การกินน้ำ (Drinking)
นกขุนทองไม่สามารถดูดน้ำได้ พวกมันจะใช้การจุ่มปากลงไปในน้ำเพื่อให้น้ำเข้าปาก จากนั้นมันจะยกหัวขึ้นเพื่อให้น้ำเข้าไปในคอหอย วิธีการนี้เป็นวิธีที่พวกมันจะกินน้ำได้ง่ายที่สุด
การไซร็ขน(Preening)
นกขุนทองมักจะไซร้ขนด้วยจะงอยปากหลังจากที่พวกมันทำภาระกิจประจำวันเสร็จ เช่น หลังจากการอาบน้ำ
การเกา(Scratching)
การเกานี้มักจะเกิดพร้อมกับการไซร้ขน หรืออาจจะเกิดไม่พร้อมกับการไซร้ขน พวกมันจะเกาหัวและคอของมันโดยการยกขาขึ้นมาเกา
การอาบน้ำ(Bathing)
นกขุนทองชอบการอาบน้ำมาก พวกมันมักจะเล่นน้ำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อ 1 วัน หลังจากอาบน้ำ มันมักจะสะบัดตัวและไซร้ตามขนเพื่อให้ตัวแห้ง นกขุนทองมักจะสั่นหัวเพื่อให้น้ำที่หูออกมา พวกมันจะจามเพื่อเอาน้ำออกจากรูจมูก การอาบน้ำของนกขุนทองมักเกิดในเวลาว่าง
การจาม(Sneezing)
ในบางครั้งการจามของนกขุนทองก็ไม่ใช่เรื่องปกติ พวกมันก็เหมือนกับคนเราที่จะจามเมื่อรู้สึกคัน หรือเมื่อเกิดการระคายเคือง มันอาจจะจามเพื่อเอาน้ำออกจากรูจมูกหลังการอาบก็ได้ แต่เมื่อไรที่มันจามบ่อยขึ้นและไอ ในรูจมูกของมันผิดปกติ (ไม่สะอาดและโล่ง) แสดงว่ามันกำลังป่วย และต้องการพบสัตวแพทย์
การเหยียดขาและปีก(Stretching)
บางครั้งบางคราวนกขุนทองจะเหยียดขาและปีก ในหลาย ๆ ทิศทาง หรืออาจจะยืด, ขยับหัวและคอ การทำแบบนี้เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อซึ่งคล้าย ๆ กับคนเรา
การหาว(Yawning)
นกขุนทองมักจะหาวหลังหรือก่อนที่มันจะงีบหลับ พวกมันจะเปิดปากออก 2-3 วินาที
การพักและนอนหลับ(Resting and Sleeping)
โดยทั่วไปการหลับของนกขุนทองจะเป็นการหมอบหรือย่อตัวบนคอน, รังของมัน มันจะหดตัวลงมาที่บ่า ใบหน้าตั้งตรงและปิดตา ถ้าเราสังเกตดูจะพบว่ามันมักจะหลับตลอดทั้งวัน บางครั้งมันอาจจะยืนขาเดียวในระหว่างที่มันพักผ่อน นาน ๆ ครั้งมันจะเอาหัวเข้าไปหลบในขน นกขุนทองมักจะงีบหลับตลอดทั้งวัน แต่มันจะนอนหลับในเวลากลางคืน
พฤติกรรมของนกขุนทองในฤดูผสมพันธุ์
ฤดูผสมพันธ์ทางตอนเหนือของอินเดีย จะอยู่ในช่วงเมษายน - กรกฎาคม ในประเทศไทยจะมีช่วงเวลานานกว่า ในช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม มันจะทำรังบนต้นไม้สูงประมาณ 10-40 ฟุต จากพื้นดิน โดยมักจะเลือกตามชายป่า โดยแยกตัวออกไปจากฝูง รังของมันจะทำจากกิ่งไม้ สิ่งสกปรก และขน ในแต่ละครอกมันจะวางไข่ 2-3 ฟอง ใน 1 ปี มันจะออกไข่ 2-3 ครอก แต่ในบางครั้งอาจจะวางไม่เพียง 1 ฟอง สีของไข่จะเป็นสีฟ้าจาง ๆ จนถึงสีเขียวอมฟ้าจาง ๆ โดยจะมีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นกจะกกไข่ 13-17 วัน แต่แม่นกจะใช้เวลากกไข่มากกว่าพ่อนก ทั้งพ่อนกและแม่นกจะช่วยกันดูแลลูกนก แต่จะทิ้งไว้ตามลำพังเวลาออกไปหาอาหาร พ่อนกและแม่นกจะต้องนำอุจจาระของลูก ๆ มันไปทิ้ง ในสัปดาห์แรกลูกนกจะกินแมลงตัวเล็ก ๆ ในสัปดาห์แรกลูกนกจะลืมตา ในสัปดาห์ต่อ ๆ มา มันจะกินผลไม้สุกแทน ขนของลูกนกจะงอกประมาณวันที่ 25-28 ซึ่งมันจะหัดบิน พวกมันเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ในระยะนี้ยังคงต้องการการเลี้ยงดูจากพ่อแม่อยู่ หลังจากนั้นไม่นานมันจะออกหากินเอง เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์นกขุนทองจะอพยพไปยังพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ นกขุนทอง
นกขุนทอง(Hill Myna)
น.ส.วราภรณ์ มธุรไพรวงศ์
|
|
นกขุนทอง หรือนกเอี้ยงคำ เป็นนกที่พูดเก่งไม่แพ้นกตระกูลนกแก้ว แถมยังเลี้ยงง่ายเข้ากับสภาพธรรมชาติ เป็นที่นิยมเลี้ยงโดยทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป ซึ่งในปัจจุบันราคาของนกขุนทองเพาะในอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 30,000 - 40,000 บาท นกขุนทองอยู่ในวงศ์เดียวกับนกเอี้ยง นกในตระกูลนี้ได้แก่
- นกเอี้ยงสาริกา (Common Myna)
- นกเอี้ยงหงอนหรือเอี้ยงคำ (Crested Myna)
- นกเอี้ยงด่าง (Pied Starling)
- นกเอี้ยงนวล (Jerdon's Starling)
- นกกิ้งโครงคอดำ (Black - Collared Starling)
- นกขุนทองหรือนกเอี้ยงดำ (Hill Myna)
ลักษณะทั่วไป
- ความยาว : มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 27-80 เซนติเมตร (วัดจากจะงอยปากถึงปลายหาง)
