-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 835 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน18




หน้า: 1/2


ภาวิณี สุดาปัน

ไปดู   ความก้าวหน้าทางด้านการเกษตร ของ ฟิลิปปินส์  
กับสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (ตอน 1) รู้จักฟิลิปปินส์กันดีหรือยัง!


ก่อนกำหนดการเดินทางไปฟิลิปปินส์ ประมาณ 1 เดือน ผู้เขียนมีโอกาสเตรียมความพร้อม ซัก
ซ้อมเรื่องภาษา สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์มาพอสมควร

สภาพภูมิประเทศของฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะทั้งหมด ประมาณ 7,100 เกาะ ตั้งอยู่ในเขตเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก สภาพอากาศร้อน
เหมือนประเทศไทย สภาพดินเป็นดินภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรใช้สำหรับปลูกพืช
อาหาร

พื้นที่ส่วนหนึ่ง สภาพดินแห้งแล้งขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร จำนวนประชากรของประเทศกว่า
90 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ แตกต่างจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ โดยส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ อิสลาม

พื้นที่ของประเทศนี้ เป็นพื้นดินทั้งหมด 300,000 ตารางกิโลเมตร มีชนชาติหลากหลายชนชาติ
ธงชาติของฟิลิปปินส์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบไปด้วยแถบ 4 สี ได้แก่ สาม
เหลี่ยมสีขาว ด้านหน้ามีรูปพระอาทิตย์สีเหลือง 1 ดวง 8 แฉก และดวงดาวล้อมรอบ จำนวน 3
ดวง (สัญลักษณ์ของเสรีภาพ 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากสเปน คือ
มะนิลา ลากูนา ปัมปังกา คาวิเต บูลาคาน นูเอวา เอซิฮา บาตังกัส และตาร์ลัค ดาว 3 ดวง
หมายถึง เกาะใหญ่ 3 เกาะ ในฟิลิปปินส์ คือ เกาะลูซอน เกาะวิสายาส์ และเกาะมินดาเนา) แถบ
ด้านบนมีสีน้ำเงิน (ความเสมอภาคและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน) แถบด้านล่างของผืนธงมีสี
แดง (ความพร้อมของชาวฟิลิปปินส์ที่จะต่อสู้เพื่อประเทศชาติจนกว่าชีวิตจะหาไม่) ถ้าหากว่าอยู่
ในช่วงสงคราม แถบสีแดงจะกลับไปอยู่ด้านบนแถบสีน้ำเงินถูกสับเปลี่ยนลงมาอยู่ด้านล่าง (จุด
แรกที่สังเกตเห็นคือ ด่านตรวจคนเข้าเมือง จะเห็นธงชาติตั้งเด่นอยู่หน้าจุดตรวจ และตามสถาน
ที่ราชการก็จะมีธงชาติปักฐานอยู่เช่นกัน)

นกอินทรีฮารีบอนเป็นนกประจำชาติของชาวฟิลิปปินส์ ใหญ่ที่สุดในโลก กินสัตว์เล็กเป็นอาหาร
อย่าง ลิง ค้างคาว งู และบ่าง เป็นนกที่ซื่อสัตย์ต่อคู่รัก จะอยู่กับคู่เพียงตัวเดียวจนวันตาย
โอกาสรอดจึงมีน้อย ทุกวันนี้ก็ใกล้จะสูญพันธุ์

ดอกไม้ประจำชาติของฟิลิปปินส์คือ ซัมปากิต้า แปลว่า ดอกมะลิ พบเห็นทั่วไปตามถนนหนทาง
ถ้าสังเกตดีๆ

ภาษาพื้นเมืองของชาวฟิลิปปินส์ คือ ภาษาตากาล็อก (ภาษาฟิลิปิโน) เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาว
ฟิลิปปินส์ใช้ติดต่อสื่อสารกัน สำเนียงการพูดจะเน้นคำสำคัญในแต่ละประโยค พูดเร็วรัว ฟังไม่
ถนัด ภาษาราชการที่ใช้คือ ภาษาอังกฤษ

สภาพการจราจรหนาแน่น ชาวฟิลิปปินส์ขับรถโดยมีพวงมาลัยอยู่ด้านซ้ายมือ ซึ่งแตกต่างจาก
บ้านเรา มีการแบ่งเลนสำหรับรถวิ่งไว้ชัดเจน รถเล็กวิ่งเฉพาะเลน รถบัสก็มีเลนประจำ ส่วนรถ
โดยสารประจำทางก็มีเลนเฉพาะวิ่งรับส่งผู้โดยสาร

ป้ายรถเมล์ไม่เหมือนบ้านเรา มีลักษณะเป็นหลังคาฉาบด้วยอิฐปูนไม่เห็นป้ายรถเมล์ สภาพแข็ง
แรงทนแดด ทนฝน ถึงแม้จะมีการจัดการจราจรที่ดี แต่การจราจรก็ยังคับคั่งอยู่ (อาจเป็นเพราะ
อยู่ในตัวเมืองหรือไม่ก็เขตที่มีคนพักอาศัยอยู่มาก เหมือนกับกรุงเทพฯ บ้านเรานั่นแหละ)

