระบบรากได้รับ
ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและยังเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้า
ทำลายได้ง่ายอีกด้วย การป้องกันกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่นิยมใช้สารกำจัดวัชพืช การ
ใช้แรงงานคนเข้าไปถากถางสิ้นเปลืองแรงงานมากและทำได้ช้า จึงทำได้ในพื้นที่
ขนาดเล็กเพื่อช่วยกำจัดวัชพืชที่หลงเหลือหรือต้านทานต่อสารเคมีเป็นจุดๆ ไป สาร
กำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในไร่สับปะรดได้แก่


1. ไดยูรอน
(diuron)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย ใช้ได้ทั้งก่อนและหลังวัชพืชงอกเข้าสู่ทาง
รากมากกว่าทางลำต้นและใบ เคลื่อนย้ายจากรากไปสู่ใบทางท่อน้ำตามกระแสการ
คายน้ำ ควบคุมวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ ทำลายพืชโดยยับยั้งการสังเคราะห์
แสงและทำให้เซลล์ตาย การเลือกทำลายเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายและการย่อย
สลายภายในต้นพืชแต่ละชนิดมีอัตราแตกต่างกัน การใช้ควรฉีดพ่นในสภาพที่ดินมี
ความชื้นพอสมควร เพื่อให้สารสามารถซึมลงไปสู่บริเวณรากได้ดี ไดยูรอนสลายตัว
ได้โดยแสงและจุลินทรีย์ดิน จึงไม่ควรฉีดพ่นทิ้งไว้ในสภาพที่ดินแห้งและมีแสงแดด
จัด การใช้ไดยูรอนอัตรา 720 กรัมต่อไร่ ควบคุมวัชพืชในไร่สับปะรดได้ดีประมาณ
3 เดือน และมีผลตกค้างนานกว่าอะทราซีน (atrazine) เล็กน้อย แต่ในฤดู
ฝนระยะเวลาในการควบคุมวัชพืชจะน้อยลง การฉีดซ้ำครั้งที่สองอาจจะต้องทำที่ระยะ
2 เดือน


2. โบรมาซิล
(bromacil)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย ใช้ได้ทั้งก่อนและหลังวัชพืชงอกเข้าสู่พืช
ทางรากได้ดีกว่าทางลำต้นและใบ เคลื่อนย้ายจากรากไปสู่ใบทางท่อน้ำตามกระแส
การคายน้ำ ควบคุมวัชพืชได้ทั้งใบแคบและใบกว้าง ทำลายพืชโดยยับยั้งการ
สังเคราะห์แสงและทำให้เซลล์ตาย หลังฉีดพ่นแล้วมีความคงทนอยู่ในดินได้นานอาจ
จะถึง 1-2 ปี ออกฤทธิ์ทำลายวัชพืชได้ดีในสภาพที่ดินมีความชื้น เนื่องจากสาร
สามารถซึมลงสู่บริเวณรากได้ดี การใช้หลังวัชพืชงอกควรผสมสารจับใบเพื่อช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการเข้าสู่พืชทางใบ


3. อะทราซีน
(atrazine)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย นิยมใช้แบบก่อนวัชพืชงอก ส่วนใหญ่เข้าสู่
พืชทางรากมากกว่าทางลำต้นและใบ เคลื่อนย้ายจากรากไปสู่ใบทางท่อน้ำตาม
กระแสการคายน้ำ ควบคุมวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง แต่ควบคุมพวกใบกว้างได้ดี
กว่าใบแคบ ทำลายพืชโดยยับยั้งการสังเคราะห์แสงและทำให้เซลล์ตาย การเลือก
ทำลายเนื่องมาจากการย่อยสลายภายในต้นพืชแต่ละชนิดมีอัตราแตกต่างกัน อาจใช้
แบบหลังวัชพืชงอกได้เมื่อผสมสารจับใบ


4. อะมีทรีน
(ametryne)
เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับอะทราซีน เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย
เข้าสู่พืชทางใบได้ดีกว่าอะทราซีน มีความคงทนในดินสั้นกว่าอะทราซีน นิยมใช้แบบ
หลังวัชพืชงอกโดยผสมสารจับใบ มีความเป็นพิษต่อสับปะรดมากกว่าอะทราซีน