- สี : ขนทั่วตัวมีสีดำเหลือบอมน้ำเงิน หรือสีดำเหลือบเขียว บริเวณหัว ต้นคอ และ หน้าอกจะมีสีม่วงเงา ๆ บริเวณปลายปีกด้านล่างจะมีขนสีขาวแซม ซึ่งจะเห็นได้ชัดเวลาบิน ขนหางจะเป็นมันเงาสีเขียวขุ่น ๆ ขาและเท้าจะเป็นสีเหลือง ในลูกนกจะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่ขนจะไม่เป็นมันเงา จะมีเหนียงขนาดเล็กสีแดงและสดที่ด้านข้างของใบหน้าใต้ตา และมีเหนียงขนาดใหญ่ สีเหลืองสดคลุมทั่วท้ายทอย หนามีสีส้มอมแดง หรือสีเหลืองอมส้ม
- นัยน์ตา มีสีน้ำตาล
- ลำตัว มีลักษณะป้อม หางสั้น ปีกแหลมยาว เท้าแข็งแรง
ข้อสังเกต
- เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน ไม่สามารถดูได้จากตาเปล่า จะต้องใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น DNA sexing, การตรวจเลือด
- นกขุนทองมีอายุประมาณ 10-20 ปี
- ในประเทศอินเดียทางตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำนกขุนทองมาทำแกงเผ็ด ซึ่งถือเป็นอาหารจานโปรดของคนในแถบนั้น
- สถานะเป็นนกประจำถิ่น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535
|
|
|
สายพันธุ์
- Kingdom : Animalia
- Phylum : Chordata
- Class : Aves
- Order : Passeriformes
- Family : Stumidae
- Genus : Gracula
- Species : Gracula religiosa
|
นกขุนทองที่เป็นที่รู้จักสามารถแยกออกมาได้ 12 ชนิดย่อย ได้แก่
ชื่้อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Gracula religiosa ptilogenys
ชื่อสามัญ (Common names) :Ceylon Mynah, Sri Lanka Mynah
สถานที่พบ : พบที่ป่า Humid ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นแถบป่าทึบที่ระดับความสูง 6,000 ฟุต
ข้อสังเกต : เป็นนกขุนทองที่มีขนาดเล็กที่สุด มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว Sri Lanka mynah เป็นนกชนิดเดียวในจำนวนนกขุนทองทั้งหมดที่ไม่มีเหนียงบริเวณใบหน้า แต่จะมีเหนียงที่คอ เป็นนกที่พูดเก่งและมีความกระตือรือร้น
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa indica
ชื่อสามัญ(Common names) : Lesser Hill Mynah, Southern Hill Mynah
สถานที่พบ : ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียและศรีลังกา ที่ระดับความสูง 5,000 ฟุต
ข้อสังเกต : เหนียงบริเวณตาและต้นคอไม่เชื่อมกัน เหนียงบริเวณหัวโค้งเป็นรูปตัว U จะงอยปากจะแบนและแคบกว่า Greater Hill mynahs มีความยาวประมาณ 9-10 นิ้ว แม้ว่า Lesser Hill mynah จะมีความสามารถในการเลียนเสียงมนุษย์ได้น้อยกว่า Greater และ Java Hill Mynahs แต่มันก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนกเลี้ยงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa andamanensis
ชื่อสามัญ(Common names) :Andaman Mynah, Nicobar Mynah
สถานที่พบ : เกาะ Andaman และเกาะ Nicobar
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa palawanensis
ชื่อสามัญ(Common names) : Philippine Talking Mynah
สถานที่พบ : เกาะ Palawan ประเทศฟิลิปปินส์
ข้อสังเกต : มีความยาวประมาณ 12-13 นิ้ว เหนียงใต้ตาและต้นคอจะเป็นแผ่นบางแยกออกจากกัน มันมีลักษณะคล้าย G.r. religiosa แต่มีขนาดเล็กกว่า และปากจะสั้นกว่า ที่ปลายปีกจะมีขนสีขาวแซม
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa enggano
ชื่อสามัญ(Common names) : Enggano Hill Mynah
สถานที่พบ : มีต้นกำเนินมาจากเกาะ Enggano, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสุมาตรา ปัจจุบันถูกรวมไปอยู่ในกลุ่ม G.r. religiosa
ข้อสังเกต : มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 10.5 นิ้ว ขนบริเวณหน้าผากจะยาวใหญ่ ปากสั้น
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa peninsularis
ชื่อสามัญ(Common names) : Greater Indian Hill, Indian Grackle
สถานที่พบ : พบในอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ Deccan, Orissa, ตะวันออกของ Madhya และทางตอนเหนือของ Andhra Pradesh
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa intermedia
ชื่อสามัญ(Common names) : Greater Indian Hill Mynah, Nepal Mynah, Talking Mynah, Indian Grackle
สถานที่พบ : พม่า ไทย เนปาล ทางตอนเหนือของอินเดีย เทือกเขาหิมาลายา Asam ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 - 2,000 ฟุต
ข้อสังเกต : เหนียงบริเวณตาและต้นคอเป็นแผ่นยาวเชื่อมติดกัน Greater Hill Mynah ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีความยาวประมาณ 10 - 11.5 นิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa religiosa