เมื่อถึงกำหนดการเดินทาง ทุกคนพร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ คณะเดินทางมีทั้งหมด 6 คน
ประกอบไปด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ คุณสาธิน คุณะวเสน คุณประสิทธิ์ บุญ
เฉย คุณนิวัติ ปากริวิเศษ และผู้เขียน ส่วน ดร.สมเจตน์ ประทุมมินตรา ตามมาทีหลัง เดินทางถึง
เมืองมะนิลา เวลาประมาณเที่ยงเศษๆ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3.50 ชั่วโมง ประเทศ
ฟิลิปปินส์เวลาเดินเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง สมมติว่าเวลาไทยตอนนี้ 06.00 น เท่ากับเวลา
ที่ฟิลิปปินส์ 05.00 น

จุดประสงค์ของการเดินทางครั้งนี้ เพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเกษตรกร
ในทวีปเอเชีย ระหว่าง วันที่ 22-27 มีนาคม 2553 จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 4 สถานที่ประเทศฟิลิปปินส์
มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 55 คน จากทั้งหมด 7 ประเทศ ดังนี้ ประเทศเกาหลี ประเทศไต้หวัน
ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย และประเทศฟิลิปปินส์ (เจ้า
ภาพ) ซึ่งจัดโดย Crop Life Asia (คุณซอนนี่ ทาบาบา), Biotechnology Coalition of the
Philippines (คุณก๊อดฟรี้ เรมอน)

หลังจากเดินทางเข้าพักในโรงแรม Linden Suites เมืองมะนิลา ถึงเวลานัด 18.30 น (เป็นเวลา
ของฟิลิปปินส์) ทุกคนพร้อมกันที่ห้องอาหารของโรงแรม‚กว่าจะหาทางออกจากลิฟต์ได้ก็ขึ้น
ลงอยู่หลายรอบ เราก็ไม่ฉลาดซะด้วย กดลิฟต์ลงไป ชั้น 2 สัญญาณไฟก็ไม่ขึ้นสักที พอดี
พนักงานโรงแรมบอกว่า ต้องใช้คีย์การ์ด‚เราก็เลยอ๋อ‚พอลงลิฟต์ได้ก็รีบเดินไปห้องอาหาร
โดยเร็ว (จะให้ทำไงละ ก็คนมันไม่รู้นี่หว่า!)

เมนูอาหารโอ้โฮ! ไม่ใช่ว่าจะแปลกตาหรอกน่ะ แต่กำลังคิดในใจว่า จะกินได้ไหมเนี้ย แต่ละอย่าง
อาหาร ฝา-หรั่ง ทั้งนั้น เห็นแล้วนึกถึงส้มตำปูปลาร้าแซ่บๆ เด๊!


อาหารประกอบไปด้วย ไก่ทอด ปลาแซลมอล สตูเนื้อวัว และก็ซุปหอม/ซุปฟักทอง ข้าวสวย
(แฉะนิดๆ) นั่งกินไปพลางคุยกับเพื่อนไป รสชาติไม่ค่อยจะถูกปากเท่าไหร่ แต่ก็พอกินได้ เพราะ
เป็นคนกินง่าย อะไรก็กินได้ หลังจากกินข้าวกันก็ตามด้วยของหวานมะม่วง (Mango sapo) ซึ่ง
เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของประเทศฟิลิปปินส์ รสชาติหวานอมเปรี้ยวสู้มะม่วงน้ำดอกไม้บ้านเราไม่ได้
แต่ชาวต่างชาติจะนิยมมะม่วงรสนี้ คุยกันไปคุยกันมาก็วกเข้ามาเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ
พืชเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไป‚ว่าที่นี้พืชดัดแปลงพันธุกรรมได้พัฒนากัน
ถึงขั้นไหนแล้ว

อาหารมื้อค่ำจบลงตอนประมาณสองทุ่มเศษๆ ตัวแทนของแต่ละประเทศเตรียมตัวแยกย้ายกัน
เข้าที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าร่วมประชุมของกลุ่มประเทศอาเซียนในวันรุ่งขึ้น

ผู้เขียนกำลังเตรียมตัวจะเดินทางกลับห้องพัก แต่‚คณะเดินทางก็ชวนเดินตระเวนดูแถวๆ นี้ ว่ามี
อะไรบ้าง สายตาก็เลยหันไปเจอะ‚กับตัวแทนเกษตรกรที่มาจากประเทศอินเดีย เขากำลังเดินหิ้ว
ถุงข้าว ประมาณ 3 ห่อ ได้ สงสัยคงจะกินข้าวไม่อิ่ม หรืออีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ไม่กล้ากินเยอะ
กลัวจะเสียมารยาทเลยต้องห่อกลับไปกินที่ห้อง ก็ดูแต่ละคนพุงยังกะชูชก พื้นบ้าน‚เหมือนตัว
ละครพื้นบ้านไทย เรื่อง กัญหา ชาลี จะกินกันอิ่มได้ไง ขนาดพี่ไทยเองก็
ยังต้องพึ่งบะหมี่
สำเร็จรูปเลย ก็เดินหาซื้อที่ร้านค้าด้านข้างโรงแรมนี้แหละ ราคาก็แพงกว่าบ้านเรา แถม
รสชาติจืด และน้ำดื่มที่นี่แพงมาก หลังจากเดินซื้อของเสร็จทุกคนก็แยกย้ายกันกลับที่
พัก