5. ไกลโฟเสท
(glyphosate)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทไม่เลือกทำลาย ใช้หลังวัชพืชงอก เข้าสู่พืชทางใบและ
ส่วนที่มีสีเขียว สามารถเคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ส่วนล่างของพืชที่อยู่ใต้ดินได้ ควบคุม
วัชพืชได้ทั้งพวกใบแคบและใบกว้าง ฤดูเดียวและหลายฤดู แต่ส่วนใหญ่ใช้ควบคุม
วัชพืชหลายฤดู เช่น หญ้าคา ทำลายพืชโดยยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโนที่มี
aromatic ring การใช้ควรฉีดพ่นในสภาพที่วัชพืชกำลังเจริญงอกงามดี
สารไกลโฟเสทไม่มีผลตกค้างในดิน จึงนิยมใช้ในขั้นตอนการเตรียมดินก่อนปลูก
สับปะรดเพื่อทำลายวัชพืชยืนต้น เช่น หญ้าคา


การบังคับผล
(forcing)
เมื่อสับปะรดมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นจนมีขนาดพอสมควรแล้ว จะเกิดการ
สร้างดอกสร้างผลได้เองตามธรรมชาติเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่จะ
ได้แก่ อุณหภูมิต่ำและช่วงวันสั้น ในสับปะรดเมื่อเริ่มมีการสร้างช่อดอก
(inflorescence initiation) แล้ว ช่อดอกจะพัฒนาเป็นผลโดย
ไม่ต้องมีการผสมเกสร ในประเทศไทยและแหล่งปลูกสับปะรดอื่นๆ ซึ่งอยู่ในซีกโลก
ด้านเหนือ เช่น ฮาวาย และไต้หวัน สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมักจะเริ่มออกดอกออกผล
ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระยะที่มีสภาพช่วงวันสั้นและ
อากาศเย็น แต่อย่างไรก็ตามในแหล่งปลูกต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ต้นสับปะรดที่มี
ขนาดใหญ่พอสมควรอาจจะออกดอกออกผลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปีก็ได้ โดย
ไม่จำเป็นต้องได้รับสภาพวันสั้นหรืออากาศเย็น

การปฏิบัติดูแลรักษาในช่วงของการเจริญเติบโตทางลำต้น ก็มีส่วนในความยากง่าย
ต่อการที่ต้นสับปะรดจะถูกกระตุ้นให้ออกดอกตามธรรมชาติด้วย ต้นที่ได้รับน้ำและปุ๋ย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเพียงพอและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมัก
ไม่ค่อยถูกกระตุ้นให้ออกดอกออกผลในระยะเวลาที่ธรรมชาติเอื้ออำนวย ในขณะที่
ต้นสับปะรดที่อยู่ในสภาพปกติอาจถูกกระตุ้นให้ออกดอกออกผลได้ อย่างไรก็ตาม
สภาพการขาดน้ำอย่างรุนแรงก็อาจมีอิทธิพลยับยั้งการออกดอกตามปกติของ
สับปะรดได้เช่นกัน

การบังคับผลหรือการชักนำให้ต้นสับปะรดที่เจริญเติบโตเพียงพอแล้ว ออกดอกออก
ผลโดยการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth
regulators, PGR) เป็นวิธีการที่รู้จักกันมานานแล้ว ต้นกำเนิดของวิธีการ
นี้เริ่มมาจากการค้นพบโดยบังเอิญว่า ต้นสับปะรดที่ได้รับการรมควันไฟออกดอกออก
ผลพร้อมกันก่อนฤดูกาลปกติ ผู้ปลูกสับปะรดในเปอร์โตริโกนำวิธีการรมควันไปใช้กับ
ต้นสับปะรดในแปลงปลูกให้ออกดอกออกผล โดยการสุมไฟไว้ด้านเหนือลมของ
แปลงปลูก หรือใช้ผ้าใบคลุมแปลงปลูกสับปะรดและปล่อยควันไฟเข้าไปภายใน การ
บังคับผลช่วยให้มีผลสับปะรดออกมาก่อนฤดูกาลปกติ ซึ่งทำให้สามารถจำหน่ายผล
ผลิตได้ในราคาสูงขึ้น และช่วยให้มีผลผลิตสับปะรดออกมาใช้ประโยชน์ได้ในช่วง
เวลาที่กว้างขึ้น

สารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในควันไฟซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นการออกดอกของสับปะรด คือ แก็ส
เอทธิลีน (ethylene) การศึกษาต่อๆ มาก็พบว่าแก๊สอเซทธิลีน
(acetylene) และสารควบคุมการเจริญเติบโตที่อยู่ในกลุ่มออกซิน
(auxins) หลายชนิด เช่น indole acetic acid (IAA) และ
naphthalene acetic acid (NAA) ก็สามารถชักนำให้ต้น
สับปะรดออกดอกได้เช่นกัน