ชื่อสามัญ(Common names) : Java Hill Mynah, Talking Mynah
สถานที่พบ : มาเลเซีย, สุมาตรา, บาหลี, บอร์เนียว, Java, Bangka
ข้อสังเกต : Java Hill Mynah ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แต่มันไม่ได้เป็นสมาชิกลุ่มใหญ่เหมือน Greater Indian Hill Mynah มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 12 นิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa batuensis
ชื่อสามัญ(Common names) : Java Hill
สถานที่พบ : เกาะ Buta และเกาะ Mentawai ทางชายฝั่งด้านเหนือของสุมาตรา
ข้อสังเกต : มีความยาวประมาณ 12-13 นิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa venerata
ชื่อสามัญ(Common names) : Java Hill
สถานที่พบ : เกาะ Lesser Sundas ระหว่างบาหลีและติมอร์
ข้อสังเกต : มีความยาวประมาณ 12-13 นิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa mertensi
ชื่อสามัญ(Common names) : Java Hill
สถานที่พบ : Flores, Pantar and Alor
ข้อสังเกต : มีขนาดใหญ่กว่า G.r. venerata
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) : Gracula religiosa robusta
ชื่อสามัญ(Common names): Nias Hill Mynah, Giant Mynah, Nias Island Mynah
สถานที่พบ : ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา, Tuangka, Bangkaru
ข้อสังเกต : มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาว 16 นิ้ว
|
|
สำหรับในประเทศไทย พบว่ามีนกขุนทองอยู่ 2 ประเภท คือ
- ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia : G.r. intermedia)
- จะมีรูปร่างเล็กกว่าขุนทองใต้ เหนียงแก้มจะมีลักษณะเป็นแผ่นยาวตลอดเป็นชิ้นเดียวกันทั้งแผ่น
- พบในบริเวณเหนือคอคอดกระขึ้นมา
- ขุนทองใต้ (Gracula religiosa : G.r. religiosa)
- จะมีขนาดใหญ่ แผ่นเหนียงใต้ตาจะมีรอยเว้าแยกออกเป็น 2 ส่วนไม่ติดกัน
- พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
- อาจจะเรียกว่า นกขุนทองควาย
นกขุนทองเหนือ |
นกขุนทองใต้ |
|
|
นกขุนทอง (อังกฤษ: Gracula religiosa) หรือนกเอี้ยงคำ เป็นสัตว์ปีกในตระกูลนกเอี้ยง มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้ มีนิสัยพูดเก่งเหมือนนกแก้ว จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นนิยมสูง
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ถิ่นแพร่พันธ์หลักของนกขุนทองพบได้ในบริเวณโคนเทือกเขาหิมาลัย ไกล้เขตแดนอินเดีย เนปาล และ ภูฏาน แต่พบได้ใน ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม สุมาตรา อินโดนีเซีย และ บอร์เนียว และถูกนำเข้าไปอเมริกาด้วย
สร้างรังบนกิ่งไม้สูง อาศัยอยู่เป็นกลุ่มประมาณหกตัวขึ้นไป
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวป้อมสีดำ มีเหนียงสีเหลืองอมส้มคลุมทั่วท้ายทอยและเหนียงสีเหลืองแดงสดใต้ตา ขนาดประมาณ 29 ซม. ขนสีดำเหสือบเขียว มีเงาสีม่วงบริเวนหัวและคอ มีสีขาวแซมใต้ปีก ปากสีแดงส้ม ขาสีเหลืองสด ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน
ชอบร้องเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ ร้องเป็นเสียหวีดสูงตามด้วยเสียงอื่นๆ เคลื่อนไหวบนกิ่งโดยเน้นการกระโดดข้างแทนการเดินต่างจากนกเอี้ยงทั่วไป
เสียงร้อง
นกขุนทองนั้นมีชื่อเสียงเรื่องเสียงร้องหลากหลายชนิด ทั้งหวีด กรีดร้อง กลั้ว ร้องเป็นทำนอง รวมถึงเลียนแบบเสียงมนุษย์ ซึ่งทำได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย นกหนึ่งตัวจะมีเสียงร้องตั้งแต่ 3 ถึง 13 ชนิด มีการเลียนแบบเสียงร้องกันโดยเฉพาะในเพศเดียวกัน แต่รัศมีในการเรียนรู้นี้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 15กิโลเมตรลงไป
มีความเข้าใจผิดทั่วไปว่านกขุนทองนั้นชอบเลียนแบบเสียงร้องนกพันธุ์อื่นๆ แต่ที่จริงแล้วพฤติกรรมนี้ไม่มีโดยธรรมชาติ แต่เฉพาะในสัตว์เลี้ยงเท่านั้น
อาหาร
นกขุนทองกินทุกอย่างทั้งพืชและสัตว์ เช่น ผลไม้ ลูกไม้ น้ำดอกไม้ และ แมลง ต่างๆ
วิธีการสอนนกแก้ว นกขุนทองพูด
การที่จะสอนนกแก้วหรือนกขุนทองนั้น ต้องดูที่อายุของนกด้วยครับ
ว่านกอายุเท่าใด เพราะว่าถ้านกอายุมากไปเกิน 1 ปีจะสอนให้พูด ให้จำยากครับ
ดังนั้นนกที่เหมาะจะสอนพูด ควรเป็นนกเด็ก หรืออายุไม่เกิน 1 ปี
ยิ่งเป็นลูกนกที่เราเลี้ยงเค้ามา ปนมากับมือเลยยิ่งดี ในการสอนนกพูดควรใช้เวลาในช่วงเช้า ๆ จะดีมาก
เริ่มสอนนกให้พูดจากคำสั้น ๆ ก่อน เช่น แม่.. พ่อ.. ทอง. แก้ว..