รอลุยงานกันวันใหม่.....
ความเป็นมาของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์
ากความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ก่อให้เกิดเทคนิค
ใหม่ๆ มากมายที่นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคนิคหนึ่งที่ได้รับ
การกล่าวถึงกันมากคือ เทคนิคทางด้านพันธุวิศวกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะ
เป็นพืช สัตว์ หรือแม้แต่จุลินทรีย์ให้มีลักษณะที่พึงประสงค์โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และสุขอนามัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตดังกล่าวนี้รู้จักกันดีในนามของ จีเอ็มโอ หรือสิ่งมีชีวิตดัด
แปลงพันธุกรรม

ปัจจุบัน ความก้าวหน้าในการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็น
พืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่ ปี 2539 ซึ่งเป็นปีแรกที่อนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลง
พันธุกรรม จนถึงปี 2551 พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มจาก 10.6 ล้านไร่ เป็น 1,037.50
ล้านไร่ ปลูกกันใน 25 ประเทศ โดย 15 ประเทศ เป็นประเทศกำลังพัฒนา และ 10 ประเทศ เป็น
ประเทศอุตสาหกรรม และอีก 55 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ที่ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็น
อาหารคน อาหารสัตว์ และเส้นใย พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกกันมาก ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าว
โพด ฝ้าย และคาโนลา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่ทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช ต้านทานต่อ
แมลงศัตรู และมีทั้งสองลักษณะร่วมกัน จะเห็นได้ว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวที่อนุญาตให้
ปลูกอยู่นี้ จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์

แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมส่งผลกระทบทางลบ
ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของมนุษย์ แต่ความห่วงกังวลก็ยังคงมีอยู่ ขณะเดียวกันยังได้รับ
การต่อต้านอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยกลุ่มบุคคลที่อยู่ในรูปขององค์กรอิสระ
ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เผยแพร่โดย กลุ่มองค์กรอิสระดูเหมือนว่า
จะมีการบิดเบือนจากความเป็นจริงไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ของสาธารณชนและส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นเสมือนสิ่งที่
สามารถทำอันตรายให้กับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ที่ผ่านมามีความพยายามจากหลายฝ่าย ที่จะ
ให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องในเรื่องของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เพียงพอ
 เห็นได้จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนก็ยังมีปรากฏให้เห็น ไม่ว่าจะในระดับผู้บริหารระดับสูงจน
ถึงบุคคลทั่วไป ส่งผลให้นโยบายในการวิจัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมไม่
มีความชัดเจน

จากที่กล่าวมาข้างต้น พอจะชี้ให้เห็นว่า การให้การศึกษาสาธารณะอย่างถูกต้องและเป็นจริงใน
เรื่องของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและความปลอดภัยทางชีวภาพยังมีความจำเป็น และยังจำ
เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยให้มีความครอบคลุมประชาชนทั้ง
ประเทศ และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสาธารณชนด้วยการดำเนินงานโดยหน่วยงาน
ใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ต้องการได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วม
มือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดแนวทาง

ยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติ รวมทั้งสนับสนุนเงินทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์
จากความเป็นมาดังกล่าวข้างต้น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจึงได้ร่วม
มือกับองค์การไอซ่าและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาหารือที่จะจัดตั้งองค์กรที่ถูกต้อง
ตามกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และจากการปรึกษาหารือ 3 ครั้ง ที่ผ่านมา ทำ
ให้องค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นี้มีรูปร่างชัดขึ้น ซึ่งจะอยู่ในรูปของสมาคมที่จดทะเบียนถูกต้องตาม
กฎหมายและมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมถึงมีข้อบังคับของสมาคมที่สามารถ
ทำให้สมาคมดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้


หนึ่ง...เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาประเทศ

สอง...เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชนทุกกลุ่มในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จา
เทคโนโลยีชีวภาพ

สาม...เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานทางวิทยา
ศาสตร์

สี่...เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐไปยัง
ภาคเอกชน และจากเอกชนไปยังภาครัฐ และ

ห้า...ประสานงานกับภาครัฐ เอกชนและองค์การนานาชาติในการควบคุมดูแลความปลอดภัย
ทางชีวภาพ

รูปแบบของสามคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์
องค์กรที่จะจัดตั้งจะอยู่ในลักษณะของสมาคม ซึ่งรูปแบบขององค์กร จะมีองค์ประกอบ
อยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ฝ่ายบริหารที่อยู่ในรูปคณะกรรมการบริหารสมาคม และนำทีมโดย
นายกสมาคม คุณสุทัศน์ ศรีวัฒนพงษ์ และฝ่ายอำนวยการ ที่จะช่วยอำนวยความ
สะดวกต่างๆ ในการดำเนินงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และทำหน้าที่
เสมือนเป็นผู้ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำโดยผู้อำนวยการหรือผู้จัดการ
สมาคม

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2548


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน



*************************************************************************************************



ภาวิณี สุดาปัน

ไปดู ความก้าวหน้าทางด้านการเกษตร ของฟิลิปปินส์ กับ
สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (ตอน 2) มะนิลา มหานคร ติดอันดับ 1 ใน
10 ของโลก