ความสำเร็จของการชักนำให้เกิดดอกในสับปะรดด้วยสารเคมีจะมีปัจจัยต่างๆ ที่ควร
คำนึงถึงคล้ายกับการเกิดดอกในสภาพธรรมชาติคือ ต้นสับปะรดต้องเจริญเติบโตจนมี
ขนาดพอสมควรขนาดหนึ่ง มีสถานะทางสรีระที่เหมาะสม มีสภาพอากาศเย็นและ
สภาพช่วงวันสั้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสารเคมีเองมาเกี่ยว
ข้องด้วย เช่น ชนิด ความเข้มข้นของสารเคมี จำนวนครั้งที่ให้สารเคมี ปริมาณรวม
ของน้ำที่ใช้ผสมสารเคมีและช่วงเวลาที่ให้สารเคมีแก่ต้นสับปะรด

เนื่องจากขนาดของผลสับปะรดมีความสัมพันธ์เป็นอย่างสูงกับขนาดของต้นที่ระยะ
บังคับผล และในทางการค้าและอุตสาหกรรมต้องการผลสับปะรดที่มีขนาด 1.0-
2.5 กิโลกรัม ถ้าต้นสับปะรดเจริญเติบโตได้ขนาดพอที่จะบังคับให้ออกดอกได้แต่
ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้รับขนาดผลที่เหมาะสม ขนาดของผลที่ได้ก็จะมีขนาดเล็ก
เกินไปที่จะใช้ประโยชน์ตามปกติได้ ในทางปฏิบัติจะทำการบังคับผลเมื่อต้นสับปะรดมี
น้ำหนักสดประมาณ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ต้นสับปะรดที่มีขนาดใหญ่
จนเกินไป เช่น มีน้ำหนักสดมากกว่า 5 กิโลกรัม อาจจะทำการบังคับผลได้ยากขึ้น
หรือต้องใช้ปริมาณสารเคมีมากกว่าปกติ เพื่อให้ได้รับผลของการออกดอกในระดับที่
น่าพอใจ

สถานะทางสรีระของต้นสับปะรดก็มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบังคับผลด้วยเช่น
กัน ต้นสับปะรดที่ได้รับน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนอย่างต่อเนื่องมาตลอด มีการเจริญเติบโต
ทางลำต้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้การบังคับผลได้ผลน้อยลง ความสำเร็จของการ
บังคับผลจะสูงเป็นที่น่าพอใจ เมื่อระดับของไนโตรเจนในส่วนโคนใบสีขาวของ D-
leaf มีค่าประมาณ 1.3% (น้ำหนักสด) ระดับขั้นสูงของไนโตรเจนในใบที่
ระยะบังคับผลไม่ควรเกิน 1.6% (น้ำหนักสด) ในทางปฏิบัติผู้ปลูกสับปะรดมักจะ
งดการให้น้ำและปุ๋ยไนโตรเจนแก่ต้นสับปะรดในช่วงก่อนการบังคับผล 2-3 เดือน

สารเคมีที่พบว่าสามารถชักนำให้สับปะรดออกดอกออกผลได้มีหลายชนิด แต่ละชนิด
อาจจะมีความสะดวกในการใช้ และมีประสิทธิภาพในการชักนำให้ต้นสับปะรดออก
ดอกได้แตกต่างกันไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างไรก็ตามสารเคมีที่มีประสิทธิภาพ
สูง และอยู่ในความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไปในทางการค้าและอุตสาหกรรม
การผลิตสับปะรดมี 4 ชนิด คือ แคลเซียมคาร์ไบด์ หรืออเซทธิลีน เอทธิลีน เอทธิ
ฟอน และแนพทาลีน อะซีติคแอซิด


อเซทธิลีน
(acetylene, C2H2)
หรือแคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2) อาจใช้ในรูปของแข็งใส่ลงในกลางยอดของต้น
สับปะรดที่มีน้ำขังอยู่ หรือใช้รูปสารละลายของแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งแคลเซียม
คาร์ไบด์เมื่ออยู่ในสภาพสารละลายจะเกิดขบวนการไฮโดรไลซีสได้แก๊สอเซทธิลีน
(C2H2) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในการชักนำให้ต้นสับปะรดออกดอก


