-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 529 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สละ




หน้า: 3/3




สละพันธุ์สุมาลี" หวานสนิทมีต้นขาย







http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=angelonia17&month=12-12-2010&group=22&gblog=22 



ปลูกสละอินโดฯ ผสมผสานในสวนยางพารา

 

หากพูดถึงผลไม้ต่างประเทศ หลายคนคงจะนึกถึง ผลแอปเปิ้ล สาลี ลูกพลับ
 หรือผลไม้อีกหลากลายชนิด แต่ปัจจุบันสามารถปลูกได้แล้วในประเทศไทย
เช่นเดียวกับสละพันธุ์อินโดนีเซีย ที่สามารถปลูกได้ในจังหวัดตรัง โดยที่ผล
ผลิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากสายพันธุ์เดิม แถมยังเป็นที่น่าแปลกใจเมื่อทราบ
ว่า มีเกษตรกรให้ความสนใจในการทำสวนแบบผสมผสาน ระหว่างสวนยางพารา
กับสละพันธุ์อินโดนีเซีย ในพื้นที่ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

อาจารย์เจษฎา เบญจวรากูร อายุ 56 ปี อดีตข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งสมัยนั้นเป็นครูผู้สอนวิชาชีว
วิทยา หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ เล่าว่า หลังจากตนเองหยุดอาชีพการเป็นครู
ก็ได้ผันตัวเองมาเป็นชาวสวนอย่างเต็มตัว โดยเริ่มต้นด้วยการดูแลสวนยาง
พารา ในพื้นที่อำเภอย่านตาขาว ซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง จากนั้น
ก็ได้ศึกษาการทำสวนแบบผสมผสาน และพืชพันธุ์ต่างๆ ที่สามารถปลูกร่วม
กับสวนยางพาราได้

จนกระทั่งได้มารู้จักกับผลไม้อย่างสละสายพันธุ์อินโดนีเซีย และทำให้เกิด
ความชื่นชอบในความแปลก เพราะมีรสชาติที่อร่อยและแตกต่างไปจากสละ
ทั่วไป เนื่องจากเนื้อของผลจะมีสีขาว และมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ
แต่มีความพิเศษตรงที่เนื้อของผลนั้นจะไม่ติดเมล็ด ทำให้มีรสชาติหวาน
กรอบ อร่อย น่ารับประทาน ดังนั้น เมื่อประมาณปี 2546 หรือเมื่อประมาณ 4
 ปี ที่ผ่านมา อาจารย์เจษฎา จึงได้ติดต่อขอนำสละสายพันธุ์อินโดนีเซีย
มาจากชาวสวนสละในจังหวัดนราธิวาส
จากนั้น ได้นำต้นกล้าซึ่งมีราคาต้นละ 50 บาท มาปลูกลงในระหว่างร่องของ
สวนยางพารา ที่เป็นพื้นที่กว้างมากพอสำหรับการปลูกต้นสละสายพันธุ์อิน
โดนีเซีย โดยเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ สามารถปลูกได้ทั้งหมด 780 ต้น สำหรับ
วิธีการปลูกนั้น จะขุดหลุดขนาดกว้าง 50 ซม. คูณ 50 ซม. จากนั้น รองก้น
หลุมด้วยสารโบกาฉิและอีเอ็ม หลุมละประมาณครึ่งกิโลกรัม แล้วทิ้งไว้ 7 วัน
ก่อนที่จะนำต้นกล้าลงปลูก แล้วรดน้ำวันละ 1 ครั้ง และใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง

หลังจากนั้น เมื่อต้นสละมีอายุได้ 2 ปี ก็จะเริ่มออกดอก แต่การที่สละสาย
พันธุ์อินโดนีเซียจะออกผลได้นั้น เกษตรกรจะต้องช่วยในการผสมเกสร ระ
หว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ซึ่งแต่ละต้นก็จะให้ดอกที่ไม่เหมือนกัน โดย
การนำเกษรตัวผู้เคาะใส่ในจาน แล้วใช้พู่กันป้ายไปยังเกษรตัวเมีย กระทั่ง
เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 สละก็จะเริ่มให้ผลผลิต ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 3 เดือนต่อครั้ง
หรือปีละ 4 ครั้ง โดยมีราคาจำหน่ายอยุ่ที่กิโลกรัมละ 70-100 บาท แต่ส่วน
ใหญ่เกษตรกรในพื้นที่อำเภอย่านตาขาว จะส่งไปจำหน่ายที่จังหวัดเพื่อน
บ้านอย่างจังหวัดพัทลุง

ส่วนการดูแลต้นสละในขณะที่ให้ผลผลิตแล้วนั้นง่ายมาก เพียงแต่ต้องระวัง
แมลงวันทองที่จะมากัดกินผลอ่อน ด้วยการฉีดสารอีเอ็ม และสุโตฉู เพื่อช่วย
ไล่แมลงโดยปลอดจากสารเคมี นอกจากนั้น จากการที่สละพันธุ์อินโดนีเซีย
ไม่ชอบอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป เมื่อนำมาปลูกให้อยู่ร่วมกับยางพารา
จึงถือว่าเป็นการแบ่งร่มเงาและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ต้นไม้ด้วยกัน ทั้งนี้ หาก
ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์เจษฎา โทรศัพท์
 (086) 279-7958




ปลูกสะละ แนวใหม่

ความผูกพันกับวิถีเกษตรตั้งแต่เล็กจนโต จึงทำให้มีประสบการณ์ปลูกพืชหลายชนิด
แต่ทั้งหมดไม่มีพืชชนิดใดที่สร้างความพอใจในแง่รายได้เท่าที่ควร ด้วยความตั้งใจ
บวกความมุ่งมั่นที่เชื่อว่าพืชชนิดนี้จะสร้างเม็ดเงินให้ครอบครัวได้


ปลูกสะละ


ชีวิตของ ถัน ดำเรือง เกษตรกรวัย 60 ต้นๆ แห่ง ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.
พัทลุง พูดได้ว่ารายได้หลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตและสมาชิกครอบครัวนั้นมาจากการทำ
สวนสละ
ซึ่งต่างไปจากเกษตรกรรายอื่นที่ส่วนมากมีรายรับจากการปลูกข้าว หรือ
สวนยางพารา


ความผูกพันกับวิถีเกษตรตั้งแต่เล็กจนโต จึงทำให้มีประสบการณ์ปลูกพืชหลายชนิด
ทั้งปลูกข้าว สะตอ ขนุน จำปาดะ มะพร้าว ไม่เว้นแม้ยางพารา แต่ทั้งหมดไม่มีพืช
ชนิดใดที่สร้างความพอใจในแง่รายได้เท่าที่ควร


เหตุนี้ลุงถันจึงเริ่มศึกษาข้อมูลการเกษตรเพื่อปลูกพืชแซมในสวนยาง จนมาลงตัวที่
ปลูกสละ
โดยอาศัยตำรา สอบถามผู้รู้ รวมถึงลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง จนเริ่มเข้า
ใจและมีความรู้เกี่ยวกับพืชชนิดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่ง ปี 2543 จึงลงทุนปรับ
สภาพพื้นที่ของตัวเองปลูกสละ 500

ต้น ท่ามกลางสายตาและอาการไม่เห็นด้วยของเพื่อนเกษตรกรหลายคน

ด้วยความตั้งใจ บวกความมุ่งมั่นที่เชื่อว่าพืชชนิดนี้จะสร้างเม็ดเงินให้ครอบครัวได้ ทำ
ให้ลุงถันขยายพื้นที่ปลูกสละเพิ่มขึ้นเป็น 20 ไร่ในเวลาต่อมา ที่ ต.หนองธง อ.
ป่าบอน โดยแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ 4 แปลง โดยทุกแปลงมีการพัฒนาคุณภาพการ
จัดการถูกต้องตามหลักวิชาการ จนได้รับใบรับรองคุณภาพตามโครงการผลิตสินค้า
เกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน (GAP) ทุกแปลง