วันแรกของการเดินทางเยือนฟิลิปปินส์ เริ่มต้นด้วยการสัมมนา หัวข้อเรื่อง
เทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ


ผู้เขียนฟังแล้วสรุปสาระสำคัญได้ว่า พืชเทคโนโลยีชีวภาพ หรือพืช จีเอ็มโอ หรือพืช (สิ่งมี
ชีวิต) ดัดแปลงพันธุกรรม ได้มีการวิจัย และพัฒนามานานแล้ว ใช้ได้ทั้งในทางการแพทย์
อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งส่วนที่จะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาคการเกษตร
เพราะปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเทคโนโลยีชีวภาพมาดัดแปลงใช้ในทางการเกษตร
ในเรื่อง มะละกอต้านทานไวรัสวงแหวน ข้าวโพดต้านทานแมลง (บีที) ถั่วเหลืองต้านทาน
สารปราบวัชพืช จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อตรึงไนโตรเจน ข้าวสีทอง (พันธุ์ที่มีคุณค่า
ทางโภชนาการสูง) ทั่วโลกต่างมีความสนใจ

ในเรื่องการปลูกพืช จีเอ็มโอ เป็นทางออกในการช่วยแนะแนวทางให้เกษตรกรหันมาสนใจ
ปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันนี้กว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถบ่งบอกได้
ว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาในการทดลอง
นาน 10 กว่าปี ใช้ระยะเวลาในห้องปฏิบัติการ การถ่ายยีนและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ประมาณ 1-3 ปี แล้วคัดเอาเฉพาะลักษณะที่ดีมาทดลองในโรงเรือนกระจก และโรงเรือน
ตาข่าย เวลา 3-5 ปี จากนั้นก็คัดเอาเฉพาะต้นที่มีลักษณะพันธุ์ที่ดีมาปลูกในแปลง
เปิด เวลา 3-5 ปี เมื่อทดสอบทางวิทยาศาสตร์จนถูกต้องแล้วว่าพืชชนิดนี้ปลอดภัยต่อผู้
บริโภคและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมก็จะสามารถนำไปปลูกในระดับไร่นาได้ แต่ถ้าหากพืช
 ที่ทดสอบแล้วไม่ปลอดภัยก็จะถูกทำลายทิ้งทันที

ผู้เข้าร่วมประชุมต่างให้ความสนใจกันมาก คาดว่าในอนาคตนี้พืช จีเอ็มโอ จะสามารถครอง
ตลาดพืชผลทางการเกษตรได้มาก แล้วหากประเทศไหนไม่มีการนำพืชเทคโนโลยีชีวภาพ
มาวิจัย และพัฒนา เกษตรกรก็คงจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์พืชมาเพาะปลูกอยู่ร่ำไป‚และคงต้อง
ประสบปัญหาเรื่องแมลงศัตรู‚โรคพืช‚

สำหรับประเทศไทย หากว่ากันถึงเรื่องโรคไวรัสมะละกอวงแหวน เกษตรกรบ้านแพ้ว คุณนิ
วัต บอกว่า เวลาไวรัสมาทีหนึ่งก็ต้องหนีไปปลูกที่อื่นแทน ปลูกได้หนเดียวเท่านั้นแหละ หาก
หนีไม่ทันก็ต้องตัดต้นทิ้งหมด ทุนที่ลงไปก็เสียหาย ขาดทุนยับเยิน

การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 จัดครั้งแรกเมื่อปี 2007 ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศ
แรกในอาเซียนที่ปลูกพืช จีเอ็มโอ เพื่อการค้า พืชที่ปลูกคือ ข้าวโพด โดยใช้วิธีเทคโนโลยี
ชีวภาพ Bt corn ประโยชน์ที่ได้จาก Bt corn คือ ทำให้ได้ผลผลิตสูง ใช้สารเคมี
น้อยลง คุณภาพพืชดีขึ้น (ลดความเสียหายจากแมลงกัดกิน ลดการทำลายของเชื้อรา
Alflatoxin)



มาฟังเสียงบอกเล่าจากผู้เข้าร่วมสัมมนากัน!

ตัวแทนแต่ละประเทศ กล่าวถึงพืช จีเอ็มโอ!

เกาหลี โดย คุณแทสัน คิม ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ Crop Life บอกว่า
เกาหลี เป็นประเทศที่มีการผลิตอาหารเพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ แต่เมล็ด
ธัญพืชต้องสั่งซื้อเข้ามาจากต่างประเทศ ขณะนี้ยังไม่มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ แต่อยู่ในขั้นการ
ทดลอง มีการวิจัยพริกที่ทนต่อสารฆ่าวัชพืช ประเทศเกาหลี คาดว่า ภายใน 2 ปีนี้ พริกจะ
ผ่านการยอมรับการประเมินความเสี่ยง สามารถนำไปปลูกเลี้ยงในทุ่งนาได้

งานวิจัยเรื่องข้าว มีการเพิ่มสารแอนโทไซยานิน (ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินต่างๆ) โดย
ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