เริ่มจากคำสั้น ๆ คุยกับเค้าทุกวัน บ่อย ๆ แล้วนกจะมีการจดจำคำที่เราสอนเอง
เมื่อนกได้ยินบ่อย ๆ จะเกิดการจดจำและเริ่มลอกเลียนแบบเสียงของเรา
นกจะค่อย ๆ หัดเปล่งเสียงออกมาทีละนิด
เมื่อนกสามารถเปล่งเสียงได้อย่างชัดเจนแล้วเราควร
เริ่มสอนคำอื่น ๆ ที่ยาวกว่านี้ เช่น พ่อจ๋า แม่จ๋า
ค่อย ๆ สอนเพิ่มไปทีละนิด นกก็จะสามารถ พูดออกมาได้เอง
เพียงแค่เรา สอนนกจากนกตอนที่ยังอายุน้อย
และหมั่นพูดคุยตอนเช้า ๆ เย็น ๆ บ่อย ๆ
แค่นี้นกก็สามารถที่จะลอกเลียนแบบเราได้แล้ว
สำหรับนกแก้วมักไม่ค่อยห่วงเรื่องการจำคำหยาบคาย
แต่!! ในนกขุนทอง นกเอี้ยง นั้น เป็นนกที่สามารถจดจำคำหยาบ คำไม่สุภาพได้เก่งมาก
บางทีเราไม่ได้สอนแต่ด้วยสภาพแวดล้อมแถวบ้าน
มีคนพูดคำไม่สุภาพออกมาจนนกได้ยิน
นกก็จะสามารถจดจำได้รวดเร็วมาก
ถ้าไม่ต้องการให้นกขุนทองพูดคำหยาบ ๆ ก็พยายามอย่าพูดทำพวกนี้ออกมา
เพราะเป็นคำที่นกสามารถจำและพูดออกมาได้คล่องมาก ๆ
ส่วนความเชื่อสมัยก่อน ที่บอกว่าอยากให้นกแก้วนกขุนทองพูดได้ พูดเก่ง
ต้องนำอะไรบางอย่างเช่น ทอง เหรียญ มาขูดที่ลิ้นนก
หรือตัดลิ้นนกนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด
การที่เรานำนกมาขูดลิ้นหรือตัดลิ้นนั้น
ทำให้นกเป็นแผลมากกว่าจะทำให้เค้าพูดได้
นกมีความสามารถในตัวเองอยู่แล้ว ก็สามารถพูดเองได้
การจับตัดลิ้น ทำให้เกิดการติดเชื้อในปากได้
และอาจจะตายได้เลยทีเดียว
ดังนั้น สอนเค้าด้วยวิธีพูดกับเคาประจำก็เพียงพอครับ อย่าไปตัดลิ้นเค้าเลย
เราจะบาป และยังทำให้นกไม่สบายอีกด้วย
.. . . . เรียบเรียงจากประสบการณ์
แนะนำโดย
Leave a Reply
ข้อมูล http://www.hamsteronline.com/blog/2008/02/21/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97/
|
Hill Myna(Talking Myna or Grackle) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Gracula religiosa |
|
ลักษณะทั่วไป
ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ขนทั่วตัวสีดำเหลือบเขียวและม่วงเงาๆ ยกเว้นที่โคนขนปีกด้านล่างมีแถบสีขาว นัยน์ตาสีน้ำตาล ปากสีแดงส้ม มีเหนียงขนาดเล็กสีเหลืองแดงสดที่ด้านข้างของใบหน้าใต้ตา และมีเหนียงขนาดใหญ่สีเหลืองสดเช่นเดียวกันคลุมทั่วท้ายทอย นกขุนทองทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปมีลำตัวใหญ่ เรียกนกขุนทองควาย มีเหนียงทั้งสองดังกล่าวไม่เชื่อมติดกัน( G.r. religiosa) ส่วนนกขุนทองที่พบเหนือคอคอดกระขึ้นมามีขนาดเล็กกว่า และเหนียงทั้งสองชนิดเชื่อมติดกัน (G.r. intermedia)
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม สุมาตรา อินโดนีเซีย และ บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยพบทุกภาคยกเว้นที่ราบลุ่มภาคกลางเท่านั้น
นกขุนทองกินทุกอย่างทั้งพืชและสัตว์ แต่ชอบผลไม้มากกว่า เช่น กล้วย มะละกอ และลูกไม้ต่าง ๆ รวมทั้งพริกด้วย กินแมลง ปลวก ตัวหนอน ไข่มด ข้าวสุก ไข่ต้มก็ชอบ
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
อาศัยตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ชอบเกาะยอดกิ่งไม้สูง ๆ อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ตามป่าลึกเชิงเขามีชุกชุม เชื่องคน คนนิยมเลี้ยงเพราะสามารถพูดเลียนเสียงคน
นกขุนทองผสมพันธุ์เดือนเมษายน-มิถุนายน ทำรังออกไข่ในโพรงไม้สูง ปูโพรงด้วยเศษหญ้าแห้ง ขน สิ่งสกปรก ตลอดจนเปลือกไม้ ไข่ชุดละ 2-3 ฟอง
สถานภาพปัจจุบัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
|
นกขุนทอง
