ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 24/08/2011 9:48 pm ชื่อกระทู้: Re: เงาะ ........................................ safe |
|
|
จาก : kimzagass
ถึง : safe
ตอบ
เอาเป็นว่า ข้อมูลทางวิชาการ กับ ข้อมูลทางประสบการณ์ตรง เกี่ยวกับเงาะออกจะขัดๆ กันอย่างมาก
ข้อมูลทางวิชาการก็ตามที่อ้างอิงในลิงค์นี่แหละ
ว่าแต่ว่าหน้าตา เงาะตัวผู้ เงาะตัวเมีย เงาะกระเทย หน้าตามันเป็นอย่างไร ดูที่ต้น ดูที่ดอก หรือดูที่ผล
ข้อมูลทางประสบการณ์ตรง ที่ชาวสวนเงาะส่วนใหญ่นิยมปฏิบัติแล้วก็ปฏิบัติกันมานานแล้ว คือ เมื่อดอกเงาะพร้อมผสมจำนวน 1 ใน 4 ของทั้งต้น ก็จะฉีดพ่นฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ให้ครอบคลุม 1 ใน 4 ของพื้นที่ทรงพุ่ม บางสวนฉีดรอบเดียว บางสวนฉีด 2 รอบ ห่างกัน 5-7 วัน จากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรกับดอกอีก รอกระทั่งดอกกลายเป็นผลก็บำรุงผลไปตามสไตล์ ..... เท่าที่เคยตะลอนๆไปตามสวนเงาะ ไม่เคยพบเห็นสวนไหนเปลี่ยนยอด เอายอดต้นตัวผู้มาเสียบใส่ยอดต้นตัวเมีย เอายอดต้นตัวเมียมาเสียบใส่ยอดต้นตัวผู้ (เฉพาะสวนที่ลุงคิมเคยสัมผัสนะ) เลย .... อย่างที่สงสัยนั่นแหละ ต้นตัวผู้-ต้นตัวเมีย ดูยังไง มีลักษณะอะไรเป็นจุดสังเกตุ....
ข้อมูลทางวิชาการเรื่อง เอ็นเอเอ.เกี่ยวข้องกับดอกเงาะ
- บางข้อมูลว่า เอ็นเอเอ. ไปควบคุมเกสรตัวผู้ให้คงตัวและสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นนานๆ เพื่อจะได้ไปผสมกับเกสรตัวเมีย ซึ่งจะพร้อมผสมทีหลัง
- บางข้อมูลก็ว่า ดอกเงาะออกมาครั้งแรกเป็นตัวเมียทั้งหมด เมื่อได้รับฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เข้าไป ดอกที่ได้รับจะเปลี่ยนเพศจากตัวผู้เป็นตัวเมีย .... นี่คือเหตุผลที่ให้ฉีดฮอร์โมน เอ็นเอเอ.เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทรงพุ่ม
(.... ปัญหาก็คือ เกสรตัวผู้ กับ เกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกันหรือต่างดอก .... ในต้นเดียวกัน หรือต่างต้น.....อันนี้ลุงคิมไม่มีข้อมูลจริงๆ)
เงาะที่ไร่กล้อมแกล้มมี 20 ต้น เป็นเงาะปลูกจากเมล็ด ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว (อายุต้น 3 ปี) ประมาณ 3 ต้น ให้ครั้งที่สองเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา ทั้งต้นที่เคยออกมาก่อนแล้วออกซ้ำ กับต้นที่ออกปีแรก รวม 10 ต้น สภาพต้นไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เพราะดินไม่ค่อยถูกโฉลกกับเงาะนัก .... ตอนที่ดอกออกมาก็เห็น เห็นแล้วก็ไม่ได้ทำอะไร (ให้เอ็นเอเอ.) ปล่อยให้เจ้าที่เจ้าทางดูแลแทน จากดอกเป็นผลเล็ก-กลาง-ใหญ่-ก่อนเก็บ ไม่ได้บำรุงอะไรทั้งสิ้น เพราะขี้เกียจก็รู้อยู่ กระนั้นก็ยังได้กิน ลูกใหญ่ขนาดไข่ไก่ เมล็ดเล็กเท่าปลายก้อย เนื้อหนา แห้ง กรอบ ร่อน หวาน มาตรฐานเชียวหละ เลยตั้งชื่อว่า "เงาะโรงเรียนกล้อมแกล้ม" ตั้งใจ (สาบาล) ปีหน้าจะบำรุง
กรณีของคุณมีอยู่ต้นเดียว อย่ากังวลเลย บำรุงเลี้ยงต่อไปเถอะ พอเห็นว่าต้นโตพอจะมีดอกมีผลได้แล้ว จัดการเปิดตาดอกเลย ดอกออกมาแล้วก็บำรุงดอกด้วย เอ็นเอเอ. ตามแบบที่ชาวสวนส่วนใหญ่ทำก็น่าจะได้นะ....