งานวิจัยเรื่องมันฝรั่ง เกาหลีมีกฎหมายพระราชบัญญัติขึ้น ในปี 2008 เพื่อให้มีการบังคับ
ใช้พืช จีเอ็มโอ ตามกฎหมาย และเกษตรกรสามารถเลือกใช้พืช จีเอ็มโอ หรือไม่ก็ได้ ตาม
ความสมัครใจ มีหน่วยงานตรวจสอบก่อนจึงจะสามารถปลูกและบริโภคได้

อินโดนีเซีย โดย คุณซึยัมโต้ จากสถาบันวิจัยพืชอาหาร

คุณซึยัมโต้ บอกว่า มีงานวิจัยพืช จีเอ็มโอ ข้าว มันฝรั่ง ถั่วเหลือง และส้ม อินโดนีเซียไม่ได้
สนใจเรื่องบีที (BT) แต่กำลังวิจัยเรื่องการใส่ยีนให้เปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนแอซิด เพื่อตรึง
ไนโตรเจนเข้าไปในพืช มีการปลูกฝ้าย ถั่วลิสง ข้าวโพด ซื้อเมล็ดพันธุ์มาจาก บริษัท มอน
ซานโต พร้อมที่จะปลูกทันที

เวียดนาม โดย คุณฟาม วัน เทา ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรและ
ประมง เล่าว่า รูปแบบการปลูกพืชยังเป็นแบบธรรมชาติ (พืชที่ปลูก ข้าว ข้าวโพด อ้อย
และกาแฟ) ยังไม่มีการนำพืช จีเอ็มโอ มาใช้ในประเทศ แต่คาดว่าใน ปี 2020 นี้ จะมี
การนำพืช จีเอ็มโอ มาทดแทนพืชปกติ ประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้วิธีการซื้อ
เมล็ดพันธุ์

มีแผนการส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาและทำการวิจัยในประเทศที่มีการพัฒนาด้านพืช จีเอ็มโอ

ไต้หวัน โดย คุณบ๊อบ ซูอิน

คุณบ๊อบ บอกว่า ไต้หวัน เป็นประเทศที่ยังไม่มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ แต่ก็สามารถรับ
ประทานได้ โดยกำหนดให้มีการปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์

อินเดีย คุณปาวาน คาริมบิล ประชาสัมพันธ์ประเทศอินเดีย เล่าว่า ภาครัฐบาลไม่ส่งเสริมการ
ปลูกพืช จีเอ็มโอ ห้ามนำเข้าพืชจีเอ็มโอ ที่เป็นพืชเพื่อการบริโภค แต่สามารถปลูกฝ้ายบีที
ได้ เพราะไม่ใช่พืชเพื่อการบริโภค จึงสามารถเพาะปลูกได้ ปัจจุบันพืช จีเอ็มโอ ยังอยู่ในขั้น
การทดลองในแปลงปลูก

ไทย โดย คุณสาธิน คุณะวเสน เลขานุการคณะกรรมการประเมินความปลอดภัยด้านอาหาร

"ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายอนุญาตให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยใน
แปลงทดลอง" คุณสาธิน กล่าว

ฟิลิปปินส์ โดย คุณโรสซารี แอลเลียส เป็นผู้ประสานงานของเกษตรกรด้านการจัดการศัตรู
พืชแบบผสมผสาน

"มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ เพื่อการค้า ข้าวโพดเริ่มปลูกครั้งแรกเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว มี
กฎหมายอนุญาตให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน มีงานวิจัยเรื่องมะละกอ จีเอ็มโอ มะเขือม่วงบีที และข้าวสีทอง ยัง
อยู่ในขั้นแปลงทดลอง คาดว่าอีกไม่เกิน 2 ปี ก็จะสามารถนำออกเผยแพร่ได้" คุณโรสซา
รี กล่าว

หลังเสร็จสิ้นจากการเข้ารับฟังอภิปรายจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งการบอกเล่าถึง
พืช จีเอ็มโอ ของแต่ละประเทศแล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสนั่ง (บนรถบัส ขณะเดินทางไปรับ
ประทานอาหารเย็น) ใกล้ชิดคุณโรสซารี แอลเลียส หญิงหม้าย ลูก 3 เกษตรกรชาว
ฟิลิปปินส์ อายุ 30 กว่าปี หญิงแกร่งแห่งเมืองปังกาซีนัน สาเหตุที่เรียกคุณโรสซารีว่าเป็น
หญิงแกร่ง เพราะสามีของเกษตรกรหญิงท่านนี้เสียชีวิตเมื่อหลายปีก่อน ครองโสดมาเป็น
เวลา 13 ปี เลี้ยงลูก 3 คน (ชาย 1 หญิง 2) เพียงลำพัง