รูปร่างลักษณะ เป็นนกขนาดปานกลางค่อนข้างใหญ่ ความยาวจากปลายปากจดหาง 25 -40 ซม. ปากสั้นกว่าหัว ปากหนา แบนข้าง และโค้งเล็กน้อย (พันธุ์ที่พบใน ประเทศไทยยาวประมาณ 33 ซม. ) ลำตัวค่อนข้างอ้วน ป้อม หัวโต คอสั้น หางสั้น ปลายหางตัด ขนบริเวณกระหม่อมสั้นมาก นกที่โตเต็มวัย ขนคลุมลำตัวสีดำเป็นมันเหลือบ ออกม่วง ที่บริเวณท้ายทอย และ หลัง , หน้าอกสีเหลือบออกเขียว และ น้ำเงิน ปีกมีแถบสีขาวบริเวณขนปีกบินชั้นแรก ขนปีก บิน จำนวน 6 เส้น ขนปลายปีกเส้นนอกสุดเล็ก จะงอยปากสีส้มอมเหลือง ถึง สีออกแดง ด้านโคนจะงอยปากเข้มกว่า ด้านปลายจะงอยปาก บริเวณหลังตามีแผ่นหนังสีเหลือง เรียกว่า เหนียง อยู่บริเวณใต้ตาถึง ข้างคอและท้ายทอย ยาวประมาณ 3 ซม. ขา และ เท้า สีส้มอมเหลือง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว ชี้ไปข้างหน้า 3 นิ้ว และด้านหลัง 1 นิ้ว แต่ละนิ้วมีกรงเล็บที่โค้ง และ แข็ง นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน แต่ นกตัวเมีย ตัวโตกว่านกตัวผู้ นกที่ยังไม่โตเต็มวัย สีลำตัวจะออกสีตุ่นๆ และ ไม่ดำเป็นมัน เหมือนนกที่ โตเต็มวัย บริเวณด้านข้างของหัว หลังตาจะมีสีเหลืองอ่อนจางๆ ซึ่งบริเวณนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นเหนียง เหมือนนกที่ โตเต็มวัย นกวัยอ่อน ปากจะมีสีคล้ำกว่านกที่เต็มวัย
แหล่งอาศัยหากิน ป่าดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ชายป่า ป่าโปร่ง และ พื้นที่โล่งใกล้ป่าดิบ แต่จะต้อง เป็นบริเวณที่มี ฝนตกชุกพอสมควร ปริมาณน้ำฝนที่ตกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 180 มม. ต่อปี และ อุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 องศา เซลเซียส พบได้ตั้งแต่พื้น ที่ราบ ไปจนถึงความสูง 1,370 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ส่วนมากจะพบที่ความสูงเฉลี่ย 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มักชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้ป่า เช่น ดอกทองหลางป่า ดอกงิ้วป่า และ สนอินเดีย โดยเกาะที่ก้านดอก และยื่นหัว และ จะงอยปาก เข้าไปดูดน้ำหวานกิน จึงมีละอองเกสรติดบริเวณกระหม่อม และ ไปติดในเกสรดอกตัวเมีย จึงมีส่วน ในการช่วยผสมเกสร ของดอกไม้บางชนิดด้วย นอกจากนั้นยังชอบกินผลไม้สุก เช่น โพ ไทร ไกร กร่าง หว้า กล้วย มะละกอ ถ้าผลไม้มีขนาดเล็กไม่เกิน 2 ซม. มันจะกลืนเข้าไปทั้งผล เมล็ดผลไม้ที่แข็งจะไม่ถูกย่อย และ จะถ่ายออกมาภายใน 1 ชั่วโมง สำหรับเมล็ดไม้บางชนิดที่มีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น เมล็ดจำป่าป่า มันจะกินโดยใช้ปากขบให้เปลือกแตกก่อน นอกจากนี้ มันก็กินพวก ไข่มด หนอน แมลง ตัวอ่อนของแมลง ต่างๆ เช่น ตั๊กแตน ปลวก มด ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานพวก กบ เขียด กิ้งก่า หนูตัวเล็กๆ ที่มันจับได้ ตามพื้นป่า หรือตามกิ่งก้านของต้นไม้ หรือตามคาคบไม้ เช่น กิ้งก่า โดยจับฟาดกับต้นไม้ จนสลบ หรือ ตาย แล้วกลืนกิน ทั้งตัว ไม่ฉีกกินเหมือนเหยี่ยว นอกจากนี้อาจโฉบจับแมลง ที่บินผ่านมากลางอากาศบ้าง
นิสัยประจำพันธุ์ นกขุนทองเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และออกหากินด้วยกันเป็นฝูง โดยมี จ่าฝูงคอยให้สัญญาณในการออกบิน ด้วยการส่งเสียงร้องออกมาก่อน จำนวนนกในฝูงมักจะเป็นเลขคู่เสมอ ตั้งแต่ฝูงละ 6 - 8 ตัว จนถึง 12 -20 ตัว เพราะนกจะจับคู่ในฝูงเดียวกัน และ เมื่อจับคู่กันแล้ว ก็ ยังรวมกลุ่มไปหาอาหาร เป็นฝูงเช่นเดิม มันจะแยกจาก ฝูงก็ต่อเมื่อ มีภาระในการเลี้ยงลูกอ่อน เท่านั้น แต่ก็ยังอยู่ในละแวกเดียวกับฝูง และ มีการติดต่อกับฝูงอยู่เสมอ การหากิน จะ อาศัย หากินตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ หรือพุ่มไม้บ้าง แต่จะไม่ลงมายังพื้นดิน การเคลื่อนไหวตามกิ่งไม้ มักใช้วิธีกระโดด ไปทาง ด้านข้าง ซึ่งแตกต่างจากนกเอี้ยง และ นกกิ้งโครงอื่นๆ ในต้นไม้ผล ที่นกชอบ มักพบหากินร่วมกับนกที่กินผลไม้ด้วยกัน เช่น นกเงือก นกโพระดก นกเขาเปล้า เป็นต้น