อ้างอิง :
**** เงาะ (Nephelium lappaceum) อยู่ในวงศ์ Sapindaceae เป็นไม้ ใบเลี้ยงคู่ มีโอกาสเกิดต้นตัวผู้เฉพาะในกรณีที่มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์โดยการตอนทาบกิ่ง และติดตาจากต้นตัวเมีย ส่วนต้น ตัวผู้จะถูกตัดทิ้งไปโอกาสที่ดอกตัวเมียจะได้รับการถ่ายละอองเรณูจึงมีน้อยลง และเกิดเงาะขี้ครอกได้มากขึ้น เกษตรกรจึงต้องฉีดฮอร์โมน เพื่อเร่งให้รังไข่ เจริญมากขึ้นเป็นผลโดยไม่ต้องมีการถ่ายละอองเรณู
http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=65&i2=33
**** เงาะขี้ครอก ลักษณะอาการที่ปรากฏ คือ ผลเงาะไม่พัฒนาการเจริญเติบโต มีขนาดเล็กเพียงเท่ากับเมล็ดบัวเท่านั้น แต่ลีบและแบน อาจเกิดขึ้นทั้งช่อหรือเฉพาะผลก็ได้ เมื่อแก่ผลจะมีสีแดงเช่นเดียวกับผลที่เป็นปกติ ทั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากดอกเงาะเพศเมียไม่ได้รับการผสมเกสรจากเกสรตัวผู้ โดยธรรมชาติแล้ว หากขยายพันธุ์เงาะด้วยเมล็ดจะได้ทั้งตัวผู้และต้นกระเทย ต้นตัวผู้ดอกจะมีเฉพาะเกสรตัวผู้เพียงอย่างเดียว ส่วนต้นกระเทยจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน กรณีแรกนั้นแก้ไขได้ยาก ส่วนกรณีหลังมักพบว่า ดอกตัวผู้มีเกสรไม่แข็งแรง จึงทำให้การผสมเกสรเกิดขึ้นได้ยาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเงาะขี้ครอกปรากฏให้เห็น
วิธีแก้ไข ให้ปลูกต้นตัวผู้กระจายไว้ในบริเวณสวน หากถามว่าจะได้ต้นตัวผู้มาได้อย่างไร ขอตอบว่าทำได้โดยค้นหาต้นตัวผู้ที่ออกดอกเก่ง แล้วขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่งหรือเสียบยอด คุณก็จะได้ต้นตัวผู้มาปลูกในสวนตามต้องการ หากมีการเลี้ยงผึ้งหรืออย่างน้อยควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในสวนโดยไม่จำเป็น ด้วยวัตถุประสงค์ให้ผึ้งหรือแมลงภู่บินเข้ามาช่วยผสมเกสรในสวน ในกรณีที่ต้นเงาะเป็นต้นกระเทย แต่การผสมเกสรได้ไม่ดี แนะให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. หรือแน็บทารีน อะซิติก แอสิด อัตรา 1.0-1.5 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน ฉีดพ่นช่อดอกในระยะที่ดอกบาน เพียง 25-30 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ วิธีฉีดพ่นให้กระจายทั่วทั้งทรงพุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องฉีดทุกช่อก็ได้ผลเช่นเดียวกัน อิทธิพลของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. จะช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงมากขึ้น ส่งเสริมให้การผสมกับเกสรตัวเมียได้ดียิ่งขึ้น อาการของเงาะขี้ครอกที่เคยเกิดขึ้นจะบรรเทาลงและหมดไปในที่สุด แต่ทั้งนี้เมื่อเงาะติดผลดีแล้วจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับให้ปุ๋ยตามความเหมาะสม คุณจะได้เงาะที่มีคุณภาพตามต้องการ