คุณโรสซารี เล่าว่า ตนแอบทำไร่ข้าวโพด จีเอ็มโอ ก่อนที่ฟิลิปปินส์จะอนุญาตให้มีการปลูก
พืช จีเอ็มโอ เริ่มปลูกข้าวและข้าวโพด จีเอ็มโอ มาตั้งแต่ปี 2003 หากนับรวมเวลาจนถึง
ปัจจุบันก็ประมาณ 7 ปี โดยใช้พื้นที่ปลูกทั้งหมด 10 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ เท่ากับ
6.25 ไร่) แบ่งแปลงปลูกออกเป็น 2 ส่วน ทั้งแปลงปลูกข้าวและข้าวโพด ตนจัดตาราง
การปลูกพืชให้เหมาะสมกับช่วงฤดูกาล ในช่วงอากาศร้อนตนจะปลูกข้าว พอถึงช่วงหน้าแล้ง
ตนจะปลูกข้าวโพด (หน้าแล้งให้ผลผลิตมากที่สุด ส่วนหน้าฝนจะได้ผลผลิตน้อยที่สุด)
สลับสับเปลี่ยนกันในทุกๆ ปี ผลผลิตที่ได้จากพันธุ์ข้าวและข้าวโพด จีเอ็มโอ สูงมากกว่า
พันธุ์พื้นเมืองทั่วไป ปลูกข้าว 1 เฮกตาร์ ได้ผลผลิต 5,000 กิโลกรัม ปลูกข้าวโพด 1
เฮกตาร์ ได้ผลผลิต 5,000 กิโลกรัม เช่นกัน ราคาขาย 3,800 เปโซ

หญิงแกร่งบอกว่า สภาพอากาศแห้งแล้ง ร้อน บางครั้งก็ประสบปัญหาจากพายุเกย์พัดถล่ม
สร้างความเสียหายให้กับพืชผลการเกษตรเป็นอันมาก ประกอบกับโรคแมลงศัตรูพืช ทำให้
ตนหันมาใช้พันธุ์ข้าวโพด จีเอ็มโอ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ถูกดัดแปลงหน่วยพันธุกรรมให้ต้านทานโรค
และแมลง อีกอย่างช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตได้มาก

นอกจากทำไร่แล้ว หญิงแกร่งก็ยังทำฟาร์มปศุสัตว์ มีทั้งแพะ หมู และวัวเนื้อ รวมแล้วจำนวน
เกือบๆ 100 ตัว

ปัจจุบัน คุณโรสซารี ทำงานทั้งในไร่ข้าวโพด ฟาร์มปศุสัตว์ และเป็นผู้ประสานงานของ
เกษตรกรด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน คุณโรสซารีจบการศึกษาจาก IPF-FFS
Integrated Pest Management Famer Field School แต่ก่อนเคยใช้
ชีวิตอยู่ที่สิงคโปร์ และแคนาดากับสามี

หากท่านใดสนใจ อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือพูดคุยกับเกษตรกรชาว
ฟิลิปปินส์ท่านนี้ ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษา เพราะคุณโรสซารีพูดภาษาอังกฤษเก่ง
มาก สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่นี้ Rosalie M. Ellasus std.
Maria.San Jacinto Pangasinan. Philippines เบอร์โทร. 09-
2743-1238-2 หรือ ติดต่อผ่านทาง Email : rmellasus@yahoo.com



เทคโนโลยีชีวภาพ หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ!

เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นเทคโนโลยีที่นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้กับสิ่งมี
ชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตผลของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ไม่ว่า
จะเป็นการผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดย
สามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้าน
ทางการแพทย์ เป็นต้น

จีเอ็มโอ (GMOs) หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม

GMOs ย่อมาจาก คำว่า Genetic Modified Organisms คือสิ่งมีชีวิตไม่ว่าพืช
หรือสัตว์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม โดยใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic
Engineering) สมัยใหม่ ตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมี
ชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งตามปกติไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ในสภาพธรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิต
ชนิดนั้น มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ สิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีนใส่เข้าไปในเซลล์
ของร่างกาย เกิดการเจริญเติบโต แบ่งจำนวนเซลล์ได้มาก คัดลอกเอาลักษณะสายพันธุ์ที่ดี
มา เพื่อถ่ายทอดลักษณะยีนเด่นของพ่อแม่ เรียกวิธีการนี้ว่า จีเอ็มโอ (GMOs) ตัวอย่าง
เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศปลูก
ในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้

นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีนของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบ
วัชพืช

นำยีนจากไวรัสมาใส่ในมะละกอ เพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

โดยพืชที่ได้รับการตัดต่อยีนจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic
Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant ส่วน คำว่า จี
เอ็มโอ (GMOs) เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดต่อยีน พืช จีเอ็มโอ ที่มีขาย
ตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ ฝ้าย คาโน
ลา (Canola), (พืชให้น้ำมัน) และสควอช (Squash)


ตะลุย....ช็อปปิ้ง ที่ MG Mall, SM Mall ฟิลิปปินส์

ใจกลางเมืองมะนิลา เป็นเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่าน การจราจรหนาแน่น ย่ามค่ำคืนหลังจาก
เสร็จจากภารกิจหลักแล้ว คณะเดินทางก็ออกตระเวนเดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า (แปลกใจ
เมืองไทยเราก็มีห้างสรรพสินค้า แล้วทำไมต้องมาเดินห้างที่นี้ด้วยละ) เพื่อซื้อของฝาก
รู้สึกว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เห็นก็ไม่แตกต่างจากเดอะมอลล์บ้านเราเลย เดินดูภายในก็ไม่
มีสินค้าที่น่าสนใจ ทุกคนจึงตัดสินใจเดินไปซุปเปอร์มาร์เก็ต จะเห็นสินค้าทั่วไป แต่สินค้าที่
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ คือ มะม่วงแปรรูป รสชาติหวานอมเปรี้ยว ซื้อมากันหลาย
ถุงทีเดียว