หลังจากกินอิ่ม นกขุนทองทั้งฝูง จะไปเกาะพักตามกิ่งต่างๆของต้นงิ้วป่าบ้าง ทองหลางป่าบ้าง แต่จะต้อง เป็น ต้นไม้ที่มีใบแน่นทึบ โดยส่งเสียงสังสรรค์สนทนากันดังขรม ได้ยินแต่เสียงแอ๊ะๆ แอ๊ะๆ ดังไม่ขาดหู ตัวที่เป็นคู่กัน จะมีแบบ แผนการร้องที่ต่างจากตัวที่ไม่ได้เป็นคู่กัน เมื่อตัวหนึ่งส่งเสียงร้อง คู่ของมันก็จะร้องตอบใน 2 - 4 วินาที นอกจากนั้น ลักษณะการ ร้องโต้ตอบของนกที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน จะเหมือนกัน นกที่อยู่ในท้องที่อื่นจะร้องต่างกันออกไป คล้ายกับคนที่มีภาษาถิ่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค ในเวลากลางคืน จะเกาะนอนตามกิ่งไม้เช่นเดียวกับนกเอี้ยง หรือนกกิ้งโครงอื่นๆ แต่จะไม่ เป็น ฝูงใหญ่เท่า
นาย เบอร์แทรม เคยศึกษาเสียงร้อง หรือ เสียงพูด ของนกขุนทองในประเทศอินเดีย เขาจำแนกเสียงร้อง ของ นกขุนทอง ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 Chip - call คือ เสียงร้องสั้นๆ เพื่อการติดต่อ เป็นเสียงที่ดังมาก เกรี้ยวกราด ปรากฎเป็นเสียงแหลมสั้นๆ คล้ายเสียง จิ๊ว จิ๊ว ร้องโดยนกที่โตเต็มวัยแล้วทั้งหมด เมื่อ ตื่นเต้น หรือ ตกใจ ขณะที่เปล่งเสียงร้องออกมา ลำตัวจะสะบัด หรือ หมุน ใช้สำหรับ การติดต่อกันในระยะไกล บางครั้งอาจเป็นเสียงตกใจ ในระยะใกล้ก็ได้ โครงสร้างของเสียงแบบนี้ ในนกแต่ละตัว จะแตกต่างกัน เล็กน้อย และ นกที่อยู่ในท้องที่ต่างกัน จะทำเสียงแตกต่างกัน
2 Um - sound เสียง ฮัม เป็นเสียงแหลมนุ่มๆ ออกจากจมูก นกจะทำอยู่ตลอดเวลาที่ทำกิจกรรมอยู่ ใช้สำหรับติดต่อกัน ในระยะใกล้ เสียงดังคล้าย แอ๊ะ แอ๊ะ
3 Whisper - whisper เสียงหวีดเป็นเสียงสูงสุดขีด ดังคล้าย จิ๊..ย..ย..ย...ว มักร้องในช่วงที่อยู่ว่างๆ ไม่มีกิจกรรมอะไร ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ว่างั้นเถอะ
4 Call เสียงเพื่อการติดต่อ เป็นเสียงดังที่มีความแปรเปลี่ยนมาก เช่น เหมือนกับเสียงหวีด เสียงครวญคราง เสียงแหลม หรือ เสียงขลุกขลักในลำคอ เช่น เสียง แอะ..แอะ.. จิ๊ว เจี๊ยว นอกจากนั้นยังทำเสียงต่ำเหมือนเสียงคนพูดได้ด้วย เสียงลักษณะนี้ นกขุนทองมักใช้มาก และ น่าสนใจมากที่สุด
อนึ่ง การแบ่งประเภทของเสียงนี้ แบ่งจากลักษณะคลื่นเสียงที่วัดโดย Sonograph และ พฤติกรรมขณะที่นกทำเสียง นั้น ซึ่งจะแตกต่างกันไป แต่การรับสัมผัสของคน อาจจะฟังคล้ายกัน เป็นเสียง จิ๊ว หรือ เจี๊ยว ทั้งหมด
ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ โดยทั่วไปนกขุนทองจะผสมพันธุ์ และ วางไข่ปีละ 1 - 3 ครั้ง แต่โดยทั่วไป 2 ครั้ง ในช่วงฤดูร้อน และ ฤดูฝน และ จะจับคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว ตลอดไป จนกว่าอีกฝ่ายจะตายจากไปจึงจะหาคู่ใหม่ วัยเจริญพันธุ์ของนกขุนทอง จะอยู่ในราวอายุ 1 ปี ขึ้นไป ตัวเมียจะถึงวัยเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็วกว่าตัวผู้เล็กน้อย นกขุนทอง ในป่า ผสมพันธุ์กันกลางอากาศ คือระหว่างที่นกทั้งคู่บินตามกันมา นกตัวผู้ที่บินอยู่ข้างหลังจะเร่งความเร็วจนบินทัน และเข้าไป ประกบกับตัวเมียทางด้านหลัง ในเวลาเพียงชั่วพริบตาเดียว ก็ ผละออกจากัน
รัง จะใช้ รู หรือโพรงไม้ ที่เกิดตามธรรมชาติ หรือ โพรงเก่าที่นกหัวขวานทิ้งร้างไว้ โดยที่ปากของมัน ไม่แข็งแรง พอที่จะเจาะโพรงไม้ได้เอง รังสูงจากพื้นดิน 3 - 16 เมตร ต้นไม้ที่มักใช้เป็นโพรงรัง มักเป็นไม้ใหญ่สูง และ เป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ตะแบก สมพง ตะเคียนหิน กระบก สนเขา และ สัก บริเวณอาศัย และ ที่สร้างรังของนกขุนทอง จะอยู่ใน พื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ต่อ 1 ฝูง การสร้างรังของนกในฝูงเดียวกันมักอยู่ใกล้กัน บางคู่อาจจะทำรังอยู่บนต้นไม้ ต้นเดียว กัน