เกษตรกรรายย่อยโดยทั่วไปนิยมใช้แคลเซียมคาร์ไบด์เนื่องจากหาได้ทั่วไปในท้อง
ถิ่นและราคาถูก อัตราที่ใช้แตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 150 มิลลิกรัม ถึง 3
กรัมต่อต้น การให้แคลเซียมคาร์ไบด์ในเวลากลางคืนได้ผลดีกว่าในเวลากลางวัน ซึ่ง
อาจจะเนื่องจากต้นสับปะรดมีความอ่อนไหวต่อการชักนำให้เกิดดอกในเวลากลางคืน
ได้มากกว่าในเวลากลางวัน หรือการเคลื่อนย้ายของสารเคมีภายในต้นสับปะรดใน
เวลากลางคืนดำเนินไปได้ดีกว่าในเวลากลางวัน เนื่องจากปากใบสับปะรดจะเปิดเป็น
ส่วนมากในเวลากลางคืน หรือทั้งสองเหตุผลรวมกัน สำหรับการใช้ในรูปของแข็งจะ
ทุบแคลเซียมคาร์ไบด์ให้เป็นก้อนเล็กๆ ใส่ลงที่กลางยอดของต้นสับปะรดที่มีน้ำขังอยู่
ในกรณีที่ไม่มีน้ำขังอยู่ที่บริเวณยอดของต้นสับปะรดจะต้องหยอดน้ำเพิ่มให้ต้นละ
50-75 มิลลิลิตร การหยอดให้ที่ยอดก็ได้ ผลคล้ายกับการฉีดพ่นให้ที่ใบของต้น
สับปะรด การให้ NAA ในเวลากลางวันไม่ทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกลดลงจน
เห็นได้เด่นชัดนัก แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการให้ในเวลาที่มีแสงแดดจัด อย่างไรก็ตามใน
พื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกบ่อยๆ การจะได้รับความสำเร็จในการบังคับ
ผลเป็นที่น่าพอใจจะต้องให้ NAA ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ในเวลา 5-7 วันหลังจากการ
ให้ครั้งแรก


เอทธิลีน
(ethylene, C2H4)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ในการ
ควบคุมกระบวนการทางสรีระและชีวเคมีต่างๆ มากมายในพืช ในสับปะรดเอทธิลีน
เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งทางด้านการชักนำให้ออกดอก และคุณภาพของผล
สับปะรดที่ได้รับก็อยู่ในขั้นดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศร้อน
ชื้น ประสิทธิภาพในการบังคับผลของเอทธิลีนจะสูงกว่าสารบังคับผลชนิดอื่น แต่การ
ใช้เอทธิลีนเป็นสารบังคับผลมีปัญหาในด้านการปฏิบัติเนื่องจากเอทธิลีนอยู่ในรูปของ
แก๊ส ซึ่งจะต้องทำให้ละลายอยู่ในน้ำเสียก่อนจึงจะให้แก่ต้นสับปะรดได้สะดวก และ
ปริมาณแก๊สเอทธิลีนที่ละลายในน้ำจะต้องมากพอที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดผลทาง
สรีระ ชักนำให้มีการสร้างช่อดอกในสับปะรดได้ จึงมีใช้เฉพาะผู้ปลูกสับปะรดรายใหญ่
บางรายเพราะต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยผสมเอทธิลีนลงในน้ำ ในทางปฏิบัติจะใช้
น้ำซึ่งมีแอคติเวตคาร์บอนผสมอยู่ 0.5-2.0 เปอร์เซ็นต์ สูบผ่านท่อซึ่งมีอุปกรณ์
ผสมเอทธิลีนเข้าไปในระบบก่อนที่สารละลายจะผ่านหัวฉีดออกมา อัตราการใช้เอทธิ
ลีนในที่ต่างๆ กันอาจแตกต่างกันไปได้ในช่วง 80-352 กรัมต่อไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้
800-1,200 ลิตรต่อไร่ การให้ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-5 วัน


