-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 1247 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ทำนาข้าวแบบประณีต




หน้า: 1/2


                        ทำนาข้าวแบบประณีต               


          หมายถึง  การปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวอย่างครบวงจรตั้งแต่  เตรียมแปลง  เตรียมเทือก  เตรียมเมล็ดพันธุ์ หลังจากเมล็ดงอกขึ้นมาเป็นลำต้นแล้ว     จะต้องปฏิบัติบำรุงด้วยสารอาหารที่ตรงกับระยะพัฒนาการอย่างแท้
จริงจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว                
         การปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวอย่างประณีต  ให้ประสบความสำเร็จสูงสุดเท่าที่ธรรมชาติของต้นข้าวจะพึงมีหรือให้ประสบความสำเร็จเหนือกว่าธรรมชาติของต้นข้าวนั้น     บางขั้นตอนต้องจะเตรียมล่วงหน้ามาก่อน เช่น ดิน. น้ำ. สายพันธุ์. เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง  เช่น  อากาศ.  โรค.    ซึ่งมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตโดยตรงอีกด้วย                   
               
         ทุกช่วงของระยะพัฒนาการของต้นข้าวจะต้องหมั่นสำรวจแปลง   พิจารณาลักษณะหรืออัตราการเจริญเติบโต  การแตกกอ  ขนาดรูปทรงต้นหรือกอ และอื่นๆ โดยเฉพาะต้นข้าวที่มีลักษณะ  ข้าวปน   จะต้องถอนทิ้งไป    ช่วงต้นข้าวระยะกล้าอาจมีการปลูกแซมแทนต้นที่ตายบ้าง  เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวคุณภาพเกรดเดียวกันทั้งแปลง 
               
          การทำนาแบบประณีตต้องทำแบบ  นาดำ   เพราะนอกจากจะได้ผลผลิต  ทั้งปริมาณและคุณภาพดีกว่า
การทำแบบ นาหว่าน  แล้ว  ยังช่วยให้การเข้าไปสำรวจแปลงทำได้ง่าย  ข้าวทุกต้นได้รับแสงแดดเต็มที่  และโรคและแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย               
         อย่างไรก็ตามการทำนาดำหรือการทำนาข้าวแบบประณีต  แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้าจะทำ  หรือ  บำรุงเต็มที่ย่อมได้ผลผลิตเต็มที่  หรือ บำรุงเต็มทีแต่จะเอาผลผลิตเต็มที่ย่อมไม่ได้     เมื่อคิดจะปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวแบบประณีตบรรจงเต็มที่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะ หัวใจ + สมอง  บ่อยครั้งที่ชาวนาบางคนบ่นว่า  การฉีดพ่นทางใบทุก 7 วัน ถี่เกินไป แม้แต่ 10 วันก็ยังถี่ทำไม่ไหวทำได้ กรณีนี้จะต้องไปขอต่อรองกับต้นข้าวเอาเอง  
                
         เพื่อให้ได้ผลเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ให้ถือตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
               

         เตรียมแปลงตกกล้า
               
       - ปรับเรียบเพื่อให้มีระดับน้ำในดินและใต้ผิวดินเสมอกันทั่วทั้งแปลง
               
       - แปลงอยู่กลางแดด  ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
               
       - วัดค่ากรด-ด่างของดิน  แล้วปรับให้ได้ค่าที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว
               
       - มีน้ำบริบูรณ์และช่องทางน้ำเข้า-ออก  สามารถนำน้ำเข้าออกได้ทุกเวลาที่ต้องการ 
    
   - เตรียมเทือกโดยใส่  ยิบซั่มธรรมชาติ + กระดูกป่นหรือปลาป่น + ปุ๋ยคอก (มูลวัว-มูลไก่-มูลค้างคาว) หมักข้ามปี + กากก้นถังปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง   หว่านให้ทั่วแปลง  ไถดะไถแปรและไถพรวนหลายๆรอบ               
       - หลังจากไถพรวนแล้วปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วัน  ระหว่างนี้เติมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน     เพื่อเป็นการ บ่มดิน   หรือเป็นการให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับสภาพโครงสร้างดินและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆจนได้ฮิวมิค แอซิด เสียก่อน