อีกแห่งหนึ่งคือ SM Mall เป็นห้างที่มีประชาชนหนาแน่นมาก ยิ่งในเวลาเย็นย่ำด้วยแล้ว
ผู้คนต่างมาพักผ่อน หาของกินแล้วก็เดินเที่ยวตามถนนริมอ่าวมะนิลา ภายในห้างสรรพสินค้า
มีห้างร้านมากมาย มีการแสดงของเด็กๆ และดนตรี อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวฟิลิปปินส์
คณะเดินทางเดินซื้อของฝาก มีทั้งรถจิ๊ปนีย์ขนาดเล็ก หมวก รูปปั้น ผ้าคลุมไหล่ ศิลปะพื้น
บ้านของชาวฟิลิปปินส์ ราคาไม่แพงมาก เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินช็อปปิ้งกัน


ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ที่ร้านอาหาร Zamboanga มะนิลา

ชาวฟิลิปปินส์ เป็นชนชาตินักดนตรีแห่งเอเชีย โดยเฉพาะเสียงร้อง และเล่นดนตรี
ที่นี่ไพเราะจับใจเหลือเกิน จบจากรับประทานอาหารมื้อค่ำ ก็มีนักดนตรีประจำร้าน
อาหารมาบรรเลงเพลงให้ฟัง จากนั้น ก็เริ่มต้นด้วยการแสดงของชาวเขา แต่งกาย
ด้วยชุดประจำเผ่า บริเวณศีรษะและข้อแขนทั้งสองข้างคาดทับด้วยผ้าลาย ด้าน
บนเสียบด้วยขนนก มีลูกประคำห้อยคอหลากสี ไม่ใส่รองเท้า แต่งกายวับๆ แวบๆ
นุ่งน้อยห่มน้อยตามแบบฉบับชาวเขา มือถือฆ้องเคาะเป็นจังหวะ เต้นระบำใช้สเต๊ป
เท้าพร้อมกับสั่นข้อมือให้จังหวะ


ชาวเขาในฟิลิปปินส์มี 5 เผ่าหลัก กระจายอยู่ตามยอดเขาในเขตกอร์ดีเยราของเกาะลูซอน
ตอนบน ประกอบด้วย เผ่าอีบาลอย กันกานาเอย์ อีฟูเกา กาลิงกา และอาปาเยา เป็นพวกที่
รักศักดิ์ศรี และไม่เคยตกเป็นทาสใคร ต่างเผ่าต่างก็บ่มเพาะวัฒนธรรมของตนในดงดอยอัน
เงียบสงบ ห่างไกลจากอำนาจอาณานิคมในที่ลุ่ม พวกเขามีหลักแหล่งที่แน่นอน พึ่งพาอยู่
กับกสิกรรม ยึดธรรมเนียมบูชาบรรพบุรุษหรือเจ้าป่าเจ้าเขา อีบาลอยและกันกานาเอย์ อีบา
ลอยอาศัยอยู่ในเทือกเขากอร์ดีเยราทางตอนใต้และตะวันตก ปลูกข้าว กาแฟ และผัก กันกา
นาเอย์อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกอร์ดีเยรา อีฟูเกา ใช้ชีวิตในเทือกเขากอร์ดีเย
ราตอนกลางและตะวันออก เป็นเจ้าของนาขั้นบันไดที่โด่งดังที่สุดในโลก ชาวมุสลิมหรือโมโร
เป็นชนกลุ่มน้อยใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่บนเกาะมินดาเนา และทางใต้ลูซู มีอุปนิสัยดื้อดึง มี


เลือดนักสู้ รักอิสระ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ เตาซุก (ฉายาชนแห่งกระแสน้ำ)มารเนา
 (ชนแห่งทะเลสาบ) มากินดาเนา (ชนแห่งที่ราบน้ำท่วมถึง) ซามัล (ผู้น้อยผู้ภักดี
ยากจนที่สุด) และบัดเจา (ยิปซีทะเล)

จบการแสดงเสียงปรบมือก็เกรียวกราว ตามด้วยการแสดงชุดที่สอง นักรำบายานีฮันวางท่า
งามระหง บนศีรษะมีหม้อดินขนาดใหญ่ตั้งเด่นรองด้วยมวยผ้า หน้าเชิด สวมเสื้อสีเนื้อรัดรูป
ผ้าลายประจำเผ่าคาดผ่ากลางตัวทั้งสองข้าง นุ่งผ้าซิ่นลายยาวครึ่งแข่งคาดเอวด้วยผ้าลาย
ยาวผืนเล็ก เต้นรำโดยใช้สเต๊ปเท้าอย่างเดียว