เอทธิฟอน
(ehtephon, 2-chloroethylphosphonic acid)
เป็นสารที่แตกตัวให้เอทธิลีนในสภาพที่ pH สูงกว่า 3.5 เป็นสารเคมีที่กำลังได้
รับความนิยมสำหรับใช้เป็นสารบังคับผลในสับปะรดอย่างแพร่หลายทั้งผู้ปลูกรายใหญ่
และเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากมีความสะดวกในการใช้สูงเพราะอยู่ในรูปของเหลวที่
คงตัวในสภาพ pH ต่ำ และมีประสิทธิภาพในการชักนำให้ต้นสับปะรดออกดอกได้ดี
แต่ราคาอาจจะค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารบังคับผลชนิดอื่น ในทาง
ปฏิบัติอัตราการใช้เอทธิฟอนจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ปลูก ในประเทศไทยใช้
อัตรา 175-200 ppm สารออกฤทธิ์ ผสมยูเรีย 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นให้ต้นละ 75 มิลลิลิตร การให้ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 3-5 วัน ในบางกรณีการใช้
เอทธิฟอนเป็นสารบังคับผล อาจจะไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร หรือบางครั้งพบว่า
ต้นสับปะรดมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกน้อยมากหรือไม่ออกดอกเลย ซึ่งความด้อย
ประสิทธิภาพของเอทธิฟอนในการชักนำให้ต้นสับปะรดออกดอก มักเกิดขึ้นในฤดู
ร้อนซึ่งสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ทั่วไปในแหล่งปลูก
สับปะรด



การเก็บเกี่ยว

ในประเทศไทยการปลูกสับปะรดสามารถทำได้เกือบตลอดปีดังนั้นการเก็บผล
สับปะรดก็สามารถทำได้เกือบตลอดทั้งปีเช่นกัน แต่ที่สับปะรดให้ผลชุกที่สุดมี 2
ช่วง คือ ช่วงสับปะรดปี ซึ่งจะเก็บผลได้มากกว่าสับปะรดทะวายประมาณ 3 เท่า
ช่วงนี้จะอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และช่วงสับปะรดทะวาย ซึ่งออกใน
เดือนตุลาคมถึงธันวาคม

การสังเกตผลแก่ของสับปะรด พิจารณาได้จากลักษณะภายนอกผลดังนี้ ผิวเปลือก
จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวอมเหลืองอมส้ม หรือเขียวเข้มเป็นมัน ใบเล็ก ๆ ของตา
ย่อย จะเหี่ยวแห้ง เป็นสีน้ำตาลหรือชมพู ตาย่อย จะนูนเด่นชัดเรียกว่าตาเต็ม ร่องตา
จะตึงเต็มที่ขนาดของผลไม่เพิ่มขึ้นอีก ดมกลิ่น ผลสับปะรดแก่จะส่งกลิ่นหอมเฉพาะ
ตัว ความแน่นของผล จะลดลงเมื่อใช้นิ้วดีดหรือไม้เคาะเพื่อฟังเสียง ถ้าเสียงโปร่ง
แสดงว่ายังไม่แก่ ถ้าเสียงทึบ (หรือแปะ) แสดงว่าแก่จัดได้ที่แล้ว



การเพิ่มผลผลิตนอกฤดู

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถปลูกได้ใน
พื้นที่แทบทุกแห่งของประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญอยู่ในบริเวณพื้นที่
ใกล้ทะเล เช่น แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และ
จังหวัดทางภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร ซึ่งนิยมปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา
สับปะรดที่ปลูกกันทั่วไปนั้นมักจะออกผลทยอยกันตลอดปี และในปีหนึ่งๆ จะมีช่วงที่
สับปะรดออกดอกและให้ผลมากอยู่ 2 ช่วงคือ ช่วงแรกสับปะรดจะออกดอก
ประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์และจะเก็บผลได้ในเดือนเมษายนถึง
มิถุนายนและช่วงที่สองจะออกดอกประมาณเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมและจะเก็บผล
ได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม หากมีการปล่อยให้สับปะรดออกดอกตาม
ธรรมชาติแล้วจะพบว่าการติดผลและเก็บผลจะไม่พร้อมกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก
มากในการเก็บเกี่ยวและการเลี้ยงหน่อรุ่นต่อไป นอกจากนี้การออกดอกของสับปะรด
ตามธรรมชาติจะทำให้มีผลผลิตออกมาปริมาณมากในช่วงเดียวกัน ซึ่งทำให้สับปะรด
ที่ออกมาในช่วงดังกล่าวมีราคาที่ต่ำมาก ดังนั้นหากมีการบังคับให้สับปะรดออกดอก
และให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกติ ทำให้สับปะรดมีราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของสวน
สับปะรดต้องการหรือปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามในการบังคับให้สับปะรดออกดอก และให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกตินั้น
ย่อมจะต้องมีปัจจัยต่างๆ คอยควบคุมอยู่ ปัจจัยที่นับว่าสำคัญมาก ได้แก่ สภาพความ
สมบูรณ์ของต้นสับปะรด กล่าวคือ ถ้าหากต้นสับปะรดมีขนาดเล็กเกินไป การบังคับจะ
ทำไม่ได้ผลเนื่องจากต้นสับปะรดยังไม่มีความพร้อมหรือความสมบูรณ์พอหรือถ้าออก
ดอกได้จะทำให้ผลมีขนาดเล็ก สำหรับสับปะรดที่พร้อมจะทำการบังคับนั้นต้องเป็น
สับปะรดที่มีความสมบูรณ์ โคนต้นจะต้องอวบใหญ่ มีน้ำหนักของต้นประมาณ 2.5
กิโลกรัมขึ้นไปหรือมีใบมากกว่า 45 ใบ หรือมีอายุได้ 7-8 เดือน ต้องทำหลัง
จากการใส่ปุ๋ยทางดินอย่างน้อย 3 เดือน และสามารถคำนวณระยะเก็บเกี่ยวได้ โดย
นับตั้งแต่บังคับให้ออกดอกไปประมาณ 160 วัน




ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและวิธีการใช้


1. ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด

เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมากเพราะหาง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วย
กัน 3 วิธีคือ

วิธีที่ 1

ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้น
จึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซีซี. (ประมาณ 1/4 กระป๋องนม) หรือ
อาจจะดัดแปลงโดยป่นถ่านแก๊สให้เป็นผง แล้วจึงหยอดลงไปที่ยอด โดยใช้ถ่านแก๊ส
ป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1-2
กิโลกรัม) วิธีนี้มักจะทำในช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวกและประสิทธิภาพ
การใช้ถ่านแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเวลา
และแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่านแก๊สคนหนึ่งและหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่ง

วิธีที่ 2

ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้ว
หยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซีซี. (1 กระป๋องนม หยอดได้ 4 ต้น)
วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่
บ้างคือ สิ้นเปลืองถ่านแก๊สมาก

วิธีที่ 3

ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย
ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติกันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวก
ในการปฏิบัติ


หลังจากหยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอกสีแดงๆ
โผล่ขึ้นมาจากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน จะสามารถตัดสับปะรดแก่
ไปขายหรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2
เดือน ดังนั้นถ้านำไปขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ

การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลงความเห็น
ว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงานหรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยัง
มีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลย และที่
เห็นได้ชัดเจนก็คือขนาดของผลเล็กลง ทำให้น้ำหนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลง
ด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่ายแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง 3-5 วัน
เท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะเน่า รสชาติจะเปลี่ยนไป และ
หากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอดสับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโต
ทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตและลง
ความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไป ถ้าหาก
นักวิชาการเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป


2. เอทธิฟอน

เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อ
เอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมา เอทธิลีนจะเป็น
ตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมี 2 ชนิดคือ

1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถังพลาสติกขนาด 1 แกลลอน
โดยใช้อัตรา 17-30 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บ และปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้
หยอดต้นละ 60 ซีซี. (1 กระป๋องนมใช้หยอด 4 ต้น)

2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า
อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บ และปุ๋ยยูเรีย 350-500
กรัม ให้หยอดต้นละ 60 ซีซี.(กระป๋องนมละ 4 ต้น)ปริมาณการใช้เอทธิฟอน
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้นสับปะรดด้วยกล่าวคือ ถ้าหยอดใน
ช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น หรือหากจำ
เป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีก
เท่าตัว

3. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโน
ฟิกซ์ ใช้ในอัตรา 50 ซีซี. ผสมน้ำ 50 ซีซี. และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กิโลกรัม
หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซีซี.ต่อต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอก
ก่อนฤดูได้เช่นกัน



ข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล

1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเช้าหรือตอนเย็น หรือในเวลา
กลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น

2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่งๆ นั้น ควร
ผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ

3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากหยอด
สาร จะต้องหยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว
7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้
ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซีซี. ต่อต้นซึ่งสามารถรักษา
โรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซี.
ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ราด
หรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุกๆ 30-45 วัน
ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโน
ฟิกซ์ อัตรา 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-
20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุก
ประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่ม
ขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น




http://202.129.0.133/plant/pineapple/3x.asp              







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (17553 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©