        
 หมายเหตุ :               
       - การเตรียมแปลงตกกล้าต้องพิถีพิถันมากว่าการเตรียมแปลงทั่วๆไป เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์ที่สุด
               
       - การบ่มดินควรใช้ระยะเวลานานที่สุดเท่าที่จะนานได้     เพื่อให้เกิดสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับต้นกล้าคุณภาพดี
               
       - ใส่  “ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ 20-30 กระสอบปุ๋ย  หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล./1 ไร่”  จะช่วยให้ดินดี  ซึ่งจะส่งผลให้ต้นกล้าสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดีเมื่อนำไปปลูก
                

         เตรียมเมล็ดพันธุ์ตกกล้า
               
       - ตรวจสอบความน่าเชื่อถือหรือคุณภาพ (สายพันธุ์ แหล่งผลิต  ประวัติการบำรุง อายุการจัดเก็บ  บรรจุภัณฑ์  ฯลฯ)  ของเมล็ดพันธุ์
               
       - ตรวจสอบคุณภาพโดยการแช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำเกลือเจือจาง (ทดสอบความเจือจางโดยละลายเกลือในน้ำแล้วใช้ไข่สดลอยน้ำ ถ้าพื้นผิวเปลือกไข่ส่วนที่ลอยพ้นน้ำมีขนาดโตเท่ากับเหรียญห้าบาทหรือสิบบาท ถือว่าใช้ได้) คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเป็นเมล็ดเสื่อมความงอกแล้ว  เก็บไว้ใช้งานเฉพาะเมล็ดจม
               
       - ตรวจลักษณะเมล็ดพันธุ์ แล้วคัดออกเมล็ดพันธุ์ที่มีรูปร่างลักษณะผิดเพี้ยนจากเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่  รวมทั้งคัดออกเมล็ดหญ้า ข้าวนก เมล็ดวัชพืช และสิ่งปลอมปนอื่นๆ
               
       - นำเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแช่น้ำเกลือเจือจางแล้วลงแช่ใน  น้ำ 100 ล. + ไคตินไคโตซาน 200-250 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100  กรัม   นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้วนำขึ้น ห่มชื้น  ต่ออีก 24-48 ชม.  ขั้นตอนการห่มนี้ต้องหมั่นตรวจสภาพเมล็ดพันธุ์  ถ้าเห็นว่าเมล็ดเริ่มแทงรากออกมาแล้วให้นำไปหว่านทันทีแม้จะยังไม่ครบกำหนดเวลา เพราะหากห่มนานกว่านั้นรากจะยาวมากทำให้หว่านเมล็ดไม่กระจาย  เนื่องจากรากเกี่ยวพันกันเองเมล็ดพันธุ์ที่แช่ในไคตินไคโตซาน  จะแทงรากเร็วกว่าการแช่น้ำเปล่าหรือสารเคมี
                    
                
          หมายเหตุ  :
               
       -  ในไคตินไคโตซานนอกจากจะมีสาร “ไคติเนส”   ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้แล้วยังมีฮอร์โมนกลุ่มอ๊อกซินที่เป็นประโยชน์ต่อต้นข้าว เมื่อเจริญเติบโตขึ้นอีกด้วย
                
       - การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวใน   “ธาตุรอง/ธาตุเสริม”     เป็นการช่วยให้ต้นข้าวได้รับสารอาหารตั้งแต่ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ซึ่งจะส่งผลให้ต้นที่โตขึ้นมีภูมิต้านทาน สมบูรณ์  แข็งแรง  และให้ผลผลิตดี
 - การแช่เมล็ดพันธุ์ในสารเคมี  เมล็ดพันธุ์ย่อมดูดซับสารเคมีเข้าไปไว้ในตัวเอง  ตั้งแต่ก่อนงอก (สารเคมีเป็นสารพิษ ไม่ใช่สารอาหาร) จึงไม่ก่อประโยชน์ใดๆแก่ต้นข้าว
        - ทดสอบด้วยวิธีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกใส่แก้วแล้วเติมน้ำเปล่าพอท่วม  ทิ้งไว้ 24 ชม. หรือ 48 ชม. จะพบว่าระดับน้ำในแก้วลดลงหรือหายไปส่วนหนึ่ง  แสดงว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกได้ดูดซับน้ำเข้าไปไว้ในตัวเองแล้ว               
       - ปัจจัยเสริมการงอกของเมล็ดพืช คือ  “อากาศ”  ขั้นตอนการแช่เมล็ดพันธุ์นั้น ถ้ามีการเติมออกซิเจนเข้าไปในถังแช่ด้วย  นอกจากช่วยให้ได้เปอร์เซ็นต์งอกสูงแล้วยังจะทำให้ได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงอีกด้วย    
               
       - วิธีเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับตกกล้าเพื่อทำนาดำแบบนี้      สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิธีเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับนาหว่านได้ด้วย                     
               

         บำรุงกล้าในแปลงตกกล้า
               
       - ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม หรือ  20-20-20 + แคลเซียม โบรอน  อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อต้นกล้าโตได้ใบจริง 2 ใบ  ให้ทางใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นบางๆหรือพอเปียกใบ  และให้ครั้งสุดท้ายก่อนถึงวันถอนกล้า 3-5 วัน  จะช่วยให้ลำต้นกล้าแข็ง  ใบเขียวเข้ม สมบูรณ์ดี  เมื่อนำไปปักดำนอกจากจะไม่ชะงักการเจริญเติบโตแล้วยังส่งผลไปถึงช่วงที่ต้นโตแล้วอีกด้วย
               
       - ต้นกล้ามีอาการเหลืองโทรมเนื่องจากสภาพอากาศวิปริต (ร้อน-หนาว) ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย  ธาตุรอง/ธาตุเสริม + แม็กเนเซียม + สังกะสี + กลูโคส  เจือจางมากๆหรือให้เพียง 1 ใน 4 ของอัตราปกติต่อต้นข้าวโตแล้ว โดยให้ล่วงหน้าก่อนอากาศเริ่มวิปริต 2-3 วัน (ทราบจากข่าวพยากรณ์อากาศ)  พร้อมกับให้ระหว่างที่อากาศกำลังวิปริตอีก 2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 3-5 วัน  จนกว่าสภาพอากาศจะเข้าสู่สภาวะปกติ  
               
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               

         หมายเหตุ :                
               
       - การบำรุงช่วงระยะกล้าในแปลงตกกล้าอาจไม่จำเป็น  ถ้ามีการเตรียมเทือกดีก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์  เพราะปริมาณสารอาหารในเทือกมีมากพออยู่แล้ว  แต่หากได้มีการให้บ้างเพียง  1 ครั้งเท่านั้น  ต้นกล้าจะเจริญเติบโตสมบูรณ์ชัดเจนกว่าไม่ได้ให้เลย
               
       - ลักษณะต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรง  จะมีลำต้นอวบ อ้วน กลม แข็ง สีเขียวเข้ม  รากขาวสะอาด  จำนวนมาก  ยาวเท่ากับขนาดความสูงของลำต้นจากโคนถึงปลายใบ
 
      - สำรวจแปลงกล้า (กรณีที่ทำได้) พิจารณาเลือกถอนทิ้ง  “ต้นข้าวปน” เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการถอนทิ้งหลังจากต้นโตแล้ว  และเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่ตรงสายพันธุ์จริงๆ
 
      - กล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า  มัดรวมกำแล้วนำไปวางตั้งแช่ใน  “น้ำ + มูลค้างคาว”   พอท่วมรากก่อน  นาน 24 ชม. แล้วจึงนำไปปักดำ จะช่วยให้แตกกอดีจำนวนมาก  ส่งผลให้ได้จำนวนรวงมากขึ้นด้วย               
       - ขั้นตอนเตรียมกล้าข้าวสำคัญมาก  กล่าวคือ  ต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์สูงนอกจากจะส่งผลไปถึงความสมบูรณ์ของต้นเมื่อต้นโตขึ้นแล้ว ยังส่งผลไปถึงผลผลิตที่จะขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพอีกด้วย
               