ซึ่งเคยพบถึง 2 - 3 คู่ ลักษณะรังมักเป็นแบบหยาบๆ ใช้วัดสุที่หาได้ในบริเวณใกล้เคียงมารองก้นรัง ปกติไม่มีวัสดุรองรัง แต่บางตัวอาจใช้กิ่งไม้เล็กๆ ใบไม้แห้ง ใบหญ้า คราบงู ฟางข้าว แต่ก็ใช้จำนวน ไม่มากนักรองรัง นกทั้งสองเพศ ช่วยกัน สร้างรัง โดยคาบกิ่งไม้เล็กๆมารองก้นรัง ก่อนจะใช้ใบไม้แห้งเสริมอีกชั้น แต่บางรังก็ไม่มีวัสดุรองก้นรังเลย รังมักเป็นโพรง ที่ถูกเจาะลึกลงไปในลำต้นเป็นแอ่งเว้า ก้นรังอยู่ลึกจากปากโพรงประมาณ 10 - 30 ซม. รังมีไข่ 2 -3 ฟอง ลักษณะไข่ ปลายข้างหนึ่ง แหลมมน อีกข้างหนึ่งป้าน สีฟ้าอมเขียว มีจุดสีน้ำตาลประปราย บริเวณด้านป้าน ขนาดเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 3.5 ซม. ทั้งพ่อแม่นกจะช่วยกันกกไข่ โดยผลัดกันกกไข่ครั้งละนานประมาณ 10 - 20 นาที แต่ส่วนใหญ่แม่นกจะกกนานกว่า เมื่อได้เวลาผลัดเวร นกตัวที่อยู่นอกรังจะส่งสัญญาณด้วยเสียงร้อง แอ๊ะๆ แอ๊ะๆ เป็นการบอกตัวที่อยู่ในรังว่า "ฉันพร้อมจะเปลี่ยน เวรแล้วนะ " ทำนองนี้แหละ
นกขุนทองใช้เวลาในการฟักไข่นานราว 14 -20 วันในช่วงเวลานี้ มันจะระแวดระวังภัย และ ตื่นตัวมาก บางครั้งมี ศัตรูเช่น นกปีกลายสก๊อท และ นกตะขาบดง เข้ามาใกล้รัง จึงถูกเตือนก่อนด้วยเสียงอันแข็งกร้าว แต่เมื่อผู้บุกรุกยังทำเฉย พ่อลูกอ่อนขี้โมโหจึงออกแรงสั่งสอน จิกตี จนผู้บุกรุก ต้องบินหนีไป แม้ว่านกขุนทองจะแยกออกจากฝูง มาฟูมฟักลูกอยู่ แต่ก็ยังติดต่อกับสมาชิกในฝูงอยู่ โดยพ่อแม่นกที่ออกเวรฟักไข่ มาจับเกาะที่กิ่งไม้นอกรัง จะ ส่งเสียงร้องโต้ตอบ กับเพื่อน ที่มอง ไม่เห็นตัวอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นในฝูงเดียวกัน ปกตินกขุนทองจะใช้รังเดิมเสมอ ปีหนึ่งจะวางไข่ 2 - 3 ครั้ง โดยครั้งแรกราวเดือนกุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 ในราวเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม แต่หากวางไข่ครั้งแรก ฟักเป็นตัว หมดโดยไม่ถูกรบกวน นกคู่นั้นอาจวางๆไข่เพียงครั้งเดียวในปีนั้น
ลุกนกแรกเกิด ผิวหนังเป็นสีออกชมพู ยังไม่มีขนตามตัว อาจมีขนขาวๆแซมบ้างบางส่วน และ จะหลับตาอยู่ราว 7 - 8 วัน จึงลืมตาขึ้น นับจากวันแรกที่ลูกนกออกจากไข่ พ่อแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงดูลูกอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ผลัดกันไป เที่ยวหาอาหารมาป้อนลูกครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ส่วนใหญ่พ่อนกจะบินไปหาอาหารบ่อยครั้งกว่า และส่งต่อให้แม่นกป้อนลูก วันแรกๆ ลูกนกจะถูกป้อนด้วย หนอน ตั๊กแตน และ ผลไม้สุก เมื่อลูกนกอายุ 2 - 4 วัน ก็สามารถร้องขออาหารจากพ่อแม่ได้แล้ว พ่อแม่จะหาอาหารขนาดใหญ่ขึ้นมาให้ลูกกินเพิ่มวันละ 1 - 2 ครั้ง ได้แก่ กิ้งก่าตัวเล็กๆ หรือกิ้งก่าบิน โดยนำมาป้อนให้ทั้งตัว บางครั้งหากหาอาหารได้มาก พ่อแม่นกก็จะนำมาเก็บสำรองไว้ข้างรัง มูลที่ลูกนกถ่ายออกมานั้น พ่อแม่นกจะช่วยกันคาบ ออกไปทิ้ง นอกรัง โดย วางไว้บนกิ่งไม้ใหญ่ ( ไม่ทิ้งลงพื้นดินห่างรัง หรือ ทิ้งลงน้ำ เหมือนนกบางชนิด ที่ทำรังใกล้น้ำ หรือในโพรง ) , ระยะที่ลูกยังเล็กอยู่นี้ พ่อแม่นกมักไม่ค่อยอยู่ห่างรังมากนัก เวลาแดดส่องเข้าไปในรังซึ่งจะทำให้ลูกร้อน พ่อนกหรือแม่นก จะคอยนั่งบังแดดอยู่ที่ปากโพรง ยามค่ำคืน พ่อแม่นกจะอยู่กับลูกในรังคอยปกป้องคุ้มครองลูกน้อย บางที พ่อนก ก็จะออกมาเกาะกิ่งไม้เฝ้ายามอยู่นอกรัง บางครั้งมีนกเค้าโมงบินมาเกาะใกล้ๆรัง พ่อแม่นกก็รีบบินออกมา รุมจิกตี จนนกเค้าโมงต้องบินหนีไป