http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=600
โรคเงาะขี้ครอก สาเหตุของโรค
- การผสมเกสรไม่สมบูรณ์
ลักษณะอาการ
เป็นลักษณะอาการผิดปกติของเงาะอย่างหนึ่งคือ หลังจากช่อดอกบานแล้ว และได้รับการผสมเกสรเป็นผลอ่อน แต่ผลไม่เจริญเติบโตมีลักษณะผลแบนเล็ก ๆ ลีบ หรือเป็นตุ่มกลมไม่โตแล้วร่วง ซึ่งอาจจะเป็นทั้งช่อหรือบางส่วนของช่อ ชาวสวนเรียกอาการนี้ว่า เงาะขี้ครอก สาเหตุเกิดจากการผสมเกสรของดอกเงาะไม่สมบูรณ์ เพราะตามธรรมชาติ ต้นเงาะมี 2 ประเภท คือ ต้นเงาะตัวผู้ จะให้แต่ดอกตัวผู้ซึ่งมีแต่เกสรตัวผู้ที่แข็งแรงเพียงอย่างเดียว เงาะประเภทนี้มีแต่ดอกแต่ไม่ให้ผล อีกประเภทหนึ่งคือ ต้นเงาะกระเทย จะมีดอกสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย แต่เกสรตัวผู้ไม่แข็งแรง มีละอองเกสรตัวผู้น้อย ทำให้รังไข่ของเงาะซึ่งมีอยู่ 2 รัง ในเกสรตัวเมียไม่ได้รับการผสมกลายเป็นเงาะขี้ครอก
การป้องกันกำจัด
1. ปลูกต้นเงาะตัวผู้แซมไว้ภายในสวนเป็นระยะ ๆ กระจายให้ทั่ว หรืออาจจะใช้วิธีการติดตา โดยนำตาจากต้นตัวผู้ติดไว้บนต้นกระเทยบางกิ่ง
2. การใช้สารฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ฉีดพ่นช่อดอกเป็นจุด เมื่อดอกบนภายในช่อประมาณ 20-25 % เพื่อกระตุ้นให้เกสรตัวผู้เจริญแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น
3. ใช้ช่อดอกตัวผู้จากต้นตัวผู้ที่กำลังบานเต็มที่มาแขวนไว้ที่ต้นเงาะที่ต้องการผสมเกสร และมีดอกบานเต็มที่แล้ว โดยแขวนไว้เป็นจุด ๆ ต้นละ 3-4 จุด
http://forecast.doae.go.th/web/rambutan/211-diseases-of-rambutan/887-2009-08-29-18-17-08.html
***** ผลทางด้านอื่น ๆ ของออกซิน ได้แก่ การเปลี่ยนเพศดอก ซึ่งปัจจุบันชาวสวนเงาะในประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกแห่ง โดยใช้ เอ็นเอเอ. พ่นไปที่ช่อดอกเงาะบางส่วน ทำให้ช่อดอกที่ถูกสารเปลี่ยนจากดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ตัวเมียกลายเป็นดอกตัวผู้ขึ้นมาแทน ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายละอองเกสรและเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้
http://web.ku.ac.th/agri/hormone/hormone3.htm |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|