          การปักดำ
               
       - ดำนาด้วยมือหรือรถดำนา  ปักดำกอละ 1-2 ต้น
               
       - จับถือต้นกล้าเบาๆ  นิ่มนวลแต่มั่นคง  อย่าให้ต้นกล้าหักช้ำ
               
       - ปักดำลึกเท่ากันทุกๆต้น
               
       - จัดระยะห่างและจัดแถวให้เท่ากันทุกต้น
                

         เตรียมเทือกในแปลงใหญ่
               
         หลักการและเหตุผล  :                
               
         ข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว   อายุการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิด (เมล็ดงอก)   ถึงเก็บเกี่ยวเพียง 90-120 วันเท่านั้น  หากต้องการให้ต้นข้าวสมบูรณ์  แข็งแรง ให้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ ก็ต้องบำรุงให้ต้นข้าวได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงเก็บเกี่ยว  หรืออย่าให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตอย่างเด็ดขาดแม้แต่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ
        
  แนวทางปฏิบัติ               
          พื้นที่ 1 ไร่  ไถกลบฟางพร้อมกับใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 25 กก. + กระดูกป่น หรือ ปลาป่น 10 กก. + กากก้นถังปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 10  กก. +  มูลวัว/มูลไก่ (3:1) 30-50 กระสอบปุ๋ย   เสริมด้วยมูลค้างคาว 10 % ของมูลวัว/มูลไก่ + 16-8-8 (10 กก.)
ผสม
คลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดี  แล้วหว่านทั่วแปลง จากนั้นไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่
          ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ อัตรา 20-30 กระสอบปุ๋ย  จะช่วยให้ดินดี  ส่งผลให้ต้นข้าวสมบูรณ์แข็ง  มีภูมิต้านโรคสูง และให้ผลผลิตดี               

          หมายเหตุ :              
               
        - สำหรับนาข้าวรุ่นแรก  ใส่ยิบซั่ม 25 กก./ไร่  เมื่อทำนารุ่น  2  รุ่น 3  และรุ่นต่อๆมาให้ใส่เพียง 25 กก.หรือน้อยกว่า  เพราะของเดิมที่เคยใส่นั้นต้นข้าวนำไปใช้ไม่หมดจึงยังเหลือสะสมอยู่ในเนื้อดิน      
               
        - ใส่กระดูกป่นหรือปลาป่น 10 กก./3 รุ่น
               
        - การให้ 16-8-8  จะช่วยให้ได้ใบใหญ่  หนา  เขียวเข้ม    เป็นใบสมบูรณ์ดีกว่าการใช้ 46-0-0   กรณีที่หา 16-8-8 ไม่ได้   ให้ใช้ 46-0-0 + 16-16-16  อัตราส่วน 1:1  แล้วใช้ในอัตราเดียวกันกับ 16-8-8  ก็ได้
               
        - การให้  “ฮอร์โมนบำรุงราก 100-200 ซีซี. + ไคตินไคโตซาน 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ 1-2 ล.”   ไปพร้อมกับปุ๋ยน้ำชีวภาพในถังหน้ารถไถช่วงทำเทือกด้วยจะช่วยให้ได้ประโยชน์สูงสุด
               
        - ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงที่ผ่านการคัดสรรวัสดุส่วนผสมอย่างดี มีสารอาหาร
ธรรมชาติครบถ้วน   ผ่านกระบวนการหมักอย่างถูกต้อง   กอร์ปกับได้สารอาหารส่วนหนึ่งจากอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินที่ใส่ให้เมื่อช่วงเตรียมดิน (ทำเทือก) แล้วนั้น   จะทำให้มีสารอาหารในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการของพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอย่างข้าวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี   หรือพึ่งพาน้อยที่สุด                 
       - การใส่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์โดยไม่ให้มีหญ้าหรือวัชพืชเกิดขึ้นในนา  ทำได้โดยอย่าใช้มูลสัตว์ใหม่แต่ให้หมักด้วยจุลินทรีย์ก่อน  หมักให้ร้อน หมักนานข้ามปี จนกระทั่งเมล็ดวัชพืชเสื่อมความงอก เมื่อนำมาใช้จะไม่มีวัชพืชขึ้นอีกเลย.........ถ้าไม่มีปุ๋ยมูลสัตว์เก่าหมักข้ามปีแต่ต้องการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ใส่ในนา กรณีนี้มีทางออก  นั่นคือใช้  น้ำมูลสัตว์  ราดรดลงบนเศษฟาง  เมื่อฟางผสมกับน้ำมูลสัตว์  ฟางนั้นก็จะมีสภาพเหมือนมูลสัตว์แล้วก็ดีกว่ามูลสัตว์จริงๆอีกด้วย
 
   
      วิธีใส่มูลสัตว์ในนาไม่ให้เกิดหญ้า
         โดยวิธีละลายมูลสัตว์แล้วกรองกากออกใช้แต่น้ำ  ใส่น้ำละลายมูลสัตว์ลงไปผสมกับฟางในแปลง  แล้วไถกลบหรือย่ำ  จากสภาพฟางเปล่าๆก็จะกลายสภาพเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ วิธีนี้ สามารถทำได้ง่ายๆ  โดยดัดแปลงรถไถให้มีตะแกงด้านหน้า  ติดตั้งถังขนาดจุ 20-50 ล. เจาะรูเล็กๆก้นถัง 2-4 รู  มีก๊อกปรับอัตราการไหลเร็ว/ช้า ยึดถังให้มั่นคง ก่อนลงมือไถใส่น้ำหมักมูลสัตว์ลงไปในถังหน้ารถไถ 10-20 ล.สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่
               
          ขณะวิ่งรถไถก็ให้ปล่อยน้ำหมักในถังให้ออกมา เมื่อน้ำมูลสัตว์หยดลงดินด้านหน้ารถแล้วถูกผานด้านหลังไถดินก็จะเป็นการคลุกเคล้า น้ำมูลสัตว์  เนื้อดิน  ฟาง  วัชพืช  ยิบซั่มธรรมชาติ  กระดูกป่นหรือปลาป่น  และอื่นๆ  ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
               

          หมายเหตุ :
               
        - ในมูลวัว-ควายประกอบด้วย   “หญ้า-ฟาง และน้ำย่อย”   ซึ่งมีแต่กากหญ้า-ฟาง  เท่านั้น  ส่วนสารอาหารพืช (วิตามิน โปรตีน ฯลฯ) ที่เคยมีในฟาง-หญ้าหมดไปแล้ว เพราะถูกน้ำย่อยในกระเพาะวัว/ควายสกัดออกไป ขณะที่ฟาง-หญ้าในนายังไม่ถูกกระเพาะวัว-ควายย่อยสลายทำให้ วิตามิน โปรตีน แร่ธาตุ ฯลฯ  ยังคงอยู่    เมื่อไถกลบลงดินแล้วถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ก็จะได้วิตามิน โปรตีน ฯลฯ นั้น.........ฟาง-หญ้าในนาไม่มีน้ำย่อยจากกระเพาะวัว-ควาย และไม่มีจุลินทรีย์ เมื่อได้รับน้ำมูลสัตว์ จุลินทรีย์ และอื่นๆเข้าไปผสม ฟาง-หญ้านั้นจึงมีสภาพดีกว่ามูลวัว-ควายโดยตรง  และสิ่งที่รับประกันได้แน่นอนก็คือ ไม่มีเมล็ดพันธุ์วัชพืชทุกชนิด
               

         การปักดำ
               
       - ดำนาด้วยมือหรือรถดำนา  ปักดำกอละ 1-2 ต้น และให้ลึกสม่ำเสมอเท่าๆกัน
       - ปักดำด้วยความระมัดระวัง (มือนิ่มและเบา) อย่าให้ต้นข้าวหัก




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©