เมื่อลูกนกอายุได้ 9 วัน ขนสีดำจะเริ่มขึ้น และ ผิวหนังค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ตัดกับสีขนอย่างเด่นชัด พออายุได้ 14 - 16 วัน ก็มีขนสีดำขึ้นปกคลุมเต็มตัวแล้ว และ เมื่อ อายุได้ 18 -20 วัน ก็สามารถอกมารับอาหาร จากพ่อแม่ ที่ปากโพรงได้ พอลูกนกอายุ 27 วัน ก็สามารถบินออกจากรังได้แล้ว หลังจากลูกนกออกจากรังไปแล้วประมาณ 10 วัน โพรงนี้ก็จะ เป็นที่ทำรังของนกคู่ใหม่ หรือ อาจเป็นการวางไข่ครั้งที่ 2 ของนกคู่เดิม โดยธรรมชาติ พ่อแม่นกจะไม่เลี้ยงลูกที่ ออกจากรังไปแล้ว ลูกนกต้องเลี้ยงตัวเอง และ จะเป็นสมาชิกในฝูง เดียวกับ พ่อแม่ต่อไป ลูกนกที่เพิ่งออกจากรังนี้ นับว่ายังเป็น วัยรุ่นอยู่ ขนตามตัวยังไม่ดำเข้มเป็นมัน แต่มีแถบขาวที่ขนปีกบินชั้นแรกแล้ว และ เหนียง บริเวณใต้ตาถึงข้างคอ เป็นสีเหลือง อ่อน พออายุได้ 3 เดือน ก็นับว่าเป็นหนุ่มสาวแล้ว ขนจะมีสีดำสนิทเป็นมันเงา เหนียงคอเปลี่ยนเป็นสีส้มสดใส ครั้นอายุได้ ประมาณ 1 ปี เหนียงคอจะยาวมากที่สุดคือประมาณ 2 -3 ซม. นับเป็น วัยที่เจริญพันธุ์มีคู่ได้แล้ว นกขุนทองป่า มีอายุยืนยาว เพียงใด ยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่ สำหรับนกขุนทองที่ได้รับการเลี้ยงดูในกรง มีรายงานว่าอายุยืนนานที่สุดถึงประมาณ 20 - 24 ปี แสดงว่าในธรรมชาติ มันจะต้องมีอายุยืนยาวกว่านี้มาก
ช่วงเวลาที่นกขุนทองทำรังวางไข่ นกขุนทองผสมพันธุ์ และ วางไข่ปีละ 1 - 3 ครั้ง แต่ส่วนมาก 2 ครั้ง ครั้งแรกอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม หรือ มกราคม เรื่อยไปจนถึง พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง เดือน กันยายน ทั้งนี้ แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นอาศัย แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เช่น นกขุนทอง พันธุ์อินเดีย ( G. r. indica ) ผสมพันธุ์เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม , นกขุนทองพันธุ์ เหนือ ( G.r. intermedia ) ในประเทศจีน ผสมพันธุ์เดือน เมษายน - พฤษภาคม , ในประเทศพม่า ผสมพันธุ์เดือน เมษายน - พฤษภาคม , เช่นเดียวกัน แต่ในประเทศ ไทย ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผสมพันธุ์ในเดือน กุมภาพันธุ์ - พฤษภาคม สำหรับนกขุนทองพันธุ์ใต้ ( G.r. religiosa ) มีรายงานว่าสร้างรัง และ วางไข่ระหว่างเดือน ธันวาคม - พฤษภาคม
การสืบพันธุ์ ของ นกขุนทอง มักทำในช่วงที่เมื่อลูกนกชุดก่อนหน้า ออกจากไข่แล้ว จะเป็นช่วงต้นฤดูฝนพอดี หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย เพื่อจะได้มีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่มีบางคู่ที่ผสมพันธุ์ล่าไปถึงช่วงฤดูฝน ก็ มักไม่ประสพ ผลสำเร็จ เนื่องจากไข่เสียบ้าง รังพังบ้าง
ศัตรูตามธรรมชาติของนกขุนทอง เนื่องจาก นกขุนทองกินอาหารได้หลายชนิด เช่น กินผลไม้ เหมือนกับนกเขาเขียว นกกก นกปรอด และ นกโพระดก ทั้งยังกินน้ำหวานจากดอกไม้ กินมด ปลวก แมลง ต่างๆ และ สัตว์เลื้อยคลาน เล็กๆตามต้นไม้ จึงมักมีการแก่งแย่งอาหารกับนกอื่นๆเป็นประจำ แต่ไม่ถึงกับรุนแรงนัก เพราะนก ขุนทอง เลือกอาหารได้หลายชนิด และ อาหารในป่ามีอุดมสมบูรณ์ นั่นเอง ตามปกตินกขุนนทองใช้เวลาเพียงสั้นๆ ในการหาอาหาร เว้นแต่ในช่วงที่มีลูกอ่อนอาจใช้เวลานานกว่าปกติบ้าง
นอกจากเรื่องอาหารแล้ว นกขุนทองมักมีปัญหาเรื่องการแย่งโพรงไม้ทำรังกับนกอื่นๆ เช่น นกเอี้ยง นกโพระดก นกหัวขวาน นกแก้ว นกเค้าแมว บางครั้งถึงกับมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง ผู้ชนะจึงจะได้ครอบครอง โพรงไม้นั้น และ เมื่อใดที่ นกขุนทองสามารถครอบครองโพรงไม้ที่ใช้ทำรังได้แล้ว มันจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสถานที่อีก ทำให้กลายเป็นผู้ครอบครองถิ่น นั้นไปในที่สุด
สร้างโดย:
ด.ญ.ธัญญรัตน์ ชลภัทรอภิวิชญ์ ม.1/8 เลขที่ 34 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
แหล่งอ้างอิง:
http://www.zyworld.com/NAKARIN/HTMLhillmyna.htm