ลุงถันบอกว่า ทุกวันนี้เก็บผลผลิตได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อวัน จากพื้นที่13
ไร่ ที่ให้ผลผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 7 ไร่ คาดปี 53 จะเก็บเกี่ยวได้ทั้ง
หมด โดยส่งขายในพื้นที่ จ.พัทลุง กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ ในราคาเฉลี่ยอยู่
ที่กิโลกรัมละ 30-50บาท


ปัจจุบันสวนของลุงถัน ไม่เพียงเป็นแหล่งผลิตสละที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังเป็น
ศูนย์เรียนรู้ให้แก่เกษตรกรผู้สนใจจะปลูกสละด้วย


ดังนั้น จึงเป็นที่น่ายินดีที่ต่อมาลุงถันได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นในการ จัดการ
สวนสละ
ตามแนวทาง GAP ประจำปี 2552 ของ จ.พัทลุง




ที่มา : คมชัดลึก

http://www.xn--b3c4bjh8ap9auf5i.th/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5/

http://raktrang.trangzone.com/news.php?id=155




 ต้นตัวผู้ของสละ  มีหน้าที่ออกดอกเพื่อผสมเพียงอย่างเดียว  ถ้าเราปลูก
ไว้เป็นปริมาณมากพอ  ก็สามารถจะเก็บดอกมาใช้ผสมกับดอกตัวเมียที่
บานแล้วอย่างต่อเนื่อง คือ เอาดอกสด ๆ มาเลย ตัดเป็นท่อนเล็ก ๆ แล้ว
ก็เอาหนามของต้นมันนั่นแหละปักเสียบดอกตัวผู้ประกบไว้ด้านบนช่วย
เขย่าบ้างก็ดี  ผ่านไปสัก 1-2 วัน  ก็เอาออกได้แล้ว เป็นว่าช่อดอกนั้นได้
รับการผสมเรียบร้อย
               
ในกรณีที่ดอกตัวผู้มีไม่มากนัก  ก็สามารถจะเก็บดอกเอาไว้ได้  ด้วยการ
เก็บทั้งช่อ ใส่ถุงพพลาสติกมิดชิด หรือใส่กล่อง  แล้วก็เก็บเอาไว้ในช่อง
ฟิตของตู้เย็น  เวลาจะใช้ก็เอาออกมาวางไว้สักพักก็สามารถจะนำไปใช้
ได้เลย 

อีกกรณีหนึ่ง คือ รูดเอาเกสรตัวผู้ออกจากช่อให้หมด ใส่ภาชนะที่
สามารถปิดฝาได้อย่างมิดชิด  จากนั้นเทแป้งทาตัวลงไปผสม  แล้วก็เก็บ
เอาไว้ในช่องฟิตเช่นกัน  เก็บได้นาน 6 เดือน  เวลาจะใช้ก็เอาแปรงคนๆ
เกสรและแป้ง ในภาชนะที่เก็บให้เข้ากันดี  แล้วก็เอาแปรงนั่นแหละจุ่ม
แป้งและเกสรไปป้ายๆ ลงบนดอกตัวเมียที่กำลังบาน  ก็ทำให้ติดดีได้เช่น
กัน  และเป็นวิธีการที่ประหยัดเกสรตัวผู้อีกด้วย 

หลายปีก่อนที่เพิ่งปลูกสละกันแรกๆ   เกษตรกรส่วนหนึ่งไม่รู้ต้องปลูกต้น
ตัวผู้ด้วย  เวลาต้นในสวนมีดอก  ก็ต้องไปเสาะหาดอกตัวผู้มาด้วยราคา
แพง  ได้มาแล้วก็ต้องมาทำวิธีผสมแป้งนี้แหละ   เป็นวิธีที่ประหยัดและ
ได้ผลดีมากที่สุด



http://nayaiam.chanthaburi.doae.go.th/farmer1.htm







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (18134 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©