การแสดงชุดที่สาม นางรำซิงเกิล คณะบัลเล่ต์ หญิงสาวในชุดอาภรณ์วิจิตรตระการตา
บ่งบอกถึงฐานะอันสูงส่ง ขยับกายแช่มช้อย เชิดศีรษะยิ่งด้วยความมั่นใจ สองมือถือพัดใหญ่
แวว ย่างก้าวเข้าหาคนรับใช้ที่ไขว้ท่อนไผ่ไปมาอยู่กับพื้น แล้วเริ่มร่ายรำ เคลื่อนเท้าซ้าย
ขวา แทรกระหว่างกลางไม้ (หน้าตาไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนคนไทยเลย สงสัยคงจะ
อยู่ในภาวะเครียดกับสงครามมาหลายปี) ที่รัวกระทบกันดังตึ๊บๆ ถี่ขึ้น เล่นเอาคนดูเกือบ
หยุดหายใจ แต่สีหน้าก็ยังคงนิ่งเรียบเช่นเดิม การแสดงจบลงพร้อมกับความประทับใจของผู้
ชม ตามด้วยการแสดงของชายล้วนที่ใช้กะลามะพร้าวประกอบจังหวะการเต้น กะลามะพร้าว
แปรรูปเรียบร้อบใส่รัดไว้ตรงหน้าอก 1 คู่ และต้นขา จำนวน 1 คู่ เต้นไปเคาะกะลาไป
เสียงดังแป๊ะๆ เป็นจังหวะจะโคน สนุกสนาน ผู้ฟังเงียบกริบ การแสดงก็จบลง

ตบท้ายด้วยการแดงชุดที่สี่ ละครเวที ชายหนุ่มเกี้ยวพาราสี ล้อเลียนโดยการยื้อแย่งหมวก
ชาวนา จากนั้นก็ท้าให้ชายหนุ่มเก็บหมวกโดยไม่ให้ใช้มือจับ ชายหนุ่มก็ใช้ศีรษะก้มลงสวม
หมวกที่วางอยู่บนพื้นโดยไม่ใช้มือหยิบ พร้อมกับขยับกายเข้าจังหวะ สองมือก็ดีดกีตาร์โปร่ง
ไปด้วย เล่นเอาคนดูเสียวไส้หวิดคอจะเดี้ยงหักเอา แต่การแสดงทุกชุดสร้างความรื่นเริง
บันเทิงใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างดี

อินตรามูโรส "เมืองในรั้ว"

นอกจากดูดนตรี ยังมีโอกาสเดินชมเมืองในรั้วซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่สมัยที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ภาย
ใต้อำนาจของชาวสเปน เสียค่าผ่านประตูเข้าเยี่ยมชม ด้านหน้าบนท้องถนนมีรถม้าเทียม
เกวียนสำหรับนั่งชมรอบป้อมปราการ ด้านข้างมีร้านขายของที่ระลึกภาพวาดสมัยโบราณ ถัด
มาเป็นปืนกลขนาดใหญ่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วางเรียงรายคู่กับลูกกระสุนปืนกล
อีกฟากตรงข้ามกันเป็นสถานที่สำหรับเล่นดนตรีของนักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ เดินตรงไปเป็น
ป้อมซานตีอาโก มีสะพานสำหรับเดินข้ามบ่อน้ำเพื่อเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์รีซัล ภายในบ่อ
มีดอกบัวสีชมพูขึ้นประปราย

พิพิธภัณฑ์รีซัลเป็นที่รวบรวมสิ่งของที่ระลึกถึง ดร.โฮเซ รีซัล ไว้ ซึ่งถูกขังอยู่ภายในกรงขัง
ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ด้านหน้าห้องขังจะมีรอยเท้าสีเหลืองปรากฏ เป็นคู่ๆ ไปสิ้นสุดที่
สะพานก่อนข้ามถนนหน้าป้อมซานตีอาโก รอยเท้าที่ปรากฏนี้คือนักโทษ (ฟิลิปปินส์) ที่จะ
ถูกสังหารด้วยกระสุนปืนจากญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้านบนส่วนที่สูงที่สุดคือ มะนิ
ลาคาธีดรัล เป็นวิหารดินเหนียว สร้างขึ้นจากศิลปะโรมาเนสก์ ด้านข้างล้อมรอบด้วยกำแพง
สูง ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีคุกดินที่ทำขึ้นสำหรับใช้ขังนักโทษ แต่ละกรงขังถูกปิดตาย
ด้วยกุญแจ และมีช่องทางเดินทะลุถึงกัน มีบันไดสำหรับเดินลงถึงคุกดินและทะลุอีกกรงขัง
หนึ่งได้ ซึ่งสถานที่แห่งนี้ญี่ปุ่นใช้สำหรับเป็นฐานทัพ

คุกดินขังนักโทษแห่งนี้ เป็นที่สำหรับกักขังและทรมานชาวฟิลิปปินส์ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ภายใน
กรงขังจะมีกระป๋องสำหรับใส่เศษเหรียญวางอยู่บนพื้น ผู้คนที่เข้าเยี่ยมชมต่างพากันโยน
เหรียญให้ลงกระป๋อง น่าจะเป็นค่านิยมความเชื่อเกี่ยวกับการช่วยอุทิศส่วนกุศลให้แก่
บรรพบุรุษของชาวฟิลิปปินส์ผู้ล่วงลับ ด้านข้างพิพิธภัณฑ์จะมีแม่น้ำสายใหญ่ตัดผ่านกลาง
ระหว่างมะนิลา และอีกเมืองหนึ่ง

แม่น้ำที่กล่าวถึงนี้คือ แม่น้ำปาซิก ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ ใช้อุปโภค
บริโภค ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม


ที่มา  ;  เทคโนโลยีชาวบ้าน




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©